เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ไม่ว่าคุณจะตั้งเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก หรือรักษาค่าดัชนีมวลกาย (ฺBMI) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ก็ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ความมุ่งมั่นทั้งสิ้น รับคำแนะนำเกี่ยวกับ เคล็ดลับโภชนาการที่ดี เพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้อย่างปลอดภัยและมั่นคงยิ่งขึ้น ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ข้าว 10 ปี กินได้อยู่ไหม? อันตรายรึเปล่า?

ข้าว เป็นหนึ่งในอาหารหลักของคนไทย ซึ่งมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวเสาไห้ และอื่น ๆ หลายบ้านมักจะมีข้าวสารเก็บติดบ้านไว้เสมอ แต่ข้าวสารนั้นเก็บไว้ได้กี่ปี ข้าว 10 ปี ยังกินได้อยู่หรือไม่ หาคำตอบได้ในบทความนี้ [embed-health-tool-bmi] ข้าวสาร เก็บได้กี่ปี  ข้าวสารสามารถเก็บไว้ได้นานกี่ปีถึงจะยังนำมารับประทานได้โดยไม่เกิดอันตราย จากข้อมูลของเว็บไซต์ Think Rice เว็บไซต์เกี่ยวกับข้าวแหล่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า ข้าวเต็มเมล็ดที่ไม่ผ่านการขัดสีอย่าง ‘ข้าวกล้อง’ สามารถเก็บไว้ได้นานสูงสุดประมาณ 6 เดือน ส่วนข้าวที่ผ่านการขัดสีแล้วอย่าง ‘ข้าวขาว’ อาจสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่มีวันหมดอายุ หากเก็บรักษาไว้อย่างถูกต้อง โดยเก็บไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้ในที่แห้ง ปราศจากความชื้น  อย่างไรก็ตาม การเก็บรักษาข้าวอย่างไม่เหมาะสมอาจส่งผลให้คุณภาพของเมล็ดข้าวลดลง หรือเกิดความผิดปกติ เช่น มีกลิ่นเหม็นหืน สีเปลี่ยนไป หรือมีเชื้อราขึ้น ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้หากรับประทาน ข้าว 10 ปี กินได้ไหม จากข้างต้น ข้าวขาวที่เก็บไว้อย่างถูกต้องยังคงสามารถนำมาหุงรับประทานได้ เพียงแค่กลิ่นอาจจะไม่หอมเท่าและรสสัมผัสอาจจะแตกต่างจากข้าวใหม่  อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังหากข้าวมีความผิดปกติ หรือมีการปนเปื้อนของสารพิษ โดยเฉพาะ อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) ซึ่งเป็นสารพิษจากเชื้อราที่พบได้ในอาหารต่าง ๆ เช่น ถั่วลิสง […]

สำรวจ เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรกินและควรหลีกเลี่ยงประเภทใดบ้าง

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เรื่องโภชนาการหรือการเลือกรับประทานอาหาร เนื่องจากการละเลยในเรื่องการกินอาจเพิ่มความเสี่ยงสุขภาพต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นอกจากนี้ยังมี อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน ที่ควรเลือกกินและอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง แต่จะมีอาหารประเภทใดบ้างที่กินแล้วดีต่อสุขภาพ ทาง Hello คุณหมอ นำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันในบทความนี้ อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ที่ควรรับประทาน หากคุณ หรือคนรอบข้างที่คุณรักกำลังประสบกับโรคเบาหวานอยู่ละก็ คุณควรยิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ดังนี้ 1. คาร์โบไฮเดรต ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรต และคุณต้องเลือกกินคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ เนื่องจากเวลาที่ร่างกายย่อยอาหาร น้ำตาลซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และแป้งซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน จะสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสในเลือด ซึ่งส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด จึงควรมุ่งไปที่การบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ เช่น อาหารแนะนำ ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต และควินัว มันเทศอบ อาหารที่ทำจากธัญพืช และไม่มีการเติมน้ำตาลเพิ่ม อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารเช้าซีเรียลที่มีน้ำตาลสูง เฟรนช์ฟรายส์ แป้งทอดกรอบ 2. ผัก แนวทางการบริโภคอาหารของสหรัฐอเมริกา (The U.S. guidelines) แนะนำว่าควรกินผักปริมาณ 2.5 ถ้วยต่อวัน เนื่องจากผักอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ รวมทั้งไฟเบอร์ ซึ่งดีต่อสุขภาพ แต่ควรระวังผักบางประเภทที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่งและข้าวโพดที่นับว่าเป็นคาร์โบไฮเดรต โดยผักที่แนะนำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานกิน […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

กินผัก แบบไหนดีต่อสุขภาพมากกว่ากัน?

ผัก อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นธาตุเหล็ก โฟเลต สารต้านอนุมูลอิสระ ทั้งยังนำมาปรุงอาหารได้หลากหลาย  เช่น ต้ม ผัด อบ รวมถึง กินผัก แบบสด ๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งผักบางชนิดอาจมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อกินสด แต่บางชนิดอาจจะมีประโยชน์มากขึ้นเมื่อผ่านการปรุง ดังนั้น อาจต้องศึกษาเพิ่มเติมว่าผักชนิดไหนควรกินอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์มากที่สุด กินผัก ชนิดต่าง ๆ กินแบบไหนจึงจะดีต่อสุขภาพ แครอท แครอทเป็นผักที่กินได้ทุกเพศทุกวัย และนำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู โดยในแครอทจะมีสารแคโรทีนอยด์ (Carotenoid) ที่ทำให้แครอทมีสีส้ม และมีประโยชน์ต่อดวงตา รวมถึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งบางชนิด ซึ่งความร้อนอาจทำให้ร่างกายนำแคโรทีนอยด์มาใช้ได้ง่าย ดังนั้น เวลานำแครอทมาปรุงอาหาร จึงควรผ่านความร้อนเล็กน้อย เช่น นำไปนึ่ง ย่าง หรืออบ เพื่อให้ได้ประโยชน์มากขึ้น มะเขือเทศ หากชอบกินมะเขือเทศสด อาจได้รับไลโคปีน (Lycopene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระในมะเขือเทศประมาณ 4% มะเขือเทศดิบมีผนังเซลล์ที่หนา จึงทำให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนได้ยาก แต่เมื่อนำมะเขือเทศไปปรุงอาหารโดยผ่านความร้อน อาจทำให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนได้ง่ายขึ้น บร็อคโคลี่ บร็อคโคลี่สดอาจไม่ตอบโจทย์ใครหลายคน การนำบร็อคโคลี่ไปปรุงอาหาร เช่น นำไปผ่านความร้อนไม่นานเพื่อให้นุ่มขึ้น อาจไม่ทำให้สารอาหารในบร็อคโคลี่หายไป ส่วนการทอดในน้ำมัน รนึ่ง หรือต้ม […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เครื่องดื่มรสหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

หากรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมากเกินไปย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพ รวมถึง เครื่องดื่มรสหวาน ต่าง ๆ ที่มีน้ำตาลสูงด้วย เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มชูกำลัง หรือชาเย็น กาแฟเย็นใส่นมข้นและน้ำตาลปริมาณมาก เครื่องดื่มรสหวานอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงโรคมะเร็งบางชนิดด้วย [embed-health-tool-bmi] เครื่องดื่มรสหวาน ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ อาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังต่อไปนี้ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Endocrine Society ให้ข้อมูลว่า การดื่มเครื่องดื่มรสหวานเป็นประจำ ไม่เพียงแค่เพิ่มความเสี่ยงในการมีน้ำหนักตัวเพิ่ม แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีบางงานวิจัยที่พบว่า การบริโภคเครื่องดื่มรสหวานเพียงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เชื่อมโยงกับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้แก่ กลุ่มอาการอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงกลุ่มอาการอ้วนลงพุง มีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มรสหวานมากกว่า 5 ครั้งต่อสัปดาห์ งานวิจัยพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มอาการอ้วนลงพุง กับการดื่มเครื่องดื่มรสหวานที่มีน้ำตาลสูง โดยกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) จะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ ได้แก่ ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงจนถึงขั้นเป็นโรคเบาหวาน อ้วนลงพุง สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ก็อาจส่งผลเช่นเดียวกัน งานวิจัยแนะนำว่า คนที่กินน้ำอัดลม 0 แคลอรี่ […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เราจะสามารถ ลดการบริโภคน้ำตาล ในมื้ออาหารลงได้อย่างไรบ้าง

อย่างที่เราทราบกันความหวานจากน้ำตาลไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพของเรา ยิ่งปริมาณที่บริโภคเข้าไปเกินกว่าที่ร่างกายเราต้องการมากเท่าไรก็ยิ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย หากเราจะหักดิบเลิกน้ำตาลไปเลยก็คงทำไม่ได้ วันนี้เรามีวิธีดีๆ ในการ ลดการบริโภคน้ำตาล ในแต่ละมื้ออาหารมาฝากกัน รับรองทำแล้วสุขภาพดีขึ้นแน่นอนค่ะ น้ำตาลตัวร้ายทำลายสุขภาพ บริโภคน้ำตาลมากเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ปัจจุบันโรคอ้วนมีอัตราเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยมีสาเหตุหลักมาจาก เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เครื่องดื่มพวกนี้มีน้ำตาลชนิด ฟรุกโตส สูงมีส่วนทำให้เราหิวได้ง่าย มีความอยากอาหาร ดังนั้นการกิน ฟรุกโตสที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายต่อต้านฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนความอิ่มที่ช่วยควบคุมไม่ให้เราหิว นอกจากนี้การบริโภคน้ำตาลมากๆ จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและมีไขมันสะสมที่อวัยวะภายใน เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ การรับประทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงส่งผลให้เกิดโรคอ้วน มีปริมาณไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ปริมาณน้ำตาลและและความดันเลือดสูง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาจากคนจำนวน 30,000 คนพบว่า คนที่บริโภคน้ำตาลเป็นจำนวน ร้อยละ 17-21 ของแคลอรี่ทั้งหมดต่อวันจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่ากลุ่มคนที่บริโภคน้ำตาลร้อยละ 8 ของแคลอรี่ทั้งหมดต่อวันถึงร้อยละ 38 เพิ่มอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและมะเร็ง ในรอบ 30 ปีที่ผ่านมามีรายงานว่าคนทั่วโลกเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น 2 เท่า หนึ่งในสาเหตุที่คนทั่วโลกเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้นมาจาก น้ำตาล ซึ่งน้ำตาลทำให้เกิดโรคอ้วน และเกิดภาวะต่อต้านอินซูลินซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเกิดเกิดโรคเบาหวาน นอกจากนี้น้ำตาลยังเพิ่มการอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งอีกด้วย เพิ่มความเสียงต่อภาวะซึมเศร้า นักวิจัยเชื่อว่าภาวะน้ำตาลในเส้นเลือดแปรปรวน การทำงานที่ผิดปกติของสารสื่อประสาทและการอักเสบเป็นสาเหตุที่กระทบต่อสุขภาพจิต จากการศึกษาคน 8,000 คนเป็นเวลา 22 ปีพบว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลมากกว่าปกติ 67 กรัมจะมีโอกาสเป็นภาวะซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายที่บริโภคน้ำตาลน้อยกว่า 40 กรัมต่อวัน […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนเราได้อย่างไร

“Good Food, Good Mood” เมื่อได้รับอาหารที่ดีก็จะทำให้เราอารมณ์ดี อาหารไม่เพียงแต่ทำให้ร่างกายของเราแข็งแรงเท่านั้นยังส่งผลต่ออารมณ์และสุขภาพจิตของเราด้วย การที่เราได้รับอาหารที่ดี มีประโยชน์ก็จะทำให้เราอารมณ์ดีขึ้น นอกจากอาหารแล้ว “น้ำตาล” ก็มีความสำคัญต่อสุขภาพจิตของเราไม่น้อยเลยทีเดียว ใครที่สงสัยว่า น้ำตาลส่งผลต่อสุขภาพจิต อย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับอารมณ์ของเรา Hello คุณหมอมีข้อมูลมาฝากค่ะ อาหารสามารถส่งผลต่อสภาพอารมณ์ได้อย่างไร สารอาหารในอาหารแต่ละชนิดนอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรงแล้ว ยังส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของเราอีกด้วย  เพราะโครงสร้างทางเคมีของสารอาหารแต่ละชนิดมีผลต่อการหลั่งสารเคมีภายในสมอง เช่น เมื่อเรากินอาหารที่มี โปรตีนมาก ก็จะช่วยให้ร่างกายหลั่งสาร โดพามีน (Dopamine) และ นอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งมีส่วนช่วยให้อารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า ส่วนอาหารในกลุ่มแป้งและน้ำตาลเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ต่างๆ มากที่สุด เมื่อร่างกายได้รับน้ำตาลก็จะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินกระตุ้นให้สมองเกิดความรู้สึกสดชื่น แต่หากได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากกินไปก็จะส่งผลต่ออารมณ์เช่นกัน ในปี 2002 การศึกษาเรื่องปริมาณการบริโภคน้ำตาลต่อคน ของ ดร. Arthur Westover จากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยเท็กซัสตะวันตกเฉียงใต้ โดยอ้างอิงจากคนในประเทศแคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมันนี เกาหลี นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกาพบว่าน้ำตาลเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อัตราของภาวะซึมเศร้าสูงขึ้น หลังจากนั้นทีมวิจัยหลายๆ ทีมก็มีการทดลองว่าการรับประทานอาหารมีผลต่อสุขภาพจิตได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น การบริโภคอาหารแปรรูปและอาหารขยะจะเพิ่มอัตราการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ จากการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงโดยเฉพาะน้ำอัดลมกับผู้ที่ดื่มชาแบบไม่มีน้ำตาล พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมจะมีอัตราการมีภาวะซึมเศร้าที่มากกว่า จากผลการศึกษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่าอาหารแต่ละชนิดส่งผลต่อสภาพอารมณ์ของคนเราได้ น้ำตาลกับเซลล์ประสาท เซลล์ประสาทเป็นเซลล์ที่ไวต่อสิ่งเร้ามาก […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

ไขข้อข้องใจ อาหารทอด ไม่ดีต่อสุขภาพจริงหรือ

อาหารทอด เป็นเมนูโปรดของใครหลายคน เช่น ไก่ทอด หมูทอด ลูกชิ้นทอด หรืออาหารชุบแป้งทอดต่างๆ แล้วยิ่งกินกับน้ำจิ้มหรือซอสต่างๆ ก็ยิ่งอร่อย แต่อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้ว ว่าอาหารทอดมีแคลอรี่สูง และอาจมีไขมันทรานส์ด้วย ดังนั้นการกินมากจนเกินไปอาจส่งผลต่อสุขภาพ ดังนี้ อาหารทอด ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง อาหารทอดมีแคลอรี่สูง หากเปรียบเทียบกับการปรุงอาหารด้วยวิธีอื่น อาหารทอดถือว่ามีแคลอรี่สูง นอกจากนี้อาหารทอดบางเมนูยังเป็นการชุบแป้งทอดด้วย ทำให้ได้รับแคลอรี่เพิ่มขึ้น และโดยปกติแล้วอาหารที่ไม่ได้ทอดจะมีแคลอรี่น้อยกว่า ตัวอย่างเช่น มันฝรั่งอบ 100 กรัมมี 93 แคลอรี่ ในขณะที่มันฝรั่งทอด 100 กรัมมี 319 แคลอรี่ ไขมันทรานส์ อาหารทอดมักอาจมีไขมันทรานส์ และทำด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมันจากเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเมื่อเจอความร้อนน้ำมันเหล่านี้สามารถกลายเป็นไขมันทรานส์ ที่สามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา ไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลายโรค ได้แก่ โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน งานวิจัยหลายงานวิจัยพบว่า การกินอาหารทอดสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการพัฒนาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่า ผู้ที่กินฟาสต์ฟู้ดมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีโอกาสพัฒนาภาวะดื้ออินซูลินมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่กินอาหารฟาสต์ฟู้ดน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบความเกี่ยวข้องอย่างมากระหว่าง การกินอาหารทอดบ่อยกับความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน งานวิจัยชี้ว่าไขมันทรานส์ในอาหารทอด อาจมีบทบาทสำคัญที่ทำให้น้ำหนักขึ้น […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

เหตุผลที่คุณ หิวตลอดเวลา เป็นเพราะอะไรกันแน่

ร่างกายต้องกินอาหารเพื่อได้รับพลังงาน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติมากที่คุณจะรู้สึกหิว ถ้าไม่ได้กินอาหารเป็นเวลานาน แต่ถ้าคุณรู้สึก หิวตลอดเวลา แม้ว่าจะเพิ่งกินอาหารเสร็จไปก็ตาม อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่างก็ได้ นอกจากนี้อาการหิวตลอดเวลาอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ กินโปรตีนไม่เพียงพอ การกินโปรตีนให้เพียงพอสำคัญต่อการควบคุมความอยากอาหาร เนื่องจาก โปรตีนมีคุณสมบัติในการลดความหิว ที่อาจช่วยให้คุณกินอาหารน้อยลงโดยอัตโนมัติในช่วงระหว่างวัน โดยโปรตีนจะเพิ่มการผลิตฮอร์โมนที่ส่งสัญญาณบอกสมองว่าคุณอิ่ม และยังช่วยลดระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นความหิวด้วย ดังนั้นถ้าคุณรู้สึกว่าตัวเองหิวบ่อย อาจเกิดจากการได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ศึกษาในผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินจำนวน 14 คน โดยให้กินโปรตีน 25% ของแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างสามารถลดความอยากกินขนมในตอนกลางคืนได้ 50% เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่บริโภคโปรตีนน้อยกว่า อาหารที่โปรตีนสูงมีหลายอย่าง ดังนั้นจึงไม่ยากเลยที่จะได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน และการกินโปรตีนในทุกๆ มื้ออาหารยังสามารถช่วยป้องกันความหิวที่มากจนเกินไปอีกด้วย โดยแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อไก่ ไข่ และปลา นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว เช่นนมและโยเกิร์ต รวมถึงแหล่งโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว และธัญพืชเต็มเมล็ด กินอาหารไขมันต่ำ งานวิจัยที่ทดลองในผู้ใหญ่ที่มีรูปร่างอ้วน 270 คน พบว่าผู้ที่กินอาหารไขมันต่ำ รู้สึกอยากกินอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่บริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ มากไปกว่านั้น กลุ่มที่กินอาหารไขมันต่ำยังรายงานว่า รู้สึกหิวมากกว่าเดิม เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่กินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ ดังนั้นจึงควรกินไขมันในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ โดยมีอาหารหลายอย่างที่อุดมไปด้วยไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันโอเมก้า 3 […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วนจริงหรือ แล้วจะรับมือกับความหิวกลางดึกได้อย่างไร

หลายคงกังวลว่าน้ำหนักจะขึ้น หากกินอาหารหลังจากมื้อเย็นไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำว่าไม่ควรกินอะไรหลัง 2 ทุ่ม อย่างไรตาม ในความจริงแล้วการกิน ‘อะไร’ ย่อมสำคัญกว่ากิน ‘เมื่อไหร่’ แล้วอันที่จริง กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วน จริงๆ หรือเปล่า กินตอนกลางคืน ทำให้อ้วนจริงหรือ คุณอาจจะเคยได้ยินมาว่าหลัง 2 ทุ่มไม่ควรกินอาหาร และควรกินอาหารเช้ามื้อใหญ่ รวมถึงกินอาหารมื้อเย็นน้อยลง ความจริงแล้วกินมื้อเย็น หรือกินตอนกลางคืน ส่งผลต่อน้ำหนักของเราจริงหรือเปล่า กินอาหารเช้าอย่างราชา กินตอนเย็นอย่างยาจก เราอาจเคยได้ยินกันมาว่า ให้กินอาหารเช้าเหมือนราชา กินอาหารกลางวันเหมือนคนธรรมดา และกินอาหารเย็นอย่างยาจก ประโยคนี้มาจากนักโภชนาการรุ่นบุกเบิก จึงทำให้หลายคนเชื่อว่าการกินมื้อเย็นมาก อาจทำให้อ้วน หรือกินอาหารมื้อดึกสามารถทำให้น้ำหนักขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่กลุ่มผู้ทดลองคือนักศึกษาจำนวน 110 คน โดยผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่มีน้ำหนักมากกว่า มีแนวโน้มที่จะกินอาหารมากกว่าในตอนกลางคืน โดยเฉพาะในช่วงเวลาใกล้เข้านอน ประมาณ 2 ทุ่ม ที่ร่างกายจะเริ่มหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) เพื่อเตรียมตัวนอนหลับ จึงแนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารก่อนช่วงเวลาเข้านอน เนื่องจากคุณมีโอกาสที่จะได้รับแคลอรี่มาก หากกินอาหารตอนกลางคืน อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป กินเวลาไหนก็เหมือนกัน แต่ถ้ากินมากเกินไปยังไงก็อ้วนอยู่ดี ในทางตรงกันข้าม มีหลักการที่ใช้กันในทุกวันนี้คือ แคลอรี่ก็คือแคลอรี่ ไม่ว่าจะกินเวลาไหน หากกินแคลอรี่มากกว่าที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ก็ทำให้น้ำหนักขึ้นในที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ที่ให้ข้อมูลว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะกินเวลาไหน แต่ขึ้นอยู่กับอาหารที่กิน […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

การกินอาหาร คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

การกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) และมีโปรตีนสูง เพื่อการลดน้ำหนัก ถือเป็นวิธีลดน้ำหนักที่ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากสามารถช่วยลดน้ำหนัก และยังทำให้การเผาผลาญพลังงานดีขึ้น อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่แนะนำว่าการลดความอ้วนด้วยวิธีนี้ในระยะยาว อาจส่งผลต่อสุขภาพ การลดน้ำหนักด้วยการกินอาหารที่มี คาร์โบไฮเดรตต่ำ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Low-Carb Diets) หรือที่บางคนเรียกว่า โลว์คาร์บ หมายถึงการกินคาร์โบไฮเดรตให้น้อยลง และเพิ่มการกินโปรตีน โดยการลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้มักจะแนะนำว่า ควรได้รับแคลอรี่จากการกินโปรตีน 30% ถึง 50% ของแคลอรี่ทั้งหมด หลักการของการลดน้ำหนัก ด้วยการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำคือ โดยปกติแล้วร่างกายจะเผาผลาญคาร์โบไฮเดรตเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง และเมื่อลดการกินคาร์โบไฮเดรตอย่างรุนแรง โดยกินคาร์โบไฮเดรตเพียง 20 กรัมต่อวัน ร่างกายจะเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญที่เรียกว่า คีโตซิส (ketosis) ที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีน้ำตาล (กลูโคส) ไม่เพียงพอสำหรับใช้เป็นพลังงาน ดังนั้นร่างกายจึงสลายไขมันที่สะสมไว้ ทำให้เกิด คีโตน (ketone) ซึ่งเป็นสารเคมีที่เกิดจากการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ส่วนผลข้างเคียงจากภาวะคีโตซิสนั้น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดหัว และมีกลิ่นปาก นอกจากนี้ เมื่อไขมันกลายเป็นแหล่งพลังงานหลัก ร่างกายก็จะนำไขมันมาใช้ ส่งผลให้น้ำหนักของคุณลดลง เพิ่มเติมไปกว่านั้น การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ อาจช่วยลดระดับอินซูลิน ที่จะส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญไขมันที่สะสมไว้ เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน […]


เคล็ดลับโภชนาการที่ดี

อาหารที่ทำให้ท้องอืด และเพิ่มแก๊สในระบบทางเดินอาหารโดยไม่รู้ตัว

อาการท้องอืดเนื่องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยอาจเกิดจากการที่คุณได้รับอากาศมากเกินไป จากการกินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป รวมถึงการพูดไปด้วย กินไปด้วย ซึ่งการมีแก๊สในร่างกายอาจเกิดจากการกิน อาหารที่ทำให้ท้องอืด บางประเภท และสามารถบรรเทาอาการได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าอาการท้องอืดเนื่องจากแก๊ส ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาคุณหมอเพราะอาจหมายถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง ถั่ว ถ้านึกถึงอาหารที่ทำให้มีแก๊ส ‘ถั่ว’ ถือเป็นอันดับแรกที่หลายคนจะนึกถึง เนื่องจากถั่วมีแรฟฟิโนส (Raffinose) มาก ซึ่งเป็นโมเลกุลน้ำตาลเชิงซ้อนที่ร่างกายย่อยยาก โดยเมื่อแรฟฟิโนสเคลื่อนที่ผ่านลำไส้เล็กไปสู่ลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียจะสลายโมเลกุลน้ำตาล สามารถทำให้เกิดการผลิตไฮโดรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และแก๊สมีเทน ซึ่งแก๊สเหล่านี้จะออกจากร่างกายทางทวารหนัก ดังนั้นการกินถั่วในปริมาณที่พอดีสามารถช่วยลดแก๊สในระบบทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้การแช่ถั่วไว้ข้ามคืนก่อนนำมาปรุงอาหาร ก็สามารถช่วยลดแก๊สได้เช่นกัน ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว น้ำตาลแลคโตส พบมากในผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว เช่น ชีส โยเกิร์ตและไอศกรีม สำหรับผู้ที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเอนไซม์แลคเตสได้เพียงพอ ก็จะยากต่อการย่อยน้ำตาลแลคโตส ซึ่งสามารถเรียกภาวะนี้ว่า ภาวะแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) โดยการมีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ถือเป็นหนึ่งในอาการของภาวะแพ้แลคโตส ซึ่งถ้าคุณสงสัยว่าอาจเป็นเพราะสาเหตุนี้ ควรปรึกษาแพทย์ และอาจลดการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว ธัญพืชเต็มเมล็ด ธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น โฮลวีต ข้าวโอ๊ต ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ แรฟฟิโนส (Raffinose) และแป้ง โดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะสลายสารอาหารเหล่านี้ ซึ่งทำให้เกิดแก๊ส แต่อย่างไรก็ตาม ข้าว ถือเป็นธัญพืชเต็มเมล็ดประเภทเดียวที่ไม่ทำให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหาร ผัก ผักบางชนิด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน