โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดไหม และฉีดเมื่อไหร่ดี

ไข้หวัดใหญ่ เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสที่บริเวณทางเดินหายใจ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ในกลุ่มเสี่ยงบางกลุ่ม แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี แต่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดไหม และ ฉีดก่อนครบปีได้ไหม หาคำตอบได้ในบทความนี้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดไหม วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ในช่วงก่อนฤดูการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ เนื่องจากเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่นั้นมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ทุกปี อีกทั้งภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ก็ยังจะลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปีเพื่อช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพสูงในการต่อสู้กับไวรัสที่ก่อให้เกิดไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ในปัจจุบัน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ที่ใช้ในประเภทไทยจะเป็นชนิด วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ซึ่งครอบคลุมไวรัส 4 สายพันธุ์ ได้แก่ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A/H1N1         ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A/H3N2     ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Victoria  ไวรัสไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ B ตระกูล Yamagata วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2025 ควรฉีดเมื่อไหร่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 เข็ม โดยปกติ แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วง […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ฟื้นฟูสุขภาพปอด ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ส่วนหนึ่งอาจมาจากผลข้างเคียงจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเทคนิค การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดซ้ำ มาฝากกัน อาการของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรเร่งรักษา อาการทั่วไปของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในระดับเบา เช่น อาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก และไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ แต่เมื่อใดที่มีอาการรุนแรงกำเริบ สิ่งสำคัญที่คุณควรทำ คือ เร่งเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพราะหากชะล่าใจมากจนเกินไป อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ อาการรุนแรงของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ อาการวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก มีไข้ ปวดขาโดยเฉพาะช่วงน่องขา ที่เกิดลิ่มเลือด ขาบวม สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน ช็อก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิต การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ก่อนข้างวินิจฉัยได้ยากในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ และโรคปอด แต่ถึงอย่างไรหากคุณมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการไอเป็นเลือด อาจต้องเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโวยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้ การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดของคุณด้วยการหาค่า D-dimer และออกซิเจนในเลือด เอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจที่สามารถแสดงถึงภาพของหัวใจ และปอดบนแผ่นฟิล์ม ถึงแม้จะวินิจฉัย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ไม่ได้มาก แต่อาจเผยให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดลิ่มเลือดได้ อัลตราซาวด์ด้วยคลื่นเสียง (Duplex Ultrasonography) คือ เครื่องมือที่แพทย์จะนำอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปมาบนผิวหนัง เพื่อให้คลื่นเสียงสะท้อนเป็นตัวแปรในการสร้างภาพเคลื่อนไหวออกมา โดยจะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดกว่าเดิม ซีทีแสกน (CT […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรรู้ เพื่อรับมือในการป้องกัน

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นโรคที่ทำให้เกิดการอุดตันภายในหลอดเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนไม่สามารถไปถึงภายในปอด ทั้งยังทำให้การไหลเวียนของเลือดเกิดความผิดปกติ ดังนั้น หากคุณได้ทราบถึง ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ซึ่งโรคนี้อาจจะมีผลอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต คุณจะได้สังเกตตัวเองและพยายามหลีกเลี่ยงจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ได้นำปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดมาฝากกัน สาเหตุของการเกิด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด อาจเป็นผลมาจากสิ่งแปลกปลอมที่มีอนุภาคขนาดเล็กเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงผู้ป่วยที่มีการนอนพักฟื้นเป็นเวลานานหลังการผ่าตัด เพราะการที่คุณไม่มีการเคลื่อนไหวใด ๆ อาจทำให้เลือดไหลเวียนช้าลงจนเลือดสะสมก่อให้เกิดปฏิกิริยาทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน หรือลิ่มเลือดขึ้น ส่วนใหญ่ลิ่มเลือดที่พบได้มากจะเริ่มจากบริเวณหลอดเลือดดำส่วนแขนและขา แล้วค่อยเคลื่อนที่เข้าสู่ปอด เรียกได้ว่า เป็นโรคที่อันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว เพราะลิ่มเลือดจะขวางการไหลเวียนของเลือดไม่สามารถนำส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และปอดได้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีอะไรบ้าง บุคคลที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น อาจมีแนวโน้มที่จะเป็น โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ได้ โดยเฉพาะช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป อีกทั้งผู้ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ก็สามารถเสี่ยงต่อการเป็นลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดได้เช่นเดียวกัน โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด โรคลำไส้อักเสบบางชนิด โรคอ้วน อีกทั้งหากบุคคลใดที่กำลังรับประทานยาคุมกำเนิด รักษาโรคหัวใจด้วยการใส่สายสวน และเครื่องตุ้นหัวใจ พร้อมกับกำลังตั้งครรภ์ในช่วง 6 สัปดาห์ เป็นไปได้ว่าอาจส่งผลให้หลอดเลือดแดงมีขนาดที่แคบลง หรือหลอดเลือดได้รับความเสียหาย ที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดขึ้น แนวทางการป้องกันโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกัน โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ควรเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคุณ ดังนี้ เพื่อลดโอกาสที่จะทำให้ลิ่มเลือดก่อตัวขึ้น การออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย อย่างที่ทราบกันดีเมื่อคุณอยู่กับที่เป็นเวลานานจนเกินไป อาจทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี […]


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ทำความรู้จักกับ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) กันเถอะ

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจโดยตรง และแน่นอนว่าหากคุณไม่อยากให้ระบบทางเดินหายใจของตนเองพังลง การทราบถึงข้อมูล สาเหตุ อาการ การรักษา ไว้เบื้องต้น อาจช่วยให้คุณห่างไกล หรือรู้จักป้องกันตนเองจากหลอดลมอักเสบเรื้อรังได้ดีมากยิ่งขึ้น คำจำกัดความหลอดลมอักเสบเรื้อรัง คืออะไร หลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic Bronchitis) คือ การอักเสบของท่อหายใจ หรือหลอดลม จนส่งผลกระตุ้นในการผลิตเสมหะปริมาณมาก และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปในระยะยาวอย่างน้อย 3 เดือน หรือนานกว่า 2 ปี ด้วยกัน อีกทั้งบางคนอาจเกิดการติดเชื้อลงปอดได้ด้วย หากยังมีอาการที่ไม่ดีขึ้น หากเป็นเช่นนั้นก็อาจจะทำให้อาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โรคลอดลมอักเสบเรื้อรัง สามารถพบบ่อยได้เพียงใด ส่วนใหญ่ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป พร้อมกับมีประวัติป่วยเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน อาการอาการ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อาการทั่วไปของ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณสามารถสังเกตได้ง่าย มีดังนี้ อาการไอ และมีเสมหะ หายใจเสียงดังหืด ๆ แน่นหน้าอก หายใจถี่ โดยเฉพาะขณะที่คุณมีการใช้แรงกายหนัก เช่น การออกกำลังกาย รู้สึกเหนื่อยง่าย แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ อย่าง อาการเจ็บคอ เมื่อยกล้ามเนื้อ ไข้ขึ้น เท้าบวม สีผิวเปลี่ยนสี และอาการปวดหัว ร่วมด้วย สาเหตุสาเหตุหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไม่ได้มาจากเชื้อไวรัส […]


โรคทางเดินหายใจ

สมุนไพรบำรุงปอด พืชพันธุ์พื้นบ้านใกล้ตัว ที่คุณสามารถหาได้ง่าย ๆ

เนื่องจากปอดเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญภายในร่างกาย ที่ควรได้รับการดูแล ไม่ต่างจากอวัยวะอื่น ๆ ทั้งภายใน และภายนอก วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำ สมุนไพรบำรุงปอด ใกล้ตัว ที่หาซื้อได้ง่าย ๆ มาฝากทุกคนให้ลองพิจารณา หรือเลือกบริโภค แต่แนะนำว่า ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานนะคะ ว่าแต่สมุนไพรบำรุงปอดที่ว่าจะมีอะไรบ้าง เราไปหาคำตอบกันเลยดีกว่าค่ะ ปอด มีความสำคัญอย่างไร ปอด เป็นหนึ่งในอวัยวะสำคัญของร่างกาย มีหน้าที่ในการนำอากาศที่เราสูดเข้าไป แลกเปลี่ยนเป็นก๊าซออกซิเจนนำเข้าสู่กระแสเลือดให้ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปขณะที่เราหายใจออก นอกจากนี้ ปอดยังมีบทบาทการทำงานที่สำคัญอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เราอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน ได้แก่ คงความสมดุลของค่า pH หากตรวจปอดแล้วพบว่า ในร่างกายมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น หรือได้รับคาร์บอนไดออกไซด์มากเกินไป ปอดจะเร่งทำหน้าที่เพิ่มการระบายอากาศ เพื่อขับก๊าซเหล่านี้ออกไปได้มากที่สุด ป้องกันการติดเชื้อ เยื่อหุ้มบางส่วนของปอดจะหลั่งอิมมูโนโกลบูลินเอ (IgA) ที่จะช่วยป้องกันให้ปอดห่างไกลจากการติดเชื้อบางชนิด เพิ่มปริมาณเลือด ปอดสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณของเลือดในช่วงที่คุณออกกำลังกายได้ โดยจะเพิ่มปริมาณเลือดได้ตั้งแต่ 500-1,000 มล. ที่สำคัญยังมีความเชื่อมโยงกับสุขภาพหัวใจที่อาจทำให้ระบบการทำงานของหัวใจมีประสิทธิภาพมากขึ้น สมุนไพรบำรุงปอด ใกล้ตัว มีอะไรบ้าง ก่อนการรับประทานสมุนไพรเพื่อบำรุงปอดเหล่านี้ คุณควรทำการศึกษาถึงข้อดี ข้อเสีย และเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เสียก่อน เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดอาจส่งผลให้คุณเกิดอาการแพ้ หรือปฏิกิริยารุนแรงได้ 1. กระเทียม ในกระเทียมมีสารประกอบจากธรรมชาติที่ชื่อว่า อัลลิซิน (Allicin) ที่มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อแบคทีเรีย นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่ากระเทียมนั้นสามารถต้านเชื้อไวรัสโดยการปิดกั้นไม่ให้เชื้อเข้าสู่เซลล์ […]


ปัญหาระบบทางเดินหายใจแบบอื่น

วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส ก่อนเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

โรคซาร์คอยโดซิส เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันทำงานอ่อนแอลง จนส่งผลให้เกิดการอักเสบขึ้น ที่สำคัญยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาได้อีกด้วย ดังนั้น วันนี้ บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ วิธีรักษาโรคซาร์คอยโดซิส พร้อมภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เพื่อให้คุณตระหนัก และหันมาดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น ก่อนจะต้องทนอยู่กับโรคดังกล่าวอย่างทรมานตลอดชีวิต ภาวะแทรกซ้อนจาก โรคซาร์คอยโดซิส  โรคซาร์คอยโดซิส ที่เกิดจากกลุ่มการรวมตัวก่อให้เกิดเซลล์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพิ่มความเสี่ยงโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา แต่โรคนี้ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในของคุณได้อีกด้วย ดังนี้ ทำลายปอด เนื่องจากกลุ่มเซลล์อักเสบสามารถทำให้รอบ ๆ ปอด หรือปอดของคุณมีพังผืดติดเกาะ ส่งผลให้หายใจลำบาก ทั้งยังทำให้ความดันในปอดเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย สุขภาพตาเสื่อมสภาพ การอักเสบที่เกิดขึ้นกับดวงตาของคุณ อาจทำให้เรตินาในดวงตาเสียหาย จนเข้าสู่ภาวะต้อกระจก ต้อหิน หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด การทำงานของหัวใจผิดปกติ หากกลุ่มเซลล์อักเสบพัฒนาตัวเป็นโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมาแล้ว อาจเข้าไปขวางระบบการไหลเวียนของเลือด และการเต้นของหัวใจ จนสามารถส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หรือเสียชีวิตได้ ทำลายระบบประสาท ถึงจะมีผู้ป่วยส่วนน้อยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ แต่คุณก็ประมาทไม่ได้ เพราะหากเซลล์อักเสบ จนส่งผลให้สมองอักเสบตามไปด้วย ก็อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณได้รับผลกระทบที่รุนแรงตามมา เช่น อัมพาต ใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคซาร์คอยโดซิส ส่วนใหญ่ผู้ที่มักเป็น โรคซาร์คอยโดซิส มักอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 20-40 ปี รวมถึงผู้ที่มีเชื้อสายแอฟริกัน หรือยุโรป แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกชาติพันธุ์ หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติของสภาวะ โรคซาร์คอยโดซิส […]


โรคหอบหืด

โรคหอบหืดตอนกลางคืน มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง ที่คุณควรสังเกต

หากขณะที่คุณกำลังนอนพักผ่อนอย่างสบายอารมณ์ในยามดึก จู่ ๆ กลับมาอาการหายใจไม่ออกแทรกขึ้นมา จนขัดขวางการนอนหลับของคุณ นั่งอาจเป็นสัญญาณของ โรคหอบหืดตอนกลางคืน ได้ แต่นอกจากอาการหายใจไม่ออกแล้ว จะมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ อย่างไรอีกบ้างนั้น ติดตามในบทความ Hello คุณหมอ นี้ไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ โรคหอบหืดตอนกลางคืน คืออะไร หอบหืดตอนกลางคืน (Nighttime Asthma) เป็นภาวะที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจอักเสบ เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ และปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิที่หนาวเย็น ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรืออาจเป็นอาการของผู้เป็น โรคหอบหืด มาแต่เดิม โรคหอบหืดในตอนกลางคืนนี้จะส่งผลเสียต่อการทำงานของปอด และทำให้ประสิทธิภาพการนอนหลับของคุณแย่ลง ทำให้มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ และอ่อนแรงในยามเช้า มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า หนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วย โรคหอบหืด อาจความเกี่ยวข้องกับหอบหืดตอนกลางคืน เนื่องจากโรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากในขณะนอนหลับ จนสุดท้ายก็อาจหยุดหายใจขณะหลับได้โดยไม่รู้ตัว สัญญาณเตือนของโรคหอบหืดตอนกลางคืน อาการของโรคหอบหืดตอนกลางคืน เหล่านี้ อาจคล้ายคลึงกับ โรคหอบหืด ทั่วไป แต่อาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ช่วงยามดึก อาการไอ หายใจไม่ออก หายใจถี่ เจ็บหน้าอก แต่หากมีสัญญาณ เช่น อาการละเมอ หยุดหายใจขณะหลับ และรู้สึกถึงพฤติกกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ ที่ต่างจากเดิม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที เพื่อให้แพทย์หาวิธีรักษาอย่างเหมาะสมลำดับถัดไป วิธีป้องกันการเกิดโรคหอบหืดตอนกลางคืน นอกจากรับประทานยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์กำหนดแล้ว […]


โรคถุงลมโป่งพอง

5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง

คนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ เพียงอย่างเดียว แต่แท้จริงแล้ว ยังมีอีกหลาย พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูกันว่า โรคถุงลมโป่งพองเกิดจากสาเหตุและปัจจัยใดบ้าง เราจะได้ป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) คืออะไร ถุงลมโป่งพอง (Emphysema) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) เกิดจากการอักเสบบริเวณถุงลมปอด  ผนังด้านในถุงลมจึงอ่อนตัวและแตกออกกลายเป็นถุงลมขนาดใหญ่แทนที่จะเป็นถุงลมขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ทำให้ปอดแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากร่างกายได้น้อยลง หรือมีปริมาณออกซิเจนค้างอยู่ในปอดมากกว่าปกติ  อย่างไรก็ตาม โรคถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก หายใจถี่ และอาการไอ เป็นต้น  5 พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง  พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง มีดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่  บุหรี่เป็นสาเหตุหลักของโรคถุงลมโป่งพอง อายุ โดยส่วนใหญ๋มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี  การสัมผัสกับควันบุหรี่ การสัมผัสหรือสูดดมควันบุหรี่ (โดยที่ไม่สูบบุหรี่เอง) อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคถุงลมโป่งพอง สูดดมควันและฝุ่นละออง  หากเราหายใจเอาควันและฝุ่นละออง  เช่น ฝุ่นละอองจากเมล็ดฝ้าย หรือสารเคมีในเหมืองแร่ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพองได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป การสัมผัสกับมลภาวะในที่ร่มและกลางแจ้ง การหายใจเอามลพิษ เช่น ควันจากเชื้อเพลิง ควันจากท่อไอเสียรถ อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง สัญญาณเตือนโรคถุงลมโป่งพอง    โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอ […]


โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง

4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง เป็นหนึ่งในโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่อาจทำให้ปอดเสียหายได้ เราลองมาเช็กกันดูดีกว่าค่ะว่า คุณมี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือไม่ หากมี จะได้รีบได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้อย่างทันท่วงที ว่าแต่พฤติกรรมเสี่ยงเกิดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 4 พฤติกรรมที่ว่าจะมีอะไรบ้าง แล้วคุณจะลดความเสี่ยงโรคนี้ได้อย่างไร Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณแล้วค่ะ 4 พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากระบบทางเดินหายใจและปอดเกิดการระคายเคืองติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ทำให้มีเสลด และเกิดอาการไอเรื้อรังต่อเนื่อง (ไอทุกวัน ติดต่อกัน 3 เดือนขึ้นไป) และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โรคนี้มักพบในผู้ที่มี พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ดังต่อไปนี้ สูบบุหรี่หรือสูดดมควันบุหรี่บ่อย ๆ การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่สูบบุหรี่หรืออยู่ร่วมกับผู้ที่สูบบุหรี่บ่อย ๆ มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง 90% โดยส่วนใหญ่มักพบในเพศชายที่มีอายุระหว่าง 44-65 ปี  มีภูมิต้านทานโรคต่ำ ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยบ่อย เช่น ไข้หวัด หรือจากภาวะเรื้อรังต่าง […]


โรคปอดบวม

ประเภทของโรคปอดบวม และภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่ควรระวัง

เนื่องจากปอดเป็นอวัยวะภายในสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โดยการช่วยแปรเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซออกซิเจน เพื่อลำเลียงนำก๊าซบริสุทธิ์เข้าสู่เลือด แต่เมื่อใดที่ปอดคุณเกิดทำงานผิดปกติ หรือเสี่ยงเข้าสู่ โรคปอดบวม ต้องพึงระวังไว้ให้ดี เพราะโรคปอดบวมนี้ยังถูกแบ่งออกได้อีกหลายประเภทด้วยกัน แต่จะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอกันค่ะ โรคปอดบวมส่งผลให้เกิด ภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง ส่วนใหญ่ผู้ที่เป็น โรคปอดบวม มักตอบสนองต่อการรักษาได้ดี แต่หากเป็นกรณีที่มีความรุนแรงมากนัก นอกจากจะเจ็บปวดกับอาการที่เกิดขึ้นแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกด้วย ดังนี้ ระบบหายใจล้มเหลว เมื่อปอดของคุณอักเสบ และบวมขึ้นอาจส่งผลเสียต่อระบบหายใจทำให้คุณหายใจลำบากได้ บางกรณีแพทย์จึงจำเป็นต้องมีการใส่เครื่องช่วยหายใจร่วม ฝีในปอด ฝีที่เกิดขึ้นอาจมีหนองอยู่บริเวณรอบ ๆ ปอดร่วมด้วย เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมแพทย์มักนิยมใช้ยาปฏิชีวนะในระยะแรก หากร่างกายคุณยังไม่มีการตอบสนอง ก็อาจต้องใช้วิธีผ่าตัด เพื่อทำการระบายหนองออก ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เมื่อแบคทีเรียจากปอดเข้าสู่กระแสเลือด อาจทำให้เชื้อเหล่านี้ถูกแพร่กระจายเข้าไปทำลายยังส่วนต่าง ๆ จนอาจทำให้ระบบการทำงานอื่น ๆ นั้น เกิดล้มเหลวไปด้วยได้ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ โรคปอดบวมสามารถส่งผลให้มีการสะสมของเหลวในระหว่างเนื้อเยื่อ จนเสี่ยงต่อการติดเชื้อขึ้น และจำเป็นต้องทำการผ่าตัดออกอย่างเร่งด่วน เพื่อความปลอดภัย 5 ประเภทของโรคปอดบวม ที่ควรรู้ไว้ การจำแนก ประเภทของโรคปอดบวม ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่คุณนั้นเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อมาก รวมไปถึงการมีเชื้อแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดเข้าสู่ทางเดินหายใจ โดยสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ 1.โรคปอดบวมที่ได้รับจากโรงพยาบาล โดยคุณอาจได้รับเชื้อแบคทีเรียในช่วงระหว่างการรักษาตัว และอาจได้รับจากอุปกรณ์การรักา เช่น เครื่องช่วยหายใจ 2.โรคปอดบวมที่เกิดจากชุมชน เนื่องจากชุมชนที่คุณพักอาศัย อาจมีแบคทีเรีย ไวรัส จำนวนมาก เมื่อมีการสูดหายใจเข้าไป และระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ก็สามารถส่งผลให้คุณได้รับเชื้อลงสู่ปอดจนเป็นโรคปอดบวมนั่นเอง 3.โรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรีย คุณสามารถรับเชื้อนี้ส่งต่อกันได้จากการไอ […]


โรคปอดบวม

โรคปอดบวมจากการสำลัก มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง

โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นหนึ่งในโรคปอดบวมที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่ทุกคนอาจยังไม่คุ้นเคยกันมากนัก ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำสัญญาณเตือนเบื้องต้น ที่คุณควรทราบมาฝากให้ได้ลองนำไปเช็กตนเองพร้อม ๆ กันค่ะ โรคปอดบวมจากการสำลัก คืออะไร โรคปอดบวมจากการสำลัก เป็นโรคปอดบวมอีกประเภทที่เกิดจากการติดเชื้อที่ปอด และทางเดินหายใจ โดยเกิดการสำลักขึ้นเมื่อคุณมีการรับประทานอาหาร หรือดื่มของเหลวเข้าไป แต่แทนที่อาหารเหล่านี้จะถูกลำเลียงเข้าสู่หลอดอาหารลงกระเพาะ กลับเข้าไปในช่องปอด หรือทางเดินหายใจแทน ถึงจะดูเหมือนเป็นการสำลักอาหารธรรมดา แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้คุณเสียชีวิตได้ เนื่องจากการสะสมของแบคทีเรียในอาหารเป็นพาหะที่ส่งผลให้เกิดโรคปอดบวม หากไม่เข้าขอรับรักษาจากแพทย์ ก็สามารถทำให้คุณเผชิญกับอาการที่แย่ลงเรื่อย ๆ ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคปอดบวมจากการสำลัก ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดบวมจากการสำลักนั้น อาจมาจากปัจจัยการเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับโรคต่าง ๆ รวมไปถึงสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดสมอง โรคสมองเสื่อม ความผิดปกติในการกลืนอาหาร โรคปอด การรับรู้ สติปัญญาผิดปกติ มีปัญหาเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต โรคทางระบบประสาทบางชนิด กรดไหลย้อน ผู้ป่วยที่ผ่านการฉายรังสีบริเวณศีรษะ และคอ สัญญาณเตือนของโรคปอดบวมจากการสำลัก คุณควรมีการสังเกตอาการตนเองร่วมว่ากำลังเผชิญกับอาการ ดังต่อไปนี้ อยู่หรือไม่ เพื่อความปลอดภัย และเข้ารับการตรวจได้อย่างเท่าทัน เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ไข้ขึ้นสูง เหงื่ออกมากจนเกินไป สีผิวเปลี่ยนแปลงเป็นสีฟ้าซีด ไอแบบมีเสมหะ ลมหายใจมีกลิ่น หากกรณีที่คุณมีไข้ พร้อมกับหายใจไม่ออก และมีอาการหนาวสั่นร่วม คุณควรรีบเข้าพบคุณหมอในทันที ไม่ควรรออาการให้หายไปเอง เพราะบางครั้งอาการเหล่านี้อาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนส่งผลอันตรายต่อปอดได้มากขึ้น วิธีรักษา โรคปอดบวมจากการสำลัก ในการรักษาโรคปอดบวมจากการสำลักอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่ละภาวะสุขภาพ และอาการที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล หากมีอาการที่ไม่รุนแรงมากนัก แพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะตามอาการ  พร้อมมีการทดสอบการกลืนอาหารว่ามีความเสี่ยงต่อการสำลักอีกหรือไม่ อีกทั้งแพทย์ยังอาจใช้การเอ็กซเรย์บริเวณหน้าอก การตรวจเม็ดเลือด การกล้องทางหลอดลม (Bronchoscopy) แต่สำหรับผู้ที่อยู่ในอาการรุนแรง แพทย์อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือการให้ออกซิเจนเสริม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน