โรคทางเดินหายใจ

ระบบทางเดินหายใจ มีส่วนสำคัญในการทำงานตามปกติของร่างกาย ดังนั้น คุณจึงควรเรียนรู้วิธีการรักษาสุขภาพของระบบทางเดินหายใจของคุณให้แข็งแรง ห่างไกลจากความเจ็บป่วย เรียนรู้เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ รวมถึง โรคทางเดินหายใจ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคทางเดินหายใจ

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง

ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพตนเอง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้นกัน เพื่อที่จะได้ดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยแบ่งคำถาม-คำตอบ เป็นข้อ ๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้ [embed-health-tool-bmi] ความเข้าใจผิดเรื่องไข้หวัด อาจส่งผลให้เราละเลยดูแลสุขภาพตนเอง ถึงแม้ว่าไข้หวัดจะเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่เชื่อว่าหลายคนมักมีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับไข้หวัด ซึ่งอาจส่งผลให้เราละเลยการดูแลสุขภาพของตนเอง หรือดูแลสุขภาพได้ไม่ถูกวิธี วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับโรคไข้หวัดให้มากขึ้น ด้วยการนำ 4 คำถามที่พบได้บ่อยเกี่ยวกับโรคไข้หวัด มาฝากกันค่ะ ไข้หวัดเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก จริงหรือไม่ จริง ไข้หวัดเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อย จากสถิติพบว่าผู้ใหญ่อาจป่วยเป็นไข้หวัดประมาณ 2-3 ครั้ง/ปี และในวันเด็กอาจป่วยมากกว่าวัยผู้ใหญ่มากขึ้นไปอีก โรคไข้หวัดเกิดจากไวรัส จริงหรือไม่ จริง โรคไข้หวัดเกิดจากเชื้อไวรัสไรโนไวรัส (Rhinoviruses) รวมถึงไวรัสชนิดอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดหวัดอย่างไวรัสอะดีโน (Adenovirus) ไวรัสอินฟลูเอนซา (Influenza virus) เป็นต้น ไข้หวัด รักษาให้หายขาดได้ จริงหรือไม่ ไม่จริง แต่เราสามารถเยียวยาเพื่อบรรเทาอาการได้ เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำปริมาณมาก ๆ รับประทานยาแก้ปวด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัด […]

หมวดหมู่ โรคทางเดินหายใจ เพิ่มเติม

ไข้หวัด

สำรวจ โรคทางเดินหายใจ

โรคปอดบวม

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร

โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ที่อาจก่อให้เกิดอาการบางอย่างขึ้น เช่น อาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีไข้  ไอ ทั้งนี้ทั้งสองโรคมีสาเหตุ และการรักษาที่แตกต่างกัน หากไม่เร่งรักษา หรือขอรับการตรวจอย่างเท่าทัน ก็อาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้เมื่อมีแบคทีเรีย หรือไวรัสเกิดซ้ำภายในปอดอีกครั้ง ทำความรู้จักกับ โรคปอดอักเสบ และ โรคหอบหืด โรคปอดอักเสบ (Pneumonia) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสที่อาจทำให้ปอด และถุงลมในปอดติดเชื้อเต็มไปด้วยหนอง ทำให้หายใจลำบาก และระดับออกซิเจนในเลือดลดลง โดยโรคนี้อาจมีความรุนแรงตั้งแต่ระดับเบา ปานกลาง และอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงที่สุดในเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ รวมถึงผู้ที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ โรคปอดอักเสบแบ่งออกเป็น 4 ประเภท โดยแต่ละประเภทจะถูกจำแนกตามแหล่งที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อ ได้แก่ ปอดอักเสบจากแหล่งชุมชน เป็นโรคปอดอักเสบที่พบบ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจาก แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส รวมถึงโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน ปอดอักเสบจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยอาจเป็นโรคปอดอักเสบระหว่างการรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากแบคทีเรียบางชนิดที่ผู้ป่วยได้รับอาจมีปฏิกิริยาการดื้อยา ปอดอักเสบจากสถาน หรือหน่วยงานด้านสุขภาพ อาจมีความคล้ายคลึงกับปอดอักเสบจากโรงพยาบาล แต่ประเภทนี้จะรวมไปถึงแหล่งสถานที่ที่รับดูแล […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา อาการ และการรักษา

โรคปอดอักเสบเสบแบบแกรนูโลมา (Lung Granuloma) เกิดขึ้นได้ต่อเมื่อก้อนเนื้อแกรนูโลมาที่อยู่ภายในปอดเกิดอักเสบ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น การอักเสบของปอดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และการที่แกรนูโลมาปรากฏเป็นก้อนเนื้อก็เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำปฏิกิริยาการป้องกันกับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามา ซึ่งจะพบเจอก้อนเนื้อได้ต่อเมื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดด้วยวิธีเอ็กซเรย์ โดยอาจสังเกตได้จากอาการหายใจสั้น เจ็บหน้าอก และมีไข้ เป็นตัวบ่งชี้ สาเหตุของโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สาเหตุของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ 1. โรคซาร์คอยโดซิส (sarcoidosis) เป็นโรคที่เกิดจากกลุ่มเซลล์อักเสบขนาดเล็กที่รวมกันเป็นก้อนเนื้อ หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า แกรนูโลมา (Granulomas) ที่พบบ่อยในปอด และต่อมน้ำเหลือง รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ เช่น ดวงตา ผิวหนัง หัวใจ สาเหตุของโรคซาร์คอยโดซิสยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อสิ่งผิดปกติในร่างกายต่อเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา สารเคมี โรคซาร์คอยโดซิสไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่ไม่รุนแรงนี้ก็อาจหายไปได้เอง แต่หากรุนแรง และปล่อยไว้นาน อาจทำให้อวัยวะนั้น ๆ เกิดความเสียหายได้ อย่างไรก็ตามหากมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากโรคซาร์คอยโดซิส เช่น ไอแห้ง ปวดตามข้อต่อ ปวดตา แผลตามผิวหนัง และหายใจลำบาก ควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอทันที เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น 2. วัณโรค (Tuberculosis) วัณโรค เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อว่าไมโครแบคทีเรียม […]


โรคปอดบวม

สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส อาการ และการวินิจฉัยโรค

ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส เป็นโรคปอดติดเชื้อที่ส่งผลให้ปอด และถุงลมอักเสบ จนเกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจ สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส มีหลายประการ ซึ่งหากทราบสาเหตุหรือประเภทของไวรัส ก็อาจทำให้ได้รับการรักษาอย่างตรงจุด นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยควรเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม และไข้หวัดใหญ่ให้ครบตามกำหนด เพราะอาจช่วยบรรเทาอาการรุนแรงของ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ได้ สาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อในปอด จนปอดอักเสบ มีดังต่อไปนี้ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ถูกพบครั้งแรกในปีพ.ศ. 2563 แต่อาจไม่ทราบที่มาอย่างแน่ชัด เนื่องจากไวรัสชนิดนี้สามารถติดเชื้อได้ทั้งในคน และสัตว์ ที่อาจส่งผลให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลวได้ ซึ่งไวรัสโควิด-19 มีการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนรอบนอกไวรัสได้ตลอดเวลา จึงทำให้มีโควิด-19 หลากหลายสายพันธุ์ โดยในปัจจุบันในประเทศไทยพบแล้วทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ อู่ฮั่น (Serine) ที่พบครั้งแรกในประเทศจีน เมืองอู่ฮั่น และเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทยเมื่อช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2563 เบต้า (Beta) พบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกาใต้ และแพร่กระจายเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2564 อัลฟา (Alpha) พบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร และเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2564 ที่อาจสามารถแพร่กระจายง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น 40-70% แกมมา (Gamma) เป็นสายพันธุ์ที่พบครั้งแรกในประเทศบราซิล และเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2564 ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการรุนแรงกว่าเดิม และลดภูมิคุ้มกันลงได้ เดลต้า (Delta) พบครั้งแรกในประเทศอินเดีย […]


โรคปอดบวม

ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส (Viral Pneumonia)

ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส หรือที่เรียกว่าปอดบวมจากเชื้อไวรัส เป็นโรคปอดติดเชื้อชนิดหนึ่งที่สามารถติดต่อจากคนสู่คนผ่านการจาม และการไอ เมื่อสูดดมนำเชื้อที่ลอยฟุ้งตามอากาศเข้าไปในทางเดินหายใจ หรือนำมือไปสัมผัสกับสิ่งของรอบตัวจนมาสัมผัสกับใบหน้าโดยเฉพาะบริเวณปาก และจมูก คำจำกัดความปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส คืออะไร ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส คือ โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสหลายชนิดที่เข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่อาจจะมีความรุนแรง หรือเผยอาการให้เห็นชัดขึ้น เมื่อเชื้อไวรัสเดินทางลงสู่ปอด จนปอด และถุงลมเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ เช่นเดียวกับโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อ คือ เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ผู้สูงอายุ 65 ปี หรือผู้ที่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ อาการอาการของ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส ระยะแรกอาการของโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสมักมีอาการคล้ายไข้หวัด แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้เผยอาการที่ต่างออกไปจากไข้หวัด ดังนี้ อุณหภูมิของร่างกายสูง ไข้ขึ้น รู้สึกหนาวสั่น ปวดศีรษะ หายใจถี่ มีอาการเจ็บหน้าอกขณะหายใจ หรือไอ ไอแห้ง และมีแนวโน้มไอแบบมีเสมหะในเวลาถัดมา เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ความรู้สึกอยากอาหารลดลง เบื่ออาหาร สาเหตุสาเหตุของ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส เชื้อไวรัสที่สามารถนำไปสู่โรคปอดอักเสบ มีดังต่อไปนี้ ไวรัสสายพันธุ์เอ และไวรัสสายพันธุ์บี จากไข้หวัดใหญ่ พบได้บ่อยในช่วงวัยผู้ใหญ่ ไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ที่พบได้มากในทารก และเด็ก ไวรัสอะดีโน (Adenovirus) เป็นไวรัสที่อาจทำให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบ และไข้หวัด ไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ที่สามารถส่งผลให้เป็นโรคงูสวัดร่วมด้วย ปัจจุบันยังมีเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดอย่างหนัก และมีหลากหลายสายพันธุ์ที่สามารถสร้างความเสียหายให้ระบบทางเดินหายใจ จนเกิดการติดเชื้อนำไปสู่โรคปอดอักเสบได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) จึงประกาศตั้งแต่วันที่ 11 […]


โรคหลอดลมอักเสบ

คุณรู้จัก โรคหลอดลมอักเสบ มากแค่ไหน? มาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ในบทความนี้

โรคหลอดลมอักเสบ เป็นอีกโรคหนึ่งที่สร้างปันหาร้ายแรงให้กับปอดและระบบทางเดินหายใจของคุณเป็นอย่างมาก วันนี้เรามาทำความรู้จักกับโรคหลอดลมอักเสบทั้ง 2 ชนิด เพื่อที่คุณจะได้มีแนวทางในการป้องกันโรคได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาเหตุการเกิด โรคหลอดลมอักเสบโรคหลอดลมอักเสบ คือภาวะที่ส่งผลต่อปอดและทางเดินหายใจ เป็นการอักเสบของหลอดลมที่เป็นทางเดินหายใจหลักในปอด และในบางกรณีอาจเป็นโรคติดต่อได้ สาเหตุหลักที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบอักเสบเรื้อรังหรือเฉียบพลัน อาจเกิดขึ้นจากปัจจัยดังต่อไปนี้ เกิดจากไวรัส โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ ซึ่งหมายความว่าโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันสามารถติดต่อสู่ผู้อื่นได้ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมอาจทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจ และทำให้ปอดมีแนวโน้มในการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้ มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่น ควัน สารเคมีร้ายแรง การสูดดมสารเคมีอาจทำให้เกิดการละคายเคืองที่ปอดและทางเดินหายใจ ควันบุหรี่ ทั้งผู้สูบเองและผู้ที่สูดดมควันบุหรี่มือสอง การแพร่เชื้อผู้ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันสามารถแพร่เชื้อได้ทันทีเมื่อมีอาการ ส่วนใหญ่ผู้คนมักแพร่เชื้อกันมากที่สุดในช่วงเริ่มต้นของอาการ ไวรัส หลอดลมอักเสบ สามารถติดต่อกันได้จากคนสู่คน ซึ่งสามารถแพร่เชื้อจากการไอหรือจาม ละอองเหล่านี้จะลอยขึ้นสู่อากาศและติดต่อสู่กันได้ทางจมูก ปาก หรือทางเดินหายใจ ประเภทของ โรคหลอดลมอักเสบอาการหลักของ โรคหลอดสมอักเสบ คือ อาการไอเรื้อรังและมีเสมหะจำนวนมาก เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง สามารถสังเกตได้ ดังนี้ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันเป็นการอักเสบระยะสั้นของปอดและทางเดินหายใจ มักมีอาการน้อยกว่า 3 สัปดาห์ พบมากในผู้สูงอายุ ทารก และเด็ก ซึ่งแนวโน้มการเกิดมักเกิดขึ้นในช่วงฤดูหนาวหรือมีการติดเชื้อไวรัส อาการของโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันมักมีอาการคล้ายหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ดังนี้ อาการไอ ปวดหัว รู้สึกเหนื่อยล้า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังเป็นอีกหนึ่งในสาเหตุของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD) หากมีอาการของโรคคงอยู่นานกว่า 3 สัปดาห์ […]


โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 ระยะอันตราย ที่ผู้ป่วยควรระวัง

โรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 เป็นผลเชื่อมโยงมาจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่ทำลายถุงลมในปอด ส่งผลให้คุณเริ่มมีอาการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก และไอเรื้อรัง เพื่อช่วยให้ทุกคนทราบข้อมูลเบื้องต้นของโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสานำความรู้ของโรคถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] โรคถุงลมโป่งพอง แบ่งออกเป็นกี่ระยะ คุณอาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การวัดระดับความรุนแรงของโรคถุงลมโป่งพองเป็นไปตามเกณฑ์ FEV1 ที่วัดปริมาตรของอากาศที่เป่าออกมา เมื่อผลลัพธ์ตัวเลขออกมาแล้วนั้น แพทย์จึงจะจำแนกได้ว่าคุณเป็นโรคถุงลมโป่งพองในระยะใด ดังนี้ ระยะที่ 1 คือ ระดับไม่รุนแรง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 80% ระยะที่ 2 คือ ระดับปานกลาง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 50-80% ระยะที่ 3 คือ ระดับรุนแรง ค่าวัด FEV1 ของคุณจะอยู่ที่ 30-50% ระยะที่ 4 คือ ระดับรุนแรงมาก ค่าวัด FEV1 ของคุณจะน้อยกว่า 30% อย่างไรก็ตาม ถุงลมโป่งพองระยะที่ 4 เรียกได้ว่าเป็นระยะที่อันตราย […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส เกี่ยวข้องกันอย่างไร

มีความเป็นไปได้ว่าสาเหตุที่ทำให้คุณเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส นั้นอาจมาจาก ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา หากคุณอยากทราบว่า ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส มีความเชื่อมโยงกันอย่างไร ที่ส่งผลในเชิงลบแก่สุขภาพปอด ติดตามในบทความของ Hello คุณหมอ กันได้เลย ความเชื่อมโยงของ ปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เป็นโรคที่ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจาก ยีนที่ได้รับสืบทอดทางพันธุกรรมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งปกติแล้วยีนนี้จะมีส่วนช่วยในการผลิตโปรตีน และสร้างเอนไซม์ส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้มีการทำงานที่ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อจาก เชื้อรา เชื้อโรค ไวรัส รวมไปถึงแบคทีเรียต่าง ๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำงานไม่เต็มที่ แน่นอนว่าเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย จึงแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายโดยง่าย ผ่านทางเดินหายใจส่วนบน จนลงไปถึงส่วนล่างอย่างปอด มากไปกว่านั้น หากร่างกายของคุณได้รับเชื้อรา “ฮิสโตพลาสมา” ที่มาจากมูลของนกและค้างคาวแล้วล่ะก็ อาจมีความเป็นไปได้ว่า คุณสามารถเสี่ยงเป็น โรคฮิสโตพลาสโมซิส ซ้ำอีกโรคได้ อาการสำหรับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา และ โรคฮิสโตพลาสโมซิส สังเกตได้จากสัญญาณเตือนต่าง ๆ ดังนี้ สัญญาณเตือนโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้แก่ มีไข้ เจ็บหน้าอกเมื่อหายใจ ต่อมน้ำเหลืองบวม น้ำมูกไหล ท้องร่วง อาเจียน และปากบวมแดง สัญญาณเตือนอาการสำหรับ […]


โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา

ทำความรู้จักกับ ; โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia)

โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia) เป็นโรคปอดที่อาจพบเจอได้ยาก เนื่องจากบางบุคคลมักไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ เผยออกมา นับว่าเป็นโรคอีกหนึ่งโรคที่เราทุกคนควรเฝ้าระวัง ด้วยการทำความรู้จักกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา เอาไว้เบื้องต้น ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากทุกคนในวันนี้ คำจำกัดความโรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา (Granuloma Pneumonia) คืออะไร โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา คือ โรคที่อาจสืบทอดมาจากระบบภูมิคุ้มกันที่มีลักษณะผิดปกติจับตัวเป็นกลุ่มก้อนเซลล์ ส่วนใหญ่มักพบอยู่ภายในปอด ถึงแม้จะเป็นกลุ่มเซลล์ที่จับตัวเป็นก้อน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะจะไม่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งอย่างแน่นอน โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สามารถพบบ่อยได้เพียงใด โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา มักพบได้บ่อยตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก แต่บางครั้งก็อาจวินิจฉัยเจอได้ช่วงระหว่างการเจริญเติบโต อาการอาการ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ผู้ป่วยบางคนนั้นอาจไม่เผยอาการใด ๆ ของ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา นอกเสียจากว่า ได้ตรวจพบเจอระหว่างการตรวจสุขภาพประจำปี แต่ถึงอย่างไรก็คงยังมีผู้ป่วยบางกรณีที่เผชิญกับอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ไข้ขึ้น น้ำมูกไหลต่อเนื่อง รู้สึกผิวหนังมีการระคายเคือง ผื่นขึ้น บวมและแดง ปากบวม อาเจียน ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด ปวดท้อง ต่อมน้ำเหลืองบวม อาการเจ็บหน้าอก โดยเฉพาะตอนที่คุณกำลังหายใจเข้า หายใจออก สาเหตุสาเหตุ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม โดยปกติแล้ว ยีนเหล่านี้จะช่วยผลิตโปรตีนที่สร้างเอนไซม์ให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คอยปกป้องเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย แต่เมื่อใดที่ยีนเกิดกลายพันธุ์ผิดปกติต่างออกไป โปรตีนจะไม่ถูกผลิตขึ้น และไม่สามารถส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีได้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการติดเชื้อสู่ปอด พัฒนาเป็นกลุ่มก้อนที่ทำลายปอดนั่นเอง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยง โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้คุณเผชิญกับ โรคปอดอักเสบแบบแกรนูโลมา ได้ง่ายขึ้นกว่าคนทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นบุคคลที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่าง ๆ […]


โรคปอดบวม

สาเหตุของโรคปอดบวม ที่อาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน มีอะไรบ้าง

โรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ สามารถพบได้มากในทุกช่วงวัยไม่ว่าจะเป็นทารก เด็กเล็ก รวมไปถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เพราะ ปอดบวม เป็นสิ่งที่เราทุกคนคาดเดาไม่ได้ว่าวันใดเราจะต้องเผชิญกับมัน เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยง วันนี้ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมข้อมูลถึง สาเหตุของโรคปอดบวม เบื้องต้นเอาไว้ให้ทุกคนในบทความนี้แล้ว สาเหตุของโรคปอดบวม มาจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ อาจมาจากเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัสในอากาศที่มักเข้าผ่านระบบทางเดินหายใจ เมื่อสูดอากาศเข้าไป จนสะสมอยู่ภายในถุงลมทำให้มีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นปอดบวม ปอดอักเสบ ได้นั่นเอง โดยเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมอื่น ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดนั้น มีดังนี้ แบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae สิ่งมีชีวิตคล้ายแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า Mycoplasma Pneumoniae เชื้อราในดิน และมูลสัตว์ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ที่สำคัญเชื้อไวรัสข้างต้นยังสามารถแพร่กระจายติดต่อไปยังบุคคลอื่น ๆ ได้ จากการได้รับละอองน้ำลายที่ลอยฟุ้งอยู่บนอากาศ ผ่านการไอ จาม หากเมื่อใดที่คุณรับเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจแล้ว กรณีที่ได้รับเชื้อไวรัสชนิดรุนแรง ก็สามารถทำให้คุณเผชิญกับโรคปอดบวม หรือ ปอดอักเสบ ได้ง่ายขึ้น และค่อนข้างเสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างมาก สัญญาณเตือนที่ คุณรีบเข้าพบคุณหมอ อาการของโรคปอดบวมสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการรับเชื้อภายใน 24-48 […]


โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด

การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ฟื้นฟูสุขภาพปอด ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

สาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ส่วนหนึ่งอาจมาจากผลข้างเคียงจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่ หรือการรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลให้เกิดลิ่มเลือด แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปวันนี้ Hello คุณหมอ ได้นำเทคนิค การรักษาโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงวิธีป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดซ้ำ มาฝากกัน อาการของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ที่ควรเร่งรักษา อาการทั่วไปของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มักส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในระดับเบา เช่น อาการหายใจถี่ เจ็บหน้าอก และไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ แต่เมื่อใดที่มีอาการรุนแรงกำเริบ สิ่งสำคัญที่คุณควรทำ คือ เร่งเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที เพราะหากชะล่าใจมากจนเกินไป อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ อาการรุนแรงของ โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด มีดังต่อไปนี้ หัวใจเต้นเร็ว หรือเต้นผิดปกติ อาการวิงเวียนศีรษะ เหงื่อออกมาก มีไข้ ปวดขาโดยเฉพาะช่วงน่องขา ที่เกิดลิ่มเลือด ขาบวม สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเขียว ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน ช็อก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิต การวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ก่อนข้างวินิจฉัยได้ยากในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจ และโรคปอด แต่ถึงอย่างไรหากคุณมีอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอาการไอเป็นเลือด อาจต้องเข้ารับการตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโวยเทคนิคต่าง ๆ ดังนี้ การตรวจเลือด แพทย์อาจตรวจเลือดของคุณด้วยการหาค่า D-dimer และออกซิเจนในเลือด เอกซเรย์ทรวงอก เป็นการตรวจที่สามารถแสดงถึงภาพของหัวใจ และปอดบนแผ่นฟิล์ม ถึงแม้จะวินิจฉัย โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ไม่ได้มาก แต่อาจเผยให้เห็นถึงความผิดปกติบางอย่างที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดลิ่มเลือดได้ อัลตราซาวด์ด้วยคลื่นเสียง (Duplex Ultrasonography) คือ เครื่องมือที่แพทย์จะนำอุปกรณ์เคลื่อนที่ไปมาบนผิวหนัง เพื่อให้คลื่นเสียงสะท้อนเป็นตัวแปรในการสร้างภาพเคลื่อนไหวออกมา โดยจะมีรายละเอียดที่ค่อนข้างชัดกว่าเดิม ซีทีแสกน (CT […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน