การคลอดและหลังคลอด

การคลอดและหลังคลอด เป็นเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนต้องเตรียมพร้อม โดยการคลอดที่รู้จักกันดีอยู่แล้วคือ การคลอดธรรมชาติ และการผ่าคลอด ซึ่งกรณีที่ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้ ก็จะต้องผ่าคลอด เพื่อความปลอดภัยของทารก เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับ การคลอดและหลังคลอด ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

การคลอดและหลังคลอด

ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรค่อย ๆ จัดกระเป๋าของใช้เตรียมคลอดไปโรงพยาบาลเสียแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตัดสินใจคลอดธรรมชาติ เพื่อเตรียมความพร้อม เช็คลิสต์ ของใช้เตรียมคลอด ได้อย่างครบถ้วน ทั้งอุปกรณ์ ของใช้ ของแม่และทารก รวมถึงเอกสารสำคัญที่ควรรวบรวมเก็บไว้ในที่เดียวกัน ให้ง่ายต่อการขนย้ายในวันที่เจ็บท้องคลอด [embed-health-tool-due-date] ของใช้เตรียมคลอด ไปโรงพยาบาล มีอะไรบ้าง สำหรับข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นในการเก็บกระเป๋าเตรียมคลอดไปโรงพยาบาล คุณแม่อาจมีเช็คลิสต์ของใช้เตรียมคลอด โดยแยกเป็นหมวดหมู่ 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ของใช้สำหรับคุณแม่ ของใช้สำหรับทารก และเอกสารสำคัญ ตัวอย่างเช่น ของใช้ส่วนตัวของคุณแม่ ได้แก่ สบู่  ยาสระผม  ยาสีฟัน  แปรงสีฟัน  โฟมล้างหน้า  ครีมบำรุงผิว ผ้าเช็ดตัว แผ่นอนามัยหรือผ้าอนามัย หลังคลอดคุณแม่จะมีน้ำคาวปลา จึงควรเตรียมเผื่อเอาไว้ เสื้อผ้าสำหรับคุณแม่ใส่ในวันกลับบ้าน 1 ชุด ควรเลือกเสื้อผ้าที่ใส่สบาย สวมง่าย เป็นชุดที่ให้นมลูกได้ โดยเฉพาะกางเกงชั้นในควรเลือกที่ใส่สบาย  ผ้ารัดหน้าท้อง ควรมีไว้เพื่อกระชับเอวให้เคลื่อนไหวได้สะดวกขึ้น เตรียมของสำหรับการให้นม เช่น ชุดชั้นในให้นม และแผ่นซับน้ำนมเพื่อป้องกันน้ำนมซึมเปื้อน รองเท้า ควรเลือกส้นเตี้ยสวมใส่ได้สบาย แว่นตา กรณีที่สายตามีปัญหา โทรศัพท์มือถือ […]

สำรวจ การคลอดและหลังคลอด

เตรียมตัวก่อนคลอด

อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง และวิธีรับมือเมื่อมีอาการใกล้คลอด

อาการใกล้คลอด อาจเริ่มปรากฏขึ้นในช่วง 2-4 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด หรือประมาณสัปดาห์ที่ 36 ของการตั้งครรภ์ อาการใกล้คลอดที่พบบ่อย เช่น เจ็บท้องหลอก มดลูกบีบตัว ท้องเสีย ปากมดลูกขยายเริ่มขยาย มีมูกเลือดออกทางช่องคลอด การรู้จักสังเกตของอาการใกล้คลอด และเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อมีอาการใกล้คลอด อาจช่วยให้คุณแม่สามารถเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดได้อย่างเหมาะสมเมื่อถึงกำหนดคลอดจริง [embed-health-tool-due-date] อาการใกล้คลอด มีอะไรบ้าง สัญญาณของอาการใกล้คลอด ที่สามารถสังเกตได้โดยทั่วไป มีดังนี้ ทารกเคลื่อนตัวลงต่ำ ประมาณ 2-4 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนดคลอด ท้องของคุณแม่จะคล้อยต่ำลง เนื่องจากทารกเคลื่อนตัวลงมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับกระดูกเชิงกราน และเริ่มกลับศีรษะเข้าไปที่บริเวณอุ้งเชิงกรานเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ในระยะนี้คุณแม่จะเริ่มหายใจได้สะดวกขึ้น เนื่องจากทารกเคลื่อนตัวออกห่างจากบริเวณปอด ปากมดลูกขยาย เมื่อใกล้วันคลอด ปากมดลูกของคุณแม่จะเริ่มเปิดและขยายกว้างขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอดทารก อย่างไรก็ตาม คุณแม่ใกล้คลอดบางคนอาจมีอาการปากมดลูกเปิดก่อนกำหนดโดยอาจจมีมีอาการมูกเลือดออกทางช่องคลอดให้สังเกตเห็นได้ ขณะที่บางคนปากมดลูกเปิดช้ากว่ากำหนด ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ แต่ก็ควรได้รับการดูแลจากคุณหมออย่างใกล้ชิด อาการปวดหลัง ยิ่งใกล้คลอดเท่าไหร่ อาการปวดหลังก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเท่านั้น คุณแม่ใกล้คลอดจะรู้สึกปวดหลังมากกว่าปกติ โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง หรือบางครั้งอาจปวดแบบเป็นตะคริวลามไปจนถึงต้นขา ซึ่งอาการปวดเช่นนี้เป็นผลมาจากร่างกายยืดและขยายตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด รวมถึงอาจจะเกิดจากการที่เริ่มมีมดลูกหดรัดตัวบ้างแล้ว ทำให้มีการปวดร้าวไปถึงหลังได้ อาการท้องเสีย คุณแม่หลายคนมักมีอาการท้องเสียเมื่อใกล้คลอด เนื่องจากร่างกายผ่อนคลายเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อให้พร้อมสำหรับการคลอด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณทวารหนักที่จะคลายตัวอย่างมาก รวมทั้งมีการหลังสารที่ทำให้มดลูกเริ่มมีการหดรัดตัว ซึ่งสารดังกล่าวมีผลทำให้ลำไส้บีบตัวร่วมด้วยได้บ้าง จึงทำให้ขับถ่ายง่ายขึ้น  มีเมือกไหลออกจากช่องคลอด การขับเมือกเหนียวและตกขาวออกมาทางช่องคลอดเป็นอาการใกล้คลอดที่พบบ่อย ยิ่งใกล้กำหนดคลอดมากเท่าไหร่ คุณแม่ก็จะยิ่งมีตกขาวและเยื่อเมือกเหนียวไหลออกมามากขึ้นหรือหนาขึ้นเท่านั้น เมือกเหนียวและตกขาวที่พบมักมีเลือดปนออกมาด้วย จากการที่ปากมดลูกเริ่มมีการขยายตัวเปิดออกซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดเต็มทีแล้ว มดลูกบีบตัว ในช่วงใกล้คลอด มดลูกจะเริ่มหดหรือบีบตัวเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ทำให้คุณแม่ใกล้คลอดรู้สึกเกร็งช่องคลอด ท้องแข็งปั้นเป็น ๆ หาย […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีป้องกัน

เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์รู้สึกเจ็บท้องคลอดก่อนอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 37 ซึ่งภาวะนี้อาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์และครอบครัวตกใจ หรือกระวนกระวายใจ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ทั้งสัญญาณเตือน ปัจจัยเสี่ยง และวิธีรับมือที่ถูกต้องหากเกิดภาวะนี้ขึ้นก่อนคลอด [embed-health-tool-due-date] เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เกิดจากอะไร การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (Premature Labor) เกิดจากมดลูกหดรัวตัวก่อนถึงกำหนดคลอด จนทำให้ปากมดลูกเปิด ซึ่งภาวะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์   ปัจจัยที่ทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สาเหตุที่ทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอาจมีดังนี้ มีประวัติเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดมาก่อน ท้องลูกแฝด ตั้งแต่แฝดสองขึ้นไป ปากมดลูกสั้น คุณแม่ท้องมีน้ำหนักตัวมากหรือน้อยเกินไปตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ มีปัญหาเกี่ยวกับมดลูกหรือรก มีการติดเชื้อในน้ำคร่ำ หรืออวัยวะส่วนล่าง สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึมเศร้า แม่ตั้งครรภ์ตอนอายุมากหรืออายุน้อยเกินไป มีความผิดปกติของทารกในครรภ์ สัญญาณ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เป็นอย่างไร อาการที่อาจเป็นสัญญาณของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด อาจมีดังนี้ ปวดท้องรุนแรง โดยไม่มีอาการท้องร่วง เจ็บหรือแน่นที่บริเวณหน้าท้องบ่อย ๆ มีตกขาวเพิ่มขึ้น ตกขาวมีเลือด มูก หรือของเหลวปนมา ปวดหลัง โดยเฉพาะหลังส่วนล่าง มดลูกหดตัว หรือรู้สึกแน่นที่มดลูกทุก ๆ 10 นาที มีเลือดออกทางช่องคลอด ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด […]


การคลอดและหลังคลอด

การออกกำลังกายหลังคลอด ประโยชน์ และข้อควรระวัง

การออกกำลังกายหลังคลอด เป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของคุณแม่ให้กลับมาแข็งแรง ไม่ว่าจะเป็นการช่วยควบคุมน้ำหนักให้กลับมาเป็นปกติ ช่วยกระชับกล้ามเนื้อที่ขยายขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ช่วยเสริมสมรรถภาพการทำงานของอวัยวะในร่างกาย และอาจช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นหลังจากคลอดลูก อย่างไรก็ตาม คุณแม่หลังคลอดไม่ควรหักโหมออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและการบาดเจ็บได้ [embed-health-tool-pregnancy-weight-gain] การออกกำลังกายหลังคลอด ดีอย่างไร สำหรับคุณแม่ที่ผ่านการคลอดลูกมาแล้ว และอยู่ระหว่างการพักฟื้นสภาพร่างกายและจิตใจหลังคลอด การออกกำลังกายถือเป็นกิจกรรมที่ดี เพราะมีส่วนช่วยให้การฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดทำได้ดีขึ้น ดังนี้ คุณแม่หลายท่านอาจมีปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัว แม้ว่าจะคลอดลูกไปแล้ว แต่น้ำหนักก็ไม่ได้หายไปจากเดิมสักเท่าไหร่ การเริ่มออกกำลังกายเมื่อคลอดลูกผ่านไปแล้ว 6-8 สัปดาห์ จะช่วยควบคุมน้ำหนักให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เสริมสร้างสมรรถภาพของหัวใจและหลอดเลือด ช่วยกระชับกล้ามเนื้อและกระชับหน้าท้อง ช่วยฟื้นฟูร่างกายหรือแผลจากการผ่าตัดจากการคลอดลูกให้ดีขึ้น เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น ช่วยลดหรือบรรเทาความเครียด ป้องกันความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การออกกำลังกายหลังคลอด เริ่มได้เมื่อไหร่ โดยทั่วไปแล้ว คุณหมอมักจะไม่แนะนำให้เริ่มออกกำลังกายทันทีหลังจากคลอดลูก แต่เมื่อผ่านการคลอดลูกไปสักระยะหนึ่งแล้วก็สามารถที่จะเริ่มออกกำลังกายได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณแม่มีการคลอดแบบธรรมชาติ หลังจากนั้นเพียง 2-3 วัน อาจเริ่มออกกำลังกายได้อีกครั้ง แต่อาจจะต้องออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการวิ่ง หรือเดินเร็วไปก่อน เนื่องจากร่างกายยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด หรือมีการคลอดที่ซับซ้อน อาจจำเป็นจะต้องปรึกษากับแพทย์ดูก่อนว่าร่างกายจะพร้อมกลับมาออกกำลังกายได้อีกครั้งเมื่อไหร่ การออกกำลังกายหลังคลอด ต้องระวังอะไรบ้าง แม้ว่าคุณหมอจะอนุญาตให้คุณแม่ออกกำลังกายได้ และร่างกายของคุณแม่ก็พร้อมที่จะออกกำลังกาย หลังคลอด แต่ก็มีข้อควรระมัดระวังที่ควรใส่ใจ ดังนี้ หลังคลอด อย่าเพิ่งหักโหมออกกำลังกายที่ต้องออกแรงมาก และไม่ควรหักโหมออกกำลังกายอย่างหนัก แม้จะรู้สึกว่าร่างกายพร้อมเต็มที่แล้วก็ตาม คุณแม่ไม่ควรลืมว่าร่างกายเพิ่งจะผ่านการผ่าตัด และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มา […]


การคลอดและหลังคลอด

คีมคีบทำคลอดกับเครื่องดูดสุญญากาศ คืออะไร เรื่องน่ารู้สำหรับหญิงท้องแก่

คีมคีบทำคลอดกับเครื่องดูดสุญญากาศ คืออุปกรณ์ช่วยทำคลอดที่คุณหมอและพยาบาลมักใช้ระหว่างคลอดโดยเฉพาะการคลอดธรรมชาติที่คุณแม่ต้องเบ่งคลอดเอง เพราะเมื่อครบกำหนดคลอดคุณแม่บางคนอาจจะเกิดปัญหาคลอดยาก ต้องใช้แรงเบ่งนานแต่ทารกก็อาจจะยังไม่สามารถคลอดออกมาได้ คุณหมอจึงจำเป็นต้องมีวิธีการช่วยเหลือที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี โดยอุปกรณ์ทำคลอดแต่ละชนิดนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกัน [embed-health-tool-due-date] รู้จัก คีมคีบทำคลอดกับเครื่องดูดสุญญากาศ คีมคีบทำคลอด คีมคีบทำคลอด เป็น อุปกรณ์ช่วยทำคลอด มีลักษณะคล้ายช้อนที่มีด้ามยาว ๆ ใช้สำหรับช่วยดึงศีรษะทารกออกจากช่องคลอดในกรณีที่คลอดยาก ทารกไม่สามารถออกมาจากช่องคลอดได้เอง หรือในรายที่ไม่ต้องการให้คุณแม่เบ่งคลอด เช่น กรณีที่คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะรอคลอด คีมทำคลอด ออกแบบมาสำหรับรองรับการดึงศีรษะทารกโดยเฉพาะ คุณหมอหรือพยาบาลผู้ใช้งานจำเป็นจะต้องมีความชำนาญโดยเฉพาะ หลักการทำงานของคีมทำคลอดก็คือ แพทย์จะใช้คีมทำคลอดดึงศีรษะทารกออกมาโดยไม่ต้องใช้แรงเบ่งจากมารดาร่วมด้วย เครื่องดูดสุญญากาศ เครื่องดูดสุญญากาศสำหรับทำคลอดนั้น ไม่เหมือนกับเครื่องดูดทั่ว ๆ ไป แต่หลักการในการทำงานของเครื่องดูดสุญญากาศสำหรับทำคลอดใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องดูดอื่น ๆ คือ ใช้แรงดูดสุญญากาศเพื่อให้สิ่งของนั้นติดขึ้นมา เครื่องดูดสุญญากาศสำหรับทำคลอด เป็นเครื่องดูดที่ใช้แรงอ่อน ๆ เท่านั้น เพื่อทำการดูดศีรษะทารก ซึ่งจะดูดพร้อม ๆ กับช่วงที่คุณแม่ออกแรงเบ่ง การใช้ อุปกรณ์ช่วยทำคลอด นั้น โดยปกติแล้วมักจะใช้ในกรณีที่คลอดยาก เบ่งแล้วทารกไม่ออกมา โดยทั้งสองวิธีต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน และบริบทของคุณแม่และทารกในขณะนั้นสามารถทำได้ แต่หากลองใช้ทั้ง 2 วิธีแล้ว ก็ยังไม่สามารถทำคลอดได้ คุณหมออาจจะเลือกวิธีผ่าคลอดแทน เพื่อไม่ให้คุณแม่และทารกเป็นอันตราย ข้อดีและข้อเสียของ คีมคีบทำคลอดกับเครื่องดูดสุญญากาศ คีมทำคลอดเป็น อุปกรณ์ช่วยทำคลอด ที่จะต้องอาศัยความชำนาญจากคุณหมอผู้ใช้เป็นอย่างมาก คุณหมอผู้ที่จะใช้คีมทำคลอดในการช่วยคลอดนั้นจะต้องผ่านการฝึกฝนเป็นเวลานาน ส่วนเครื่องดูดสุญญากาศเป็น อุปกรณ์ช่วยทำคลอด ที่ใช้ได้ง่ายกว่าคีมทำคลอด […]


ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด

โรคชีแฮน ภาวะตกเลือดมากขณะคลอดหรือหลังคลอด

โรคชีแฮน เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เสียเลือดมากขณะคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร ส่งผลให้มีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียกว่าปกติ นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้น้ำนมน้อยจนไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด ให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม โรคชีแฮน  โรคชีแฮน (Sheehan’s Syndrome) เป็นภาวะความผิดปกติของต่อมใต้สมองที่อาจเกิดจากการตกเลือดหรือเสียเลือดมากจนเกินไป ขาดออกซิเจน หรืออาจมีความดันโลหิตต่ำกว่าปกติระหว่างการคลอดบุตรหรือหลังคลอดบุตร การตกเลือดปริมาณมาก ๆ อาจทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงบริเวณต่อมใต้สมองได้เพียงพอ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการอ่อนเพลีย น้ำนมน้อมไม่สามารถให้นมลูกได้ โดยสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้เสียเลือดในปริมาณมาก อาจมีดังนี้ ภาวะครรภ์เป็นพิษ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด รกเกาะต่ำ ให้กำเนิดทารกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4,000 กรัม อาการของโรคชีแฮน โรคชีแฮนส่วนใหญ่จะพบในเพศหญิง โดยอาจส่งผลทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ น้ำนมน้อยไม่สามารถให้นมลูกได้ ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนขาด น้ำหนักขึ้น หนาวง่าย ประสิทธิภาพทางกระบวนความคิดช้าลง อ่อนเพลีย อ่อนแรง ผิวบริเวณรอบดวงตาและริมฝีปากเหี่ยวย่น เต้านมหดตัว ผิวแห้ง อาการปวดข้อ ความต้องการทางเพศลดลง น้ำตาลในเลือดต่ำ ความดันโลหิตต่ำ […]


เตรียมตัวก่อนคลอด

ท้องแก่ใกล้คลอด ควรเตรียมตัวคลอดอย่างไร

เมื่อ ท้องแก่ใกล้คลอด หรือเมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 คุณแม่ควรเริ่มศึกษาวิธีการเตรียมตัวคลอด เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาฉุกละหุกในวันกำหนดคลอด และยังอาจช่วยลดความกังวลก่อนที่วันคลอดจะมาถึง รวมทั้งช่วยให้สามารถรับมือได้ดีหากมีเหตุฉุกเฉิน เช่น คลอดก่อนกำหนด [embed-health-tool-due-date] การเตรียมตัวคลอด สำหรับคุณแม่ใกล้คลอด วิธีเตรียมตัวคลอดเหล่านี้ จะช่วยให้คุณแม่ใกล้คลอดพร้อมรับมือกับการคลอดลูกมาขึ้น ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และการคลอด อย่างพัฒนาการของทารกในครรภ์ อาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ สัญญาณและอาการใกล้คลอด รูปแบบในการคลอดลูก ขั้นตอนในการคลอด หรืออื่น ๆ ไว้ด้วย การทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้คุณแม่รู้ข้อมูลพื้นฐาน และสามารถรับมือได้ดีขึ้น หากเกิดภาวะต่าง ๆ แต่แนะนำว่า คุณแม่ควรขอข้อมูลจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญแทนการค้นหาข้อมูลด้วยตัวเองจากในอินเตอร์เน็ต จะได้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ หรือหากอยากศึกษาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตจริง ๆ ก็ควรเลือกเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เตรียมใจให้พร้อม การเจริญสติ (Mindfulness Meditation) คือ ฝึกควบคุมสติของตัวเองให้อยู่กับปัจจุบัน ช่วยให้คุณแม่ท้องแรกรับมือกับความหวาดกลัวที่มาพร้อมการตั้งครรภ์ได้ ทั้งยังช่วยลดอาการของโรคซึมเศร้าทั้งก่อนคลอดและหลังคลอดด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถเจริญสติได้ง่ายมาก เพียงแค่หลับตา ทำสมาธิ เพ่งความสนใจไปที่ลมหายใจของตัวเอง เริ่มจากวันละสัก 5 นาทีก่อนก็ได้ จากนั้นจึงค่อย ๆ ใช้เวลาเจริญสติให้นานถึงหากต้องการ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า การออกกำลังกายในระดับความเข้มข้นปานกลางเป็นประจำทุกวัน เช่น เดินวันละ 30 นาที จะช่วยคลายเครียด ทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น และช่วยให้คุณแม่มีน้ำหนักตัวและรูปร่างที่เหมาะสม ซึ่งล้วนส่งผลดีต่อการตั้งครรภ์และการคลอดลูกทั้งสิ้น และไม่ใช่แค่นั้น เพราะงานวิจัยล่าสุดยังชี้ว่า การเดินในช่วงที่ตั้งครรภ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ […]


การคลอด

คลอดก่อนกำหนด สาเหตุและการป้องกัน

คลอดก่อนกำหนด (Preterm Birth) หมายถึง ภาวะที่คุณแม่คลอดบุตรตอนอายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนด 37 สัปดาห์นี้ ซึ่งมักเกิดขึ้นกะทันหัน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และในบางราย อาจเป็นอันตรายต่อแม่และทารกได้ โดยปกติแล้วอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอดจะอยู่ที่ประมาณ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน เพราะหากทารกลืมตาดูโลกตอนอายุครรภ์น้อยอาจมีพัฒนาการที่ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่และเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนได้ [embed-health-tool-due-date] สาเหตุที่อาจทำให้ คลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกำหนด เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาสุขภาพของทารกในครรภ์ ปัญหาสุขภาพของคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่มากกว่า 50% ของการคลอดก่อนกำหนดนั้นไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด มีปัจจัยบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการก่อให้เกิดการคลอดกำหนดได้ ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกำหนด เคยเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดมาก่อน ตั้งครรภ์แฝด เช่น แฝดสอง แฝดสาม หรือมากกว่า ระยะห่างระหว่างการตั้งครรภ์ครั้งปัจจุบันห่างจากครั้งก่อนน้อยกว่า 6 เดือน ตั้งครรภ์โดยการทำเด็กหลอดแก้ว หรือไอวีเอฟ (In Vitro Fertilization หรือ IVF) รก มดลูก หรือปากมดลูกมีความผิดปกติ สูบบุหรี่ ใช้ยาเสพติด หรือใช้ยารักษาโรคอย่างไม่เหมาะสม เกิดการติดเชื้อหรือการอักเสบ โดยเฉพาะที่ถุงน้ำคร่ำ และอวัยวะส่วนล่างในอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูก ช่องคลอด […]


การคลอด

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เลือกวิธีไหนดีกว่ากัน

คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด ทางเลือกสำหรับการคลอดลูกที่คุณแม่มือใหม่ไม่รู้ว่าควรตัดสินใจเลือกวิธีไหนดี ซึ่งแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป นอกจากนั้นแล้ว วิธีคลอดลูกยังขึ้นอยู่กับอายุคุณแม่ ภาวะสุขภาพ ภาวะของทารก ภาวะครรภ์ และหลาย ๆ ปัจจัยประกอบกัน คุณแม่ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการคลอดธรรมชาติและการผ่าคลอด และปรึกษาคุณหมอสำหรับวิธีที่ดีที่สุดที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อตนเองและทารกในครรภ์ [embed-health-tool-due-date] คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด เลือกวิธีไหนดี เมื่อตั้งครรภ์ นอกเหนือไปจากการดูแลตนเองและทารกในครรภ์แล้ว คุณแม่มือใหม่มักกังวลใจเกี่ยวกับวิธีการคลอดลูก ว่าจะเลือก คลอดธรรมชาติหรือผ่าคลอด จึงจะปลอดภัยกว่า จริง ๆ แล้วแม้ว่าการคลอดด้วยธรรมชาติจะเป็นวิธีที่คุณแม่ 2 ใน 3  เลือก แต่สำหรับบางกรณีการคลอดแบบธรรมชาติก็อาจจะเกิดความเสี่ยงต่อทั้งแม่และเด็ก คุณหมอจึงอาจแนะนำให้ผ่าคลอดแทน เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ ข้อ เช่น อายุคุณแม่ ขนาดและน้ำหนักตัวของทารก ท่าทางของทารกก่อนถึงกำหนดคลอด ในช่วงไตรมาสสุดท้าย คุณหมอจะประเมินภาวะครรภ์และแนะนำวิธีการคลอดที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของแม่และทารกในครรภ์มากที่สุด ส่วนใหญ่แล้วการผ่าคลอดมักจะเป็นกรณีที่คุณแม่ได้ลูกแฝด หรือกรณีที่คุณแม่มีปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คุณแม่มีเชื้อเอชไอวีหรือมีปัญหาเรื่องโรคเริม รวมทั้งคุณแม่ซึ่งมีความเสี่ยงสูงอย่างเช่น อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป รวมทั้งในกรณีที่ทารกในครรภ์ไม่กลับหัวในช่วงใกล้คลอดด้วย การคลอดธรรมชาติ (Vaginal birth) การคลอดธรรมชาติ เป็นวิธีการคลอดที่คุณแม่นั้นจะเบ่งคลอดเองทางช่องคลอด ซึ่งส่วนใหญ่แล้ววิธีนี้ถือเป็นวิธีที่มีความปลอดภัยต่อทั้งคุณแม่และลูก อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีข้อดีและข้อเสีย ได้แก่ ข้อดีของ การคลอดธรรมชาติ […]


การคลอด

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร มีประโยชน์และความเสี่ยงอย่างไร

คลอดลูกในน้ำ เป็นทางเลือกหนึ่งในการคลอดลูก โดยขณะคลอด คุณแม่จะแช่อยู่ในสระน้ำอุ่นภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ การคลอดลูกในน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการเจ็บท้องขณะคลอด ลดระยะเวลาการคลอด และอาจช่วยให้คุณแม่รู้สึกเครียดน้อยกว่าการคลอดในโรงพยาบาลตามปกติ อย่างไรก็ตาม การคลอดลูกในน้ำอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีสภาวะบางอย่าง เช่น ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เป็นโรคผิวหนัง ครรภ์เป็นพิษ [embed-health-tool-due-date] คลอดลูกในน้ำ คืออะไร การคลอดลูกในน้ำ (Water birth) หมายถึงกระบวนการคลอดโดยให้ตัวคุณแม่แช่อยู่ในอ่างหรือสระน้ำอุ่นที่มีความลึกประมาณหนึ่ง ในปัจจุบัน มีทางเลือกสำหรับการคลอดในน้ำรูปแบบต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับความชอบและสภาวะของตัวแม่เด็กและทารกในครรภ์ โดยสามารถเลือกคลอดในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ให้การสนับสนุนเรื่องการคลอดในน้ำ หรืออาจจะคลอดที่บ้านภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญก็ได้ ในช่วงระหว่างการคลอดนั้น ตัวคุณแม่จะต้องแช่อยู่ในน้ำอุ่น โดยเลือกได้ว่าจะแช่อยู่ในน้ำแค่ในช่วงเจ็บท้องคลอด แล้วออกมาคลอดข้างนอก หรือจะคลอดขณะที่ยังแช่อยู่ในน้ำเลยก็ได้ การคลอดในน้ำนั้นเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการทำธาราบำบัด (hydrotherapy) โดยใช้น้ำมาเป็นตัวช่วยในการลดความปวดและความเครียดระหว่างการคลอดได้เป็นอย่างดี การคลอดในน้ำมีประโยชน์อย่างไร การคลอดในน้ำนั้นมีประโยชน์ทั้งต่อตัวคุณแม่ตั้งครรภ์เองและทารกในครรภ์ในด้านต่างๆ ดังนี้ ประโยชน์สำหรับแม่ตั้งครรภ์ สมาคมสูตินรีแพทย์ของประเทศสหรัฐอเมริกา (The American College of Obstetricians and Gynecologists) ได้กล่าวถึงการคลอดในน้ำไว้ว่า การที่ให้แม่แช่ตัวอยู่ในน้ำอุ่นในช่วงแรกของการเจ็บท้องคลอด อาจช่วยลดระยะเวลาช่วงเจ็บท้องคลอดให้สั้นลง และยังช่วยบรรเทาอาการปวดที่บริเวณไขสันหลังและโดยรอบได้  อีกทั้ง การคลอดลูกในน้ำจะช่วยลดอัตราจำนวนแพทย์หรือพยาบาลที่ต้องทำการผ่าคลอดลง นอกจากนี้ผู้ที่คลอดลูกในน้ำยังมีความเครียดหลังคลอดน้อยกว่าผู้ที่คลอดลูกด้วยวิธีตามปกติอีกด้วย น้ำอุ่นจะช่วยผ่อนคลาย ให้ความรู้สึกปลอบประโลม และสบายใจแก่ตัวแม่เด็ก น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนัก ทำให้สามารถเคลื่อนไหวและปรับเปลี่ยนท่าทางได้สะดวกมากยิ่งขึ้น การลอยตัวในน้ำยังมีประโยชน์ต่อการหดตัวของมดลูก และช่วยเรื่องการไหลเวียนของโลหิต ทำให้สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณมดลูกและทารกในครรภ์ได้ดียิ่งขึ้น และบรรเทาอาการปวดสำหรับหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ น้ำยังช่วยอาจลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ทำให้ร่างกายสามารถสร้างเอนดอร์ฟิน […]


การคลอด

ระยะทารกหัวโผล่ ขณะคลอด (Birth Crowning)

ระยะทารกหัวโผล่ ในขณะคลอดนั้น เรียกได้ว่าเป็นช่วงพีคของคนเป็นแม่และคุณหมอผู้ทำคลอดเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นวินาทีที่ลูกของคุณกำลังจะลืมตาดูโลกในไม่ช้า ทั้งยังเป็นช่วงเวลาที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่คุณแม่มากที่สุดในการคลอดอีกด้วย คุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะมาเล่าให้ฟังว่า ระยะทารกหัวโผล่คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร เพื่อให้คุณแม่ที่กำลังเตรียมตัวคลอดมีความเข้าใจและเตรียมตัวเพื่อรับมือกับช่วงเวลานั้น ระยะทารกหัวโผล่ ขณะคลอดคืออะไร ในระหว่างการคลอด ศีรษะของทารกจะยื่นออกมาเล็กน้อยพร้อมกับการหดตัวและหลังการหดตัวศีรษะจะหดกลับเข้าไป ระยะทารกศีรษะโผล่เป็นช่วงเวลาที่ศีรษะของทารกค้างอยู่ เมื่อเกิดภาวะนี้ ต้องทำการคลอดโดยเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นขณะคลอด การเตรียมตัวคลอดเกิดขึ้นหลายสัปดาห์ก่อนกำหนดคลอด กระบวนการนี้เรียกว่า การเข้าสู่อุ้งเชิงกราน (engagement) ซึ่งเป็นช่วงที่ศีรษะของทารกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานของแม่ ขั้นตอนการคลอดมีหลายขั้นตอน การบีบตัวมาในช่วงแรกซึ่งเป็นช่วงสั้นๆ แต่รุนแรง จากนั้นเป็นช่วงของการคลอดที่มีการขยายตัวของปากมดลูก ซึ่งเป็นช่วงที่ศีรษะของทารกโผล่ออกมา การเตรียมตัวสำหรับวันคลอด กานวดฝีเย็บในระยะคลอด (Perineal Massage) มีประโยชน์มากคุณสามารถทำการนวดได้ตั้งแต่มีอายุครรภ์ 35 สัปดาห์ ใช้เจลหล่อลื่นทาที่นิ้วและนวดขยายช่องคลอดเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน วิธีการนี้ช่วยเตรียมร่างกาย ลดความรู้สึกแสบและช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงฝีเย็บฉีกขาดได้ สิ่งที่ควรระลึกในขณะที่ศีรษะทารกโผล่ ระยะที่ทารกศีรษะโผล่ คุณจะรู้สึกแสบเนื่องจากการขยายตัวที่เกิดจากศีรษะของทารก เมื่อเกิดอาการคุณต้องหยุดเบ่งเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงการฉีกขาดของฝีเย็บ แพทย์หรือผู้ทำการคลอดจะพูดคุยกับคุณตลอดระยะเวลานี้ หลังจากอาการแสบหมดไปกลายเป็นอาการชาเนื่องจากศีรษะของทารกขยายเนื้อเยื่อช่องคลอดไปจนถึงระบบประสาทส่วนนั้นถูกสกัดกั้น ซึ่งทำหน้าที่เหมือนเป็นยาชาธรรมชาติ ระยะเวลาการเกิดอาการขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ขั้นตอนนี้ถือเป็นช่วงเวลาที่เจ็บปวดมากที่สุด ในการลดความเจ็บปวดนั้น พยายามกำหนดลมหายใจ การหายใจสั้นถี่อาจช่วยลดการฉีกขาด และท่าสควอทถือเป็นท่าที่ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดได้ คุณอาจขอกระจกเพื่อให้คุณเห็นศีรษะของทารก หรืออาจเอื้อมมือเพื่อสัมผัสศีรษะของทารก ให้สามีของคุณอยู่ด้วยเพื่อเป็นการให้กำลังใจ การคลอดไม่ใช่สิ่งที่ทำได้โดยง่าย คุณจึงต้องการความช่วยเหลือมากมาย โดยอาจใช้ผ้าเย็นรองที่หลังคอและจิบน้ำในขณะเบ่งเพื่อไม่ให้รู้สึกเหนื่อยเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากทารกศีรษะโผล่ หลังจากที่ศีรษะทารกโผล่ แพทย์จะทำการตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับทารก เช่น  สายสะดือพันคอทารก หากทารกยังติดอยู่ แพทย์อาจใช้คีม […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

คุณกำลังกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ใช่หรือไม่?

หยุดกังวลได้แล้ว มาเข้าชุมชนสนทนาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ และแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และว่าที่คุณแม่คนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม