สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก เป็นส่วนสำคัญในการเลี้ยงดูลูก พ่อแม่ควรให้ความสำคัญในการสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ตั้งแต่อาการทั่วไป จนถึงสัญญาณการติดเชื้อต่าง ๆ เรียนรู้เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพเด็ก เพื่อการดูแลสุขภาพของลูกน้อย ให้เติบโตได้อย่างแข็งแรง ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพเด็ก

โนโรไวรัส สาเหตุอาการท้องเสียที่ระบาดในเด็ก

โนโรไวรัส (Norovirus) เป็นเชื้อไวรัสก่อโรคในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยในเด็ก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น น้ำลาย น้ำมูก อาเจียน อุจจาระ การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน ยิ่งหากเด็กอยู่ในพื้นที่ปิดและมีผู้คนพลุกพล่านอย่างโรงเรียน เนอสเซอรี สถานรับเลี้ยงเด็ก ก็ยิ่งเสี่ยงรับเชื้อได้ง่าย การรักษาโรคติดเชื้อโนโรไวรัสทำได้ด้วยการดูแลให้ผู้ติดเชื้อพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้มาก ๆ และหลีกเลี่ยงการออกไปที่สาธารณะเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่น โดยทั่วไป หากดูแลถูกวิธี อาการจะดีขึ้นภายในไม่กี่วัน ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อโนโรไวรัส คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในวัยเด็กเล็กหรือวัยเรียนจึงควรรักษาความสะอาดบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ และฝึกให้ลูกดูแลสุขอนามัยของตัวเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโนโรไวรัส [embed-health-tool-vaccination-tool] โนโรไวรัส คืออะไร โนโรไวรัส เป็นชื่อกลุ่มไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ ไวรัสชนิดนี้พบได้บ่อยและติดต่อได้ง่ายมาก มักระบาดในหมู่เด็กเล็กและเด็กวัยเรียนที่รวมตัวกันในสถานที่เดียวกันหรือรับประทานอาหารที่จัดเตรียมไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เนอสเซอรี่ สถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภทหอยดิบหรือหอยที่สุกไม่ทั่วถึง ผักและผลไม้ที่ยังไม่ปรุงสุกหรือล้างไม่สะอาด นอกจากนี้ โนโรไวรัสยังสามารถแพร่กระจายผ่านวิธีต่อไปนี้ได้ด้วย การสัมผัสกับน้ำลาย อาเจียน หรืออุจจาระของผู้ติดเชื้อ การรับละอองอาเจียนของผู้ติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย การสัมผัสกับมือที่ไม่ได้ล้างของผู้ติดเชื้อ การสัมผัสกับวัตถุที่ผู้ติดเชื้อสัมผัสมาก่อน การรับประทานอาหารและน้ำดื่มร่วมกับผู้ติดเชื้อ อาการของการติดเชื้อ โนโรไวรัส การติดเชื้อโนโรไวรัสอาจทำให้มีอาการต่อไปนี้ อาเจียน คลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือน มีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยทั่วไป ผู้ติดเชื้อโนโรไวรัสจะแสดงอาการภายใน 1-2 วันหลังรับเชื้อ […]

หมวดหมู่ สุขภาพเด็ก เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพเด็ก

สุขภาพเด็ก

Sleep apnea หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

Sleep apnea หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นภาวะที่การหายใจหยุดลงชั่วขณะระหว่างการนอนหลับ สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย และอาจพบในเด็กได้ด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะนี้ในเด็กคือต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ (Adenoid) ขยายใหญ่ขึ้นและอุดตันทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการหายใจแผ่ว หยุดหายใจช่วงสั้น ๆ ขณะนอนหลับ มีอาการหายใจลำบากขณะนอนหลับ หรือปัสสาวะรดที่นอน เป็นต้น หากพบว่าเด็กมีอาการที่เข้าข่ายภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือมีปัญหาการหายใจที่ทำให้นอนไม่ได้ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmi] Sleep apnea ในเด็ก คืออะไร ภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก เป็นความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากมีสิ่งกีดขวางในทางเดินหายใจ ทำให้เด็กหยุดหายใจชั่วขณะในระหว่างนอนหลับ มักพบในเด็กอายุระหว่าง 2-6 ปี ภาวะนี้ส่งผลให้เด็กนอนหลับไม่สนิท มีภาวะหลับ ๆ ตื่น ๆ เมื่อสมองรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ในร่างกาย สมองจะส่งสัญญาณไปยังปอดเพื่อพยายามหายใจเข้า ภาวะนี้อาจเกิดขึ้นเพียงครู่เดียว จากนั้นเด็กก็จะกลับไปหลับต่อ และอาจตื่นขึ้นมาเรื่อย ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก เช่น อ่อนเพลียง่วงนอนระหว่างวัน เนื่องจากพักผ่อนไม่เพียงพอ ในบางรายที่เป็นรุนแรง อาจมีผลกระทบต่อการเรียน หรือมีภาวะซน สมาธิสั้นร่วมด้วยได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของภาวะหยุดหายใจขณะหลับในเด็ก คือ ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ขยายใหญ่ขึ้นจนปิดกั้นทางเดินหายใจและขัดขวางการหายใจระหว่างการนอนหลับ ในช่วงกลางวัน กล้ามเนื้อบริเวณศีรษะและลำคอจะเปิดทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น ทำให้ไม่เป็นปัญหาในการหายใจตามปกติ แต่ในช่วงกลางคืน ความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะน้อยลง ทำให้เนื้อเยื่อหดตัว ส่งผลให้ต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์มีขนาดใหญ่ขึ้นและปิดกั้นทางเดินหายใจ จนส่งผลให้เด็กเกิดปัญหาการหายใจผิดปกติ สาเหตุอื่น […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

โรคเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi Syndrome) สาเหตุ อาการ และการรักษา

โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก ที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เช่น มีความอยากอาหารมากผิดปกติ มีพัฒนาการที่ล่าช้า ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาจทำการบำบัดเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจัดกัดความ โรคเพรเดอร์-วิลลี คืออะไร โรคเพรเดอร์-วิลลี คือ โรคทางพันธุกรรมหายาก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ การเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ รวมถึงพฤติกรรม ที่อาจทำให้รู้สึกหิวอย่างต่อเนื่อง และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น โรคอ้วน โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคตับ อาการ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลี อาการโรคเพรเดอร์-วิลลี อาจแตกต่างกันออกไปตามช่วงวัย โดยเริ่มตั้งแต่ทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ ดังนี้ อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในทารก กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ดวงตามีลักษณะเป็นวงรี คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ ศีรษะ มือ และเท้ามีขนาดเล็ก ริมฝีปากบางและคว่ำลง รับประทานอาหารยาก ไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ตื่นยาก ร้องไห้เสียงเบา มีปัญหาการนอนหลับ ระบบสืบพันธุ์ไม่พัฒนา เช่น องคชาต ถุงอัณฑะ คลิตอริสมีขนาดเล็ก อาการของโรคเพรเดอร์-วิลลีในเด็กและผู้ใหญ่ มีความอยากอาหารอย่างต่อเนื่อง มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ล่าช้า มีความบกพร่องด้านการรับรู้ การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก เกิดจากสาเหตุอะไร

ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ ในเด็ก มีสาเหตุจากอาการระคายเคืองในลำคอหรือการสูดดมสิ่งแปลกปลอมเข้าไป จนทำให้เกิดอาการสำลักและไอออกมา หรืออาจมีสาเหตุจากการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้ร่างกายขับเมือกหรือสารคัดหลั่งออกมามากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะ โดยปกติอาการไอที่เกิดจากการติดเชื้อมักมีไข้ร่วมด้วย แต่ในบางกรณี อาการไออาจเกิดขึ้นเป็นเวลานานแม้ว่าไข้จะหายดีแล้ว จึงยังอาจทำให้เด็กไอมีเสมหะ แต่ไม่มีไข้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กเข้าพบคุณหมอหากอาการไอไม่ดีขึ้นหลังจากผ่านไปหลายสัปดาห์ [embed-health-tool-vaccination-tool] ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ เกิดจากอะไร ไอมีเสมหะ ไม่มีไข้ อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้ การระคายเคืองในลำคอหรือระบบทางเดินหายใจ สภาพแวดล้อมอาจมีสารระคายเคืองที่อาจทำให้เกิดอาการไอได้ เช่น ควัน ฝุ่นละออง มลภาวะในอากาศ ซึ่งอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ส่งผลให้ร่างกายผลิตเสมหะที่มากขึ้น จนเกิดอาการไอมีเสมหะและระคายคอ การรักษา อาการไอมีเสมหะจากสาเหตุดังกล่าว คุณพ่อคุณแม่อาจล้างจมูกให้เด็กด้วยการใช้หลอดฉีดยาดูดน้ำเกลือและฉีดเข้าไปในจมูก เพื่อให้น้ำเกลือเข้าไปล้างสิ่งสกปรกรวมถึงเมือกในจมูก ซึ่งอาจช่วยให้เด็กหายใจโล่งขึ้นและบรรเทาอาการไอมีเสมหะได้ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในพื้นที่ที่มีความแออัด มีฝุ่นควันหรือมลภาวะทางอากาศ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ เสมหะในคอ โดยปกติร่างกายจะผลิตเสมหะตามธรรมชาติ ซึ่งอาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในบางกรณี หากร่างกายผลิตเมือกหลังโพรงไซนัสมากเกินไปอาจทำให้เมือกไหลลงไปด้านหลังคอ จนทำให้มีอาการระคายคอ ไอมีเสมหะ เจ็บคอ คลื่นไส้ หรือมีกลิ่นปากได้ การรักษา เพื่อช่วยบรรเทาอาการเสมหะในลำคออาจทำได้ด้วยการดื่มน้ำมากขึ้นประมาณ 2-3 ลิตร/วัน หรืออาจใช้เครื่องทำความชื้นภายในบ้านเพื่อช่วยรักษาความชุ่มชื้นในลำคอ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถล้างจมูกให้เด็ก ด้วยการใช้หลอดฉีดยาฉีดน้ำเกลือเข้าทางจมูก เพื่อล้างเมือกและสิ่งสกปรกภายในจมูก ซึ่งอาจช่วยลดปริมาณเสมหะและทำให้เด็กหายใจสบายขึ้น การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นการติดเชื้อในส่วนต่าง […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ไข้แดด เด็ก อาการ สาเหตุ และการรักษา

อาการของ ไข้แดด เด็ก มักเกิดขึ้นเมื่อต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่ร้อนจัด มีแดดจัด หรืออุณภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งอาการของไข้แดดอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจพบได้บ่อยในเด็ก เนื่องจาก สภาพร่างกายของเด็กยังไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทำให้ร่างกายสะสมความร้อนไว้ในร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะภายในร้อนตาม จนอาจทำให้เด็กมีอาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดหัว กระหายน้ำ เหงื่อออกมากและผิวแดง [embed-health-tool-vaccination-tool] คำจำกัดความ อาการของ ไข้แดด เด็ก คืออะไร อาการของ ไข้แดด เด็ก คือ อาการไข้ ครั่นเนื้อครั่นตัว ตัวร้อน อ่อนเพลีย ปวดหัว กระหายน้ำ เหงื่อออกมากและผิวแดง ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในเด็ก เนื่องจาก ระบบประสาทส่วนกลางซึ่งมีหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จนอาจทำให้เด็กมีอาการไข้แดดได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน มีแดดจัดหรืออยู่ในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก นอกจากนี้ เด็กเป็นช่วงวัยที่ต้องการออกไปเรียนรู้ เล่นสนุก และใช้พละกำลังในการขยับร่างกายมาก จึงอาจทำให้อุณหภูมิในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะหากต้องเล่นอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัด มีแดดจัด ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการของไข้แดดได้เช่นกัน อาการ อาการของไข้แดด อาการของไข้แดดมักเกิดจากการสัมผัสกับความร้อนหรือแสงแดดจัดเป็นเวลานาน จนทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและขาดน้ำ โดยอาการที่พบได้บ่อย อาจมีดังนี้ รู้สึกกระหายน้ำมากขึ้น คลื่นไส้หรืออาเจียน อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เป็นลม ปวดหัว หงุดหงิด […]


สุขภาพเด็ก

จักรยานเด็ก ประโยชน์ที่ช่วยพัฒนาความสมดุลร่างกาย

จักรยานเด็ก สามารถให้เด็กเริ่มฝึกได้ตั้งแต่อายุประมาณ 18 เดือนขึ้นไป เนื่องจากมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทั้งทางร่างกาย สติปัญญาและสังคม ซึ่งช่วยฝึกทักษะการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของร่างกาย ทั้งยังช่วยลดความเครียด ช่วยให้เด็กมีความสุขทางอารมณ์มากขึ้น และช่วยสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นทั้งเพื่อนและคนในครอบครัว จักรยานเด็ก มีประโยชน์อย่างไร การให้เด็กเริ่มฝึกปั่นจักรยานอาจดีต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาหลายด้าน ดังนี้ ช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย เนื่องจากจักรยานเด็กช่วยฝึกการทรงตัวได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กเรียนรู้ทักษะการทรงตัวมากขึ้น ช่วยจัดการความเครียด เพราะการปั่นจักรยานจะช่วยให้เด็กได้ออกไปเรียนรู้โลกกว้างและอาจเพิ่มความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เด็กรู้สึกสนุกและมีความสุขทางอารมณ์มากขึ้น ช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ภายในครอบครัวมากขึ้น เพราะการปั่นจักรยานอาจเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันภายในครอบครัวได้ นอกจากนี้ เด็กอาจได้เสริมทักษะทางสังคมมากขึ้นด้วยการร่วมปั่นจักรยานกับเพื่อน ๆ เป็นการออกกำลังกายที่ดีสำหรับเด็ก โดยเด็กควรออกกำลังกาย 60 นาที/วัน เพื่อช่วยเพิ่มการเผาผลาญ สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ทั้งยังช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งส่งผลให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น ช่วยให้เด็กกระตือรือร้นมากขึ้น การปั่นจักรยานเป็นกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กกระตือรือร้นและกระฉับกระเฉงมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดการดูโทรทัศน์ เล่นเกมหรือเล่นโทรศัพท์มือถือที่อาจทำให้เด็กขี้เกียจและเสียสุขภาพได้ วิธีเลือกจักรยานเด็ก วิธีการเลือกจักรยานเด็กมีปัจจัยหลายอย่างในการเลือก เช่น ขนาดของล้อ ความสูง อย่างไรก็ตาม การเลือกจักรยานให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน อาจจำเป็นต้องลองใช้ด้วยตัวเอง และควรคำนึงถึงส่วนสูง ความยาวลำตัว และความยาวของขา เนื่องจากเด็กที่อายุเท่ากันอาจมีความยาวขาหรือส่วนสูงไม่เท่ากัน โดยการเลือกจักรยานอาจทำได้ดังนี้ เด็กอายุ 2-4 ปี ความสูงประมาณ 76-100 เซนติเมตร […]


สุขภาพเด็ก

ผลการประเมินสภาพทารกแรกเกิด หรือ Apgar score คืออะไร

Apgar score หรือ คะแนนแอปการ์ คือ ผลการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด ที่ได้จากการทดสอบสุขภาพหลังคลอดของทารกในเบื้องต้น Apgar score แบ่งเป็นระดับคะแนนตั้งแต่ 1-10 หากทารกได้คะแนนต่ำกว่า 7 ถือว่ามีปัญหาสุขภาพที่อาจต้องได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม เช่น การให้ออกซิเจนเพื่อช่วยในการหายใจ ทั้งนี้ คะแนนแอปการ์เป็นคะแนนที่ใช้ในการประเมินร่างกายเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้เป็นเกณฑ์วัดสุขภาพของทารกในระยะยาว สำหรับทารกที่ได้คะแนนแอปการ์น้อยกว่าเกณฑ์ หากได้รับการดูแลที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ก็อาจมีพัฒนาการเหมือนทารกทั่วไปได้ Apgar score คือ อะไร Apgar score หรือ คะแนนแอปการ์ คือ ผลการประเมินสภาพร่างกายทารกแรกเกิด เมื่อทารกลืมตาดูโลก คุณหมอและพยาบาลจะประเมินคะแนนแอปการ์ประมาณ 2-3 ครั้ง คือ หลังทารกลืมตาดูโลก 1 นาที เพื่อประเมินว่าทารกทนกระบวนการคลอดได้ดีหรือไม่ จากนั้นจะประเมินคะแนนแอปการ์ซ้ำ เมื่อทารกลืมตาดูโลกได้ 5 นาที หากประเมินแล้วพบอาการผิดปกติ คุณหมอจะประเมินซ้ำอีกครั้ง เมื่อทารกลืมตาดูโลกได้ 10 นาที คำว่า “Apgar” เป็นคำที่ย่อมาจากตัวบ่งชี้สุขภาพทารกแรกเกิด ดังต่อไปนี้ ลักษณะ (Appearance) ประเมินจากสีผิวของทารก (Skin […]


สุขภาพเด็ก

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ อะไร

ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด หรือ Birth asphyxia คือ ภาวะที่ทารกในช่วงแรกเกิดขาดออกซิเจนหลังคลอด ทำให้ไม่หายใจ หายใจแผ่ว สีผิวผิดปกติ หรือมีอาการชัก ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด มดลูกแตก สายสะดือย้อย ทารกเสียเลือดมาก ซึ่งหากรักษาได้ทันและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดก็อาจทำให้ทารกฟื้นตัว และมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามปกติได้ Birth asphyxia คือ อะไร ภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด เกิดจากทารกได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอในช่วงก่อน ระหว่าง หรือหลังคลอด เมื่อไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหาร เซลล์จะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ มีกรดสะสมในเซลล์และสร้างความเสียหายให้กับร่างกาย เป็นอันตรายต่อการทำงานของสมองและอวัยวะอื่น ๆ ความรุนแรงของภาวะนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ทารกขาดออกซิเจน ระดับออกซิเจน และความเร็วในการรักษา หากได้รับการรักษาทันท่วงที ทารกอาจฟื้นตัวกลับเป็นปกติได้ แต่หากรักษาล่าช้า อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว และอาจเกิดความผิดปกติของระบบประสาทตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง เช่น อาการชัก ภาวะสมองพิการ (Cerebral palsy) ภาวะพัฒนาการล่าช้า การดูแลและติดตามสุขภาพของคุณแม่และทารกอย่างใกล้ชิดทั้งก่อนและหลังคลอดจึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดได้ สาเหตุของภาวะ Birth asphyxia สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิด อาจมีดังนี้ รกลอกตัวก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ปัญหาสายสะดือย้อยระหว่างคลอด ภาวะคลอดก่อนกำหนด การคลอดที่ใช้เวลานานหรือซับซ้อนเกินไป การติดเชื้อรุนแรงของคุณแม่หรือทารก […]


ความผิดปกติทางพัฒนาการและพฤติกรรม

Autism spectrum disorder (ออทิสติก สเปกตรัม) คืออะไร

โรคออทิสติก สเปกตรัม หรือ Autism spectrum disorder คือ ภาวะที่เกี่ยวกับการพัฒนาของสมอง ที่มีผลต่อการเข้าสังคมและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น รวมถึงอาจทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติและมีปัญหาด้านการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่จะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดานการสื่อสาร โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อาจจะรักษาตามอาการที่เป็น ร่วมกับการบำบัดในด้านต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก ทำให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองและเข้าสังคมได้เมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ [embed-health-tool-vaccination-tool] Autism spectrum disorder คือ อะไร ออทิสติก สเปกตรัม คือ โรคที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสมอง พบตั้งแต่ก่อนอายุ 3 ขวบ บางคนอาจมีอาการตั้งแต่ช่วงอายุก่อน 12 เดือน โรคนี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหาการเข้าสังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและการสื่อสาร รวมทั้งส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น ทำกิจวัตรเดิม ๆ เป็นประจำทุกวัน ไม่ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ ชอบอยู่คนเดียว จดจ่อเพียงแต่เรื่องที่ตนเองสนใจ (ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีความรุนแรงต่างกันไป) อย่างไรก็ตาม เด็กที่เป็นออทิสติก สเปกตรัม ยังคงสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่อาจใช้ระยะเวลานานกว่าเด็กทั่วไปในการเรียนรู้ การฝึกฝนทักษะ เช่น เลือกเสื้อผ้าเอง การสวมเสื้อผ้าด้วยตัวเอง รับประทานอาหารเอง โดยคุณหมอและนักกิจกรรมบำบัดจะช่วยวางแผนโปรแกรมการฝึก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความร่วมมือตามคำแนะนำของคุณหมอ ปัจจัยเสี่ยงของ Autism […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล

ร้อนในที่เหงือก ในเด็ก อาการและวิธีดูแล ร้อนในที่เหงือก คือภาวะที่มีแผลเปิดบริเวณเหงือก หรือบางครั้ง อาจแผลร้อนในที่บริเวณอื่นภายในช่องปากได้ เช่น กระพุ้งแก้ม เพดานอ่อน ริมฝีปาก แผลร้อนในมักมีลักษณะเป็นแผลขนาดเล็ก สีขาวและอาจบวมแดง ภาวะร้อนในที่เหงือกอาจเกิดจากการดื่มน้ำน้อย พันธุกรรม การติดเชื้อไวรัส การแพ้อาหารบางชนิด โรคประจำตัวบางอย่าง เป็นต้น ภาวะนี้สามารถเกิดได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่มักพบบ่อยในเด็ก โดยปกติแล้ว ภาวะร้อนในที่เหงือกสามารถหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ และอาจบรรเทาได้ด้วยการใช้ยา เช่น ยาลดกรด ยาป้ายแผลในปาก ร่วมกับการดูแลตัวเองเบื้องต้น เช่น การดื่มน้ำเยอะ ๆ การงดรับประทานอาหารรสจัด พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขภาพช่องปาก แต่หากร้อนในที่เหงือกเรื้อรังและมีอาการนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรพาเด็กไปพบคุณหมอเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม อาการของ ร้อนในที่เหงือก อาการที่เป็นสัญญาณว่าเด็กเป็นร้อนในที่เหงือก อาจมีดังนี้ มีแผลพุพองเล็ก ๆ บริเวณเหงือก ตรงกลางแผลเป็นสีขาว ขอบแผลเป็นสีแดง แผลมักมีขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แต่บางครั้งก็อาจเป็นแผลลึกและกว้างได้ มีปัญหาในการเคี้ยวอาหารหรือแปรงฟัน รับประทานอาหารได้น้อยลง ในเด็กเล็กอาจมีน้ำลายยืด ไม่ยอมกลืนน้ำลาย หายใจทางปากบ่อยขึ้น […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

เมื่อลูกเป็น อีสุกอีใส ควรดูแลอย่างไร

อีสุกอีใส เป็นโรคติดเชื้อไวรัสบริเวณผิวหนังที่พบสามารถพบได้ในคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก อาจทำให้เกิดผื่น บวมแดง มีตุ่มน้ำพองทั่วร่างกาย ทั้งใบหน้าและลำตัว และอาจมีอาการคันร่วมด้วย อาการคันมักรุนแรงและอาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวเป็นอย่างมาก คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับลูก หากลูกมีไข้ เบื่ออาหาร และมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ จำนวนมากขึ้นบนผิวหนัง อาจเป็นสัญญาณของโรคอีสุกอีใส ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเร่งด่วน และควรแยกตัวลูกให้ห่างจากเด็กคนอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค อีสุกอีใส คืออะไร อีสุกอีใส (Chickenpox) คือ โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายผ่านการสัมผัสเชื้อโดยตรงและการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกาย ตุ่มน้ำพองที่เกิดจากการติดเชื้ออีสุกอีใสจะเริ่มขึ้นบนผิวหนังหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 10-21 วัน โดยระยะที่สามารถแพร่เชื้อได้ไวที่สุดอยู่ในช่วง 1-2 วันก่อนตุ่มน้ำจะขึ้นบนร่างกาย และจะหมดระยะแพร่เชื้อหลังจากที่แผลแห้งและตกสะเก็ดแล้ว เด็กที่สุขภาพดีมักจะมีอาการไม่รุนแรงและสามารถหายจากอีสุกอีใสได้ภายใน 5-10 วัน แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง ผื่นคันอาจลามไปทั่วร่างกาย หลังแผลแห้งและตกสะเก็ดอาจเกิดรอยโรคบริเวณลำคอ ดวงตา เนื้อเยื่อท่อปัสสาวะ ทวารหนัก ไปจนถึงบริเวณช่องคลอด อีสุกอีใส อันตรายหรือไม่ ส่วนใหญ่แล้ว อีสุกอีใสไม่เป็นอันตรายและสามารถหายได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอีสุกอีใสจะไม่ได้หายไปเลย แต่จะซ่อนตัวอยู่ในปมประสาท ผู้ที่เคยเป็นอีสุกอีใสจึงเสี่ยงเกิดโรคงูสวัด (Shingles) ซึ่งเกิดจากไวรัสชนิดเดียวกันได้ในอนาคต หากอยู่ในช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อที่ซ่อนตัวอยู่ตามปมประสาทใต้ผิวหนังจะแบ่งตัว เพิ่มจำนวน […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน