สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

วัคซีน HPV ผู้ชายฉีดได้ไหม? ช่วยอะไร?

HPV (Human Papillomavirus) คือไวรัสที่ติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคร้ายอย่างมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และมะเร็งลำคอ อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจคิดว่า HPV ส่งผลกระทบแค่กับผู้หญิงเท่านั้น จึงมองข้ามความสำคัญของการฉีดวัคซีน hpv สำหรับผู้ชายไปได้ บทความนี้จึงอยากจะมาแก้ไขความเข้าใจผิด และนำเสนอให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีน HPV ในผู้ชาย [embed-health-tool-vaccination-tool] HPV ส่งผลอะไรต่อผู้ชาย เชื้อไวรัส HPV เป็นเชื้อไวรัสที่มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ โดย แบ่งเป็นสายพันธุ์เสี่ยงต่ำ และสายพันธุ์เสี่ยงสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเพศชาย ดังนี้ มะเร็งทวารหนัก มะเร็งทวารหนักเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ 18 ซึ่งทำให้เซลล์บริเวณทวารหนักเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเป็นมะเร็งได้  ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV  ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย  การมีคู่นอนหลายคน  อาการที่พบบ่อยคือ เลือดออกจากทวารหนัก ปวดหรือกดเจ็บในบริเวณนั้น และรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อ  การป้องกันทำได้โดยการฉีดวัคซีน HPV การตรวจคัดกรองในกลุ่มเสี่ยง และการใช้ถุงยางอนามัย มะเร็งองคชาต มะเร็งองคชาตเกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูง เช่น HPV 16 และ […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน สาเหตุเกิดจากอะไร

ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน คือ อาการปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย และอาจปวดไปจนถึงหลังหรือต้นขา เกิดจากฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาในช่วงที่เป็นประจำเดือน อาการนี้อาจรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน และความรุนแรงของอาการอาจลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และอาจหายไปได้เองหลังมีบุตร นอกจากนี้ อาการปวดท้องยังอาจเป็นสัญญาณของภาวะแทรกซ้อนบางประการ เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก หากอาการปวดรุนแรงจนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรักษาอาการปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน และวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีที่อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย [embed-health-tool-ovulation] ปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจําเดือน เกิดจากอะไร การปวดท้องน้อยก่อนเป็นประจำเดือน อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้ ปวดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary dysmenorrhea) เป็นอาการปวดประจำเดือนทั่วไป ที่เกิดจากสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบตัวและหดเกร็งเพื่อขับเยื่อบุโพรงมดลูกออกมาเป็นประจำเดือน หากมดลูกหดตัวรุนแรงเกินไป อาจไปกดทับหลอดเลือดบริเวณใกล้เคียง และขัดขวางการส่งออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกได้ เมื่อมดลูกขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จึงทำให้เกิดอาการปวดท้องและมีตะคริว การปวดประจำเดือนลักษณะนี้มักมีอาการอื่นร่วมด้วย ได้แก่ อาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ ที่เป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนแปรปรวน ปวดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea) เป็นอาการ ปวดท้องน้อยก่อนประจำเดือน และระหว่างเป็นประจำเดือนที่รุนแรงและเรื้อรัง อาจเกิดได้จากปัญหาสุขภาพ ดังต่อไปนี้ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis externa) เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกฝังตัวและเจริญผิดที่ โดยอาจเข้าไป โดยอาจเข้าไปอยู่ภายนอกมดลูก เช่น บริเวณท่อนำไข่ รังไข่ ลำไส้ หรือภายในช่องอุ้งเชิงกราน ทำให้เกิดพังผืดหรือเป็นถุงน้ำหรือช็อกโกแลตซีสต์ ภาวะมดลูกโต (Adenomyosis) […]


สุขภาพทางเพศ

การตรวจภายใน คืออะไร ต้องตรวจบ่อยแค่ไหน และควรเตรียมตัวอย่างไร

การตรวจภายใน คือ การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง ทั้งภายนอกและภายในบริเวณอุ้งเชิงกราน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีตรวจคัดกรองอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น ตกขาวผิดปกติ เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ผู้หญิงที่มีอายุ 21 ปีขึ้นไปที่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรเข้ารับการการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี หรือตามที่คุณหมอแนะนำ หากพบปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ จะได้รักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] การตรวจภายใน คืออะไร  การตรวจภายใน คือ การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งภายนอกและภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง เพื่อหาสัญญาณความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ ภายในอุ้งเชิงกราน เช่น  ช่องคลอด เป็นช่องทางให้ประจำเดือนไหลออกมา และเป็นทางผ่านของอสุจิที่จะเข้าสู่มดลูก ทั้งยังเป็นช่องทางให้ทารกออกจากมดลูกเมื่อถึงกำหนดคลอดด้วย  ปากมดลูก เป็นทางผ่านของประจำเดือน และเป็นช่องทางที่อสุจิจะเดินทางเข้าไปผสมกับไข่ในมดลูก มดลูก เป็นที่ฝังตัวของตัวอ่อนที่เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมกับอสุจิแล้วเกิดการปฎิสนธิ ไข่จะเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อนทารกต่อไป รังไข่ มีหน้าที่ผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ ฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ท่อนำไข่ เป็นท่อเล็ก ๆ อยู่ที่มดลูกทั้งสองข้าง เชื่อมต่อระหว่างมดลูกกับรังไข่ทั้งสองข้าง ทำหน้าที่เป็นทางผ่านให้ไข่เดินทางจากรังไข่ไปสู่มดลูก กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะ โดยทั่วไปจะเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 350-500 มิลลิลิตร ทวารหนัก ส่วนท้ายสุดของระบบขับถ่าย มีหน้าที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ วัตถุประสงค์ในการตรวจภายใน คุณหมออาจแนะนำให้ผู้หญิงตรวจภายใน เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ […]


สุขภาพทางเพศ

รักษาช่องคลอดอักเสบด้วยตัวเอง ทำได้อย่างไร

ช่องคลอดอักเสบ อาจเกิดจากแบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้มีการติดเชื้อ นำไปสู่อาการคัน เจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ มีตกขาวผิดปกติ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จึงควรศึกษาวิธี รักษาช่องคลอดอักเสบด้วยตัวเอง เพื่อบรรเทาอาการเริ่มต้น รวมถึงวิธีป้องกันที่อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นช่องคลอดอักเสบ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ สาเหตุของภาวะช่องคลอดอักเสบ มีดังนี้ ช่องคลอดอักเสบจากแบคทีเรีย อาจเกิดจากแบคทีเรียในช่องคลอดเสียสมดุล ส่งผลให้เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตมากเกินไป และทำให้เกิดการติดเชื้อ การติดเชื้อราแคนดิดา (Candida) ปกติแล้วช่องคลอดจะมีเชื้อราแคนดิดาอาศัยอยู่ แต่หากมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น เช่น ความอับชื้น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) การควบคุมอาการของโรคเบาหวานไม่ดี ก็อาจทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนมากขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะช่องคลอดอักเสบ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคพยาธิในช่องคลอด โรคเริม อาจติดต่อผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ทำให้เชื้อแพร่กระจายเข้าสู่ช่องคลอด นำไปสู่อาการช่องคลอดอักเสบ เนื้อเยื่อช่องคลอดเสียหาย บางคนอาจมีแผลภายในช่องคลอด วัยหมดประจำเดือน อาจส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้เยื่อบุมดลูกบาง และช่องคลอดแห้ง นำไปสู่อาการคันระคายเคืองในช่องคลอด และอาจรู้สึกเจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือระหว่างมีเพศสัมพันธ์ อาการแพ้ มักเกิดจากการแพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สบู่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก ผ้าอนามัย หรือกระดาษชำระ ที่ทำให้ช่องคลอดหรือรอบ ๆ ช่องคลอดระคายเคืองและอักเสบ อาการช่องคลอดอักเสบ อาการช่องคลอดอักเสบ อาจสังเกตได้จาก ตกขาวผิดปกติ เช่น […]


สุขภาพทางเพศ

ความผิดปกติทางเพศ คืออะไร รักษาได้หรือไม่

ความผิดปกติทางเพศ (Paraphilia) หมายถึง พฤติกรรมหรือรสนิยมทางเพศซึ่งผิดปกติหรือแตกต่างจากคนทั่วไป โดยก่อให้เกิดการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมหรือสร้างความเดือดร้อนไม่สบายกายไม่สบายใจให้ผู้อื่น อาทิ นิสัยชอบเสียดสีองคชาตกับร่างกายผู้อื่น การมีอารมณ์ทางเพศกับเด็ก รสนิยมชอบใช้ความรุนแรงกับคู่นอน ทั้งนี้ ความผิดปกติทางเพศอาจไม่มีการแสดงออกอย่างโจ่งแจ้งนัก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและอาจรักษาให้หายได้ด้วยการบำบัดทางจิตวิทยาและการรับประทานยา ความผิดปกติทางเพศ คืออะไร ความผิดปกติทางเพศคือ การมีพฤติกรรมทางเพศหรือแรงกระตุ้นทางเพศในลักษณะที่แตกต่างจากคนทั่วไป โดยบางกรณีอาจเป็นสาเหตุของอาชญากรรม หรือมีส่วนทำผู้คนรอบข้างเดือดร้อนและหวาดกลัว ความผิดปกติทางเพศอาจไม่มีการแสดงออกอย่างชัดเจน และพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยรสนิยมทางเพศที่ผิดปกติต่าง ๆ มักเกิดขึ้นช่วงวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่กำลังอยากรู้อยากเห็นและต้องการทดลองเกี่ยวกับเรื่องเพศ ทั้งนี้ รสนิยมทางเพศอาจติดตัวไปตลอดแม้มีอายุมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ความผิดปกติทางเพศอาจให้ความรู้สึกในเชิงลบ แต่หากอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงหรือควบคุมได้ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นและสังคม ถือเป็นเพียงรสนิยมทางเพศที่แปลกแตกต่างเฉพาะบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องที่น่ารังเกียจหรือจำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด ความผิดปกติทางเพศ เกิดจากอะไร ในทางปัจจุบัน ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของความผิดปกติทางเพศ ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่า ความผิดปกติทางเพศอาจเกิดจากเหตุการณ์รุนแรงหรือถูกกระทำในวัยเด็ก อย่างการถูกข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ หรือการตกอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้สับสนและไม่มีผู้ใหญ่ให้คำอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจ รวมทั้งพฤติกรรมเลียนแบบ นอกจากนี้ ยังมีข้อสันนิษฐานว่า วัตถุหรือสถานการณ์บางอย่าง อาจทำให้ผู้ใหญ่บางคนมีรสนิยมทางเพศที่เปลี่ยนไป  โดยเฉพาะหากสิ่งเหล่านั้นถูกใช้เพื่อสร้างความสุขทางเพศซ้ำ ๆ รูปแบบของความผิดปกติทางเพศ ความผิดปกติทางเพศ มีหลายรูปแบบ อ้างอิงจาก คู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) โดยสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน ได้แก่ พฤติกรรมชอบอวดของลับ (Exhibitionism) […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิง เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง

เป็นก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิง เป็นการคลำหรือตรวจเจอก้อนเนื้อที่มักมีลักษณะแข็งบริเวณอวัยวะเพศและรอบ ๆ เช่น ช่องคลอด แคม ขาหนีบ ทวารหนัก ซึ่งมักเป็นอาการบ่งชี้ปัญหาสุขภาพ เช่น ถุงน้ำในช่องคลอด หูดหงอนไก่ มะเร็งช่องคลอด ทั้งนี้ หากคลำเจอก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิง ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อตรวจรักษา เพราะหากเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งช่องคลอดแล้วปล่อยไว้นาน เซลล์มะเร็งจะลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-ovulation] สาเหตุการเป็นก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิง เป็นก้อนแข็งที่อวัยวะเพศหญิงอาจเป็นอาการของภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ ถุงน้ำในช่องคลอด ถุงน้ำในช่องคลอด (Vaginal Cysts) เป็นภาวะสุขภาพที่มักไม่สร้างความเจ็บปวดหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเกิดจากการอุดตันของท่อหรือต่อมบริเวณช่องคลอด ซึ่งทำให้ของเหลวหรือสารอื่น ๆ ไปรวมกันข้างใน และกลายเป็นก้อนแข็ง มักเป็นก้อนแข็งบริเวณช่องคลอดหรือในช่องคลอด โดยก้อนแข็งมีทั้งขนาดเล็ก จนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น หรือขนาดใหญ่เทียบเท่าผลส้ม ประเภทของถุงน้ำในช่องคลอด ที่พบได้บ่อย ประกอบด้วย อินคลูชัน ซีสต์ (Inclusion cysts) เป็นถุงน้ำในช่องคลอดประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด โดยปกติจะมีขนาดเล็ก และเกิดจากการบาดเจ็บบริเวณช่องคลอดจากการผ่าตัดขยายช่องคลอดเพื่อทำคลอด หรือการผ่าตัดแบบอื่น ซึ่งทำให้เยื่อบุช่องคลอดเสียหาย ถุงน้ำต่อมบาร์โธลินอักเสบ (Bartholin’s Gland Cyst) เกิดได้จากหลายสาเหตุ อาทิ การอุดตันของต่อมบาร์โธลิน ซึ่งทำหน้าที่ผลิตน้ำหล่อลื่นช่องคลอด รวมถึง การติดเชื้อแบคทีเรียเอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia […]


สุขภาพทางเพศ

มีตกขาวทุกวัน ผิดปกติหรือไม่

ตกขาว คือ สารคัดหลั่ง ลักษณะเป็นของเหลวหรือเมือกที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอดซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง มีส่วนช่วยป้องกันภาวะช่องคลอดแห้งและลดการติดเชื้อ แม้การเกิดตกขาวจะเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป แต่ผู้หญิงบางคนอาจสงสัยว่า มีตกขาวทุกวัน ผิดปกติหรือไม่ แล้วจะสังเกตได้อย่างไรว่าตกขาวผิดปกติ [embed-health-tool-ovulation] ตกขาว คืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด มีลักษณะเป็นของเหลวหรือเมือก มีสีใสหรือค่อนข้างขาว เนื้อสัมผัสลื่นคล้ายไข่ขาว ตกขาวมีประโยชน์ในการช่วยให้ช่องคลอดชุ่มชื้น ป้องกันช่องคลอดแห้ง และป้องกันการติดเชื้อ โดยปริมาณ สี และกลิ่นของตกขาวอาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ทั้งนี้ ปริมาณตกขาวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในทุกช่วงเวลาขึ้นอยู่กับรอบเดือนดังนี้ วันที่ 1-5 ของการ มีประจำเดือน อาจมีตกขาวสีแดง หรือชมพู เนื่องจากมีเลือดประจำเดือนปน วันที่ 6 -14 หลังจากหมดรอบเดือน ตกขาวมักมีลักษณะขุ่น เหนียว มีสีขาวหรือเหลือง ซึ่งช่วงนี้อาจสังเกตเห็นตกขาวน้อยกว่าปกติ วันที่ 15 -25 ช่วงก่อนวันตกไข่ประมาณ 2-3 วัน ตกขาวอาจมีลักษณะเป็นเมือกลื่น ๆ สีใส คล้ายไข่ขาว แต่หลังวันตกไข่ ตกขาวมัก มีลักษณะขุ่น เหนียว มีสีขาวหรือเหลือง […]


สุขภาพทางเพศ

ยาสอด ช่องคลอด ใช้รักษาอะไร และวิธีการใช้ที่ถูกต้อง

ยาเหน็บช่องคลอด หรือที่นิยมเรียกว่า ยาสอด เป็นยาปฏิชีวนะแบบใช้เฉพาะที่ มีทั้งชนิดเม็ดหรือน้ำ ยาสอดมีประสิทธิภาพในการรักษาเทียบเท่ายาเม็ดหรือยาแคปซูลสำหรับรับประทาน แต่ออกฤทธิ์เร็วกว่า สามารถรักษาอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในช่องคลอด เช่น การติดเชื้อในช่องคลอด ภาวะช่องคลอดแห้ง เชื้อราในช่องคลอด ทั้งนี้ สามารถใช้ยาสอดได้ด้วยตัวเองที่บ้าน วิธีการใช้ยาสอดมี 2 แบบ ได้แก่ การสอดด้วยมือ และการใช้เครื่องมือช่วยสอด แม้วิธีการใช้ยาสอดจะไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ก็ควรเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องให้เข้าใจก่อนใช้งาน เพื่อให้ยาสามารถออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและปลอดภัยที่สุด [embed-health-tool-ovulation] ยาสอดช่องคลอด คืออะไร ยาสอด หรือยาเหน็บ คือยาใช้เฉพาะที่ ออกฤทธิ์ได้เร็วกว่ายาเม็ดหรือยาแคปซูลสำหรับรับประทาน เนื่องจากซึมเข้ากระแสเลือดในบริเวณที่ต้องการรักษาได้ทันที ยาสอดนิยมใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราในช่องคลอด โรคริดสีดวงทวาร อาการท้องผูก ภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้น อีกทั้งยังอาจเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรับประทานยา เนื่องจากกลืนยาไม่ได้ รู้สึกว่ายาขมเกินไป เป็นต้น ยาสอดช่องคลอด คือยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะที่ เช่น คลินดามัยซิน (Clindamycin) เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) ที่ใช้เหน็บหรือสอดเข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหรือเชื้อราภายในช่องคลอด เชื้อราในช่องคลอด ภาวะช่องคลอดแห้ง อาการตกขาวผิดปกติ เป็นต้น การใช้ยาสอดช่องคลอดสามารถทำเองได้ที่บ้าน เพราะเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้ยาเม็ดสอดเข้าทางช่องคลอดด้วยตัวเองและรอให้ยาออกฤทธิ์ได้ทันที ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง ควรใช้ยาสอดช่องคลอดในปริมาณที่คุณหมอแนะนำหรือเพียง 1 ครั้ง/วัน […]


สุขภาพทางเพศ

หลั่งเร็ว สาเหตุ อาการ และการรักษา

หลั่งเร็ว เป็นปัญหาทางเพศที่พบได้บ่อยในผู้ชาย ซึ่งอาจเกิดจากภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศและความเครียด ทำให้มีอาการถึงจุดสุดยอดเร็วจนเกินไป จนอาจส่งผลให้ฝ่ายหญิงยังไปไม่ถึงจุดสุดยอด และอาจเกิดความไม่พอใจจนเกิดปัญหาในความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการหลั่งเร็วสามารถรักษาได้ ดังนั้น หากพบว่ามีปัญหาหลั่งเร็ว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาทันที [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ หลั่งเร็ว คืออะไร หลั่งเร็ว (Premature Ejaculation หรือ PE)คือ ปัญหาการถึงจุดสุดยอดและหลั่งอสุจิเร็วจนเกินไป โดยอาจหลั่งทันทีที่ถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ หรือหลังจากสอดใส่เพียงไม่กี่นาที โดยไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ ปัญหาการหลั่งเร็วอาจทำให้อีกฝ่ายไม่ได้รับความพึงพอใจจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคู่รักได้ อาการ อาการหลั่งเร็ว อาการหลั่งเร็ว มีดังนี้ อาการหลั่งอสุจิทันทีที่รู้สึกมีอารมณ์ทางเพศโดยยังไม่มีการสอดใส่ อาการหลั่งอสุจิหลังจากสอดใส่ภายในเวลาไม่กี่นาที บางคนอาจมีอาการหลั่งเร็วมาโดยตลอดตั้งแต่การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ในขณะที่บางคนก็อาจเริ่มมีปัญหาการหลั่งเร็วในภายหลัง หากมีอาการดังกล่าวควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจสุขภาพและหาทางรักษาอย่างเหมาะสม สาเหตุ สาเหตุหลั่งเร็ว สาเหตุที่ทำให้หลั่งเร็ว มีดังนี้ ทางจิตใจ อาจเกิดขึ้นจากบาดแผลทางใจ เช่น การถูกล่วงละเมิดทางเพศ ประสบการณ์การมีเซ็กส์ในอดีต ความไม่มั่นใจในรูปลักษณ์และขนาดของตัวเอง หรืออาจเกิดจากปัญหาทางจิตใจ เช่น ภาวะซึมเศร้า ความเครียด วิตกกังวล ปัญหาในความสัมพันธ์ ทางร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมนผิดปกติ ที่มีการศึกษากันมากคือสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้การรับรู้ความรู้สึกของอวัยวะเพศมีความไวต่อการสัมผัสผิดปกติ อาจเป็นที่เส้นประสาทที่มาเลี้ยงอวัยวะเพศ หรือภายในสมอง การติดเชื้อในต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลั่งเร็ว ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หลั่งเร็ว มีดังนี้ ความเครียด ปัญหาด้านจิตใจต่าง ๆ อาจส่งผลให้เกิดความเครียด […]


สุขภาพทางเพศ

วิธีรักษาตกขาว และการดูแลสุขภาพช่องคลอด

ตกขาว เป็นสารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอดเพื่อช่วยขจัดแบคทีเรียและสิ่งสกปรกภายในช่องคลอด และช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการตกขาวผิดปกติ เช่น มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ สีตกขาวเปลี่ยนแปลง ปริมาณเพิ่มมากขึ้น อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ และจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจและรักษาตกขาว เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-ovulation] ตกขาวคืออะไร ตกขาว คือ สารคัดหลั่งที่ไหลออกจากช่องคลอดที่มีลักษณะเป็นสีใส และข้นเหนียว เป็นกระบวนการทำความสะอาดช่องคลอดในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่ผลิตโดยต่อมในช่องคลอดและปากมดลูก เพื่อดักจับสิ่งสกปรก แบคทีเรีย เซลล์ที่ตายแล้ว นอกจากนี้ ตกขาวยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นในช่องคลอด ป้องกันภาวะช่องคลอดแห้ง หากมีตกขาวมาก อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาใด ๆ ยกเว้นกรณีผู้ที่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อาการคัน เจ็บแสบขณะปัสสาวะหรือมีเพศสัมพันธ์ และตกขาวเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีอื่น ๆ เช่น สีเขียว เหลือง น้ำตาล เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนการติดเชื้อในช่องคลอด ซึ่งควรเข้ารับการตรวจทันที สีของตกขาวบ่งบอกความผิดปกติอะไรบ้าง ตกขาวสีขาว หากตกขาวเป็นสีใสหรือเป็นเมือก อาจเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดจากการขับสิ่งสกปรก สัญญาณเตือนการตั้งครรภ์ อาการก่อนเป็นประจำเดือน หรือการถูกกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ แต่หากมีตกขาวสีข่าวขุ่น เป็นก้อน พร้อมกับอาการเจ็บแสบอวัยวะเพศขณะมีเพศสัมพันธ์ มีอาการคันและปวดบวมช่องคลอด อาจหมายถึงการติดเชื้อราในช่องคลอด ตกขาวสีชมพู อาจเป็นการหลั่งตกขาวผสมกับการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก ส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังจากคลอดบุตร ตกขาวสีเหลืองและหนา อาจเป็นสัญญาณเตือนของการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคหนองในเทียม หนองในแท้ […]


การคุมกำเนิด

กิน ยาคุมฉุกเฉิน แล้ว ประจำเดือน ไม่มา มีสาเหตุมาจากอะไร

กิน ยาคุมฉุกเฉิน แล้ว ประจำเดือน ไม่มา อาจเป็นผลข้างเคียงเนื่องจากได้รับฮอร์โมนปริมาณที่สูงจากยาคุมฉุกเฉิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายระหว่างที่กินยาคุม หรืออาจเกิดจากการตั้งครรภ์ โดยสังเกตได้จากอาการอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน หากพบอาการดังกล่าว ควรตรวจครรภ์ด้วยชุดทดสอบการตั้งครรภ์หรือเข้ารับการตรวจโดยคุณหมอ [embed-health-tool-ovulation] ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร ยาคุมฉุกเฉิน คือ ยาคุมกำเนิดที่ใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น ลืมป้องกัน ถุงยางอนามัยแตกขณะมีเพศสัมพันธ์ ถูกล่วงละเมิดทางเพศโดยไม่มีการป้องกัน หรือลืมรับประทานยาคุมกำเนิดตามปกติติดต่อกัน 3 วันขึ้นไป ยาคุมฉุกเฉินมี 2 ประเภท ดังนี้ ลีโวนอร์เจสเตรล (Levonorgestrel) เป็นยาคุมกำเนิดฉุกเฉินที่ประกอบด้วยกลุ่มฮอร์โมนโปรเจอเตอโรน (Progesterone) โดย 1 กล่อง มี 1 แผง แต่ละแผงจะมีเม็ดยาอยู่ 2 เม็ด เม็ดละ 750 ไมโครกรัม ควรรับประทานเม็ดแรกไม่เกิน 12 ชั่วโมง และอีกเม็ดภายในเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ และ หรืออาจรับประทาน 2 เม็ดพร้อมกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน