backup og meta

สูตรสลัดพาสต้าผักรวม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/10/2020

    สูตรสลัดพาสต้าผักรวม

    หากทานสลัดที่มีแต่ผักเพียงอย่างเดียวอาจทำให้คุณนั้นเริ่มเกิดอาการเบื่อหน่ายได้ บทความของ Hello คุณหมอ วันนี้ จึงขอนำ สูตรสลัดพาสต้าผักรวม ที่ไม่ได้มีแค่ผักอย่างเดียวเหมือนสลัดทั่วไป แต่ยังมีเส้นพาสต้าแสนนุ่มเข้ามาเพิ่มเติม เพื่อปรับเปลี่ยนอรรถรสในการกินให้คุณทานได้อย่างมีความสุขมากขึ้น มาฝากทุกคนให้ลองทำกันค่ะ

    สูตรสลัดพาสต้าผักรวม

    วัตถุดิบในการทำสลัดพาสต้าผักรวม

    • เส้นพาสต้าโรตินี่ หรือเส้นพาสต้าที่คุณชื่นชอบ 454 กรัม
    • น้ำดื่มสะอาด 4 ลิตร
    • เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
    • มะเขือเทศตัดครึ่ง 1 ถ้วย
    • พริกหยวกหั่นแบบลูกเต๋า 1 ถ้วย
    • หอมแดงหั่นแบบลูกเต๋า ½ ถ้วย
    • มอสซาเรลล่าชีส ตามที่คุณต้องการ
    • ผักอื่น ๆ ตามที่คุณต้องการ
    • ไส้กรอกหั่น ตามจำนวนที่ชิ้นคุณต้องการ
    • น้ำสลัดรสชาติที่คุณชอบสำเร็จรูป

    ขั้นตอนการทำสลัดพาสต้าผักรวม

    1. นำน้ำดื่มสะอาดที่เตรียมไว้เทลงไปในหม้อต้มขนาดใหญ่ จากนั้นทำการใส่เส้นพาสต้าลงไปพร้อมเกลือ 1 ช้อนโต๊ะ และรอจนกว่าเส้นพาสต้าจะสุก โดยอาจใช้ระยะเวลา 9-10 นาที
    2. เมื่อเส้นพาสต้าสุกจนได้ที่ให้คุณทำการปิดเตาแก๊ส เพื่อนำเส้นพาสต้าออกมาล้างด้วยน้ำธรรมดาอีกรอบ เพื่อให้เส้นมีอุณหภูมิเย็นขึ้น แล้วจึงค่อยใส่ลงในภาชนะ
    3. นำไส้กรอกหั่น และผักที่คุณต้องการรับประทานลงไปในสลัด พร้อมกับใส่พริกหยวก หอมแดง มะเขือเทศตามลงไป
    4. เทน้ำสลัดที่คุณต้องการลงในสลัดพาสต้า และทำการคลุกให้เข้ากัน

    เพียงเท่านี้คุณก็มีสลัดพาสต้าแสนอร่อยไว้รับประทานในมื้อต่าง ๆ ที่คุณต้องการแล้ว ซึ่งในการทำสลัดพาสต้านี้ คุณสามารถเลือกผัก ผลไม้ เส้นพาสต้า เนื้อสัตว์ เข้าไปเพิ่มเติมได้ตามใจชอบ โดยให้มีปริมาณของแต่ละวัตถุดิบที่พอดีกัน เพื่อให้ได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกายได้อย่างครบถ้วน

    ประโยชน์จากการทานผัก-สูตรสลัดพาสต้าผักรวม

    ประโยชน์ของการทานผัก มีอะไรบ้าง

    เนื่องจากเมนูนี้มีผักมากมายหลายรสชาติที่เราสามารถเลือกนำมาประกอบอาหารได้ จึงทำให้คุณนั้นอาจได้รับประโยชน์ต่าง ๆ เข้าไปปรับปรุงทางด้านสุขภาพ จากการทานผักหลายชนิดด้วยกัน ดังต่อไปนี้

    • สร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูก

    นอกเหนือจากการดื่มนมอย่างเป็นประจำแล้ว การทานผักที่ประกอบด้วยไลโคปีน (Lycopene) วิตามินดี และแคลเซียม ก็มักเข้าไปบำรุงกระดูกได้ไม่แพ้กัน เช่น ผักโขม มะเขือเทศ ผักคะน้า ถั่วลันเตา บรอกโคลี เป็นต้น อีกทั้งยังมีการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่มักไม่ทานผัก หรือมักมีการเขี่ยผักออกจากเมนูอาหารอย่างสม่ำเสมอ มักขาดสารอาหารเหล่านี้ และอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะประสบกับโรคกระพรุนได้มากกว่าผู้ที่มีการทานผักอย่างเป็นประจำ

    • ปรับปรุงทางเดินอาหาร

    เนื่องจากผักมีเส้นใยอาหารที่ย่อยไม่ได้ จึงทำให้เกิดการกระตุ้นให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวในการย่อยอาหารได้ดี อีกทั้งยังเป็นการป้องกันอาการลำไส้แปรปรวน และอาการท้องผูกร่วมได้อีกด้วย

    • ป้องกันโรคมะเร็ง

    ผักบางชนิดมักมีสารอาหารบางอย่างที่สามารถป้องกันคุณจากการเกิดคามเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ เนื่องจากมีการศึกษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งที่ทำการทดสอบกับผู้หญิงจำนวน 182,145 คน โดยทีมวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานผัก และผลไม้ มีความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมลดลงถึง 11% อีกทั้งยังมีความเสี่ยงของการเกิดเนื้องอกอีก 15% ซึ่งถือว่าเป็นการประเมินที่ดี ที่สามารถนำไปสู่การวิจัยเพิ่มเติมในการศึกษาถัดไปได้

    • ให้ความอ่อนเยาว์แก่ผิว

    ผักหลายชนิดที่เรารับประทานมักประกอบไปด้วยน้ำ 85-95 เปอร์เซ็นต์ด้วยกัน ที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และลดริ้วรอยให้แก่ผิวของคุณ อีกทั้งยังมี ไฟโตนิวเทรียนท์ (Phytonutrient) ที่มีคุณสมบัติในการ ป้องกันความเสียหายของเซลล์จากแสงแดด และมลภาวะต่าง ๆ ที่คุณกำลังเผชิญในปัจจุบัน จึงทำให้การทานผักไม่ว่าจะชนิดใด ๆ ก็ตามที่คุณชื่นชอบนั้น มักอาจได้ผลดีแก่สุขภาพตามมาด้วยเสมอ

    ทานผักอย่างไร ให้ปลอดภัยแก่คุณมากที่สุด

    แน่นอนว่าผักที่เรานำมารับประทานกันในปัจจุบัน เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผักชนิดใดในท้องตลาดที่ปราศจากสารเคมี และให้ความปลอดภัยสูง ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามวิธี ดังต่อไปนี้ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพก่อนนำไปรับประทาน

    • เลือกดูผักที่ไม่มีพื้นผิวช้ำ
    • กำจัดร่องรอยบนผักที่มีรอยช้ำ หรือเน่าเสียออกก่อนนำมารับประทาน
    • ทำความสะอาดผักทุกครั้งด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำยาแช่ผักเฉพาะ
    • เก็บผลไม้ในตู้เย็นที่มีช่องแช่แยกต่างหาก หรือในอุณหภูมิ 40 องศาฟาเรนไฮต์
    • ทำความสะอาดภาชนะที่จำเป็นต้องสัมผัสกับพื้นผิวของผักทุกครั้ง เช่น กล่องบรรจุ เขียง กระทะ มีด เป็นต้น
    • ไม่ควรใช้อุปกรณ์ซ้ำกัน หรือควรมีการทำความสะอาดก่อนนำมาสัมผัสกับผัก เช่น มีดที่ผ่านการหั่นเนื้อสัตว์ดิบ

    ที่สำคัญก่อนคุณทำการสัมผัสกับวัตถุดิบต่าง ๆ ควรทำการล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาด หรือสวมใส่ถุงมือระหว่างประกอบอาหารร่วมด้วยไม่ว่าจะมื้อใด ๆ ก็ตาม เพื่อช่วยเพิ่มสุขลักษณะในการทำอาหารอีกขั้น ก่อนเกิดอาการท้องเสีย หรือท้องร่วงที่อาจตามมาได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 15/10/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา