เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการของ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน (2-6 ปี) เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เด็กวัยนี้ต้องการการดูแลเอาใจใส่ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านโภชนาการ การฝึกฝนทักษะต่าง ๆ ทั้งทักษะการขับถ่าย ทักษะการสื่อสาร เป็นต้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

จักรยานเด็ก เสริมสร้างพัฒนาการ และวิธีเลือกให้เหมาะกับวัย

การปั่นจักรยานสามารถปั่นได้ทุกวัย เพียงแต่ควรเลือกให้เหมาะสมกับช่วงวัยและสรีระร่างกาย สำหรับประโยชน์ของการปั่นจักรยานนอกจากช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีแล้ว ยังช่วยฝึกทักษะทางร่างกาย ซึ่งเด็กเล็ก ๆ ก็สามารถ ปั่นจักรยานเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีได้ด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] จักรยานเด็ก เริ่มปั่นได้ตั้งแต่อายุเท่าไหร่ จักรยานเด็กในช่วงวัย 2-4 ปี :   ช่วงวัย 2-4 ปี หรือวัยก่อนอนุบาล เด็กเล็กสามารถฝึกกล้ามเนื้อได้ด้วยจักรยาน 3 ล้อ ให้เด็กค่อย ๆ ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวของร่างกาย ให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการฝึกทรงตัว โดยจักรยาน 3 ล้อ จะมีล้อใหญ่ข้างหน้า 1 ล้อ ส่วน 2 ล้อหลังเป็นล้อขนาดเล็ก คอยพยุงตัวเด็กให้สามารถปั่นจักรยานได้ง่าย  จักรยานขาไถหรือจักรยานทรงตัว ช่วงวัย 2-5 ปี :  จักรยานขาไถ เป็นชื่อเรียกตามรูปทรงของจักรยาน เป็นจักรยานสำหรับเด็กที่เคลื่อนตัวไปข้างหน้าด้วยการใช้ขาไถ จักรยานเด็กแบบนี้จะช่วยฝึกเรื่องการทรงตัว จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรยานทรงตัว (Balance Bike) หน้าล้อของจักรยานจะกว้าง ช่วยลดแรงกระแทก  วิธีเลือกจักรยานเด็ก จักรยานเด็กควรเลือกให้เหมาะสมกับรูปร่างของเด็ก จึงควรให้เด็กมาทดลองนั่ง ลองปั่นดูว่ารู้สึกพอดีกับรูปร่างหรือไม่ ความยาวของขาเด็กควรพอดีกับขาถีบ ให้เด็กลุกขึ้นยืนบนพื้นคร่อมจักรยานไว้ จะสังเกตเห็นว่าอานอยู่พอดีกับเป้ากางเกงของเด็กหรือไม่ เมื่อใช้เท้าถีบจักรยานแล้วต้องงอเข่าพอดี […]

หมวดหมู่ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน เพิ่มเติม

ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

สำรวจ เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ที่กั้นเตียง สำหรับเด็ก ประโยชน์และข้อควรระวัง

ที่กั้นเตียง (Bed rail) คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้ข้างเตียงเพื่อความปลอดภัยในห้องนอนของเด็ก เหมาะสำหรับเด็กที่เพิ่งเปลี่ยนจากนอนเปลนอนมาบนเตียงเด็ก ที่กั้นเตียช่วยป้องกันเด็กพลัดตกเตียงจนได้รับบาดเจ็บ และอาจทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นขณะนอนหลับ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงเด็กอย่างรอบคอบ เช่น เลือกที่กั้นเตียงที่ได้มาตรฐานและมีขนาดพอเหมาะกับเตียงเด็ก ซี่ที่กั้นเตียงต้องไม่ห่างจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงที่คอ แขน หรือขาของเด็กจะเข้าไปติดขณะนอนหลับหรือขณะเล่นบนเตียงนอนจนเป็นอันตรายต่อเด็กได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ที่กั้นเตียง คืออะไร ที่กั้นเตียง คือ อุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บริเวณขอบเตียงเด็ก ทั้งบริเวณข้างเตียง หัวเตียง และปลายเตียง เพื่อเสริมความปลอดภัยในห้องนอนให้กับเด็ก อาจมีลักษณะเป็นราวซี่ ๆ ทำจากไม้หรือพลาสติก หรือเป็นแผ่นผ้าตาข่าย ช่วยป้องกันไม่ให้เด็กพลัดตกจากเตียงนอนขณะนอนหลับหรือเล่นอยู่บนเตียงจนได้รับบาดเจ็บ ทั้งยังอาจช่วยให้เด็กรู้สึกปลอดภัยขณะนอนหลับได้ด้วย โดยทั่วไปที่กั้นเตียงจะใช้กับเด็กที่เปลี่ยนจากนอนเปลเด็ก (Crib) ไปนอนเตียงสำหรับเด็กวัยเตาะแตะ (Toddler Beds) และมักติดตั้งที่กั้นเตียงไว้จนกว่าเด็กจะปรับตัวเข้ากับที่นอนใหม่ได้แล้วหรืออยู่ในวัยที่เสี่ยงตกเตียงน้อยลงแล้ว คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกซื้อที่กั้นเตียงที่ติดตั้งแล้วไม่มีช่องว่างระหว่างฟูกและที่กั้นเตียง และเลือกที่กั้นเตียงที่สามารถพับหรือเลื่อนเก็บขึ้นและลงได้ง่าย เพื่อให้ใช้งานสะดวก ที่กั้นเตียงเหมาะกับเด็กวัยไหน การใช้ที่กั้นเตียงเหมาะสำหรับเด็กอายุ 2-5 ขวบ ที่สามารถลุกจากเตียงได้โดยไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย โดยคุณพ่อคุณแม่อาจเปลี่ยนให้เด็กนอนเตียงแทนนอนเปลเมื่อเด็กสูงประมาณ 90 เซนติเมตร (วัดจากปลายเท้าถึงปลายนิ้วมือขณะเด็กชูแขนเหยียดตรง) เพราะเด็กอาจสูงเกินไปจนเสี่ยงตกจากเปลได้ง่าย สำหรับเด็กที่อายุน้อยกว่านี้หรือเป็นเด็กตัวเล็กอาจต้องให้นอนบนเปลไปก่อน เพราะหากนอนเตียงที่ติดตั้งที่กั้นเตียงอาจเสี่ยงเข้าไปติดระหว่างซอกตะแกรงที่กั้นเตียงและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจถอดที่กั้นเตียงออกเมื่อเด็กอายุเกิน 5 ปีเพราะเป็นวัยที่โตพอ และเสี่ยงน้อยลงที่จะกลิ้งพลัดตกจากเตียงจนบาดเจ็บ ข้อควรระวังในการใช้ ที่กั้นเตียง ข้อควรระวังในการใช้ที่กั้นเตียง อาจมีดังนี้ […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ และการเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสม

เด็กอายุ 2 ขวบ เป็นวัยที่มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างก้าวกระโดด มักจะกระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเพื่อนวัยเดียวกัน เป็นตัวของตัวเองสูง สามารถสื่อสารกับผู้อื่นด้วยท่าทางได้ชัดเจนขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น รู้จักหัดวิ่งและเตะลูกบอล ทั้งยังพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาได้ดีขึ้นด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงควรเอาใจใส่ในการเลี้ยงดูและคอยส่งเสริม พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ อย่างถูกวิธี เพื่อช่วยให้เด็กสามารถเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงและมีทักษะที่พัฒนาไปอย่างเหมาะสมตามวัย [embed-health-tool-vaccination-tool] พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการของเด็กอายุ 2 ขวบโดยทั่วไป อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านสังคมและอารมณ์ เลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่น โดยเฉพาะเด็กโตและผู้ใหญ่ กระตือรือร้นเมื่ออยู่กับเด็กคนอื่น ๆ มีความเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีอาการดื้อรั้น สังเกตเห็นถึงอารมณ์ของคนรอบข้าง เช่น หยุดมองหรือร้องไห้ตามเมื่อมีคนร้องไห้ มีภาวะวิตกกังวลต่อการแยกจาก (Separation anxiety) เมื่อต้องห่างจากคนคุ้นเคย พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร สามารถชี้สิ่งของตามที่บอกได้ พูดประโยคสั้น ๆ ประมาณ 2-4 คำได้ รู้จักชื่อพ่อ แม่ พี่ น้อง อวัยวะและสิ่งของหลายอย่าง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ พูดทวนสิ่งที่ได้ยินคนคุยกัน แสดงท่าทางเพื่อสื่อสารได้มากกว่าการโบกมือและการชี้นิ้ว เช่น พยักหน้า ส่งจูบ พัฒนาการด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

ของเล่น เลือกอย่างไรให้เหมาะสมและปลอดภัยต่อลูกน้อย

ของเล่น เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กในด้านสติปัญญา การใช้ภาษา ช่วยเสริมความแข็งแรงของร่างกาย ความสุขทางอารมณ์ และการเข้าสังคม ซึ่งพ่อแม่ควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของเด็ก เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะเล่น รวมถึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ของเล่น มีประโยชน์อย่างไร ของเล่น เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์ต่อพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ของเด็ก เช่น สติปัญญา ร่างกาย สังคม อารมณ์ โดยการเล่นของเล่นยังอาจช่วยส่งเสริมจินตนาการ ความสนุก ฝึกให้เด็กได้ขยับร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เนื้อสัมผัส และได้พัฒนาการมองเห็นด้วยการมองสีสันบนของเล่น โดยพ่อแม่ควรเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับเด็กในแต่ละช่วงวัย เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ การเล่นของเล่นยังทำให้พ่อแม่ได้มีส่วนร่วมและใช้เวลากับเด็กมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ความปลอดภัยของของเล่นเด็ก ของเล่นบางประเภทที่ไม่ผ่านการรับรองความปลอดภัยจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับ อาจมีความเสี่ยงที่จะมีสารปนเปื้อนอย่างตะกั่วและแคดเมียม (Cadmium) ซึ่งเป็นโลหะหนักในระดับที่เป็นพิษ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพ เช่น การพัฒนาทางสมองล่าช้า ไตและกระดูกเสียหาย โรคมะเร็ง วิธีเลือกของเล่นสำหรับเด็ก วิธีที่พ่อแม่จะเลือกของเล่นให้กับเด็กได้อย่างปลอดภัย อาจมีดังนี้ ตรวจสอบฉลาก ของเล่นที่ปลอดภัยและผ่านมาตรฐานจะมีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) กำกับอยู่ และบนฉลากจะบอกช่วงอายุของเด็กที่สามารถเล่นของเล่นชิ้นนั้น ๆ ได้ เลือกของเล่นให้เหมาะกับวัยของเด็ก […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กดื้อ มีสาเหตุมาจากอะไร พ่อแม่ควรรับมืออย่างไร

เด็กดื้อ เป็นอาการที่เด็กแสดงออกมาเมื่อต้องการเรียกร้องความสนใจ รู้สึกโกรธ ผิดหวัง เหนื่อยล้า ต้องการบางสิ่งบางอย่าง หรือต้องการปฏิเสธพ่อแม่ ด้วยการร้องไห้ งอแง โวยวาย กรีดร้อง ขว้างปาข้าวของ หรือแสดงพฤติกรรมไม่พอใจ เช่น สะบัดแขนขา ลงไปนอนกลิ้งกับพื้น กระทืบเท้า ดังนั้น พ่อแม่ควรเรียนรู้ถึงวิธีการรับมือกับเด็กดื้อ เพื่อแก้ไขปัญหาและพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงอาจช่วยให้เด็กได้ฝึกทักษะในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรมของตนเอง สาเหตุของเด็กดื้อ เด็กดื้อ อาจมีสาเหตุมาจากการที่เด็กต้องการเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ รู้สึกเหนื่อย โกรธ ผิดหวัง หิว ต้องการบางสิ่งบางอย่าง หรือต้องการปฏิเสธบางสิ่งบางอย่าง เช่น การเก็บของเล่น การทำการบ้าน โดยเด็กจะแสดงพฤติกรรมต่อต้าน เช่น ร้องไห้ โวยวาย กรีดร้อง ขว้างปาข้าวของ ลงไปนอนกลิ้งกับพื้น กระทืบเท้า สะบัดแขนขา เพื่อแสดงถึงความต้องการเป็นอิสระ แต่ก็ยังต้องการความสนใจจากพ่อแม่อยู่ อาการเด็กดื้อพบได้บ่อยในเด็กเล็กอายุระหว่าง 1-4 ปี เนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้อาจยังไม่ได้พัฒนาทักษะในการรับมือกับอารมณ์รุนแรงหรือความผิดหวังได้มากเท่าที่ควร และยังไม่สามารถสื่อสารความต้องการออกมาได้ชัดเจน ส่งผลให้เด็กขาดทักษะในการสื่อสารด้วยเหตุผลเพื่ออธิบายความรู้สึกหรือความต้องการ จึงแสดงออกทางอารมณ์ออกมาด้วยพฤติกรรมที่รุนแรง ปัจจัยที่อาจส่งผลทำให้เด็กดื้อ ปัจจัยที่สามารถเป็นตัวกระตุ้นทำให้เด็กดื้อและเอาแต่ใจ อาจมีดังนี้ อายุ ความดื้อและการสื่อสารด้วยอารมณ์มากกว่าเหตุผลเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเด็กเล็ก เมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นและได้รับการอบรมสั่งสอนอย่างถูกต้องเหมาะสม ความดื้อของเด็กก็จะลดลง […]


ลูกวัยเตาะแตะและเด็กก่อนวัยเรียน

รถหัดเดิน คืออะไร และจำเป็นสำหรับเด็กหรือไม่

รถหัดเดิน เป็นรถที่ผลิตขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยในการหัดเดินของเด็ก แต่อาจยังไม่มีการยืนยันที่แน่ชัดว่ารถหัดเดินสามารถช่วยให้เด็กฝึกทักษะการเดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาจมีข้อโต้แย้งถึงอันตรายมากกว่าประโยชน์ ทั้งยังอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเดินที่ล่าช้าลงได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อแม่ต้องการให้เด็กใช้รถหัดเดิน อาจต้องคอยระมัดระวังเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งาน รถหัดเดิน คืออะไร รถหัดเดิน คือ รถที่มีลักษณะเป็นโครงวงกลม มีที่นั่งตรงกลางและมีล้อเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ รวมถึงอาจมีของเล่นติดอยู่เพื่อให้ความเพลิดเพลินแก่เด็ก รถหัดเดินผลิตขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้เด็กวัยหัดเดินฝึกฝนการเดิน เนื่องจากมีโครงสร้างที่สามารถช่วยพยุงเด็กให้ยืนตัวตรงซึ่งอาจช่วยให้เด็กสามารถเดินได้เร็วขึ้น แต่เมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยของรถหัดเดิน ยังไม่มีการยืนยันอย่างแน่ชัดว่ารถหัดเดินสามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในการเดินที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในทางกลับกันอาจทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเดินล่าช้าลง และอาจแฝงอันตรายต่อตัวเด็กอีกด้วย รถหัดเดินช่วยให้เด็กหัดเดินได้จริงหรือไม่ รถหัดเดินอาจไม่ช่วยส่งเสริมการเดินของเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก เด็กวัยหัดเดินเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ การใช้รถหัดเดินอาจขัดขวางการเรียนรู้ของเด็ก และอาจทำให้เด็กไม่ได้ฝึกฝนและเรียนรู้ทักษะต่าง ๆ ด้วยตัวเอง เพราะโครงสร้างที่ใหญ่อาจทำให้เด็กไม่สามารถเอื้อมจับสิ่งของรอบ ๆ ตัวได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังอาจทำให้ทักษะการทรงตัว การประสาทงาน การยืน รวมถึงการรองรับและส่งน้ำหนักตัวจากขาข้างหนึ่งไปยังขาอีกข้างหนึ่งพัฒนาได้ช้าลง เพราะรถหัดเดินจะพยุงตัวเด็กไว้ตลอดเวลา นอกจากนี้ เด็กที่อยู่ในรถหัดเดินมักใช้ปลายนิ้วเท้าในการช่วยดันตัวเองให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้า เมื่อเด็กออกจากรถหัดเดินจะทำให้เด็กติดพฤติกรรมการเดินที่ผิดและอาจใช้นิ้วเท้าในการเดินต่อไปเรื่อย ๆ ซึ่งหากคุณพ่อคุณแม่ให้เด็กใช้รถหัดเดินบ่อยครั้งมากเท่าไหร่ ก็อาจยิ่งทำให้เด็กมีพัฒนาการในการเดินที่ช้าลงตามไปด้วย รถหัดเดินสำหรับเด็กอันตรายหรือไม่ สำหรับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กใช้รถหัดเดิน มีดังนี้ รถหัดเดินมีล้อที่ช่วยในการเคลื่อนที่ เมื่อเด็กเคลื่อนตัวอาจทำให้รถเคลื่อนที่เร็วมากและอาจชนกับสิ่งของหรือกำแพงจนเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เด็กเข้าถึงของอันตราย เช่น มีด ยา ชั้นวางของ ได้ง่ายขึ้น อาจทำให้เด็กตกจากบันไดหรือไหลลงทางลาดได้ง่ายขึ้น อาจเสี่ยงที่รถจะพลิกคว่ำในขณะเคลื่อนที่ อาจเสี่ยงที่จะทำให้เด็กถูกน้ำร้อนลวก อาหารร้อนตกใส่ หรือถูกไฟคลอกได้ เพราะเด็กอาจเคลื่อนตัวไปชนกับโต๊ะอาหารที่มีของร้อน อาจเสี่ยงที่จะทำให้เด็กจมน้ำได้ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

แป้งโดว์ มีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร และวิธีทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง

แป้งโดว์ เป็นของเล่นที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เด็กสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยการปั้นแป้งโดว์เป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามต้องการ ซึ่งอาจช่วยเสริมสร้างจินตนาการและการเรียนรู้ของเด็ก เช่น ช่วยเสริมพัฒนาการด้านการใช้ภาษาและสื่อสาร เมื่อเด็กเล่นแป้งโดว์พร้อมเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว ที่สำคัญการปั้นแป้งโดว์ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กบริเวณมือและนิ้วของเด็กได้เป็นอย่างดีอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่สามารถหาซื้อแป้งโดว์สำเร็จรูป หรือทำแป้งโดว์จากส่วนผสมที่หาได้ง่าย ๆ ภายในบ้าน แป้งโดว์ทำเองนั้นปลอดสารเคมี คุณพ่อคุณแม่จึงมั่นใจได้ว่าปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายสำหรับเด็ก แป้งโดว์ คืออะไร แป้งโดว์เป็นก้อนแป้งเนื้อนิ่ม ยืดหยุ่นได้ และมีสีสันสดใส สามารถใช้ปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ได้คล้ายดินน้ำมัน แต่ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็ก จึงเป็นของเล่นที่ให้ทั้งความเพลิดเพลินและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้อย่างปลอดภัย เหมาะสำหรับเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มหยุดหยิบสิ่งของเข้าปาก วิธีการทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง วิธีการทำแป้งโดว์ด้วยตัวเอง อาจมีดังนี้ ส่วนผสมของแป้งโดว์ แป้งสาลีหรือแป้งข้าวโพด 2 ถ้วยตวง ครีมออฟทาร์ทาร์ (Cream of tartar) 2 ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ถ้วยตวง สีผสมอาหาร น้ำ 2 ถ้วยตวง ถาดหรือเขียง กระทะเทฟล่อนหรือกระทะเคลือบ ขั้นตอนการทำ แป้งโดว์ ใส่แป้งสาลี เกลือ ครีมออฟทาร์ทาร์ และน้ำมันพืชลงในภาชนะที่เตรียมไว้ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

เด็กพูดไม่ชัด สาเหตุและวิธีการแก้ปัญหา

พูดไม่ชัด เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในเด็กก่อนวัยเรียนซึ่งอยู่ในช่วงกำลังเรียนรู้ทักษะการสื่อสารและการพูด ภาวะนี้เป็นความผิดปกติของการเปล่งเสียงพูด ส่งผลให้เด็กออกเสียงผิดได้ ทั้งเสียงพยัญชนะและเสียงสระ อย่างไรก็ตาม การศึกษาสาเหตุที่ทำให้เด็กพูดไม่ชัด และหาวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เช่น การฝึกพูด การบริหารกล้ามเนื้อของอวัยวะที่ใช้พูด อาจช่วยให้เด็กมีพัฒนาการด้านการสื่อสารที่ดีขึ้นและเหมาะสมตามวัยได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] ประเภทของความผิดปกติในการพูด ความผิดปกติในการพูดสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ จังหวะการพูดผิดปกติ (Fluency disorder) เป็นภาวะที่มีจังหวะการพูดผิดปกติ พูดคำเดิมซ้ำ ๆ ตะกุกตะกัก พูดแล้วลากเสียงยาว หรือเสียงอาจหายไปบางช่วง เช่น การพูดติดอ่าง ความผิดปกติของเสียงพูด (Voice disorder) เป็นการพูดที่ใช้เสียงผิดปกติ อาจมีน้ำเสียง คุณภาพของเสียง หรือระดับเสียงผิดปกติ เช่น พูดเสียงดังเกินไป พูดเบาจนไม่ได้ยิน พูดเสียงแหบแห้ง การพูดไม่ชัด (Articulation disorder) เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของการเปล่งเสียง มักเกิดในเด็กเล็กที่ออกเสียงพยัญชนะและสระไม่ถูกต้อง ทั้งนี้อาจต้องดูตามช่วงอายุ เพราะเมื่อถึงวัยก็จะพูดได้ปกติ ทำให้ออกเสียงผิดหรือพูดผิดเพี้ยนไปจากที่ตั้งใจ สาเหตุที่ทำให้เด็ก พูดไม่ชัด ปัญหาเด็กพูดไม่ชัดอาจเกิดได้จากปัจจัยต่อไปนี้ การพูดอะแพรกเซียในเด็ก (Childhood apraxia of speech) เป็นภาวะที่สมองไม่สามารถสื่อสารและสั่งการอวัยวะที่ใช้พูดได้ตามปกติ ทำให้เด็กไม่สามารถควบคุมริมฝีปากและลิ้นได้ตามต้องการ อาจเกิดขึ้นเมื่อเด็กเริ่มหัดพูด ทำให้ไม่สามารถออกเสียงพยัญชนะ […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ เลือกอย่างไรให้ปลอดภัยต่อเด็ก

เด็กวัย 2 ขวบ เป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ การเลือก ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ ที่เหมาะสมและตรงตามช่วงวัยจะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งทางร่างกาย ภาษา ความคิด อารมณ์และสังคม ของเล่นที่เหมาะกับเด็กในวัยนี้ ควรเป็นของเล่นที่กระตุ้นและพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหว การใช้ความคิด และการเข้าสังคมของเด็ก การหมั่นศึกษาเรื่องพัฒนาการและเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 2 ขวบ อาจช่วยส่งเสริมพัฒนาการและกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัยของเด็ก พัฒนาการเด็ก 2 ขวบ พัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก 2 ขวบ อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กวัย 2 ขวบ มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่ง การเล่น การปีนป่าย ค่อนข้างรวดเร็ว เด็กวัยนี้เริ่มใช้เวลาในการเล่นของเล่นอย่างเพลิดเพลิน ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกของเล่นและกิจกรรมที่ช่วยเสริมทักษะการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเตะบอล หรือหาของเล่นที่ช่วยพัฒนาทักษะการควบคุมกล้ามเนื้อ ข้อมือ มือ และนิ้วมือ เช่น การวาดรูปเล่นด้วยดินสอ สีเทียน การวาดรูปแบบฟิงเกอร์เพนต์ (Finger Paint) หรือการวาดรูปด้วยนิ้วมือ ที่ให้เด็กได้ใช้มือและนิ้วมือป้ายสีต่าง ๆ ลงบนกระดาษแทนพู่กัน ซึ่งอาจช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี พัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก 2 […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ควรเลือกซื้ออย่างไร

ของเล่นเสริมพัฒนาการเด็ก 3 ขวบ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยจะช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และกระตุ้นให้เด็กมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมตามลำดับ การศึกษาเรื่องพัฒนาการเด็ก ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์และสังคม ภาษาและการสื่อสาร ความคิด รวมถึงสัญญาณของพัฒนาการที่ผิดปกติ อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแมเข้าใจและสามารถเลือกซื้อของเล่นที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กได้มากขึ้น พัฒนาการเด็ก 3 ขวบ พัฒนาการตามช่วงวัยของเด็ก 3 ขวบ อาจมีดังนี้ พัฒนาการด้านร่างกาย เด็ก 3 ขวบส่วนใหญ่สามารถทำกิจกรรมทางกาย เช่น ปีนป่าย วิ่ง กระโดดไปมา กระโดดขาเดียว ได้ เด็กบางคนอาจเดินลงบันไดโดยก้าวเท้าลงทีละข้าง หรือเริ่มใส่เสื้อผ้าเองเป็น คุณพ่อคุณแม่อาจช่วยฝึกพัฒนาทักษะการทรงตัวของเด็กได้ด้วยการให้เด็กหัดขี่รถจักรยานสามล้อ เป็นต้น พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม เด็ก 3 ขวบมักมีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง เริ่มไม่งอแงเมื่อต้องแยกจากคุณพ่อคุณแม่ และรู้จักแสดงออกทางอารมณ์มากขึ้น เช่น บอกรักหรือแสดงความรักต่อคุณพ่อคุณแม่อย่างเปิดเผย รู้จักแบ่งปันกับคนอื่น เริ่มแสดงความเป็นห่วงเป็นใยเวลาที่เห็นคนรอบข้างเศร้า พัฒนาการด้านภาษาและการสื่อสาร เด็ก 3 ขวบสามารถบอกชื่อต้น อายุ และเพศของตัวเองได้ จำชื่อเพื่อนได้ สามารถสนทนาได้ประมาณ 3-4 คำ/ประโยค และทำตามคำสั่งหลายขั้นตอนได้แล้ว เช่น เข้าใจคำสั่งที่ให้ […]


เด็กวัยหัดเดินและเด็กก่อนวัยเรียน

ครีมอาบน้ำเด็ก ควรเลือกซื้ออย่างไร และวิธีอาบน้ำเด็กอย่างปลอดภัย

ครีมอาบน้ำเด็ก เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่ควรเลือกซื้อโดยคำนึงถึงคุณสมบัติในการทำความสะอาดผิว และความปลอดภัยต่อผิวของเด็กเป็นสำคัญ อาจเลือกที่มีส่วนผสมที่อ่อนโยน และควรหลีกเลี่ยงสารเคมีบางชนิดที่อาจระคายผิวเด็ก เช่น พาราเบน น้ำหอม สารกลุ่มพาทาเลต หากพบว่าเด็กมีผื่นคัน ผิวลอกแดง เป็นต้น อาจเป็นสัญญาณของอาการแพ้ครีมอาบน้ำ ควรให้เด็กเลิกใช้ครีมอาบน้ำนั้นทันที และปรึกษาคุณหมอเพื่อหาวิธีบรรเทาอาการที่เหมาะสม นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาวิธีการอาบน้ำเด็กอย่างปลอดภัย เช่น การติดตั้งอุปกรณ์กันลื่นไว้ในห้องน้ำ การเช็ดเท้าเด็กให้แห้งสนิทหลังอาบน้ำ ซึ่งอาจมีส่วนช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในห้องน้ำได้ วิธีเลือก ครีมอาบน้ำเด็ก วิธีเลือกครีมอาบน้ำเด็กที่เหมาะสม อาจมีดังต่อไปนี้ อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เลือกครีมอาบน้ำที่ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือน้ำหอมที่อาจระคายผิวหนังและการหายใจของเด็ก บางยี่ห้ออาจระบุว่าเป็นแบบ ไฮโปอัลโลจีนิก (Hypo-Allergenic) ซึ่งหมายถึงผ่านการทดสอบทางการแพทย์แล้วว่าอ่อนโยน อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้และการระคายเคือง หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นออร์แกนิก เลือกครีมอาบน้ำเด็กมีส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น ว่านหางจระเข้ เชียบัตเตอร์ (Shea Butter) น้ำมันมะกอก ซึ่งมีคุณสมบัติที่อ่อนโยนต่อผิว และอาจปลอดภัยกับเด็กมากกว่า หลีกเลี่ยงสารสกัดบางชนิด ไม่เลือกใช้ครีมอาบน้ำเด็กที่มีส่วนผสมจากสารกลุ่มพาทาเลต (Phthalates) ซึ่งใช้เป็นวัตถุกันเสียที่มักใช้ในครีมอาบน้ำและแชมพู และพาราเบน (Parabens) ที่อาจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กและการทำงานของฮอร์โมนในร่างกาย ทดลองกับผิวก่อนใช้จริง เมื่อซื้อครีมอาบน้ำเด็กมาใช้เป็นครั้งแรก ควรนำไปทดสอบบนผิวเด็กก่อนเล็กน้อย อาจหยดลงบริเวณแขน เพื่อดูว่าก่อให้เกิดอาการแพ้ คัน ระคายเคืองหรือไม่ ก่อนนำไปใช้ชโลมลงผิวเด็กในตอนอาบน้ำ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน