สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

โรคเด็กและอาการทั่วไป

เด็กนอนกัดฟัน สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้าง

เด็กนอนกัดฟัน เป็นภาวะที่เด็กขบฟันกรามซี่บนเข้ากับซี่ล่างในขณะนอนหลับเป็นประจำ จนเกิดเสียงดัง และอาจทำให้ฟันสึกและมีอาการปวดฟันและกรามตามมาได้ เด็กอาจเริ่มนอนกัดฟันตั้งแต่ช่วงที่ฟันแท้เริ่มขึ้นหรือตอนอายุประมาณ 6 ขวบ คุณพ่อคุณแม่อาจได้ยินเสียงฟันกรามกระทบหรือขบกันเมื่อเด็กนอนหลับในเวลากลางคืน หรือสังเกตเห็นความผิดปกติของฟัน เช่น ฟันแตก ฟันบิ่น หากพบว่าการนอนกัดฟันส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือกังวลว่าฟันหรือสุขภาพช่องปากของเด็กจะมีปัญหา ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ สาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม เด็กนอนกัดฟันเกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟัน อาจมีดังนี้ ปัญหาสุขภาพฟัน การมีฟันขึ้นซ้อนเก ฟันห่าง ความสูงของฟันผิดปกติ รวมไปถึงการติดเครื่องมือจัดฟันภายในช่องปาก อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาในกลุ่มยาต้านเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้จะไปปรับระดับสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมในขณะนอนหลับได้ พันธุกรรม เด็กที่นอนกัดฟันอาจมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวมีประวัตินอนกัดฟัน ก็อาจทำให้เด็กมีอาการนี้ได้เช่นกัน ความเครียดในชีวิตประจำวัน เมื่อเครียดหรือวิตกกังวล ร่างกายจะหลั่งสารอะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมามาก ส่งผลให้กล้ามเนื้อหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจเป็นเหตุที่ทำให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านการนอนหลับ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะต่อมอะดีนอยด์โต ภาวะหายใจทางปากขณะหลับ อาจส่งผลให้เด็กนอนกัดฟันได้ ปัญหาด้านสุขภาพร่างกายอื่น […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

ไซนัสอักเสบในเด็ก อาการและการรักษา

ไซนัสอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อบริเวณโพรงอากาศข้างจมูกที่ทำหน้าที่ผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกในบริเวณโพรงจมูก ทำให้มีอาการคัดจมูก หายใจไม่สะดวก ไอ และปวดศีรษะ หากปล่อยทิ้งไว้อาจลุกลามไปยังส่วนต่าง ๆ เช่น ดวงตา สมอง ไขสันหลัง และทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการเบื้องต้นของไซนัสอักเสบ และพาลูกเข้ารับการรักษาทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรง [embed-health-tool-vaccination-tool] ไซนัสอักเสบ คืออะไร ไซนัสอักเสบ คือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี (Streptococcus pneumoniae) แบคทีเรียฮีโมฟิลุส อินฟลูเอนซา (Haemophilus influenza) หรือเชื้อแบคทีเรียมอแรเซลลา (Moraxella Catarrhalis) หรืออาจเกิดจากสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำให้ร่างกายผลิตสารคัดหลั่งหรือน้ำมูกมากเกินไป และอุดตันภายในไซนัส นำไปสู่การติดเชื้อ และมีอาการต่าง ๆ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ เป็นไข้ หากปล่อยทิ้งไว้ อาจลุกลามไปยังบริเวณดวงตา สมอง และไขสันหลัง เพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้ออย่างรุนแรงในกระดูก นอกจากนี้ เด็กที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ไข้ละอองฟาง ไข้หวัด โรคผิดปกติของภูมิคุ้มกัน โรคหอบหืด รูปร่างจมูกผิดปกติ การบาดเจ็บที่จมูก […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

RDS (กลุ่มอาการหายใจลำบาก) คืออะไร

RDS (Respiratory Distress Syndrome) คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากปอดของทารกยังพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ เช่น หายใจตื้น หายใจเร็ว แลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่ได้ และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่รุนแรงถึงแก่ชีวิตได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] RDS คือ อะไร RDS คือ กลุ่มอาการหายใจลำบากที่พบได้บ่อยในทารกคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากการที่ปอดของทารกยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทำให้ทารกมีอาการหายใจผิดปกติ และเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคปอดเรื้อรัง ภาวะปอดรั่ว ถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมองหรือช่องปอด พัฒนาการล่าช้า ความบกพร่องทางสติปัญญา และสูญเสียการมองเห็น บางรายที่อาการรุนแรงอาจเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิด RDS RDS เกิดจากการที่ปอดของทารกพัฒนาไม่เต็มที่ ทำให้มีสารลดแรงตึงผิวในปอดไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการขยายตัวของถุงลมเวลาหายใจ โดยปกติสารลดแรงตึงผิวนี้จะเริ่มสร้างเมื่อทารกในครรภ์อายุได้ 24-28 สัปดาห์ แต่หากทารกคลอดก่อนกำหนด ก็อาจทำให้สารลดแรงตึงผิวไม่เพียงพอ ทำให้ถุงลมพองตัวได้ยากขึ้น และส่งผลให้ทารกต้องหายใจแรงขึ้นเพื่อพยายามขยายถุงลมในปอด ทำให้ทารกหายใจเหนื่อย ทั้งยังส่งผลให้ทารกมีออกซิเจนในเลือดน้อย และมีการสะสมของคาร์บอนไซด์ในเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรด (Acidosis) และส่งผลกระทบต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต อาการของ RDS อาการของ RDS มีดังนี้ มีปัญหาการหายใจผิดปกติ เช่น หายใจเร็ว […]


วัคซีน

Vaccine ที่ควรได้รับตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยผู้ใหญ่

วัคซีน (Vaccine) เป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดที่ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอที่จะต้านเชื้อโรคบางชนิดได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันความรุนแรงของโรค ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรคระยะยาวได้ดียิ่งขึ้น ความสำคัญของการฉีด Vaccine วัคซีนมีความสำคัญต่อร่างกายของเด็กแรกเกิดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติต่อโรคก่อนที่จะป่วย โดยการฉีดสารชนิดหนึ่งเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ ขึ้น โดยวัคซีนแต่ละตัวอาจทำหน้าที่ในการป้องกันโรคที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การฉีดวัคซีนที่จำเป็นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิดและฉีดวัคซีนกระตุ้นตามกำหนดอยู่เสมอ จึงส่งผลดีต่อการสร้างระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านการติดเชื้อ ป้องกันอาการป่วยรุนแรงและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้ โดยสามารถแบ่งวัคซีนออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ วัคซีนก่อโรคทั้งตัว คือ การนำเชื้อโรคที่ตายแล้วหรือทำให้เชื้อโรคอ่อนแอลงเพื่อไม่ให้เกิดโรคมาทำเป็นวัคซีน โดยให้เชื้อโรคทั้งหมดกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพื่อป้องกันโรคแต่ละชนิด เช่น วัคซีนป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน วัคซีนตับอักเสบ เอ และบี วัคซีนที่ทำจากส่วนหนึ่งของเชื้อ คือ การนำเพียงส่วนประกอบบางส่วนหรือแอนติเจนของเชื้อโรคที่สามารถกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุดมาทำเป็นวัคซีน แต่วัคซีนประเภทนี้อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะสั้นกว่า เช่น วัคซีนป้องกันโรคไอกรน วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อฮิบ วัคซีนคอนจูเกต วัคซีนกรดนิวคลีอิก คือ การนำสารพันธุกรรมของเชื้อโรคมาทำเป็นวัคซีนเพื่อกระตุ้นการสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคในระยะยาวได้ เช่น วัคซีน mRNA […]


วัคซีน

ฉีดวัคซีน และการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สำคัญต่อสุขภาพอย่างไร

ฉีดวัคซีน เป็นการฉีดแอนติเจน (Antigen) หรือสารก่อภูมิต้านทาน เข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย โดยวัคซีนจะช่วยป้องกันและลดโอกาสอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง ทั้งนี้ ก่อนได้รับการฉีดวัคซีนชนิดใดก็ตาม ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้วัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว [embed-health-tool-vaccination-tool] ฉีดวัคซีน ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร การฉีดวัคซีน เป็นวิธีเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงจากโรค ด้วยการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคต่าง ๆ ก่อนร่างกายจะเผชิญกับเชื้อนั้นจริง ๆ เมื่อถูกฉีดวัคซีนเข้าร่างกาย แอนติเจนในวัคซีน จะไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันสร้างโปรตีนแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมา เพื่อจดจำและต่อสู้กับเชื้อชนิดนั้น ๆ และเมื่อพบเชื้อชนิดเดิมในภายหลัง ร่างกายจะรีบกำจัดเชื้อนั้น ก่อนที่เชื้อจะทำให้เกิดโรค โอกาสเจ็บป่วยจากเชื้อชนิดนั้นจึงลดลง ร่างกายไม่เป็นพาหะของโรค และเป็นการตัดวงจรระบาดของเชื้อไปด้วยในขณะเดียวกัน ทั้งนี้ นอกจากสารก่อภูมิต้านทานแล้ว วัคซีน 1 เข็มยังประกอบด้วย สารเสริมภูมิคุ้มกัน (Adjuvants) หรือสารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ให้ตอบสนองต่อวัคซีนได้ดียิ่งขึ้น สารลดแรงตึงผิว (Surfactant) เหรือสารซึ่งช่วยให้สารต่าง ๆ ในวัคซีนยังคงรวมกันเป็นเนื้อเดียวกัน และไม่จับตัวเป็นก้อน สารกันเสีย (Preservatives) คือสารป้องกันวัคซีนหมดอายุ เสื่อมคุณภาพ หรือปนเปื้อน โดยสารกันเสียซึ่งนิยมใช้กันคือ พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) สารทำให้คงตัว (Stabilizers) เช่น น้ำตาล […]


วัคซีน

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

ฉีดยาวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการฉีดสารก่อภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้สำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจกังวลต่อฤทธิ์ของตัวยาวัคซีนที่ผ่านการทดลองมาไม่นาน ผลข้างเคียงที่อาจตามมา รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล เหตุผลของผู้ที่ไม่รับการ ฉีดยาวัคซีน การฉีดวัคซีน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่มีการรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกไม่ฉีดยาวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลต่อไปนี้ กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังฉีดวัคซีน มักเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งทำให้บางคนอาจกังวลและกลัวจนไม่กล้าไปฉีดวัคซีนในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยประกอบด้วย แขนบวม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ไข้ขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 วันผลข้างเคียงต่าง ๆ จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของยาวัคซีน โดยหลักการแล้ว ยาวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากติดเชื้อ วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงอาการป่วยขั้นรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แต่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดเมื่อทราบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคของวัคซีนซึ่งได้รับมา จึงเข้าใจว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน นอกจากนี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน และการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 […]


วัคซีน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

วัคซีนเด็ก ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน โปลิโอ อีกทั้งยังอาจช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่คนใกล้ชิดได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็ก และบันทึกการฉีดวัคซีนในแต่ละครั้งเอาไว้ เพื่อป้องกันการลืมและช่วยแจ้งเตือนกำหนดการฉีดวัคซีนในครั้งถัดไป ทำให้ไม่พลาดกำหนดการฉีดวัคซีนที่สำคัญของเด็ก [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีนเด็ก ทำไมถึงควรฉีดตามตารางการฉีดวัคซีน การฉีดวัคซีนเด็กตามตารางการฉีดวัคซีน ช่วยทำให้ร่างกายของเด็กสร้างภูมิคุ้มกันตั้งแต่แรกเกิด เพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอีกทั้งยังช่วยลดการแพร่กระจายของโรคไปสู่คนรอบข้างที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนได้ นอกจากนี้ ผู้ปกครองควรศึกษาตารางการฉีดวัคซีนเด็กเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อช่วยให้สามารถวางแผนล่วงหน้าก่อนพาเด็กไปฉีดวัคซีนได้ จะได้ไม่ฉุกละหุก หรือพลาดการรับวัคซีนไป โดยอาจใช้การจดบันทึกประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ระบุ วัน เวลา และสถานที่รับวัคซีน หรือใช้เครื่องมือช่วยเตือนความจำอย่าง ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ในเว็บไซต์ Hello คุณหมอ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยให้ผู้ปกครองพาเด็กเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุ และทำให้ติดตามการนัดหมายถัดไปของคุณหมอได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังใช้ได้ฟรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ วิธีการใช้เครื่องมือตารางเวลาการฉีดวัคซีน วิธีการใช้เครื่องมือจัดตารางการฉีดวัคซีนของ Hello คุณหมอ มีดังนี้ เข้าไปที่เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพบนเว็บไซต์ Hello คุณหมอ จากนั้นกดเลือก ตารางการฉีดวัคซีนของลูก ป้อนข้อมูลของลูก เช่น เพศ วันเดือนปีเกิด ชื่อเล่น และกดดูตาราง เพื่อตรวจสอบรายการวัคซีนที่เด็กควรได้รับตามช่วงอายุ เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามตารางการฉีดวัคซีนเด็ก คุณพ่อคุณแม่อาจสร้างบัญชีสำหรับ […]


วัคซีน

วัคซีน เด็ก ที่ควรได้รับ และเคล็ดลับไม่ให้ลูกงอแงตอนรับวัคซีน

เมื่อต้องไปฉีด วัคซีน เด็ก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สามารถป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ไวรัสตับอักเสบบี โปลิโอ บาดทะยัก หัด คางทูม  สุกใส ไข้หวัดใหญ่ เด็ก ๆ อาจยังไม่เข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฉีดวัคซีนมากพอ และสนใจเพียงความรู้สึกเจ็บที่เคยได้รับจากการฉีดวัคซีนเท่านั้น ทำให้มีอาการงอแงเมื่อรู้ว่าต้องไปฉีดวัคซีนในครั้งต่อไป คุณพ่อคุณแม่จึงจำเป็นต้องศึกษาวิธีที่ช่วยให้ลูกสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ราบรื่น รวมถึงวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน เพื่อให้การฉีดวัคซีนของลูกในแต่ละครั้งเกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด [embed-health-tool-vaccination-tool] วัคซีน เด็ก ที่ควรฉีดในแต่ละช่วงวัย วัคซีนพื้นฐานที่ควรฉีดให้กับเด็ก มีดังนี้ วัคซีนป้องกันบีซีจี หรือวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) เป็นวัคซีนป้องกันวัณโรคปอดและวัณโรคเยื่อหุ้มสมองในเด็กเล็ก เด็กจะได้รับวัคซีนชนิดนี้เพียงครั้งเดียวภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และไม่ต้องฉีดซ้ำอีกตลอดชีวิต วัคซีนป้องกันตับอักเสบบี (HB1 และ HB2) เป็นวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี ควรฉีดภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังคลอด และอาจฉีดซ้ำเข็มที่ 2 เมื่อเด็กมีอายุ 1 เดือน ในกรณีที่ตรวจพบว่าคุณแม่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี กรณีคุณแม่ไม่เป็นพาหะตับอักเสบบี จะฉีดวัคซีนที่อายุ 2 เดือน วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1) เป็นวัคซีนรวมโรคชนิดทั้งเซลล์ (DTWP) […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

วิธีรับมือเมื่อลูกลิ้นเป็นร้อนใน

ลิ้นเป็นร้อนใน คือ ภาวะที่มีแผลเปื่อยขนาดเล็กเกิดขึ้นบริเวณลิ้น ลิ้นบวมแดง หรือเป็นสีขาว รวมทั้งบนเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณอื่นภายในช่องปากได้ด้วย ทั้งริมฝีปากด้านใน กระพุ้งแก้ม เพดานปาก เหงือก หรือลิ้น เมื่อลิ้นเป็นร้อนในมักทำให้รู้สึกเจ็บหรือแสบ ภาวะนี้พบได้ทั่วไปในคนทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบบ่อยในเด็ก เมื่อลูกเป็นร้อนใน คุณพ่อคุณแม่ควรบรรเทาอาการด้วยการให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เป็นต้น โดยทั่วไป ภาวะร้อนในไม่เป็นอันตราย ไม่ติดต่อไปยังบุคคลอื่น และสามารถหายเองได้ภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่หากมีอาการรุนแรงขึ้น หรืออาการไม่หายไปภายใน 3 สัปดาห์ ควรพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการรักษาและวินิจฉัยอาการเพิ่มเติม [embed-health-tool-vaccination-tool] ลิ้นเป็นร้อนใน เกิดจากอะไร สาเหตุที่ทำให้ลิ้นเป็นร้อนในยังไม่แน่ชัดนัก แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ เกิดจากการทำทันตกรรม การแปรงฟันรุนแรงเกินไป การเผลอกัดลิ้น เป็นต้น ติดเชื้อโรคเอชไพโลไร (Helicobacter pylori หรือ H. pylori) ที่เป็นเชื้อเดียวกับแบคทีเรียที่อยู่ในกระเพาะอาหาร ทำให้ลิ้นอักเสบ ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อเซลล์ปกติภายในช่องปากแทนการโจมตีเชื้อโรคแปลกปลอมอย่างไวรัสและแบคทีเรีย ใช้ยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต (Sodium Lauryl Sulfate) ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดฟอง แต่มีฤทธิ์ค่อนข้างแรง อาจทำให้เนื้อเยื่อในปากระคายเคืองและทำให้เป็นแผลที่ลิ้นได้ ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี […]


สุขภาพเด็ก

Cystic fibrosis คืออะไร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกอย่างไร

Cystic fibrosis (ซิสติก ไฟโบรซิส) คือ โรคทางพันธุกรรมที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อปอดและทางเดินหายใจ ระบบย่อยอาหาร และระบบสืบพันธุ์ โรคนี้ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่อาจบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก เช่น อาการไอแบบมีเสมหะ หายใจลำบาก ท้องผูกเรื้อรัง และควรพาลูกพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษาและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต Cystic fibrosis คืออะไร Cystic fibrosis คือ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบที่ควบคุมการดูดซึมของโซเดียมและน้ำ จนส่งผลให้สารคัดหลั่งมีความเหนียวข้นกว่าปกติ และอาจอุดตันหรือสร้างความเสียหายต่ออวัยวะภายในร่างกาย เช่น ระบบทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร ระบบสืบพันธุ์ มักเกิดในคนต่างชาติมากกว่าคนชาวเอเชีย อาการของ Cystic fibrosis คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตอาการของลูกที่เป็น Cystic fibrosis ได้ดังนี้ ไอแบบมีเสมหะ คัดจมูก หายใจเสียงดัง หายใจถี่ อุจจาระมีกลิ่นเหม็นและมันเยิ้ม น้ำหนักขึ้น ท้องบวม มีปัญหาด้านการเจริญเติบโต ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ท้องผูกเรื้อรังเนื่องจากลำไส้อุดตัน จนอาจส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของลำไส้ยื่นออกมาทางทวารหนัก นอกจากนี้ หากสังเกตว่าลูกมีอาการหายใจลำบาก มีเสมหะปริมาณมาก อ่อนเพลีย น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ท้องอืด ไอ อาเจียนและอุจจาระเป็นเลือด ควรพาเข้าพบคุณหมอทันที โรค Cystic […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน