พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

โปลิโอ เป็นแล้วรักษาไม่หาย แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

โปลิโอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไข้ไขสันหลังอักเสบ เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากไวรัสโปลิโอ (Poliovirus) ซึ่งเคยส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ในอดีต โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก แม้ว่าในปัจจุบันโรคนี้จะลดลงอย่างมากเนื่องจากการพัฒนาวัคซีน แต่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันยังคงมีความสำคัญ [embed-health-tool-vaccination-tool] โปลิโอ คืออะไร โรคโปลิโอเกิดจากเชื้อไวรัสในตระกูล Picornavirus โดยไวรัสนี้แบ่งเป็น 3 สายพันธุ์หลัก ได้แก่ PV1, PV2 และ PV3 ซึ่งไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อน รวมถึงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยตรง เมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย มันจะแพร่กระจายในลำไส้และระบบประสาทส่วนกลาง ทำลายเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาต การแพร่กระจายของโรค โรคโปลิโอแพร่กระจายได้ง่ายในพื้นที่ที่มีการสุขาภิบาลไม่ดี โดยเชื้อไวรัสจะถูกขับออกจากร่างกายผู้ติดเชื้อผ่านทางอุจจาระ แล้วปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร นอกจากนี้ การสัมผัสใกล้ชิด เช่น การสัมผัสมือหรือของใช้ส่วนตัวที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ก็เป็นอีกเส้นทางที่โรคสามารถแพร่กระจายได้ กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบถ้วน อาการของโรคโปลิโอ โรคโปลิโอมีลักษณะอาการหลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงอัมพาตรุนแรง ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ (70-90%) ไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อได้ อาการเบื้องต้น รวมถึงไข้ต่ำ อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ และคลื่นไส้ อาการรุนแรง ได้แก่ อัมพาตของแขนขา หรือในบางกรณีเชื้อไวรัสอาจทำลายระบบประสาทที่ควบคุมการหายใจ ส่งผลให้เสียชีวิต สำหรับบางคนที่เคยติดเชื้อ อาจเกิดภาวะ กลุ่มอาการหลังโปลิโอ (Post-Polio Syndrome) ในระยะเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ ซึ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและปวดกล้ามเนื้อ การป้องกันด้วยวัคซีน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคโปลิโอเฉพาะเจาะจง การป้องกันที่ดีที่สุดคือการรับวัคซีน […]

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ และข้อเท็จจริงที่ควรรู้

ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ มีหลายเรื่องที่ยังเกิดความเข้าใจผิด เช่น ขนาดหน้าอกส่งผลต่อปริมาณน้ำนม แม่เป็นซึมเศร้าและรับประทานยาต้านเศร้าจะส่งผลต่อทารก น้ำนมแม่นั้นมีประโยชน์ต่อทารกอย่างมหาศาล คุณแม่ไม่ควรเก็บความเชื่อที่ผิด ๆ มาทำให้เกิดความกังวล ในขณะเดียวกันผู้ที่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ก็อาจรู้สึกผิดจนรู้สึกไม่มีความสุขในการเลี้ยงลูก ทั้งนี้ เงื่อนไขของแต่ละคนในการเลี้ยงดูลูกนั้นแตกต่างกันไป ควรทำความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับการให้นมแม่ ความเชื่อเกี่ยวกับการให้นมแม่ ที่ควรเข้าใจให้ถูกต้อง ความเชื่อที่ 1 : เด็กควรหย่านมแม่ก่อนอายุครบ 1 ขวบ ระยะเวลาที่เหมาะสมในการหย่านมของเด็กแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) แนะนำว่าควรให้ทารกแรกเกิดกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และเมื่อเริ่มให้ลูกกินอาหารหยาบแล้ว ก็ควรให้เด็กกินนมต่ออีกอย่างน้อย 12 เดือน และหากลูกยังอยากกินนมแม่อยู่ ก็สามารถให้กินได้ ความเชื่อที่ 2 : ให้ลูกดูดนมแล้วหน้าอกจะหย่อนยาน การตั้งครรภ์สามารถทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทำให้เส้นเอ็นบริเวณหน้าอกหย่อนและยืดตัว ยิ่งบวกกับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ก็ยิ่งทำให้หน้าอกใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าเดิม หน้าอกเลยอาจดูหย่อนยานไปบ้าง และในช่วงหลังคลอดระยะแรก เต้านมก็อาจบวม หรือที่เรียกว่าอาการเต้านมคัด ซึ่งเป็นผลจากร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงของเต้านมที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์จนถึงช่วงให้นมนี้ ก็ไม่ได้คงอยู่ตลอดไป เพราะเมื่อลูกหย่านมแม่ หน้าอกจะนิ่มขึ้นและกลับสู่ขนาดปกติก่อนตั้งครรภ์ แต่หากหน้าอกจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง นั่นก็อาจเป็นผลจากน้ำหนักตัว อายุ แรงโน้มถ่วง ความเชื่อที่ […]


เด็กทารก

น้ำมันมัสตาร์ด อีกหนึ่งตัวช่วยลับดูแลผิวและสุขภาพลูกน้อย

น้ำมันมัสตาร์ด เป็นหนึ่งในน้ำมันที่ใช้สำหรับการดูแลผิว แต่อาจเป็นน้ำมันที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นชินนัก เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองร้อน จึงมีความเชื่อว่า หากดูแลผิวด้วยน้ำมัน ก็จะยิ่งทำให้ผิวมันเหนอะหนะ ไม่สบายเนื้อตัว แต่ความจริงแล้ว สำหรับผิวเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก การดูแลผิวด้วยน้ำมันถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะนอกจากจะแก้ปัญหาผิวทารก เช่น ผิวแห้งแตก ได้แล้ว ยังมีประโยชน์สุขภาพอื่นๆ อีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรทำความรู้จักกับน้ำมันมัสตาร์ด เพื่อเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการดูแลผิวและสุขภาพของลูกน้อย [embed-health-tool-vaccination-tool] น้ำมันมัสตาร์ด คืออะไร น้ำมันมัสตาร์ดได้จากการนำเมล็ดมัสตาร์ด หรือที่เรียกว่าเมล็ดผักกาดไปสกัด เพื่อแยกส่วนน้ำมันออกมา เมล็ดมัสตาร์ดมีทั้งสีดำ สีขาว และสีเทา เมื่อสกัดแล้วจะได้เป็นน้ำมันที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว รสชาติเผ็ดร้อน กลิ่นค่อนข้างฉุน เมล็ดมัสตาร์ดนอกจากจะนำมาสกัดเป็นน้ำมันมัสตาร์ดได้แล้ว ยังนิยมนำมากลั่นด้วยไอน้ำ จนได้เป็นน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดอีกด้วย ซึ่งทั้งน้ำมันมัสตาร์ดและน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดสามารถนำมาใช้ดูแลผิวได้ น้ำมันมัสตาร์ด ดูแลผิวและสุขภาพเด็กได้ยังไงบ้าง คุณพ่อคุณแม่ในหลายประเทศนิยมนำน้ำมันมัสตาร์ด และน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดมาใช้เป็นน้ำมันนวดและดูแลผิวให้กับทารกน้อย เนื่องจากมีประโยชน์สุขภาพ ดังนี้ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น การทาผิวเด็กด้วยน้ำมันมัสตาร์ด จะช่วยรักษาความร้อนและอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น จึงเหมาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศหนาว ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย เมื่อคุณพ่อคุณแม่นวดตัวทารกด้วยน้ำมันมัสตาร์ด รูขุมขนของทารกจะเปิดและมีเหงื่อออก ถือเป็นการขับสารพิษออกจากร่างกายทางหนึ่ง เหมาะอย่างยิ่งในช่วงที่อากาศร้อน ๆ มีส่วนช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น การนวดตัวทารกน้อยด้วยน้ำมันมัสตาร์ดอุ่นเป็นประจำทุกวัน วันละสองครั้ง จะช่วยให้กระดูกที่ยังนิ่มและบอบบางของทารกแข็งแรงขึ้น ทั้งยังช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นด้วย เมื่อกระดูกและข้อต่อได้ขยับเขยื้อน ทารกน้อยก็จะแข็งแรงและเคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกขึ้น ช่วยต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย น้ำมันมัสตาร์ดและน้ำมันหอมระเหยมัสตาร์ดมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย โดยอาจช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อย เช่น อีโคไล ซาลโมเนลลา สแตฟฟิลโลคอคคัส […]


การเติบโตและพัฒนาการ

แปรงฟันให้ลูก และวิธีดูแลช่องปากที่ถูกต้อง

การแปรงฟัน ควรฝึกฝนตั้งแต่เด็กให้เป็นนิสัย โดยคุณพ่อคุณแม่ควร แปรงฟันให้ลูก ตั้งแต่เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นเป็นซี่แรก นอกจากสอนวิธีแปรงฟันที่ถูกต้อง ควรสอดแทรกวิธีอื่น ๆ สำหรับดูแลสุขภาพช่องปาก เช่น การบ้วนปาก การกลั้วคอ เพื่อสร้างพื้นฐานการมีสุขภาพปากที่ดีและฟันที่แข็งแรงต่อไป [embed-health-tool-vaccination-tool] ทำไมจึงต้อง แปรงฟันให้ลูก การแปรงฟันมีประโยชน์อย่างมาก ทั้งช่วยขจัดคราบหินปูน คราบฟัน เศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน รวมถึงกลิ่นปากได้ด้วย ซึ่งคราบและเศษอาหารเหล่านี้ คือต้นตอของปัญหาสุขภาพปากและฟัน ทั้งยังเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย ฉะนั้น ตุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกฝนและแปรงฟันให้ลูกอย่างน้อยวันละสองครั้ง หากลูกน้อยยังไม่มีฟันน้ำนมขึ้น อาจใช้สำลี หรือผ้าชุบน้ำอุ่น หรือผลิตภัณฑ์เข็ดทำความสะอาดภายในช่องปากสำหรับเด็ก เช็ดบริเวณเหงือก ลิ้น และกระพุ้งแก้ม เตรียมความพร้อมในการ แปรงฟันให้ลูก วัยเด็กเป็นวัยที่ฟันมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทั้งยังเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพฟันหากไม่ดูแลอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะปัญหาที่พบได้บ่อยคือ ฟันผุ ทั้งนี้ อาจป้องกันปัญหาสุขภาพเหงือกและฟันให้ลูกน้อยได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ ฟันยังไม่ขึ้น ในช่วงที่ลูกน้อยยังไม่มีฟันน้ำนมงอกขึ้นมานั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นทำความสะอาดเหงือกและลิ้นเพื่อเช็ดคราบน้ำนมที่อาจหมักหมมจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพช่องปาก อาจใช้สำลี หรือผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดที่ลิ้นและเหงือกเบา ๆ หรือใช้ปลอกนิ้วยางในการทำความสะอาดเหงือก และยังเป็นการช่วยนวดเหงือกไปในตัวด้วย ฟันเพิ่งขึ้น เด็กที่มีอายุ 6 เดือนจนถึง 2 ปี เริ่มมีฟันน้ำนมงอกขึ้นมาแล้ว จึงอาจทำให้ลูกน้อยมีอาการเจ็บบริเวณเหงือกได้ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บ คันเหงือก ด้วยการหาของเล่นที่เป็นยางมาให้กัดเล่น ฟันผุต้องระวัง สำหรับเด็กที่มีฟันน้ำนมแล้ว คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยดูแลภายในช่องปากของลูกและหมั่นแปรงฟันให้ลูกด้วย […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

สอนลูกออมเงิน เพื่อให้ลูกใช้เงินเป็น รู้จักเห็นคุณค่าของเงิน

สอนลูกออมเงิน เป็นพื้นฐานสำคัญในการดำรงชีวิต คุณพ่อคุณแม่ควรปลูกฝังนิสัยรักการออม เห็นคุณค่าของเงิน และรู้จักใช้เงินอย่างชาญฉลาดให้ลูกตั้งแต่เขายังเด็ก เมื่อโตขึ้น พวกเขาจะได้มีวินัยในการใช้เงิน ไม่มีปัญหาหนี้สิน สามารถรับผิดชอบชีวิตตนเองได้โดยไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน [embed-health-tool-bmi] สอนลูกออมเงิน ด้วยวิธีไหนเพื่อให้ได้ผล แบ่งกระปุกออมสินไว้หลาย ๆ ใบ จุดเริ่มต้นในการสอนลูกออมเงินอย่างง่าย ๆ ได้แก่ การใช้กระปุกออมสิน แต่แทนที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกหยอดเงินใส่กระปุกออมสินเพียงหนึ่งใบเพื่อเอาเงินส่วนนั้นไปเข้าบัญชีธนาคาร ควรเตรียมกระปุกออมสินไว้หลาย ๆ ใบ โดยจะใช้เป็นกระปุกออมสินสำเร็จรูปที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไป หรือจะใช้เป็นกระปุกออมสินชนิดทำเองเพื่อให้ลูกได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตกแต่งกระปุกออมสินก็ได้เช่นกัน เพราะนอกจากลูกจะได้สนุกกับการทำงานฝีมือแล้ว ยังจะกระตุ้นให้ลูกน้อยอยากออมเงินมากขึ้นด้วย หากยังไม่รู้ว่าจะต้องมีกระปุกออมสินกี่ใบ เอาไว้เก็บเงินในกรณีในบ้าง อาจเริ่มจากกระปุกออมสินเล็ก ๆ 4 ใบ แบ่งเป็น กระปุกเงินค่าขนม ไว้สำหรับซื้อของที่ต้องการในแต่ละวัน กระปุกเงินออม ไว้สำหรับซื้อของชิ้นใหญ่ที่อยากได้ ซึ่งต้องใช้เวลาเก็บเงินนาน กระปุกเงินลงทุน ไว้สำหรับใช้ในอนาคต กระปุกเงินซื้อของขวัญ ไว้สำหรับซื้อของขวัญให้ผู้อื่นในเทศกาลต่าง ๆ หรือไว้บริจาคช่วยเหลือผู้อื่นตามความเหมาะสม กำหนดยอดเงินออม เมื่อแบ่งกระปุกออมสินตามเป้าหมายที่ต้องการได้แล้ว กำหนดยอดเงินออมด้วยว่าต้องการยอดเงินในแต่ละกระปุกเดือนละกี่บาท เช่น หากเดือนหน้าลูกต้องการจักรยานคันใหม่ ราคา 3,000 บาท คุณพ่อคุณแม่อาจกำหนดให้ลูกเก็บเงินหยอดกระปุกให้ได้ 1,000 บาท แล้วจึงช่วยจ่ายเงินส่วนที่เหลือให้ เมื่อได้ยอดเงินเก็บที่ต้องการแล้ว ลูกจะได้รู้ว่าเขาควรจะเก็บเงินให้ได้วันละกี่บาท ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกบรรลุเป้าหมายในการออมเงินได้ง่ายขึ้น ด้วยการเตรียมสมุดสะสมสติกเกอร์ไว้ในลูก เมื่อเขาหยอดเงินในกระปุกในแต่ละวันแล้ว […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

สารพิษในนมแม่ มาจากไหน ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพลูกน้อย

นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกแรกเกิด มีคุณค่าสารอาหารมากมายที่เป็นประโยชน์ ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านต่าง ๆ รวมทั้งสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรง  และการให้ลูกน้อยได้ดูดนมแม่จากเต้ายังเป็นการสร้างสายใยรักและสายสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูก แต่รู้หรือไม่ว่า อาจมีการปนเปื้อนของสารพิษในนมแม่ได้ สารพิษในนมแม่ มาจากไหน สารเคมีที่เป็นพิษนั้นปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นในอาหาร ในเครื่องดื่ม ในเครื่องสำอาง ในพลาสติกบางประเภท ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้าน ยาฆ่าแมลง หรือแม้กระทั่งในอากาศ ในร่างกายของคนเรานั้นน่าจะมีสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นในปริมาณน้อยตกค้างอยู่มากถึง 200 ชนิด แต่โดยปกติ สารพิษเหล่านั้นจะอยู่ในระดับต่ำมาก จึงมักไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว สารพิษที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายมากที่สุดก็คือ ไดออกซิน (dioxin) และโพลีคลอริเนตไบฟีนิล (Polychlorinated biphenyls) หรือพีซีบี (PCBs) ซึ่งเป็นสารพิษที่ไม่ย่อยสลาย และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานหลายปี ทุกคนมีโอกาสดูดซึมสารพิษเหล่านี้เข้าไปได้ทีละน้อย ๆ จนก่อตัวสะสมอยู่ในร่างกาย ส่วนสารพิษในนมแม่นั้น เกิดขึ้นได้จากการที่สารพิษส่วนใหญ่มีคุณสมบัติละลายได้ในไขมัน (fat soluble) และละลายจนสะสมอยู่ในไขมันร่างกายเป็นเวลาหลายปี เมื่อเกิดการตั้งครรภ์และคลอดลูก ร่างกายจะผลิตน้ำนมโดยอาศัยไขมันที่สะสมเอาไว้ จึงทำให้สารพิษที่สะสมอยู่ในไขมัน สามารถส่งต่อไปสู่ไขมันในน้ำนมแม่ได้ และไม่ใช่แค่น้ำนม เพราะสารพิษยังสามารถสะสมอยู่ในเนื่อเยื่อ หรือของเหลวอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น เลือด ปัสสาวะ น้ำอสุจิ เลือด สายสะดือของทารกหลังคลอด สารพิษในนมแม่ เป็นอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่ โดยปกติแล้ว สารพิษในนมแม่มักมีปริมาณต่ำมาก […]


ปัญหาระบบย่อยอาหารในเด็ก

พรีไบโอติก สำคัญต่อลูกน้อย มากกว่าแค่ป้องกันลูกท้องผูก

พอได้ยินคำว่า “แบคทีเรีย” คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจคิดว่าเป็นเชื้อโรค ไม่ดีต่อสุขภาพของลูกน้อย และควรหลีกให้ห่าง แต่ความจริงแล้ว แบคทีเรียไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเสมอไป เพราะในลำไส้ของคนเราก็มีแบคทีเรียชนิดดี อาศัยอยู่มากมายหลากหลายชนิด ที่ได้ยินชื่อกันบ่อยๆ เช่น แล็กโทบาซิลลัสหากในลำไส้ของเรามีแบคทีเรียชนิดดีมากกว่าแบคทีเรียชนิดไม่ดี ก็จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรง ลดปัญหาในระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย และตัวช่วยอย่างหนึ่งในการเพิ่มและรักษาสมดุลของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ก็คือ การเพิ่มอาหารของแบคทีเรียชนิดดี อย่างพรีไบโอติก Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับเจ้า “พรีไบโอติก” นี้ให้มากขึ้น แล้วคุณจะรู้ว่าพรีไบโอติกมีดีต่อสุขภาพของเด็ก มากกว่าแค่ช่วยป้องกันลูกท้องผูก พรีไบโอติก คืออะไร พรีไบโอติก (Prebiotic) คือ ไฟเบอร์ชนิดละลายน้ำ ที่ระบบย่อยอาหารของเราย่อยไม่ได้ จึงสามารถผ่านเข้าสู่ลำไส้ และกลายเป็นอาหารของแบคทีเรียชนิดดี และจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ชนิดอื่นๆ ในลำไส้ เมื่อร่างกายได้รับพรีไบโอติกอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและเสริมสร้างการทำงานของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ ทำให้ระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดี โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหาร และระบบขับถ่าย พรีไบโอติกสำคัญกับเด็กยังไงบ้าง ช่วยป้องกันท้องผูก ท้องเสีย พรีไบโอติก เป็นไฟเบอร์หรือเส้นใยอาหารชนิดหนึ่ง เมื่อได้รับในปริมาณพอเหมาะ จะช่วยให้เด็กขับถ่ายสะดวกขึ้น จึงช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกในเด็กได้ อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงและความถี่ของอาการท้องเสียบางชนิดได้ เช่น อาการท้องเสียจากยาปฏิชีวนะ (antibiotic-associated diarrhea) ช่วยลดปัญหาเกี่ยวกับช่องท้องอื่นๆ เมื่อเด็กได้รับพรีไบโอติก นอกจากจะช่วยลดอาการท้องผูก ท้องเสียได้แล้ว ยังช่วยบรรเทาและป้องกันปัญหาในช่องท้องอื่นๆ เช่น อาการปวดท้อง แน่นท้อง […]


เด็กทารก

ประโยชน์และข้อควรรู้ของการดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว

การดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว อาจช่วยให้ผิวของเด็กชุ่มชื้นอย่างยาวนาน ช่วยป้องกันปัญหาผิวแห้ง ผดผื่น  อาการคัน ลดสิว และอาจช่วยบรรเทาอาการของผิวหนังอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม ควรเลือกใช้น้ำมันมะพร้าวที่ปราศจากน้ำหอมและสารปรุงแต่งอื่น ๆ อีกทั้งยังควรใช้ในปริมาณน้อย เพื่อป้องกันไม่เกิดอาการระคายเคืองของผิวของเด็ก ชนิดของน้ำมันมะพร้าวที่นิยมใช้ดูแลผิวเด็ก ในปัจจุบันเราสามารถหาซื้อน้ำมันมะพร้าวมาใช้สอยได้ง่ายขึ้นมาก น้ำมันมะพร้าวที่นิยมใช้กันทั่วไป เช่น น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ (Virgin Coconut Oil) ได้จากการนำเนื้อมะพร้าวสดที่แก่จัดมาคั้นให้ได้น้ำกะทิ จากนั้นนำไปสกัดเย็น คือ รอให้แยกชั้น แล้วกรองเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำมัน เรียกว่าน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น หรือนำไปสกัดร้อน คือ นำกะทิไปเคี่ยวต่อจนได้น้ำมันมะพร้าว ที่เรียกว่า น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อน น้ำมันมะพร้าวผ่านกรรมวิธี (Refined Coconut Oil) ได้จากการนำเนื้อมะพร้าวไปอบหรือตากแห้ง แล้วนำไปบีบอัด หรือใช้สารเคมีเป็นตัวทำละลายให้ได้น้ำมันมะพร้าวออกมา จากนั้นจึงนำน้ำมะพร้าวที่ได้ไปผ่านกรรมวิธีกำจัดกลิ่น สี และสิ่งเจือปน จนได้เป็นน้ำมันมะพร้าวใสๆ ไร้สี ไร้กลิ่น ไร้รสชาติ ข้อควรรู้ก่อนดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว อย่างแรกที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงก่อนที่จะเริ่มดูแลผิวเด็กด้วยน้ำมันมะพร้าว ก็คือ ภาวะภูมิแพ้มะพร้าว หรือแพ้น้ำมันมะพร้าว หากลูกแพ้ ก็ไม่ควรให้ใช้น้ำมันมะพร้าว แต่หากไม่รู้ว่าลูกแพ้หรือไม่ ควรเริ่มจากทาน้ำมันมะพร้าวปริมาณเล็กน้อยลงบนผิวลูกจุดเล็กๆ แล้วรอดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น หากลูกมีอาการของภูมิแพ้น้ำมันมะพร้าว เช่น คลื่นไส้ อาเจียน […]


พ่อแม่เลี้ยงลูก

เทคนิคปรับเวลานอนเด็ก เพื่อให้ลูกนอนเป็นเวลา

ในช่วงที่ลูกอายุ 4 เดือนถึง 1 ปี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการเริ่มต้นนิสัยการนอนที่ดีต่อสุขภาพให้กับเด็ก  เพื่อช่วยทำฝึกให้ลูกสามารถเข้านอนและตื่นเป็นเวลา สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจศึกษาเทคนิคการปรับเวลานอนเด็ก หรือปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการปรับเวลานอนของเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถนอนหลับได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] เทคนิคปรับเวลานอนเด็กช่วยให้ลูกนอนเป็นเวลาขึ้น ทำความเข้าใจเวลานอนของเด็กแต่ละวัยก่อน เด็กในแต่ละช่วงวัย ต้องการเวลานอนหลับพักผ่อนแตกต่างกัน ฉะนั้น หากอยากปรับเวลานอนเด็ก ควรรู้ก่อนว่าเด็กแต่ละวัยต้องนอนวันละกี่ชั่วโมง จะได้ปรับเวลานอนเด็กได้อย่างเหมาะสม โดยเด็กแต่ละวัยต้องการเวลานอน ดังนี้ เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 3 เดือน ควรนอนอย่างน้อยวันละ 10.5-18 ชั่วโมง เด็กวัยนี้ส่วนมากจะยังนอนหลับและตื่นไม่เป็นเวลา มักหลับๆ ตื่นๆ ตลอดทั้งวัน บางทีอาจนอนไม่กี่นาทีก็ตื่น คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องปรับเวลานอนของตัวเองให้เหมาะสมด้วย เด็กทารก อายุ 4-11 เดือน ควรเริ่มนอนกลางคืนให้นานขึ้น คือ อย่างน้อย 9-12 ชั่วโมง และนอนกลางวันวันละหลายครั้ง ครั้งละ 30 นาทีถึง 2 ชั่วโมง เด็กวัยเตาะแตะ อายุ 1-2 ปี จำเป็นต้องนอนอย่างน้อยวันละ 11-14 ชั่วโมง […]


เด็กทารก

กินนมขวด เทคนิคสำคัญสำหรับการฝึกให้ลูกกินนมขวด

กินนมขวด อาจเป็นอีกหนึ่งทักษะที่คุณพ่อคุณแม่อาจต้องช่วยฝึกและเตรียมความพร้อมให้กับลูก เพื่อให้ลูกสามารถดื่มนมจากขวดได้ในช่วงขวบปีแรก โดยอาจให้ลูกได้ลองใช้มือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคบกับขวดนมด้วยตัวเองเสียก่อน นอกจากนี้ การช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม จัดท่าให้ถูกต้อง เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม ก็อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินนมจากขวดได้อีกด้วย [embed-health-tool-baby-poop-tool] วิธีฝึกให้ลูก กินนมขวด สำหรับวิธีการฝึกให้ลูกกินนมนวดนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้ความพยายามและใจเย็นในการฝึกฝนให้กับลูก โดยวิธีการฝึกให้ลูกกินนมขวด อาจทำได้ดังนี้ ทำความคุ้นเคยกับขวดนมก่อนกินนมขวด หากว่าคุณพ่อคุณแม่กลัวว่าลูกอาจไม่ยอมกินนมขวด อาจลองให้ลูกสำรวจขวดนม โดยใช้ทั้งมือและปากสัมผัสกับขวดนม เพื่อทำความเข้าใจและทำความคุ้นเคยกับขวดนมด้วยตัวเอง การทำแบบนี้อาจทำให้ลูกรู้สึกคุ้นเคยและจะไม่มีอาการปฏิเสธ เมื่อต้องถือขวดนม ช่วยกระตุ้นให้ลูกดูดนม เนื่องจากลูกอาจจะยังไม่รู้จักทิศทาง หรือวิธีการดูดนมในช่วงระยะแรก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยกระตุ้นเพื่อให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะกินนมขวด โดยเริ่มจากการนำจุกขวดนมไปแตะที่ริมฝีปากของลูก ค่อย ๆ ใส่จุกขวดนมเข้าไปในปาก แล้ววางจุกขวดนมไว้ที่กลางลิ้น ลูกอาจมีปฏิกิริยาห่อลิ่นโดยสัญชาตญาณ ทำให้สามารถดูดนมได้เอง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจกระตุ้นให้ลูกดูดนมได้ โดยการเอาปลายนิ้วไปแตะบริเวณแก้ม หรือหยดน้ำนมบริเวณริมฝีปาก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ลูกกินนมขวด จัดท่าให้ถูกต้อง ท่าทางในการกินนมขวดที่ถูกต้อง คือ ควรจะเอียงขวดนมเล็กน้อย ให้ลูกกอดขวดนมไว้ที่ท้อง ส่วนหัว คอ และลำตัวควรจะอยู่ในแนวตรง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจหาหมอนหรือผ้าห่มมารองที่เท้า เพื่อทำให้ลูกอยู่นิ่งมากขึ้น การเอียงขวดอาจทำให้ลูกดูดน้ำนมออกจากขวดได้เลย โดยไม่ต้องดูดอากาศเข้าไป ซึ่งอาจทำให้ไม่มีอาการท้องอืด เลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรจะเลือกจุกขวดนมให้เหมาะสม โดยจุกขวดนมส่วนใหญ่อาจทำจากซิลิโคนหรือยาง และมีรูปแบบแตกต่างกันไป ดังนั้น อัตราการไหลผ่านของน้ำนมก็จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับขนาดของรูในจุกขวดนม คุณพ่อคุณแม่อาจเลือกใช้จุกขวดนมต่าง ๆ เพื่อหาจุกที่ลูกสามารถดูดนมได้ง่ายที่สุด นอกจากนี้ ยังควรตรวจดูว่าจุกนมแตกหรือไม่ […]


เด็กทารก

จุดอันตราย ภายในบ้าน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

จุดอันตราย ภายในบ้าน เช่น เฟอร์นิเจอร์ เตียงนอน ตู้ยา ปลั๊กไฟ บันได ประตู เป็นบริเวณที่คุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจ เนื่องจาก เด็กส่วนใหญ่ยังไม่รู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงยังไม่มีความระมัดระวัง จึงอาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ รวมถึงอาจเป็นอันตรายจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องมีการป้องกันบริเวณเหล่านี้ให้เป็นอย่างดี รวมถึงควรให้เด็กอยู่ห่างจากจุดอันตรายเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัย จุดอันตราย ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง มีอะไรบ้าง สำหรับจุดอันตรายภายในบ้านที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง อาจมีดังนี้ เฟอร์นิเจอร์ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ภายในบ้าน โดยเฉพาะบริเวณมุมหรือขอบโต๊ะและตู้ เป็นจุดอันตรายที่คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวัง เนื่องจาก เด็กอาจจะเดินไปชนหรือหกล้มไปฟาดจนทำให้เกิดแผลที่อันตราย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจหาที่กันกระแทก เช่น โฟมยางกันกระแทก มาติดที่มุมและขอบของเฟอร์นิเจอร์เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรยึดพวกเฟอร์นิเจอร์ให้ติดแน่นกับพื้นหรือผนัง เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กปีนป่ายแล้วทำให้เฟอร์นิเจอร์ล้มทับเด็ก เตียงนอนและโซฟา คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่บนเตียงหรือโซฟาเพียงลำพังโดยที่ไม่มีคนคอยดูแล เพราะเด็กอาจจะหล่นหรือตกออกจากเตียงนอนและโซฟา นอกจากนี้ เด็กที่ยังไม่สามารถพลิกตัวได้ด้วยตัวเองอาจเสียชีวิตจากการนอนคว่ำหน้าบนเตียง เพราะขาดอากาศหายใจ นอกจากนี้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรนอนเตียงร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย เช่น คุณพ่อคุณแม่นอนทับ ติดอยู่ระหว่างกลางระหว่างคุณพ่อคุณแม่ หัวติดอยู่ในราวกั้นเตียง ซึ่งกรณีเหล่านี้อาจทำให้เด็กเสียชีวิต บันไดและประตู คุณพ่อคุณแม่ควรติดที่กั้นในบริเวณบันไดและประตูห้องต่าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กตกบันไดหรือเข้าไปยังจุดที่ไม่ควรจะอยู่ เช่น ห้องครัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!

การเลี้ยงดูบุตร
การเลี้ยงดูบุตร

11

หัวข้อ

490

กระทู้

1.3k

สมาชิก

หัวข้อของ การเลี้ยงดูบุตร


ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม