ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท มีบทบาทสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาทที่มีอยู่มากมายในร่างกาย เมื่อระบบประสาทเกิดความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายได้อย่างมาก เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาวะที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของ สมองและระบบประสาท รวมถึงการป้องกันและการรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ระบบประสาทและสมอง

‘ซุปไก่สกัด’ เครื่องดื่มบำรุงสุขภาพ ตัวช่วยกระตุ้นสมองให้จำดีขึ้น!

‘ซุปไก่สกัด’ หนึ่งในสุดยอดเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศแถบทวีปเอเชีย เนื่องจากมีความเชื่อกันว่าซุปไก่สกัดนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ จึงมีสรรพคุณที่มีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองและช่วยฟื้นบำรุงร่างกายจากอาการเหนื่อยล้า โดยปัจจุบันพบว่ามีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันถึงประโยชน์ของซุปไก่สกัดต่อสุขภาพไว้มากมาย โดยเฉพาะในด้านประโยชน์ต่อการทำงานของสมอง เนื่องจากในซุปไก่สกัดนั้นมี Dipeptine Anserine และ Carnosine ที่มีคุณสมบัติช่วยต้านสารอนุมูลอิสระซึ่งมีประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพสมอง ซุปไก่สกัดกับประโยชน์ดีๆ ต่อสมอง  1. มีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจนในสมอง ซึ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของสมองและความจำ   สมองของคนเรานั้นจำเป็นต้องใช้ออกซิเจนในการทำงาน หากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หรือหากขาดออกซิเจนเพียง 5 นาที จะส่งผลทำให้เซลล์สมองค่อยๆ ตายลงได้ โดยสมองส่วนที่ไวต่อการขาดออกซิเจนเร็วที่สุดคือสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งสมองส่วนนี้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทำให้ความจำระยะสั้นกลายเป็นความจำระยะยาว หากสมองส่วนนี้ฝ่อหรือเสียหายจากการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาด้านความจำ การคิด การสั่งการ และการบริหารจัดการ จากผลการทดลองพบว่ากลุ่มที่ดื่มซุปไก่สกัดมีระดับของออกซีฮีโมโกลบิน (Oxy-Hemoglobin) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จึงอาจกล่าวได้ว่าซุปไก่สกัดมีส่วนช่วยให้เลือดสามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การคิด การตัดสินใจได้ดีขึ้น โดยมีงานวิจัยหนึ่งให้ผู้ทดลองที่อยู่ในวัยสูงอายุและมีสุขภาพดีจำนวน 12 ราย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกให้ดื่มซุปไก่สกัด ส่วนกลุ่มที่ 2 ให้ดื่มซุปไก่สกัดหลอก ในปริมาณขนาด 70 มล. เท่ากัน จำนวน 2 ขวด เป็นระยะเวลาติดต่อกันนาน 7 วัน แล้วให้ผู้ทดลองทำแบบทดสอบด้านความจำและการทำงานต่าง ๆ […]

หมวดหมู่ ระบบประสาทและสมอง เพิ่มเติม

สำรวจ ระบบประสาทและสมอง

อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัว สาเหตุ การรักษา และวิธีป้องกัน

ปวดหัว หรือปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้สายตามากเกินไป รวมถึงเป็นหนึ่งในอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคหวัด โรคโควิด-19 โรคไซนัสอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ การรักษา ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น ควรไปพบคุณหมอหากปวดหัวหลายวันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ปวดหัว คืออะไร ปวดหัว เป็นอาการที่แสดงถึงภาวะสุขภาพของร่างกายที่ไม่ปกติ นับตั้งแต่บริเวณกล้ามเนื้อคอจนถึงกลางกระหม่อม รวมทั้งบริเวณหน้าผาก ขมับ ท้ายทอย เบ้าตา โดยอาการปวดหัวมักมีทั้งปวดแบบคงที่ ปวดหัวรุนแรง ปวดข้างใดข้างหนึ่ง ปวดตุบ ๆ ทั้งนี้ อาการปวดหัวมีหลายรูปแบบ ที่พบได้บ่อย มีดังนี้ ปวดหัวจากกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension Headaches) เป็นอาการปวดหัวที่พบได้ในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ มีสาเหตุมาจากความเครียด โดยอาการมักพบบริเวณท้ายทอย และอาจปวดร้าวไปถึงขมับทั้ง 2 ข้างหรือปวดทั่วศีรษะ ปวดหัวไมเกรน (Migraine Headaches) เป็นอาการปวดหัวที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมี เส้นประสาท และหลอดเลือดในสมอง ปกติแล้ว ปวดหัวไมเกรนมักเกิดขึ้นกับหัวซีกใดซีกหนึ่ง และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อมหรือ Dementia คืออะไร และป้องกันได้อย่างไร

ภาวะสมองเสื่อม หรือ Dementia คือ กลุ่มอาการที่ส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ ผู้ที่มีภาวะนี้อาจมีอาการ เช่น นึกคำพูดไม่ออก สูญเสียความทรงจำ วิตกกังวล ขาดความสามารถในการตัดสินใจ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก องค์การอนามัยโลกชี้ว่า ในปัจจุบันมีผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมากกว่า 55 ล้านคนทั่วโลก และจำนวนผู้ป่วยอาจเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ปี ซึ่งอย่างไรก็ตาม การศึกษาวิธีป้องกันภาวะสมองเสื่อมอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้  Dementia คือ อะไร Dementia คือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของเปลือกสมองซึ่งเป็นส่วนนอกสุดของสมอง หรือเกิดจากประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อย ๆ เสื่อมลง จนส่งผลต่อความสามารถด้านความคิดความเข้าใจ (Cognitive functioning) เช่น การรับรู้ การคิด การจดจำ การใช้เหตุผล จนบางครั้งอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมบางคนอาจควบคุมอารมณ์ไม่ได้ และบุคลิกภาพอาจเปลี่ยนไป ภาวะนี้มีตั้งแต่ระยะไม่รุนแรงจนถึงระยะรุนแรงที่อาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากและจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากผู้อื่น  อาการของ Dementia หรือภาวะสมองเสื่อม อาการของ dementia อาจจำแนกประเภทได้ดังนี้  การเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา  สับสน  ลืมง่าย แม้สถานการณ์เพิ่งผ่านไปไม่นาน  มีปัญหาด้านการสื่อสาร  มีปัญหาด้านการแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล  […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

อาการไมเกรน การรักษาและป้องกัน

อาการไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะรุนแรง มักเกิดขึ้นบริเวณศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง หรือบางคนอาจมีอาการปวดทั่วทั้งศีรษะ และมักมาพร้อมกับอาการปวดเบ้าตา คลื่นไส้ อาเจียน มีความรู้สึกไวต่อแสง เสียง และกลิ่น ไมเกรนอาจมีอาการเกิดขึ้นยาวนานหลายชั่วโมงหรือหลายวัน จนอาจกระทบต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน ไมเกรน คืออะไร ไมเกรน คือ อาการปวดศีรษะรุนแรง มักเกิดขึ้นบริเวณศีรษะข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจมีอาการปวดทั่วศีรษะ สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยบางประการอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไมเกรนได้ เช่น ความเครียด พันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม (เช่น สภาพอากาศร้อน) อาหารที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาขยายหลอดเลือดที่อาจกระตุ้นอาการไมเกรน เช่น ไนโตรกลีเซอรีน (Nitroglycerin) ไมเกรนอาจมีอาการเตือนอื่น ๆ เกิดขึ้นก่อนปวดศีรษะ เช่น หน้ามืด รู้สึกเสียวแปล๊บที่ใบหน้า แขน หรือขาข้างใดข้างหนึ่ง มีปัญหาในการพูด แต่ผู้ป่วยบางรายก็อาจไม่มีอาการเตือนใด ๆ เกิดขึ้น อาการไมเกรน ที่พบบ่อย อาการไมเกรนสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจแบ่งได้เป็น 4 ระยะ แต่ไม่จำเป็นว่าทุกคนจะต้องมีอาการทุกระยะ ดังนี้ 1. ระยะอาการบอกเหตุ (Prodrome) บางคนอาจมีอาการบอกเหตุก่อนเป็นไมเกรนประมาณ 1-2 วัน หรือมากกว่านั้น […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวข้างขวา สาเหตุ อาการ และการรักษา

ปวดหัวข้างขวา มีหลายสาเหตุ อาจเกิดจากปัญหาทางระบบประสาท ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเหนื่อยล้า เนื้องอก โรคภูมิแพ้ บาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดหัวไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด อาจทำให้เกิดอาการปวดหัวข้างขวา และอาจมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ เช่น ตาพร่า คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออกบนใบหน้า ผิวซีด [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ปวดหัวข้างขวา คืออะไร ปวดหัวข้างขวา คือ อาการปวดหัวเพียงข้างเดียว อาจมีสาเหตุมาจากปัญหาทางระบบประสาท กรรมพันธุ์ การใช้ยาบางชนิด ผลข้างเคียงของยา การใช้ยาเกินขนาด ความเครียด ความเหนื่อยล้า การบาดเจ็บที่ศีรษะ เนื้องอก สภาพอากาศ เป็นต้น และอาจมีโรคปวดหัวที่มักทำให้ปวดหัวข้างขวา คือ ไมเกรน ปวดหัวแบบคลัสเตอร์ และปวดหัวจากความเครียด ซึ่งอาจมาพร้อมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียการมองเห็นชั่วขณะ อาการมึนตื้อ ๆ ปวดเมื่อย กล้ามเนื้อไหล่และคอตึง เป็นต้น อาการ อาการปวดหัวข้างขวา สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการปวดหัวข้างขวาอาจเกิดจากไมเกรนและอาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) หรือในบางกรณีความเครียดก็อาจทำให้มีอาการปวดหัวข้างเดียวได้เช่นกัน อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster headaches) อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์เป็นอาการที่พบได้ค่อนข้างยาก มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ปวดหัวข้างซ้าย สาเหตุ อาการ และวิธีรับมือ

ปวดหัวข้างซ้าย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาจเกิดจากโรคปวดศีรษะโดยตรง เช่น โรคไมเกรน หรืออาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง การติดเชื้อ เนื้องอกในสมอง หากมีอาการบ่อยครั้ง ควรเข้ารับการตรวจโดยคุณหมอเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย หาวิธีรักษาหรือวิธีการรับมือได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพโดยรวม [embed-health-tool-bmi] ปวดหัวข้างซ้าย คืออะไร ปวดหัวข้างซ้าย เป็นภาวะสุขภาพที่พบได้บ่อย อาจเป็นผลมาจากกล้ามเนื้อตึงตัว หรือหลอดเลือดในสมองขยายหรือพองตัว หรือในบางกรณี อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับสารเคมีในสมอง การส่งกระแสประสาทที่ผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางประการ เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้เช่นกัน สาเหตุของอาการปวดหัวข้างซ้าย ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายได้ มีดังต่อไปนี้ โรคปวดศีรษะ เช่น โรคไมเกรน อาการปวดที่พบมักอยู่ในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง เริ่มเกิดขึ้นที่บริเวณรอบดวงตาหรือขมับ โดยอาการอาจลามไปทั้งข้างซ้ายและข้างขวา หรืออาจมีอาการปวดหัวข้างเดียวก็ได้ นอกจากนี้ อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน การมองเห็นเปลี่ยนแปลง วิงเวียนศีรษะ ไวต่อแสง เสียง สัมผัส หรือกลิ่นมากเป็นพิเศษ หน้า หรือแขนขาชา หรือปวดหัวข้างซ้ายเหมือนเข็มทิ่ม โรคปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหัวข้างซ้ายหรือข้างขวาอย่างรุนแรง รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณรอบดวงตา อาการมักเกิดในตอนกลางคืน โดยเฉพาะหลังนอนหลับได้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดรุนแรงประมาณ […]


ระบบประสาทและสมอง

ระบบประสาท

ระบบประสาท มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเคลื่อนไหว ความคิด ความรู้สึก การพูด การหายใจ โดยเชื่อมกับการทำงานของสมองและไขสันหลัง ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้ระบบประสาทเสื่อม และพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ลดระดับความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท [embed-health-tool-heart-rate] ระบบประสาท คืออะไร ระบบประสาท เป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเส้นประสาทและเซลล์จำนวนมาก ทำงานร่วมกับสมองและไขสันหลัง เพื่อช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ระบบประสาทแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System : CNS) ระบบประสาทส่วนกลางประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ในการรับรู้ ประมวลผล และสั่งการ อวัยวะ 2 ส่วนนี้จะทำงานร่วมกัน โดยไขสันหลังเป็นทางผ่านที่ช่วยถ่ายทอดกระแสประสาทหรือข้อมูลจากสมองไปร่างกายและจากร่างกายกลับมายังสมอง สมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ สมองส่วนหน้า เป็นสมองส่วนที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุด ประกอบด้วยซีรีบรัม (Cerebrum) หรือที่เรียกว่าสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวาที่เชื่อมต่อกัน โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าซีรีบรัมแต่ละซีกมีหน้าที่แตกต่างกัน ซีรีบรัมด้านซ้ายควมคุมการคิด การวิเคราะห์ ตรรกะ เป็นต้น ส่วนซีรีบรัมด้านขวาควบคุมความคิดสร้างสรรค์ สัญชาตญาณ เป็นต้น […]


อาการปวดศีรษะและไมเกรน

ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) ที่ส่งผลให้ปวดหัวจนเบลอได้

Confusional Migraine เป็นไมเกรนชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เบลอ คิดอะไรไม่ออก สำหรับบางคนที่มีอาการหนักมาก ๆ ถึงขั้น ไม่รู้ตัว ไมเกรนชนิดนี้จะเป็นชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่พบได้ในเด็กเท่านั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ไมเกรนสับสน มาให้ได้อ่านกันค่ะ ไมเกรนสับสน (Confusional Migraine) คืออะไร Confusional Migraine หรือที่เรียกว่า “ไมเกรนสับสน” ไมเกรนสับสนเฉียบพลัน (Acute Confusional Migraine หรือ ACM) เป็นไมเกรนชนิดที่หาได้ยาก ส่วนใหญ่แล้วพบได้ในเด็กและวัยรุ่น โดยเด็กร้อยละ 10 ที่มีอาการไมเกรน ภายในกลุ่มนี้จะมีเด็กที่เป็นไมเกรนสับสนน้อยกว่าร้อยละ 8 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการไมเกรนสับสนมักจะมีอาการกระวนกระวายใจ สับสน เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ Confusional Migraine นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สาเหตุหนึ่งที่อาจเป็นไปได้คือ ศีรษะได้รับการกระแทก จากรายงานพบว่า ผู้ป่วยครึ่งหนึ่งที่มีอาการ Confusional Migraine มีสาเหตุมาจากศีรษะได้รับการกระแทก นอกจากนี้ ความเครียดทางอารมณ์และการอออกกำลังกายอย่างหนักยังเป็นตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดไมเกรนสับสนได้อีกด้วย อาการของไมเกรนสับสน Confusional Migraine ถูกตั้งชื่อจากอาการหลักที่เกิดขึ้น […]


ปัญหาระบบประสาทและสมองแบบอื่น

อาการเซ (Ataxia)

อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น คำจำกัดความอาการเซ (Ataxia) คืออะไร  อาการเซ (Ataxia) ไม่ใช่ความผิดปกติของโรคร้ายแรง แต่เกิดจากภาวะของกล้ามเนื้อที่ทำงานไม่ประสานกัน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของระบบประสาท ทำให้เสียสมดุลขณะเคลื่อนไหว เช่น มีอาการเซขณะเดิน ยืน นั่ง การพูด การกลืนอาหาร เป็นต้น  พบได้บ่อยเพียงใด อาการเซสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบในผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับสมองและไขสันหลัง ส่วนใหญ่จะปรากฎอาการเหล่านี้ในผู้ที่มีอายุก่อน 25 ปี    อาการอาการเซ (Ataxia) อาการเซเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติทางระบบประสาท โดยมีลักษณะอาการ ดังต่อไปนี้  มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร ดวงตาเคลื่อนไหวกลับไปกลับมา ประสิทธิภาพการใช้กล้ามเนื้อลดลง เช่น การรับประทานอาหาร การเขียน การติดกระดุมเสื้อ การเคลื่อนไหว การทรงตัวไม่ดี เช่น มีอาการเซขณะเดิน หรือขณะลุกและนั่ง ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของอาการเซ (Ataxia) สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการเซเกิดจากความเสียหายของเซลล์ส่วนประสาทในส่วนที่ควบคุมการประสานงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้เกิดการเสียสมดุลในการเคลื่อนไหว รวมถึงสาเหตุและปัจจัยดังต่อไปนี้  ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ด้วย 5 วิธีง่าย ๆ ที่ใครก็ทำได้

ภาวะสมองเสื่อม เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีอัตราการเติบโตเร็วที่สุดในโลก ภาวะสมองเสื่อมเป็นภาวะที่ผู้ป่วยมักมีปัญหาเกี่ยวกับความจำและความคิด ซึ่งส่งผลต่อผู้คนประมาณ 50 ล้านคนทั่วโลก นอกจากนี้องค์กรอนามัยโลก (WHO) ยังคาดการณ์ว่าน่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าใน 30 ปีข้างหน้า แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะยังไม่มีวิธีในการรักษา แต่วันนี้ Hello คุณหมอ มีวิธีการปฏิบัติตัวอย่างง่าย ๆ 5 วิธี ที่ช่วย ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ได้ 5 วิธี ลดความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม อายุที่มากขึ้นก็มักจะมาพร้อมกับปัญหาสุขภาพมากมาย ปัญหาภาวะสมองเสื่อม เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่มักจะเกิดเมื่ออายุมากขึ้น แม้ภาวะสมองเสื่อมจะยังไม่มีวิธีการรักษา แต่การปฏิบัติตัวที่ดีก็มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ ดังนี้ รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง ที่สำคัญการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพนั้นยังส่งผลดีต่อสมองอีกด้วย องค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำว่าการบริโภคผลไม้ ผัก ปลา ถั่ว น้ำมันมะกอก และกาแฟ อาหารเหล่านี้ล้วนมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ทั้งสิ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นักวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำนั้นส่งผลดีต่อสมอง จากการศึกษาในปี 2019 พบว่า ผู้ที่มีการออกกำลังกายเป็นประจำ มีอาการของภาวะสมองเสื่อมน้อยกว่าผู้ไม่ออกกำลังกาย ดังนั้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ โดยควรออกกำลังกายระดับปานกลาง […]


ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

สัญญาณเหล่านี้อาจบ่งบอกว่าคุณมี อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ผู้ป่วยจะมีความคิด การสื่อสาร และความจำบกพร่อง บางครั้งคุณอาจมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ หรือว่าสูญเสียความทรงจำ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่า ปัญหาเหล่าเป็นปัญหาภาวะสมองเสื่อม การที่จะมีภาวะสมองเสื่อมจะต้องมีความบกพร่องอย่างน้อย 2 ประเภท ซึ่งปัญหาเหล่านั้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนต้องเข้ารับการวินิจฉัยจากคุณหมอว่ามีอาการของภาวะสมองเสื่อมหรือไม่ วันนี้ Hello คุณหมอ มี สัญญาณ อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม มาให้อ่านกันค่ะ รู้จักกับอาการสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อม (Dementia) เป็นกลุ่มอาการที่ส่งผลความจำ ความคิด และการสื่อสาร ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะส่งผลอย่างรุนแรงต่อผู้ป่วย จนกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ภาวะสมองเสื่อมเกิดจากโรคอื่น ๆ จนทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม ถึงแม้ว่าภาวะสมองเสื่อมนั้นจะเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความทรงจำ แต่บางครั้งการที่คุณสูญเสียความทรงจำ ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าคุณมีภาวะสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) เป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แต่ก็มียังมีสาเหตุและโรคอื่น ๆ อีกมากมายที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งในแต่ละโรคก็จะมีสาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป สัญญาณ อาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม สำหรับผู้ที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมจากแพทย์ จะต้องมีอาการของภาวะสมองเสื่อมอย่างน้อย 2 ประเภท ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งสัญญาณและอาการเหล่านี้อาจบ่งบอกได้ว่านี่คืออาการเริ่มต้นของภาวะสมองเสื่อม เกิดความเปลี่ยนแปลงกับความจำระยะสั้น การมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ ถือเป็นปัญหาเริ่มต้นที่มักจะพบในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยเฉพาะความจำระยะสั้น โดยจะจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เช่น จำได้ว่าไปกินข้าวที่ไหนมา แต่จำไม่ได้ว่ากินอะไรไปบ้าง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน