โรคผิวหนังแบบอื่น

นอกเหนือจากโรคผิวหนังติดเชื้อ โรคสะเก็ดเงิน หรือโรคผิวหนังอักเสบที่อาจพบได้บ่อยแล้ว ยังมีโรคผิวหนังอีกมากที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และต้องการการดูแลรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ โรคผิวหนังแบบอื่น มาไว้ที่นี่ เพื่อเป็นความรู้ให้แก่ทุกคน

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังแบบอื่น

6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว

ในช่วงฤดูหนาว มักส่งผลให้ผิวเราขาดความชุ่มชื้นและสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ 6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว กันค่ะ จะมีโรคอะไรบ้างมาดูพร้อมกันเลย  ทำความรู้จัก โรคผิวหนังในช่วงฤดูหนาว หลาย ๆ คน ที่ปรับตัวไม่ทันในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะเสี่ยงต่อการเกิดอาการเจ็บป่วยแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกี่ยวกับผิวหนังอีกด้วย เช่น โรคอีสุกอีใส โรคเริม โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคกลาก  ดังนั้นเราจึงต้องหมั่นดูแลตนเองอย่างสม่ำเสมอ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองให้เหมาะสมกับในช่วงฤดูหนาว เช่น ใส่เสื้อผ้าที่หนาให้ความอบอุ่นร่างกาย ดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ลดเครื่องดื่มที่ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำ อย่าง ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น  6 โรคผิวหนังที่พบบ่อยในช่วงฤดูหนาว โรคสะเก็ดเงิน  ผิวจะมีลักษณะแห้ง ลอก เป็นขุย บางรายอาจเกิดการอักเสบ แดง คัน หากคุณเริ่มมีตุ่มสีแดง ๆ เล็ก ๆ ขึ้นบริเวณผิวหนังและค่อย ๆ ลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น ศีรษะ หัวเข่า มือ และเท้า […]

สำรวจ โรคผิวหนังแบบอื่น

โรคผิวหนังแบบอื่น

ไฝ (Moles) คืออะไร

ไฝ คือ กลุ่มเซลล์เม็ดสีที่ก่อตัวขึ้นบริเวณผิวหนัง มักจะมีสีน้ำตาลหรือดำ อาจปรากฏเห็นเป็นจุดเดียวหรืออยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อผ่านไปหลายปี ไฝมักใหญ่ขึ้นและอาจมีการเปลี่ยนแปลงของสีอย่างช้า ๆ บางครั้ง อาจมีเส้นผมโผล่ขึ้นจากไฝ ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตราย แต่ในบางรายอาจเปลี่ยนไปเป็นมะเร็งเมลาโนได้ แต่พบได้น้อยมาก [embed-health-tool-”bmi”] คำจำกัดความ ไฝ คืออะไร ไฝ เป็นผิวหนังที่มีการเติบโตขึ้นจากการรวมกลุ่มกันของเม็ดสีเมลานินใต้ชั้นผิวหนังที่มากกว่าปกติ ทำให้เกิดเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำเห็นบนผิวหนัง มีลักษณะนูน เป็นตุ่ม ไฝอาจใหญ่ขึ้นได้และอาจมีการเปลี่ยนสี ปกติแล้ว ไฝไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนัง แต่ในบางรายอาจเกิดความผิดปกติจนกลายเป็นมะเร็งบางชนิดได้ ไฝพบได้บ่อยแค่ไหน ไฝเป็นภาวะของผิวหนังที่พบได้ทั่วไป ไฝส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กจนถึงช่วงวัย 25 ปี เป็นเรื่องปกติที่จะมีจำนวนไฝอยู่ระหว่าง 10 ถึง 40 ตำแหน่งทั่วร่างกายในวัยผู้ใหญ่ อาการ อาการของการมีไฝ ไฝมักจะเป็นจุดสีน้ำตาลหรือดำ และสามารถเกิดขึ้นได้ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งเรื่องของ สี รูปร่างและขนาด: สีและผิวสัมผัส ไฝอาจมีสีน้ำตาล สีแทน สีดำ สีแดง สีน้ำเงินหรือสีชมพู ผิวสัมผัสอาจมีความนุ่ม มีรอยย่น แบนราบ หรือนูนขึ้น อาจมีขนงอกออกมาจากไฝ รูปแบบของไฝมีความหลากหลาย ตั้งแต่ทรงรีจนไปถึงทรงกลม ไฝมักจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1/4 นิ้ว (ประมาณ 6 มิลลิเมตร) และสำหรับไฝที่ปรากฏขึ้นเมื่อตอนเกิด อาจมีขนาดใหญ่มากและปกคลุมใบหน้าร่างกายหรือแขนและขาเป็นบริเวณกว้าง […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

รอยสัก (Tattoo) กับผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นได้

รอยสัก (Tattoo) คือ รูปวาดจากน้ำหมึกซึ่งปรากฎอยู่บนผิวหนัง ซึ่งหลายคนมองว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่สร้างความสวยงามบนเรือนร่าง แต่ก่อนตัดสินใจเข้ารับการสัก ควรศึกษาถึงผลข้างเคียงหรือภาวะแทรกซ้อน เพื่อหาวิธีป้องกันและดูแลตนเองก่อนสัก ขณะสัก และหลังสัก ไม่ให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ รอยสัก กับวิธีสักที่ควรรู้ รอยสักเป็นเครื่องหมายที่จะอยู่บนผิวไปอย่างถาวร โดยเม็ดสีของหมึกสักนั้นจะถูกแทรกเข้าไปในชั้นบนสุดของผิวผ่านการแทงของเข็มสัก โดยทั่วไปแล้ว การสักจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องสัก ซึ่งทำหน้าที่เหมือนจักรเย็บผ้า โดยมีเข็ม 1 เข็มหรือมากกว่านั้นเจาะบนผิวหนังซ้ำ ๆ ทุกครั้งที่เข็มเจาะลงไปก็จะหยดหมึกเล็ก ๆ ลงไปด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วกระบวนการสักนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ยาชา เนื่องจากมีเลือดออกไม่มากและรู้สึกเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาก การสัก การสัก คือ การใช้เครื่องมือที่มีเข็มเจาะลงไปบนผิวหนัง ทุกครั้งที่อุปกรณ์สักแทงเข็มเข้าไปจะก่อให้เกิดรูบนผิวหนังและมีการฉีดสีเข้าไปในชั้นหนังแท้ ซึ่งถือว่าสร้างความเสียหายให้แก่ผิวหนัง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพได้ ดังนี้ โรคมะเร็ง รอยสักนั้นทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายคนสงสัยและนักวิจัยเองก็ได้มีการพยายามหาคำตอบ แม้จะไม่มีการเชื่อมโยงโดยตรงระหว่างรอยสักกับมะเร็งผิวหนัง แต่ก็มีส่วนผสมบางอย่างในหมึกที่อาจเชื่อมโยงกับมะเร็งได้ โดยเฉพาะหมึกสีดำที่เข้าสู่ร่างกายถือเป็นอันตรายอย่างยิ่ง เพราะมีระดับเบนโซ (เอ) ไพรีน (Benzo (a) pyrene) สูงมาก ปัจจุบันทางสำนักงานวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (International Agency for Research on Cancer หรือ IARC) ได้ระบุว่าเบนโซ (เอ) ไพรีนเป็นสารก่อมะเร็ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและนักวิจัยเองก็มีความกังวลเป็นพิเศษเกี่ยวกับผลกระทบของหมึกสักสีดำ […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

10 วิธีบรรเทา อาการคัน ผิวหนัง

อาการคัน อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังแห้ง อาการแพ้ หรือโดนยุงกัด นอกจากนี้ อาการคันยังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคสะเก็ดเงิน แม้บางครั้งอาการคันอาจไม่ได้รุนแรง และสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ 10 วิธีบรรเทา อาการคัน 1. น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัว เช่น กรดลอริก (Lauric Acid) ซึ่งอาจช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น และป้องกันไม่ให้ผิวหนังได้รับความเสียหายจากสภาพแวดล้อม โดยอาจใส่น้ำมันมะพร้าวลงในอาหาร หรือจะนำมาทาลงบนผิวโดยตรงเหมือนทามอยส์เจอร์ไรเซอร์ก็ได้เช่นกัน 2. ปิโตรเลียม เจลลี่ ปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) คือ ผลิตภัณฑ์ที่มีเพียงส่วนผสมเดียว จึงอาจเป็นอีกทางเลือกสำหรับผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบ้านบางชนิด เช่น น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอง น้ำยาทำความสะอาดพื้น อาจก่อให้เกิดอาการคันสำหรับผู้ที่แพ้ส่วนผสม รวมถึงอาจทำลายเซลล์บนผิวหนัง นอกจากนี้การใช้มอยส์เจอร์ไรเซอร์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีเยอะ ก็อาจทำให้ผิวบริเวณที่เกิดอาการคันแย่ลง หรืออาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ สถาบันผิวหนังแห่งอเมริกา (American Academy Dermatology) ได้แนะนำให้ใช้ปิโตรเลียม เจลลี่สำหรับผู้ที่มีผิวหนังแห้ง ซึ่งสามารถทาได้ในทุกส่วนของร่างกาย ทั้งยังสามารถทาได้บ่อยตามความต้องการอีกด้วย 3. ข้าวโอ๊ต ข้าวโอ๊ต มีสารอาวีนันทราไมต์ (Avenanthramide) […]


โรคผิวหนังแบบอื่น

ลมพิษ มีสาเหตุจากอะไร และรักษาอย่างไร

ลมพิษ (Hives) เป็นอาการที่ผิวหนังเป็นผื่นแดง หรือมีผื่นนูน และมักจะมีอาการคันร่วมด้วย มักเกิดจากอาการแพ้สารบางอย่าง เช่น แพ้ยา แพ้สารเคมี แพ้อาหาร แต่ก็สามารถเกิดจากสิ่งกระตุ้นอื่น ๆ เช่น ความเครียด อากาศร้อน อย่างไรก็ตาม ลมพิษสามารถหายได้ด้วยการดูแลตนเองเบื้องต้น แต่หากลมพิษไม่หายภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบคุณหมอ ลมพิษ คืออะไร ลมพิษ คือ ผื่นคันที่บวมขึ้น นับเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดผื่นคัน แต่อาจทำให้รู้สึกเหมือนผิวไหม้จนแสบผิว หรือรู้สึกเหมือนโดนกัดที่ผิว สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกาย บริเวณที่พบบ่อยได้แก่ ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น คอ หู หน้าอก บริเวณผิวหนังที่เป็นลมพิษจะกินความกว้างไม่เท่ากัน ตั้งแต่ความกว้างเท่ายางลบไปจนถึงขนาดเท่าจานข้าว ลมพิษมีโอกาสเกิดขึ้น 15-20% ในชีวิตของทุกคน โดยทั่วไป ลมพิษ มีอยู่ 3 ประเภทขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดลมพิษ ได้แก่ ลมพิษ ฉับพลัน (Acute Urticaria) ผู้ที่เป็น ลมพิษ ฉับพลันจะมีอาการเป็นผื่นไม่เกิน 6 สัปดาห์ มักมีสาเหตุมาจากอาการแพ้อาหารหรือแพ้ยาบางประเภท แต่การติดเชื้อและแมลงกัดต่อยก็ทำให้เกิดผื่นคันชนิดนี้ได้เช่นกัน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน