สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

Dysuria คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Dysuria (ภาวะปัสสาวะขัด) คือ ภาวะที่ส่งผลให้มีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออกหรือไหลน้อย และมีอาการเจ็บแสบขณะปัสสาวะ ที่อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อในช่องคลอด ท่อปัสสาวะอักเสบ ซึ่งควรเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-heart-rate] Dysuria คืออะไร Dysuria คือ ภาวะปัสสาวะขัด พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้ การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใส่อุปกรณ์คุมกำเนิดในช่องคลอด ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง ที่อาจส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ และส่งผลให้เกิดภาวะปัสสาวะขัด มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในมดลูกที่มีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การผ่าตัดบริเวณมดลูก การขูดมดลูกหลังคลอดหรือแท้งบุตร การใส่อุปกรณ์คุมกำเนิด ที่อาจลุกลามไปยังท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะจนนำไปสู่การเกิดภาวะปัสสาวะขัดได้ การติดเชื้อในช่องคลอด อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อยีสต์ หรือการติดเชื้อปรสิต ที่มีปัจจัยเสี่ยงมาจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การมีคู่นอนหลายคน นอกจากนี้การติดเชื้อในช่องคลอดยังอาจเกิดจากสารระคายเคืองต่าง ๆ เช่น สบู่ ผ้าอนามัย กระดาษทิชชู่ ที่ส่งผลให้ช่องคลอดระคายเคืองและเกิดการติดเชื้อ จนนำไปสู่ภาวะปัสสาวะขัด ต่อมลูกหมากอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณต่อมลูกหมากที่อยู่บริเวณใต้กระเพาะปัสสาวะ ที่ส่งผลให้ปัสสาวะขัด และอาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น […]


สุขภาพทางเพศ

Hypospadias คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Hypospadias (รูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติในเพศชาย) คือ ภาวะผิดปกติที่อาจเป็นได้ตั้งแต่กำเนิดและมีสาเหตุไม่ชัดเจน โดยสังเกตได้จากองคชาตโค้งลง ปัสสาวะไหลออกผิดช่องทาง อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดและควรเข้าพบคุณหมอตามกำหนด เพื่อติดตามอาการหลังการผ่าตัดป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] Hypospadias คืออะไร Hypospadias คือ ภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติในเพศชาย ซึ่งเป็นความพิการแต่กำเนิดที่มักเกิดในช่วงสัปดาห์ที่ 8-14 ของการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดหลังจากคลอดบุตรประมาณ 3-18 เดือน หรือตามที่คุณหมอแนะนำ ภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติในเพศชาย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ซับโคโรนอล ไฮโปสปาเดีย (Subcoronal Hypospadias) เป็นประเภทที่รูท่อปัสาวะอยู่ใกล้กับหัวขององคชาต มิดชาฟ ไฮโปสปาเดีย (Midshaft Hypospadias) เป็นประเภทที่รูท่อปัสสาวะอยู่บริเวณแกนตรงข้างใต้หัวองคชาต เพนโนสกอเทิล ไฮโปสปาเดีย (Penoscrotal Hypospadias) เป็นประเภทที่รูท่อปัสสาวะอยู่บริเวณด้านล่าง ระหว่างอัณฑะและองคชาต สาเหตุของ Hypospadias คืออะไร สาเหตุของ Hypospadias อาจเกิดจากอวัยวะขององคชาตและท่อปัสสาวะพัฒนาไม่เต็มที่ในขณะที่อยู่ในครรภ์ จึงนำไปสู่ภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าผิดปกติ โดยอาจมีปัจจัยบางอย่างที่เพิ่มความเสี่ยง ดังนี้ พันธุกรรม ที่ได้รับมาจากคนในครอบครัวที่มีประวัติเป็นภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติมาก่อน ฮอร์โมนผิดปกติ คุณแม่ที่รับประทานฮอร์โมนบางชนิดที่ช่วยปรับปรุงฮอร์โมนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เกิดการตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้ทารกเสี่ยงต่อการเป็นภาวะรูเปิดท่อปัสสาวะต่ำกว่าปกติได้ ตั้งครรภ์ในช่วงอายุมาก สตรีที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 35 […]


สุขภาพทางเพศ

Hydrocele คืออะไร มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไร

Hydrocele (ถุงน้ำในอัณฑะ) คือ ภาวะที่เกิดจากของเหลวเข้าไปสะสมในถุงอัณฑะ ส่งผลมีถุงน้ำในอัณฑะและเกิดอาการปวดบวม มักพบได้บ่อยในทารกและอาจหายไปได้เองเมื่อเจริญเติบโตขึ้น แต่บางกรณีก็อาจเกิดขึ้นในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ได้ หากสังเกตพบความผิดปกติ เช่น อัณฑะบวม ปวดอัณฑะ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและไส้เลื่อนที่ขาหนีบ [embed-health-tool-heart-rate] Hydrocele คืออะไร Hydrocele คือ ภาวะถุงน้ำในอัณฑะ ภาวะที่มีของเหลวในถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของอัณฑะให้เหมาะกับการเลี้ยงอสุจิให้เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ โดยปกติในช่วงที่ระบบสืบพันธุ์กำลังพัฒนา อัณฑะจะเริ่มเคลื่อนลงมาจากช่องท้องของทารกและเริ่มสร้างถุงอัณฑะล้อมรอบลูกอัณฑะ โดยถุงอัณฑะนี้มักจะปิดช่วงใกล้คลอดและร่างกายทารกจะดูดซึมของเหลวภายในถุงอัณฑะได้เองภายในปีแรกหลังคลอด แต่หากเกิดความผิดปกติในระหว่างการพัฒนา เช่น ถุงอัณฑะปิดไม่สนิท ร่างกายไม่ดูดซึมของเหลวในถุงอัณฑะ ก็อาจส่งผลให้เกิดภาวะถุงน้ำในอัณฑะได้ ภาวะถุงน้ำในอัณฑะอาจส่งผลให้ผลิตตัวอสุจิได้น้อยลง อสุจิไม่แข็งแรง ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยากได้ สาเหตุของ Hydrocele คืออะไร Hydrocele อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ถุงน้ำบริเวณอัณฑะชนิดที่มีรูเปิด (Communicated hydrocele) เกิดจากถุงอัณฑะที่ล้อมรอบลูกอัณฑะเปิดอยู่ ส่งผลให้ของเหลวสามารถเข้าไปภายในถุงอัณฑะทำให้เกิดถุงน้ำในอัณฑะและอัณฑะบวมได้ ถุงน้ำบริเวณอัณฑะชนิดที่มีรูปิด (Non-communicating hydrocele) เกิดจากการที่ร่างกายของทารกไม่ดูดซึมน้ำที่ตกค้างอยู่ในถุงอัณฑะ ส่งผลให้เกิดภาวะถุงน้ำในอัณฑะ นอกจากนี้ ภาวะถุงน้ำในอัณฑะยังอาจเกิดจากการบาดเจ็บ การผ่าตัดบริเวณอัณฑะ การติดเชื้อ ที่ทำให้ถุงอัณฑะปิดไม่สนิท ส่งผลให้ของเหลวบริเวณช่องท้องหรือโดยรอบไหลเข้าสู่ถุงอัณฑะ นำไปสู่ภาวะถุงน้ำในอัณฑะได้ อาการของ Hydrocele คือ อาการของ Hydrocele มีดังนี้ อัณฑะบวมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง อาการเจ็บปวดอัณฑะที่อาจเกิดขึ้นในบางคน […]


การคุมกำเนิด

ขนาดถุงยางอนามัย มีความสำคัญอย่างไร

ขนาดถุงยางอนามัย เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ชายควรให้ความสำคัญ เพราะหากใช้ขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไป อาจปริแตกหรือหลุดออกระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์หรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ โดยทั่วไป ขนาดของถุงยางอนามัยที่ผู้ชายไทยนิยมใช้ ได้แก่ ขนาด 49 และ 52 มิลลิเมตร [embed-health-tool-bmi] ถุงยางอนามัย มีประโยชน์อย่างไร ถุงยางอนามัยจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ต้องมีใบอนุญาตในการผลิตหรือนำเข้า และต้องมีการตรวจสอบคุณภาพทุกรุ่นก่อนวางจำหน่ายในท้องตลาด มีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ทรงกระบอก ทำจากยางพาราหรือวัสดุสังเคราะห์ ใช้สวมองคชาตหรือสอดช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนองใน ซิฟิลิส หรือเอดส์ รวมถึงการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในประเทศไทย ถุงยางอนามัยมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ 49, 52 และ 56 มิลลิเมตร โดยขนาด 49 และ 52 มิลลิเมตร เป็นขนาดที่เหมาะกับขนาดองคชาตของผู้ชายไทยมากที่สุด ขณะเดียวกัน ความกว้างของถุงยางอนามัยจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือน้อยกว่า 1.75 นิ้ว ระหว่าง 1.75-2 นิ้ว และมากกว่า 2 นิ้ว และความกว้างจัดเป็นปัจจัยสำคัญอีกข้อในการเลือกซื้อถุงยางอนามัยของผู้ชาย ทั้งนี้ ถุงยางอนามัยแบบสอดหรือถุงยางอนามัยผู้หญิงมีหนึ่งขนาดเท่านั้นและสามารถใช้ได้กับผู้หญิงทุกคน ขนาดถุงยางอนามัย มีความสำคัญอย่างไร สำหรับผู้ชาย การใช้ถุงยางอนามัยที่เล็กหรือใหญ่กว่าองคชาตอาจทำให้ถุงยางอนามัยเสี่ยงแตก ฉีก […]


เคล็ดลับเรื่องบนเตียง

หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน เพราะอะไร

หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน? จริง ๆ แล้ว ไม่มีข้อกำหนดชัดเจนขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้หญิงแต่ละคน โดยส่วนใหญ่คุณหมออาจแนะนำให้มีเพศสัมพันธ์หลังฝ่ายหญิงคลอดลูกไปแล้ว 4-6 สัปดาห์ เนื่องจากร่างกายมักฟื้นฟูจากการบาดเจ็บหลังคลอดเรียบร้อยแล้ว และโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อน้อยลง [embed-health-tool-ovulation] หลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน โดยปกติ ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าหลังคลอดมีเพศสัมพันธ์ได้ตอนไหน อย่างไรก็ตาม คุณหมอมักแนะนำให้ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์หลังคลอดแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ เพื่อให้อุ้งเชิงกรานได้พักฟื้น และมีเวลาปรับสภาพให้กลับไปอยู่ในลักษณะเดียวกับตอนก่อนการตั้งครรภ์ เพื่อให้ไหมที่ใช้เย็บบริเวณช่องคลอดละลาย และเนื้อเยื่อมีเวลาฟื้นฟูตัวเองจนสมบูรณ์และพร้อมสำหรับเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์เร็วเกินไปโดยเฉพาะในช่วงก่อน 6 สัปดาห์ ปากมดลูกอาจจะยังปิดไม่สนิท อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกได้ง่าย เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อ เพราะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ หลังคลอด มักมีน้ำคาวปลาไหลออกมา ทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าปกติ ไม่ว่าจะคลอดแบบธรรมชาติหรือผ่าคลอด เพื่อให้มดลูกกลับสู่ขนาดใกล้เคียงกับช่วงก่อนตั้งครรภ์ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนหากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงนี้ เพศสัมพันธ์ หลังคลอด ทำไมเจ็บกว่าปกติ เมื่อมีเพศสัมพันธ์หลังคลอด ผู้หญิงอาจรู้สึกเจ็บบริเวณช่องคลอดมากกว่าปกติ เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ช่องคลอดแห้ง หลังคลอดลูก โดยเฉพาะช่วงกำลังให้นม ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) มักลดลงต่ำกว่าระดับปกติ และเนื่องจากระดับเอสโตรเจนสัมพันธ์กับปริมาณน้ำหล่อลื่น เมื่อเอสโตรเจนลดลง น้ำหล่อลื่นจึงน้อยลงตามไปด้วย จนเป็นสาเหตุให้ผู้หญิงรู้สึกเจ็บช่องคลอดระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และอาจทำให้รู้สึกแย่ต่อการมีเพศสัมพันธ์ เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง นอกจากทำให้ช่องคลอดแห้งแล้ว ระดับเอสโตรเจนที่ลดลง […]


สุขภาพทางเพศ

วัยทองอายุเท่าไหร่ เข้าสู่วัยทองแล้วมีอาการอย่างไร

วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิง เป็นภาวะธรรมชาติที่ร่างกายหยุดสร้างฮอร์โมนและหยุดการผลิตไข่ทำให้ประจำเดือนไม่มา และมักส่งผลให้มีอาการร้อนวูบวาบ อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ปัสสาวะบ่อย และเหงื่อออกตอนกลางคืน ถ้าถามว่า วัยทองอายุเท่าไหร่? คำตอบคือช่วงอายุประมาณ 45-55 ปี [embed-health-tool-ovulation] วัยทองอายุเท่าไหร่ เกิดขึ้นกับใครบ้าง วัยทอง (Menopause) เป็นภาวะธรรมชาติอย่างหนึ่งของร่างกายที่ผลิตฮอร์โมนเพศลดลง จนส่งผลให้เกิดอาการแปรปรวน โดยเฉพาะในผู้หญิง หมายถึง การหมดประจำเดือน หรือการที่ประจำเดือนไม่มาเป็นเวลา 12 เดือนขึ้นไป โดยทั่วไป วัยทองมักเกิดขึ้นในช่วงอายุระหว่าง 45-55 ปี แต่ในบางรายอาจอายุต่ำกว่า 40ปี เรียกว่า ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature Menopause) สาเหตุของวัยทอง คือการลดลงของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเจอโรน (Progesterone) ในร่างกายเพศหญิง โดยฮอร์โมนทั้ง 2 ชนิดนี้จะค่อย ๆ ลดลงจนหมดไป ทำให้ผู้หญิงไม่ได้หมดประจำเดือนในทันที แต่จะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติก่อน ทั้งนี้ วัยทองยังเป็นคำที่ใช้เรียกผู้ชายที่ร่างกายเริ่มมีฮอร์โมนเพศเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ลดลงเช่นเดียวกัน โดยภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่ออายุประมาณ 40 ปี แต่จะค่อย ๆ ลดลง ต่างจากในผู้หญิง ทั้งนี้ เทสโทสเตอโรนในผู้ชายส่วนมากจะไม่ลดลงจนต่ำกว่าเกณฑ์หรือหมดไปในทันที ทำให้วัยทองในผู้ชายแทบไม่ส่งผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือรบกวนการดำเนินชีวิต วัยทอง […]


สุขภาพทางเพศ

ผู้ชายเสร็จเร็วเพราะอะไร และการรักษาอาการเสร็จเร็ว

เสร็จเร็ว หมายถึง การหลั่งอสุจิอย่างรวดเร็วหลังสอดใส่ประมาณหนึ่งนาทีโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเป็นปัญหาที่พบบ่อย หรือในอัตรา 1 ใน 5 ของผู้ชายอายุระหว่าง 18-59 ปี หากถามว่า ผู้ชายเสร็จเร็วเพราะอะไร คำตอบคือการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน ความเครียด โรคซึมเศร้า รวมถึงความวิตกกังวลต่อการมีเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] เสร็จเร็ว คืออะไร เสร็จเร็ว (Premature Ejaculation) หมายถึง การหลั่งอสุจิอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยอาจเกิดขึ้นหลังเล้าโลมหรือหลังสอดใส่เพียงไม่นาน โดยปกติแล้ว ผู้ชายส่วนใหญ่มักหลั่งน้ำอสุจิหรือถึงจุดสุดยอดหลังสอดใส่ไปแล้วประมาณ 5-7 นาที แต่ระยะเวลาในการถึงจุดสุดยอดของผู้ชายนั้นอาจมีตั้งแต่ 1 นาทีหรืออาจนานกว่าครึ่งชั่วโมง ทั้งนี้ สมาคมศัลยแพทย์ระบบปัสสาวะแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่าการเสร็จเร็วเป็นความบกพร่องด้านเพศสัมพันธ์ และ 1 ใน 5 ของผู้ชายอายุระหว่าง 18 ถึง 59 ปี เคยมีปัญหาเสร็จเร็ว เสร็จเร็ว มีอาการอย่างไร ผู้ชายที่เข้าข่ายว่าเสร็จเร็วนั้น อาจพิจารณาได้จากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ หลั่งน้ำอสุจิหรือถึงจุดสุดยอดโดยไม่ตั้งใจภายในระยะเวลา 1 นาทีหลังการสอดใส่ มีอาการเสร็จเร็วเกิดขึ้นมานานกว่า 6 เดือน ทำให้รู้สึกวิตกกังวล เครียด หรือส่งผลต่อความสัมพันธ์ […]


สุขภาพทางเพศ

เพศวิถีหมายถึง อะไร ต่างกับเพศสภาพอย่างไร

เพศวิถีหมายถึง รูปแบบความชอบ ความรู้สึกเชิงชู้สาว หรือแรงดึงดูดทางเพศ ที่คน ๆ หนึ่งมีต่อคนอีกคน โดยจำแนกได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นรักต่างเพศ รักร่วมเพศ ไบเซ็กชวล หรือแพนเซ็กชวล โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่จะตระหนักถึงเพศวิถีของตัวเองตั้งแต่เด็ก และบางคนอาจตระหนักเพศวิถีของตัวเองหลังลองมีความสัมพันธ์หรือเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นแล้ว [embed-health-tool-ovulation] เพศวิถีหมายถึง อะไร เพศวิถี หรือรสนิยมทางเพศ หมายถึง รูปแบบความชอบหรือแรงดึงดูดทางเพศที่คน ๆ หนึ่งมีต่อคนอีกคน โดยปัจจุบันมีอยู่หลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้ รักต่างเพศ (Heterosexual) หมายถึง การชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับบุคคลเพศตรงข้ามกับตัวเอง อย่างผู้ชายที่ชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับผู้หญิง หรือผู้หญิงที่ชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับผู้ชาย รักร่วมเพศ (Homosexual) หมายถึง การชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับบุคคลเพศเดียวกัน อย่างผู้ชายที่ชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับผู้ชายด้วยกัน หรือเกย์ และผู้หญิงที่ชอบหรือรู้สึกดึงดูดกับผู้หญิงด้วยกัน หรือเลสเบี้ยน ไบเซ็กชวล (Bisexual) หมายถึง ผู้ที่ชอบทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน แพนเซ็กชวล (Pansexual) หมายถึง ผู้ที่รู้สึกดึงดูดได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเพศเดียวกับตัวเอง เพศตรงข้าม หรือเพศทางเลือก เอเซ็กชวล (Asexual) หมายถึง ผู้ที่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศหรือไม่ต้องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่อาจรักหรือชอบผู้อื่นได้ เพศวิถีเกิดจากอะไร เพศวิถีของแต่ละคนเป็นผลมาจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคน […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีล้างจิมิ ไม่ให้มีกลิ่น ต้องทำอย่างไรบ้าง

จิมิหรือช่องคลอดอาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ ซึ่งมักเกิดจากการไม่รักษาความสะอาด รวมถึงการติดเชื้อ ทั้งนี้ วิธีล้างจิมิ ไม่ให้มีกลิ่น ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการล้างจิมิด้วยน้ำสะอาดอุณหภูมิห้องวันละ 2 ครั้ง โดยอาจเลือกใช้คู่กับสบู่ฤทธิ์อ่อนหรือสบู่เหลวสำหรับจุดซ่อนเร้นโดยเฉพาะ [embed-health-tool-bmi] กลิ่นจิมิ เกิดจากอะไร ปกติแล้ว จิมิสุขภาพดีมักไม่ส่งกลิ่นใด ๆ หรือส่งกลิ่นอ่อน ๆ ในบางรายอาจมีกลิ่นเปรี้ยวเล็กน้อยคล้ายกลิ่นผลไม้ กลิ่นคล้ายน้ำตาลไหม้ หรือกลิ่นคล้ายกับโลหะก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับฮอร์โมนเพศในแต่ละช่วงรวมทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละคน อย่างไรก็ตาม ในบางราย จิมิอาจส่งกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การไม่รักษาความสะอาด รวมถึงการมีเหงื่อออกมากบริเวณขาหนีบจนนำไปสู่การหมักหมมของเชื้อโรค จึงทำให้เกิดกลิ่นเหม็น ภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Vaginosis) เกิดจากการเสียสมดุลของกรด-เบสบริเวณช่องคลอด หรือมีแบคทีเรียก่อโรคจำนวนมากเกินไป เมื่อมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย จิมิจะมีกลิ่นคาวปลา ร่วมกับมีอาการคัน ขัดแสบเมื่อปัสสาวะ หรือมีของเหลวสีเขียวหรือเทาไหลออกมาจากช่องคลอด โรคพยาธิในช่องคลอด (Trichomoniasis) เกิดจากเชื้อปรสิตทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas Vaginalis) ซึ่งแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อเป็นโรคนี้ จิมิจะมีกลิ่นและอาการที่คล้ายกับเมื่อมีภาวะช่องคลอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย การหมักหมมของผ้าอนามัย หรือการใส่ผ้าอนามัยไว้นานเกินไป อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นได้ ทั้งนี้ ในช่วงที่มีประจำเดือนควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก […]


สุขภาพทางเพศ

เยื่อพรหมจรรย์ คืออะไร เมื่อฉีกขาดแล้วจะเป็นอย่างไร

เยื่อพรหมจรรย์ (Hymen) เป็นแผ่นเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่บริเวณปากช่องคลอด ซึ่งอาจฉีกหรือขาดได้เมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ออกกำลังกาย มีเพศสัมพันธ์ หากเยื่อพรหมจรรย์ขาด ผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่ในบางรายอาจรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดซึมจากช่องคลอดเล็กน้อย [embed-health-tool-ovulation] เยื่อพรหมจรรย์ คืออะไร เยื่อพรหมจรรย์เป็นแผ่นเนื้อเยื่อที่หลงเหลือจากพัฒนาการของทารกในครรภ์ ซึ่งอยู่บริเวณปากช่องคลอด และสามารถยืดออกเมื่อเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ขนาด รูปร่าง รวมถึงความหนาของเยื่อพรหมจรรย์จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัย ในช่วงแรกเกิด เยื่อพรหมจรรย์มักมีลักษณะเป็นรูปวงแหวน และปกคลุมปากช่องคลอดทั้งหมด อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายเติบโตขึ้น เยื่อพรหมจรรย์จะปกคลุมแค่ส่วนล่างของปากช่องคลอดเท่านั้น โดยมีรูปร่างกลมหรือคล้ายกับจันทร์เสี้ยว นอกจากนี้ เมื่อตั้งครรภ์ ระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน (Estrogen) ที่สูงขึ้นยังส่งผลให้เยื่อพรหมจรรย์ยืดออกได้มากกว่าเดิม เพื่อรองรับการคลอดแบบธรรมชาติ เยื่อพรหมจรรย์ มีหน้าที่อะไร ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเยื่อพรหมจรรย์มีหน้าที่อะไรในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง แต่มีข้อสันนิษฐานว่าเยื่อพรหมจรรย์อาจช่วยป้องกันแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในช่องคลอด เยื่อพรหมจรรย์ขาด เท่ากับเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว จริงไหม แต่ก่อน เชื่อกันว่า ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจะทำให้เยื่อพรหมจรรย์ฉีกขาด และมักมีเลือดออก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะนอกจากการมีเพศสัมพันธ์แล้ว เยื่อพรหมจรรย์ยังอาจฉีกขาดได้จากการทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น การใช้ผ้าอนามัยแบบสอด การช่วยตัวเอง การทำกิจกรรมประเภทปีนป่าย การออกกำลังกายอย่างหนัก การปั่นจักรยาน ขี่ม้า การตรวจภายในโดยคุณหมอ นอกจากนี้ ผู้หญิงบางรายอาจเกิดมาพร้อมเยื่อพรหมจรรย์ที่เปิดหรือขาดอยู่แล้ว หรือไม่มีเยื่อพรหมจรรย์เลยตั้งแต่เกิด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน