โรคผิวหนังติดเชื้อ

ทุกครั้งที่เราเกิดบาดแผลบนผิวหนัง เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง และกลายเป็น โรคผิวหนังติดเชื้อ ไป เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ โรคผิวหนังติดเชื้อ ทั้งโรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน เชื้อราจะทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณอับชื้น สาเหตุสำคัญของกลาก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร พบบ่อยบริเวณอับชื้น [embed-health-tool-bmi] กลากเกิดจากอะไร กลาก กลุ่มโรคทิเนีย (Tinea) เป็นโรคติดเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังชั้นตื้น (Superficial Fungal Infection) ที่พบได้บ่อย ๆ กลาก (Ringworm) จะมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ รอยโรคมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน ผื่นเป็นผื่นสีแดง  ขอบสีแดงชัดเจน  ขอบภายนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน  อาจมีขุยหรือสะเก็ดที่ขอบ  ตรงกลางมักเกลี้ยง มีอาการคัน  กลากบางแห่งอาจไม่เห็นเป็นวงหรือมีขอบสีแดง  สาเหตุสำคัญของกลาก เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก เป็นเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อของกลากเป็นโรคติดต่อจากคนไปสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมสู่คน ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านสปอร์ราที่อยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นก็อาจได้รับสปอร์ราเช่นกัน เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตโดยเคราติน (Keratin) ในหนังกำพร้าเป็นอาหาร กลากจะเกิดที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ ได้แก่ กลากที่ลำตัว แขนและขา กลากที่หนังศีรษะและเส้นผม กลากที่ขาหนีบ รอบอวัยวะเพศและทวารหนัก กลากที่เล็บ กลากที่เท้าหรือโรคน้ำกัดเท้า ส่วนปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลาก เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ […]

สำรวจ โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนังติดเชื้อ

แบคทีเรียกินเนื้อ หรือ Necrotizing fasciitis คือ อะไร สาเหตุ อาการ วิธีการรักษา

Necrotizing fasciitis คือ โรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ยากแต่ร้ายแรงมาก ส่งผลต่อเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้มีอาการบวม แดง และปวดรุนแรง หากไม่รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้การติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเนื้อตาย รวมไปถึงอาจทำให้ร่างกายช็อกและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ Necrotizing fasciitis หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อมักแสดงอาการรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไม่กี่วัน หากพบว่ามีอาการเข้าข่ายว่าอาจเป็นโรคนี้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด Necrotizing fasciitis คือ โรคอะไร Necrotizing fasciitis หรือโรคแบคทีเรียกินเนื้อ เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณผิวหนังชั้นที่ลึกถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อและพังผืดโดยรอบ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคไต หรือเป็นโรคตับแข็ง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การติดเชื้ออาจแพร่กระจายไปทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนแรง สับสน ไปจนถึงช็อก ซึ่งอาการอาจรุนแรงจนทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ การวินิจฉัยโรคและการรักษาตั้งแต่ระยะต้นของโรคแบคทีเรียกินเนื้อสามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยได้ จึงควรเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด สาเหตุของ Necrotizing fasciitis โรคแบคทีเรียกินเนื้อส่วนใหญ่เกิดจากแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสชนิดเอ (Streptococcus group A) ซึ่งเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคติดเชื้อหลายโรค เช่น โรคคอหอยอักเสบ โรคหัวใจรูมาติก โดยชื่อเรียกโรคแบคทีเรียกินเนื้อหรือโรคกินเนื้อไม่ได้มาจากการกัดกินเนื้อของแบคทีเรีย แต่มาจากการที่แบคทีเรียชนิดนี้ปล่อยสารพิษที่ทำลายเนื้อเยื่อของผิวหนังและกระทบต่อระบบไหลเวียนโลหิตบริเวณนั้น โดยเชื้อแบคทีเรียจะเข้ามาทางผิวหนังบริเวณที่เป็นแผลอยู่แล้ว ซึ่งอาจเป็นแผลจากการผ่าตัด รอยฉีดยา รอยข่วน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ตัวโลน คืออะไร เป็นอันตรายต่อผิวหนังหรือไม่

ตัวโลน (Pubic Lice) เป็นแมลงขนาดเล็กกลุ่มเดียวกับเหา อาศัยอยู่ตามร่างกายบริเวณที่มีขน อาทิ หนังศีรษะ ใบหน้า รักแร้ หนวด และมักพบได้มากที่สุดบริเวณอวัยวะเพศ ตัวโลนมักแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกันน และยังเป็นสาเหตุของอาการคันหรือผิวหนังระคายเคือง อย่างไรก็ตาม ตัวโลนกำจัดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะต่าง ๆ รวมทั้งแชมพู หรือโลชั่นที่มีส่วนประกอบในการกำจัดแมลงโดยเฉพาะโลนและหา การดูแลตนเองไม่ให้ตัวโลนเกาะนั้นสามารถทำได้ด้วยการอาบน้ำทำความสะอาดร่างกายเสมอ และทำความสะอาดเสื้อผ้าและเครื่องนอนเป็นประจำ โดยอาจแช่หรือซักในน้ำร้อนอุณหภูมิ 54 องศาเซลเซียสขึ้นไป [embed-health-tool-bmi] ตัวโลน คืออะไร ตัวโลนเป็นแมลงกลุ่มเดียวกับเหา มีขนาดเล็กมาก หรือไม่เกิน 1.8 มิลลิเมตร ลำตัวสีเหลืองหรือแดง มี 6 ขา มองเห็นด้วยตาเปล่าได้ยาก มักต้องใช้แว่นขยายส่องจึงจะมองเห็น ตัวโลนอาศัยการดูดเลือดมนุษย์เป็นอาหาร มักเป็นสาเหตุของอาการคันหรืออักเสบตามร่างกาย ตัวโลนมักพบได้ ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีเส้นขนปกคลุม เช่น ศีรษะ ใบหน้า หน้าอก รักแร้ แขน อวัยวะเพศ ทั้งนี้ ลักษณะของตัวโลนที่พบได้ มี 3 ระยะ คือ ไข่โลน มีรูปทรงรีขนาดเล็กมาก มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อไวรัสฝีดาษลิง คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย

เชื้อไวรัสฝีดาษลิง เป็นเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2501 แต่ล่าสุดในช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ได้รับการรายงานว่ามีผู้ที่ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงกว่า 100 ราย ในทวีปยุโรป ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น ไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อ และมีผื่นหรือตุ่มนูนขึ้นทั่วทั้งร่างกาย โดยเฉพาะแขนและขา เชื้อไวรัสฝีดาษลิง คืออะไร เชื้อไวรัสฝีดาษลิง คือ เชื้อไวรัสในกลุ่มออร์โทพ็อกซ์ไวรัส (Orthopoxvirus) ของวงศ์ พ็อกซ์วิริดี้ (Poxviridae) ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ 2501 ในลิงที่ถูกส่งจากสิงคโปร์ไปยังศูนย์วิจัยในเดนมาร์ก และในปี พ.ศ. 2513 มีการบันทึกว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิง ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จากนั้นจึงพบได้มากในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่าไวรัสฝีดาษลิงเป็นไวรัสที่แพร่กระจายจากสัตว์สู่คน เช่น ลิง หรือสัตว์ฟันแทะบางชนิด และสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้เช่นกัน ปัจจุบัน เมื่อช่วงพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยืนยันว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงมากกว่า 1,000 รายทั่วโลก สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยตอนนี้ยังไม่มีการรายงานพบผู้ป่วยฝีดาษลิง แต่พบผู้ป่วยยืนยัน 1 ราย เป็นชาวต่างชาติที่แวะพักเครื่องที่ประเทศไทย และมีประวัติการเดินทางบนเครื่องบินลำเดียวกับผู้ติดเชื้อยืนยันที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อความปลอดภัย […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราผิวหนัง ป้องกันอย่างไร รักษาให้หายขาดได้หรือไม่

เชื้อราผิวหนัง เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอย่าง กลาก เกลื้อน สังคัง ฮ่องกงฟุต อย่างไรก็ตาม เชื้อราบนผิวหนังสามารถรักษาให้หาย ได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา ทั้งในรูปแบบยาทาภายนอก รวมถึงยาเม็ดสำหรับรับประทาน และป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดของร่างกายอยู่เสมอ และหลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้า ถุงเท้า หรือรองเท้าที่รัดแน่นจนอับชื้น เนื่องจากความชื้น เป็นปัจจัยสำคัญให้เชื้อราเติบโตและเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-bmi] เชื้อราผิวหนังมาจากไหน เชื้อรา เป็นจุลินทรีย์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ในทุกที่ ไม่ว่าตามพื้นดิน ในน้ำ หรือบนผิวหนังมนุษย์ อย่างไรก็ตาม เชื้อราบนผิวหนัง โดยปกติมักไม่เป็นอันตราย หรือทำให้ติดเชื้อ นอกจากเมื่อมีจำนวนมาก เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ การอาศัยอยู่ในบริเวณที่อบอุ่นหรือชุ่มชื้น การมีเหงื่อออกมากและไม่รีบทำให้แห้ง การไม่รักษาความสะอาดของผิวหนัง การสวมใส่เสื้อผ้าหรือรองเท้าที่รัดแน่น ระบายอากาศได้ไม่ดี การสวมใส่เสื้อผ้าที่เปียกชื้นหรือชุ่มเหงื่อเป็นเวลานาน การสัมผัสกับผิวหนังที่มีเชื้อโรค ไม่ว่าผิวหนังของคนหรือสัตว์ การมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ โดยอาจเป็นผลข้างเคียงจากการป่วยเป็นโรค การรักษามะเร็ง หรือการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ เชื้อราที่อยู่รอบ ๆ ตัวอาจแพร่กระจายมายังผิวหนัง และเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้ การสัมผัสระหว่างบุคคล หรือระหว่างบุคคลกับสัตว์เลี้ยง การใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น เครื่องแต่งกาย ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราที่เท้า สาเหตุ อาการ และวิธีรักษา

เชื้อราที่เท้า เรียกอีกอย่างว่า ฮ่องกงฟุต หรือ โรคน้ำกัดเท้า เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนัง พบได้มากในบริเวณที่มีความอับชื้น และเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะระหว่างนิ้วเท้า และอาจแพร่กระจายไปสู่บุคคลอื่นได้ผ่านการใช้ของร่วมกัน เช่น ผ้าขนหนู รองเท้า พรมเช็ดเท้า [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ เชื้อราที่เท้า คืออะไร เชื้อราที่เท้า คือ การติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้มีอาการคัน แผลเปื่อย และแสบผิว พบได้บ่อยในบริเวณที่อับชื้นหรือมีเหงื่อออกมาก เช่น ซอกนิ้วเท้า เล็บ ฝ่าเท้า อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้หากมีการสัมผัสกับเชื้อรา อาการ อาการเชื้อราที่เท้า อาการเชื้อราที่เท้า มีดังนี้ อาการคันที่บริเวณเท้า ซอกนิ้ว หรือฝ่าเท้า โดยเฉพาะหลังจากถอดถุงเท้าและรองเท้า ผิวหนังที่เท้าลอก แตก และเป็นสะเก็ด แสบผิวหนังที่เท้า และอาจเป็นแผลพุพอง ผิวหนังที่เท้าอักเสบ สังเกตได้จากสีผิวเปลี่ยนแปลงเป็นสีม่วงหรือสีแดง ควรพบคุณหมอทันทีหากอาการเชื้อราที่เท้าไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์หลังจากที่ใช้ยาต้านเชื้อรา หรือหากมีสัญญาณของการติดเชื้อ เช่น มีหนอง เท้าบวม เป็นไข้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อราที่เท้าก็ควรเข้าพบคุณหมอเช่นกัน เนื่องจากอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ สาเหตุ สาเหตุของเชื้อราที่เท้า เชื้อราที่เท้าเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกันกับเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคกลาก โดยสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือจากการสัมผัสกับสิ่งรอบตัวที่ปนเปื้อนเชื้อรา เช่น พรมเช็ดเท้า ถุงเท้า รองเท้า ผ้าขนหนู ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของเชื้อราที่เท้า ปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสู่การติดเชื้อราที่เท้า มีดังนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกลื้อน อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

กลากเกลื้อน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย หลายคนอาจเข้าใจผิดว่าโรคกลากเกลื้อนคือโรคเดียวกัน แต่แท้จริงแล้ว กลากและเกลื้อนคือโรคผิวหนังต่างชนิดกัน อย่างไรก็ตาม โรคผิวหนังทั้ง 2 ชนิดนี้เกิดจากเชื้อรา ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในบริเวณที่อบอุ่นและอับชื้น เช่น บริเวณที่มีเหงื่อสะสม จึงควรรักษาความสะอาดร่างกายอยู่เสมอ โดยทั่วไปอาการของกลากเกลื้อนจะดีขึ้นภายใน 2-4 สัปดาห์หลังใช้ยารักษา แต่หากรักษานานแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือการติดเชื้อกระจายเป็นวงกว้าง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอาการโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] กลากเกลื้อน เกิดจากอะไร โรคกลาก (Ringworm) เป็นโรคผิวหนังจากเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย รวมไปถึงบริเวณหนังศีรษะ ซอกเล็บมือและเล็บเท้า โดยปกติแล้วเชื้อราชนิดนี้จะอาศัยอยู่บนเนื้อเยื่อเส้นผม เล็บ และผิวหนังชั้นนอกที่ตายแล้ว แต่หากเจริญเติบโตมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคันได้ โรคกลากสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็ก โรคเกลื้อน (Pityriasis versicolor หรือ Tinea versicolor) เป็นโรคผิวหนังจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซียเฟอร์เฟอร์ (Malassezia furfur) มักพบในบริเวณที่มีต่อมไขมัน เช่น คอ ลำตัว ต้นแขน และหลัง โดยทั่วไปโรคเกลื้อนจะไม่ก่อให้เกิดอาการคัน ยกเว้นในช่วงที่มีเหงื่อมาก และสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากยังมีเชื้อบนผิวหนัง โรคนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว ความแตกต่างของ กลากเกลื้อน กลากเกลื้อน เป็นโรคผิวหนัง 2 ชนิดที่เกิดจากการติดเชื้อรา และมีสาเหตุการเกิดโรคที่คล้ายคลึงกัน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราแมว ติดคน อาการ ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรักษา

เชื้อราแมว หรือเชื้อราจากแมว เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของแมว หรืออาจพบบนผิวหนังสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย เชื้อนี้สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัสกับพาหะนำเชื้อโดยตรง เมื่อคนไปสัมผัสคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ อาจทำให้ เชื้อราแมวติดคน ได้ เมื่อติดเชื้อราแมวสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อราที่วางขายตามร้านขายทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากเชื้อราแมวลุกลาม ทำให้เกิดอาการผื่นคันกระจายทั่วตัว รวมไปถึงบริเวณหนังศีรษะ อาจต้องไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของอาการและรักษาให้หายโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-heart-rate] เชื้อราแมว ติดคน คืออะไร เชื้อราแมว เป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของสัตว์ ที่พบมาก เช่น  เชื้อไมโครสปอรัม เคนิส (Microsporum canis) ซึ่งเป็นเชื้อราก่อโรคชนิดหลักในสัตว์ สามารถพบในสัตว์เลี้ยงประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น สุนัข หนูแฮมสเตอร์ กระต่าย เมื่อสัตว์ติดเชื้อจะทำให้เกิดโรคผิวหนัง และเชื้อสามารถติดต่อมาสู่คนได้โดยตรงผ่านการสัมผัส การอุ้ม หรือการนอนร่วมเตียงกับสัตว์เลี้ยง เมื่อเชื้อราแมวติดคนจะทำให้เกิดอาการคันและมีผื่นแดงลักษณะเป็นวงขึ้นบนผิวหนัง ในรายที่มีอาการรุนแรง ผื่นและอาการคันอาจกระจายไปทั่วร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงการเกาที่อาจกระจายไปยังผิวหนังบริเวณอื่น อาการของภาวะ เชื้อราแมวติดคน เมื่อคนติดเชื้อราแมว อาจมีอาการดังต่อไปนี้ มีผื่นขึ้นเป็นดวง รูปร่างคล้ายวงแหวน ขอบเป็นสีแดง อาจเป็นขุย ผื่นมีหลายขนาด ทั้งวงเล็กและวงใหญ่ อาจเป็นเฉพาะที่ หรือขยายเป็นวงกว้างทั่วร่างกาย ผื่นสามารถขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น หนังศีรษะ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ปากนกกระจอก เกิดจาก สาเหตุใด

ปากนกกระจอก เกิดจาก ภาวะอักเสบบริเวณมุมริมฝีปากจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ปัญหาผิวหนังที่มีอยู่เดิม การขาดสารอาหารบางชนิด เป็นต้น ทำให้มีแผลเปื่อย บวม อาจพบที่มุมปากทั้ง 2 มุม หรือมุมเดียวก็ได้  หากรักษาด้วยการใช้ยาหรือการดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วอาการไม่ทุเลาลง หรือเป็นปากนกกระจอกบ่อยครั้ง ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อลดความไม่ให้กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน [embed-health-tool-bmi] ปากนกกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอก คือ ภาวะอักเสบบริเวณมุมปากที่เกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการสะสมของน้ำลายบริเวณมุมปาก เมื่อน้ำลายแห้งแล้วก็จะทำให้ผิวหนังแห้งแตก และเมื่อมุมปากแตกคนส่วนใหญ่มักเลียริมฝีปากเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น จนอาจทำให้ผิวหนังบริเวณมุมปากติดเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย และเกิดอาการเจ็บแสบ บวม หรือตึง กลายเป็นแผลเปื่อยบริเวณที่มุมปาก ซึ่งอาจเป็นแผลมุมปากทั้งสองข้าง หรือ แผลมุมปากข้างเดียว ปากนกกระจอก ติดต่อไหม ปากนกกระจอกไม่ใช่โรคติดต่อ แต่อาจสร้างความเจ็บปวด ทำให้รู้สึกรำคาญ เป็นกังวล กระทบต่อการรับประทานอาหารและการพูดคุยกับผู้อื่น จึงจำเป็นต้องรักษาอย่างถูกวิธีเพื่อลดปัญหาดังกล่าวและไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำอีก ปากนกกระจอก เกิดจาก สาเหตุใด ปากนกกระจอก อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ติดเชื้อราหรือแบคทีเรีย ที่พบบ่อย ได้แก่ เชื้อราที่มีชื่อว่าเชื้อแคนดิดา (Candida) ซึ่งเป็นเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดผื่นผ้าอ้อม ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปากนกกระจอก เลียปากบ่อยหรือนอนน้ำลายไหล น้ำลายที่แห้งหมักหมมบริเวณมุมปากจากการเลียปากเป็นประจำหรือนอนแล้วน้ำลายไหลโดนมุมปาก อาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณมุมปากแห้งแตก อีกทั้งความชื้นและอุ่นของน้ำลายยังอาจทำให้เชื้อราและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ขาดวิตามินบี 2 วิตามินบี 2 […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ปากนกกระจอก รักษา และป้องกันได้อย่างไร

ปากนกกระจอก เป็นภาวะผิวหนังบริเวณมุมปากที่เกิดการอักเสบจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย จนทำให้เกิดแผลพุพอง ซึ่งอาจรักษาได้ด้วยยาต้านเชื้อราและยาปฏิชีวนะต้านเชื้อแบคทีเรีย ทั้งชนิดใช้ภายนอกและชนิดรับประทาน เพื่อช่วยต้านการสะสมของเชื้อราและเชื้อแบคเรีย นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี ธาตุเหล็ก วิตามินซีและโฟเลต (Folate) อาจช่วยป้องกันปากนกกระจอกได้ คำจำกัดความ ปากนกระจอก คืออะไร ปากนกกระจอก คือ ภาวะผิวหนังบริเวณมุมปากเกิดการอักเสบจากเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อราแคนดิดา (Candida) และเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากการที่น้ำลายสะสมอยู่บริเวณมุมปาก ซึ่งอาจทำให้มุมปากระคายเคือง แห้งและแตกจนเป็นแหล่งสะสมของเชื้อเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบและเกิดเป็นแผลลุกลามขึ้น ส่วนใหญ่โรคปากนกกระจอกอาจพบได้ในผู้ที่มีภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ ผู้ที่มีน้ำลายเอ่อบริเวณมุมปากมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากเด็กบางคนอาจมีน้ำลายมากและน้ำลายไหลตลอดเวลา อาการ อาการปากนกกระจอก ปากนกกระจอกอาจมีอาการดังต่อไปนี้ เลือดออกบริเวณมุมปาก แผลพุพอง มีสีขาวและเปียกชื้น บริเวณมุมปากมีอาการแดง บวมและคัน ปากแตกเป็นสะเก็ด สาเหตุ สาเหตุของปากนกกระจอก ปากนกกระจกอาจมีสาเหตุมาจากการสะสมของน้ำลายบริเวณมุมปากจนทำให้ปากแห้งแตก ทำให้เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราสามารถเข้าไปในชั้นผิวหนังได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการอักเสบและการติดเชื้อ นอกจากนี้ ปากนกกระจอกอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาผิวหนังอื่น ๆ ได้อีก ดังนี้ โรคผิวหนังภูมิแพ้หรือโรคกลาก น้ำลายไหลระหว่างการนอนหลับ การติดเชื้อราหรือยีสต์ในปาก เช่น เชื้อราในช่องปาก เด็กที่ดูดนิ้วโป้งหรือจุกนมหลอก สวมหน้ากากอนามัยเป็นเวลานานจนเกิดการสะสมของแบคทีเรีย ผู้ที่ใส่ฟันปลอมไม่พอดีจนอาจเกิดการเสียดสี ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงปากนกกระจอก ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดปากนกกระจอก ดังนี้ การใช้เครื่องสำอางหมดอายุ ภาวะสุขภาพเรื้อรังและความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น โรคเบาหวาน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ฝีไม่มีหัว เป็นอย่างไร หายเองได้หรือไม่ มีวิธีรักษาอย่างไร

ฝีไม่มีหัว คือ ตุ่มบวมแดงบนผิวหนังซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีหนองอยู่ในภายในฝีแต่ไม่มีตุ่มฝีสีขาวอยู่ด้านบน แต่ทำให้รู้สึกเจ็บปวด ทั้งนี้ ฝีไม่มีหัวอาจค่อย ๆ ยุบและหายเองได้ หากไม่ได้ติดเชื้อรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม หากเป็นฝีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร ควรไปโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้คุณหมอผ่าและดูดหนองออก [embed-health-tool-bmr] ฝีไม่มีหัวเกิดจากอะไร ฝีไม่มีหัวเป็นอาการของฝีโดยทั่วไป เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งพบได้บนผิวหนังและในโพรงจมูก โดยปกติแล้ว แบคทีเรียดังกล่าวไม่เป็นอันตรายแก่ผิวหนัง แต่หากเกิดบาดแผลหรือเป็นรอยถลอกบนผิวหนัง เชื้อสแตปฟิโลคอคคัสอาจเข้าไปในผิวหนัง และทำให้ติดเชื้อเกิดการอักเสบจนกลายเป็นฝีหรือตุ่มหนองได้ ฝีหรือตุ่มบวมแดงบนผิวหนังเป็นการอักเสบเนื่องมาจากระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกาย เกิดเป็นน้ำหนอง ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก อันมีหน้าที่ต่อต้านเชื้อโรคต่าง ๆ ฝีมักเกิดกับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือมีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ ป่วยเป็นโรคซึ่งส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคเอดส์ โรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง โรคอ้วน ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือใช้ยาเสพติด ผ่านการรักษาโรคมะเร็งด้วยการใช้ยาเคมีบำบัดหรือคีโม (Chemotherapy) มีอาการบาดเจ็บหรือผิวหนังไหม้ระดับรุนแรง ฝีไม่มีหัว มีอาการอย่างไร ฝีไม่มีหัวเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย อาทิ รักแร้ มือ เท้า ลำตัว อวัยวะเพศ สะโพก โดยอาการที่พบบ่อย ประกอบด้วย ตุ่มบวมแดงบริเวณที่ติดเชื้อ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน