ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป เป็นเรื่องที่ทุกคนควจะต้องรู้เอาไว้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพของตัวเองและคนในครอบครัว ซึ่งเรื่องราวที่คุณจะอ่านเรารวบรวมเอาไว้ให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

โรคไวรัสตับอักเสบบี คือโรคอะไร ใครควรได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) เป็นหนึ่งในไวรัสตับอักเสบ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ บี ซี ดี และอี โดยไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี เป็นชนิดที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และในปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง มีเพียงยาที่ช่วยไม่ให้ตับถูกทำลาย โรคไวรัสตับอักเสบบี จึงเป็นโรคที่ควรตรวจคัดกรองเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว และป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี  [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคไวรัสตับอักเสบบี คืออะไร ไวรัสตับอักเสบบี เป็นโรคตับอักเสบชนิดหนึ่ง หรือเกิดจากการอักเสบของเซลล์ตับ สาเหตุจากการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV) อาจทำให้เซลล์ตับตาย ความรุนแรงของโรคไวรัสตับอักเสบ บี เมื่อเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด อาจกลายเป็นตับแข็ง นำสู่โรคมะเร็งตับได้  การติดต่อของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี  ส่วนใหญ่การติดต่อของโรคเกิดจากการถ่ายทอดจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ทารก ไม่ติดต่อผ่านทางการสัมผัสภายนอก ไม่ติดต่อหลักทางน้ำลาย แต่ติดต่อได้ ดังนี้ สามารถเกิดได้จากการเจาะหรือสักผิวหนัง ด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด ไม่ได้มาตรฐาน เชื้อเข้าทางบาดแผล หรือการใช้ยาเสพติด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยป้องกัน  สัมผัสกับเลือดหรือสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อ อาการของผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบีจะไม่แสดงอาการในทันที แต่จะใช้เวลาฟักตัว 2-3 เดือน จึงเริ่มมีอาการ เช่น เกิดการอ่อนเพลียคล้ายกับโรคหวัด คลื่นไส้ อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต  สีปัสสาวะเข้มขึ้น […]

สำรวจ ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)

ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ที่ทำงานมากเกินไป ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้   คำจำกัดความต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน คืออะไร ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism) เป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นจากต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ต่อมไทรอยด์อยู่ในลำคอและสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ที่ควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย หน้าที่การทำงานบางประการของต่อมไทรอยด์ ได้แก่ ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด กระตุ้นการเผาผลาญ กระตุ้นการเต้นของหัวใจและระบบประสาท และความคุมความร้อนในร่างกาย แต่ฮอร์โมนไทรอยด์ที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน พบได้บ่อยเพียงใด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกินเป็นภาวะที่พบได้ทั่วไป ผู้หญิงมักมีภาวะดังกล่าวได้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินได้ด้วยการลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการ ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาการของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ได้แก่ กระสับกระส่าย มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย หัวใจเต้นแรงหรือไม่เป็นจังหวะ หรือความผิดปกติเกี่ยวกับจังหวะการเต้นของหัวใจอื่น ๆ เช่น ภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ (Trial fibrillation) อาการอื่น ๆ ได้แก่ ดวงตาระคายเคือง น้ำหนักลด มีความไวต่อความร้อน ขับถ่ายอุจจาระหรือท้องเสียบ่อย ผู้ป่วยที่เป็นโรคเกรฟส์ (Graves’s disease) มีต่อมไทรอยด์โต (โรคคอพอก) อาจมีตาโปน (Exophthalmos) สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีน้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ หัวใจเต้นเร็ว มีเหงื่อออกผิดปกติ มีอาการบวมที่คอส่วนล่าง หรือมีอาการอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ควรไปพบคุณหมอ และต้องอธิบายถึงความเปลี่ยนแปลง ที่คุณสังเกตได้โดยละเอียดเนื่องจากสิ่งบ่งชี้และอาการต่าง ๆ ของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน อาจสัมพันธ์กับภาวะอื่นๆ อีกจำนวนมาก หากคุณได้เข้ารับการรักษาภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินแล้ว หรือเข้ารับการรักษาในเร็ว ๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

รับมือกับ เชื้อดื้อยา ก่อนที่จะสายเกินไป

องค์การอนามัยโลก กำหนดให้ระหว่างวันที่  12-18 พฤศจิกายน 2561 เป็นช่วงสัปดาห์ Antibiotic Awareness Week หรือ “สัปดาห์รู้รักษ์ ตระหนักการใช้ยาต้านเชื้อแบคทีเรียโลก” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงปัญหาของ เชื้อดื้อยา ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก นพ.ณัฐพงศ์ เดชธิดา มีมุมมองจากประสบการณ์และข้อมูลในเรื่องนี้มาฝาก สถานการณ์ เชื้อดื้อยา ในประเทศไทย ‘เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ’ คือ การที่เชื้อแบคทีเรียที่เคยไวต่อยาปฏิชีวนะมาก่อน เกิดการกลายพันธุ์เป็น เชื้อดื้อยา โดยเมื่อเชื้อดังกล่าวสัมผัสกับยาปฏิชีวนะแล้ว ยาไม่สามารถยับยั้งหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียได้เหมือนเดิม ทำให้การรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ ทำได้ยาก ต้องใช้ยาร่วมกันหลายขนาน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูง เกิดพิษ และผลกระทบข้างเคียงมาก สถานการณ์การเกิดเชื้อดื้อยาในประเทศไทย มีการเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ถึงแม้จะมีวิวัฒนาการของการพัฒนายา และการระงับการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่จำเป็น รวมถึงประชาชนก็ตระหนักถึงการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ไม่จำเป็นมากขึ้นแล้วก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะในไข้หวัดธรรมดา ลำไส้อักเสบจากเชื้อไวรัส และแผลผิวหนังติดเชื้อระดับที่หนึ่งนั้น เป็นเรื่องไม่จำเป็น จากประสบการณ์ของผู้เขียนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่าคนไข้ตระหนักมากขึ้นถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ และเลือกไม่ซื้อยาปฏิชีวนะที่ร้านขายยาก่อนพบหมอ พฤติกรรมการตระหนักรู้ถึงความจำเป็นและไม่จำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มโรคดังกล่าว จึงมีแนวโน้มดีขึ้น เชื้อดื้อยากลุ่มหลักในไทย หากแต่สถานการณ์เรื่องเชื้อดื้อยาในโรคที่รุนแรง ก็ยังไม่ลดลงหรือหายไปแต่อย่างใด ในบทความนี้จะกล่าวถึงเชื้อดื้อยา 3 กลุ่มหลัก ที่อาจเรียกได้ว่า เป็นภาวะวิกฤติของการดื้อยาในประเทศไทย ดังต่อไปนี้ 1.โรคติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจจากเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus pneumoniae พบว่าเชื้อดังกล่าวดื้อต่อยา Oxacillin, […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia)

ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะที่ส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ คำจำกัดความไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ คืออะไร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal Hernia) เป็นภาวะเมื่อส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นเข้าไปในช่องของผนังช่องท้อง ช่องที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากส่วนของผนังหน้าท้องที่อ่อนแอหรือบาง เมื่อการกดจากลำไส้ดันผนังลำไส้ เนื้อเยื่อเกิดการฉีกขาด ทำให้ลำไส้เลื่อนผ่านเข้าสู่ช่องนี้ได้ อาการของโรคไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ จะไม่ได้ดีขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รักษา แต่อาจทำให้เกิดปัญหาที่เป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ ด้วยเหตุผลนี้ แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษาอาการไส้เลื่อนที่เกิดการเจ็บปวดหรือมีขนาดใหญ่ขึ้น โรคนี้ทำให้หน้าท้องนูนขึ้น และทำให้เกิดความเจ็บปวดเมื่อไอ ก้มตัวลง หรือทำกิจกรรมที่ออกแรงมาก หรืออาจขัดขวางการทำงานของระบบย่อยอาหาร ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ พบบ่อยแค่ไหน ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบเป็นโรคที่พบได้บ่อย มักเกิดในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และเกิดได้กับคนทุกวัย การรักษาอาการของโรคสามารถทำได้โดยการลดปัจจัยเสี่ยง ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ บางครั้งไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบอาจเกิดขึ้น โดยไม่ปรากฎอาการใดๆ หากลำไส้มีขนาดเล็ก คุณอาจไม่สังเกตเห็นหรือไม่รู้สึกเจ็บ ในบางกรณี อาจรู้สึกปวดหรือหน่วงบริเวณขาหนีบ โดยปกติ ลำไส้สามารถกลับสู่ภายในผนังช่องท้องได้ โดยการลดแรงดันที่ผนังช่องท้อง เช่น การเอนหลังหรือนอนราบ ปัญหาอาจเกิดขึ้น เมื่อลำไส้ติดค้างอยู่ที่ผนังช่องท้อง ทำให้เลือดไม่ไหลเวียนในลำไส้ เนื้อเยื่อในลำไส้อาจตาย เนื่องจากไม่มีเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ อาจเกิดการอุดตันในระบบขับถ่าย และหากลำไส้อุดตัน จำเป็นต้องรีบเข้ารับการรักษา อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์ ควรพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์ มีอาการผิดปกติหรือสังเกตอาการนูนบริเวณท้อง หากมีอาการปวดขณะก้ม […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (Myasthenia Gravis)

กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองประเภทหนึ่ง คำจำกัดความกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คืออะไร โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดไมแอสทีเนีย กราวิส (Myasthenia Gravis) หรือที่มักเรียกสั้น ๆ ว่า โรคเอ็มจี (MG) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) ประเภทหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อร่วมประสาท (neuromuscular disorder) โรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี ทำให้กล้ามเนื้อในดวงตา ใบหน้า ลำคอ แขน และขาอ่อนแอและอ่อนแรงลง อาการอ่อนแอที่มากที่สุด มักเกิดขึ้นในช่วง 3 ปีแรก แล้วหลังจากนั้นจะอาการของโรค กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี จะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี พบได้บ่อยแค่ไหน ทุกคนสามารถเป็น กล้ามเนื้ออ่อนแรง เอ็มจีได้ อย่างไรก็ดี โรคนี้พบได้มากที่สุดในผู้หญิงก่อนช่วงอายุ 40 ปีและในผู้ชายหลังช่วงอายุ 50 ปี คุณสามารถลดโอกาสในการเกิดกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีได้ ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงของคุณโปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี กล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจีส่งผลให้เกิดอาการที่หลากหลาย ได้แก่ หายใจลำบาก เนื่องจากผนังกล้ามเนื้อหน้าอกอ่อนแรง เคี้ยวหรือกลืนลำบาก […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome)

คำจำกัดความกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายคืออะไร กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย (Systemic Inflammatory Response Syndrome : SIRS) เป็นสัญญาณการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย กล่าวคือ เป็นการตอบสนองต่อการอักเสบโดยทั่วไป ในบางครั้ง เกิดความสับสนระหว่างกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายกับภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) แต่มีความแตกต่างที่เด่นชัดระหว่าง 2 อาการนี้ คือ การติดเชื้อ กล่าวคือ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาจเกิดหลังจากการบาดเจ็บ การอักเสบ การขาดเลือด หรือการติดเชื้อ ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (sepsis) เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อการติดเชื้อแสดงอาการ ในขณะที่กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายไม่ได้เกิดจากการบาดเจ็บในร่างกาย แต่เป็นความซับซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในร่างกาย ในกรณีของการติดเชื้อ กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายสามารถกลายเป็นภาวะพิษเหตุติดเชื้อได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมและทันท่วงที กลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายพบบ่อยแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย อาการทั่วไปของกลุ่มอาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกาย มีดังนี้ อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮต์ (38 องศาเซลเซียส) หรือต่ำกว่า 96.8 องศาฟาเรนไฮต์ (36 องศาเซลเซียส) อัตราการเต้นของหัวใจสูงกว่า 90 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจสูงกว่า 20 ครั้งต่อนาที หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดน้อยกว่า 32 มิลลิเมตรปรอท จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวมากกว่า 12,000 เซลล์ หรือน้อยกว่า 4,000 เซลล์ บางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากพบสัญญาณอาการที่กล่าวไว้ข้างต้น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) ตัวการร้าย (แอบ) ทำลายสุขภาพ

พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง พลังงานที่ร่างกายได้รับจากการกินอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งได้แก่ การกินของหวานหรืออาหารมัน เช่น แป้งทอดกรอบ  เป็นต้น บทความนี้ Hello คุณหมอ พามาดูกันว่า พลังงานว่างเปล่ามีอะไรบ้าง และส่งผลเสียต่อร่างกายอย่างไร ใครที่ชอบกินเมนูเหล่านี้ จะได้ตั้งสติก่อนกินให้ดี ไม่อย่างนั้น น้ำหนักตัวอาจเพิ่มขึ้น ปัญหาสุขภาพอาจมาเยือน พลังงานว่างเปล่า (Empty Calories) คืออะไร พลังงานว่างเปล่า หรือแคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร (Empty Calories) หมายถึง อาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ให้พลังงานหรือมีปริมาณแคลอรี่ที่สามารถทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ ก่อนเลือกซื้ออาหารใด ๆ มาบริโภค อย่างไรก็ตาม เราควรฉลากผลิตภัณฑ์หรือฉลากอาหาร เพื่อดูว่าอาหารนั้น ๆ จัดอยู่ในประเภทพลังงานว่างเปล่าหรือไม่ โดยให้ตรวจสอบว่า มีปริมาณแคลอรี่ ไขมัน และน้ำตาลสูงหรือเปล่า เนื่องจากแคลอรีที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารส่วนใหญ่อยู่ในอาหาร 2 ประเภท ได้แก่ อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีน้ำมัน รวมถึงไขมันที่เป็นก้อนแข็ง (Solid Fats) คือไขมันที่จะกลายเป็นก้อนแข็งที่อุณหภูมิห้อง เช่น […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis)

ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis) เป็นโรคที่ท่อน้ำดีในตับค่อยๆ ถูกทำลาย จนมีสารอันตรายสะสมในตับ และนำไปสู่การเกิดตับแข็ง ถือเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างหนึ่ง คำจำกัดความ โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ คืออะไร ตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ (primary biliary cirrhosis) หรือที่บางครั้งเรียกว่า PBC เป็นโรคที่ท่อน้ำดีในตับค่อยๆ ถูกทำลาย น้ำดีเป็นของเหลวที่ตับผลิตขึ้น มีบทบาทสำคัญในการย่อยอาหาร และช่วยกำจัดเซลล์เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้ว คอเลสเตอรอล และสารพิษต่างๆ เมื่อท่อน้ำดีถูกทำลาย อย่างเช่นในกรณีของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ สารอันตรายอาจสะสมตัวอยู่ในตับ และบางครั้งก็นำไปสู่แผลเป็นในเนื้อเยื่อตับอย่างถาวร หรือที่เรียกว่าตับแข็ง โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ถือเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอย่างหนึ่ง ซึ่งร่างกายจะหันมาโจมตีเซลล์ของตัวเอง นักวิจัยคิดว่ามันถูกกระตุ้นจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม ปกติแล้ว โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิจะพัฒนาขึ้นมาอย่างช้าๆ และการกินยาสามารถชะลออาการไม่ให้กำเริบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเริ่มต้นรักษาแต่เนิ่นๆ โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิพบบ่อยแค่ไหน โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ อาการทั่วไปของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิคือ อาการคัน หรือคันอย่างรุนแรง เหนื่อยล้า ผิวเหลือง และบางส่วนของตาเป็นสีเหลือง (โรคดีซ่าน) ปวดท้องส่วนบนขวา ตาและปากแห้ง ช่องคลอดแห้ง หากตับของผู้ป่วยเสียหายอย่างรุนแรง อาจมีโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอาการท่อน้ำดีอักเสบ (Cholangitis) เช่น ของเหลวสะสมอยู่ในท้อง หรือภาวะมีน้ำในเยื่อบุช่องท้อง เลือดออกที่เส้นเลือดใหญ่ในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและทวารหนัก หรือที่เรียกว่า เลือดออกที่หลอดเลือดขอด กระดูกบางก่อนวัยอันควร (โรคกระดูกพรุน) อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุข้างต้นหรือมีคำถามอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายแต่ละคนตอบสนองต่างกัน ทางที่ดีที่สุดคือปรึกษาแพทย์ว่า อะไรเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนพิจารณาว่า โรคนี้เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่งที่ร่างกายโจมตีเซลล์ของตนเอง โรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิเกิดขึ้นได้อย่างไร การติดเชื้อของโรคตับแข็งชนิดบิลิอารีปฐมภูมิ เริ่มต้นเมื่อเม็ดเลือดขาวชนิด T (T cells) […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

อาการอ่อนเพลีย เติมพลังยังไงให้กลับมาเฟรชอีกครั้งอย่างทันใจ

อาการอ่อนเพลีย เป็นอาการที่พบได้บ่อยๆ ในผู้ที่มีอายุเลยวัยกลางคนไปแล้ว อาการอ่อนเพลียอาจจะมีสาเหตุได้หลายประการ เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด การออกกำลังอย่างหนัก การขาดสารอาหาร หรือการเจ็บป่วยต่างๆ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะ เพราะยังมีอยู่หลายวิธีที่สามารถเรียกพลังงานกลับคืนมา ทำให้คุณกลับมาแข็งแรงสดใสได้อีกครั้ง เทคนิคการฟื้นฟูจาก อาการอ่อนเพลีย แบบง่ายๆ กระตุ้นร่างกายในตอนเช้าๆ ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นคนตื่นเช้าอยู่แล้วก็ตาม การกระตุ้นร่างกายด้วยการเล่นโยคะท่าสุริยนมัสการ หรือแค่ยืดเส้นยืดสายแบบง่ายๆ เพื่อช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือด วิธีนี้จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่าไปได้ทั้งวันเลยนะ กระตุ้นร่างกายและสมองด้วยอาหารเช้า ในตอนเช้าๆ นั้น โปรตีนและไขมันคือสิ่งจำเป็นในการสร้างพลังงาน และอาหารเช้าที่มีประโยชน์ในปริมาณที่มากพอ ก็คือสิ่งที่ร่างกายต้องการ แล้วอาหารเช้าที่ดีที่สุดคืออะไรน่ะเหรอ? ก็น้ำปั่นเพื่อสุขภาพไง นี่เป็นอะไรที่เตรียมง่าย ย่อยง่าย และอุดมไปด้วยไขมัน โปรตีน สารอาหาร และอินทรียสารจากพืช ที่ช่วยให้คุณมีพลังงานไปได้ทั้งวัน ลองหาสูตรน้ำปั่นอร่อยๆ ทางอินเตอร์เน็ตดูนะ ผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ อย่าปล่อยให้ชีวิตหยุ่งเหยิงไปตามภาระกิจที่วุ่นวายอยู่เลย ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณควรใช้ชีวิตแบบสโลว์ไลฟ์แล้ว ต่อสู้กับความวุ่นวายรอบตัวคุณ แล้วเติมพลังให้กับร่างกาย ด้วยฟังเพลงที่ช่วยเยียวยาจิตใจซักสองสามนาที การให้เวลาตัวเองพักฟังเพลงนั้น จะช่วยให้ทั้งร่างกายและจิตใจรู้สึกสงบเยือกเย็นลงได้ ท่วงทำนองที่ฟังสบายๆ นั้น จะช่วยให้หัวใจของเราเต้นช้าลง และสูดอากาศเพื่อช่วยให้เรามีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ ซึ่งนั่นจะส่งผลให้เรารู้สึกสบายใจสบายกายขึ้นมาทันที เพลงเร้กเก้ของบ๊อบ มาร์เล่ย์ และเสียงดนตรีบำบัดของโจนาธาน โกลด์แมน ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้าคุณไม่มีเวลาหรือสถานที่ในการฟังเพลง ก็ลองใช้วิธีฝึกหายใจเข้าออกลึกๆ ดูนะ ดื่มน้ำเยอะๆ การขาดน้ำจะทำให้ร่างกายสูญเสียพลังงาน และทำให้สมรรถภาพร่างกายถดถอยได้ ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่า การที่ร่างกายขาดน้ำจะทำให้นักกีฬาออกกำลังกายแบบยกน้ำหนักได้ยากลำบากขึ้น พูดง่ายๆ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

นิสัยเสีย เล็กๆ น้อยๆ ที่อาจทำร้ายสุขภาพมากกว่าที่คุณคิด

นิสัยเสียๆอย่างเช่น การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การนอนน้อย หรือการดื่มน้ำน้อย เป็นนิสัยที่เรารู้กันอยู่แล้วว่าไม่ดีต่อสุขภาพ แต่มีนิสัยเสียบางอย่างที่ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็กน้อย จนคุณอาจละเลยที่จะแก้ไขมัน จนนิสัยเสียเล็กๆน้อยๆพวกนี้ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้มากกว่าที่คิด Hello คุณหมอได้รวบรวม นิสัยที่ทำร้ายสุขภาพ มาให้อ่านกันแล้วค่ะ  12 นิสัยที่ทำร้ายสุขภาพ กลั้นปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะเป็นอะไรที่เลวร้ายมาก เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรค และทำให้ไตมีปัญหาได้ เวลาที่เราไม่ยอมปัสสาวะนั้น น้ำปัสสาวะจะไหลย้อนกลับไปที่ไตทำให้เกิดแรงกดขึ้นมา ซึ่งนั่นอาจทำให้มีการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ดี ฉะนั้นก็ควรปัสสาวะให้ได้วันละประมาณ 5-7 ครั้ง กัดเล็บ ผู้คนส่วนใหญ่จะชอบกัดเล็บเวลาที่เรามีเรื่องกลุ้มใจหรือวิตกกังวล แต่นั่นถือว่าเป็นนิสัยที่ไม่ดี เนื่องจากจะเป็นการทำลายสภาพผิวของเล็บ และอาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อบริเวณผิวหนังได้ นอกจากนี้ยังอาจนำไปสู่การติดเชื้อในร่างกาย ที่ทำให้เราเกิดอาการเจ็บป่วยได้ ใช้คอมพิวเตอร์มากเกินไป พวกเราส่วนใหญ่ และสังคมในการทำงานออฟฟิศปัจจุบัน มักจะใช้คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ้คกันเป็นเวลานานๆ ซึ่งจะทำให้ดวงตาเกิดอาการเมื่อยล้าได้ และจะทำให้กระจกตามีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาได้ นอกจากนี้ยังอาจทำให้ดวงตาแห้ง และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการมองเห็นด้วย ใช้ไหล่แบกของมากเกินไป เวลาที่เราสะพายถุงหนักๆไว้บนไหล่ข้างหนึ่งนั้น จะทำให้คอของเราเสียงสมดุลและเกิดอันตรายได้ โดยจะทำให้คอและแขนเกิดอาการชาได้ ฉะนั้น จึงไม่ควรใช้ไหล่ข้างเดียวในการแบกของ วิธีที่ดีกว่า คือ ใช้กระเป๋าเป้แบบสะพายหลังดีกว่า เพื่อความสมดุลของไหล่ เคี้ยวหมากฝรั่ง การเคี้ยวหมากฝรั่งอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายเพิ่มขึ้น แถมยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการสะสมตัวของเชื้อแบคทีเรียในช่องปากด้วย นอกจากนี้ยังสร้างแรงกดบริเวณกรามและทำให้เกิดฟันผุด้วย ฉะนั้นก็เคี้ยวหมากฝรั่งแค่ 5-10 นาทีพอ หลังจากเคี้ยวหมากฝรั่งเรียบร้อยแล้ว ควรบ้วนน้ำให้สะอาดด้วย  หักข้อนิ้วมือ การหักข้อนิ้วดังเป๊าะๆ นอกจากจะสร้างความรำคาญให้เพื่อนแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของตัวคุณเองด้วย ในข้อนิ้วของเรานั้น      มีสสารบางอย่างที่เรียกว่า ‘ไขข้อ‘ […]


ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพทั่วไป

เทรนด์แฟชั่นอันตราย ทำร้ายสุขภาพ ความสวยที่มาพร้อมกับคราบน้ำตา

เชื่อว่าสาวๆ หลายคน ต่างก็เคยลองแต่งตัวตามแฟชั่น ให้สวย และทันสมัยตามกระแสสังคมในช่วงนั้นๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า เทรนด์แฟชั่นเหล่านั้น อาจนำมาซึ่งภัยแฝงที่คาดไม่ถึง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเราอย่างไม่น่าเชื้อ วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ เทรนด์แฟชั่นอันตราย ที่ทำร้ายสุขภาพของทุกคน 8 เทรนด์แฟชั่นอันตราย ทำร้ายสุขภาพ รองเท้าส้นสูง ถึงแม้ผู้หญิงหลายคนชอบใส่ส้นสูง แต่คงมีไม่กี่คนหรอกมั้งที่รับรู้ถึงพิษภัยของมัน ซึ่งปัญหาที่เกิดจากรองเท้าส้นสูงนั้นก็คือกระดูกเท้าผิดรูป รวมทั้งทำให้เกิดอาการเคล็ดขัดยอกหรือข้อเท้าแพลงด้วย ผลการศึกษาวิจัยระบุว่าการใส่รองเท้าส้นสูงทำให้การบีบรัดตัวของกล้ามเนื้อน่อง (ที่ช่วยส่งเลือดกับไปที่ร่างกายส่วนบน) ทำงานผิดปกติ การศึกษาวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการสังเกตผู้หญิงที่เดินเท้าเปล่า และเดินโดยใส่รองเท้าส้นสูงที่มีระดับความสูงต่างๆ กัน แล้วพบว่าระดับการสูบฉีดเลือดจะลดลงในขณะใส่ส้นสูง ฉะนั้น ถ้าใครไม่อยากมีอาการปวดหลัง ก็หันมาใส่รองเท้าส้นเตี้ยๆ แทน กระเป๋าถือหนักๆ การถือกระเป๋าหนักๆ จะทำให้ปวดหลังและมีท่าทางผิดปกติ การแบกน้ำหนักไว้ที่ไหล่ข้างเดียวอาจสร้างแรงกดบริเวณเส้นประสาท ที่ทำให้รู้สึกตึงๆ หรือแม้แต่อาการเจ็บแปล๊บๆ ตั้งแต่คอเรื่อยไปจนถึงแขน นอกจากนี้ร่างกายอีกข้างหนึ่งก็ต้องคอยถ่วงดุลน้ำหนักเอาไว้ รวมทั้งยังต้องคอยยกไหล่ข้างหนึ่งเอาไว้ เพื่อช่วยไม่ให้สายกระเป๋าเลื่อนหลุดจากบ่า ฉะนั้นถ้าใครไม่อยากมีปัญหาปวดคอปวดไหล่ล่ะก็ ลองเปลี่ยนมาถือกระเป๋าที่มีขนาดเล็กลงซะ กางเกงยีนส์รัดรูป การใส่กางเกงยีนส์รัดรูปแม้จะทำให้ดูเซ็กซี่ขึ้นมาได้ก็จริง แต่มีผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแอบแฝงอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือโรคการกดทับของเส้นประสาทเลี้ยงผิวหนังบริเวณต้นขาด้านนอก ซึ่งจะมีอาการชาบริเวณขา นอกจากนี้การใส่กางเกงที่คับมากๆ อาจทำให้เกิดแรงกดบริเวณท้อง ส่งผลให้เกิดอาการมวนท้อง และอาการแสบร้อนกลางอกได้ ถ้าคุณอยากใส่กางเกงรัดรูปจริงๆ ก็ขอแนะนำให้ใส่กางเกงผ้ายืด ซึ่งจะแนบไปกับเรือนร่างโดยไม่สร้างปัญหาให้กับระบบหมุนเวียนของเลือด กางเกงในจีสตริง กางเกงในแบบนี้ช่วยให้คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายสามารถใส่กางเกงแนบเนื้อได้แบบไม่เห็นรอยกางเกงใน แต่วัสดุที่เป็นใยสังเคราะห์นั้นอาจเปิดโอกาสให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตขึ้นมาได้ นอกจากนี้วัสดุที่มีความหยาบนั้น ยังอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองจากการเสียดสี และทำให้เกิดการติดเชื้อกับผิวที่บอบบางได้ ฉะนั้นหันมาใส่กางเกงใสที่ทำจากผ้าฝ้าออร์แกนิก ก็จะส่งผลดีต่อสุขภาพมากกว่านะ คอร์เซ็ต คอร์เซ็ต […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน