สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

'น้ำดื่มอัลคาไลน์' ตัวช่วยของคนเป็นกรดไหลย้อน

‘กรดไหลย้อน’ หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนวัยทำงานที่ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคนี้รู้สึกปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอกหลังรับประทานอาหาร มีอาการเรอเปรี้ยว และมีอาการจุกเสียดคล้ายอาหารไม่ย่อย ซึ่งนอกจากการรับประทานยาและการปรับพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การเปลี่ยนเวลารับประทานอาหารเย็นให้เร็วขึ้นกว่าเดิม การนอนตะแคงซ้าย รวมถึงการหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรดสูงแล้ว การดื่ม ‘น้ำดื่มอัลคาไลน์’ ก็อาจเป็นอีกหนึ่งวิธีช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง เนื่องจากปัจจุบันมีวิจัยพบว่าการดื่มน้ำอัลคาไลน์หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่า ‘น้ำด่าง’ อาจช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางอกจากโรคกรดไหลย้อนได้  น้ำอัลคาไลน์ต่างจากน้ำดื่มทั่วไปอย่างไร ? โดยทั่วไปแล้วน้ำดื่มธรรมดาจะมีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pH อยู่ที่ 7 ซึ่งถือว่ามีฤทธิ์เป็นกลาง ในขณะที่น้ำดื่มอัลคาไลน์จะมีค่า pH อยู่ที่ประมาณ 8-9 ซึ่งจัดว่าอยู่ในช่วงของความเป็นด่าง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมคนไทยจึงเรียกน้ำอัลคาไลน์ว่า ‘น้ำด่าง’ นั่นเอง  นอกจากนี้ น้ำอัลคาไลน์ยังมีแร่ธาตุที่เป็นด่างเป็นส่วนประกอบอีกด้วย เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม และแมกนีเซียม เป็นต้น รวมถึงยังมีค่า ORP (Oxidation Reduction Potential) เป็นลบ ซึ่งเป็นค่าวัดที่แสดงความสามารถในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ของน้ำ โดยน้ำที่มีค่า ORP เป็นลบสูง น้ำนั้นก็จะยิ่งมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระสูง จึงเป็นสาเหตุว่าทำไมถึงมีเทรนด์การดื่มน้ำอัลคาไลน์หรือน้ำด่างเกิดขึ้น และถึงแม้ว่าประโยชน์ต่อสุขภาพของการดื่มน้ำอัลคาไลน์จะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่บ้างในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์สนับสนุนที่มากเพียงพอ อย่างไรก็ตาม มีวิจัยบางชิ้นที่พบว่าน้ำดื่มอัลคาไลน์หรือน้ำด่างนั้นอาจมีประโยชน์ต่อปัญหาสุขภาพบางชนิด เช่น โรคกรดไหลย้อน เป็นต้น  น้ำอัลคาไลน์ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้จริงหรือ […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

โรคริดสีดวงทวาร

ริดสีดวงอาการ เป็นอย่างไร และวิธีการดูแลตัวเอง เมื่อเป็น

ริดสีดวง เป็นอาการบวมหรือนูนของหลอดเลือดบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ตรง เมื่อเป็น ริดสีดวงอาการ ที่พบ ได้แก่ เกิดก้อนบวมบริเวณทวารหนัก ซึ่งทำให้รู้สึกเจ็บ คัน หรือไม่สบายตัว มักมีเลือดออกบริเวณที่เป็นริดสีดวงหรือมีเลือดปนในอุจจาระ ทั้งนี้ ริดสีดวงอาจป้องกันได้ด้วยการไม่เบ่งอุจจาระ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และดื่มน้ำกับบริโภคใยอาหารให้เพียงพอ [embed-health-tool-bmr] ริดสีดวง เกิดจากอะไร ริดสีดวง เป็นลักษณะของหลอดเลือดบริเวณทวารหนักหรือลำไส้ตรงที่บวมหรือนูนขึ้นมา เนื่องจากแรงดันที่ลำไส้ตรงซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ การนั่งอุจจาระเป็นเวลานาน เพราะท้องร่วงหรือท้องผูก การเบ่งอุจจาระ การตั้งครรภ์ การเป็นโรคอ้วน การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก การยกของหนัก ทั้งนี้ ร้อยละ 50 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี มักเคยเป็นริดสีดวง โดยริดสีดวงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ ริดสีดวงภายใน เป็นการบวมของหลอดเลือดในลำไส้ตรง ไม่สามารถสังเกตเห็นอาการได้ด้วยตาเปล่า แต่จะรู้สึกได้เมื่อถ่ายอุจจาระ ริดสีดวงภายนอก เป็นการบวมของเส้นหลอดเลือดใต้ผิวหนังรอบ ๆ ทวารหนัก ทำให้สังเกตเห็นอาการได้ด้วยตาเปล่า ในบางกรณี ริดสีดวงภายนอกอาจมีลิ่มเลือดสะสม ส่งผลให้เห็นเป็นก้อนย้อยออกมา ริดสีดวงอาการ เป็นอย่างไร ริดสีดวงภายในและริดสีดวงภายนอก มีอาการดังต่อไปนี้ ริดสีดวงภายใน พบเลือดออกในอุจจาระ หรือบนกระดาษชำระที่ใช้ทำความสะอาดทวารหนัก พบก้อนเนื้อสีชมพูยื่นออกมาจากรูทวารเมื่ออุจจาระ โดยอาจหดกลับเข้าไปในร่างกายเองได้ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาหารเป็นพิษ อาการ และการดูแลตัวเองเบื้องต้น

อาหารเป็นพิษ เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมี เมื่อเกิดภาวะ อาหารเป็นพิษ อาการ ที่อาจพบ ได้แก่ ท้องร่วง ปวดท้อง ไข้ขึ้น และอ่อนเพลีย อย่างไรก็ตาม อาหารเป็นพิษอาจป้องกันได้ด้วยการล้างมือก่อนบริโภคอาหารและเครื่องดื่ม บริโภคอาหารปรุงสุกหรืออุ่นร้อนทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงการวางอาหารทิ้งไว้เป็นเวลานาน [embed-health-tool-bmi] อาหารเป็นพิษคืออะไร อาหารเป็นพิษเป็นอาการป่วยที่เกิดจากการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนสารเคมี สารพิษ หรือเชื้อโรคต่าง ๆ อย่างเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อรา โดยการปนเปื้อนอาจเกิดขึ้นในกระบวนการเพาะปลูก การแปรรูป การผลิตอาหาร หรือแม้แต่การประกอบอาหาร หากผู้ประกอบอาหารไม่ล้างมือ ใช้ภาชนะที่ล้างไม่สะอาด หรือประกอบอาหารแบบผิดสุขลักษณะ ปกติแล้ว อาหารที่มักปนเปื้อนสารเคมีหรือเชื้อโรคได้ง่าย ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนม และน้ำดื่ม อาหารเป็นพิษ อาการ เป็นอย่างไร อาหารเป็นพิษ มีอาการดังต่อไปนี้ ปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเมื่อยร่างกาย มีไข้ หนาวสั่น เมื่อเป็นแล้ว อาการอาหารเป็นพิษมักทุเลาลงภายใน 4-48 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม อาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อไซโคลสโปรา (Cyclospora) หรือเชื้อลิสทีเรีย (Listeria) จะแสดงอาการนานกว่านั้น หรือประมาณ 1-2 […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปวดท้องตรงกลาง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง มีวิธีรักษาอย่างไร

ปวดท้องตรงกลาง มักเป็นอาการของโรคต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่มักเกี่ยวกับสุขภาพท้องหรือลำไส้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคตับอ่อนอักเสบ โรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น จุก เสียด วิงเวียน คลื่นไส้ นอกจากนี้ ปวดท้องตรงกลางยังเป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยท้องผูก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยครั้งต่อสัปดาห์ รวมทั้งอาจเป็นอาการของโรคที่เกี่ยวกับมดลูกหรือรังไข่ได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] ปวดท้องตรงกลาง เกิดจากสาเหตุอะไรบ้าง ปวดท้องตรงกลาง เป็นอาการที่มักพบเมื่อมีอาการป่วยเกี่ยวกับช่องท้องหรือลำไส้ ดังนี้ ท้องผูก ท้องผูก เป็นภาวะที่ถ่ายอุจจาระไม่บ่อย หรือน้อยกว่า 3 ครั้ง/สัปดาห์ โดยระหว่างถ่ายอุจจาระต้องใช้แรงเบ่งมาก และใช้เวลานาน บางกรณีอาจต้องใช้มือช่วยกำจัดอุจจาระที่แข็งตัวให้หลุดจากทวารหนักขณะขับถ่าย ปกติแล้ว ท้องผูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการอุดตันในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก เคลื่อนไหวร่างกายน้อยเกินไป การตั้งครรภ์ รวมทั้งมีสุขอนามัยที่ไม่ดี เช่น การดื่มน้ำน้อยเกินไป การบริโภคใยอาหารน้อยเกินไป การวินิจฉัย เมื่อไปพบคุณหมอ นอกจากการตรวจร่างกายแล้ว คุณหมออาจวินิจฉัยอาการท้องผูกด้วยการเอกซเรย์บริเวณช่องท้องหรือทวารหนัก หรือส่องกล้องตรวจภายในร่างกาย เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการท้องผูก นอกจากนั้น คุณหมออาจเจาะเลือดเพื่อนำไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หากสันนิษฐานว่าอาการท้องผูกมีสาเหตุมาจากภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism) การรักษา การปรับพฤติกรรม เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การดื่มน้ำมาก ๆ การบริโภคใยอาหารให้มากขึ้น เช่น ผัก […]


โรคกรดไหลย้อน

อาการกรดไหลย้อน วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

กรดไหลย้อน เกิดจากหูรูดที่ส่วนปลายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร ส่งผลให้มีอาการ เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว กลืนลำบาก จนบางครั้งอาการอาจรุนแรงจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันได้ อาการกรดไหลย้อน อาจบรรเทาได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือการใช้ยา อย่างไรก็ตาม หากอาการรุนแรงขึ้น แม้จะลองรักษาด้วยยาหรือปรับพฤติกรรมแล้ว ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด  กรดไหลย้อน คืออะไร  กรดไหลย้อน คือ ภาวะที่น้ำย่อยหรือกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณกลางอก ภาวะนี้พบได้ทั่วไป โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร และอาการมักจะหายไปได้เองในเวลาไม่นาน แต่หากเกิดภาวะกรดไหลย้อนบ่อยครั้งหรือเรื้อรัง หรือมีกรดไหลย้อนมากกว่าปกติ จะถือว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ซึ่งอาจต้องเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยเร็วที่สุด กรดไหลย้อนสามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ทารกจนถึงวัยสูงอายุ ถึงแม้จะหายแล้ว แต่ก็อาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากยังมีพฤติกรรมที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกรดไหลย้อนเช่นเดิม  อาการกรดไหลย้อน ที่พบได้บ่อย อาการกรดไหลย้อน อาจมีดังนี้  กลืนอาหารลำบาก มีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปากและลำคอ เรอเปรี้ยว มีน้ำลายมากผิดปกติ ไอแห้ง เสียงแหบ เจ็บคอเรื้อรัง  แสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ กลางหน้าอก มักเกิดขึ้นหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ ๆ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก จุก คล้ายมีก้อนติดอยู่ในลำคอ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย หากมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาหารเป็นพิษ อาการ สาเหตุ วิธีรักษาและวิธีป้องกัน

อาหารเป็นพิษ เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อปรสิต โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนแบบดิบ ๆ หรือไม่ได้ปรุงสุก จนอาจส่งผลให้ติดเชื้อ และมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น ภาวะอาหารเป็นพิษโดยทั่วไปมักมีอาการไม่รุนแรงมาก และหายได้ภายใน 2-3 วัน ภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารที่สะอาดและปรุงสุกใหม่ ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอาหารเป็นพิษได้  อาการของอาหารเป็นพิษ  ภาวะอาหารเป็นพิษ อาจมีอาการดังนี้  ปวดท้อง  ท้องเสีย  คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดเมื่อยร่างกาย  มีไข้ หนาวสั่น  ปัสสาวะน้อย มีภาวะขาดน้ำ สังเกตได้จากอาการกระหายน้ำ  ริมฝีปากแห้ง อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นต้น ส่วนใหญ่ อาการมักจะหายภายใน 2-3 วัน แต่หากมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป อาเจียนบ่อย ท้องเสียเกิน 3 วัน ถ่ายเป็นเลือด ตาพร่ามัว กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการรุนแรง ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างทันท่วงที อาหารเป็นพิษ […]


ท้องร่วง

ท้องเสีย อาการ สาเหตุ การรักษา

ท้องเสีย หรือท้องร่วง เป็นอาการที่อุจจาระมีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกมาเป็นน้ำ ซึ่งอาจถ่ายประมาณ 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นต่อวัน โดยอาการท้องเสียอาจหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน แต่ถ้าหากท้องเสียต่อเนื่องนานเกินกว่า 3 วัน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัย เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ เช่น โรคลำไส้อักเสบ โรคลำไส้แปรปรวน คำจำกัดความ ท้องเสีย คืออะไร ท้องเสีย คือ อาการถ่ายอุจจาระเหลวจนเป็นน้ำ ถ่ายท้องต่อเนื่องประมาณ 3 ครั้ง หรือมากกว่านั้นต่อวัน บางครั้งอาจถ่ายอุจจาระเป็นเลือด บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ครั่นเนื้อครั่นตัว หน้ามืด มีไข้ ส่วนใหญ่มักเกิดจากอาหารเป็นพิษหรือการติดเชื้อ โดยปกติอาการท้องเสียอาจหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน ท้องเสียพบได้บ่อยแค่ไหน อาการท้องเสียสามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แม้แต่วัยทารกก็สามารถท้องเสียได้เช่นกัน อาการอาการของท้องเสีย ท้องเสียอาจมีอาการดังนี้ ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง  หรือมากกว่านั้นต่อวัน และไม่สามารถอั้นอุจจาระได้ รวมถึงอาจถ่ายเป็นมูกเลือด อ่อนเพลีย มีไข้อ่อน ๆ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ […]


โรคกรดไหลย้อน

กรดไหลย้อน สาเหตุ อาการ และการรักษา

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease: GERD) หรือกรดไหลย้อนเรื้อรัง เป็นภาวะกรดในกระเพาะอาการไหลกลับเข้าหลอดอาหารอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร และอาจมีอาการแสบร้อนกลางอก กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ หรืออาเจียนของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม หากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารตีบ หลอดอาหารเป็นแผล หรืออาจร้ายแรงกลายเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ คำจำกัดความกรดไหลย้อน คืออะไร กรดไหลย้อน คือ ภาวะที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหารอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก หรืออาหารไม่ย่อยจากกรดเกิน กรดไหลย้อนเกิดจากหูรูดหลอดอาหารส่วนล่างคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนเข้าหลอดอาหารสู่ลำคอและปาก ทำให้รู้สึกมีรสเปรี้ยวในปาก อาการกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนและอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก อาจทำให้เกิดอาการเสียดท้อง เจ็บหน้าอก กลืนลำบาก หรืออาเจียนของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม ในบางคนอาจมีอาการกรดไหลย้อนมากกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ ซึ่งอาจมีความเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนหรืออาการรุนแรงขึ้น เช่น มะเร็งหลอดอาหาร หลอดอาหารตีบ หรือเป็นแผลในหลอดอาหาร อาการอาการของกรดไหลย้อน อาการของกรดไหลย้อนมีดังนี้ แสบร้อนกลางอกหรือลำคอหลังรับประทานอาหาร และอาจมีรสชาติเปรี้ยวในปาก ซึ่งอาการอาจรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืน กลืนลำบาก เจ็บหน้าอก คลื่นไส้ หรืออาเจียนอาหารเป็นกรดของเหลวรสเปรี้ยวหรือขม รู้สึกมีก้อนในคอ หรือเหมือนมีอาหารติดในลำคอ ไอแห้ง หายใจมีเสียงหวีด เสียงแหบ หรือเจ็บคอเรื้อรัง ท้องอืด สะอึก และเรอ อุจจาระเป็นสีดำหรือเป็นเลือด และอาจอาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีอาการกรดไหลย้อนในเวลากลางคืน อาจมีปัญหาเหล่านี้ร่วมด้วย ไอเรื้อรัง อาการกรดไหลย้อนอาจรบกวนการนอนหลับ โรคกล่องเสียงอักเสบ โรคหอบหืดอาจเกิดขึ้นใหม่หรือมีอาการแย่ลง ควรไปพบหมอเมื่อใด ควรเข้าพบคุณหมอทันทีเพื่อวินิจฉัยอาการและหาสาเหตุเพื่อรักษาในขั้นตอนต่อไป หากมีปัญหาเหล่านี้ หากมีอาการเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาการกรดไหลย้อนรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ปวดกรามหรือแขน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของอาการหัวใจวาย สาเหตุสาเหตุของกรดไหลย้อน โดยปกติ เมื่อรับประทานอาหาร กล้ามเนื้อส่วนบนของกระเพาะอาหารและกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่างจะคลายตัว […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาการแพ้ท้อง ที่เกิดจากสาเหตุอื่นไม่ใช่เพราะการตั้งครรภ์

อาการแพ้ท้อง มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงไตรมาสแรกของหญิงตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน แต่อาการแพ้ท้องนี้อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่นด้วยไม่ใช่เกิดขึ้นได้เฉพาะในหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น ซึ่งวิธีป้องกันและบรรเทาอาการอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุ สาเหตุของอาการแพ้ท้อง อาการแพ้ท้อง เป็นภาวะที่มีอาการหลายอย่างประกอบกัน หรือเกิดขึ้นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น วิงเวียน  คลื่นไส้ อาเจียน รวมไปถึง ท้องเสีย เหงื่อออกมาก และปวดท้องร่วมด้วย ซึ่งอาการแพ้ท้องอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ตั้งครรภ์ สัญญาณแรกของหญิงตั้งครรภ์คือ รู้สึกวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน โดยสาเหตุของการแพ้ท้องระหว่างตั้งครรภ์นี้ยังไม่อาจระบุได้ แต่คาดว่าการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของร่างกายอาจเป็นสาเหตุหลัก โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และกินระยะเวลาเประมาณ 6 สัปดาห์ อาการเหล่านี้มักจะหายไปในช่วงสัปดาห์ที่ 16 และ 20 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์  มีบางรายที่อาจแพ้ท้องตลอดการตั้งครรภ์ โดยอาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดขึ้นแค่เฉพาะตอนเช้า หรือตอนกลางวัน แต่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งวัน เหนื่อยล้า หรือปัญหาการนอนหลับ ปัญหาสุขภาพหรือภาวะที่ร่างกายเปลี่ยนแปลง เช่น อาการเจ็ตแล็ก โรคนอนไม่หลับ (insomnia) อาจรบกวนการเปลี่ยนแปลงวงจรการนอนหลับหรือรูปแบบการนอน ทำให้ระบบประสาทของร่างกายต้องปรับเปลี่ยนเป็นผลให้ร่างกายตอบสนองด้วยอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ความหิว หรือน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อรู้สึกหิว หรือเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจรู้สึกวิงเวียน อ่อนเพลีย หรืออยากอาเจียน หรือหากปกติรับประทานอาหารเช้าทุกวัน ในวันที่มีการเปลี่ยนแปลงตารางชีวิตประจำวันทำให้ต้องงดอาหาร ก่ออาจก่อให้เกิดอาการแพ้ท้องได้ รวมทั้งการขาดน้ำในตอนเช้า ความเครียด […]


โรคริดสีดวงทวาร

ริดสีดวง อาการ สาเหตุ การรักษา

ริดสีดวง มีลักษณะเส้นเลือดบวมเป็นก้อนเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก เนื่องจากแรงกดดันและแรงเสียดสีที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย การตั้งครรภ์ หรือการยกของหนัก อาจทำให้มีอาการเจ็บปวด คัน และมีเลือดออกเมื่อขับถ่าย การรักษาและการป้องกันที่เหมาะสมอาจช่วยเยี่ยวยาอาการให้ดีขึ้นและลดโอกาสเกิดซ้ำ คำจำกัดความริดสีดวง คืออะไร ริดสีดวงทวาร เป็นเส้นเลือดบวมที่เกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก อาจขยายใหญ่ขึ้นทั้งภายในและภายนอกทวารหนักเมื่อได้รับการเสียดสีหรือระคายเคืองบ่อยครั้ง เช่น ท้องผูก ท้องเสีย ใช้แรงเบ่งอุจจาระมากเกินไปหรือนั่งถ่ายเป็นเวลานาน ซึ่งริดสีดวงทวารอาจทำให้มีอาการคัน เจ็บปวด หรือมีเลือดออกเมื่อขับถ่าย ริดสีดวงพบบ่อยแค่ไหน ริดสีดวงทวารอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป หรือในผู้ที่มีการขับถ่ายไม่ดีเรื้อรัง เช่น ท้องผูก จนอาจทำให้อุจจาระแข็ง เสียดสีกับทวารหนัก และเกิดเป็นริดสีดวงทวารได้ ประเภทของริดสีดวง ริดสีดวงทวารอาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ริดสีดวงทวารภายนอก เป็นลักษณะเส้นเลือดก่อตัวขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณทวารหนัก ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อาจทำให้เกิดอาการปวดและบวม ในบางครั้งเมื่ออุจจาระอาจมีเลือดออกทางทวารหนักได้เช่นกัน ริดสีดวงทวารภายใน เป็นลักษณะเส้นเลือดบวมก่อตัวขึ้นภายในไส้ตรง เป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อกับลำไส้ใหญ่กับทวารหนัก อาจทำให้มีเลือดออกเมื่ออุจจาระแต่ไม่มีอาการเจ็บปวด ริดสีดวงทวารอุดตัน เป็นลักษณะของริดสีดวงภายนอกที่ลิ่มเลือดก่อตัวกันเป็นก้อน อาจห้อยย้อยออกมานอกทวารหนัก อาจทำให้มีอาการปวดและมีเลือดออกง่าย อาการอาการริดสีดวง อาการอาจขึ้นอยู่กับประเภทของริดสีดวงทวาร ดังนี้ ริดสีดวงทวารภายนอก ริดสีดวงทวารภายนอกเกิดขึ้นใต้ผิวหนังบริเวณทวารหนัก อาจแสดงอาการดังนี้ เจ็บปวดและรู้สึกไม่สบายที่ทวารหนัก ทวารหนักบวม ระคายเคืองหรือคันบริเวณทวารหนัก เลือดออกจากทวารหนักเมื่อขับถ่าย ริดสีดวงทวารภายใน ริดสีดวงทวารภายในเกิดขึ้นบริเวณไส้ตรงไม่สามารถสัมผัสหรือมองเห็นได้ อาจทำให้มีอาการดังนี้ รู้สึกไม่สบาย ตึงหรือระคายเคืองเมื่อขับถ่าย มีเลือดออกขณะขับถ่ายแต่ไม่เจ็บปวด ริดสีดวงทวารภายในอาจยื่นออกมาทางรูทวาร ทำให้เกิดอาการปวดและคัน ริดสีดวงทวารอุดตัน ริดสีดวงทวารอุดตันเกิดจากเลือดสะสมในริดสีดวงทวารภายนอกจนทำให้เกิดลิ่มเลือด อาจทำให้มีอาการดังนี้ การอักเสบ ปวดและบวมมาก มีก้อนเนื้อแข็งบริเวณทวารหนัก สำหรับริดสีดวงทวารหากมีเลือดไหลขณะขับถ่ายบ่อยครั้ง ควรรีบพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยอาการ เพราะอาจเป็นสัญญาณของลำไส้ใหญ่อักเสบ โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ […]


สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร หน้าที่และความสำคัญ

ระบบย่อยอาหาร เป็นระบบที่มีหน้าที่ลำเลียงอาหาร ย่อยสลาย และดูดซึมสารอาหารเพื่อใช้เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยระบบย่อยอาหารจะเริ่มต้นตั้งแต่ในปากเชื่อมต่อกันไปจนถึงทวารหนัก ประกอบด้วยระบบทางเดินอาหารและส่วนช่วยกระบวนการย่อยอาหารอย่างตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดีที่ทำงานร่วมกัน การดูแลระบบย่อยอาหารให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ อาจช่วยส่งเสริมให้การทำงานของระบบย่อยอาหารและการดูดซึมดีขึ้น และอาจช่วยป้องโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบย่อยอาหาร เช่น กรดไหลย้อน ริดสีดวง แผลในกระเพาะอาหารได้ [embed-health-tool-bmi] ระบบย่อยอาหาร คืออะไร ระบบย่อยอาหาร เป็นส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร ที่เชื่อมต่อตั้งแต่ปากจนถึงทวารหนัก โดยอาหารจะถูกส่งผ่านตามอวัยวะต่าง ๆ ตามลำดับ ประกอบด้วยปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก โดยมีตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่วยส่งเสริมกระบวนการย่อนสลายและดูดซึมสารอาหารเข้ากระแสเลือดเพื่อใช้เป็นพลังงานในร่างกายต่อไป ระบบย่อยอาหารมีความสำคัญเนื่องจากร่างกายต้องการสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำจากอาหารและเครื่องดื่มที่รับประทาน เพื่อใช้เป็นพลังงานให้ระบบภายในร่างกายสามารถทำงานได้อย่างปกติ ใช้ในการเจริญเติบโต และซ่อมแซมเซลล์ ระบบย่อยอาหาร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ระบบย่อยอาหารประกอบด้วยอวัยวะหลักตามลำดับการทำงาน คือ ปาก หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ตรง และทวารหนัก โดยมีตับ ตับอ่อน และถุงน้ำดี ช่วยส่งเสริมกระบวนการย่อยอาหาร ดังนี้ ปาก […]

โฆษณา
โฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม