โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน เกิดจากอะไร รักษาได้อย่างไร

น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน เป็นภาวะที่อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินและรับประทานยาลดระดับน้ำตาลเพื่อควบคุมโรคเบาหวาน ร่วมกับมีพฤติกรรมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา อดอาหารมื้อเย็น ออกกำลังกายช่วงก่อนนอน ซึ่งทำให้ระดับอินซูลินในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากเกินไป จนนำไปสู่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในตอนกลางคืน ดังนั้น จึงควรสังเกตอาการผิดปกติและเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-bmi] ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Low blood sugar/Hypoglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ หากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ในผู้ที่ไม่เป็นเบาหวาน หากระดับน้ำตาลต่ำกว่า 55  มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงว่าอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการอ่อนเพลีย เหงื่อออกมากผิดปกติ ปวดศีรษะ ตัวสั่น หงุดหงิดง่าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ซึม ปลุกไม่ตื่น ชัก จนอาจถึงแก่ชีวิตได้ น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน เกิดจากอะไร ภาวะ น้ำตาลต่ำ ตอนกลางคืน หรือภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำขณะนอนหลับ (Nocturnal hypoglycemia/Night time hypos) อาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ฉีดอินซูลินและผู้ที่รับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับอินซูลินหรือยาที่กระตุ้นการหลั่งอินซูลินในปริมาณมากเกินไป ซึ่งอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดไปเป็นพลังงานให้กับเซลล์ในร่างกาย เมื่อมีอินซูลินมากเกินไป จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ […]


โรคเบาหวาน

น้ำตาลในเลือดต่ำ สาเหตุ อาการ วิธีรักษาและการป้องกัน

โดยปกติแล้ว ระดับน้ำตาลในเลือดช่วงที่อดอาหารของคนทั่วไปจะอยู่ที่ 56-99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่หากคนทั่วไปมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร จะถือว่ามีภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแสดง เช่น อ่อนเพลีย หิวบ่อย หัวใจเต้นเร็ว ภาวะอาจเกิดจากผู้ป่วยเบาหวานได้รับยาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เหมาะสม ออกกำลังกายหักโหมเกินไป รับประทานอาหารไม่ตรงเวลาหรืออดอาหาร แต่หากพบในผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวานควรไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม [embed-health-tool-bmi] น้ำตาลในเลือดต่ำ คืออะไร ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในผู้ป่วยเบาหวาน หรือต่ำกว่า 55 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน ซึ่งอาจเกิดจากการใช้ยาลดระดับน้ำตาลหรือยาฉีดอินซูลินที่ไม่เหมาะสม หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การอดอาหาร การออกกำลังกายหักโหม โรคร่วมบางชนิด รวมไปถึงโรคมะเร็ง ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติ เช่น ใจสั่น สายตาพร่ามัว รู้สึกโหย เหงื่อออกมาก หากมีระดับน้ำตาลต่ำมากหรือไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้หมดสติ ซึม ปลุกไม่ตื่น ชัก และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ น้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดจากอะไร สาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจมีดังนี้ สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ที่เป็นเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำของผู้ป่วยเบาหวานอาจเกิดจากการใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางกลุ่ม ได้แก่ ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) […]


โรคเบาหวาน

GCT คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับโรคเบาหวาน

GCT หรือ Glucose Challenge Test คือ การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลของร่างกาย เป็นวิธีตรวจคัดกรองเบาหวานรูปแบบหนึ่ง มักใช้ตรวจเพื่อหาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ โดยการตรวจคัดกรองเบาหวานในคนทั่วไปและในคุณแม่ตั้งครรภ์อาจมีรายละเอียดและขั้นตอนการตรวจต่างกันเล็กน้อย ในเบื้องต้นจะมีขั้นตอนคร่าว ๆ คือ ให้ผู้ทำการทดสอบดื่มสารละลายกลูโคส แล้วจากนั้นจึงเจาะเลือดตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อดูว่าร่างกายสามารถจัดการกับน้ำตาลได้ดีมากน้อยเพียงใด [embed-health-tool-due-date] GCT คืออะไร GCT หรือ Glucose Challenge Test นอกจากจะเป็นการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานทั่วไปแล้ว ยังใช้ในการคัดกรองโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ด้วย โดยทั่วไปจะตรวจคัดกรองขั้นแรกด้วยการเจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล หลังจากที่ให้คุณแม่ดื่มสารละลายกลูโคส 50 กรัม หากผลอยู่ในเกณฑ์ปกติ แปลผลได้ว่าไม่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แต่หากผลผิดปกติ จำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติมในขั้นที่ 2 จึงจะสามารถบอกได้ว่า มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือไม่  ทั้งนี้ เบาหวานขณะตั้งครรภ์เป็นโรคเบาหวานชนิดหนึ่งที่พบได้ชั่วคราวระหว่างตั้งครรภ์ และมักจะหายได้เองหลังคลอดบุตร สาเหตุของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คือ ฮอร์โมนฮิวแมน พลาเซนต้า แลกโตรเจน (Human Placental Lactogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรถ และฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์มีระดับสูงขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ โดยฮอร์โมนเหล่านี้ออกฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้คุณแม่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนเกิดเป็นภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ในที่สุด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ […]


โรคเบาหวาน

ค่าเบาหวานปกติ อยู่ที่เท่าไหร่ และเบาหวานขึ้นเท่าไหร่อันตราย

ค่าเบาหวานปกติ หรือค่าน้ำตาลเป้าหมายของผู้ป่วยเบาหวาน โดยทั่วไปควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหากตรวจก่อนรับประทานอาหาร และควรมีค่าไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหากตรวจหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลสุขภาพให้ดี พยายามควบคุมรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งไม่ควรปล่อยให้ระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะเบาหวานลงเท้า โรคหลอดเลือดสมอง โรคไต การติดเชื้อแทรกซ้อน [embed-health-tool-bmi] ค่าเบาหวาน สามารถตรวจวัดได้อย่างไร การตรวจวัดค่าเบาหวานหรือระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำได้ดังนี้ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร (Fasting Blood Sugar Test) เป็นการตรวจความเข้มข้นของระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารข้ามคืนหรือประมาณ 8-12 ชั่วโมง สามารถแปลผลค่าระดับน้ำตาลได้ ดังนี้ ไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง ระดับน้ำตาลในเลือดปกติ 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวาน เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หมายถึง เข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล การทดสอบความทนทานต่อน้ำตาล (Oral glucose tolerance test) เป็นการทดสอบความทนทานของร่างกายต่อน้ำตาลกลูโคส โดยผู้ที่จะรับการทดสอบต้องอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แล้วจะได้รับการเจาะเลือดครั้งที่ 1 เพื่อตรวจค่าระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร […]


โรคเบาหวาน

อาการน้ำตาลต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวาน เป็นอย่างไร

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) หรือ อาการน้ำตาลต่ำ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นหากผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักพบในผู้ที่ใช้ยาลดระดับน้ำตาลบางกลุ่มและใช้อินซูลินเพื่อลดน้ำตาลในเลือด และหากเป็นเบาหวานมานานกว่า 5-10 ปี หรือมีโรคร่วม เช่นโรคไต โรคตับ ก็จะยิ่งเสี่ยงเกิดภาวะนี้ได้ง่ายขึ้น ภาวะน้ำตาลต่ำอาจทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนเพลีย เซื่องซึม ง่วงนอน กระสับกระส่าย หงุดหงิดง่าย หัวใจเต้นรัว หากน้ำตาลในเลือดต่ำรุนแรงก็อาจทำให้ชัก หมดสติ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองอยู่เสมอ รับประทานอาหารและยาให้ตรงเวลา และควรหมั่นสังเกตอาการของตัวเอง เพื่อจะได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมและสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] อาการน้ำตาลต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวาน เกิดจากอะไร อาการน้ำตาลต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน อาจเกิดสาเหตุต่อไปนี้ ยารักษาเบาหวาน ในผู้ป่วยเบาหวานที่จำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาบางกลุ่ม เช่น ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย (Sulfonylurea) อย่างไกลเมพิไรด์ (Glimepiride) ไกลพิไซด์ (Glipizide) ไกลบูไรด์ (Glyburide) รวมทั้งยาฉีดอินซูลิน อาจทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้ หากได้รับยาในขนาดที่สูงเกินไป หรือใช้ยาไม่ถูกวิธี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์ หากดื่มในปริมาณมาก หรือดื่มโดยที่ไม่รับประทานอาหาร […]


โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนใด

โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอในการใช้จัดการกับน้ำตาลในเลือด หรืออาจเกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน ที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น นำไปสู่โรคเบาหวานได้ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวาน เช่น โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนใด อาการของโรคเบาหวาน อาจช่วยให้สามารถป้องกันหรือควบคุมอาการของโรคเบาหวานไม่ให้รุนแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของอวัยวะส่วนใด โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของตับอ่อน เนื่องจากเซลล์ชนิดเบต้า (Beta Cells) ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักในการกระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายนำน้ำตาลในกระแสเลือดที่ได้จากอาหารมาใช้เปลี่ยนเป็นพลังงานในชีวิตประจำวัน แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติและเข้าโจมตีเซลล์ผลิตอินซูลิน จะทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อยลงจนไม่พอใช้งาน ระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ตามมา หรือหากร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งแม้ตับอ่อนจะผลิตอินซูลินได้ตามปกติ แต่เซลล์ของร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้เช่นกัน อาการของโรคเบาหวาน อาการของโรคเบาหวานที่ควรสังเกต มีดังนี้ กระหายน้ำมากและถ่ายปัสสาวะบ่อย คนทั่วไปมักปัสสาวะ 4-7 ครั้ง ใน 24 ชั่วโมง (อาจขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่ดื่มด้วย) แต่ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวานจะมีอาการถ่ายปัสสาวะบ่อย เนื่องจากไตขับน้ำตาลส่วนเกินออกในรูปแบบปัสสาวะ จึงทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น ต้องตื่นมาถ่ายปัสสาวะตอนกลางคืนหลังจากที่หลับไปแล้ว นอกจากนี้ การถ่ายปัสสาวะบ่อยยังทำให้เสียน้ำออกจากร่างกาย จึงทำให้รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้นและดื่มน้ำบ่อยขึ้นตามมา จนส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยได้อีกเช่นกัน หิวบ่อยและมีอาการเหนื่อยล้า หากควบคุมโรคเบาหวานได้ไม่ดี นอกจากจะทำให้เสียน้ำออกจากร่างกายทางปัสสาวะ จนเสี่ยงเกิดภาวะขาดน้ำแล้ว การที่ร่างกายไม่สามารถจัดการกับน้ำตาลในเลือดได้อย่างเหมาะสม ยังทำให้ร่างกายขาดพลังงาน จึงเกิดอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และอาจทำให้รู้สึกอยากอาหารมากกว่าปกติ ปัญหาด้านการมองเห็น หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง อาจส่งผลให้หลอดเลือดที่จอประสาทตาเสียหาย และส่งผลให้ตาพร่ามัว […]


โรคเบาหวาน

ลดน้ําตาลในเลือด และวิธีดูแลตัวเองป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง

การ ลดน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน คือ ระดับน้ำตาลก่อนมื้ออาหารควรอยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจทำได้หลายวิธี เช่น การปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่รุนแรงได้ [embed-health-tool-bmi] ลดน้ำตาลในเลือด มีประโยชน์อย่างไร การลดน้ำตาลในเลือดและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมในผู้ที่ยังไม่เป็นเบาหวานจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะก่อนเบาหวาน รวมไปถึงโรคเบาหวานได้ ส่วนการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีในผู้ที่เป็นเบาหวาน จะช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอันตรายจากโรคเบาหวาน เช่น ภาวะเลือดเป็นกรด (Diabetic ketoacidosis) และภาวะเลือดข้นจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก (Diabetic Hyperosmolar Syndrome) อีกทั้งยังช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนชนิดเรื้อรังที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังต่อไปนี้ ภาวะปลายประสาทเสื่อม โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ภาวะไตวายเรื้อรัง วิธีลดน้ำตาลในเลือด วิธีควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำได้ดังนี้ ยาฉีดอินซูลิน ยาฉีดอินซูลินเป็นอินซูลินสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์เสมือนฮอร์โมนอินซูลินที่ผลิตจากตับอ่อน จึงสามารถช่วยลดน้ำตาลในเลือดและช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ได้ โดยอินซูลินมีหลายชนิด อาจแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์ได้ ดังนี้ อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาทีหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที มักใช้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารในแต่ละมื้อ และมักใช้ร่วมกับอินซูลินชนิดออกฤทธิ์นาน อินซูลินชนิดออกฤทธิ์สั้นหรือปกติ (Regular […]


โรคเบาหวาน

ป้องกัน เบาหวาน ลดเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน ยังไงได้บ้าง

การ ป้องกัน เบาหวาน และควบคุมโรคเบาหวานไม่ให้แย่ลง อาจทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพของตนให้ดี ด้วยการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง การเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม เพราะหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานรวมถึงภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคเบาหวานในอนาคต [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคเบาหวาน โรคเบาหวานอาจแบ่งตามสาเหตุการเกิดคร่าว ๆ ได้ ดังนี้ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิมาทำลายเซลล์ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินซึ่งต้องใช้ในกระบวนการนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เปลี่ยนเป็นพลังงาน เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอ จึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 1 โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือที่เรียกว่าภาวะดื้ออินซูลิน จึงทำให้เซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างที่ควรเป็น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง และนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากร่างกายมีระดับฮอร์โมนเอชพีแอล (Human Placental Lactogen : HPL) ซึ่งสร้างจากรก และฮอร์โมนชนิดอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเหล่านี้จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่มีฤทธิ์ต้านกับฮอร์โมนอินซูลิน จึงอาจทำให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลินเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีในระยะยาวอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานดังต่อไปนี้ โรคหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดต่าง ๆ รวมไปถึงหลอดหัวใจเสียหาย และมีความดันโลหิตสูง จนอาจนำไปสู่ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจวาย ทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองด้วย โรคปลายประสาทอักเสบ ผนังหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลายและเสื่อมลงเนื่องจากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน โดยมักจะเกิดความเสียหายกับเส้นประสาทส่วนปลายก่อน เช่น บริเวณเท้า ขา […]


โรคเบาหวาน

อาหาร คนเป็น เบาหวาน ไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง

อาหาร คนเป็น เบาหวาน ไม่ควรกิน คือ อาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังบริโภค ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเป็นไปได้ยากขึ้น และอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานซึ่งจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากขึ้น โดยอาหารที่ คนเป็น เบาหวาน ไม่ควรกิน ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตขัดสีอย่างขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาว และอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำตาลอย่างผลไม้กระป๋องในน้ำเชื่อม น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ ผลไม้แห้ง [embed-health-tool-bmi] เบาหวานคืออะไร โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเป็นแล้วจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เพราะตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกายหรือไม่ได้เลย หรืออาจเกิดจากการที่เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่อฤทธิ์ของอินซูลินได้ไม่ดี จึงไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลไปเป็นพลังงานได้ ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่อง ส่งผลให้น้ำตาลสะสมในกระแสเลือดมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ผู้ป่วยเบาหวานควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเหมาะแก่สุขภาพ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป อาหาร คนเป็น เบาหวาน ไม่ควรกิน มีอะไรบ้าง อาหารที่คนเป็นเบาหวานไม่ควรรับประทาน มักเป็นอาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็วหลังบริโภค ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ได้แก่ อาหารต่าง ๆ ต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรตขัดสี เช่น ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาว ขนมอบ […]


โรคเบาหวาน

LADA หรือเบาหวานแพ้ภูมิตัวเอง สาเหตุ อาการ การรักษา

LADA (Latent Autoimmune Diabetes in Adults) คือโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่เซลล์ในตับอ่อนซึ่งมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายอย่างช้า ๆ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย LADA จะค่อย ๆ แย่ลงจนถึงขั้นที่เซลล์ในตับอ่อนถูกทำลายจนหมด และผู้ป่วยต้องฉีดอินซูลินทดแทนเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [embed-health-tool-bmi] คำจำกัดความ LADA คืออะไร LADA หรือ เบาหวานแพ้ภูมิตัวเอง คือโรคเบาหวานชนิดหนึ่ง มีสาเหตุคล้ายกับเบาหวานชนิดที่ 1 คือ เบต้าเซลล์ (β-Cell) ของตับอ่อน ซึ่งทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลายจากภูมิซึ่งสร้างจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง จนทำให้ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลิน เเต่มักพบในวัยผู้ใหญ่ เช่นเดียวกับในโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ที่สาเหตุเกิดจากภูมิในร่างกายไปทำลายตับอ่อนเช่นกัน เเต่มักเเสดงอาหารตั้งเเต่ในช่วยเด็กเเละวัยรุ่น ดังนั้นบางครั้งจึงอาจเรียก LADAว่า เบาหวานชนิดที่ 1.5 การที่ LADA มักพบในวัยผู้ใหญ่นั้นอาจมาจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติทีละน้อย แล้วค่อย ๆ ทำลายเบตาเซลล์ในตับอ่อนอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่งผลให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดบกพร่องอย่างช้า ๆ จนกระทั่งน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเรื่อย ๆ เเละนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด อาการ อาการของ LADA เมื่อเป็นเบาหวานแพ้ภูมิตัวเอง จะมีอาการเช่นเดียวกับเบาหวานชนิดที่ 1 […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน