เด็กวัยเรียน

เด็กวัยเรียน (7-15 ปี) เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะต้องเริ่มใช้ชีวิตในสังคมใหม่ นั่นก็คือ สังคมโรงเรียน แถมการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ก็อาจทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างไรดี แต่เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยเรียน

เด็กเครียด สังเกตยังไง สัญญาณและวิธีป้องกัน

ความเครียด เป็นปัญหาที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย รวมไปจนถึงวัยเด็ก การที่ 'เด็กเครียด' อาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งเรื่องครอบครัว เพื่อน การเรียน และความต้องการบางอย่างที่ไม่เป็นดังหวัง ซึ่งหากสะสมไว้มากเข้าอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายและการเรียนได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงคอยสังเกตสัญญาณความเครียดในเด็กและหาแนวทางป้องกันที่เหมาะสม [embed-health-tool-vaccination-tool] เด็กเครียด สังเกตยังไง อาการที่อาจบ่งบอกความเครียดในเด็ก มีดังนี้  อาการทางกาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คลื่นไส้  ปวดหัว นอนไม่หลับ วิงเวียนศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว หัวใจเต้นแรง น้ำหนักตัวลดหรือขึ้นจากพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนแปลงไป อาการทางใจ อารมณ์แปรรวน หงุดหงิดง่าย หรือร้องไห้บ่อยขึ้น แสดงอาการก้าวร้าว ไม่เชื่อฟัง วิตกกังวล ติดผู้ปกครองมากขึ้น ไม่ยอมอยู่ห่างจากพ่อแม่ ไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกับครอบครัวและในโรงเรียน อย่างไรก็ตาม เด็กแต่ละคนอาจมีวิธีการแสดงออกถึงความเครียดในวัยเรียนที่แตกต่างกัน ผู้ปกครองควรรู้จักสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของลูก และพูดคุยกับลูกบ่อย ๆ เพื่อจะได้ตรวจพบสัญญาณความเครียดของลูกได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก สาเหตุที่ทำให้เด็กเครียด ความเครียดในเด็ก อาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ดังนี้ ความเครียดเรื่องการเรียน การบ้าน คุณครู และการถูกลงโทษ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือต้องปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ความเครียดจากครอบครัว ความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้ง การหย่าร้าง […]

หมวดหมู่ เด็กวัยเรียน เพิ่มเติม

สำรวจ เด็กวัยเรียน

โภชนาการเด็กวัยเรียน

วิตามินซี สำคัญกับเด็กวัยเรียนอย่างไร

วิตามินซี เป็นอีกหนึ่งวิตามินที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะสำหรับเด็กวัยเรียน ที่ต้องการวิตามินซีในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน หลอดเลือด และกล้ามเนื้อ รวมถึงช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความสำคัญและปริมาณของวิตามินซีที่เด็กวัยเรียนควรได้รับ เพื่อให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิตามินซี สำคัญต่อเด็กวัยเรียนอย่างไร เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างหรือผลิตวิตามินซีได้เอง เด็กวัยเรียนจึงต้องได้รับจากอาหารหรืออาหารเสริมที่มีวิตามินซี เนื่องจากวิตามินซีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้ ช่วยรักษาความสมบูรณ์ของ เนื้อเยื่อในร่างกาย และผิวหนัง วช่วยกระตุ้นให้ร่างกายคอลลาเจน หลอดเลือด กระดูกอ่อน รวมถึงกล้ามเนื้อ มีสารช่วยสลายไขมัน เพื่อนำมาสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ทำงานดีขึ้น ช่วยสารที่ช่วยให้ระดับ ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นลดลง ช่วยสร้างและซ่อมแซมเซลล์เม็ดเลือดแดง กระดูก และเนื้อเยื่อ ทั้งยังทำให้เหงือกและหลอดเลือดของเด็กแข็งแรง นอกจากนี้ ยังช่วยลดรอยช้ำ รักษาแผล เพิ่มภูมิคุ้มกัน และช่วยให้ร่างกายดูดซึมแหล่งอาหารจากธาตุเหล็กได้ดีอีกด้วย ปริมาณวิตามินซีสำหรับเด็กวัยเรียน แม้วิตามินซีจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่เด็กๆ ก็ควรได้รับ ในปริมาณที่เหมาะสม โดยปริมาณที่แนะนำสำหรับเด็กแต่ละช่วยวัย อาจมีดังนี้ 0-6 เดือน : 40 มิลลิกรัม/วัน 7-12 เดือน : 50 มิลลิกรัม/วัน 1-3 […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ของเล่น ผู้ชาย ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าวได้หรือไม่

ของเล่น ผู้ชาย เช่น ปืนพลาสติก มีด ดาบ อาวุธของเล่นต่างๆ อาจสร้างความกังวลใจให้พ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่าของเล่นชนิดอื่นๆ เนื่องจากพ่อแม่เชื่อว่า ของเล่นชนิดนี้มักส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง แต่แท้จริงแล้ว ของเล่นประเภทนี้ไม่อาจส่งผลโดยตรงทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในชีวิตจริง แต่เป็นผลมาจากปัจจัยอื่นร่วมด้วย [embed-health-tool-vaccination-tool] ของเล่น เด็ก ผู้ชาย ทำให้ลูกเป็นเด็กก้าวร้าวได้หรือไม่ การเล่นของเล่นเด็กผู้ชายอย่าง ปืนพลาสติก อาจนำไปสู่การใช้ปืนในวัยผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้ชายวัยผู้ใหญ่ที่เคยเล่นปืนพลาสติกในวัยเด็ก อาจไม่เคยเกี่ยวข้องกับกระทำความผิดทางอาชญากรรมเมื่อโตขึ้น นอกจากนี้ ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งบอกว่า การเล่นเกมเกี่ยวกับสงครามของเด็ก จะทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในชีวิตจริง  การเล่นของเล่นที่มีความเกี่ยวข้องกับความรุนแรง เช่น การต่อสู้กับสัตว์ประหลาด การใช้ปืนของเล่น อาจไม่ใช้ความรุนแรงเสมอไป สิ่งสำคัญคือคำสอนของคนใกล้ตัว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจสอนให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปกครอง ความปลอดภัยในชีวิต รวมถึงการแพ้-ชนะได้ ยิ่งไปกว่านั้น การเล่นยังเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางความคิดและสังคม ทั้งยังทำให้เด็กได้แสดงความกลัว รวมถึงความปรารถนาของพวกเขาออกมา สำหรับเด็กผู้ชาย การเล่นของเล่น ผู้ชายที่เป็นอาวุธ เช่น ปืนพลาสติก อาจทำให้เด็กรู้สึกมีพลังและกล้าหาญ สิ่งสำคัญคือพ่อแม่ควรสังเกตลูกอย่างใกล้ชิด หากลูกเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง ควรชักชวนหรือเบี่ยงเบนให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอื่นแทน สื่อที่มีเนื้อหารุนแรง อาจส่งผลต่อความก้าวร้าวของเด็ก อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากของเล่น ผู้ชาย ปัจจัยอื่นที่อาจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือแนวคิดที่รุนแรง สื่อต่างๆ ที่นำเสนอความรุนแรง อาจทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กได้ โดยเฉพาะภาพข่าวหรือสื่อต่างๆ ที่นำเสนอเกี่ยวกับปืนหรืออาวุธสงคราม […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกวัยประถม น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ควรทำอย่างไร

การมีน้ำหนักมากเกินไปหรือน้อยเกินไป อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การมีน้ำหนักเกินอาจเป็นสัญญาณของโรคอ้วน หรือถ้าลูกของคุณมี น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ แล้วคุณพ่อคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์หรือไม่ และควรดูแลลูกอย่างไรดี วันนี้ Hello คุณหมอมีคำตอบมาให้คุณค่ะ รู้ได้อย่างไรว่าลูกคุณ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ เด็กวัยประถม อายุ 6-12 ปี ยังอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ซึ่งหมายความว่าพวกเขาต้องการพลังงาน (แคลอรี่) และสารอาหาร จากการกินอาหารที่มีประโยชน์และอาหาร 5 หมู่ และในกรณีที่เด็กๆ มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ อาจหมายความว่าพวกเขาได้รับแคลอรี่จากอาหารไม่เพียงพอ เรามักจะใช้ตารางการเจริญเติบโต (growth charts) ของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐอเมริกา เพื่อดูค่าน้ำหนัก ความสูง และค่าดัชนีมวลกาย (BMI, body mass index) ซึ่งสำหรับเด็กวัยรุ่น เด็กวัยประถม และเด็กเล็ก ที่มีอายุ 2-18 ปี การคำนวณค่าดัชนีมวลกายจะคำนวณจาก อายุ เพศ ความสูง และน้ำหนัก ซึ่งเด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานถือว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคต่างๆ และสำหรับค่าดัชนีมวลกายจะมีเกณฑ์ดังนี้ น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โดยมีค่าเปอร์เซนไทล์อยู่ที่ 2 หรือต่ำกว่า น้ำหนักตามเกณฑ์ อยู่ระหว่างค่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกกินกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

กาแฟ คือ เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่วัยทำงาน เนื่องจากมีสารคาเฟอีนที่ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัว อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหากให้ ลูกกินกาแฟ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของลูกที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกกินกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ นอนไม่หลับ  เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี จำเป็นต้องนอนหลับอย่างน้อย 11 ชั่วโมง ส่วนในช่วงวัยรุ่น ควรนอนหลับอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน แต่เด็กส่วนน้อยในปัจจุบันสามารถนอนหลับได้อย่างเพียงพอ เนื่องจาตารางเวลาที่แน่นไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับการจัดการโดยคุณพ่อคุณแม่  ทำให้เด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ และทำให้เกิดเด็กหันไปดื่มกาแฟเพื่อเพิ่มพลังงานจากการนอนไม่พอ ด้วยวงจรการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและการต้องพึ่งพาการดื่มกาแฟนี่เอง ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายนาฬิกาชีวิตและทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ระบุด้วยว่าหากเด็กที่มีอาการวิตกกังวล ผลจากคาเฟอีนจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นด้วย ปัสสาวะบ่อย กาแฟออกฤทธิ์คล้ายเป็นยาขับปัสสาวะ กระตุ้นการผลิตปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบรายงานจากงานวิจัยบางแห่งที่ระบุถึงการสูญเสีย แคลเซียม จากร่างกายออกทางปัสสาวะหลังการดื่มกาแฟอีกด้วย โดยปริมาณคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้แคลเซียมถูกขับออก 6 มิลลิกรัม ซึ่งสำหรับเด็กนั้น แคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก หากได้รับไม่เพียงพอก็อาจมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูกได้ สมาธิสั้น กาแฟ ส่งผลให้เด็กตื่นตัวตลอดเวลา มากกว่าอาการตื่นตัวกาแฟยังทำให้เด็กมีสมาธิสั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่ได้ประโยชน์จากสารกระตุ้นในกาแฟที่เพิ่มพลังงานและการตื่นตัว หรือที่เราเรียกกันว่า คาเฟอีน แต่สำหรับเด็นนั้นการได้รับ คาเฟอีน อาจมากเกินไปยาวนานหลายชั่วโมง […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วย โปรตีน สำหรับเด็ก

โปรตีน เป็นหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ การได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ สำคัญต่อสุขภาพ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้เด็ก ๆ ได้รับโปรตีนในแต่ละวัน ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โปรตีน สำคัญกับสุขภาพเด็กอย่างไร โปรตีนมีหน้าที่สร้าง รักษา และซ่อมแซมเนื้อเยื่อในร่างกาย โดยกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกันต่างก็สร้างมาจากโปรตีน เป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ร่างกายยังใช้โปรตีนที่ได้รับจากการกินอาหาร เพื่อสร้างโมเลกุลโปรตีนชนิดพิเศษที่ทำหน้าที่อย่างเฉพาะเจาะจง ตัวอย่างเช่น ร่างกายใช้โปรตีนเพื่อสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดง ที่จะนำออกซิเจนไปในส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อกินอาหารที่มีโปรตีน ร่างกายจะย่อยโปรตีนให้กลายเป็นกรดอะมิโน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่ามีกรดอะมิโน 22 ชนิดที่ร่างกายต้องการ และกรดอะมิโน 13 ชนิดร่างกายสามารถสร้างเองได้ ส่วนกรดอะมิโนอีก 9 ชนิดร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ เรียกว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น และร่างกายจะได้รับกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้ง  9 ชนิด จากการกินอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน มากไปกว่านั้น แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โปรตีนที่มาจากสัตว์และโปรตีนที่มาจากพืช ดังนี้ โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์และนม เป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบทั้ง 9 ชนิด โปรตีนจากพืช ส่วนใหญ่จะขาดกรดอะมิโนที่จำเป็น 1 ชนิดหรือมากกว่า […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง

ไม่ใช่แค่ของหวานหรืออาหารไขมันสูง ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การกิน เกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง ก็เพิ่มความเสี่ยงสุขภาพได้เช่นกัน คุณพ่อคุณแม่จะมีวิธีสังเกตอย่างไรว่า เด็กกินเค็ม มากเกินไปจนอาจทำให้เด็กๆ เกิดปัญหาสุขภาพในระยะยาว เด็กกินเค็ม ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics ให้ข้อมูลว่า เด็กบริโภค เกลือ หรือ โซเดียมเกินปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งการกินอาหารที่มีโซเดียมสูงตั้งแต่เด็ก สามารถเพิ่มความเสี่ยงของปัญหาหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ โรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันมากกว่า 800,000 คนในแต่ละปี และการกินอาหารที่มีรสเค็ม การบริโภค เกลือ หรืออาหารโซเดียมสูง อาจทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง และเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด เด็กกินเค็ม (โซเดียม) เท่าไหร่ถึงจะพอดี เด็กควรบริโภคเกลือแต่น้อย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอาหารส่วนใหญ่มักจะเพิ่มเกลือลงไป เช่น ขนมปัง ถั่วอบ หรือแม้แต่ขนมปังอบกรอบ จึงทำให้เด็กๆ กินเค็มมากเกินไป ปริมาณ เกลือ ที่สูงที่สุดที่เด็กควรได้รับต่อวัน ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 12 เดือน ควรได้รับ เกลือ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง

อาหารบำรุงสมอง คืออาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการทำงานของประสาทและสมอง ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ ในวัยเรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น ความจำดีขึ้น แถมมีสมาธิดีขึ้นอีกด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรเลือก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ให้เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลดีต่อโภชนาการและสุขภาพของเด็ก อาหารบำรุงสมองสำหรับเด็ก ที่ควรจัดให้ลูกอย่าได้ขาด 1. ไข่ ไข่เป็นแหล่งโปรตีนชั้นดี และในไข่แดงมีโคลีน (choline) ซึ่งเป็นสารอาหารที่จะช่วยพัฒนาความจำและการทำงานของสมอง นอกจากนี้สารอาหารในไข่ยังช่วยทำให้เด็กมีสมาธิด้วย 2. ปลา ปลามีวิตามินดีและกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่จะช่วยป้องกันสมองจากการสูญเสียความจำ และความจำที่ลดลงตามอายุ ปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน โดยปลาทูน่าถือเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเยี่ยม แต่ในปลาทูน่าจะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 น้อยกว่าในปลาแซลมอน เนื่องจากปลาแซลมอนอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีทั้งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดดีเอชเอ (DHA) และอีพีเอ (EPA) ซึ่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ทั้ง 2 ชนิดจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการทำงานของสมอง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า ผู้ที่ได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม และสามารถทำแบบทดสอบทักษะทางด้านจิตใจได้ดีขึ้น 3. ผักหลากสี ผักที่เต็มไปด้วยสีสัน เช่น มะเขือเทศ มันเทศ ฟักทอง แครอท ผักโขม […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

น้ำมันปลา เด็กกินได้ไหม มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

น้ำมันปลา อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจมีประโยชน์ทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยเสริมสุขภาพดวงตา ช่วยเพิ่มไขมันดีในร่างกาย และอาจช่วยด้านความจำ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อควรระวังในการให้ลูกบริโภคน้ำมันปลาให้เข้าใจก่อนให้ลูกกินน้ำมันปลา เพื่อให้ลูกได้รับประโยชน์จากน้ำมันปลาสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด เด็กแต่ละวันควรบริโภคน้ำมันปลาวันละเท่าไหร่ จากข้อมูลปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำปริมาณในการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 (ชนิด DHA และ EPA) ต่อวัน โดยแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้ ช่วงอายุ 6 เดือน-2 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 10-12 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ช่วงอายุ 2-3 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 100-150 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 4-5 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 150-200 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 6-8 ปี […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ติดน้ำหวาน เป็นอันตรายอย่างไรต่อร่างกายของลูก

เด็กติดน้ำหวาน เป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่พบได้มาก จากข้อมูลของสมาคมต่อมไร้ท่อเด็กและวัยรุ่นไทย พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนของเด็กที่มีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วนกว่าร้อนละ 1.6-2.3 และเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กว่าร้อยละ 15.3 อีกทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาเด็กติดน้ำหวานอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งเพิ่มความเสี่ยงโรคอ้วน โรคเบาหวาน ทำลายสุขภาพฟัน และอาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็ก ดังนั้น ผู้ปกครองจึงควรจัดการกับปัญหาการติดน้ำหวานของเด็กให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] ติดน้ำหวาน อันตรายอย่างไร อาจทำให้อ้วน มีงานวิจัยมากกว่า 90 ชิ้น ที่บอกว่าน้ำหวานกับปัญหาน้ำหนักตัวของเด็กเกี่ยวข้องกัน การกินน้ำหวานวันละ 1 แก้วหรือ 2 แก้วต่างก็ทำให้เกิดปัญหาได้ การให้ลูกๆ กินน้ำหวาน นอกจากจะแคลอรี่สูงแล้ว ยังไม่ช่วยทำให้อิ่มอีกด้วย เด็กๆ จะรู้สึกอยากกินอย่างอื่นเพิ่มอีกเวลาที่กินน้ำหวาน มีงานวิจัยที่พบว่า เด็กผู้หญิงที่กินน้ำหวานมากๆ ในวัย 3-9 ขวบ ตอนที่อายุ 13 ปี เด็กผู้หญิงกลุ่มนี้จะมีน้ำหนักตัวมากกว่าเพื่อนๆ แถมยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะเด็กๆ มีรอบเอวหนา มีความดันสูง และมีไขมันดี […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

โซเดียมในขนม ภัยเงียบที่พ่อแม่ต้องระวัง

ขนมขบเคี้ยวที่เด็ก ๆ ชอบกินมักจะอุดมไปด้วยน้ำตาล แป้ง และผงชูรส พ่อแม่ส่วนใหญ่คิดว่าผงชูรสเป็นสิ่งที่ต้องระวัง เพราะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่นอกจากสิ่งเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกสิ่งที่พ่อแม่อาจมองข้าม นั่นก็คือ โซเดียมในขนม ที่หากบริโภคมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคไต และโรคอื่น ๆ ตามมา [embed-health-tool-heart-rate] โซเดียม คืออะไร โซเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ โซเดียมช่วยควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบกล้ามเนื้อ โดยอวัยวะที่ควบคุมการทำงานของโซเดียม คือ ไต ร่างกายรับโซเดียมจากอาหารที่มีรสเค็ม และจากเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ เช่น เกลือ น้ำปลา กะปิ ซึ่งโซเดียมที่ร่างกายได้รับส่วนใหญ่มาจากเกลือที่ประกอบด้วยโซเดียมกับคลอไรด์ ส่วนการขับโซเดียมออกจากร่างกาย ร่างกายอาจขับโซเดียมส่วนเกินออกทางไตในรูปแบบปัสสาวะมากที่สุด รองลงมา คือ ขับออกทางเหงื่อ วันละประมาณ 25 มิลลิโมล และขับโซเดียมออกทางอุจจาระในปริมาณน้อยประมาณ 1-2 มิลลิโมล นอกจากนี้โซเดียมอาจมีประโยชน์อื่น ๆ ดังนี้ เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย การขาดโซเดียมอาจทำให้เกิดโรค เช่น โรคที่เกี่ยวกับกระดูก โซเดียมเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยอาหาร และเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ผลเสียจากการได้รับโซเดียมมากเกินไป เนื่องจากไตเป็นอวัยวะที่ควบคุมการใช้โซเดียมในร่างกาย การที่ร่างกายได้รับปริมาณโซเดียมมากเกินไปอาจส่งผลเสียต่อไต โดยปริมาณโซเดียมที่ควรได้รับต่อวัน คือ ไม่ควรเกิน 2,400 มิลลิกรัม […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน