เด็กวัยเรียน

เด็กวัยเรียน (7-15 ปี) เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะต้องเริ่มใช้ชีวิตในสังคมใหม่ นั่นก็คือ สังคมโรงเรียน แถมการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา ก็อาจทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเองอย่างไรดี แต่เรามีคำตอบมาให้แล้ว

เรื่องเด่นประจำหมวด

เด็กวัยเรียน

ของเล่น เด็ก โต ส่งเสริมพัฒนาการลูกให้เรียนรู้ไวตั้งแต่เด็กจนโต

ตั้งแต่เล็กจนโต ของเล่นมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก เด็กแต่ละวัยจะมีการเล่นหรือของเล่นที่เหมาะสมแตกต่างกันไป ของเล่นไม่เพียงทำให้เด็กรู้สึกสนุกเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะตั้งแต่วัยเยาว์ พ่อแม่จึงควรเลือกของเล่นให้เหมาะกับช่วงวัย เช่น ของเล่นเด็กเล็ก ของเล่น เด็ก โต เพราะพฤติกรรมการเล่นของเด็กจะพัฒนาตามวุฒิภาวะ ความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา [embed-health-tool-vaccination-tool] พฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย การเล่นจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสในร่างกายของลูก จึงควรทราบถึงพฤติกรรมการเล่นของเด็กแต่ละช่วงวัย เพื่อพิจารณาเลือกของเล่นให้เหมาะว่า ของเล่นประเภทไหนสำหรับเด็กเล็ก หรือเป็นของเล่นเด็กโต ให้ทุกการเล่นของลูกได้พัฒนาร่างกาย จิตใจ และอารมณ์  พฤติกรรมการเล่นของเด็กแรกเกิดถึง 1 ปี เด็กวัยแรกเกิดถึง 3 เดือน จะเริ่มมีพัฒนาการด้านประสาทสัมผัสการมองเห็นและการได้ยินในช่วงแรกของชีวิต จึงเหมาะกับของเล่นที่มีสีสันสดใส มีเสียง และเคลื่อนไหวได้ การแขวนของเล่นสีสดใสที่มีเสียงแกว่งไปมา จะช่วยให้เด็กกรอกตามอง สังเกตความเคลื่อนไหว และได้ยินเสียงไปด้วย ต่อมาเด็กจะสามารถใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวได้ เริ่มบังคับกล้ามเนื้อได้ และชอบคว้าของเล่นเข้าปาก จึงควรเลือกของเล่นที่ปลอดภัย สามารถนำเข้าปากได้ ไม่อันตราย และไม่ควรมีขนาดเล็กเพื่อป้องกันไม่ให้ติดคอหรือสำลัก พฤติกรรมการเล่นของเด็กช่วงวัย 1-2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเกาะเดินได้ จึงควรได้ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ อีกทั้งเป็นช่วงวัยที่ชอบเรียนรู้ สนุกกับอะไรใหม่ ๆ ผู้ใหญ่จึงควรอยู่ใกล้ชิดขณะที่เด็กเล่นของเล่นเพื่อความปลอดภัย […]

สำรวจ เด็กวัยเรียน

ช่วงวัยเรียน

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน ได้อย่างไร

การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กในหลายด้านทั้งทางกายภาพและพัฒนาการทางปัญญา นอกจากนี้ การเล่นยังอาจช่วยเตรียมความพร้อมของเด็กในการเข้าสู่สังคมโรงเรียนได้อีกด้วย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการเล่นเสริมสร้างพัฒนาการเด็กวันเรียน เพื่อจะได้เสริมสร้างพัฒนาการได้อย่างเหมาะสม การเล่นเสริมพัฒนาการเด็กวัยเรียน สำคัญอย่างไร เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุ 6-9 ปี จะเริ่มมีพัฒนาการมากขึ้น การเสริมสร้างพัฒนาการในช่วงนี้การเล่นจึงอาจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เด็กวัยเรียนพัฒนาได้หลายด้าน ดังนี้ การเล่นเกมที่มีกฎง่าย ๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้และคุ้นเคยเกี่ยวกับกฎเกณฑ์มากขึ้น การเล่นเกมกับเพื่อนยังช่วยให้เด็กได้สร้างสัมพันธ์กับเพื่อน รู้จักการผลัดกันเล่น และประนีประนอมกันผู้อื่น พัฒนาความสนใจใหม่ ๆ และงานอดิเรกผ่านการเล่น เช่น เด็กอาจจะเริ่มอ่านหนังสือในเรื่องที่สนใจมากขึ้น สนุกกับความท้าทายในการเล่น เช่น การปีนต้นไม้ การปั่นจักรยานด้วยความเร็ว ความท้าทายเหล่านี้สร้างความสนุกและความตื่นเต้นให้กับเด็ก อีกทั้งสร้างทักษะทางกายภาพ การใช้กล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันระหว่างกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ และสายตา ช่วยพัฒนากระบวนการแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนรู้ ช่วยให้เด็กรู้ถึงขีดจำกัดทางร่างกายและอารมณ์ การเล่นกับเพื่อนจะช่วยให้เด็กรู้จักการสร้างมิตรภาพไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศกัน โดยคุณพ่อคุณแม่ควรร่วมเล่นหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ กับเด็ก เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว เช่น เตะฟุตบอลในสนามหน้าบ้าน ทำอาหารร่วมกัน การเล่นกับเพื่อน หรือการผจญภัยที่โรงเรียนอาจเสริมสร้างพัฒนาการให้กับเด็กวัยเรียนได้ แต่เด็กยังคงต้องการคำแนะนำและความช่วยเหลือจากคุณพ่อคุณแม่ เพื่อช่วยจัดการกับความกังวลต่าง ๆ การเล่นกับเด็กอาจเป็นช่องทางในการสื่อสารที่ดี การเล่นกับพัฒนาการทางปัญญาในวัยเรียน การเล่นนอกจากจะให้ประโยชน์ทางกายภาพแล้วยังช่วยพัฒนาความรู้ความเข้าใจของเด็กวัยเรียน ในเรื่องของความสามารถในการคิด เข้าใจ สื่อสาร จดจำ […]


ช่วงวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน

พัฒนาการด้าน การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน เป็นกระบวนการที่เด็กเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น พัฒนาทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น และสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ตามปกติ อีกทั้งยังสามารถจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการเข้าสังคมของเด็กวัยนี้ให้ดี เพื่อจะได้ช่วยฝึกฝนทักษะของเด็กให้เป็นไปตามวัย สาเหตุที่ทำให้เด็กวัยเรียนปฏิเสธการเข้าสังคม เด็กวัยเรียน บางคนอาจจะปฏิเสธการเข้าสังคมหรือปฏิเสธการไปโรงเรียน ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุดังต่อไปนี้ ความรู้สึกไม่ดี เด็กอาจกำลังพยายามหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่โรงเรียนเหรือเพื่อนทำให้เด็กเกิดความวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือรู้สึกลำบากใจ เช่น การแกล้งกัน การถูกทำร้าย หลีกเลี่ยงปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กอาจมีปัญหาในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ปัญหาการสร้างมิตรภาพกับเพื่อน หรืออาจไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเจอกับเหตุการณ์นั้น มีความสนใจนอกโรงเรียน เด็กอาจสนใจทำกิจกรรม เล่นเกม ดูทีวีอยู่ที่บ้านมากกว่าการมาโรงเรียน ติดพ่อแม่ เด็กอาจติดพ่อแม่ ไม่ชอบที่จะแยกจากพ่อแม่จึงทำให้เกิดการปฏิเสธสังคมขึ้น การเข้าสังคมของเด็กวัยเรียน ส่งผลต่อเด็กอย่างไร ประสบการณ์การใช้ชีวิตประจำวันกับผู้ปกครองเป็นสิ่งพื้นฐานในการพัฒนาการเข้าสังคมของวัยเรียน พ่อแม่ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้พัฒนาความสัมพันธ์ พูดคุย โต้ตอบกัน เป็นแบบอย่างที่เด็กสามารถจดจำ และนำไปใช้โต้ตอบกับคนรอบข้างได้ เด็กที่อายุ 5 ปีขึ้นไป จะเริ่มมีพัฒนาการทางสังคม เด็กวัยเรียน ส่วนใหญ่จะใช้เวลาทั้งวันไปกับการพูดคุย เล่น กับเด็กคนอื่น ๆ ดังนี้ สร้างมิตรภาพ พยายามทำให้เพื่อนพอใจ หรือพยายามทำตามเพื่อน เรียนรู้การสร้างสัมพันธ์กับเด็กคนอื่น ๆ รับรู้ถึงการถูกรังแก กลัวการรังแก หรือเริ่มทำตัวรังแกผู้อื่น เด็กบางคนที่มีอายุ 10 ขวบขึ้นไป อาจเริ่มปฏิเสธความคิดเห็นของพ่อแม่ […]


ช่วงวัยเรียน

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจเกิดขึ้นได้ทั้งทางร่างกายและสมอง โดยแต่ละช่วงวัยก็จะมีพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ เพศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่อาจทำให้การเปลี่ยนแปลงของเด็กแตกต่างกัน ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน เพื่อช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทางร่างกายที่ดีซึ่งจะส่งผลไปถึงพัฒนาการทางสมองและสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของเด็กวัยเรียน อาจแบ่งออกได้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงทางสมอง โดยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาจมีดังนี้ การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กวัยเรียน เด็กวัยเรียน ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-12 ปี อาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหลายส่วน ดังนี้ เด็กวัยเรียนมักมีพัฒนาทางความสูงของร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย เด็กวัยเรียนอาจมีการพัฒนาด้านความสมดุลของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว และการทรงตัว มวลกล้ามเนื้อจะเริ่มเปลี่ยนแปลง และมีความแข็งแรงมากขึ้น เด็กเริ่มพัฒนาลักษณะทางเพศมากขึ้น เช่น เด็กผู้หญิงเริ่มมีพัฒนาการของเต้านม มีขนตามร่างกาย ส่วนเด็กผู้ชายอาจเริ่มมีขนตามร่างกาย การเจริญเติบโตของอัณฑะและองคชาต ตัวอย่างพัฒนาการทางกายภาพแต่ละช่วงอายุ อาจมีดังนี้ 5 ขวบ การทรงตัวดีขึ้น ยืนบนเท้าข้างเดียวได้นานอย่างน้อย 10 วินาที กระโดดข้ามสิ่งของได้ ตีลังกา ใช้ช้อนส้อมได้ ควบคุมการขับถ่ายและใช้ห้องน้ำได้เอง 6-8 ขวบ กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น มีความสมดุลและความอดทนของร่างกายมากขึ้น ลักษณะทางกายภาพเริ่มพัฒนามากขึ้น 9-12 ขวบ ลักษณะทางกายภาพพัฒนาขึ้น มีพัฒนาทางกายภาพเพิ่มขึ้น เช่น หน้าอกใหญ่ขึ้น มีขนตามร่างกาย การเปลี่ยนแปลงของเด็กผู้ชาย […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

พัฒนาการเด็กวัยประถม กับการเปลี่ยนแปลง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็ก ๆ ที่เข้าสู่ช่วงวัยประถมส่วนใหญ่มักอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี ด้วยกัน พร้อมมีการเจริญเติบโตขึ้นตามแต่ละช่วงวัย รวมไปถึงการอบรม เอาใจใส่ และการดูแลของคุณพ่อคุณแม่ร่วมด้วย แต่คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่คะว่า ในช่วงอายุลูกรักดังกล่าว จะส่งผลให้พวกเขามีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นในด้านใดบ้าง ถ้าหากยังไม่ทราบละก็ วันนี้บทความของ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ถึง พัฒนาการเด็กวัยประถม และเคล็ดลับการดูแลให้เหมาะกับช่วงวัย มาฝากผู้ปกครองทุกคนกันค่ะ รูปแบบการเรียนรู้ของ เด็กวัยประถม แต่ละช่วงอายุ และอุปนิสัยเด็ก ๆ แต่ละบุคคลนั้น ย่อมมีการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจมีความต้องการอยากจะเรียนรู้ทางด้านวิชาการ ในขณะที่เด็กบางคนอาจอยากเรียนรู้ทางด้านกิจกรรม แต่ส่วนใหญ่โดยรวมแล้วเด็กในช่วงวัยประถมมักอยากเรียนรู้สิ่งแปลกใหม่ที่เข้ามาเสมอ พวกเขาจะกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพบเจอสังคมใหม่ในโรงเรียน วิชาเรียน กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางคุณครูผู้สอนได้มอบหมายให้ ซึ่งมักจะทำให้เด็กคัดกรองในสิ่งที่ตนเองชอบได้ว่า ตัวพวกเขานั้นถนัดอะไร ชอบทำอะไร และสิ่งใดที่ไม่ค่อยถนัด ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้ของเด็กในช่วงวัยนี้ผู้ปกครองทุกคนควรสนับสนุนหากเป็นไปในทางที่ดี และควรตักเตือนหากลูกรักมีพฤติกรรมที่ไม่สมควร แต่ไม่ถึงกับต้องบังคับตลอดเวลา เนื่องจากเด็กวัยประถมต้องการอิสระในภายใต้การขอความคิดเห็นจากผู้ปกครองร่วม เพื่อทำให้เขาตัดสินใจลงมือทำ และเพลิดเพลินกับสิ่งที่ตัวเองชื่นชอบได้อย่างสนุกขึ้น พัฒนาการเด็กวัยประถม แต่ละช่วงอายุ อย่างที่ทราบกันดีว่า เด็กวัยประถม ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุ 6-12 ปี […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ขนมเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับเด็ก

ขนมเพื่อสุขภาพ คือขนมที่ให้พลังงานและสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของลูกน้อย ขนมหรือของว่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้ลูกรับประทาน คือ ขนมที่ทำจากผัก ผลไม้ ธัญพืช ควรให้ลูกหลีกเลี่ยงขนมที่มีโซเดียมและน้ำตาลสูง เช่น มันฝรั่งทอด เค้ก ลูกกวาด หรืออาจจำกัดปริมาณการรับประทานขนมเหล่านี้ เพราะอาจเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน เบาหวาน [embed-health-tool-bmi] เด็กกินขนมมากไป ส่งผลเสียได้อย่างไร ขนมส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยโซเดียม และน้ำตาล หากรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก ก็อาจส่งผลให้ร่างกายสะสมสารอาหารที่ไม่ดีอยู่ภายในก่อให้เกิดโรคอ้วนตั้งแต่ยังเยาว์วัย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับคอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในตับ และเกิดปัญหาด้านสุขภาพช่องปาก เช่น ฟันผุ อีกทั้งยังทำให้ระบบย่อยอาหารผิดปกติส่งผลให้เป็นโรคลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องร่วง อาหารแต่ละมื้อที่ประกอบด้วยโซเดียมและน้ำตาลสูงก็อาจส่งผลให้เด็กเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ปกครองควรจำกัดปริมาณอาหารและขนมในแต่ละวันให้พอดี โดยควรจำกัดน้ำตาลไว้ที่ 25 กรัมสำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำตาลไม่ว่าจะในรูปแบบอาหารหรือเครื่องดื่ม เด็กที่มีอายุ 1-3 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,500 มิลลิกรัม เด็กที่มีอายุ 4-8 ปี ควรบริโภคน้อยกว่า 1,900 […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไรบ้าง

การ ฝึกลูกนอนเร็ว อาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ แต่ละครอบครัวต่างมีวิธีที่แตกต่างกันไป บางคนเลือกเล่านิทาน บางครอบครัวอาจเลือกร้องเพลงกล่อม แต่อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่ต้องการ ทั้งนี้ อาจต้องอาศัยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการฝึกสร้างระเบียบวินัย การสร้างบรรยากาศ การพูดคุยเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลในการนอนเร็ว เพื่อฝึกให้ลูกนอนเร็วได้ผลดียิ่งขึ้น [embed-health-tool-vaccination-tool] ฝึกลูกนอนเร็ว มีประโยชน์อย่างไร การฝึกลูกเข้านอนเร็ว ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่ส่งผลดีและมีประโยชน์ต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ การเข้านอนแต่หัววัน จะทำให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่รู้สึกอ่อนเพลียเมื่อตื่นนอนตอนเช้า มีส่วนช่วยให้พัฒนาการด้านความจำและสุขภาพจิตดีขึ้น อันเป็นผลมาจากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การฝึกลูกนอนเร็วมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาความดันโลหิตได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่ปัญหาโรคอ้วน การฝึกลูกนอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงที่จะนำไปสู่โรคอ้วนในเด็กได้ หากลูกน้อยนอนดึกอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ซึมเศร้า เมื่อลูกเข้านอนเร็วจึงมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าได้ ฝึกลูกนอนเร็ว ทำได้อย่างไร สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เคยเลี้ยงลูกมาแล้วอาจสามารถรับมือกับปัญหาลูกเข้านอนดึกได้ดีกว่าเพราะมีประสบการณ์มาก่อนแล้ว แต่สำหรับพ่อแม่มือใหม่ การพาลูกเข้านอนแต่ละครั้งอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย หากกำลังประสบกับปัญหาลูกน้อนไม่ยอมนอนหรือนอนดึก อาจลองใช้วิธีดังต่อไปนี้ เพื่อฝึกลูกนอนเร็ว  กำหนดเวลาเข้านอนให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกน้อยสามารถจดจำได้ว่าเวลานี้เป็นเวลาที่ควรจะพักผ่อนนอนหลับ และควรกำหนดเวลาเข้านอนจนถึงเวลาตื่นนอนให้ได้อย่างน้อย 9-11 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ผ่อนคลายก่อนนอน การชวนลูกทำกิจกรรม เช่น เล่นเกม ร้องเพลงกล่อม เล่านิทาน สัก 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน […]


ช่วงวัยเรียน

ตีลูก ส่งผลกับลูกอย่างไร และวิธีเลี้ยงลูกที่เหมาะสม

การตีลูก เพื่อให้เชื่อฟัง บางครั้งอาจไม่ได้เป็นเทคนิคที่เหมาะสมเสมอไป เพราะยังมีหนทางอื่น ๆ อีกมากมายในการอบรมสั่งสอนอย่างสร้างสรรค์ ที่จะช่วยให้ลูกรักรู้จักเหตุผล และพร้อมรับฟัง หรือเต็มใจพิจารณาสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการจะสื่อสารกับพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ทำไม การตีลูก บ่อย ๆ ถึงไม่ดี ถึงแม้ในประเทศไทยของเรา จะใช้การตีลูก เป็นหนึ่งในวิธีอบรมสั่งสอน หรือเอาไว้ทำโทษกันมาอย่างยาวนาน แต่วิธีนี้ก็อาจจะไม่ใช่วิธีที่เหมาะสมที่สุด เพราะยังมีวิธีอื่น ๆ อีกมากมายที่คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ในการอบรมสั่งสอนลูกได้ เช่น การแสดงสีหน้า น้ำเสียงที่ดุอย่างชัดเจน งดให้ทำกิจกรรมที่ชอบสักระยะจนกว่าพวกเขาจะรู้สึกผิด ที่สำคัญ หากคุณใช้วิธีการตีลูกอย่างเดียวอยู่บ่อยครั้ง อาจส่งผลเสียต่อเด็ก ๆ นั่นคือ อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงลบได้ในอนาคต เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่มีความสุขดังเดิม สภาพจิตใจของเด็กเปลี่ยนแปลงไป หรือมีการจดจำเพียงแต่ความเจ็บปวดจากการถูกตีมากกว่าการจดจำความทรงจำดี ๆ ทำให้เด็กก้าวร้าวมากขึ้น เด็ก ๆ อาจมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นประจำ เป็นการเพิ่มความรุนแรงในครอบครัว เพราะบางครั้งเด็กอาจมีการโต้ตอบที่รุนแรงกลับ เช่น การตะโกน ส่งเสียงดัง ทำร้ายพ่อแม่กลับ หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงลูกรัก ก็สามารถขอคำปรึกษาจากแพทย์เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ดี เรามีคำแนะนำหรือเคล็ดลับในการเลี้ยงลูกมาฝาก คุณจะได้นำไปปรับใช้ให้เหมาะสมอุปนิสัยและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคน จะได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดความรุนแรงหรือผลเสียข้างต้น เคล็ดลับสำหรับ การเลี้ยงลูก อย่างที่ทราบว่า การตีลูก […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด อย่างไรจึงจะดีมากกว่ากัน

เนื่องจากการเป็นพ่อแม่คนนั้นไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด บางครั้งเมื่อลูกทำผิดก็อาจจะต้องมีการอบรบสั่งสอน และเข้มงวดให้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันเชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อยากให้ลูกรักย่อมมีการเรียนรู้จากความผิดพลาดด้วยตนเองจนปล่อยปะละเลย แล้วรู้หรือไม่ว่า ระหว่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด แตกต่างกันอย่างไร [embed-health-tool-bmi] ข้อแตกต่าง การเลี้ยงลูกแบบอิสระ และแบบเข้มงวด แน่นอนว่าการเลี้ยงดูลูกทั้ง 2 รูปแบบนี้ย่อมแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะการเลี้ยงลูกแบบอิสระเป็นการปล่อยให้ลูกรักตัดสินใจใช้ชีวิตด้วยตนเอง โดยไม่มีข้อบังคับ หรือกฎเกณฑ์ใด ๆ ที่ทางผู้ปกครองตั้งไว้ ส่งผลให้เด็ก ๆ มีความมั่นใจ สุขภาพจิตดีขึ้น และกล้าจะเข้าสังคมใหม่ ๆ ในอนาคตที่ต้องพบเจอ แต่ขณะเดียวกันก็อาจทำให้เด็ก ๆ ไร้วินัย ถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้ง่าย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ที่เหล่าบรรดาวัยรุ่นนิยม หรือสูบบุหรี่ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด ถึงแม้จะถูกผู้คนมองว่าเป็นการเลี้ยงลูกที่ไม่สมควรมากนัก เนื่องจากเป็นการเลี้ยงแบบไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็กเสียเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีกฏเกณฑ์มากเกินไป ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจพวกเขาในเชิงลบได้ แต่ทว่า เมื่อเด็ก ๆ ถูกเข้มงวดมากขึ้นบางครั้งก็อาจทำให้เกิดระเบียบมีวินัย ไม่กล้าจะประพฤติผิด เพราะเกรงกลัวว่าจะถูกผู้ปกครองลงโทษ จนนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตดั่งเป้าหมายในอนาคต เรียกได้ว่า การเลี้ยงลูกทั้งแบบอิสระ และแบบเข้มงวด ย่อมให้ข้อดีข้อเสียไม่แพ้กัน เพื่อเป็นทางออกที่ดีที่สุดนั้น คุณพ่อคุณแม่ รวมถึงผู้ปกครองทุกคน ควรศึกษาจากลักษณะนิสัยของเด็ก พร้อมทั้งควรปรับการเลี้ยงดูให้สมเหตุสมผล และเอาใจใส่ทุกอย่างที่เป็นตัวตนของลูกให้มาก ๆ เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตใช้ชีวิตในโลกภายนอกได้อย่างมีความสุข เคล็ดลับ […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

ลูกติดน้ำอัดลม ดื่มน้ำอัดลมบ่อย คุณพ่อคุณแม่จะรับมืออย่างไรดี

น้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในคนทุกวัย เพราะมีรสชาติหวาน ดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น แต่หาก ลูกติดน้ำอัดลม จะส่งผลเสียต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรช่วยให้ลูกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ลดการดื่มน้ำอัดลม เพื่อให้ลูกมีสุขภาพดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ลูกติดน้ำอัดลม อันตรายอย่างไร หากลูกติดน้ำอัดลมอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ ดังนี้ เสี่ยงเกิดโรคอ้วน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงอย่างน้ำอัดลม มักให้แคลอรี่สูงแต่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพน้อย การดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ จึงเสี่ยงทำให้ลูกได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป เช่น คาร์โบไฮเดรต ทั้งยังอาจทำให้ร่างกายสะสมแคลอรี่เอาไว้มากขึ้น หากลูกไม่ได้ทำกิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ส่วนเกิน ก็อาจทำให้น้ำหนักขึ้น หรือเสี่ยงเกิดโรคอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย เสี่ยงฟันผุ น้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง หากคุณพ่อคุณแม่ไม่คอยดูแลให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำอัดลมในปริมาณที่เหมาะสม และแปรงฟันหลังรับประทานอาหารและดื่มน้ำอัดลม ทำให้มีน้ำตาลสะสมตามผิวฟัน และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างฟันผุได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเด็กดื่มน้ำอัดลมในมื้อเย็นแล้วไม่แปรงฟัน ก็จะยิ่งเสี่ยงต่อฟันผุมากขึ้นไปอีก เสี่ยงเกิดปัญหาในกระเพาะอาหาร น้ำอัดลมนอกจากจะให้น้ำตาลสูงแล้ว ยังมีกรดจำพวกกรดคาร์บอนิก (Carbonic acid) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้น้ำอัดลมซ่า มีฟอง และมีรสออกเปรี้ยว แต่กรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน หากลูกติดน้ำอัดลมและดื่มน้ำอัดลมบ่อย ๆ กรดคาร์บอนิกอาจทำให้จะทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร จนกระเพาะอาหารอักเสบ ทั้งยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคลำไส้อักเสบได้ด้วย เสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุน น้ำอัดลมมีกรดฟอสฟอริก (Phosphoric acid) ซึ่งหากดื่มบ่อย ๆ เกิดการสะสมในร่างกายมากเกินไป จะเสี่ยงทำให้แคลเซียมในมวลกระดูกสูญสลาย ในระยะยาวอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ วิธีรับมือเมื่อ ลูกติดน้ำอัดลม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของเด็ก ๆ ดังต่อไปนี้ อาจมีส่วนช่วยแก้ปัญหาลูกติดน้ำอัดลมได้ ลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลม การลดปริมาณการดื่มน้ำอัดลมของลูกลงทีละนิด โดยไม่ห้ามหรือหักดิบจนเกินไป […]


การเติบโตและพัฒนาการในวัยเรียน

ฝึกลูกนอนคนเดียว แบบค่อยเป็นค่อยไป ด้วยวิธีไหนดี

ฝึกลูกนอนคนเดียว เป็นการฝึกให้ลูกได้เรียนรู้ที่จะทำอะไรด้วยตัวเองเป็น โดยไม่ต้องพึ่งพาพ่อกับแม่เสมอไป รวมทั้งทำให้คุณพ่อคุณแม่ได้มีเวลาส่วนตัว แต่การฝึกลูกนอนคนเดียวนั้นอาจไม่ง่ายนัก ต้องค่อยเป็นค่อยไป สื่อสารให้ลูกเข้าใจถึงเหตุผลและให้เวลาลูกปรับตัวเพื่อจะได้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว หรือรู้สึกว่าโดนกีดกันออกจากพ่อกับแม่ ยังคงความรักและความเข้าใจในครอบครัว ฝึกลูกนอนคนเดียว ดีอย่างไร การฝึกให้ลูกรู้จักเข้านอนคนเดียวโดยไม่ต้องมีคุณพ่อคุณแม่คอยตามประกบเข้านอนด้วยนั้น เป็นผลดีต่อเด็กในหลาย ๆ ด้าน ดังนี้ รู้จักจัดการกับความรู้สึก การฝึกลูกนอนคนเดียว เป็นการฝึกให้ลูกเรียนรู้ที่จะจัดการกับความรู้สึกของตัวเอง เพราะการอยู่คนเดียวในตอนกลางคืนหรือท่ามกลางความมืดอาจเป็นเรื่องน่ากลัว หากคุณพ่อคุณแม่ยังต้องนอนกับลูกทุกครั้งอาจจะเป็นการจำกัดความสามารถในการจัดการกับความรู้สึกตัวเองของลูก การฝึกลูกนอนคนเดียว จะช่วยให้เขารับมือกับความกลัว เพื่อเรียนรู้ที่จะรับมือและจัดการกับความรู้สึกอื่น ๆ ด้วยตัวเองต่อไป เข้าใจสิทธิความเป็นส่วนตัว เมื่อลูกเรียนรู้ที่จะเข้านอนคนเดียวในห้องนอนของตัวเอง เท่ากับเรียนรู้ว่าทุก ๆ คนต่างต้องการความเป็นส่วนตัว เมื่อเด็กมีพื้นที่ส่วนตัวเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการนึก คิด หรือทำอะไรก็ตามที่เป็นเรื่องส่วนตัว ก็เท่ากับเป็นการส่งเสริมให้เด็กรู้จักที่จะเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นด้วย เสริมสร้างความมั่นใจ  การฝึกให้ลูกได้ทำอะไรด้วยตนเอง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจว่าพวกเขาทำได้ แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างการนอนคนเดียว การใส่เสื้อผ้าด้วยตัวเอง การไปโรงเรียนเอง หรือการล้างจานเอง ทำให้รู้จักการตัดสินใจด้วยตัวเอง นำมาซึ่งความภูมิใจที่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองจนสำเร็จ เปิดโอกาสการทำกิจกรรมได้มากขึ้น เมื่อลูกโตพอที่จะต้องทำอะไรด้วยตัวเองได้แล้ว แต่ถ้ายังติดการนอนกับพ่อแม่อยู่ ก็อาจกลายเป็นการจำกัดกิจกรรมบางอย่าง เช่น การไปพักค่ายค้างแรม เพราะหากไม่มีพ่อกับแม่คอยช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ แบบตอนอยู่ที่บ้านแล้ว ก็อาจทำให้รู้สึกไม่สนุก กังวล ไม่เต็มที่กับการทำกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งปัญหานอนไม่หลับ เป็นการตัดโอกาสที่จะทำให้ลูกเติบโตและเรียนรู้กิจกรรมที่มีประโยชน์รวมทั้งการเข้าสังคมอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วย เทคนิคการ ฝึกลูกนอนคนเดียว คุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาการฝึก ลูกนอนคนเดียว แต่ยังไม่ได้ผล อาจลองใช้เทคนิคง่าย ๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไป […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!


advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม