โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

เบาหวาน เท้าดํา สาเหตุและวิธีรักษา

เบาหวาน เท้าดํา เป็นอาการที่อาจเกิดขึ้นเมื่อควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเป็นระยะเวลานาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงมากเกินไปจะส่งผลให้หลอดเลือดแดงส่วนปลายและเส้นประสาทส่วนปลายถูกทำลาย ผิวหนังที่เท้าจึงมีสีซีดหรือคล้ำลงเนื่องจากขาดเลือด ทั้งนี้ ผู้ป่วยเบาหวานสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ได้ด้วยการดูแลสุขภาพเท้าอย่างถูกวิธี ไปพบคุณหมอตามนัด และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายอยู่เสมอ หากพบว่าเท้าดำหรือคล้ำลง หรือมีแผลที่หายช้าผิดปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจและรับการรักษาให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง เบาหวาน เท้าดํา เกิดจากอะไร หากผู้ป่วยโรคเบาหวานควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี จะทำให้เป็นแผลได้ง่ายและแผลหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจะทำให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเสื่อมลง ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี รวมถึงมีอาการชา ปวด เสียวแปล๊บคล้ายไฟช็อต ไปจนถึงสูญเสียประสาทการรับความรู้สึกที่เท้า (Diabetic neuropathy) ปัญหาสุขภาพเท้าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรัง  เมื่อมีอาการเท้าชาจะทำให้การรับความรู้สึกลดลง จึงอาจไม่ทันรู้ตัวเมื่อเท้าเป็นแผล มีตุ่มพุพอง หรือเป็นตาปลา ทำให้เสี่ยงติดเชื้อแทรกซ้อนง่ายขึ้น และการที่หลอดเลือดเสื่อมลง จะทำให้เลือดไหลเวียนไปยังบาดแผลและบริเวณใกล้เคียงได้ไม่ดี จึงอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ติดเชื้อค่อย ๆ เสื่อมสภาพ และเปลี่ยนเป็นสีซีดหรือสีคล้ำลง หากปล่อยทิ้งไว้หรือรักษาไม่ถูกวิธี แผลอาจลุกลามจนต้องตัดเท้าหรือเนื้อเยื่อส่วนที่เสียหายออกไป เพื่อรักษาเนื้อเยื่อข้างเคียงที่ยังไม่ติดเชื้อเอาไว้ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดอาการ เบาหวาน เท้าดํา มีดังนี้ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายไม่ได้ เป็นโรคเบาหวานมานาน และควบคุมเบาหวานได้ไม่ดีเป็นประจำ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน สูบบุหรี่ มีภาวะความดันโลหิตสูง มีภาวะไขมันในเลือดสูง (คอเลสเตอรอลสูง) อาการ เบาหวาน เท้าดํา อาการเท้าดำอาจพบร่วมกับอาการแสดงอื่น ๆ ดังนี้ ผิวหนังบริเวณเท้าบวมแดง […]


โรคเบาหวาน

ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างไร

ยาเบาหวาน เป็นยาที่คุณหมอจ่ายให้ผู้ป่วยเบาหวานเพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา ยาเบาหวานที่คุณหมอจ่ายให้ผู้ป่วยมักประกอบด้วยกลุ่มยาต่าง ๆ เช่น เมทฟอร์มิน (Metformin) เอ็มพากลิโฟลซิน (Empagliflozin) ซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) ซึ่งอาจมีผลข้างเคียง ผู้ป่วยเบาหวานควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดและไม่ควรปรับเปลี่ยนยาหรือขนาดการใช้ด้วยตนเอง [embed-health-tool-bmr] เบาหวานคืออะไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป โดยเกิดจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้การจัดการน้ำตาลในเลือดบกพร่อง จนน้ำตาลในเลือดสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ และนำไปสู่ความเสียหายของหลอดเลือด มักเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคเส้นประสาทจากเบาหวาน โรคไตจากเบาหวาน ภาวะเบาหวานขึ้นตา ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง คุณหมอมักจ่าย ยาเบาหวาน ให้ผู้ป่วยรับประทานเพื่อป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ปลอดภัย จนเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ โดยกลุ่มยาเบาหวานมีรายละเอียดและผลข้างเคียงจากการใช้ยาแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้ ยาเมทฟอร์มิน (Metformin) เป็นยาที่คุณหมอนิยมจ่ายให้ผู้ป่วยเบาหวาน โดยมีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นเซลล์ในร่างกายให้ตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีขึ้น ลดปริมาณน้ำตาลที่ตับผลิตขึ้น และลดการดูดซึมน้ำตาลของกระเพาะและลำไส้ โดยทั่วไป เมทฟอร์มินเป็นยาสำหรับรับประทานหลังอาหารเย็น ในปริมาณไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน ผลข้างเคียง: อาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

คอดํา เบาหวาน เกี่ยวข้องกันอย่างไร ป้องกันได้หรือไม่

คอดํา เบาหวาน เป็นผื่นผิวหนังที่เกิดเนื่องจากภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งเป็นอาการหนึ่งที่พบได้ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ผู้ที่มีภาวะก่อนเบาหวาน รวมทั้งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้ว โดยเมื่อมีภาวะดื้ออินซูลิน ตับอ่อนจะถูกกระตุ้นให้ต้องผลิตอินซูลินเพิ่มขึ้น และอินซูลินที่เพิ่มขึ้นกว่าปกตินี้จะกระตุ้นให้การผลิตเซลล์ผิวหนังและเม็ดสีเมลานินเพิ่มขึ้นผิดปกติตามไปด้วย จึงทำให้ผิวหนังบริเวณคอ รักแร้ ข้อพับ และขาหนีบ หนาและดำคล้ำขึ้น อย่างไรก็ตาม คอดํา เบาหวานเป็นภาวะสุขภาพที่ไม่มีวิธีรักษาโดยตรง แต่เน้นรักษาที่สาเหตุเป็นหลัก คุณหมออาจแนะนำให้ดูแลตัวเอง หรืออาจใช้ยาที่ช่วยผลัดเซลล์ผิว ซึ่งอาจช่วยให้อาการคอดำจางลง [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของอาการ คอดำ เบาหวาน อาการคอดํา หรืออาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคผิวหนังช้าง เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน พันธุกรรม โรคมะเร็งบางชนิด เช่น โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสเตียรอยด์หรือยาคุมกำเนิด รวมทั้งผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ที่สำคัญคือ ภาวะดื้ออินซูลิน ที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคอ้วน ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 และผู้ที่เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ   ภาวะดื้ออินซูลินทำให้ตับอ่อนต้องผลิตฮอร์โมนอินซูลินเพิ่มขึ้น และอินซูิลินที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกตินี้จะไปกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเพิ่มจำนวนเเละผลิตเม็ดสีเมลานินซึ่งเป็นสารที่มีสีดำเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้เกิดปื้นสีดำที่คอ อาการ คอดํา เบาหวาน เป็นอย่างไร อาการ คอดำ คือ ผื่นสีดำคล้ำที่มักเกิดขึ้นบริเวณคอด้านหลังของผู้ป่วย โดยสีผิวบริเวณดังกล่าวมักจะค่อย ๆ เปลี่ยนจากสีผิวปกติไปเป็นสีน้ำตาล จนกลายเป็นปื้นดำ หนาเเละหยาบกร้าน ในผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกคันและมีกลิ่นเหม็นร่วมด้วย นอกจากผื่นดำที่บริเวณคอแล้ว ผู้ป่วยเบาหวานอาจพบผื่นดำคล้ำลักษณะเดียวกันนี้ในบริเวณอื่นได้ด้วย เช่น […]


โรคเบาหวาน

กินกลูโคสตรวจเบาหวาน คืออะไร และทำได้อย่างไร

กิน กลูโคส ตรวจ เบาหวาน (Oral Glucose Tolerance Test หรือ OGTT) เป็นวิธีการตรวจที่มักใช้ตรวจคัดกรองหาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ โดยเป็นการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย โดยผู้ที่เข้ารับการตรวจจะต้องงดอาหารมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เเละทำการเจาะเลือด ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารข้ามคืน จากนั้น คุณหมอจะให้ดื่มสารละลายกลูโคส แล้วรอเวลาอีก 2 ชั่วโมง จึงวัดระดับน้ำตาลในเลือดอีกครั้ง เพื่อทำการเเปลผล กิน กลูโคส ตรวจ เบาหวาน คืออะไร กินกลูโคสตรวจเบาหวาน คือ วิธีการตรวจคัดกรองเบาหวานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย มักใช้ตรวจเพื่อหาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โดยที่ผู้เข้ารับการทดสอบจะต้องงดอาหารเเละเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เเละ จะทำตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลัก ๆ 2 ครั้ง คือ ระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร และหลังจากดื่มสารละลายกลูโคสที่ 2 ชั่วโมง เพื่อทดสอบการตอบสนองของร่างกายต่อน้ำตาลกลูโคส ผู้ที่ควรเข้ารับการกินกลูโคสตรวจเบาหวาน ผู้ที่ควรเข้ารับการกินกลูโคสตรวจเบาหวาน เพื่อตรวจหาเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากและมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นโรคเบาหวานได้ง่าย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

มือชาเกิดจากอะไร ปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควรมองข้าม

มือชาเกิดจากอะไร เป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานมักสงสัย เพราะเป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน โดยอาการมือชามักเกิดจากเส้นประสาทที่รับความรู้สึกส่วนปลาย เช่นบริเวณปลายมือ ปลายเท้า เสื่อมลง  เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานานส่งผลให้เส้นเลือดฝอยเล็ก ๆ ที่เลี้ยงเส้นประสาทบริเวณดังกล่าวอุดตัน เส้นประสาทจึงทำงานบกพร่องหรือเสือมไป จึงทำให้เกิดอาการชาบริเวณปลายมือ ปลายเท้า ซึ่งหากเกิดอาการเเล้วมักจะเป็นถาวร ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถป้องกันหรือลดความรุนเเรงรุนแรงได้ ด้วยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม  มือชาเกิดจากอะไร โรคเบาหวานนับเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติ เนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลงหรือไม่ได้เลย หรือร่างกายมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ทำให้การจัดการระดับน้ำตาลของร่างกายบกพร่องไป ทั้งนี้หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน เส้นประสาทย่อมได้รับความเสียหาย ทำให้เกิดความบกพร่องในการส่งสัญญาณการรับความรู้สึกสึกไปยังสมอง ซึ่งนำไปสู่ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมจากเบาหวาน ส่งผลให้เกิดอาการ ได้แก่ มือ แขน ขา เท้ารู้สึกชา ไม่รับรู้ถึงการสัมผัส ความเจ็บปวด และอุณหภูมิรอบตัว นอกจากนี้ ภาวะเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อมจากเบาหวาน อาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยดังนี้ รู้สึกเสียว เจ็บปวด หรือแสบร้อนตามมือ แขน ขา เท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไวต่อการสัมผัสมากผิดปกติ เช่น รู้สึกเจ็บปวดเพียงแค่ผ้าปูที่นอนสัมผัสโดนร่างกายส่วนที่เส้นประสาทเสียหาย โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี โรคอ้วนหรือภาวะน้ำหนักเกิน เป็นเบาหวานมาเป็นระยะเวลานาน และการเป็นโรคไตหรือโรคไตที่เกิดจากโรคเบาหวาน การรักษา มือชาจากโรคเบาหวาน อาการมือชาในผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนมากเเล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือด 150 หมายถึงอะไร ถือว่าปกติหรือไม่

ระดับน้ำตาลในเลือดสามารถบ่งชี้ภาวะสุขภาพได้ โดยทั่วไปผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในขณะที่ผู้ทีมีภาวะเบาหวานเเล้วจะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป ดังนั้นหากตรวจค่าระดับ น้ำตาลในเลือด ก่อนอาหารได้ 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จึงถือว่าเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวานเเล้ว เเต่หากเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลโดยที่ไม่ได้อดอาหาร อาจบอกได้ไม่ชัดเจนนักว่ามีความเสี่ยงของโรคเบาหวานหรือไม่ [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลเท่าไรถึงเรียกว่าปกติ โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติอย่างเรื้อรัง ซึ่งเป็นผลมาจากตับอ่อนไม่สามารผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอ หรือ ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน เนื่องจากฮอร์โมนอินซูลินมีหน้าทีทำให้เซลล์ต่างๆของร่างกายนำน้ำตาลไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงาน เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอ หรือ ร่างกายไม่สามารถตอบสนองกับอินซูลินได้ปกติจึงส่งผลให้มีน้ำตาลค้างอยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ เเละทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ โดยสามารถแปลผลค่าระดับน้ำตาลในเลือดคร่าวๆเป็น 3 กลุ่มดังนี้ ระดับปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ภาวะก่อนเบาหวาน หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง อยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง ตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร […]


โรคเบาหวาน

รักษาเบาหวานให้หายขาด ได้หรือไม่

รักษา เบาหวาน ให้ หายขาด ได้หรือไม่ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยส่วนมากเเล้วโรคเบาหวาน มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่สามารถควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ดีได้ด้วยยการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมการรับประทานอาหาร ออกกำลังกายและดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนที่รุนเเรงตามมา รักษา เบาหวาน ให้ หายขาด ได้หรือไม่ โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลมาเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจมีสาเหตุมาจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินให้เพียงพอ หรือ ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม คือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลดลง ซึ่งหากปล่อยให้น้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ก็อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา รวมไปถึงโรคเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม  ในปัจจุบันโดยส่วนมากเเล้วโรคเบาหวาน มักจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดอย่างถาวรได้ แต่เราสามารถควบคุมโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้น ยังคงมีคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพโดยรวมเเข็งเเรง ใกล้เคียงกับคนทั่วไป ซึ่งการจะควบคุมโรคเบาหวานให้ได้ดีนั้น ต้องอาศัยทั้งการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม เเละการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรับประทานยาลดระดับน้ำตาลและฉีดยาอินซูลินตามที่คุณหมอแนะนำอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเกิดตามมาภายหลัง วิธีการรักษาโรคเบาหวาน วิธีรักษาโรคเบาหวานอาจขึ้นอยู่กับชนิดของโรคเบาหวานและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ซึ่งคุณหมออาจแนะนำวิธีการรักษา ดังนี้ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตัวเอง ควบคุมการรับประทานอาหาร ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น ข้าวขาว อาหารแปรรูป แป้ง ขนมขบเคี้ยว […]


โรคเบาหวาน

อาหารเบาหวานในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

อาหาร เบาหวาน ใน ผู้ สูงอายุ ควรเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย สารอาหารครบถ้วน ทั้ง 5 หมู่ เเละ ควรเน้นเลือกชนิดอาหารที่มีกากใยสูง และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เพราะอาจส่งเสริมให้โรคเบาหวานควบคุมได้ไม่ดี และ เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุในระยะยาว ดังนั้น การเตรียมอาหารเบาหวานในผู้สูงอายุให้เหมาะสม ร่วมกับการดูแลอย่างใกล้ชิดอาจช่วยควบคุมตัวโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ โรคเบาหวานในผู้สูงอายุ โรคเบาหวานเกิดจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นและพัฒนาเป็นโรคเบาหวาน หากไม่ได้รับการรักษาอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หากเป็นเบาหวานก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ดังนี้ แผลติดเชื้อเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่การตัดแขนหรือขา โรคหลอดเลือดสมองเเละหัวใจ กล้ามเนื้ออ่อนเเรงจากมวลกล้ามเนื้อลดลง การสูญเสียการมองเห็น จากภาวะเบาหวานขึ้นตา อาการปวดเรื้อรัง ดังนั้น การควบคุมอาหารและการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานอย่างใกล้ชิด จึงอาจเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ อาหาร เบาหวาน ใน ผู้ สูงอายุ มีอะไรบ้าง ผู้สูงอายุควรรับประทานอาหารวันละ 3 มื้อ ได้พลังงานประมาณ 1,500-2,000 กิโลแคลอรี่/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอาจอธิบายง่ายๆว่าสัดส่วนของอาหารในเเต่ละมื้อนั้น 1 จาน ควรมี คาร์โบไฮเดรต ¼ จาน (1 ส่วน) โปรตีน ¼ […]


โรคเบาหวาน

เป็นเบาหวานแล้วผอมอันตรายไหม

เป็น เบาหวาน แล้ว ผอม อันตราย ไหม อาจเป็นคำถามที่ผู้เป็นเบาหวานสงสัยและกังวลใจ โดยผู้ป่วยเบาหวานแล้วผอมหรือมีน้ำหนักลดลงอาจมีสาเหตุมาจากร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม จนต้องเปลี่ยนไปเผาผลาญไขมันและกล้ามเนื้อเเทน รวมถึงน้ำหนักที่ลดลงอาจมาจากการสูญเสียน้ำเนื่องจากต้องขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งหากไม่ทำการรักษาก็อาจทำให้ร่างกายขาดพลังงาน ขาดน้ำ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายและไม่มีแรง จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  [embed-health-tool-bmi] เบาหวานทำให้ผอมลงได้อย่างไร สาเหตุที่ผู้ป่วยเบาหวานผอม หรือน้ำหนักลดลงอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ร่างกายขาดน้ำ จากการที่เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะบ่อย เเละ สูญเสียน้ำจากร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะขาดน้ำและอาจทำให้น้ำหนักลดลงได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ร่างกายต้องเริ่มกระบวนการย่อยสลายไขมันและกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงานแทนจึงเป็นสาเหตุให้ให้น้ำหนักตัวลดลง จิตใจเศร้าหมอง เนื่องจากโรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง จึงอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้ป่วยบางราย อาจทำให้รู้สึกเศร้า โดดเดี่ยว วิตกกังวล จนไม่อยากรับประทานอาหารและทำให้น้ำหนักลดลงได้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อรุนแรง เช่น เท้าติดเชื้อเรื้อรัง เนื้อตาย ระบบภูมิคุ้มกันจึงต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคต่าง ๆ ร่างกายจึงต้องใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้น จึงอาจทำให้ผอมลงได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะสุขภาพอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องเสีย ไทรอยด์ มะเร็ง โรคเหล่านี้อาจกระตุ้นให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากเกินไป หรือมีความผิดปกติบริเวณลำไส้ ส่งผลให้ดูดซึมสารอาหารได้น้อยลงจนทำให้น้ำหนักลดลงเช่นกัน เป็น เบาหวาน […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

มือบวม เบาหวาน สาเหตุและการรักษา

มือบวม เท้าบวม เบาหวาน เป็นอาการที่อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบและอุดตันจนเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ส่งผลให้ของเหลวสะสมคั่งค้างอยู่บริเวณมือและเท้ามากขึ้น จึงทำให้มีอาการบวม มือบวม เบาหวาน เกิดจากอะไร มือบวม เท้าบวมจากเบาหวาน อาจเกิดในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ จนมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายตีบและอุดตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนเพื่อลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารได้ตามปกติ ทำให้ของเหลวสะสมค้างอยู่ตามเนื้อเยื่อส่วนปลาย เช่น มือและเท้า จนเกิดเป็นอาการมือบวมและเท้าบวมขึ้น โดยสาเหตุที่ของอาการมือบวม เท้าบวมในผู้ป่วยเบาหวาน อาจมีดังนี้ หลอดเลือดส่วนปลายตีบหรืออุดตัน เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงอย่างเรื้อรัง อาจส่งผลทำลายผนังหลอดเลือดให้ยืดหยุ่นน้อยลง ผนังหลอดเลือดหนาเเละเเข็งขึ้น ทำให้หลอดเลือดเสี่ยงต่อการตีบและอุดตันได้ง่าย เลือดจึงไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก จนเกิดอาการมือ-เท้าบวม เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไป อาจส่งผลทำลายเส้นประสาท ทำให้ผู้ป่วยรับรู้ความรู้สึกได้น้อยลง อาจมีอาการชาหรือเสียวซ่าบริเวณมือ และหากผู้ป่วยไม่รู้ตัวว่าได้รับบาดเจ็บบริเวณมือ ก็อาจทำให้แผลติดเชื้อและมีอาการบวมเกิดขึ้นร่วมด้วยได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานอาจมีอาการบวมในบริเวณอื่น เช่น แขน ขา เท้า และอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ผิวหนังส่วนนั้น ๆ สีคล้ำลง รู้สึกเจ็บปวด เสียวซ่า ชา ขยับนิ้วลำบาก  การรักษามือบวม เบาหวาน อาการมือบวมและเท้าบวมจากเบาหวานจำเป็นต้องรักษาที่สาเหตุ คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะเเทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เเละ อาการมือ-เท้าบวม […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน