โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

ฉีดอินซูลิน อันตรายไหม ทำไมต้องฉีดอินซูลิน

ฉีดอินซูลิน อันตรายไหม อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานสงสัย การฉีดอินซูลิน เป็นหนึ่งในวิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยการฉีดฮอร์โมนอินซูลินเข้าสู่ร่างกายที่ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง แขน หรือสะโพก เพื่อให้อินซูลินช่วยทำหน้าที่แทนฮอร์โมนอินซูลินธรรมชาติของร่างกายในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งนี้ การฉีดอินซูลินถือว่าปลอดภัยหากปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ป่วยบางรายมีอาการเเพ้ หรือเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการใช้ยาอินซูลินได้  [embed-health-tool-bmi] ฉีดอินซูลิน คืออะไร ใครบ้างที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมิให้สูงจนเกินไป ด้วยการกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลในกระเเสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน และยังนำน้ำตาลบางส่วนไปสะสมไว้ที่ตับในรูปของพลังงานสำรอง โดยที่ในภาวะปกติ หากเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลหลังอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง จะมีค่าไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลง หรือน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย การควบคุมระดับน้ำตาลจะเสียสมดุลไป น้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนนำไปสู่”ภาวะก่อนเบาหวาน” ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหา 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือเป็นโรคเบาหวานในที่สุด ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ผู้ที่เป็นเบาหวานนั้นเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ เบาหวานขึ้นตา ปลายประสาทเสื่อม […]


โรคเบาหวาน

นิโคติน คือ อะไร เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวานอย่างไร

นิโคติน คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่อยู่ในพืชในกลุ่มยาสูบ จึงพบได้ในบุหรี่ ซิการ์ ไปป์ เป็นสารที่มีฤทธิ์ให้เกิดการเสพติดและยังส่งผลเสียต่อสุขภาพหลายประการ อาทิเช่น ทำให้ความดันโลหิตสูง มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง สมองเสื่อม เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยในเเง่ของระดับน้ำตาลนั้น สารนิโคตินจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงการทำงานของเซลล์ ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน เซลล์จึงไม่สามารถดึงน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ่นโดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงของโรคเบาหวานเพิ่มมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 30-40 เปอร์เซ็นต์ [embed-health-tool-heart-rate] นิโคติน คือ อะไร นิโคติน (Nicotine) คือ สารเคมีชนิดหนึ่งที่พบได้ในบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ยาสูบ ซิก้า ไปป์ โดยบุหรี่ 1 มวนมีสารชนิดนี้ประมาณ 10-12 มิลลิกรัม ผู้ที่สูบบุหรี่จะได้รับสารนิโคตินเข้าสู่ร่างกายประมาณ 1.1-1.8 มิลลิกรัม ต่อการสูบบุหรี่ 1 มวน นิโคตินเป็นสารเคมีที่ทำให้เกิดผลเสียกับร่างกายในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งปอดและโรคถุงลมโป่งพอง  ทำลายเซลล์สมองและเพิ่มความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม โรคหลอดเลือดสมองตีบ  ปัญหาสุขภาพช่องปาก เหงือก เเละ ฟัน รวมทั้งยังทำให้มีกลิ่นปาก ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจโดยเฉพาะโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมเเละเป็นโรคเส้นเลือดตีบ/อุดตัน […]


โรคเบาหวาน

เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีอะไรบ้าง

เมนู อาหาร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ อาหารที่เหมาะสำหรับคุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งนอกจากจะควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เเล้ว ยังควรเน้นบริโภคอาหารที่มีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮลวีท เนื่องจากเป็นอาหารที่จัดอยู่ในกลุ่มกลุ่มคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ซึ่งจะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรับประทานเหมือนเช่นในคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวที่พบได้ในอาหารจำพวกเเป้ง รวมไปถึงของหวานหลาย ๆ ชนิด นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารประเภทผักผลไม้ เนื้อสัตว์ และไขมัน ในปริมาณเเละสัดส่วนที่พอเพียงในแต่ละวัน เพราะจำเป็นต่อร่างกายของคุณเเม่เอง รวมถึงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจาก ฮฮร์โมนที่สร้างจากรก คือ ฮอร์โมนฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen หรือ HPL) เเละในร่างกายของคุณเเม่ยังมีการหลั่งฮอร์โมนอีกหลายชนิดเพิ่มมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทากร เเต่ ฮอร์โมนเหล่านี้ันั้นมีผลต่อต้านกับการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้คูณเเม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เเละเกิดเป็นภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ได้ ซึ่งคุณหมอจะมีการตรวจคัดกรองภาวะนี้ให้กับคุณเเม่ที่มีความเสี่ยง โดยจะเป็นการตรวจความทนทานต่อน้ำตาลเมื่อถึงอายุครรภ์ที่กำหนดไว้  อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์นี้มักเป็นเพียงชั่วคราว เมื่อคุณเเม่คลอดทารก ฮอร์โมนต่าง ๆ จะกลับเข้าสู่สมดุล ทำให้การควบคุมน้ำตาลของร่างกายกลับมาสู่ภาวะปกติ เเต่พบว่าคุณเเม่ที่มีภาวะนี้ จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้มากกว่าผู้หญิงทั่วไปที่มีอายุเท่า […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

มือเท้าชา ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร

มือเท้าชา เป็นหนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวานหรือที่เรียกว่า โรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) ซึ่งเกิดขึ้นจากการปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน ทั้งนี้ อาการมือเท้าชาจากเบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจป้องกันเเละควบคุมไม่ให้เป็นมากขึ้นได้ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม [embed-health-tool-bmr] มือเท้าชา เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวานนั้นจัดเป็นเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เป็นสาเหตุของอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อย คอแห้งตลอดเวลา รู้สึกอ่อนล้าไม่มีเเรง ตาพร่ามัว หากผู้ที่เป็นเบาหวานไม่ดูแลตัวเองให้ดีปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้หลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทเสียหาย เป็นผลให้การส่งสัญญาณของเส้นประสาทไปยังสมองบกพร่องจึงทำให้เกิดอาการ มือเท้าชา หรืออาจเรียกได้ว่า โรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน โดยรูปแบบของโรคเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวานที่มักพบบ่อยที่สุด คือ เส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม (Peripheral Neuropathy) ซึ่งอาจทำให้มีอาการมือเท้าชา หรืออาการอื่น ๆ เช่น ไวต่อการสัมผัสผิดปกติ รู้สึกเสียวหรือแสบร้อนตามมือ เท้า หรืออาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้  ทั้งนี้ สมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) แนะนำว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับการตรวจส้นประสาทเมื่อได้รับวินิจัยโรคเบาหวานเลย และหลังจากนั้นอาจเป็นการตรวจประจำปี ส่วนในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ควรได้รับการตรวจเส้นประสาทหลังจากได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานไปแล้ว 5 ปี และหลังจากนั้นเป็นประจำทุก ๆ ปี มือเท้าชารักษาอย่างไร อาการมือเท้าชาเนื่องจากเส้นประสามเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เเต่หากรับการรักษาที่ถูกต้องอาการจะไม่พัฒนาไปมากขึ้น โดยเมื่อไปพบคุณหมอ […]


โรคเบาหวาน

ผัก สําหรับคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง และผักใดที่ควรหลีกเลี่ยง

ผัก สําหรับคนเป็นเบาหวาน คือ ผักที่อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร มีส่วนประกอบของแป้งและน้ำตาลน้อย ซึ่งจะช่วยให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น รวมไปถึงช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] เป็นเบาหวาน ทำไมต้องคุมอาหาร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่ได้หรือได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย หรือเกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ไม่ดีนักทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ  เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้หลอดเลือดของอวัยวะต่าง ๆ จะเสื่อมลงและนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจ เส้นประสาทเสื่อม ภาวะเบาหวานขึ้นตา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารบางกลุ่มโดยเฉพาะอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลสูง ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเพื่อรักษาให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย ผัก สําหรับคนเป็นเบาหวาน ผักที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้จะเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index) เป็นค่าระหว่าง 1-100 ที่ใช้แสดงความสามารถในการทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หลังจากรับประทาน โดยเปรียบเทียบกับการรับประทานน้ำตาลกลูโคส โดยที่ค่ายิ่งสูง เเสดงถึงยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้มากกว่า ผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานควรเป็นผักที่มีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับต่ำ คือ ไม่เกิน 55 เช่น แครอท บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม มะเขือ ผักปวยเล้ง และผักชีฝรั่ง โปรตีนสูง โปรตีนนอกจากจะเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์เเล้ว […]


โรคเบาหวาน

Insulin Pump คืออะไร มีประโยชน์ และวิธีใช้งานอย่างไร

Insulin Pump (อินซูลินปั๊ม) เป็นเครื่องจ่ายอินซูลินขนาดเล็ก ที่ทำงานโดยการปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ช่วยลดการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือสูงจนเกินไปได้ รวมทั้งสามรถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเบาหวานขึ้นตา เส้นประสาทเสื่อม โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ได้อีกด้วย [embed-health-tool-heart-rate] Insulin Pump คืออะไร Insulin Pump คือ เครื่องจ่ายอินซูลินที่มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดเล็ก ซึ่งภายในจะบรรจุหลอดสำหรับบรรจุอินซูลินขนาด 1.8-3 มิลลิลิตรไว้ โดยเครื่องจะปล่อยอินซูลินเข้าสู่ร่างกายผ่านท่อยางที่เชื่อมติดกับปลายพอร์ทที่ติดกับผิวหนังบริเวณหน้าท้อง  โดยจะมีการจ่ายอินซูลินทั้งเเบบพื้นฐาน คือการค่อย ๆ จ่ายอินซูลินในปริมาณน้อย ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง สเหมือนการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อนตามธรรมชาติ เเละ การจ่ายอินซูลินก่อนมื้ออาหารเพิ่ม ในเเต่ละมื้ออาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลที่จะสูงขึ้นได้ในเเต่ละมื้อ ทั้งนี้หากเป็นเครื่อง Insulin Pump รุ่นที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับเครื่องวัดระดับน้ำตาลต่อเนื่องที่ผิวหนัง (CGM) จะมีโปรเเกรมที่คำนวนปริมาณอินซูลินที่เครื่องจะต้องจ่ายได้เองโดยอัตโนมัติ ตามค่าระดับน้ำตาลที่เปลี่ยนเเปลงไปในเเต่ละช่วงเวลา ประเภทของอินซูลินที่ใช้กับ Insulin Pump ประเภทของอินซูลินที่ใช้กับ Insulin Pump มีดังนี้ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วมาก (รุ่นใหม่) จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 2.5-10 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 5 […]


โรคเบาหวาน

แนวทางการรักษาเบาหวาน มีอะไรบ้าง

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ส่วนมากเเล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรักษาเเละควบคุมตัวโรคให้ยังคงมีสุขภาพที่ดีได้  โดย แนวทางการรักษาเบาหวาน อาจเริ่มจากการดูแลตัวเองด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น การรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือด ฉีดอินซูลิน อย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ดีซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคปลายประสาทเสื่อม โรคไร และภาวะเลือดเป็นกรด ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิต [embed-health-tool-bmr] เบาหวานเกิดจากอะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงหรือผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งหมายถึง เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างเหมาะสม จึงไม่สามารถนำนำ้ตาลจากกระเเสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อมาใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด อีกทั้งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไตโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทเสื่อม  สำหรับโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดเนื่องจากรกผลิตฮอร์โมนหลายชนิดซึ่งมีฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มมากขึ้น จึงส่งผลให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน นำไปสู่ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อทั้งสุขภาพของคุณเเม่เเละลูกน้อยในครรภ์ ทั้งนี้แนวทางการรักษาอาจแตกต่างกันออกไปตามสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน ดังนั้น จึงควรปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม อาการเบาหวานมีอะไรบ้าง อาการเบาหวาน อาจมีดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้าและรู้สึกหิวบ่อย ในสภาวะปกติร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลใช้เป็นแหล่งพลังงานหลักในการทำกิจกรรมต่าง ๆ แต่เมื่อมีภาวะเบาหวานแล้ว กระบวนการนี้บกพร่องไปจึงทำให้ร่างกายขาดพลังงาน รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และมีรู้สึกหิวบ่อย กระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ อะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง

อาการของ โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ ภาวะแทรกซ้อนฉุกเฉินจากน้ำตาลสูง ที่เรียกว่า ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis หรือ DKA) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง  ดังนั้น ผู้ที่เป็นเบาวหวานทุกคนจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ  และปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด [embed-health-tool-bmr] อาการของ โรคเบาหวานที่มีอันตรายที่สุดคือ อะไร ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่นับว่ามีอันตรายมาก คือ ภาวะเลือดเป็นกรด ซึ่งมีสาเหตุมาจาก เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงค่อนข้างมากไประยะหนึ่ง โดยมากเเล้วระดับน้ำตาลในเลือดมักสูงกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินลดลงไม่เพียงพอ ทำให้เซลล์ในร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนไปใช้เป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจึงยิ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ  นอกจากนี้ ร่างกายจึงต้องเปลี่ยนไปเผาผลาญไขมันมาใช้เป็นพลังงานแทน ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดคีโตน (Ketone) ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด และเมื่อมีคีโตนสะสมในกระแสเลือดมากขึ้น จึงทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดตามมาได้ และเมือเลือดมีความเป็นกรดจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆโดยรวม หากไม่รีบเข้ารับการรักษาจึงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ภาวะเลือดเป็นกรดนอกจากพบในผู้ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเเล้ว ในหลาย ๆ ครั้ง ก็พบในผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ค่อนข้างดี เนื่องจากมีปัจจัยทางสุขภาพมากระตุ้น ได้เเก่ มีการเจ็บป่วย อาทิเช่น โรคติดเชื้อ ลิ่มเลือดในปอด หัวใจวาย การตั้งครรภ์ หรือ  การใช้ยาบางกลุ่มเช่น ยาสเตียรอยด์ เนื่องจากเมื่อมีการเจ็บป่วยร่างกายผลิตฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลิน เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) […]


โรคเบาหวาน

การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า ทำได้อย่างไรบ้าง

การ รักษา แผล เบาหวาน ที่ เท้า จำเป็นต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อเพื่อควบคุมการติดเชื้อ การผ่าตัดเพื่อตัดเนื้อเยื่อส่วนที่ตายแล้ว รวมไปถึงการดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้แผลทรุดลง หรือลุกลามจนอาจจำเป็นต้องตัดขา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงสภาพจิตใจผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานควรดูเเลสุขภาพตนเองให้ดีเพื่อป้องกันมิให้เกิดเเผลที่เท้า  [embed-health-tool-bmi] การรักษาแผลเบาหวานที่เท้า สำคัญอย่างไร แผลเบาหวานที่เท้า เกิดจากเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้ปลายประสาทได้รับความเสียหาย ผู้ป่วยจึงมีอาการเท้าชา รับความรุ้สึกได้ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตให้เกิดเเผลที่เท้าได้ง่าย รวมทั้งหลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมมีการตีบตัน จึงทำให้การไหลเวียนเลือดไปยังบริเวณเท้าไม่ดี เมื่อเกิดเเผลจึงหายช้า เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อ เเละ อาจทำเกิดแผลจากเป็นเนื้อเยื่อบริเวณเท้าส่วนปลายขาดเลือด เกิดเป็นแผลเนื้อตายในที่สุด การรักษาแผลเบาหวานที่เท้าให้ดีนับว่ามีความสำคัญมาก เพราะหากปล่อยทิ้งอาจส่งผลให้แผลเกิดการลุกลามรุนแรง และอาจจำเป็นต้องตัดขาได้ อาการแผลเบาหวานที่เท้า ผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้วมีแผลเบาหวานที่เท้าในระยะเเรกมักจะไม่ทันได้สังเกต เนื่องจากปลายประสาทบริเวณเท้าเสียเสือมลง ทำให้ปลายเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลง ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บปวด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยบางคนก็อาจมีอาการรุ้สึกระคายเคือง เท้าบวม รู้สึกเจ็บทั้งนี้อาจเป็นแบ่งแผลได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 1 แผลไม่ลึก ระดับที่ 2 แผลลึกเข้าไปถึงเอ็น กระดูก และข้อต่อ ระดับที่ 3 แผลลึกและมีอาการแทรกซ้อน เช่น ฝี กระดูกอักเสบ […]


โรคเบาหวาน

ลด เบาหวาน ป้องกันภาวะแทรกซ้อน ควรทำอย่างไร

เบาหวาน นับเป็น โรคเรื้อรังที่เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในปัจจุบันเบาหวานยังเป็นโรคที่โดยทั่วไปเเล้วไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถดูเเลหรือ ลด เบาหวาน เพื่อบรรเทาอาการและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต [embed-health-tool-bmi] สาเหตุที่ทำให้เป็นเบาหวาน สาเหตุของโรคเบาหวานเกิดจากการตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลง ซึ่งอาจเกิดจากภูมิบางชนิดที่ร่างกายสร้างขึ้นเเล้วไปทำลายเนื้อเยื่อตับอ่อนของตนเอง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินมีบทบาทสำคัญในการลดเเละควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในอยุ่ในสมดุล เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอจึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด  นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ไระดับน้ำตาลในเลือดในเลือดสูง เเละเกิดเป็นโรคเบาหวานได้เช่นกัน เหตุผลที่ควร ลด เบาหวาน เเนะนำให้ควรลดเบาหวาน ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมาย คือ ระดับน้ำตาลก่อนอาหารเช้า หรือ หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 90-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ มีค่าน้ำตาลสะสมไม่เกิน 7 เปอร์เซนต์ เนื่องจากหากปล่อยระดับน้ำตาลในเลือดสูงจนเกิน อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน ดังนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นประสาทเสื่อม ทำให้ปลายมือปลายเท้าชา โรคไต ภาวะเเทรกซ้อนทางตา ได้เเก่ เบาหวานขึ้นตา จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน เเละอาจรุนเเรงจนสูญเสียการมองเห็นได้ เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ภูมิคุ้มกันไม่ดี ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน