โรคผิวหนังติดเชื้อ

ทุกครั้งที่เราเกิดบาดแผลบนผิวหนัง เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง และกลายเป็น โรคผิวหนังติดเชื้อ ไป เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ โรคผิวหนังติดเชื้อ ทั้งโรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง รักษาให้หายขาดอย่างไร

เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไป อาจทำให้เกิดผื่นแดงลักษณะครึ่งวงกลม มีขอบนูนชัดเจนและเป็นขุยขึ้นกระจายบนผิวหนัง ร่วมกับมีอาการคันและระคายเคือง และอาการอาจลุกลามไปยังผิวหนังส่วนอื่น ๆ เช่น อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ก้น จนอาจก่อให้เกิดความอึดอัดรำคาญจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ เชื้อราที่ขาหนีบผู้หญิงมักรักษาได้ด้วยการทายาต้านเชื้อราวันละ 1-2 ครั้งติดต่อกันทุกวัน ส่วนใหญ่แล้วเมื่อทายาประมาณ 2-3 สัปดาห์ อาการทางผิวหนังจะค่อย ๆ หายไปในที่สุด แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmi] เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิง คืออะไร เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิงเป็นเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่พบบ่อยที่สุดคือ ทริโคไฟตอน รูบรัม (Trichophyton rubrum) และเอพิเดอร์โมไฟตอน ฟลอกโคซัม (Epidermophyton floccosum) เชื้อรากลุ่มนี้เป็นสาเหตุของโรคสังคัง (Jock itch หรือ Tinea cruris) ซึ่งเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการสัมผัสกับพื้นผิวหรือของใช้ที่มีเชื้อติดอยู่ เช่น ผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า หมอน ผ้าปูที่นอน เชื้อรา ที่ขาหนีบผู้หญิงมักพบในวัยรุ่นและผู้ใหญ่มากกว่าเด็กและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบเขตร้อนชื้น เชื้อราจะอาศัยอยู่บนผิวหนังและกินเคราตินซึ่งเป็นส่วนประกอบของผิวหนังชั้นนอก ผม และเล็บเป็นอาหาร […]

สำรวจ โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนังติดเชื้อ

สิว ยีสต์ คืออะไร รักษาได้ด้วยวิธีใดบ้าง

สิว ยีสต์ เป็นตุ่มบวมคล้ายสิว มีหนองอยู่ข้างใน เกิดจากรูขุมขนอักเสบ เนื่องจากการอับชื้นบริเวณผิวหนัง โดยเฉพาะหลังจากออกกำลังกายหรือเมื่อเผชิญกับสภาพอากาศร้อนชื้น ทั้งนี้ สิว ยีสต์อาจบรรเทาให้ดีขึ้นได้ด้วยยาปฏิชีวนะ ร่วมกับการดูแลตัวเองด้วยการอาบน้ำทำความสะอาดผิวหน้าและร่างกายเป็นประจำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายความอับชื้นได้ [embed-health-tool-ovulation] สิวยีสต์ คืออะไร สิวยีสต์เป็นตุ่มบวมบนผิวหนัง มีหนองอยู่ข้างใน และอาจมีอาการคันร่วมด้วย มักพบบริเวณหน้าผาก แขน หน้าอก และแผ่นหลัง และบ่อยครั้งเกิดขึ้นเป็นกลุ่มหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ทั้งนี้ สิวยีสต์ไม่จัดเป็นสิว เนื่องจากไม่ได้เกิดจากการอุดตันของรูขุมขนเช่นเดียวกับสิวโดยทั่วไป แต่เกิดจากอักเสบของรูขุมขนเนื่องจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อรากลุ่มมาลาสเซเซีย (Malassezia) บนผิวหนัง จากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ผิวหนังมีความชื้นเพิ่มขึ้นหลังจากการออกกำลังกาย การสวมใส่เสื้อผ้าที่รัดแน่น หรือระบายความชื้นได้ไม่ดี การสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำโดยที่ยังไม่ได้ซัก การใช้ยาต้านแบคทีเรีย ซึ่งส่งผลให้สมดุลระหว่างแบคทีเรียและเชื้อราบนผิวหนังถูกทำลาย การบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราบนผิวหนัง ทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว การอาศัยอยู่ในบริเวณที่ร้อนและอับชื้นเป็นเวลานาน ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ หรืออาการป่วยอย่างการติดเชื้อเอชไอวี สิว ยีสต์ รักษาอย่างไร คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่าสิวยีสต์และสิวโดยทั่วไปนั้นเหมือนกันจึงเลือกรักษาสิวยีสต์ด้วยยาต้านสิว ซึ่งทำให้สิวยีสต์ไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ การรักษาสิวยีสต์ที่เหมาะสม ควรปฏิบัติตัว ดังนี้ รับประทานยาต้านเชื้อรา จัดเป็นวิธีรักษาสิวยีสต์ที่อาจให้ผลลัพธ์ชัดเจนมากกว่าวิธีอื่น ๆ โดยยาที่คุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญจ่ายให้มักเป็นไอทราโคนาโซล (Itraconazole) แต่หากไม่ได้ผลคุณหมออาจจ่ายยาไอโซเทรติโนอิน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

หัดกุหลาบ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการดูแลตัวเอง

หัดกุหลาบ หรือที่เรียกว่า ผื่นกุหลาบ หรือส่าไข้ (Pityriasis rosea) คือ โรคผิวหนังชนิดไม่ติดต่อที่ทำให้เกิดผื่นสีแดงหรือสีชมพูอ่อน คล้ายสีของดอกกุหลาบ กระจายบนผิวหนังบริเวณใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง แผ่นหลัง สาเหตุของโรคยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด เช่น ไวรัสเริมบางสายพันธุ์ โรคนี้มักเกิดในหน้าฝน พบได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยในคนอายุ 10-35 ปี การดูแลตัวเองด้วยการใช้ยาแก้คัน ยาแก้แพ้ ร่วมกับการทามอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อให้ผิวชุ่มชื้น อาจช่วยให้หัดกุหลาบหายเร็วขึ้น โดยทั่วไป อาการของหัดกุหลาบมักหายไปเองภายใน 10 สัปดาห์ และมักจะไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก แต่หากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของ หัดกุหลาบ สาเหตุของโรคหัดกุหลาบ อาจมีดังนี้ การติดเชื้อไวรัส (Viral infections) การติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์หรือเอชพีวีชนิดที่ 6 และชนิดที่ 7  รวมไปถึงโรคติดเชื้อไวรัสอื่น ๆ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (H1N1 influenza A) โรคโควิด-19 (COVID-19) อาจทำให้เกิดหัดกุหลาบได้ การตอบสนองต่อยาหรือการแพ้ยา […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เป็นฝีที่ก้น อาการ ปัจจัยเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้น หรืออาจเกิดจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อจนพัฒนากลายเป็นฝี ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นบริเวณเยื่อบุทวารหนักหรือบริเวณรอบข้างก้น ส่งผลทำให้มีอาการเจ็บปวด มีหนอง เลือดออกขณะขับถ่าย หรือไม่สามารถอั้นอุจจาระได้ สำหรับการรักษาฝีที่ก้นอาจทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคุณหมอ เป็นฝีที่ก้น เกิดจากอะไร เป็นฝีที่ก้น อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อในก้นที่ทำให้ฝีพัฒนาขึ้นเองในก้นหรือบริเวณรอบข้างก้น หรืออาจมีสาเหตุมาจากแผลบริเวณเยื่อบุขอบทวารหนักติดเชื้อ จนอาจทำให้มีอาการเจ็บปวดหรือมีเลือดออกขณะขับถ่าย นอกจากนี้ ยังอาจมีสาเหตุมาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือต่อมทวารหนักอุดตัน จนทำให้เกิดการติดเชื้อและพัฒนาไปเป็นฝีที่ก้นได้ อาการเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้ เกิดโพรงที่ผิวหนังบริเวณก้น ผิวหนังบริเวณก้นเกิดการอักเสบ แดง และระคายเคือง มีหนอง เลือด หรืออุจจาระไหลออกจากช่องทวารหนัก มีกลิ่นเหม็นออกมาจากก้น ปวดตุบ ๆ บริเวณรอบ ๆ ก้นและด้านในก้น โดยเฉพาะเวลาขยับตัว นั่ง ไอ หรือขณะถ่ายอุจจาระ มีไข้ หนาวสั่น มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวลำไส้ จนไม่สามารถกลั้นอุจจาระได้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นฝีที่ก้น มีดังนี้ ผู้ที่มีอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป อาจมีความเสี่ยงสูงในการเป็นฝีที่ก้น เนื่องจากความอ่อนแอของสุขภาพร่างกาย หรืออาจมีปัญหาบริเวณก้น ผู้ที่เป็นโรคโครห์น (Crohn's Disease) หรือโรคลำไส้อักเสบ เคยเป็นฝีที่ก้นมาก่อนหน้านี้ เกิดการบาดเจ็บหรือการติดเชื้อที่บริเวณก้น เคยเข้ารับการผ่าตัดหรือการฉายรังสีรักษามะเร็งทวารหนัก ภาวะแทรกซ้อนเมื่อเป็นฝีที่ก้น เป็นฝีที่ก้นอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อน สาเหตุ อาการ และการรักษา

เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้นให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไป เช่น อากาศร้อนชื้น ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ทำให้เกิดจุดบนผิวหนัง ซึ่งอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนัง ผิวหนังเป็นสะเก็ด และมีอาการคัน ดังนั้น หากสังเกตว่ามีจุดหรือรอยด่างตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว คำจำกัดความ เกลื้อนคืออะไร เกลื้อน คือ โรคผิวหนังจากการติดเชื้อ ที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเชื้อราที่อาศัยบนผิวหนังตามธรรมชาติเจริญเติบโตมากเกินไป อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อาจส่งผลให้มีอาการคันจนต้องเกาบ่อย ๆ ซึ่งอาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ เกลื้อนพบได้บ่อยในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ เพราะเป็นช่วงวัยที่ต่อมไขมันผลิตไขมันมาก ทำให้ผิวมัน และอาจกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อรา ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อราได้ อาการ อาการของเกลื้อน เกลื้อน มีอาการดังต่อไปนี้ จุดเล็ก ๆ สีขาว สีแดง สีชมพู หรือสีน้ำตาลบนผิวหนัง อาจมีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไปหรืออาจขยายเป็นปื้นใหญ่ จุดของเกลื้อนอาจมีสีเข้มหรือสีอ่อนกว่าสีผิวหนังโดยรอบ มักเกิดขึ้นบ่อยบริเวณคอ หลัง หน้าอก และแขน ผิวหนังที่เป็นเกลื้อนอาจมีลักษณะเป็นขุยบาง ๆ ควรพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษา หากสังเกตว่าอาการไม่ดีขึ้น จุดเกลื้อนมีขนาดใหญ่ หรือมีการติดเชื้อราซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง สาเหตุ สาเหตุของเกลื้อน เกลื้อนเกิดจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังและมักบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร หากต่อมไขมันผลิตไขมันมากก็อาจส่งผลให้เชื้อราเจริญเติบโตมากเกินไปจนเกิดการติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน ปัจจัยเสี่ยงของเกลื้อน มีดังนี้ สภาพอากาศร้อนชื้น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

วิธีรักษาฝี และการป้องกันฝีตามร่างกาย

ฝีเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส (Staphylococcus) ทางบาดแผลหรือรูขุมขนทำให้ผิวหนังนูนเป็นตุ่มมีหนองอยู่ภายใน วิธีรักษาฝี อาจดูแลตนเองเบื้องต้นได้ด้วยการประคบร้อนและไม่แกะหรือเกาบริเวณที่เป็นฝี แต่หากอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอซึ่งอาจรักษาด้วยการให้รับประทานยาต้านแบคทีเรีย หรือผ่าฝีเพื่อระบายหนองออกและทำให้ฝียุบตัว นอกจากนั้น ฝียังป้องกันได้ด้วยการดูแลและรักษาความสะอาดสุขอนามัยของตนเองด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ล้างมือสม่ำเสมอ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น หากเป็นแผลควรล้างแผลและใส่ยา [embed-health-tool-bmr] ฝีเกิดจากอะไร ฝี กิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียกลุ่มสแตปฟิโลคอคคัส อย่างสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) หรือสเตรปโตค็อกคัส ไพโอจีนัส (Streptococcus Pyogenes) ซึ่งปกติแบคทีเรียดังกล่าวมักไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรง หรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นเมื่อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยขีดข่วน หรือรูขุมขน ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นฝีได้ ลักษณะของฝี คือ ตุ่มบวมแดงอมชมพู มีหนองอยู่ข้างใน และมีหัวสีออกเหลือง มักทำให้รู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองเมื่อผิวหนังบริเวณดังกล่าวถูกเสียดสีหรือโดนสัมผัส ฝีอาจเกิดได้ทั้งบริเวณผิวหนังตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และในรูจมูก รวมทั้งฝีภายในร่างกาย โดยเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียจากภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น เมื่อไส้ติ่งแตก แบคทีเรียจะกระจายไปยังช่องท้อง และทำให้เป็นฝีในช่องท้องได้เมื่อเป็นฝี วิธีรักษาฝี และการดูแลตนเอง ฝีเม็ดเล็ก หรือฝีที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร อาจหายได้เอง หรือค่อย ๆ แห้งและยุบลงด้วยการดูแลตนเอง ดังนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คือ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่ไม่ใช่โรคติดต่อ พบได้ในคนทุกวัยแต่พบได้บ่อยเด็ก มักเกิดจากกรรมพันธุ์ ทำให้ผิวหนังเป็นผื่นแดง ผิวแห้งเป็นขุย อาจทำให้รู้สึกคันและระคายเคือง และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล ร่วมด้วย เมื่อแกะหรือเกาผิวหนังส่วนที่มีปัญหา อาจทำให้เกิดแผลหรือติดเชื้อได้ง่าย อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังมักเป็น ๆ หาย ๆและกำเริบเมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ฝุ่นละออง อาหารที่แพ้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ผู้ป่วยก็สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันอาการกำเริบได้ เช่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ [embed-health-tool-bmi] โรคภูมิแพ้ผิวหนัง คืออะไร โรคภูมิแพ้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดไม่ใช่โรคติดต่อที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย สาเหตุของการเกิดโรคภูมิแพ้ผิวหนังยังไม่แน่ชัด แต่อาจเกิดจากการมีลักษณะทางกรรมพันธุ์ผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ไวเกินไป จนส่งผลให้เกิดอาการผิวแห้ง คัน ระคายเคือง อักเสบ หรือสะเก็ดแผล หากแกะหรือเกาผิวหนังอาจทำให้เป็นแผล ติดเชื้อ และเกิดเป็นตุ่มแดงที่มีหนองไหลออกมา เมื่อผิวหนังสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้อาจทำให้อาการแพ้ที่ผิวหนังกำเริบอยู่ช่วงหนึ่งแล้วอาจหายไปได้เองโดยไม่ต้องรักษา หากมีปัจจัยมากระตุ้นผิวหนังให้เกิดอาการแพ้ เช่น ฝุ่นละออง สารเคมี […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคฝีดาษ สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคฝีดาษ (Smallpox) หรือไข้ทรพิษ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถติดต่อจากคนสู่คน ผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการไอ การจาม และน้ำมูก หรือจากการใช้สิ่งของร่วมกัน โดยอาจสังเกตจากอาการผิวหนังเป็นตุ่มเล็ก ๆ ร่วมกับอาการเจ็บที่ตุ่ม ผื่นมักขึ้นบริเวณที่สัมผัสสารคัดหลัง หรือ ผื่นของผู้ป่วย มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต และอ่อนเพลีย มีวิธีรักษาตามอาการที่เป็น เพื่อช่วยบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ โรคฝีดาษ คืออะไร โรคฝีดาษ คือ โรคที่ส่งผลให้เกิดตุ่มขึ้นตามผิวหนัง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยระยะการฟักตัวของเชื้อจะอยู่ที่ 7-21 วัน ซึ่งมักจะไม่ปรากฏอาการใด ๆ แต่หลังจากนั้นอาจมีตุ่มขึ้นบนผิวหนังซึ่งสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านละอองสารคัดหลั่งจากการไอ การจาม หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน หรือการสัมผัสกับตุ่มของโรคฝีดาษโดยตรง โรคฝีดาษสามารถเกิดได้กับทุกคน แต่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ อาการ อาการของโรคฝีดาษ อาการของโรคฝีดาษ มีดังนี้ มีตุ่มแดงเล็ก ต่อมาตุ่มพัฒนาเป็น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และตกสะเก็ด ตามลำดับ โดยอาจเริ่มจากใบหน้า มือ แขน และลำตัว บางคนอาจมีตุ่มขึ้นในช่องปากและลำคอ มีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า คล้ายกับอาการของไข้หวัดใหญ่ ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาเจียน หลังจากผ่านไป 5 […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

สังคังเป็นยังไง ควรดูแลตัวเอง และรักษาอย่างไร

สังคังเป็นยังไง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงในการเป็นโรค เช่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และหมักหมมในบริเวณอับชื้น เช่น ขาหนีบ บั้นท้าย ต้นขาด้านใน และผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง สังคังเป็นการติดเชื้อทางผิวหนัง ส่งผลทำให้เกิดผื่นแดง เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งอาจพบได้บ่อยในผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ [embed-health-tool-bmi] สังคังเป็นยังไง สังคัง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นรูปวงแหวน เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคันในบริเวณที่มีความอับชื้น โดยเฉพาะขาหนีบลามไปจนถึงต้นขาด้านใน บั้นท้าย อวัยวะเพศ มักพบในผู้ที่มีเหงื่อออกมากหรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากเหงื่อและบริเวณรอยพับของผิวหนังจะมีความอับชื้นมากจนอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราที่สามารถทำให้เกิดสังคัง สังคังแพร่กระจายได้อย่างไร สังคังเป็นโรคติดต่อที่อาจแพร่กระจายได้หลายรูปแบบ ดังนี้ การแพร่กระจายจากคนสู่คน เป็นการติดต่อของโรคที่พบมากที่สุด เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสกับอวัยวะเพศที่มีการติดเชื้อโดยตรง การแพร่กระจายจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังส่วนอื่น ๆ การเป็นสังคังบริเวณขาหนีบหรือต้นขาสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เนื่องจากการถอดกางเกงชั้นในอาจทำให้เท้า มือ หรือผิวหนังบริเวณใกล้เคียงสัมผัสกับเชื้อราที่อยู่บริเวณกางเกงชั้นใน ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจาย การแพร่กระจายจากการสัมผัสกับวัตถุ เชื้อราสามารถแพร่กระจายในทุก ๆ ที่ เช่น ห้องน้ำ พื้น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อนเกิดจากอะไร รักษาให้หายได้หรือไม่

เกลื้อนเกิดจากอะไร? เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) โดยทั่วไป เกลื้อนพบบ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการของผู้ที่เป็นเกลื้อน คือ ผิวหนังเป็นจุดหรือปื้นที่มีสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ใช่โรคอันตรายแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน ยาน้ำ ครีม และแชมพูสำหรับใช้ภายนอก [embed-health-tool-bmi] เกลื้อนเกิดจากอะไร เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของมนุษย์โดยบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร โดยปกติ เชื้อราชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ยกเว้นหากเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ เนื่องจากมีปัจจัยไปกระตุ้น เช่น ผิวหนังผลิตน้ำมันในปริมาณมาก สภาพอากาศร้อนชื้น การมีเหงื่อออกมาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นอกจากนี้ เกลื้อนแตกต่างจากกลาก เพราะกลากเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของเกลื้อน ทั้งนี้ เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อน หรือในช่วงฤดูร้อน และพบมากในวัยรุ่นเพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกทางผิวหนังมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เกลื้อนยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าคนทั่วไป เกลื้อน มีอาการอย่างไร เมื่อป่วยเป็นโรคเกลื้อน ผิวหนังจะมีจุดหรือปื้นสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมถึงเกิดอาการคันและผิวลอก แห้งเป็นขุย ทั้งนี้ โรคที่มีอาการคล้ายกับเกลื้อนคือโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจนทำให้เม็ดสีผิวมีจำนวนน้อยกว่าปกติ และโรคผื่นกุหลาบ ซึ่งยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย โดยคุณหมออาจสำรวจผิวหนังบริเวณที่เป็นด้วยตาเปล่าหรือขูดผิวหนังบางส่วนไปตรวจการติดเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ เกลื้อน รักษาได้หรือไม่ เกลื้อนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทาครีมหรือยาสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคไฟลามทุ่ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรคไฟลามทุ่ง คือ ภาวะที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้ติดเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นอย่างรุนแรง เกิดเป็นผื่นแดงที่มีขอบเขตชัดเจน และมีอาการปวด บวม แสบร้อนร่วมด้วย อาการอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็วคล้ายไฟลามทุ่ง มักเกิดในเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อหลังตัดสายสะดือ ผู้ที่มีแผลหรือรอยถลอก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากทิ้งไว้ไม่รักษาให้หายตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้การติดเชื้อลุกลามและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] โรคไฟลามทุ่ง คืออะไร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือ ภาวะติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้อย่างรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Streptococcus group A) โดยเฉพาะเชื้อสเตรปโตคอคคัส ไพโอเจน (Streptococcus pyogenes) ซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปบนร่างกาย แบคทีเรียชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรคเมื่อเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวหนังและปล่อยสารพิษที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ และเกิดผื่นแดงที่มีขอบชัดเจน รวมกับมีอาการปวด บวม แสบร้อน บริเวณแขน ขา รวมถึงที่บริเวณใบหน้า หากไม่รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ที่ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อตายหรือเปลี่ยนเป็นผื่นสีดำ หรืออาจติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากชั้นผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ลิ้นหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับทารกแรกเกิด อาการติดเชื้อที่ผิวหนังของโรคไฟลามทุ่งอาจเกิดที่บริเวณท้อง เนื่องจากมักเกิดการติดเชื้อที่สะดือหลังการตัดสายสะดือ ส่วนเด็กและผู้ใหญ่มักมีอาการที่ใบหน้า แขน และขาเป็นหลัก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไฟลามทุ่ง มีดังนี้ ผู้ที่เคยเป็นโรคไฟลามทุ่งมาก่อน […]

โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม