โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

เครื่อง วัด เบาหวาน มีกี่ประเภท ใช้งานอย่างไร

เครื่อง วัด เบาหวาน เป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไห้ได้ตามเป้าหมายจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ โดยทั่วไปเครื่องวัดเบาหวานมี 2 แบบ ได้แก่ เครื่องวัดแบบดั้งเดิมซึ่งตรวจระดับน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว และเครื่องวัดแบบต่อเนื่องซึ่งตรวจระดับน้ำตาลผ่านเซนเซอร์ที่สอดเข้าใต้ผิวหนัง เเละ ตรวจค่าระดับน้ำตาลตลอดเวลา โดยตัวเครื่องจะมีจอแสดงผลหรือเชื่อมต่อข้อมูลกับสมาร์ทโฟน [embed-health-tool-bmi] ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อทำการตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ในผู้ที่มีสุขภาพเเข็งเเรงทั่วไป ค่าระดับน้ำตาลจะสูงไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เเต่หากมีค่าระดับน้ำตาลระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะหมายถึงกำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) และหากค่าระดับน้ำตาลสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยุ่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไตเสื่อมเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองเเละหัวใจ ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เครื่อง วัด เบาหวานจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานสามารถดูแลตัวเองและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากทำให้สามารถประเมินตนเองได้ว่า การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย หรือการรับประทานยายาต้านเบาหวานของตนนั้น ได้ตามเป้าหมายเเล้วหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น เครื่อง วัด เบาหวาน มีกี่ประเภท มีวิธีใช้อย่างไรบ้าง เครื่อง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง เกิดจากอะไร

เมื่อเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการจัดการระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่องไป ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยกระหายน้ำมาผิดปกติ ปากแห้ง และผิวแห้ง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้แผลหายช้าและเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้มากกว่าคนทั่วไป [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นภาวะเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติหรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป เนื่องจากตับอ่อนของผู้ป่วยผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลดลง หรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินผิดปกติ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่อง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนมีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยกระตุ้นในเซลล์ต่างๆในร่างกาย นำน้ำตาลไปเผาผลาญเป็นพลังงาน และนำน้ำตาลส่วนหนึ่ง ไปไว้ที่ตับในรูปของ ไกลโคเจน เพื่อพลังงานสำรอง ทั้งนี้ เบาหวานแบ่งออกเป็น 3 ชนิด เบื้องต้น ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติสร้างภูมิซึ่งไปทำลาย ทำให้เบตา เซลล์ (Beta Cells) ของตับอ่อน ตับอ่อนจึงไม่สามารถผลิตอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่ามีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง เบาหวานชนิดที่ 2เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้กว่า 95% ของผู้ที่เป็นเบาหวานทั้งหมด เกิดจากเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา เบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ มีสาเหตุจากการที่รกหลั่งฮอร์โมน ชื่อว่า ฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านฤทธิ์ของอินซูลิน […]


โรคเบาหวาน

อินซูลิน เบาหวาน คืออะไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

อินซูลิน และ เบาหวาน มีความสัมพันธ์กันอย่างมาก เนื่องจาก อินซูลิน เป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หากร่างกายผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้ออินซูลินคือร่างากายไม่สามารถตอบสนองอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็อาจนำไปสู่โรคเบาหวานได้ ซึ่งนอกจากการปรับพฤติกรรมการดูแลตัวเอง เช่น เลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และออกกำลังกาย เเล้ว การรับประทานยาลดระดับน้ำตาล หรือ ในบางรายที่จำเป็นต้องใช้ยาอินซูลิน ก็จะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmr] อินซูลิน และ เบาหวาน คืออะไร อินซูลินคือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในกระเเสเลือดมาเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ดังนั้น หากร่างกายผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่เพียงพอจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและนำไปสู่ภาวะเบาหวาน เบาหวานคือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ นับเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ 2 ประการ คือเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง หรือ ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อยๆ เเละ เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร สูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ความสัมพันธ์ของ อินซูลิน และ เบาหวาน อินซูลิน และ เบาหวาน มีความพันธ์กันอย่างมาก […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน มีอะไรบ้าง

ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี หรืออาจมีภาวะสุขภาพอื่น ๆ มากระตุ้น ซึ่งควรได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างเร่งด่วน ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ ภาวะเลือดเป็นกรด เเละ ภาวะเลือดมีความเข้มข้นสูงจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ส่วนในคุณเเม่ตั้งครรภ์ที่มีเบาหวานร่วมด้วย หากควบคุมไม่ดี ยังอาจเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทั้งคุณเเม่ เเละ ทารกในครรภ์ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติอย่างเรื้องรัง สาเหตุหลัก ๆ เกิดจากตับอ่อนที่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือ เซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป ทั้งนี้ ฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลไปเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงานและ เก็บน้ำตาลส่วนเกินไว้ในรูปแบบพลังงานสำรองที่ตับ ดังนั้น กระบวนการจัดการน้ำตาลของร่างกายบกพร่องไป จึงทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในกระเเสเลือด เเละหากมีระดับน้ำตาลหลังอาหาร สูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเข้าเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน ที่อันตราย มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวานมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีอาการรุนแรง หากมีอาการที่อาจเป็นสัญญาณควรรีบไปพบคุณหมอทันที เพราะหากปล่อยไว้ อาการจะยิ่งแย่ลง จนอาจถึงเเก่ชีวิตได้ โดยภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินของโรคเบาหวาน มีดังนี้ 1.     ภาวะเลือดเป็นกรด ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic Ketoacidosis หรือ DKA) เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่วมกับร่างกายไม่สามารถผลิดอินซูลินออกมาได้เพียงพอ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Peripheral Neuropathy คือ อะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเบาหวาน

Peripheral Neuropathy คือ อาการปลายประสาทเสื่อม หรือได้รับความเสียหายซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมโรคได้ไม่มี อาจะมีภาวะเส้นประสาทเสื่อมได้ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานส่งผลให้เส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทเสียหาย จึงทำให้มีอาการชา เจ็บปวด หรืออ่อนแรง บริเวณปลายเท้า ขา หรือมือ ทั้งนี้คุณหมอจะแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันอาการเส้นประสาทเสื่อมมิให้เป็นรุนแรงกว่าเดิม [embed-health-tool-bmi] Peripheral Neuropathy คือ อะไร Peripheral Neuropathy คือ อาการปลายประสาทเสื่อม ผู้ป่วยปลายประสาทเสื่อม อาจมีอาการอ่อนแรง การรับความรู้สึกผิดปกติ เช่น รู้สึกปวด แสบ รู้สึกคล้ายไฟช้อต หรือชา รวมถึงอาจพบว่ามีเส้นประสานที่ควบคุมระบบต่าง ๆ ทำงานผิดปกติร่วมด้วย จนทำให้มีอาการแสดงของระบบนั้น ๆ เช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ หัวใจเต้นเร็ว ท้องอืด ท้องผูก ทั้งนี้ อาการปลายประสาทอักเสบนอกจากเกิดจากโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีแล้วยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้ ขาดวิตามินบี 12 อุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บของเส้นประสาท พร่องฮอร์โมนไทรอยด์ โรคหลอดเลือดอักเสบ โรคไตเสื่อมเรื้อรัง โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ได้รับสารพิษบางขนิด เช่น สารหนู ตะกั่ว หรือปรอท Peripheral […]


โรคเบาหวาน

เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง

เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีน้ำตาลเป็นส่วนผสม หรือมีน้ำตาลผสมอยู่ในปริมาณน้อยมาก ๆ เช่น น้ำเปล่า ชา กาแฟที่ไม่ใส่น้ำตาล เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานนั้นมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่แล้ว หากบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล ระดับน้ำตาลในเลือดก็จะยิ่งสูงขึ้น นับเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา และยังควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่างน้ำอัดลม เพื่อช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป โดยเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลงไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งคือการที่เซลล์ตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีนัก ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องไป ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา อาการปลายประสาทเสื่อม และเพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ และหนึ่งในวิธีดูแลตนเองนั้น คือควรเลือกดื่มเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไม่มีน้ำตาลหรือมีน้ำตาลน้อย เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มีอะไรบ้าง สมาคมโรคเบาหวานทั่วโลกแนะนำว่า เครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยเบาหวานควรเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ต่ำหรือไม่มีเเคลอรี่ เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เครื่องดื่มที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน อาทิเช่น น้ำเปล่า เป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานมากที่สุด เพราะปราศจากน้ำตาล จึงไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น นอกจากนั้น การดื่มน้ำเปล่ายังช่วยบรรเทาอาการคอแห้ง กระหายน้ำ ซึ่งเป็นหนึ่งของโรคเบาหวานที่คุมได้ไม่ดีเพราะไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินทิ้งทางปัววาสะ ทำให้เป็นการสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย […]


โรคเบาหวาน

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน สัญญาณเบื้องต้นที่ควรรู้

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย โดยที่อินซูลินหน้าที่หลักควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม และหากผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป อาการแสดงของโรคเบาหวาน อาจแตกต่างกันในเเต่ละราย อาการที่อาจพบได้ เช่น คือ กระหายน้ำมากกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อย เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย และน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หากมีอาการดังที่กล่าวมา ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาอย่างเหมาะสม [embed-health-tool-bmr] โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร โรคเบาหวาน (Diabetes) เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ตับอ่อนเบต้าเซลล์ (Beta cells) ที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนเกิดเป็นโรคเบาหวาน เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง สามารถแบ่งได้ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานหรือเสี่ยงเกิดเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารอยู่ระหว่าง 100 – 125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ถือว่าเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน หรืออยู่ในภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมีค่าตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ถือว่าเป็นโรคเบาหวาน อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคเบาหวาน โดยทั่วไป อาจมีดังนี้ เวียนศีรษะ ขาดสมาธิ หงุดหงิดง่าย กระวนกระวาย สายตาพร่ามัว […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน การรักษา ทำได้อย่างไรบ้าง

โรคเบาหวาน มีวีธีการรักษาหลายรูปแบบ โดยคุณหมอจะพิจารณาอ้างอิงตาม ชนิดของโรคเบาหวาน ภาวะสุขภาพโดยรวม ค่าระดับน้ำตาล เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับเเต่ละบุคล เช่น การใช้อินซูลิน การรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง เช่น การควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ดี เพราะหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงอย่างเรื้อรังอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงตามมาในระยะยาวได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร สาเหตุของโรคเบาหวานอาจแบ่งตามชนิดของโรค ดังต่อไปนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1  สาเหตุเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิมาทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้นเมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ เซลล์จึงไม่สามารถดึงน้ำตาลจากในกระเเสเลือดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ และเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 คือเบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน พบได้กว่า 95 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด สาเหตุเกิดการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนนำไปสู่การเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากฮอร์โมนจากรกที่หลั่งเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ ชื่อ เอชซีจี (Human Chorionic Gonadotropin หรือ HCG) มีออกฤทธิ์ให้เซลล์ ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน […]


โรคเบาหวาน

เกณฑ์ เบาหวาน มีอะไรบ้าง มีวิธีตรวจวัดอย่างไร

เกณฑ์ เบาหวาน เป็นเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาว่า กำลังเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ซึ่งเป็นการตรวจวัดจากระดับน้ำตาลในเลือด โดยคนทั่วไปหากทำการตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ผู้ที่เข้าข่ายเป็นเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ทั้งนี้ ผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน อาทิเช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่า 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน รวมไปถึงผู้ที่เคยได้รับการตรวจเเล้วพบว่ามีภาวะก่อนเบาหวาน [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คือโรคอะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินบกพร่อง ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้เรื้อรัง อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทเสื่อม ส่วนภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ นั้นเกิดจาก เมื่อตั้งครรภ์ รกหลั่งฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซนต้าแลกโตรเจน (Human Placental Lactogen หรือ HPL) ออกมา ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินได้มากขึ้น ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ เกณฑ์ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการ น็อค เบาหวาน คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

อาการ น็อค เบาหวาน หรืออาการน้ำตาลต่ำ เป็นภาวะสุขภาพที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน อาจเกิดขึ้นเมื่อระดับอินซูลินต่ำกว่าปกติ หรือเมื่อมีน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักเกิดจากการกินยารักษาเบาหวานหรือการฉีดอินซูลินเกินขนาด การกินอาหารผิดเวลา การออกกำลังกายหักโหมมากเกินไป จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายขาดน้ำตาล จึงอาจทำให้ เกิดอาการอ่อนเพลีย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ เป็นต้น บางครั้งอาจรุนแรงจนถึงขั้น ชัก หมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นจนเสียชีวิตได้  ทั้งนี้ เมื่อเกิดอาการน้ำตาลต่ำ ควรรีบรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น ลูกอม น้ำหวานหรือน้ำผลไม้ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและหากอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการซ้ำ ๆ ควรรีบไปพบคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] อาการ น็อค เบาหวาน คืออะไร อาการน็อคเบาหวานเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือ มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน (หรือระดับน้ำตาลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในผู้ที่ไม่ไ้ด้เป็นเบาหวาน) มักเกิดขึ้นเมื่อมีอินซูลินในร่างกายปริมาณมากเกินไป จนส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลงจนเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายขาดพลังงาน อาการ น็อค เบาหวาน […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน