พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

เด็กทารก

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

เด็กวัยเรียน

เรียนหนัก มากเกินไป ส่งผลต่อเด็กอย่างไรบ้าง

ในปัจจุบันนี้การทุ่มเทเวลาอยู่กับการเรียนตลอดทั้งวันและทุกวัน แทบจะเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ วัยเรียนจะต้องเจอ นอกจากการเรียนที่โรงเรียนตลอดทั้งวันแล้ว ยังมีเรียนพิเศษหลังเลิกเรียน เรียนเสริมในวันหยุดสุดสัปดาห์ และติวเข้มในช่วงใกล้สอบ แม้ว่าการตั้งใจเรียนจะเป็นสิ่งที่ดีและส่งผลที่น่าชื่นชมในอนาคต แต่การที่ เรียนหนัก มากจนเกินไปอาจให้โทษร้ายที่คาดไม่ถึง [embed-health-tool-bmi] เรียนหนัก มีข้อดีอย่างไรบ้าง แน่นอนว่าการทุ่มเทให้กับการเรียน ย่อมส่งผลดีต่อตัวเด็ก เด็กจะได้รับประโยชน์มากมาย ได้แก่ เป็นการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับเด็ก ช่วยพัฒนาทักษะที่จำและสำคัญในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบ การจัดการตารางเวลา ความมีวินัย เป็นการเพิ่มโอกาสในการพบปะผู้คน และเสริมสร้างความมีมนุษยสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น รู้จักการเข้าสังคม ป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น จากการใช้เวลาว่างไม่เป็นประโยชน์ เช่น การเสพยา เล่นการพนัน ได้รับผลคะแนนที่ดีเป็นที่น่าพอใจ มีโอกาสที่จะได้รับโอกาสดีๆ ที่เข้ามา เช่น ทุนการศึกษา ทุนเรียนต่อต่างประเทศ เพราะมีการเตรียมพร้อมทางด้านวิชาการเป็นอย่างดี เรียนหนักมากเกินไปก็มีข้อเสีย สิ่งใดที่มากไปย่อมไม่ดี การเรียนที่มากจนเกินไปก็ส่งผลเสียต่อเด็กเช่นกัน ทำให้เด็กเกิดความเครียดและความวิตกกังวล และสามารถที่จะกลายเป็นภาวะซึมเศร้าได้ ไม่มีเวลาส่วนตัวในการที่จะใช้ชีวิต สามารถที่จะทำให้เด็กไม่ได้มีการพัฒนาทักษะทางด้านอารมณ์ ไม่มีเวลาอยู่ร่วมกับครอบครัว มีอาการเก็บกด รู้สึกอึดอัด อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ หากเด็กมีภาวะเครียดหนัก พ่อแม่รู้ได้อย่างไรว่าลูกเริ่มเรียนหนักมากเกินไป ป่วยง่ายมากกว่าเมื่อก่อน ไม่ค่อยมีความกระตือรือร้น ไม่ได้ทำกิจกรรมเหมือนเด็กปกติ เช่น ไปเที่ยว ดูหนัง หรือกิจกรรมอื่นๆ เริ่มมีความผิดปกติทางด้านของความคิด เก็บตัว […]


เด็กทารก

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแรกเกิด ต้องการการดูแลและใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เกือบตลอด 24 ชั่วโมง แม้เด็กแรกเกิดจะยังเคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก แต่พวกเขาก็มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำเช่นเดียวกับคนวัยอื่น ๆ และอาจต้องการการดูแลที่มากเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วเด็กแรกเกิดทำอะไรบ้างใน 1 วัน เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน การกิน เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ต้องการกินอาหารทุก ๆ 1 ชั่วโมงครึ่ง-3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการให้นมของคุณแม่ด้วย โดยเด็กแรกเกิดจะมีวิธีสื่อสารเวลาที่หิว เช่น ทำท่าดูดมือหรือดูดนิ้ว หรืออ้าปากเมื่อถูกสัมผัสที่แก้ม ส่วนการร้องไห้มักจะเกิดขึ้นเวลาที่หิวมาก นอกจากนี้ หลังกินนมคุณแม่ควรทำให้ลูกเรอ และถ้าเด็กแรกเกิดนอนหลับไปขณะกินนม หรือเบือนหน้าหนีจากเต้านม อาจเป็นสัญญาณว่าอิ่มแล้ว หรือถ้าเด็กแรกเกิดร้องไห้อาจหมายความว่า อยากกินอีก การอุจจาระและการเปลี่ยนผ้าอ้อม เด็กแรกเกิดอาจปัสสาวะมากกว่า 6 ครั้ง หรืออุจจาระมากกว่า 4 ครั้ง/วัน ทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหลายครั้ง และในช่วงสัปดาห์แรก อุจจาระของเด็กแรกเกิดอาจดูหนาและมีสีดำหรือสีเขียวเข้ม เรียกว่า ขี้เทา ( Meconium) หรืออุจจาระของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งหลังจากขับถ่ายขี้เทาแล้ว อุจจาระของเด็กแรกเกิดก็จะกลายเป็นลักษณะอ่อนนุ่ม และเป็นมูก นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่ให้นม เด็กแรกเกิดอาจมีอุจจาระสีเหลืองอ่อน และเป็นก้อนเล็ก ๆ ส่วนถ้าเด็กแรกเกิดกินนมผง อุจจาระอาจมีเนื้อแน่น และมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน […]


เด็กทารก

การนอนของเด็กทารก เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรรู้

การนอนของเด็กทารก ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก แต่สำหรัยคุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่รู้วิธีการเตรียมความพร้อม หรือยังทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนอนของเจ้าตัวเล็กได้ไม่ดีพอ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับวิธีการนอนของทารก รวมถึงการทำให้ทารกได้นอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตที่ดี [embed-health-tool-vaccination-tool] การนอนของเด็กทารก กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ สำหรับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เกี่ยวกับการนอนของเเด็กทารก อาจมีดังนี้ ไม่ควรกำหนดตารางการนอน การนอนของเด็กทารก เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ โดยคุณพ่อคุณแม่มือใหม่จึงไม่ควรที่จะไปกำหนดเวลา หรือจัดตารางการนอนให้กับเด็กทารก เนื่องจากช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังคลอด เด็กทารกจะนอนมากเป็นพิเศษ หลังจากนั้น การนอนก็จะถูกปรับไปตามระยะเวลาการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัว ซึ่งก็จะมีรูปแบบการนอนที่ไม่ตายตัว สังเกตการนอน ถ้าหากว่ายังไม่สามารถที่จะไปกำหนดหรือจัดตารางการนอนของเด็กทารกได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองสังเกตดูสัก 3 วันว่า เด็กทารกใช้ระยะเวลาในการนอนเท่าไหร่และมีระยะเวลานอนกี่ช่วง หากเห็นว่ากิจวัตรประจำวันในการนอนเป็นไปในรูปแบบเดิม ก็สามารถเตรียมความพร้อมในเรื่องอื่น ๆ ได้ตามปกติ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรสังเกตพฤติกรรมการนอนของตัวเองด้วย เพราะในบางครั้ง คุณพ่อคุณแม่อาจมีกิจกรรมหรือมีพฤติกรรมและตารางการนอนที่แตกต่างกันไป ซึ่งบางครั้งก็อาจส่งผลเสียต่อการนอนของเด็กทารกได้ การกำหนดเวลาใน การนอนของเด็กทารก เด็กทารกที่ได้ทำกิจวัตรประจำวันก่อนนอนทุกคืน จะนอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับได้ดี และร้องไห้กลางดึกน้อยลง โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะเริ่มกำหนดเวลานอนให้เด็กทารกในช่วงอายุ 6-8 สัปดาห์ หากอยากให้ตารางเวลานอนของเด็กทารกมีประสิทธิภาพอาจทำตามขั้นตอน ดังนี้ พยายามให้เด็กทารกทำกิจกรรมในช่วงกลางวัน เพื่อให้รู้สึกเหนื่อยจากการทำกิจกรรมและอยากพักผ่อน หรือนอนหลับง่ายขึ้น สำหรับกิจกรรมในช่วงเย็นควรเป็นกิจกรรมเบา ๆ เพื่อไม่ให้เด็กทารกตื่นเต้นก่อนเข้านอน พยายามให้ห้เด็กทารกทำกิจกรรมเดิม ๆ ในช่วงค่ำ ปิดท้ายทุก ๆ กิจกรรมด้วยความสงบ เด็กทารกหลายคนมักจะรู้สึกสบายและสงบเมื่อได้อาบน้ำก่อนเข้านอน พยายามทำกิจกรรมที่เด็กทารกชอบในห้องนอน […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

สะดือจุ่น เป็นอันตรายต่อสุขภาพเด็กหรือไม่

สะดือจุ่น หรือภาวะไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernia) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด อาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องบริเวณสะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ จึงส่งผลให้มีรูเล็ก ๆ บริเวณสะดือที่ลำไส้เล็กสามารถโผล่ออกมาได้ โดยทั่วไป สะดือจุ่นมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี แต่บางรายอาจมีภาวะสะดือจุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด สะดือจุ่น คืออะไร สะดือจุ่น เป็นคำที่นิยมใช้เรียกภาวะไส้เลื่อนที่บริเวณสะดือ (Umbilical hernia) ซึ่งอาจเกิดจากกล้ามเนื้อท้องใกล้ ๆ สะดือไม่ประสานกันหลังจากตัดสายสะดือ และส่งผลให้ลำไส้เล็กบางส่วนโผล่ออกมาได้ ภาวะนี้พบได้บ่อยในเด็กแรกเกิด และมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุ 1-2 ปี แต่ในบางกรณีก็อาจมีภาวะสะดือจุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้เช่นกัน นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงบางประการ เช่น การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเกร็งหน้าท้องตอนยกของหนัก การไอเรื้อรัง การท้องลูกแฝด ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะสะดือจุ่นในผู้ใหญ่ได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นได้ว่าลูกมีภาวะสะดือจุ่นเมื่อเด็กร้องไห้ ไอ จาม หรือท้องตึง ส่วนใหญ่มักไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วดแต่อย่างใด แต่เด็กบางคนอาจมีอาการปวดท้อง ท้องบวม คลื่นไส้ แต่หากผู้ใหญ่มีภาวะสะดือจุ่น อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้ วิธีรักษา สะดือจุ่น ภาวะสะดือจุ่นในเด็กมักหายได้เองเมื่อเด็กอายุได้ 1-2 ปี แต่หากเด็กมีอาการปวดท้องเรื้อรัง อาเจียน ผิวหนังบริเวณสะดือบวม กดแล้วเจ็บ ควรรีบพาไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ลำไส้เล็กหรือเนื้อเยื่อบริเวณท้องที่ยื่นออกมาไม่สามารถกลับเข้าไปในช่องท้องได้ จนส่งผลให้เลือดไม่ไหลเวียนและเนื้อเยื่อส่วนนั้นตาย […]


การดูแลทารก

ขลิบ ที่ลับ แต่ไม่ใช่เรื่องลับ สำหรับพ่อแม่มือใหม่

ขลิบ เป็นการผ่าตัดเอาหนังหุ้มปลายลึงค์ออกจากองชาตของทารกเพศชาย เนื่องจากมีความเชื่อว่าอาจช่วยให้ผู้ชายทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น รวมถึงยังอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน หลังจากขลิบปลายแล้วแผลจะหายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ขลิบ เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ การขลิบมีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณ โดยเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ชายรักษาความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศได้มากขึ้น สำหรับการขลิบทางพิธีกรรมศาสนาจะเรียกว่า การเข้าพิธีสุนัต (Khitan) ซึ่งการเข้าพิธีสุนัตในทุกวันนี้ ส่วนใหญ่จะทำเพื่อเหตุผลทางศาสนา หรือวัฒนธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 55% ของทารกแรกเกิด จะถูกพาเข้าสุนัตไม่นานหลังคลอด ส่วนเด็กผู้ชายคนอื่น ๆ อาจจะมีการผ่าตัดในภายหลัง สำหรับการขลิบเป็นเรื่องพื้นฐานที่คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ในปัจจุบันจำเป็นจะต้องรู้ อย่างน้อยต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่จะทำการขลิบปลายนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะทำหลังจากคลอด 2-3 อาทิตย์ แต่สำหรับเด็กทารกบางคนก็อยู่ในระยะเวลา 10 วัน ซึ่งวิธีการนั้นก็จะเป็นการตัดเอาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศของเด็กผู้ชายออกนั่นเอง วิธีการดูแลรักษาหลังการขลิบ หลังจากพาลูกน้อยไปขลิบมาเรียบร้อยแล้ว อาการจะสามารถหายไปได้ภายใน 7-10 วัน ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้คุณพ่อคุณแม่ควรพยายามดูแลรักษาและทำความสะอาดให้ได้มากที่สุด และอาจจะต้องมีการคอยระมัดระวังบริเวณที่ไปขลิบมา เนื่องจากอาจจะมีอาการบวม หรือเลือดออกในบางครั้ง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา สาเหตุของการขลิบ เพื่อความสะอาด คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คนอาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เนื่องจากว่า หากดูแลได้ไม่ดีพอหรือไม่คอยดูแลรักษาความสะอาดในส่วนนั้นสักเท่าไหร่ อาจจะทำให้เกิดการสะสมเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 มีการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นหารพลิกตัว พูดคำง่าย ๆ ซึ่งถือเป็นช่วงการเรียนรู้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะส่งเสริมพัฒนาการด้วยการเล่น หรือพูดคุยกับลูก เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้และเลียนแบบ นอกจากนี้ การดูแลสุขภาพร่างกายของลูกให้แข็งแรง ก็เป็นอีกเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความใส่ใจ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโต พฤติกรรม และ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 ลูกน้อยจะเติบโตและมีพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 19 อย่างไร แม้ว่าการร้องไห้ยังคงเป็นรูปแบบการสื่อสารของทารก แต่ลูกน้อยอาจเริ่มพัฒนาอารมณ์ขันขึ้นมาบ้าง โดยอาจเริ่มหัวเราะเมื่อรู้สึกประหลาดใจ เช่น เวลาเห็นคุณพ่อคุณแม่โผล่ออกมาจากใต้ผ้าห่ม หรือของเล่นเด้งขึ้นมาจากกล่อง นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจส่งเสริมการหัวเราะ เสียงคิกคัก และรอยยิ้มของลูกน้อยด้วยการทำหน้าตลก ๆ ให้ดู ลูกน้อยยังชอบได้ยินเสียงโน่นเสียงนี่ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการสร้างเสียงขึ้นมาเลย แค่กระเดาะลิ้น ผิวปาก หรือทำเสียงร้องของสัตว์ ลูกน้อยก็สนุกแล้ว นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจมีพัฒนาการ ดังนี้ ควบคุมลำตัวให้ตรงได้ในขณะนั่ง พลิกตัวไปในทิศทางหนึ่ง ให้ความสนใจต่อเสียง โดยเฉพาะเสียงของคุณแม่ พูดคำง่าย ๆ บางคำได้ กระโดดโลดเต้นได้แล้ว ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกน้อยหัวเราะ ด้วยการหัวเราะไปกับลูกหรือทำหน้าตลก ๆ […]


ขวบปีแรกของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 18 หรือประมาณ 4 เดือน คือเด็กอาจเริ่มให้ความสนใจกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว ชอบหยิบจับของ ชอบทำสิ่งเดิมซ้ำ ๆ ในช่วงอาจควรต้องระวังภาวะต่าง ๆ เช่น อาการตาแดง น้ำหนักตัวน้อย รวมไปถึงระวังพฤติกรรมการดูดนิ้วของลูกที่อาจติดนิสัยและส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปากและฟันได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] การเจริญเติบโตและพฤติกรรม ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร เมื่อมาถึงตอนนี้ทารกอาจเล่นกับมือและเท้าของเขาครั้งละ 2-3 นาที เขามักชอบทำอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกระทั่งเขาแน่ใจถึงผลลัพธ์แล้วนั่นแหละ ถึงจะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพื่อดูว่าผลลัพธ์จะมีความแตกต่างกันหรือไม่ จู่ๆ ในห้องนอนก็จะเงียบผิดสังเกต ซึ่งเมื่อมองเข้าไปก็จะพบว่า ลูกน้อยซึ่งตอนนี้ต้องการความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่แทบจะทุกวินาทีที่ตื่นอยู่ กำลังเล่นสนุกอยู่คนเดียวในเปลของเขา ในช่วงสัปดาห์ที่ 18 นี้ ลูกน้อยอาจจะ ควบคุมศีรษะให้นิ่งได้เมื่อตั้งตัวขึ้น ใช้มือยันอกขึ้นเมื่อนอนคว่ำ จับของเล่นที่วางอยู่บนหลังหรือบนนิ้วมือ ใช้มือและเท้าทั้งสองข้างพร้อมกันภายในไม่กี่นาที เล่นอย่างอิสระในพื้นที่ส่วนตัวของเขา ให้ความสนใจกับสิ่งของขนาดเล็ก (อย่าปล่อยให้สิ่งของเหล่านี้อยู่ในที่ที่เขาหยิบจับได้) ชอบทำอะไรซ้ำๆ เพื่อดูผลลัพธ์ของการกระทำนั้น แล้วเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น เพื่อดูว่าจะต่างกันยังไง จับสิ่งของได้ ชอบความตื่นเต้น ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร อาจเล่นเกมส์กับลูกน้อย มีเกมส์มากมายที่ช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสของเขาได้ ซึ่งจริงๆ แล้วลูกน้อยกำลังเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา อาจปล่อยให้เขาถือของเล่นต่างๆ โดยเลือกแบบที่พื้นผิวหรือสีสันต่างกันมาให้เขาเล่น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสและการมองเห็นให้เขาได้ เกมส์ที่เด็กทุกคนชอบนักชอบหน้าก็คือการเล่น ‘จ๊ะเอ๋‘  ถ้าจำเกมส์นี้ไม่ได้เราก็จะของเตือนความจำให้หน่อยนะ วิธีเล่นคือใช้มือทั้งสองข้างปิดหน้าเอาไว้ พอเปิดหน้าออกก็พูดด้วยน้ำเสียงอันตื่นเต้นว่า ‘จ๊ะเอ๋!’ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 17 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อยในแต่ละช่วงเวลา นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้เอาไว้ การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 17 เดือน ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุ 17 เดือนแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นลูกน้อยส่งเสียงอย่างหนึ่งขึ้นมา นั่นก็คือเสียงกรีดร้อง เนื่องจากลูกพบเสียงของตัวเอง และทดสอบว่าจะมีเสียงดังมากแค่ไหน เขาอาจต้องการความสนใจแบบทันทีทันควัน วิธีรับมือที่ดีที่สุด คือ ทำเป็นไม่สนใจ เพราะยิ่งให้ความสนใจมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็ยิ่งกรีดร้องมากขึ้น ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร การออกเสียง ในขณะที่ลูกน้อยมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อบริเวณลิ้นและปากก็อาจจะออกเสียงได้ดีขึ้น ดังนั้น การออกเสียงในสิ่งที่ลูกน้อยพูดซ้ำ ๆ เป็นการช่วยแก้ไขการออกเสียงให้ถูกต้อง และช่วยให้คนในครอบครัวหรือคนอื่น ๆ สามารถฟังสิ่งที่ลูกน้อยพูดได้เข้าใจมากขึ้น สอนลูกเรื่องการร้องเสียงดัง ลูกน้อยอาจกรีดร้องใส่หูของคุณพ่อคุณแม่ จึงควรอธิบายให้ลูกน้อยเข้าใจว่าการตะโกนเป็นการทำร้ายหู และบอกลูกว่าเขาไม่มีสิทธิ์จะโต้ตอบอะไรถ้าไม่ใช้เสียงปกติ แต่ระวังอย่าตะโกนสั่งสอนหรือดุ คุณพ่อคุณแม่อาจบอกว่า “ลูกพูดเสียงดังเวลาอยู่กลางแจ้งได้ แต่จะไม่เสียงดังเวลาอยู่ร่วมกับคนอื่น” ควรทำอาหารให้หลากหลายในทุก ๆ มื้อ ถ้าคุณพ่อคุณแม่เสนอตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพได้อย่างหลากหลาย จากกลุ่มอาหารที่ต่าง ๆ ลูกน้อยก็มีสิทธิ์จะได้รับสารอาหารที่จำเป็นได้อย่างครบถ้วน สุขภาพและความปลอดภัย จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ คุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกับคุณหมอในเรื่องต่อไปนี้ ลูกน้อยนอนอย่างไร ในวัยนี้ลูกน้อยจะใช้เวลานอนประมาณ 11 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน และงีบหลับประมาณ 2 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน ช่วงก่อนนอนมักเป็นช่วงที่ต้องสู้รบปรบมือกันมากหน่อย เนื่องจากลูกน้อยในวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่ง หรืออาจจะไม่ยอมนอน เพราะกลัวความมืดและการอยู่คนเดียว ลูกน้อยกินอาหารอย่างไร คุณหมอจะซักถามเพื่อตรวจดูว่า […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ลูกน้อยวัย 16 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ถ้าคุณเป็นคุณแม่ที่เพิ่งคลอดได้ไม่นาน แล้วอยากจะรู้ถึงพัฒนาการของลูกน้อย ในแต่ละช่วงเวลาล่ะก็ นี่คือข้อมูลของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน ที่คุณแม่ควรรู้เอาไว้ การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 16 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง กลัวเสียงดัง ลูกน้อยวัย 16 เดือนอาจกลัวเสียงดัง และแสดงออกถึงความกลัว โดยลูกน้อยอาจตื่นกลัว ร้องไห้ หรือตกใจเสียงเครื่องดูดฝุ่น พายุฝนฟ้าคะนอง เสียงหวอ ดอกไม้ไฟ และเสียงลูกโป่งแตก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดในการช่วยเหลือลูกน้อย คือ การปลอบโยน โดยการกอดและการรับรู้ถึงความรู้สึก เพื่อให้ลูกน้อยรู้สึกปลอดภัย นอกจากนี้ อาจสอนให้ลูกน้อยทำท่าปิดหู เวลาได้ยินเสียงดัง เพื่อช่วยควบคุมความกลัว แล้วในที่สุดลูกน้อยก็จะเลิกกลัวเสียงดังไปเอง เพราะจะเริ่มเข้าใจว่าเสียงนั้นมาจากไหน และเรียนรู้ว่าเสียงดังเกิดจากอะไร งีบหลับ ในช่วงอายุ 15-18 เดือน ลูกน้อยอาจไม่ต้องการงีบหลับในช่วงเช้าแล้ว เนื่องจากการงีบหลับช่วงเที่ยงวัน หรือช่วงบ่ายก็เพียงพอแล้ว ในช่วงแรก ๆ การงีบหลับ 1 ครั้งอาจใช้เวลานานกว่าที่เคย แต่ควรระวังอย่าให้หลับนานเกินไปในช่วงกลางวัน เพราะจะทำให้ไม่รู้สึกง่วงเมื่อถึงเวลานอน และอาจจำเป็นต้องลดเวลาในการงีบหลับในช่วงบ่ายให้น้อยลง การนอนจะดำเนินไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น ถ้าคุณพ่อคุณแม่สร้างกิจวัตรที่ดีขึ้นมาให้ลูกน้อยปฏิบัติตาม ซึ่งกิจวัตรที่ดีควรจะมีเวลาที่เหมาะสม คือ ประมาณ 20-30 นาที โดยกิจกรรมทีททำควรทำให้รู้สึกผ่อนคลาย เช่น […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ลูกน้อยวัย 15 เดือน การเจริญเติบโต พัฒนาการ และวิธีดูแลที่ควรรู้

ลูกน้อยวัย 15 เดือน หรือประมาณ 1 ขวบนิด ๆ เป็นช่วงวัยที่อาจเริ่มมีพัฒนาการด้านการเดินแล้ว อีกทั้งพัฒนาการด้านการพูดก็อาจเพิ่มขึ้นจนทำให้สามารถพูดได้บ้างเล็กน้อยเช่นกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีการดูแลลูกที่เหมาะสม รวมถึงคอยสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของพัฒนาการล่าช้า เช่น ไม่ยอมพูด ไม่ยอมเดิน ไม่สบตา และควรพาลูกเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 15 เดือน ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง ขณะนี้ลูกน้อยมีอายุได้ 15 เดือนแล้ว เมื่อมาถึงตอนนี้เขาน่าจะเริ่มหัดเดินแล้ว จัดสถานที่ให้เขาใช้เป็นที่หัดเดินซะ ถ้าเขาหกล้มก็ไม่ต้องเป็นกังวล นี่เป็นวิธีที่เขาเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยลูกดันกล่อง หรือดันรถเข็นเด็ก ซึ่งจะทำให้ลูกได้พัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวได้ ลูกน้อยอาจเริ่มอยากเป็นอิสระมากขึ้น โดยอาจต้องการนั่งกินอาหารค่ำแทนที่จะนั่งบนเก้าอี้เด็ก นอกจากนี้ ลูกอาจชอบดิ้นบ่อยและรุนแรง โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อม และแปรงฟัน สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องทำก็คือควรทำใจเย็นๆ เข้าไว้ และพยายามเรียบเรียงคำพูดใหม่ในการออกคำสั่ง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ไปแปรงฟันซะ!” อาจบอกว่า “ไปทำอะไรสนุกๆ กันดีกว่า” หรือ “ไปแปรงฟันด้วยกันนะ” พัฒนาการโดยทั่วไปของ ลูกน้อยวัย 15 เดือน มีดังนี้ พูดได้อย่างน้อยสามคำ เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ (“ไม่” หรือ “ส่งมาให้แม่นะจ๊ะ”) […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน