โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เกิดจากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร

อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานส่งผลให้หลอดเลือด เเละเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมลง การส่งสัญญาณระบบประสาทจึงผิดปกติไปทำให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดอาการชาปลายนิ้วมือและเท้าได้ โดยหากอาการชาเป็นมากขึ้นจนไม่สามารถรับความรู้สึก อาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ และเกิดแผลติดเชื้อตามมาได้ง่าย อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน เกิดจากอะไร อาการชาปลายนิ้วจากเบาหวาน มีสาเหตุมาจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน จนไปทำลายผนังหลอดเลือดฝอยที่มีหน้าที่ลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเสื่อม ไม่สามารถทำหน้าที่ส่งสัญญาณได้เป็นปกติ ส่งผลให้เกิดผู้ป่วยเบาหวานมีอาการชาที่บริเวณปลายนิ้วมือเเละนิ้วเท้าได้ โดยยังอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ได้ดังนี้ รู้สึกเสียวซ่า ปวดเเสบร้อน ที่ปลายนิ้วมือเเละเท้า กล้ามเนื้อบริเวณมืออ่อนแรงลง อาการชาอาจลุกลามไปทั่วทั้งมือและเท้า ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามือหนาคล้ายใส่ถุงมือและถุงเท้าอยู่ตลอดเวลา อาจมีแผลโดยที่ไม่รู้ตัว เนื่องจากมีอาการชา จึงทำให้ไม่รู้สึกเวลามีบาดแผลเล็กน้อย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้แผลติดเชื้อ และลุกลามจนเกิดเนื้อตายได้  อาการชาปลายนิ้ว เบาหวาน ควรรักษาอย่างไร อาการชาปลายนิ้วจากเบาหวานสามารถรักษาได้ด้วย การรักษาที่สาเหตุ ดังนี้ การรักษาเพื่อชะลอการลุกลาม และควบคุมอาการ เป็นวิธีการรักษาหลักเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน เพราะหากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี ก็จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอย่างเส้นประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการชาปลายนิ้วมือเเละเท้า โดยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และอาจช่วยให้อาการชาปลายนิ้วดีขึ้นได้ โดยควรรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ดังนี้ ระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานอาหาร ควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  ระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ควรน้อยกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร  อย่างไรก็ตามในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีโรคร่วมอื่น ๆ เช่น […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม

แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม อาจเป็นคำถามที่เหล่าคุณแม่สงสัยและเกิดความกังวลใจ เนื่องจากภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ทารกตัวใหญ่ ทารกแรกคลอดมีน้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจพิการแต่กำเนิด หรือแท้งบุตร ดังนั้น การดูแลสุขภาพตนเองด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์รวมทั้งออกกำลังกายและรักษาน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ไม่ให้ขึ้นมากจนเกินไป อาจช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คืออะไร เบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ โรคเบาหวานประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงที่ตั้งครรภ์ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ทารกตัวใหญ่ ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำเมื่อแรกคลอด รวมถึงอาจเพิ่มเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน และโรคอ้วนในอนาคต ส่วนใหญ่แล้ว เบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้มักถูกวินิจฉัยในช่วงอายุครรภ์ที่ 24-32 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มักหายได้เองหลังคลอด เนื่องจากฮอร์โมนกลับเข้าสู่สมดุลแต่พบว่าคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอนาคตมากขึ้นกว่าผู้หญิงที่อายุเท่ากัน แม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลูกจะเป็นไรไหม เมื่อคุณแม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพทารกในครรภ์ได้ ดังนี้ ทารกตัวใหญ่ หรือน้ำหนักแรกเกิดมากเกินไป คุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์และมีน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำให้ทารกในครรภ์ตัวใหญ่กว่าเกณฑ์ได้ และอาจส่งผลให้คลอดธรรมชาติได้ยาก และอาจจำเป็นต้องผ่าคลอด การคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์แล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี อาจมีความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนดสูงขึ้น ภาวะกลุ่มอาการหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome หรือ RDS) เป็นภาวะที่พบได้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปอดและทางเดินหายใจของทารกยังพัฒนาไม่สมบูรณ์จึงอาจทำให้ทารกหายใจลำบากอย่างรุนแรง บางรายอาจจำเป็นต้องดูอาการอย่างใกล้ชิดในห้องฉุกเฉิน ทารกมีน้ำตาลในเลือดต่ำหลังคลอด เนื่องจากเมื่อคุณแม่มีน้ำตาลในเลือดสูง […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน ปากแห้ง สาเหตุและวิธีบรรเทาอาการ

เบาหวาน ปากแห้ง เป็นอาการหนึ่งที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวาน ซึ่งจะมีน้ำลายในช่องปากน้อย รู้สึกไม่สบายในช่องปาก อาจทำให้มีอาการแสบลิ้นปากแห้ง ลอกเป็นขุยหรือเป็นแผลติดเชื้อได้ ซึ่งเกิดจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย เเละ เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำตามมา นอกจากนี้ ยาบางชนิด เช่น ยาแก้หวัด ยาขับปัสสาวะ ยาคลายเครียด ก็อาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้เช่นกัน [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน ปากแห้ง เกิดจากอะไร อาการเบาหวาน ปากแห้ง อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลัก ๆ คือเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลทำให้ปัสสาวะบ่อย จึงสูญเสียน้ำออกจากร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดน้ำ จนต่อมน้ำลายไม่สามารถผลิตน้ำลายเพียงพอที่จะให้ความชุ่มชื้นในช่องปาก และรวมถึงทำให้ผิวเเห้ง ชุ่มชื้นลดลง นอกจากนี้ อาการปากแห้งในผู้ป่วยเบาหวานยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น ผลข้างเคียงจากยา เช่น ยาแก้คัดจมูก ยานอนหลับ-คลายเครียด ยาแก้แพ้  ยาเคมีบำบัด ยาแก้ปวดบางชนิด หายใจทางปาก นอนกรน หรือนอนอ้าปากตอนกลางคืน การดื่มน้ำน้อยเกินไป สูบบุหรี่ โรคบางชนิด เช่น โรคต่อมน้ำลายอักเสบ โรคเเพ้ภูมิตนเองหรือโรคโซเกร็น (Sjogren's Syndrome) การติดเชื้อเอชไอวี อาการเบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานขาดการดูแลตัวเอง ไม่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้ดี โดยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบอื่น ๆ ในร่างกายเกิดความผิดปกติไปด้วย ซึ่งเป็นภาวะเเทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น  โรคหลอดหัวใจและสมอง โรคไต เบาหวานขึ้นตา ปลายมือและเท้าชา รวมถึงเเผลเรื้อรัง [embed-health-tool-bmi] ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ดังนี้ ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน แบบเฉียบพลัน เป็นภาวะเเทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นเบาหวานเเม้จะได้รับการวินิจฉัยมาไม่นาน ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูเเลสุขภาพของเเต่ละบุคคล ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากการที่ร่างกายได้รับยาลดระดับน้ำตาล หรือยาฉีดอินซูลินมากเกินไป ออกกำลังกายหักโหม หรือรับประทานอาหารผิดเวลา หรือน้อยลงมากกว่าปกติ จัดเป็นภาวะที่อันตราย ซึ่งอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการสับสน เวียนศีรษะ หิวหรือโหยมาก อารมณ์แปรปรวน ใจสั่น ตัวเย็น เหงื่อออกมาก หรืออาจหมดสติหรือชักได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานสูงมากกว่า 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดของทั้งร่างกายเเละจิตใจ การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป รับประทานยาหรือฉีดอินซูลินไม่สม่ำเสมอ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลดและอ่อนเพลีย ในบางรายอาจรุนเเรงจนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด เเละภาวะเลือดข้นจากน้ำตาลสูงได้  ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน ภาวะแทรกซ้อนเบาหวานแบบเรื้อรัง มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเกณฑ์มาเป็นระยะเวลานาน […]


โรคเบาหวาน

ฉีดอินซูลินตอนไหน จึงได้ผลดีต่อสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

ฉีดอินซูลินตอนไหน อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนสงสัย ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานบางรายจำเป็นต้องยาฉีดอินซูลินทดแทน เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยกว่าปกติหรืออาจไม่ได้เลย จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลินทดแทนให้ทำหน้าที่เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ร่างกายผลิตเอง สำหรับช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดอินซูลินขึ้นอยู่กับชนิดของอินซูลินที่ใช้ ซึ่งคุณหมอจะกำหนดให้ตามอาการและภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล หากใช้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว ควรฉีดก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที เพราะอินซูลินชนิดนี้จะออกฤทธิ์ภายใน 15 นาที หากใช้อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้น ควรฉีดก่อนมื้ออาหารราว ๆ 30 นาที เพราะอินซูลินชนิดนี้จะเริ่มออกฤทธิ์ภายใน 30 นาที [embed-health-tool-bmi] อินซูลินคืออะไร ทำไมต้องฉีดอินซูลิน อินซูลิน เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ซี่งผลิดจากตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ โดยจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ นำน้ำตาลในกระเเสเลือดเข้าสู่ภายในเซลล์ เเละเผาผลาญเป็นพลังงาน รวมถึงนำน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ที่ตับในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อเป็นเเหล่งพลังงานสำรอง ในผู้ป่วยเบาหวาน ตับอ่อนสามารถผลิตอินซูลินได้ลดลง ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ร่างกายจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ ดังนั้น ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้ยารับประทานเเล้วยังควบคุมเบาหวานไม่ได้ หรือ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมอจะให้ใช้ยาฉีดอินซูลินทดแทน เพื่อทำหน้าที่เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อินซูลินทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ในปัจจุบันจะเป็นชนิดยาฉีด เเต่อย่างไรก็ตามได้มีการพัฒนาอินซูลินในรูปเเบบอื่นด้วย เช่น ยารับประทาน ยาสำหรับสูด เเต่ยังไม่เป็นที่เเพร่หลายนัก นอกจากนี้ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Hyperosmolarity คืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อผู้ป่วยเบาหวาน

Hyperosmolarity คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานมีความเข้มข้นสูงกว่าปกติ จากน้ำตาลที่สูงมาก ๆ ร่วมกับภาวะขาดน้ำ และนำไปสู่อาการผิดปกติต่าง ๆ ที่รุนแรงเช่น ซึม สับสน ภาวะสมองบวม หมดสติ และการเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม Hyperosmolarity ในผู้ป่วยเบาหวานพบได้ไม่บ่อยนัก และอาจป้องกันได้ด้วยการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ด้วยการปรับพฤติกรรมสุขภาพ ควบคุมอาหาร เเละ ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ [embed-health-tool-bmi] Hyperosmolarity คือ อะไร Hyperosmolarity คือ ภาวะที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก ๆ ร่วมกับ มีภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรงจนทำให้มีความเข้มข้นของเลือดสูง ส่งผลให้เกิดผลเสืยต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย รวมไปถึงสมอง ทั้งนี้ Hyperosmolarity หรือภาวะเลือดข้นจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperosmolar Hyperglycemic State หรือ HHS) ที่มักพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ การดูแลตัวเองผิดวิธีหรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น ไม่ควบคุมอาหาร ขาดยาหรืออินซูลิน ใช้ยาบางกลุ่มร่วมด้วย เช่น  ยาสเตียรอยด์มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น  หรือ ยาขับปัสสาวะมีผลทำให้ร่างกายขาดน้ำได้ง่ายขึ้น  […]


โรคเบาหวาน

ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด

หลายคนอาจมีคำถามว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด คำตอบคือ โรคเบาหวานเกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน หากมีภาวะดื้ออินซูลิน ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญน้ำตาลได้ตามปกติจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น จนเกิดเป็นโรคเบาหวานในที่สุด ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนชนิดใด ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื้อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin Resistance) ซึ่งถูกสร้างจากตับอ่อนมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) จึงเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป หากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน คือ เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมีอินซูลินเพียงพอ เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยทั่วไป ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ในเกณฑ์ปกติจะมีค่าไม่เกิน99 มิลลิกรัม/เดซิลิต หากพบว่าน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ดังกล่าว อาจมีภาวะก่อนเบาหวาน หรือ อาจเข้าข่ายเป็นโรคเบาวหวานได้  สัญญาณของภาวะดื้ออินซูลิน อาการที่เป็นสัญญาณของภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้ รอบเอวหนา โดยผู้หญิงมีรอบเอวมากกว่า 35 นิ้ว และผู้ชายมีรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ความดันโลหิตสูงตั้งเเต่ 130/80 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ขึ้นไป โดยความดันโลหิตทั่วไปจะไม่เกิน 130/80 มีระดับภาวะก่อนเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดอาหาร […]


โรคเบาหวาน

อาการ หนาว สั่น ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด

อาการ หนาว สั่น ในผู้ป่วยเบาหวาน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพบางประการ โดยส่วนใหญ่จะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไม่สบาย อ่อนเพลีย มีไข้สูง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดจาก ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำหรือมีการติดเชื้อที่ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยเบาหวานและคนใกล้ชิดจึงควรหมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอ หากพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนรุนแรง [embed-health-tool-bmi] อาการ หนาว สั่น ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากสาเหตุใด อาการหนาวสั่นเป็นอาการที่กิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกาย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากความผิดปกติบางประการ เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีอาการหนาวสั่น อาจเป็นผลจากจากสาเหตุต่อไปนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อระดับน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดในไม่เพียงพอ หรือ ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เนื่องจากน้ำตาลเป็นเเหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยปกติเเล้วร่างกายจะเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ดังนั้น เมื่อน้ำตาลในเลือดลดลงหรือไม่เพียงพอ จึงทำให้ร่างกายขาดพลังงาน และส่งผลต่อการทำงานของระบบภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หน้ามืด รวมไปถึงอาการหนาวสั่นได้ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำมักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานได้รับยาฉีดอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในปริมาณมากเกินไป หรืออาจเกิดจากการใช้ยาลดน้ำตาลในเลือดปริมาณไม่เหมาะสม จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ส่งผลให้ร่างกายเสียสมดุลและเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำตามมา โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังต่อไปนี้ ใช้ยาฉีดอินซูลินหรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป รับประทานอาหารน้อย/ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย รับประทานอาหารผิดเวลา/งดอาหารบางมื้อ ออกกำลังกายหักโหม หรือทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก (โดยที่ไม่ได้รับประทานอาหารร่วมด้วย) […]


โรคเบาหวาน

ฮอร์โมน อินซูลิน คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

ฮอร์โมน อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อนเพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไป โดยอินซูลินทำหน้าที่ให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเป็นพลังงาน หากตับอ่อนผลิตอินซูลินน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและนำไปสู่การเป็นโรคเบาหวานได้ รวมถึงอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของโรคเบาหวานด้วย ทั้งนี้ การฉีดอินซูลินทดแทนเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานไม่ให้สูงเกินไป โดยมักฉีดที่หน้าท้อง สะโพก ด้วยไซริงค์ ปากกาฉีดยา หรืออินซูลินปั๊ม (Insulin Pump) ฮอร์โมน อินซูลิน คืออะไร อินซูลิน คือ ฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงน้ำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน รวมถึงนำน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ที่ตับในรูปแบบของไกลโคเจน (Glycogen) เพื่อเป็นเเหล่งพลังงานสำรอง ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนมีความผิดปกติในการผลิตอินซูลิน จึงมีน้ำตาลในเลือดสูงและพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานได้ฮอร์โมน หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง หรือน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย การจัดการระดับน้ำตาลในเลือดอาจบกพร่อง และส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเมื่อมีค่าตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป จะเรียกได้ว่า ถึงเกณฑ์ของโรคเบาหวาน  ทั้งนี้ หากเป็นโรคเบาหวานแล้วเเต่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปลอดภัย จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของกภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตา ระบบปลายประสาทเสื่อม หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน แผลติดเชื้อเรื้อรัง ฮอร์โมน อินซูลินกับการรักษาโรคเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง และการดูแลตัวเองที่เหมาะสม

คุณเเม่ที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์หรือโรคเบาหวานในคนท้องควรให้ความสำคัญกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะหากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งกับคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ภาวะคลอดก่อนกำหนด ภาวะทารกเสียชีวิตในครรภ์ คุณแม่จึงควรศึกษา วิธีลดน้ำตาลในเลือดคนท้อง และวิธีการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังที่กล่าว ทั้งนี้ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นภาวะที่สามารถควบคุมให้ดีได้ โดยการวางแผนการดูแลสุขภาพและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสมจากคุณหมอตลอดการตั้งครรภ์ โรคเบาหวานในคนท้องคืออะไร โรคเบาหวานในคนท้อง หรือโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) เกิดจากเมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณเเม่จะมีการผลิตฮอร์โมนหลาย ๆ ชนิด เพิ่มมากขึ้น เช่น ฮอร์โมนจากรก ฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้นกว่าปกติ (ก่อนตั้งครรภ์) ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจากเดิม และหากระดับน้ำตาลสูงจนเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ควรปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย เพื่อลดความเสี่ยงในของภาวะแทรกซ้อนทั้งในขณะตั้งครรภ์และระหว่างการคลอดบุตร โดยปกติแล้ว ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะหายได้เองหลังคลอด เนื่องจากฮอร์โมนต่าง ๆ ที่สูงขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นั้น ลดลงกลับสู่สมดุลปกติ เเต่อย่างไรก็ตาม คุณหมอจะนัดตรวจทดสอบทนทานต่อน้ำตาลกลูโคสซ้ำหลังคลอด เนื่องจากคุณเเม่ที่เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจเสี่ยงเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสมสำหรับคนท้อง สำหรับคนท้องที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานอยู่ก่อน คุณหมอจะตรวจคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ที่ 24-28 สัปดาห์ โดยจะทดสอบความทนทานต่อกลูโคสโดยในขั้นเเรก จะเป็นการตรวจโดยไม่ต้องงดอาหารมา เมื่อถึงวันตรวจคุณหมอจะให้คุณเเม่ดื่มสารละลายกลูโคส 50 กรัม เเล้วรอเป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน