สุขภาพผิว

ผิวหนัง คืออวัยวะภายนอกที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในร่างกาย ผิวหนังนั้นมีหน้าที่สำคัญต่อร่างกาย ทั้งเป็นเกราะป้องกันจากสิ่งสกปรกต่าง ๆ หรือช่วยควบคุมอุณภูมิของร่างกายให้เป็นปกติ เป็นต้น เรียนรู้เกี่ยวกับการมี สุขภาพผิว ที่ดี และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย เพื่อการปกป้องดูแลผิวของคุณให้ดียิ่งขึ้น ได้ที่นี่

สนับสนุนโดย:

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพผิว

ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่?

หลายคนเชื่อว่าการ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า เป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับผิวหน้าที่สุด เพราะน้ำเปล่าเป็นสารธรรมชาติ ปราศจากสารเคมีเจือปน มีความอ่อนโยน เหมาะกับผิวบอบบางแพ้ง่าย และผิวผู้ที่เป็นสิว หลายคนจึงเชื่อว่าการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวเหมาะสมที่สุดสำหรับผิวหน้า แต่ความเชื่อนี้จะจริงหรือเท็จประการใด บทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบให้คุณค่ะ ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า ดีต่อผิวหน้าจริงหรือไม่? การล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า อาจไม่ได้เหมาะสมสำหรับผิวหน้าเสมอไป เพราะตลอดทั้งวันเราเจอทั้งมลภาวะต่าง ๆ และฝุ่นละออง ยิ่งคุณผู้หญิงที่แต่งหน้าด้วยล่ะก็ การใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดผิวหน้าเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถดูดสิ่งสกปรกหรือเครื่องสำอางค์บนผิวหน้าออกได้อย่างสะอาดหมดจรด และอาจเสี่ยงต่อการเกิดการอุดตันบริเวณรูขุมขนอีกด้วย ดังนั้นอาจต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าควบคู่ด้วย แต่ควรเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีมาตรฐาน ปลอดภัยต่อผิวหน้า และเหมาะสมกับลักษณะของผิวหน้าคุณ อย่างไรก็ตาม ผิวหน้าของแต่ละคนมีปัญหาแตกต่างกัน การทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียวอาจเหมาะสำหรับบางคน ทั้งนี้ทั้งนั้นให้คุณลองสังเกตใบหน้าของตนเองว่าหากทำความสะอาดผิวหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว เหมาะกับผิวหน้าของคุณหรือไม่ หากไม่เหมาะสมให้ปรับเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อความสมดุลของผิว 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า น้ำเปล่า มีประโยชน์ที่ดีต่อผิวหน้ามากกว่าที่คุณคิด โดย 5 คุณประโยชน์จากการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่า มีดังต่อไปนี้ สะดวกและง่ายต่อการทำความสะอาดผิวหน้า  ลดการเสียดสีกับผิวหน้า ช่วยลดการระคายเคืองกับบริเวณผิวหนัง ปลอดภัยต่อผิวหน้า เพราะมีน้ำมีความอ่อนโยนปราศจากสารเคมี เกิดการระคายเคืองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า  ลดความเสี่ยงในการลอกคราบน้ำมันตามธรรมชาติของผิว ช่วยปกป้องเกราะป้องกันผิว ไม่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า ลดต้นทุนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขั้นตอนง่าย ๆ ในการล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ในตอนเช้าให้ล้างหน้าด้วยน้ำเปล่าสะอาด และซับหน้าด้วยผ้าไมโครไฟเบอร์ซับเบา ๆ ให้แห้งที่ผิวหน้า จะช่วยลดการเสียดสีและลดการระคายเคืองต่อผิวหนัง  ในช่วงตอนกลางคืน […]

หมวดหมู่ สุขภาพผิว เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพผิว

สุขภาพผิว

ถุงใต้ตาบวม สาเหตุ วิธีรักษา และการป้อ

ถุงใต้ตาบวม อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคภูมิแพ้ การนอนดึก การสูบบุหรี่ พบได้มากในผู้สูงอายุ ซึ่งอาจไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่หากสังเกตว่ามีอาการปวดตา  ระคายเคืองดวงตา และมีปัญหาด้านการมองเห็น ควรเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณการติดเชื้อ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และโรคไทรอยด์ได้ [embed-health-tool-bmi] ถุงใต้ตาบวม เกิดจากอะไร ถุงใต้ตาบวม มีสาเหตุมาจากเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อที่รองรับเปลือกตาอ่อนแอลง ทำให้ผิวหนังเริ่มหย่อนคล้อย จนไขมันที่อยู่รอบดวงตาเคลื่อนตัวลงไปในบริเวณเปลือกตาล่าง ส่งผลให้เปลือกตาบวม บางคนอาจมีใต้ตาคล้ำ อาการถุงใต้ตาบวมมักไม่ส่งผลอันตราย แต่หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีปัญหาด้านการมองเห็น ระคายเคืองดวงตา ปวดตา ปวดศีรษะ ผื่นขึ้นผิวหนัง ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจทันทีเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไทรอยด์ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การติดเชื้อ หรืออาการแพ้รุนแรง นอกจากนี้ ถุงใต้ตาบวมยังอาจเกิดจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ดังนี้ พันธุกรรม หากคนในครอบครัวมีถุงใต้ตา อาจส่งผลให้คนอื่น ๆ ในครอบครัวมีอาการนี้ด้วยเช่นกัน การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือการนอนดึก อาจส่งผลให้ถุงใต้ตาบวมได้ เนื่องจากระบบการไหลเวียนโลหิตไม่ดี ที่อาจทำให้เลือดคั่งบริเวณใต้ตา สังเกตได้จากอาการผิวหนังใต้ตาคล้ำ และมีถุงใต้ตา โรคภูมิแพ้ อาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ เช่น ขนสัตว์ ไรฝุ่น เชื้อรา น้ำหอม น้ำยาล้างคอนแทคเลนส์ […]


สุขภาพผิว

ผิวหนัง หย่อน คล้อย สาเหตุ และการรักษา

ผิวหนัง หย่อน คล้อย มีสาเหตุหลักจากการลดลงของโปรตีนอิลาสติน (Elastin) และคอลลาเจน (Collagen) ในร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้ผิวหนังส่วนต่าง ๆ ทั้งใบหน้า หน้าอก หน้าท้อง และสะโพก สูญเสียความยืดหยุ่น ชุ่มชื้น เต่งตึง นอกจากนั้น ยังอาจเกิดจากการที่น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว การตั้งครรภ์ และโรคบางอย่าง ทั้งนี้ ผิวหนัง หย่อน คล้อย อาจทำให้กระชับได้ โดยการออกกำลังกายด้วยการเล่นเวท บริโภคคอลลาเจนทดแทน หรือบำบัดด้วยแสงเลเซอร์ และอาจป้องกันได้ด้วยการดื่มน้ำให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงแสงแดดซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อิลาสตินและคอลลาเจนในผิวหนังลดลง [embed-health-tool-bmi] ผิวหนัง หย่อน คล้อย เกิดจากอะไรได้บ้าง ผิวหนังหย่อนคล้อย อาจเกิดขึ้นได้กับผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นใบหน้า คาง ลำคอ หน้าแขน หน้าท้อง หรือสะโพก โดยมีสาเหตุ ดังต่อไปนี้ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายผลิตโปรตีนอิลาสติน และคอลลาเจนน้อยลง โดยอิลาสตินมีคุณสมบัติทำให้ผิวหนังยืดหยุ่น ขณะที่คอลลาเจนช่วยทำให้ผิวหนังแข็งแรงและเต่งตึง ทั้งนี้ สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ระดับโปรตีนทั้ง 2 ชนิดลดลง […]


สุขภาพผิว

ฝีที่ตูด สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและป้องกัน

ฝี คือ ก้อนหรือตุ่มที่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แสบ บวม แดง สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย รวมไปถึงบริเวณทวารหนักหรือตูด ฝีที่ตูด มักขึ้นบริเวณแก้มตูดหรือแก้มก้นและรอบรูทวารหนัก เกิดจากการอักเสบของต่อมเมือกในช่องทวารหนักและไส้ตรง โดยทั่วไป สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการเจาะระบายหนองออกหรือผ่าตัดนำฝีออก หากพบว่าเป็นฝีที่ตูด และมีอาการอักเสบรุนแรง หรือมีไข้ร่วมด้วย ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยและรักษาให้หายด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] ฝีคืออะไร ฝี คือ ตุ่มหรือก้อนนูนที่ผิวหนัง มีสีตั้งแต่สีชมพูไปจนถึงสีแดงเข้ม ฝีอาจขยายใหญ่ขึ้นและเกิดการอักเสบ ส่งผลให้รู้สึกเจ็บเมื่อสัมผัส ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ ข้างในฝีประกอบไปด้วยหนอง แบคทีเรีย และสิ่งสกปรก สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกายรวมไปถึงบริเวณทวารหนักหรือตูด ประเภทของ ฝีที่ตูด ฝีที่ตูด อาจแบ่งประเภทได้ดังนี้ ฝีบริเวณทวารหนัก (Anal/perianal abscess) เป็นฝีที่เกิดขึ้นเมื่อต่อมเมือกบริเวณทวารหนักอักเสบ ทำให้เกิดหนองและสิ่งสกปรกสะสมจนกลายเป็นฝี ฝีคัณฑสูตร (Anal Fistula) เป็นฝีเรื้อรังที่ส่วนใหญ่เกิดจากของเสียที่หมักหมมอยู่ในภายในทวารหนักอักเสบและอุดตันจนเกิดเป็นหนอง หนองที่สะสมอยู่จะแทรกไปอยู่ตามชั้นกล้ามเนื้อจนทำให้เกิดโพรงภายในทวารหนักซึ่งเชื่อมจากทวารหนักออกมาบริเวณผิวหนังด้านนอกใกล้กับรูทวารหนักและแก้มก้น เมื่อหนองปะทุออกมาที่ผิวหนังจะเกิดเป็นฝีคัณฑสูตร ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อบริเวณต่อมทวารหนักจากการเป็นฝีที่ตูดมาก่อน ฝีชนิดนี้จึงมีอาการรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากเป็นฝีที่เกิดซ้ำในตำแหน่งเดิมหรือตำแหน่งใหม่ในบริเวณใกล้เคียง อาการของฝีที่ตูด อาการของฝีที่ตูด อาจแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้ ฝีที่ตูดทั่วไป เป็นฝีที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อาจมีอาการต่อไปนี้ รู้สึกปวดตุบ ๆ อย่างต่อเนื่อง และจะเจ็บมากกว่าปกติขณะนั่ง ผิวหนังบริเวณทวารหนักมีอาการบวม แดง […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคฝีดาษลิง คืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) ที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ (Variolar) และโรคฝีดาษวัว (Cowpox) ผู้ติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นทั่วร่างกาย ลักษณะของตุ่มที่เกิดจากฝีดาษลิงจะเปลี่ยนไปตามระยะ เริ่มจากเป็นรอยแดงเป็นจุด ๆ เป็นตุ่มแดงนูน ไปจนถึงเป็นตุ่มน้ำใส จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มหนองที่จะตกสะเก็ดและหลุดออกไปเอง ตุ่มจากฝีดาษลิงมักขึ้นที่ใบหน้า เยื่อบุภายในตาและปาก ลำตัว แขน ขา ฝ่ามือ และฝ่าเท้า คนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวจากโรคนี้ได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ โรคฝีดาษลิงพบได้บ่อยในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ในเดือนพฤษภาคม 2565 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเริ่มรายงานว่าโรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดในหลายภูมิภาคนอกทวีปแอฟริกาและอาจกระจายไปหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงในเบื้องต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ โรคฝีดาษลิง เกิดจากอะไร โรคฝีดาษลิงเกิดจากติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในสกุลออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) วงศ์พอกซ์วิริเด ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเชื้อไวรัสฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ และไวรัสฝีดาษวัว เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น ลิง สัตว์ตระกูลฟันแทะอย่างหนูป่า กระรอก เมื่อสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ เชื้อจะเข้าผ่านรอยแตกหรือแผลที่ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ทางเยื่อบุปาก หรือทางเยื่อบุตา ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ จนเกิดผื่นหรือตุ่มซึ่งมักเริ่มปรากฏที่ใบหน้าและลามไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจขึ้นที่อวัยวะเพศด้วย รูปแบบการแพร่เชื้อฝีดาษลิง โรคฝีดาษลิงสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ตั้งแต่ […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

ริ้วรอยใต้ตา สาเหตุและการรักษา

ริ้วรอยใต้ตา เป็นริ้วรอยที่อาจเกิดขึ้นจากความเสื่อมสภาพของผิวตามอายุ การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบดวงตาซ้ำ ๆ เนื่องจากการขยับใบหน้าบ่อยครั้ง การยิ้มบ่อย การขยี้ตาบ่อย หรืออาจเกิดจากโครงสร้างเนื้อเยื่อผิวถูกทำลายจากรังสียูวีในแสงแดดและการสูบบุหรี่ ซึ่งการปกป้องและดูแลรักษาผิวอย่างถูกต้องเหมาะสมอาจช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยใต้ดวงตาก่อนวัยได้ ประเภทของริ้วรอยใต้ตา ริ้วรอยใต้ตาอาจแบ่งได้เป็นหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทอาจมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนี้ ริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงสีหน้า (Dynamic Wrinkle) เป็นริ้วรอยที่เกิดขึ้นจากการหดตัวซ้ำ ๆ ของกล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง มักเกิดขึ้นบริเวณหว่างคิ้ว ใต้ตา หน้าผาก โดยเฉพาะเวลายิ้มหรือขมวดคิ้วจะส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้น ๆ ขยับและหดตัวบ่อยครั้ง ริ้วรอยที่เกิดขึ้นอย่าวถาวร (Static Wrinkle) เป็นริ้วรอยที่เกิดขึ้นอย่างคงที่แม้จะไม่ได้ขยับกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการพัฒนาของริ้วรอยที่เกิดจากการแสดงสีหน้าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและเป็นเวลานาน ส่งผลทำให้ริ้วรอยเกิดขึ้นอย่างถาวร นอกจากนี้ การสัมผัสกับแสงแดด ควันบุหรี่ และการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ก็อาจเร่งให้เกิดริ้วรอยชนิดนี้ได้เช่นกัน ริ้วรอยที่เกิดขึ้นตามอายุ (Wrinkle Folds) เป็นริ้วรอยที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของผิวหนัง เนื่องจากเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นโครงสร้างเนื้อเยื่อผิวย่อมเสื่อมสภาพลงทำให้ผิวหนังหย่อนคล้อยและเกิดเป็นริ้วรอย สาเหตุของการเกิด ริ้วรอยใต้ตา ริ้วรอยใต้ตาอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ อายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้นโครงสร้างเนื้อเยื่อผิว ความชุ่มชื้นและความยืดหยุ่นของผิวอาจลดลงตามธรรมชาติ จึงส่งผลให้เกิดความหย่อนคล้อยของผิวหนังและเกิดริ้วรอยใต้ตา การขยับใบหน้าซ้ำ ๆ การเคลื่อนไหวใบหน้าหรือแสดงอารมณ์บนใบหน้าบ่อยครั้งจนทำให้ผิวเกิดรอยย่น เช่น การยิ้ม ขมวดคิ้ว การเลิกคิ้ว อาจส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณผิวหนังเกิดการหดตัวซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นร่องและริ้วรอยใต้ตาในที่สุด […]


สิว

เป็นสิวที่หลัง สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

เป็นสิวที่หลัง เป็นภาวะสุขภาพผิวที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย สิวที่หลังมักขึ้นที่ผิวหนังบริเวณไหล่และหลังส่วนบน แต่บางครั้งก็อาจลุกลามไปทั่วแผ่นหลัง ลำตัว จนถึงบริเวณเอว สาเหตุอาจเกิดจากพันธุกรรม เหงื่อที่สะสมบนผิวหนัง การเสียดสีกับเสื้อผ้า ระดับฮอร์โมนที่แปรปรวน ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ความเครียด เป็นต้น การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันอาจช่วยรักษาสิวที่หลังได้ ทั้งนี้ ควรดูแลตัวเองให้มีสุขอนามัยที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้กลับเป็นสิวที่หลังซ้ำอีก สาเหตุที่ทำให้เป็นสิวที่หลัง สาเหตุที่ทำให้เป็นสิวที่หลัง อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นสิวที่หลัง อาจเสี่ยงเป็นสิวที่หลังได้มากกว่าคนทั่วไป การเสียดสี เมื่อผิวหนังเสียดสีกับเสื้อผ้า กระเป๋าเป้ หรืออุปกรณ์กีฬาเป็นเวลานานอบ่อยครั้ง อาจทำให้เกิดสิวหรือสิวลุกลามมากขึ้น ฮอร์โมน วัยรุ่นชายหญิงและหญิงตั้งครรภ์มักมีระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงบ่อย จนอาจส่งผลให้เกิดสิวที่หลังได้ง่ายขึ้น การใช้ยารักษาโรค ยารักษาโรคบางชนิด เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ อาจทำให้เกิดสิวหรือทำให้สิวที่หลังแย่ลงได้ สุขอนามัย ผู้ที่ไม่ค่อยอาบน้ำหรือสระผม อาจทำให้มีน้ำมันส่วนเกิน เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและสิ่งสกปรกสะสมที่แผ่นหลังจนส่งผลให้รูขุมขนอุดตันและเกิดสิว นอกจากนี้ ผู้ที่ไม่ค่อยเปลี่ยนผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว หรือสวมใส่เสื้อผ้าซ้ำโดยไม่ซักบ่อย ๆ ก็เสี่ยงเป็นสิวที่หลังได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว โลชั่นและครีมทาผิวบางชนิดอาจอุดตันรูขุมขนและทำให้เกิดสิวได้ โดยเฉพาะชนิดที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสม ความเครียด เมื่ออยู่ในภาวะเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากขึ้น ฮอร์โมนชนิดนี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันหรือซีบัม (Sebum) ที่คอยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวหนัง แต่หากมีน้ำมันมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดสิวได้ เหงื่อไคล […]


สุขภาพผิว

ลายสัก อันตรายไหม ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหนังอย่างไร

ลายสัก เป็นศิลปะบนเรือนร่างอย่างหนึ่ง โดยการฝังเม็ดสีหรือน้ำหมึกลงใต้ผิวหนัง เพื่อให้เห็นเป็นลวดลายต่าง ๆ ที่สวยงามซึ่งมักทำโดยช่างสักมืออาชีพ การสัก อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงต่อสุขภาพผิวหนังได้ เช่น ทำให้ติดเชื้อ เป็นผื่น เกิดรอยแดง โดยปกติอาการข้างเคียงมักดีขึ้นหลังผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ ส่วนลายสักจากการสักถาวรมักคงอยู่ได้ค่อนข้างนานเกือบตลอดชีวิต เพียงแต่สีหรือน้ำหมึกของลายสักอาจซีดจางลงตามกาลเวลา อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจเลือกลายสัก ควรปรึกษาช่างสักถึงสีและประเภทของหมึกที่ใช้ นอกจากนั้น ควรตรวจสอบข้อมูลของร้าน ประวัติและประสบการณ์ของช่างสัก รวมทั้งความสะอาดของอุปกรณ์และสภาพร้านที่ได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพผิวหนัง [embed-health-tool-bmi] ผลข้างเคียงจาก ลายสัก การสักลายอาจมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพผิวหนังแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทของน้ำหมึกที่ใช้ น้ำหนักมือและความเชี่ยวชาญของช่างสัก ขนาดของลายสักที่เล็กหรือใหญ่ไม่เท่ากัน โดยอาการข้างเคียงทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นหลังจากสร้างลายสักประกอบด้วย การติดเชื้อ การติดเชื้อ เป็นอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ทันทีหลังจากสักลายใหม่ ๆ หรือหลังจากสักไปแล้วหลายวันหรือหลายเดือน ทั้งนี้ สาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อ คือการใช้อุปกรณ์สักที่ไม่สะอาด หรือน้ำหมึกที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรค อาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ประกอบด้วย เกิดรอยแดงบริเวณลายสักและรอยแดงนั้นแผ่วงกว้างออกไปเรื่อย ๆ รู้สึกเจ็บปวดบริเวณลายสักหรือผิวหนังรอบ ๆ ลายสัก และเจ็บต่อเนื่องหรือปวดรุนแรงยิ่งขึ้น เกิดตุ่มแดงหรือคันบริเวณลายสัก และไม่หายแม้ผ่านไปแล้ว 2-3 วันก็ตาม มีหนองหรือน้ำเหลืองซึมตามบริเวณที่สัก มีไข้ หนาวสั่น ทั้งนี้ หากอาการต่าง ๆ ไม่ดีขึ้นหรือแย่ลงภายในระยะเวลา 2-3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย […]


การดูแลและทำความสะอาดผิว

แพ้ครีมทาผิว รักษาอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

แพ้ครีมทาผิว เป็นปฏิกิริยาของผิวหนังหลังจากสัมผัสกับสารเคมีบางอย่างที่เป็นส่วนผสมในครีมทาผิว อาการที่พบโดยส่วนมาก ได้แก่ เกิดผื่นแดง คัน ผิวบวมนูน หากเกิดอาการแพ้ ควรหยุดใช้ครีมทาผิวทันทีและงดการใช้ครีมอื่น ๆ ทุกชนิดเช่นกัน นอกจากนั้น ควรเข้าพบคุณหมอ โดยส่คุณหมอมักรักษาด้วยการจ่ายยาลดการอักเสบ หรือยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ อาการแพ้ครีมทาผิวอาจป้องกันได้โดยการเลือกซื้อครีมให้เหมาะกับสภาพผิว รวมทั้งอาจเข้ารับการทดสอบอาการแพ้ก่อนตัดสินใจซื้อครีม เพื่อจะได้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสโดนสารชนิดใดบ้าง [embed-health-tool-bmi] แพ้ครีมทาผิว เกิดจากอะไร การแพ้ครีมทาผิว เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อสารต่าง ๆ ในครีมทาผิวที่ทำให้ผิวหนังระคายเคืองหรือเป็นสารก่อภูมิแพ้ เช่น น้ำหอม สารเคมี น้ำมันหอมระเหย กรดต่าง ๆ เช่น กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) กรดไฮโปคลอรัส (Hypochlorous Acid) กรดกลุ่มอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) สารกันบูด เช่น สารกลุ่มพาราเบน (Parabens) สารสกัดจากสัตว์ เช่น ลาโนลิน (Lanolin) ที่สกัดจากขนแกะ ในทางการแพทย์ แพ้ครีมทาผิวจัดเป็นอาการของโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า โรคผื่นแพ้สัมผัส (Contact Dermatitis) ซึ่งพบได้ทั่วไป โดยแบ่งได้เป็น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

แบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร อาการ การรักษาและการป้องกัน

แบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า เป็นปัญหาสุขภาพผิวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นลึกไปถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังตายและอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย โดยอาจสังเกตได้จากอาการผิวหนังบวมแดง ตุ่มน้ำ เป็นไข้ ผิวเปลี่ยนสี หากพบอาการดังกล่าว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและทำการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร แบคทีเรียกินเนื้อ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส (Aeromonas) และเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกลุ่มเอ (Group A streptococcus) มักพบหลังจากการผ่าตัดหรือหลังประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ เช่น น้ำขัง น้ำกร่อย อีกทั้งยังอาจแพร่กระจายผ่านทางบาดแผลเล็ก ๆ รอยถลอก และแมลงกัดต่อย ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ มีดังนี้ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง โรคไต โรคปอด โรคหลอดเลือดตีบ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจที่ส่งผลกระทบต่อลิ้นหัวใจ ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ ผู้ที่ใช้สารเสพติด อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียเนื้อ มักปรากฏภายใน 24 ชั่วโมง แรกของการติดเชื้อ โดยระยะแรกจะแสดงอาการเหมือนกับไข้หวัด เช่น มีไข้ คลื่นไส้ […]


สุขภาพผิว

ยาม่วงทาปาก คือยาอะไร มีข้อควรระวังในการใช้อย่างไร

ยาม่วงทาปาก หรือเจนเชียน ไวโอเลต (Gentian Violet) เป็นยาต้านเชื้อราชนิดหนึ่ง เดิมใช้ทาในปากเพื่อรักษาอาการติดเชื้อราในช่องปาก รวมถึงใช้ทาผิวหนังเพื่อรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เนื่องจากเชื้อรา ปัจจุบันนี้ ยาม่วงทาปากถูกสั่งห้ามใช้ในบางประเทศเนื่องจากมีงานวิจัยที่รายงานว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัญหาสุขภาพบางประการ เช่น มะเร็ง เป็นพิษต่อเยื่อสมอง ทำให้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันถึงความปลอดภัยในการใช้ยาม่วงทาปากภายในช่องปากและภายในอวัยวะอื่น ๆ เช่น หู จมูก ดังนั้น ควรใช้ยาม่วงทาปากด้วยความระมัดระวัง หรือปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรก่อนใช้ เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเช่น เป็นแผลในปาก หลอดอาหารอักเสบ หรือแผลพุพองตามข้อพับหรือใต้ราวนม นอกจากนี้ ยาม่วงยังก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ เช่น เป็นผื่นแดง คันตามผิวหนัง วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก หัวใจเต้นเร็ว ใบหน้าบวม [embed-health-tool-bmi] ยาม่วงทาปาก คืออะไร ยาม่วงหรือยาม่วงทาปาก มีชื่อทางการว่า เจนเชียน ไวโอเลต เป็นยาต้านเชื้อรา เพื่อรักษาการติดเชื้อราในช่องปาก และใช้ทาผิวหนังเพื่อรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เนื่องจากเชื้อรา อาทิ โรคกลาก โรคน้ำกัดเท้า นอกจากนี้ ยาม่วงทาปากยังมีสรรพคุณต้านแบคทีเรียที่ออกฤทธิ์ไม่รุนแรง ยาม่วงทาปากใช้อย่างไร การใช้ยาม่วงทาปาก ควรแต้มเฉพาะบริเวณที่พบการติดเชื้อในช่องปากเท่านั้น เนื่องจากการใช้ยาม่วงในปริมาณมาก อาจเป็นสาเหตุให้แพ้หรือระคายเคืองได้ สำหรับการทายาม่วงบนผิวหนังที่ติดเชื้อ ควรปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้ ทำความสะอาดผิวหนังบริเวณที่ต้องการให้เรียบร้อยและเช็ดให้แห้ง […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน