backup og meta

ทริปโตเฟน กรดอะมิโนจำเป็น มีดีกว่าที่คิด

ทริปโตเฟน กรดอะมิโนจำเป็น มีดีกว่าที่คิด

ทริปโตเฟน (Tryptophan) เป็นกรดอะมิโนจำเป็น มีหน้าที่ในการสร้างความสมดุลของไนโตรเจนในผู้ใหญ่ และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารก นอกจากนี้ทริปโตเฟนยังสร้าง ไนอาซิน (Niacin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทของสารเซโรโทนิน (Serotonin) ที่มีส่วนในการควบคุมอารมณ์ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของกรดอะมิโนจำเป้นตัวนี้มาแชร์ให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

ทริปโตเฟน (Tryptophan) คืออะไร

ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ที่ร่างกายต้องการ ทริปโตเฟนเป็นสารที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ ส่วนใหญ่แล้วพบได้ตามธรรมชาติ จากโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช ทริปโตเฟน เป็นสารที่มีความสำคัญสำหรับใช้พัฒนาและช่วยในการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งสารทริปโตเฟนจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นสารเซโรโทนินและวิตามินบี 6 ซึ่งสารเซโรโทนินเป็นสารที่มีความสำคัญในการพัฒนาระบบสื่อประสาท หากระดับของเซโรโทนินมีความแปรปรวน ไม่อยู่ในระดับที่มีความสมดุลก็จะส่งผลต่ออารมณ์ได้

ประโยชน์ต่อสุขภาพของทริปโตเฟน

ทริปโตเฟนเป็นสารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย สารทริปโตเฟนจากธรรมชาติที่พบในอาหารที่รับประทานนั้นมีประโยชน์ด้านสุขภาพมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้รับประโยชน์มาจากการที่ทริปโตเฟนมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไนอาซินและเซโรโทนิน ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากเซโรโทนิน เช่น

  • ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพและช่วยให้หลับได้สนิทและมีคุณภาพมากขึ้น
  • สามารถบรรเทาภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล
  • ช่วยให้อารมณ์มีความคงที่ ไม่แปรปรวน และช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
  • การจัดการความอดทนต่อความเจ็บปวด

อาหารที่ช่วยเพิ่มทริปโตเฟนให้ร่างกาย

สารทริปโตเฟน เป็นสารที่สามารถพบได้ในอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง อาหารที่มีทริปโตเฟนสูง ได้แก่ไก่ ไข่ ชีส ปลา ถั่ว เมล็ดฟักทองและงา นม ไก่งวง เต้าหู้และถั่วเหลือง ช็อกโกแลต และเพื่อให้ทริปโตเฟน เปลี่ยนไปเป็นไนอาซินเพื่อใช้ในร่างกาย ร่างกายจึงจำเป็นต้องมีธาตุเหล็ก วิตามินบี 6 และวิตามินบี 2 ที่เพียงพอ

ข้อควรระวัง

ทริปโตเฟนเป็นสารที่มีความปลอดภัยหากได้รับด้วยวิธีธรรมชาติ แต่บางคนได้รับผลข้างเคียงจากการรับประทานสารทริปโตเฟนในรูปแบบของอาหารเสริม

ผลข้างเคียงที่พบมากที่สุดในการได้รับทริปโตเฟน คือ ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียนและท้องเสีย การเกิดภาวะสงบ (Sedation) ยังเป็นเรื่องที่น่ากังวล ผลข้างเคียงเหล่านี้มักจะอยู่ในระดับปานกลางและมักจะทุเลาหรือหายไปเอง เมื่อปริมาณของสารคงที่ นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงที่พบได้น้อย ได้แก่ การปวดศีรษะ นอนไม่หลับและอาการใจสั่น จากการการศึกษาไม่มีอาการที่แสดงว่ามีอาการเป็นพิษ แต่ยังไม่ได้รับการศึกษาในเด็กหรือในหญิงตั้งครรภ์หรือคุณแม่ตั้งครรภ์ที่อยู่ในระหว่างให้นมบุตร

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Source

L-TRYPTOPHAN

https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-326/l-tryptophan

Tryptophan

https://www.mhanational.org/tryptophan

What Is Tryptophan?

https://www.healthline.com/health/tryptophan

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2021

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

เซโรโทนิน (Serotonin)

เซโรโทนินกับโรคซึมเศร้า สารสำคัญที่อาจช่วยคุณได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา