โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

เช็กอาการ ไวรัส RSV อันตรายอย่างไร ใครบ้างที่ควรระวัง

ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นไวรัสที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจที่พบได้บ่อยชนิดหนึ่ง และสามารถแพร่กระจายได้อย่างง่ายดายผ่านการไอหรือจาม โดยปกติแล้ว อาการ RSV มักจะไม่รุนแรงและมีอาการคล้ายกับไข้หวัด เช่น น้ำมูกไหล ไอ จาม แต่บางกลุ่มอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้เช่นกัน  เช็ก อาการ RSV อาการในทารก RSV เป็นไวรัสที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก โดยเด็กส่วนใหญ่ติด RSV อย่างน้อยหนึ่งครั้งก่อนอายุ 2 ปี โดยเฉพาะในเด็กที่อยู่ในศูนย์ดูแลเด็ก หรืออาจติดจากพี่น้องที่ไปโรงเรียนหรืออยู่ในศูนย์ดูแลเด็ก อาการ RSV ในเด็กทารก มีดังนี้ การหายใจเปลี่ยนแปลงไป หายใจไม่สะดวก หงุดหงิดง่าย งอแง เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมลดลง อาการ RSV ที่รุนแรงในเด็กทารก มีดังนี้ ไอ งอแงบ่อย อ่อนเพลียอย่างรุนแรง กินนมน้อยลง หรือไม่ยอมกินนม หายใจถี่ หายใจสั้น หายใจลำบากจนกล้ามเนื้อหน้าอกและผิวหนังยุบตัวขณะหายใจ อาการในผู้ใหญ่ อาการมักคล้ายหวัดทั่วไป โดยส่วนใหญ่เป็นอาการไม่รุนแรงและหายได้เอง อาการที่พบได้ทั่วไป ได้แก่ ไอแห้ง ๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ต่ำ ปวดหัว เจ็บคอ อ่อนเพลีย อาการในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุมักจะมีความเสี่ยงจากการติดเชื้อ […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคทางเดินหายใจ

หวัดลงคอ อาการ สาเหตุ การรักษา

หวัดลงคอ เป็นอาการหนึ่งที่อาจเกิดจากไข้หวัด และปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้าไปกระตุ้นให้เกิดการระคายเคืองในทางเดินหายใจ และทำให้ร่างกายผลิตน้ำมูกออกมา หากน้ำมูกตกค้างและไหลกลับลงคอ อาจนำไปสู่อาการหวัดลงคอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเสมหะอุดตัน คัดจมูก น้ำมูกไหล [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ หวัดลงคอ คืออะไร หวัดลงคอ คือ อาการที่เกิดจากการกระบวนการทำงานของร่างกาย ปกติกระเพาะอาหารและลำไส้จะผลิตสารคัดหลั่งขึ้นมาในทางเดินหายใจและลำคอ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในทางเดินหายใจและเพื่อช่วยดักจับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หากทางเดินหายใจเกิดการระคายเคืองเนื่องจากการติดเชื้อ ไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ และสารระคายเคือง ก็อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตน้ำมูกเยอะขึ้น ซึ่งหากมีปริมาณมากเกินไป น้ำมูกอาจไหลกลับเข้าสู่ลำคอ กลายเป็นอาการหวัดลงคอได้ อาการ อาการหวัดลงคอ ผู้ป่วยที่มีอาการหวัดลงคอ สังเกตได้ดังนี้ อาการไอ และอาจไอบ่อยในช่วงกลางคืน เสียงแหบ เจ็บคอ รู้สึกเหมือนมีบางอย่างติดอยู่ภายในลำคอ เสมหะอุดตัน อาการไม่สบายอื่น ๆ จากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เช่น คันตา น้ำตาไหล คัดจมูก น้ำมูกไหล คันปาก คอ และหู สาเหตุ สาเหตุหวัดลงคอ สาเหตุที่ส่งผลให้หวัดลงคอ เกิดจากร่างกายผลิตสารคัดหลั่งเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลำคอและในโพรงจมูก เพื่อดักจับสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรียจากไข้หวัด สารก่อภูมิแพ้ เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาเพื่อขจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ผ่านรูปแบบการไอ จาม […]


ไข้หวัด

อาการหนาวสั่น สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

อาการหนาวสั่น เกิดจากการหดและคลายของกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความอบอุ่นตามธรรมชาติของร่างกาย หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ต่อต้านการติดเชื้อ ซึ่งอาการหนาวสั่นอาจมาพร้อมกับอาการไข้ หรือไม่มีไข้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ [embed-health-tool-bmi] อาการหนาวสั่น คืออะไร อาการหนาวสั่น คือ การตอบสนองของกล้ามเนื้อในร่างกายที่หดและคลายตัว เพื่อเพิ่มอุณภูมิในร่างกายให้สูงและอบอุ่นขึ้น หรืออาจเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อโรคอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่อาการหนาวสั่นมักสังเกตได้จากอาการตัวสั่น ปากสั่นจนฟันกระทบ ขนลุก และอาจมาพร้อมกับ ไข้สูง หนาวสั่น แต่บางสาเหตุอาจไม่มีไข้ร่วมด้วย สาเหตุของ อาการหนาวสั่น อาการหนาวสั่น อาจส่งผลให้มีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่น ๆ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือเชื้อโรคอื่น ๆ อาจทำให้เกิดอาการหนาวสั่นได้ ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าทำลายเชื้อไวรัสก่อโรคต่าง ๆ ได้รวดเร็วและดียิ่งขึ้น ซึ่งอาการหนาวสั่นจาการติดเชื้ออาจพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคปอดอักเสบติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และโรคมาลาเรีย อาการที่พบได้ มักมีดังนี้ มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ปากเป็นแผล หายใจถี่ คอแข็ง ปวดท้อง ท้องเสีย เจ็บปวดหรือแสบเมื่อปัสสาวะ มีจุดแดงบนผิวหนังและเจ็บปวด การติดเชื้อที่เกิดจากนิ่วในไต นิ่วในไต คือ […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ควรรู้

ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคทางเดินหายใจที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สามารถแพร่กระจายติดต่อผ่านการสัมผัสกับละอองสารคัดหลั่งจากการไอ จาม หรือสูดลมหายใจนำอากาศที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย จนนำไปสู่การล้มป่วย ผู้ที่เป็นไข้หวัดใหญ่อาจรักษาให้หายเองได้ แต่สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คำจำกัดความ ไข้หวัดใหญ่ คืออะไร ไข้หวัดใหญ่ คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza) เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ เช่น จมูก คอ และอาจลุกลามลงไปยังปอด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย แต่อาจพบได้บ่อยในทารก เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุ สตรีตั้งครรภ์ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีประวัติโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต  ไวรัสไข้หวัดใหญ่แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ (Influenza A) เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงและอาจแพร่เชื้อได้ในวงกว้างทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก โดยอาจจำแนกได้จากไกลโคโปรตีนรอบเชื้อไวรัส ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) บนเซลล์ของร่างกาย ส่งผลให้เชื้อเข้าสู่เซลล์ได้โดยตรง […]


ไข้หวัด

สมุนไพรแก้หวัด ที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ตัว

ไข้หวัด เป็นโรคทั่วไปที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำปฏิกิริยากับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย จึงส่งผลให้มีไข้ หนาวสั่น คัดจมูก ไอ และปวดกล้ามเนื้อ วิธีรักษาคือการดูแลตนเอง ดื่มน้ำให้มาก ๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนั้น ยังมีการใช้ สมุนไพรแก้หวัด ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้ อย่างไรก็ดี ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้สมุนไพรแก้หวัด เพื่อป้องกันผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] สมุนไพรแก้หวัด มีอะไรบ้าง สมุนไพรแก้หวัด ที่อาจช่วยบรรเทาอาการ และหาได้ใกล้ตัว มีดังต่อไปนี้ ฟ้าทะลายโจร ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรที่อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นด่านแรกในร่างกายที่ต้องเผชิญกับไวรัส หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ ฟ้าทะลายโจรยังอาจช่วยกระตุ้นให้ม้ามผลิตลิมโฟไซต์ หรือเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีบทบาทสำคัญในการต้านเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคหวัด รวมทั้งอาจช่วยบรรเทาอาการคัดจมูก หรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ งานวิจัยชิ้นหนึ่ง  ศึกษาเกี่ยวกับ การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจในเด็กและผู้ใหญ่ เผยแพร่ในวารสาร PLoS One พ.ศ. 2560 ระบุว่า ฟ้ะลายโจร มีประโยชน์และปลอดภัยต่อการใช้บรรเทาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเป็นสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนช่วยให้ใช้ยาฆ่าเชื้อเพื่อบรรเทาอาการติดเชื้อในจำนวนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เด็ก สตรีมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร ผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง ผู้มีภาวะเลือดออกผิดปกติ และผู้ที่วางแผนเข้ารับการผ่าตัด ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจรในระยะยาว และควรระวังผลข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ น้ำมูกไหล มีผื่น อาเจียน […]


โรคทางเดินหายใจ

พังผืดในปอด

พังผืดในปอด หมายถึง แผลเป็นภายในปอดที่เริ่มแข็งตัวขึ้นจนก่อให้เกิดพังผืด โดยอาจมีระดับความรุนแรงของอาการต่างกันตามแต่ละบุคคล หากพบว่า มีอาการหายใจถี่อย่างรุนแรงเป็นเวลาหลายวัน ควรรีบเข้ารับการรักษาก่อนระบบทางเดินหายใจเสียหาย คำจำกัดความพังผืดในปอด คืออะไร พังผืดในปอด คือ โรคปอดที่เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อของปอดได้รับความเสียหาย จนเกิดแผลภายในปอด หากปล่อยทิ้งเนื้อเยื่อโดยรอบอาจเริ่มแข็งตัวเป็นพังผืด ซึ่งอาจส่งผลให้ปอดมีขนาดเล็กลง นำไปสู่อาการหายใจลำบาก และทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง อาการอาการของพังผืดในปอด อาการของพังผืดในปอดที่พบได้บ่อย มีดังนี้ หายใจลำบาก หายใจตื้น โดยเฉพาะขณะทำกิจกรรม หรือใช้แรงมาก ไอแห้งเรื้อรัง ไม่มีเสมหะ เหนื่อยล้า อ่อนแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ และข้อต่อ ความอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลง นิ้วปุ้ม หรืออาการปลายนิ้วมือนิ้วเท้าขยายตัวออกจนมีลักษณะคล้ายไม้กระบอง สาเหตุสาเหตุของ พังผืดในปอด สาเหตุที่ทำให้เกิดแผลในปอด จนกลายเป็นพังผืด อาจมาจากโรคเรื้อรังต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคปอดบวม กล้ามเนื้ออักเสบ โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันแบบผสม (Mixed connective tissue disease) โรคซาร์คอยโดซิส โรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ มลภาวะทางอากาศ การรักษาโรคด้วยรังสี และยาบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของพังผืดในปอด ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เกิดพังผืดภายในปอด อาจมีดังต่อไปนี้ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นละออง ฝุ่นจากโลหะ สารซิลิกอน แร่ใยหิน ละอองจากถ่านหิน มูลสัตว์ ผลจากการรักษาโรคด้วยรังสีและยา เช่น เคมีบำบัด ยากำจัดเซลล์มะเร็ง ยารักษาโรคหัวใจ ยาต้านการอักเสบ ยาปฏิชีวนะบางชนิด ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการสูบบุหรี่ และอาชีพที่พบสารเคมีเป็นประจำ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยพังผืดในปอด คุณหมออาจซักถามประวัติเกี่ยวกับโรคประจำตัว และอาการที่เป็น จากนั้นก็อาจตรวจการทำงานของปอดขณะหายใจโดยใช้อุปกรณ์ การฟังเสียงทางการแพทย์ […]


โรคหอบหืด

5 สารอาหาร มีประโยชน์ สำหรับผู้ป่วย โรคหอบหืด

โรคหอบหืด มีสาเหตุมาจากสารระคายเคืองต่าง ๆ เข้าไปยังช่องทางเดินหายใจส่งผลให้เกิดภูมิแพ้ มีการผลิตน้ำมูกเพิ่มในปริมาณมากจนอุดตัน หายใจลำบาก เพื่อช่วยบรรเทาอาการของหอบหืดลง ควรหมั่นดูแลตนเอง และเลือกรับประทาน สารอาหาร ที่เหมาะสม สารอาหาร สำหรับผู้ป่วย โรคหอบหืด จากหลักฐานการศึกษาพบว่าผู้ที่รับประทานอาหาร หรือวิตามิน ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยให้บรรเทาอาการของโรคหอบหืดลง และปกป้องเซลล์ที่ได้รับความเสียหาย ที่สำคัญการที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ดีเพียงพอต่อวัน อาจทำให้ร่างกายสามารถสู้กับเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจก่อนจะเกิดอาการของ หอบหืด ในระดับรุนแรงขึ้น สารอาหารที่อาจเหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด มีดังนี้ โคลีน (Choline) โคลีน เป็นสารอาหารที่คล้ายกับวิตามินบี โดยจะพบได้ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว ผัก และไข่ อีกทั้งยังมีส่วนช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดี ลดอาการบวมอักเสบ นอกจากในรูปแบบของอาหาร โคลีนยังเป็นส่วนประกอบที่นำมาใช้ทำเป็นยาพ่นผ่านช่องปาก ขยายหลอดลม และบรรเทาอาการที่ผู้ป่วยโรคหอบหืดเป็นได้ อย่างไรก็ตามโคลีนยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรปรึกษาหมอก่อนรับประทาน แมกนีเซียม (Magnesium) แมกนีเซียม คือแร่ธาตุที่สำคัญมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกในร่างกายให้แข็งแรง แต่นอกจากจะช่วยบำรุงกระดูก แมกนีเซียมยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลอดลมผ่อนคลาย ขยายทางเดินหายใจให้อากาศไหลเข้า และไหลออกจากปอดได้สะดวกขึ้น อีกทั้งยังอาจช่วยบรรเทาอาการหอบหืดเฉียบพลันได้ และอาจปลอดภัยสำหรับผู้ที่รับประทานในปริมาณน้อยกว่า 350 มิลลิกรัมต่อวัน ถึงอย่างไรควรคำนึงถึงผลข้างเคียงที่อาจตามมาร่วม เช่น อาการท้องร่วง […]


โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Pneumonia)

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย หรือโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย เป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฝีในปอด หายใจลำบาก รวมถึงเกิดการสะสมของแบคทีเรียภายในกระแสเลือดจนลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คำจำกัดความโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คืออะไร โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คือการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดมีชื่อเรียกว่านิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) หากพื้นฐานสุขภาพค่อนข้างแข็งแรงเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวนี้อาจจะอยู่เพียงบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือลำคอ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงใด ๆ แต่หากผู้ที่ได้รับเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ แบคทีเรียก็อาจลงไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือบริเวณปอดได้ อาการอาการของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ตามที่สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Lung Association) ได้ระบุอาการทั่วไปของโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ได้แก่ มีไข้สูง หนาวสั่น อาการไอ และเสมหะสีเหลือง สีเขียว หรือเสมหะปะปนกับเลือด รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ ความอยากอาหารลดลง หรือเบื่ออาหาร หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวบ่อย ๆ เจ็บหน้าอกรุนแรง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการไอร่วม อาการข้างต้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ระบุเพิ่มเติมว่าทารก และเด็กช่วงวัยหัดเดินอาจมีอาการร้องไห้กว่าปกติ มีสีผิวที่ซีด หากพบอาการดังกล่าวควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที เพื่อความปลอดภัย สาเหตุสาเหตุของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ เนื่องจากปอดมีการติดเชื้อแบคทีเรียส่งผลให้ถุงลมในปอดเกิดการติดเชื้อ จนได้รับความเสียหายทำให้การทำงานของปอด และถุงลมผิดปกติ จนกระทบต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย   ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย […]


ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A แตกต่างจาก ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B อย่างไร

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B เป็นสายพันธุ์ที่พบบ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทุกช่วงวัย แต่อาจพบมากและมีอาการรุนแรงในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี บุคคลที่มีประวัติเป็นโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป และสตรีตั้งครรภ์ ดังนั้น จึงควรศึกษาความแตกต่างระหว่างไข้หวัดใหญ่ทั้ง 2 สายพันธุ์ รวมถึงอาการและวิธีการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] ความแตกต่างของ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A และ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีความแตกต่างกัน คือ โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เป็นสายพันธุ์ที่รุนแรงมากกว่า สามารถกลายพันธุ์และก่อให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง และสามารถก่อให้เกิดการแพร่เชื้อได้ทั้งในคน และในสัตว์ เช่น หมู นก เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ ยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อย โดยตรวจได้จากไกลโคโปรตีนรอบของเชื้อไวรัส (Surface glycoprotein) ซึ่งประกอบด้วย ฮีแมกกูตินิน (Hemagglutinin : H) ซึ่งมีทำหน้าที่ในการจับกับตัวรับ (Receptor) […]


โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema)

โรคถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นภาวะหนึ่งที่อาจนำพาไปสู่เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากมาย เช่น ปอดยุบตัว เกิดรูขนาดใหญ่ในปอด เพิ่มความดันในหลอดเลือดแดงของหัวใจและปอดเพิ่มมากขึ้น หากไม่เข้ารีบรักษาอาจหายใจลำบาก ไอเรื้อรัง รวมไปถึงสุขภาพทางเดินหายใจเสียหายอย่างหนักได้ คำจำกัดความโรคถุงลมโป่งพอง คืออะไร โรคถุงลมโป่งพอง คือหนึ่งในโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) โดยโดยจะส่งผลให้ถุงลมเสียความยืดหยุ่น อาจทำให้เยื่อบุของถุงลมได้รับความเสียหาย และแตกตัวออกจนเกิดช่องว่างภายใน ทำให้ปอดมีการแลกเปลี่ยนออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้น้อยลง และขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้ยากขึ้น อาการอาการของ โรคถุงลมโป่งพอง อาการของ ถุงลมโป่งพอง มักแตกต่างกันออกไป โดยอาการที่พบบ่อยที่สุด มีดังนี้ ไอบ่อยและต่อเนื่อง หายใจตื้น มีเสมหะปริมาณมาก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ในรายที่มีอาการเรื้อรัง อาจมีอาการดังต่อไปนี้ หายใจมีเสียงหวีด ปอดติดเชื้อ น้ำหนักลดลงจากอาการไม่อยากอาหาร หรือเบื่ออาหาร รู้สึกเหนื่อยล้าง่าย ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีซีดเนื่องจากขาดออกซิเจน สาเหตุสาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง สาเหตุที่ทำให้ ถุงลมโป่งพอง และเกิดการระคายเคืองในช่องทางเดินหายใจเป็นเวลานาน มีดังต่อไปนี้ การสูบบุหรี่ หรือสูดดมควันบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ฝุ่น สารเคมี ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของโรคถุงลมโป่งพอง แม้ว่าความเสียหายของถุงลมจะเกิดจากภาวะต่าง ๆ รอบตัว และบางคนอาจไม่เผยอาการใด ๆ แต่จะมีอาการชัดขึ้นในอายุ 40-60 ปี หรือเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุ และอาการจะมีการพัฒนาที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน และรุนแรงมากขึ้นตามมา โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมาแทบทั้งชีวิต อีกทั้งการที่ร่างกายขาดเอนไซม์ Alpha 1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นโปรตีนในเม็ดเลือดโดยมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำลายเนื้อเยื่อ ก็อาจนำไปสู่การทำลายปอดได้ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง การวินิจฉัยโรคถุงลมโป่งพอง ที่คุณหมอใช้ เพื่อประเมินหาสาเหตุก่อนการรักษา มีดังนี้ การเอกซเรย์ด้วยคอมพิวเตอร์ […]


โรคหอบหืด

ผู้ป่วย โรคหอบหืด สามารถฉีด วัคซีนโควิด-19 ได้หรือไม่

โรคหอบหืด (Asthma) เป็นหนึ่งในโรคทางเดินหายใจ ที่มีสาเหตุมาจากการระคายเคืองของสารก่อภูมิแพ้ จนก่อให้เกิดมีอาการหอบหืดขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น หลอดลมตีบ ปอดบวม และปอดหยุดการทำงานได้ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีมีการระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง ผู้เป็นโรคหอบหืด จึงควรระมัดระวังตนเอง และเข้ารับการฉีด วัคซีนโควิด-19 ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันจากเชื้อไวรัส ป้องกันการเกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง หรือเสียชีวิตได้ ความเชื่อมโยงของ โรคหอบหืด และ โควิด-19 หอบหืด เป็นโรคที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน ได้แก่ รูจมูก โพรงจมูก ปาก คอ กล่องเสียง และระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ได้แก่ หลอดลม หลอดลมภายในปอด หลอดลมฝอย ถุงลม ปอด เนื่องจากบางคนอาจได้มีการติดเชื้อจากไวรัส จนทำให้มีอาการแน่นหน้าอก และหายใจลำบาก ผู้ป่วยโรคหอบหืด ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ดังนั้น เมื่อมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้ป่วยโรคหอบหืดอาจได้รับความเสี่ยงในการติดเชื้อและกระตุ้นอาการหอบหืดในระดับรุนแรงขึ้น ตามข้อมูลของวารสารสมาคมการแพทย์แห่งประเทศแคนนาดา แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดในระดับปานกลาง และรุนแรง อาจส่งผลให้มีอาการหอบหืดที่แย่ลงในระหว่างการติดเชื้อโควิด-19 ถึงอย่างไรความสัมพันธ์ของระหว่างทั้ง 2 โรค อาจต้องทำการศึกษาต่อไปว่าจะส่งผลเสียต่อสุขภาพมากน้อยเพียงใด […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน