โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งและเนื้องอก สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตของคนไทยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็ง สามารถเกิดขึ้นได้หลากหลายรูปแบบ แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เราจึงควรศึกษาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ โรคมะเร็ง กันให้มากขึ้น เรียนรู้เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง ไม่ว่าเป็นสาเหตุ ความเสี่ยง การวินิจฉัย การรักษาโรค และการป้องกันโรคมะเร็ง ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคมะเร็ง

ประเภทของมะเร็งเต้านม และการตรวจวินิจฉัย

มะเร็งเต้านม เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยและทั่วโลก จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 13,000 คน ต่อปี ซึ่งมะเร็งเต้านมมีหลายประเภท โดยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งการเกิดของเซลล์มะเร็ง และระยะของมะเร็ง ประเภทของมะเร็งเต้านม อาจเป็นชนิดที่ลุกลาม หรือไม่ลุกลามก็ได้ [embed-health-tool-bmi] ประเภทของมะเร็งเต้านม  ประเภทของมะเร็งเต้านม สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้ มะเร็งเต้านมชนิดไม่ลุกลาม เป็นมะเร็งเต้านมที่ยังไม่มีการแพร่กระจายเซลล์มะเร็งออกจากจุดต้นกำเนิด โดยชนิดนี้ยังแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งเต้านมระยะศูนย์ (Ductal Carcinoma in Situ: DCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในเยื้อบุของท่อน้ำนมบริเวณเต้านม และยังไม่แพร่กระจายแกนอกท่อน้ำนม แต่ถ้าหากไม่ได้รับการรักษามะเร็งชนิดนี้อาจแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อบริเวณใกล้เคียง และอาจกลายเป็นมะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม มะเร็งต่อมน้ำนม (Lobular Carcinoma in Situ: LCIS) คือ พบเซลล์ผิดปกติในต่อมน้ำนม โดยเซลล์ที่ผิดปกติไม่ได้ถือเป็นมะเร็งแต่อย่างใดและอาจไม่ต้องรักษา เพียงแต่อาจมีการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง มะเร็งเต้านมชนิดลุกลาม เป็นมะเร็งที่มีการแพร่กระจายจากจุดเริ่มต้นของเต้านมไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง โดยแบ่งย่อยลงไปอีก เช่น มะเร็งระยะศูนย์แบบลุกลาม (Invasive Ductal Carcinoma: IDC) คือ เซลล์มะเร็งผิดปกติที่เริ่มจากท่อน้ำนม […]

หมวดหมู่ โรคมะเร็ง เพิ่มเติม

มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

สำรวจ โรคมะเร็ง

โรคมะเร็ง

คำถามพบบ่อยเกี่ยวกับ ‘ภูมิคุ้มกันบำบัด’ แนวทางใหม่รักษามะเร็ง

ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก โดยมีความมุ่งมั่นในการวิจัยรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ทำให้ค้นพบวิธีการรักษามะเร็งแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘ยาภูมิคุ้มกันบำบัด’ ซึ่งเป็นวิธีการรักษามะเร็งที่ช่วยควบคุมโรคได้ และมีผลข้างเคียงกับร่างกายน้อย แต่หลายคนอาจยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบำบัด บทความนี้จึงได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันบำบัดมาไว้ให้ทุกคนได้หาคำตอบกัน  1. ภูมิคุ้มกันบำบัด คืออะไร ทำงานอย่างไร? หลักการทำงานเพื่อการรักษามะเร็งของภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ การกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ที่มีหน้าที่คอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ให้สามารถตรวจพบและกำจัดเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันบำบัดยังอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และช่วยลดการลุกลามของมะเร็งได้อีกด้วย สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! 2. ภูมิคุ้มกันบำบัด ต่างจากจากเคมีบำบัด หรือยามุ่งเป้าอย่างไร ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ วิธีที่แตกต่างจากวิธีการรักษามะเร็งอื่น ๆ อย่างการทำเคมีบำบัดหรือการใช้ยามุ่งเป้า เนื่องจากภูมิคุ้มกันบำบัดไม่ได้เข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่จะใช้วิธีการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยสามารถทนต่อยาได้ดีกว่าและมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงน้อยกว่าการรักษามะเร็งรูปแบบอื่น 3. จะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดประเภทไหน? คุณหมอจะเป็นผู้แนะนำประเภทของภูมิคุ้มกันบำบัดเพื่อรักษามะเร็งที่เหมาะสมสำหรับคุณ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ประเภทของโรคมะเร็ง ระยะของโรคมะเร็ง ประวัติการรักษาโรคมะเร็งของคุณ 4. สามารถใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดรักษาโรคมะเร็งชนิดใดได้บ้าง? ในปัจจุบัน ภูมิคุ้มกันบำบัดได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็งได้หลายชนิด โดยอาจใช้ร่วมกับการรักษามะเร็งรูปแบบอื่น ๆ เช่น เคมีบำบัด การฉายรังสีบำบัด เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็ง โดยตัวอย่างโรคมะเร็งที่ได้รับการยืนยันประสิทธิภาพในการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ได้แก่ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม […]


โรคมะเร็ง

รู้จัก ‘Immunotherapy’ แนวทางรักษามะเร็งแบบใหม่

‘มะเร็ง’ โรคร้ายที่สามารถเกิดได้กับร่างกายทุกส่วน และเมื่อเกิดขึ้นแล้วเซลล์มะเร็งจะขัดขวางการทำงานให้ร่างกายอ่อนแอลง ส่งผลให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป และหากกล่าวถึงวิธีการรักษาหลักๆ สำหรับโรคมะเร็งแล้ว หลายคนน่าจะพูดถึงการรักษาด้วยการผ่าตัด การใช้ยาเคมีบำบัด หรือการฉายแสง ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีทางเลือกการรักษาแบบใหม่คือ ‘Immunotherapy’ หรือ ภูมิคุ้มกันบำบัด ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้ สนใจ "ยาภูมิคุ้มกันบำบัด" อ่านเพิ่มเติมได้ คลิก! Immunotherapy คือ อะไร?  ภูมิคุ้มกันบำบัด หรือ Immunotherapy คือ วิธีการรักษาโรคมะเร็งรูปแบบใหม่ โดยการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยให้สามารถตรวจจับและทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปกติ เซลล์มะเร็งนั้นมีความสามารถในการหลีกเลี่ยงการตรวจจับของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เซลล์มะเร็งรอดจากการถูกทำลาย และแพร่กระจายลุกลามมากขึ้น แต่ภูมิคุ้มกันบำบัดจะออกฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้เม็ดเลือดขาวสามารถตรวจพบและกำจัดเซลล์มะเร็งได้ และช่วยควบคุมการลุกลามของเซลล์มะเร็ง โดยที่ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะทนต่อยาได้ดี Immunotherapy นั้นแตกต่างจากการรักษาโรคมะเร็งรูปแบบอื่น เนื่องจาก Immunotherapy ไม่ได้เข้าทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง แต่จะมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็ง Immunotherapy แบ่งออกได้หลายประเภท ตามกลไกการทำงาน เช่น แอนติบอดี้ เซลล์รักษา หรือวัคซีนรักษา ซึ่งการใช้แอนติบอดี้ที่ยับยั้งเช็คพอยต์ (Checkpoint Inhibitor) เป็นวิธีที่นิยมอย่างแพร่หลายที่นำมาใช้มาใช้ในการรักษามะเร็งในปัจจุบัน มะเร็งกับการรักษาด้วย Immunotherapy  โรคมะเร็ง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในร่างกายที่กลายพันธุ์และเจริญเติบโตผิดปกติ หรือที่เรียกว่า เซลล์มะเร็ง ซึ่งมักจะสามารถหลบหลีกการตรวจจับของภูมิคุ้มกัน และพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งในที่สุด การตรวจพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่ในระยะแรก […]


มะเร็งปากมดลูก

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจเป็นอีกวิธีที่จะช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูกในเบื้องต้นได้โดยการประเมินความเสี่ยงของแต่ละบุคคล เนื่องจากมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พันธุกรรม หรือความเสี่ยงในการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่จัด ดังนั้น เพื่อลดความกังวลและป้องกันความเสี่ยง ควรทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำเพื่อคัดกรองเบื้องต้นด้วยตนเอง [embed-health-tool-ovulation] ทำไมถึงควรใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก อาจช่วยให้ผู้หญิงค้นหาและประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งปากมดลูกของตัวเองในเบื้องต้น เพื่อป้องกันหรือเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที ด้วยการตอบแบบประเมินที่ได้รับการยืนยันและตรวจสอบข้อมูลจากคุณหมอ โดยสามารถเข้าทำแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกได้ ฟรี! ทุกที่ทุกเวลาผ่านมือถือ แท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์ ได้ที่เว็บไซต์ Hello คุณหมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและห่างไกลจากโรคมะเร็งปากมดลูก วิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก สำหรับวิธีการใช้แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เพื่อค้นหาและประเมินความเสี่ยงของโรคมะเร็งปากมดลูก อาจทำได้ดังนี้ เข้าไปที่เว็บไซต์ www.hellokhunmor.com จากนั้นเลือกเมนู เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ เลือกเมนู ดูเครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพทั้งหมด แบบประเมินจะอยู่ในหมวด ความเสี่ยงสุขภาพ จากนั้นเลือก แบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก คลิกเมนู เริ่ม เพื่อทำแบบประเมิน โดยคำถามจะมีทั้งหมด 12 ข้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก พร้อมทั้งข้อมูลความรู้และคำแนะนำสำหรับการป้องกันความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก เมื่อทำแบบประเมินเรียบร้อย ในตอนท้ายจะมีสรุปและคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้น โดยแบบประเมินความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกนี้จัดทำขึ้นเพื่อให้ข้อมูลความรู้และการป้องกันเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถใช้แทนการวินิจฉัย การรักษาและให้คำแนะนำทางการแพทย์ได้ ดังนั้น หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการผิดปกติควรเข้าพบคุณหมอเพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที การตรวจมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกมักเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย อาจเสี่ยงต่อการมีคู่นอนหลายคนและมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวี การเปลี่ยนคู่นอน อาจเพิ่มโอกาสในการได้รับเชื้อเอชพีวี หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น […]


มะเร็งปากมดลูก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีน HPV ตัวช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก เท่านั้นหรือ?

ไวรัส HPV เป็นไวรัสที่ติดต่อได้ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และอาจทำให้เกิดหูดและโรคมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ตาม การฉีด วัคซีน HPV อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งถือเป็นโรคมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงติดอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย HPV คืออะไร ไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papillomavirus) เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายผ่านการสัมผัส และการเสียดสีบริเวณที่มีเพศสัมพันธ์ทั้งทางอวัยวะเพศและช่องปาก รวมถึงการใช้อุปกรณ์ ไวรัสชนิดนี้มีหลากหลายสายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคหลัก ๆ มีทั้งหมด 14 สายพันธุ์ โดยการติดเชื้อไวรัส HPV สามารถก่อโรคได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ดังนี้ ในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด และมะเร็งทวารหนัก โดยจากสถิติปีพ.ศ. 2563 มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบในในสตรีไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม โดยพบผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 9,000 ราย และเสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือในทุกๆ 2 ชั่วโมงต้องมีคนจากโลกนี้ไป และถือเป็นโรคมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง […]


โรคมะเร็ง

CEA คือ อะไร มีความสำคัญและเกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคมะเร็ง

CEA คือ โปรตีนชนิดหนึ่งชื่อว่า Carcinoembryonic Antigen ซึ่งพบได้ในร่างกายมนุษย์ และเป็นตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของโรคมะเร็ง โดยคุณหมอมักตรวจค่า CEA จากเลือดหรือของเหลวในตัวผู้ป่วยมะเร็ง ทั้งก่อนและหลังการรักษา เพื่อเปรียบเทียบระดับ CEA และประเมินจากค่า CEA ว่าวิธีรักษาได้ผลหรือไม่ [embed-health-tool-heart-rate] CEA คืออะไร ค่า CEA คือ โปรตีน Carcinoembryonic Antigen ซึ่งพบได้ในร่างกายมนุษย์ โดยปกติจะผลิตขึ้นระหว่างที่กำลังเป็นทารกจากเนื้อเยื่อในระบบทางเดินอาหาร และตรวจพบค่า CEA ในระดับสูงขณะทารกอยู่ในครรภ์มารดา อย่างไรก็ตาม เมื่อคลอดออกมา ร่างกายของมนุษย์จะหยุดผลิตโปรตีน CEA ทำให้ค่า CEA ที่ตรวจเจอมักอยู่ในระดับต่ำ หรือระหว่าง 0-2.5 นาโนกรัมต่อเลือด 1 มิลลิลิตร ทั้งนี้ หากตรวจพบค่า CEA สูงกว่าระดับดังกล่าว อาจหมายความว่าบุคคลนั้นมีโอกาสที่จะป่วยด้วยโรคมะเร็งต่าง ๆ อยู่ อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งรังไข่ การตรวจระดับ CEA ระดับ CEA ตรวจได้จากตัวอย่างของเหลวในร่างกาย ส่วนใหญ่มักตรวจจากเลือด […]


มะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า psa คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

ค่า psa คือ ระดับโปรตีน psa (Prostate-Specific Antigen) ในเลือด ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผลิตจากต่อมลูกหมาก และเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ภาวะของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยหากค่า psa อยู่ในระดับสูงมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงตามไปด้วย อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบค่า psa สูงจะต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก [embed-health-tool-bmr] psa คืออะไร psa คือ โปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งผลิตจากต่อมลูกหมากและเป็นส่วนหนึ่งของน้ำอสุจิ ช่วยให้น้ำอสุจิมีความเหลว และช่วยให้ตัวอสุจิเคลื่อนไหวในน้ำอสุจิได้สะดวกขึ้น ทั้งนี้ โปรตีน psa ยังพบได้ในเลือดของมนุษย์ ในปริมาณราว ๆ 2.5-10 นาโนกรัมต่อเลือด 1 มิลลิลิตร โดยหากเจาะเลือดแล้วพบค่า psa ในระดับสูง อาจหมายถึงบุคคลนั้นกำลังป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือโรคต่อมลูกหมากโต แต่เพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจด้วยวิธีอื่นเพิ่มเติม เช่น การทำ MRI การตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไปตรวจ การอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมากผ่านทางช่องทวารหนัก การตรวจค่า psa ค่า psa คือ ตัวบ่งชี้อย่างหนึ่งของมะเร็งต่อมลูกหมากในระยะแรกเริ่ม แต่แม้ว่าจะมีค่า psa ต่ำก็ยังอาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้อยู่ ในการตรวจค่า psa คุณหมอจะเจาะเลือดที่แขนคนไข้ แล้วนำไปตรวจในห้องทดลอง โดยผลตรวจมีความหมาย ดังนี้ […]


โรคมะเร็ง

เรื่องเล่าจากเพจ “แม่นุ่น” และการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง

ในห้องฉุกเฉิน ของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คุณวิทวัส โลหะมาศ นั่งจ้องมอนิเตอร์เครื่องวัดสัญญาณชีพ ตัวเลขบนหน้าจอค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ ปิ๊บ....ปิ๊บ....ปิ๊บ.... และในที่สุด สัญญาณชีพของภรรยาสุดที่รักของเขา ก็ได้หยุดลงในเวลา 16.38 น. ณ เวลานั้น “แม่นุ่น” ภรรยาของเขาอยู่ในอ้อมกอดของบุคคลอันเป็นที่รัก พ่อแม่ และลูกทั้ง 2 คนของเขา “ผมรู้สึกว่า ผมทำหน้าที่ในระยะเวลาเกือบ 5 ปี สมบูรณ์แล้ว” คุณวิทวัสกล่าว “ผมก็ดีใจกับเขาที่เขาไม่ต้องมาทนกับการรักษาอะไรต่าง ๆ อีก และดีใจกับตัวเองว่า เราไม่เคยคิดว่าเราจะทำอะไรแบบนี้ได้ มันอาจจะไม่จบแบบ happy ending แต่ก็จบแบบชีวิตมนุษย์คือ คนเราห้ามความตายไม่ได้” คุณวิทวัสถ่ายทอดเรื่องราวชีวิต เส้นทางของการเป็นมะเร็งเต้านมและการรักษามะเร็งของภรรยา ผ่านเฟสบุคเพจชื่อ “แม่นุ่น” ซึ่งเป็นที่โด่งดังจนถึงปัจจุบัน แม้การรักษาจะจบลงด้วยการเสียชีวิตของแม่นุ่น แต่เรื่องราวของแม่นุ่นและครอบครัว มีส่วนสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งต่อสังคมเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ ในวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) […]


โรคมะเร็ง

ตรวจมะเร็ง คัดกรองโรคเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

การตรวจมะเร็งมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจความผิดปกติในร่างกาย เช่น การเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ เนื้องอก เพื่อทำการรักษาและป้องกันการพัฒนากลายเป็นมะเร็ง ซึ่งอาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของโรค และอาจป้องกันการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเป็นประจำทุกปี เพื่อช่วยให้สามารถตรวจพบสัญญาณของมะเร็งและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ การตรวจมะเร็งมีอะไรบ้าง การตรวจคัดกรองมะเร็งที่มีเป้าหมายเพื่อค้นหาเซลล์ที่ผิดปกติเพื่อการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อป้องการกันลุกลามและกลายเป็นมะเร็ง มีดังนี้ การตรวจแมมโมแกรม (Mammography) เป็นการทดสอบเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่ไม่แสดงอาการของโรค การตรวจเต้านม อาจเริ่มด้วยการคลำสัมผัสรอบ ๆ เต้านมเพื่อตรวจหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติ สามารถรับการตรวจด้วยคุณหมอหรือสามารถตรวจได้ด้วยตัวเองเป็นประจำ เพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบก้อนเนื้อที่ผิดปกติ ควรทำการตรวจด้วยแมมโมแกรมที่ โดยการเอกซเรย์ภาพเต้านมเพื่อตรวจหาเนื้องอกที่ไม่สามารถตรวจพบด้วยการคลำหรือสัมผัสหา นอกจากนี้ การตรวจแมมโมแกรมยังสามารถตรวจพบแคลเซียมที่สะสมอยู่ซึ่งอาจบ่งชี้ได้ว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม วิธีการตรวจคุณหมอจะถ่ายภาพเอกซเรย์เต้านมด้านละ 2 รูป ซึ่งฟิล์มเอกซเรย์ที่ออกมาจะแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของก้อนเนื้อและแคลเซียมที่สะสมในเต้านม การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear หรือ Pap Test) สามารถใช้ทดสอบเพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการทดสอบหาเชื้อ HPV ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพิจารณาของคุณหมอ เพื่อตรวจหามะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นและป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้ เพราะช่วยให้สามารถพบและรักษาเซลล์ที่ผิดปกติได้ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง โดยคุณหมอจะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างช่องคลอด จากนั้นจะเก็บตัวอย่างเนื้อเยื่อจากมดลูกไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาเซลล์ที่ผิดปกติหรือเซลล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งได้ ตรวจฮิวแมนแพพพิลโลมาไวรัส (Human papillomavirus: HPV) สามารถใช้ทดสอบหาเชื้อ HPV เพียงอย่างเดียวหรือใช่ร่วมกับการตรวจแปปสเมียร์ ทั้งนี้ […]


โรคมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็ง รูปแบบ และความเสี่ยงที่ควรรู้

โรคมะเร็ง คือ โรคที่เกิดจากการเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตมากและเร็วผิดปกติ ทำให้เกิดเซลล์มะเร็งและสะสมเป็นเนื้องอกหรือก้อนเนื้อ มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่โดยทั่วไปอาจสังเกตได้จากอาการเหนื่อยล้าง่าย ไม่อยากอาหาร กลืนอาหารลำบาก ไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกมากในตอนกลางคืน สีผิวเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีอาการดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง เพราะหากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้เข้ารับ การรักษาโรคมะเร็ง ได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสในการหายขาดจากโรคได้ ปัจจัยเสี่ยงมะเร็ง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง มีดังนี้ อายุที่มากขึ้น ปกติแล้วเซลล์มะเร็งอาจใช้ระยะเวลานานหลายปีกว่าจะพัฒนาเป็นโรคมะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจทำให้ตรวจพบโรคมะเร็งได้มากในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตาม โรคมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย ขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคล กรรมพันธุ์ มะเร็งบางชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่บุตรหลานได้ หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีความเสี่ยงนี้อาจไม่เป็นโรคมะเร็งเสมอไป ภาวะสุขภาพ ผู้ที่มีภาวะสุขภาพบางประการ เช่น ลำไส้ใหญ่อักเสบหรือเป็นแผลเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก หากสังเกตเห็นว่าตนเองมีอาการผิดปกติ หรือมีโรคประจำตัวอื่น ๆ ควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและหาวิธีดูแลรักษาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็ง เช่น ควันบุหรี่ สารเคมีในที่ทำงานอย่างแร่ใยหิน เบนซีน นิกเกิล อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ […]


โรคมะเร็ง

ข้อควรพิจารณาก่อน การรักษามะเร็ง

มะเร็ง คือโรคที่เกิดจากเซลล์ในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ดีของร่างกายถูกทำลาย และก่อให้เกิดเป็นกลุ่มก้อนแข็งใต้ผิวหนังหรือเนื้องอกชนิดร้าย โดยอาจสังเกตได้จากอาการไอเรื้อรัง มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน เหนื่อยล้า รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารลำบาก ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมีสัญญาณเตือนดังกล่าว ควรเข้าตรวจคัดกรองมะเร็ง หากพบว่าเป็นมะเร็งจะได้ รักษามะเร็ง ได้อย่างทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ควรศึกษาเกี่ยวกับข้อควรพิจารณาก่อนเข้ารับ การรักษามะเร็ง ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพราะอาจช่วยให้สามารถเลือกวิธีการรักษามะเร็งได้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด ทั้งยังอาจช่วยลดความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงที่เกิดจากการรักษาได้ด้วย [embed-health-tool-heart-rate] สาเหตุของโรคมะเร็ง โรคมะเร็งอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนที่เป็นส่วนหนึ่งในดีเอ็นเอ (DNA) ภายในเซลล์ ในดีเอ็นเอมียีนจำนวนมาก โดยยีนมีหน้าที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมและควบคุมกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย หากยีนผิดปกติหรือกลายพันธุ์ก็อาจส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตมากและเร็วกว่าปกติ จนอาจพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ อีกทั้งปัจจัยดังต่อไปนี้ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ อายุ คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นมะเร็งได้ แต่อาจใช้เวลานานหลายปีกว่าเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งและแสดงอาการ จึงอาจพบโรคมะเร็งได้บ่อยในผู้สูงอายุ พันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง ความผิดปกติดังกล่าวอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ภาวะสุขภาพ เช่น ลำไส้ใหญ่บวม โรคอ้วน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งบางชนิด หากสังเกตว่าตนเองมีอาการผิดปกติควรปรึกษาคุณหมอทันที พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การตากแดดเป็นเวลานาน การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาจช่วยลดความเสี่ยงได้ สภาพแวดล้อม สำหรับผู้ที่จำเป็นต้องทำงานที่สัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นสารก่อมะเร็ง เช่น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน