โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

ไข้หวัดใหญ่

โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร แตกต่างจากไข้หวัดอย่างไร

โรคไข้หวัดใหญ่ คือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ที่ส่งผลให้มีอาการเป็นไข้สูง ไอ และอ่อนเพลีย คล้ายกับอาการของโรคไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีอาการรุนแรงกว่า อีกทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ หายใจลำบากเฉียบพลัน ดังนั้น ควรศึกษาความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดา และควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาอย่างรวดเร็ว เมื่อรู้สึกเหมือนไม่สบายและมีไข้สูง [embed-health-tool-bmr] โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร โรคไข้หวัดใหญ่ คือ โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ที่แพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งเช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอและจาม หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หลอด แก้วน้ำ ช้อนส้อม ผ้าเช็ดหน้า นอกจากนี้ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายกว่าปกติอีกด้วย เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ดังนี้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยและมีความรุนแรงมากที่สุด สามารถแพร่เชื้อสู่คนและสัตว์ โดยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอยังแบ่งย่อยได้อีก 2 ชนิด คือ A (H1N1) และ A (H3N2) ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza […]


ไข้หวัดใหญ่

อาการไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ และการป้องกัน

อาการไข้หวัดใหญ่ เช่น เป็นไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ ไอ อ่อนแรง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ทางเดินหายใจ ซึ่งแพร่กระจายผ่านทางน้ำลายหรือน้ำมูกขณะไอและจาม รวมถึงการใช้ช้อนส้อมหรือการดื่มน้ำจากแก้วหรือหลอดเดียวกัน โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่อาจพบได้บ่อยในเด็ก ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ดังนั้น จึงควรดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้เจ็บป่วยจากโรคไข้หวัดใหญ่ [embed-health-tool-heart-rate] อาการไข้หวัดใหญ่ มีสาเหตุจากอะไร อาการไข้หวัดใหญ่ มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ในระบบทางเดินหายใจ ที่แพร่กระจายผ่านสารคัดหลั่งเช่น น้ำมูก น้ำลาย จากการไอ การจาม หรือการใช้สิ่งของร่วมกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ดังนี้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) เป็นสายพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดและสามารถแพร่เชื้อสู่คนและสัตว์ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์บี (Influenza B) เป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อสู่คนเท่านั้น แบ่งออกเป็นอีก 2 สายพันธุ์ คือ Yamagata และ Victoria แต่อาจมีอาการรุนแรงน้อยกว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ซี (Influenza C) เป็นสายพันธุ์ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เอและสายพันธุ์บี แต่จะไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ดี (Influenza D) เป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อจากสัตว์สู่สัตว์เพียงเท่านั้น ไม่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดในคน อาการไข้หวัดใหญ่ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

Hyperventilation Syndrome สาเหตุ อาการ และการรักษา

Hyperventilation Syndrome หรือกลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไป หมายถึงการมีภาวะหายใจเร็วเกินไป โดยเป็นการหายใจถี่กว่าปกติซึ่งมักส่งผลให้ร่างกายขาดคาร์บอนไดออกไซด์ นำไปสู่อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอและอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความวิตกกังวล ความเครียด หรือโรคแพนิค ทั้งนี้ วิธีรักษา คุณหมอมักแนะนำให้ฝึกการหายใจรูปแบบต่าง ๆ หรือจ่ายยาสำหรับบรรเทาภาวะวิตกกังวลให้รับประทาน [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ Hyperventilation Syndromeคืออะไร Hyperventilation Syndrome หรือกลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไป เป็นความผิดปกติเกี่ยวกับการหายใจ โดยผู้ป่วยจะหายใจออกเร็วถี่และหายใจเข้าลึกกว่าปกติ มีผลให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกายเหลือน้อย และส่งผลกระทบให้เซลล์ประสาททำงานผิดปกติ รวมถึงเลือดไหลเวียนไปยังหัวใจและสมองได้ไม่สะดวก ทำให้ร่างกายมีอาการต่าง ๆ ที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ ปกติแล้ว กลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไปมักแสดงอาการเป็นครั้งคราว โดยมักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวลหรือแรงกดดัน โดยกลุ่มเสี่ยงคือ ผู้หญิงอายุระหว่าง 15-30 ปี อาการ อาการของHyperventilation Syndrome กลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไป มักแสดงอาการดังต่อไปนี้ หายใจไม่อิ่ม หรือรู้สึกว่ายังได้รับอากาศไม่เพียงพอ หายใจหอบถี่ หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หน้ามืด วิงเวียน คล้ายจะเป็นลม เจ็บหรือแน่นหน้าอก มือหรือเท้าชา เกร็ง มือหงิกงอ แน่นท้อง สาเหตุ สาเหตุของ Hyperventilation Syndrome กลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไปมักเป็นผลมาจากความวิตกกังวล ความเครียด หรือโรคแพนิค และยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ การใช้สารกระตุ้น การบริโภคยาเกินขนาด ความรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง […]


ไข้หวัด

ไข้ สาเหตุ อาการ การรักษา และวิธีป้องกัน

ไข้ เป็นอาการที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ มักสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.2 องศาเซลเซียส ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่แล้วเมื่อรับประทานยาลดไข้อย่างพาราเซตามอลหรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมาก ๆ หรือเช็ดตัวมักทำให้ไข้ลดลงภายใน 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ไข้อาจเป็นอาการของโรคต่าง ๆ เช่น โรคโควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก หากมีไข้สูง ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ผื่นขึ้นตามตัว เจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจหาโรคหรือความผิดปกติที่เป็นสาเหตุของไข้ ซึ่งเมื่อรักษาหายแล้วก็จะทำให้ไข้หายตามไปด้วย [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ ไข้ คืออะไร ไข้ คือ ภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น เกิดจากการที่ร่างกายทำปฏิกิริยาต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย วิธีวัดไข้และเกณฑ์การวัดไข้ หากต้องการทราบว่ามีไข้หรือไม่ สามารถวัดอุณหภูมิด้วยปรอทหรืออุปกรณ์วัดไข้ได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนี้ วัดไข้ทางรักแร้ ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.2 องศาเซลเซียส วัดไข้ทางปาก ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส วัดไข้ทางหู ผู้ที่มีไข้คือ ร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ […]


โรคปอดบวม

Pneumonia (ปอดอักเสบ) เกิดจากอะไร และใครคือกลุ่มเสี่ยง

Pneumonia คือ โรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รา หรือไวรัสที่ถุงลม ซึ่งอาจเกิดขึ้นที่ปอดข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ โดยปอดของผู้ติดเชื้อมักมีของเหลวหรือหนอง ทำให้หายใจลำบาก ไอ และมีไข้ ทั้งนี้ โรคปอดอักเสบอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นทารก คนชรา หรือมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการอาการของ Pneumonia โรคปอดอักเสบมักแสดงอาการอย่างรวดเร็วในช่วง 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังจากการติดเชื้อ หรืออาจแสดงหลังจากการติดเชื้อหลายวัน โดยอาการที่พบบ่อย มีดังนี้ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หัวใจเต้นแรง ไข้สูง ไม่อยากอาหาร เหงื่อออกมากและตัวสั่น นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบ โดยเฉพาะเด็ก คนชรา หรือผู้ป่วยที่มีโรคอยู่ก่อนแล้ว เช่น เบาหวาน อาจพบอาการแทรกซ้อนดังต่อไปนี้ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ (Pleuritis) หรือ การอักเสบของเนื้อเยื่อที่หุ้มรอบปอดทั้ง 2 ข้าง โดยผู้ป่วยจะเจ็บหน้าอก อาการอาจแย่ลงเมื่อหายใจ ไอ หรือจาม นอกจากนี้ อาการเยื่อหุ้มปอดอักเสบยังอาจนำไปสู่ภาวะการหายใจล้มเหลวได้ ฝีในปอด (Lung Abscess) เป็นอาการที่พบได้ยาก มักพบในผู้ป่วยซึ่งป่วยเป็นโรคอื่นก่อนแล้ว หรือผู้มีประวัติโรคพิษสุราเรื้อรัง ภาวะเลือดมีแบคทีเรีย (Bacteremia) หรือโลหิตเป็นพิษ เนื่องจากมีแบคทีเรียในเลือด โดยปกติ […]


ไข้หวัด

น้ำมูกใส เกิดจากอะไร และวิธีบรรเทาอาการน้ำมูกไหลที่ควรรู้

น้ำมูก คือ เมือกที่ผลิตจากต่อมสร้างน้ำมูกในเยื่อบุจมูก มีหน้าที่ช่วยคงความชุ่มชื้นให้กับโพรงจมูกและไซนัส ทั้งยังช่วยดักจับและป้องกันไม่ให้เชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอม เช่น ฝุ่นละออง แบคทีเรีย ไวรัส เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจผ่านทางโพรงจมูกได้ หากภายในจมูกแห้งอาจทำให้ร่างกายเสี่ยงติดเชื้อได้มากขึ้น ร่างกายสามารถผลิตน้ำมูกได้วันละประมาณ 2 ลิตร และน้ำมูกที่ไหลออกมาส่วนใหญ่มักมีลักษณะเป็น น้ำมูกใส ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากไข้หวัด หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การทราบสาเหตุที่ทำให้มีน้ำมูกใส อาจช่วยให้สามารถหาวิธีลดน้ำมูก และบรรเทาอาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นพร้อมกันได้อย่างตรงจุดยิ่งขึ้น [embed-health-tool-bmi] น้ำมูกใส เกิดจากอะไร น้ำมูกที่สีใส มักประกอบด้วยน้ำ แอนติบอดี โปรตีน และเกลือ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด เพราะเมื่อไวรัสเข้าสู่ร่างกายผ่านทางโพรงจมูก อาจกระตุ้นให้เยื่อบุจมูกอักเสบ จนมีน้ำมูกใส ๆ ไหลออกมา แต่น้ำมูกใสก็อาจเป็นสัญญาณของโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ได้เช่นกัน เนื่องจากเมื่อสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่น ละอองเกสร เข้าสู่โพรงจมูก อาจไปกระตุ้นให้มีการหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า ฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้ เช่น มีผื่นคัน เยื่อตาอักเสบ เยื่อบุจมูกอักเสบ จาม คัดจมูก รวมถึงกระตุ้นให้ต่อมสร้างน้ำมูกผลิตน้ำมูกใส ๆ […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ อาการ เป็นอย่างไร และควรรับมืออย่างไร

ไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) ในระบบทางเดินหายใจ เมื่อเป็น ไข้หวัดใหญ่ อาการ ที่มักพบ เช่น ไข้สูง น้ำมูกไหล ไอ จาม ปวดศีรษะ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ในบางรายอาจมีอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดธรรมดา แต่โดยปกติแล้วอาการของไข้หวัดใหญ่มักจะรุนแรงกว่า และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองให้มีสุขภาพแข็งแรงอยู่เสมอ และฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ ประจำปีอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรค หรือลดความรุนแรงของอาการได้ [embed-health-tool-heart-rate] ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ (Flu หรือ Influenza) เป็นการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซาที่ระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่จมูก ลำคอ ไปจนถึงปอด เมื่อเป็นแล้วอาจมีทั้งอาการไม่รุนแรงมาก เช่น ปวดศีรษะ มีน้ำมูก หนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว มีไข้สูง ไปจนถึงอาการที่รุนแรง เช่น หายใจลำบาก ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการไอหรือจาม หรือหากมือไปสัมผัสโดนสิ่งของต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสแล้วไปสัมผัสกับบริเวณใบหน้า ดวงตา ปาก หรือจมูก ก็อาจทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ ไข้หวัดใหญ่ อาการ […]


โรคทางเดินหายใจ

หายใจไม่เต็มปอด อาการ สาเหตุ และการรักษา

หายใจไม่เต็มปอด หมายถึง อาการหายใจลำบาก หายใจสั้น ๆ มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพและทางจิตใจ เช่น การสำลัก โรคปอด โรคหอบหืด หัวใจวาย ความวิตกกังวล อาการหายใจไม่เต็มปอดอาจทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จนทำให้รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก และแน่นหน้าอก การรักษาอาการหายใจไม่เต็มปอดอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ การเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง อาจสามารถช่วยป้องกันอาการหายใจไม่เต็มปอดได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ หายใจไม่เต็มปอด คืออะไร หายใจไม่เต็มปอด หายใจไม่อิ่ม หรือ หายใจไม่ทั่วท้อง หมายถึง อาการที่ไม่สามารถหายใจเข้าลึก ๆ ให้เต็มปอดได้ มีอาการหายใจสั้น หรือหายใจลำบาก จนทำให้รู้สึกอึดอัด หายใจไม่ออก สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง  โดยปกติคนเราจะมีอัตราการหายใจขณะพัก (อัตราการหายใจขณะผ่อนคลาย สงบ แต่ยังรู้ตัว) ประมาณ 10-15 ครั้ง/นาที หากมีการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง อาจทำให้อัตราการหายใจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ก็ไม่ควรมีอาการหายใจไม่เต็มปอด อาการหายใจไม่เต็มปอดมักจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคหอบหืด อาการแพ้ ภาวะหัวใจวาย ความวิตกกังวล หากสังเกตพบอาการหายใจไม่เต็มปอด […]


โรคทางเดินหายใจ

หวัดลงคอ อาการ สาเหตุ การรักษา

หวัดลงคอ เป็นอาการหนึ่งที่อาจเกิดจากไข้หวัด และปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ และทำให้ร่างกายผลิตน้ำมูกออกมา หากน้ำมูกตกค้างและไหลกลับลงคอ อาจนำไปสู่อาการหวัดลงคอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเสมหะอุดตัน คัดจมูก น้ำมูกไหล [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ หวัดลงคอ คืออะไร หวัดลงคอ คือ อาการที่เกิดจากการกระบวนการทำงานของร่างกาย ปกติกระเพาะอาหารและลำไส้จะผลิตสารคัดหลั่งขึ้นมาในทางเดินหายใจและลำคอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจและเพื่อช่วยดักจับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หากทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการติดเชื้อ ไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำมูกเยอะขึ้น ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป น้ำมูกอาจไหลกลับเข้าสู่ลำคอ กลายเป็นอาการหวัดลงคอได้ อาการ อาการหวัดลงคอ ผู้ป่วยที่มีอาการหวัดลงคอ สังเกตได้ดังนี้ อาการไอ และอาจไอบ่อยในช่วงกลางคืน เสียงแหบ เจ็บคอ รู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดอยู่ภายในลำคอ เสมหะอุดตัน อาการไม่สบายอื่น ๆ จากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เช่น คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล คันปาก คอ และหู สาเหตุ สาเหตุหวัดลงคอ สาเหตุที่ส่งผลให้หวัดลงคอ เกิดจากร่างกายผลิตสารคัดหลั่งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลำคอและในโพรงจมูก เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรียจากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาเพื่อขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ผ่านรูปแบบการไอ จาม […]


ไข้หวัด

อาการหนาวสั่น สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการหนาวสั่น เกิดจากการหดและคลายของกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตามธรรมชาติของร่างกาย หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อ ซึ่งอาการหนาวสั่นอาจมาพร้อมกับอาการไข้ หรือไม่มีไข้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [embed-health-tool-bmi] อาการหนาวสั่น คืออะไร อาการหนาวสั่น คือ การตอบสนองของกล้ามเนื้อในร่างกายที่หดและคลายตัว เพื่อเพิ่มอุณภูมิในร่างกายให้สูงและอบอุ่นขึ้น หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาการหนาวสั่นมักสังเกตได้จากอาการตัวสั่น ปากสั่นจนฟันกระทบ ขนลุก และอาจมาพร้อมกับ ไข้สูง หนาวสั่น แต่บางสาเหตุอาจไม่มีไข้ร่วมด้วย สาเหตุของ อาการหนาวสั่น อาการหนาวสั่น อาจส่งผลให้มีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคต่าง ๆ ได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น ซึ่งอาการหนาวสั่นจาการติดเชื้ออาจพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และโรคมาลาเรีย อาการที่พบได้ มักมีดังนี้ มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปากเป็นแผล หายใจถี่ คอแข็ง ปวดท้อง ท้องเสีย เจ็บปวดหรือแสบเมื่อปัสสาวะ มีจุดแดงบนผิวหนังและเจ็บปวด การติดเชื้อที่เกิดจากนิ่วในไต นิ่วในไต คือ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน