พ่อแม่เลี้ยงลูก

ในทุกช่วงชีวิตของลูกน้อย เหล่าคุณพ่อคุณแม่จำเป็นที่จะต้องรู้วิธีดูแลและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของลูกน้อย เพื่อให้ความเป็นอยู่ของลูกน้อยดีขึ้น เพราะฉะนั้นใน พ่อแม่เลี้ยงลูก คุณจะได้พบกับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมถึงเคล็ดลับในการดูแลลูกให้แข็งแรง มีความสุข และสามารถปรับตัวได้ในทุกสถานการณ์

เรื่องเด่นประจำหมวด

พ่อแม่เลี้ยงลูก

สาเหตุอะไรที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ พิษร้ายทำลายสุขภาพในระยะยาว

วัยรุ่นสูบบุหรี่ เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะบุหรี่เป็นสิ่งอันตรายที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวต่อร่างกายของวัยรุ่นได้ ในปัจจุบัน มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่สูบบุหรี่และมีแนวโน้มว่าจำนวนของวัยรุ่นที่สูบบุหรี่จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย สาเหตุหนึ่งเพราะเรื่องนี้ถูกมองว่าเป็นเรื่องปกติ หรือบางก็คนใช้เป็นเครื่องมือระบายความเครียด เพื่อจัดการกับปัญหาวัยรุ่นสูบหรี่ บทความนี้อาจช่วยให้คุณเข้าใจสาเหตุ และอันตรายของบุหรี่มากขึ้น เราไปหาคำตอบเรื่องนี้กันเลย สาเหตุที่ทำให้ วัยรุ่นสูบบุหรี่ สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นสูบบุหรี่มีด้วยกันหลายสาเหตุทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก มาดูกันว่ามีอะไรกันบ้าง สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางกายภาพ การโฆษณาจากสื่อโทรทัศน์อาจทำให้วัยรุ่นหนุ่มสาวรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ แนวโน้มการสูบบุหรี่จะเพิ่มขึ้น หากพวกเขาเห็นเพื่อนในวัยเดียวกันสูบบุหรี่ หากคนในครอบครัวสูบบุหรี่ ก็มีแนวโน้มว่าบุตรหลานอาจรู้สึกอยากลองสูบบุหรี่ตามไปด้วย ปัจจัยทางชีวภาพและพันธุกรรม วัยรุ่นบางคนอาจมีความรู้สึกไวต่อสารนิโคติน จึงทำให้รู้สึกอยากนิโคตินได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างอาจทำให้การเลิกบุหรี่ในวัยรุ่นยากขึ้น คุณแม่ตั้งครรภ์สูบบุหรี่อาจส่งผลต่อลูก และอาจส่งผลให้เด็กสูบบุหรี่เป็นประจำในอนาคต สุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่น เช่น ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียด อาจทำให้วัยรุ่นต้องการสูบบุหรี่ ความรู้สึกส่วนตัว วัยรุ่นบางคนเริ่มสูบบุหรี่เพราะต้องการระบายความเครียดที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เนื่องจากพวกเขารู้สึกว่าบุหรี่เป็นเพียงทางออกเดียวในการกำจัดความเครียด อิทธิพลอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อวันรุ่น ความเครียดจากเศรษฐกิจตกต่ำ หรือรายได้ลดลง ไม่รู้ว่าจะเลิกบุหรี่อย่างไร ครอบครัวไม่สนับสนุนหรือมีส่วนร่วมในการเลิกบุหรี่ วัยรุ่นยังสามารถเข้าถึงการซื้อบุหรี่ได้ อาจมีพฤติกรรมเกเร ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง มองว่าตัวเองต่ำต้อย เห็นจากโฆษณาผลิตภัณฑ์บุหรี่ในร้านค้า โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ภาพยนตร์ นิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ วัยรุ่นสูบบุหรี่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ในบุหรี่มีสารเคมีหลายชนิดที่เป็นสารพิษและส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่น นิโคติน ไซยาไนด์ ผู้ที่เริ่มสูบบุหรี่ครั้งแรกมักมีอาการเจ็บหรือแสบร้อนในลำคอและปอด บางคนถึงกับอาเจียนได้ และเมื่อสูบบุหรี่เป็นระยะเวลานานอาจทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา […]

หมวดหมู่ พ่อแม่เลี้ยงลูก เพิ่มเติม

สำรวจ พ่อแม่เลี้ยงลูก

การดูแลทารก

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

วิธีอาบน้ำทารก เป็นขั้นตอนที่คุณพ่อคุณแม่ต้องให้ความใส่ใจและให้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ นอกเหนือจากขั้นตอนต่าง ๆ ที่ควรอาบน้ำให้ถูกต้องแล้ว ควรคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับเด็กทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีอาบน้ำทารก โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์สายสะดือจึงจะหลุดออก ซึ่งในระหว่างนั้นไม่ควรอาบน้ำให้ทารก แต่ควรใช้ฟองน้ำนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่นเช็ดทำความสะอาดแทน ส่วนเด็กผู้ชายที่ทำการขลิบไม่ควรอาบน้ำจนกว่าแผลที่บริเวณอวัยวะเพศจะหายดีแล้ว โดยคุณพ่อคุณแม่อาจอาบน้ำทารกได้ ดังนี้ ถอดเสื้อผ้าและผ้าอ้อมออกจากตัวทารก แล้ววางทารกไว้บนผ้าเช็ดตัวแห้งสะอาด หากอากาศหนาว ให้ถอดเสื้อผ้าออกทีละชิ้น เพื่อป้องกันทารกหนาวเกินไปจนอาจทำให้เป็นไข้ได้ ใช้ผ้าขนหนูนุ่ม ๆ ชุบน้ำอุ่น บิดให้หมาด แล้วเช็ดหน้าให้ทารกโดยไม่ต้องใช้สบู่ ผสมน้ำอุ่นกับสบู่ นำผ้าขนหนูที่ใช้เช็ดหน้าเมื่อสักครู่ชุบน้ำสบู่ที่ผสมไว้ บิดให้หมาด แล้วเช็ดตัวให้ทารก โดยเช็ดทำความสะอาดส่วนที่อยู่ใต้ผ้าอ้อมเป็นที่สุดท้าย ล้างตัวด้วยน้ำสะอาด แล้วใช้ผ้าขนหนูแห้งสนิทซับตัวให้แห้ง ควักน้ำอุ่นใส่ศีรษะทารกช้า ๆ ให้น้ำเปียกทั่วศีรษะ บีบยาสระผมปริมาณเล็กน้อยลงบนศีรษะ จากนั้นถูวนเป็นวงกลมให้ทั่ว เสร็จแล้วค่อย ๆ ล้างยาสระผมออกให้เกลี้ยง โดยต้องระวังอย่าให้ยาสระผมเข้าตา สำหรับวิธีอาบน้ำทารก นอกจากต้องใส่ใจในทุกขั้นตอนและควรทำด้วยความระมัดระวังแล้ว ยังควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวและเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับทารกโดยเฉพาะ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรใช้ครีมอาบน้ำ สบู่ ยาสระผม รวมถึงผลิตภัณฑ์บำรุงผิวของผู้ใหญ่กับทารก เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง การดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ ของทารก นอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องเรียนรู้วิธีอาบน้ำทารกที่ถูกต้องแล้ว ก็ควรดูแลร่างกายส่วนอื่น […]


วัคซีน

วัคซีนป้องกันงูสวัด เหมาะสำหรับใคร ฉีดแล้วเกิดผลข้างเคียงอะไรบ้าง

วัคซีนป้องกันงูสวัด เป็น วัคซีนที่ฉีดสำหรับป้องกันโรคงูสวัด ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อ หากได้สัมผัสกับแผลของผู้ป่วยก็จะทำให้สามารถติดเชื้อได้ โดยปกติแล้วเมื่อเป็นโรคงูสวัดจะเกิดเป็นผื่นแดง มีอาการปวด แสบ แต่ในบางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้น ผู้สูงอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปหรือผู้ที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันงูสวัด โรคงูสวัดคืออะไร โรคงูสวัด (Shingles) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Aricella-Zoster ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสตัวเดียวกันกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แม้ว่าจะหายจากโรคอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด ไม่มีอาการของโรคแล้ว แต่เชื้อไวรัสตัวนี้ก็จะยังอยู่ในระบบประสาทไปอีกหลายปี เมื่อไรที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ่ลงหรือในช่วงที่ร่างกายอ่อนแอเชื้อที่ยังอยู่ในร่างกายก็จะออกมาเล่นงานทำให้กลับมาเป็นโรคเหล่านี้ได้อีกครั้ง อาการผู้ป่วยโรคงูสวัดคือจะมีลักษณะเป็นผื่นแดง ปวดและแสบร้อนบริเวณที่เป็น โดยปกติแล้วโรคงูสวัดมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในบางรายซึ่งพบได้ค่อนข้างน้อย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้ตาบอดได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค กลุ่มเสี่ยงโรคงูสวัด โรคงูสวัดสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกคน แม้จะเคยเป็นโรคอีสุกอีใสหรือเคยเป็นงูสวัดมาแล้วก็ตาม แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคอีสุกอีใสจะเป็นโรคงูสวัดได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคงูสวัด ได้แก่ มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว หรือเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเอชไอวี โรคเอดส์ หรือโรคมะเร็ง เคยเข้ารับเคมีบำบัดหรือเคยได้รับการรักษาด้วยรังสี ใช้ยาที่มีส่วนทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น สเตียรอยด์ หรือยาที่ได้รับหลังจากการปลูกถ่ายอวัยวะ ใครควรได้รับ วัคซีนป้องกันงูสวัด องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้มีการอนุมัติว่า วัคซีนที่สามารถป้องกันโรคงูสวัดได้ คือ วัคซีน Zostavax และ วัคซีน Shingrix […]


การเติบโตและพัฒนาการ

ผลข้างเคียงของการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก

ในปัจจุบัน มีการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก เนื่องจากเข้าใจว่าอาจสามารถช่วยกระตุ้นการพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูก และช่วยเพิ่มส่วนสูงของลูก แต่การใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็กอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ผื่นคัน ปวดหัว เป็นไข้ ความดันโลหิตสูง ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก และปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาใด ๆ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ (Human Growth Hormone; HGH) ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ว่าสามารถใช้รักษาอาการบางอย่างได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยการฉีด โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก ที่ใช้เพื่อรักษาภาวะตัวเตี้ยเกินไป และภาวะไม่เจริญเติบโตของเด็กๆ นั้น จะใช้ในกรณีที่เด็กๆ เป็นโรคดังนี้ กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ซินโดรม (Terner syndrome) กลุ่มอาการพราเดอร์-วิลลีซินโดรม (Prader-Willi Syndrome) โรคไตเรื้อรัง ภาวะขาดโกรทฮอร์โมน เด็กที่คลอดก่อนกำหนดตอนอายุครรภ์น้อย ดังนั้น ในกรณีที่เด็กไม่สูง แต่ไม่ได้เป็นโรคอะไรหรือมีปัญหาที่เกี่ยวกับความผิดปกติของโกรทฮอร์โมน ก็ไม่จำเป็นต้องได้รับโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ เพราะอาจมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อลูกได้ ผลข้างเคียงจากการใช้โกรทฮอร์โมนสังเคราะห์ในเด็ก หากเด็กๆ หรือวัยรุ่น ได้รับการฉีดโกรทฮอร์โมนสังเคราะห์เข้าร่างกาย อาจมีผลข้างเคียง ดังนี้ ผื่นคัน ปวดศีรษะ เจ็บปวดเนื่องจากการฉีดยา เป็นไข้ เป็นโรคข้ออักเสบ เกิดอาการบวมน้ำ เกิดภาวะต้านอินซูลิน ความดันโลหิตสูง โรคข้อสะโพกหลุด ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยที่สุด […]


เด็กทารก

เลิกจุกนมหลอก ให้ลูก คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร

เด็กส่วนใหญ่ชอบดูดจุกนมหลอก เพราะดูดแล้วรู้สึกสบายใจ แต่หากเด็กกำลังอยู่ในวัยหัดพูดจุกนมหลอกอาจรบกวนพัฒนาการของเด็กได้ แต่เมื่อพยายามดึงจุกนมหลอกออกก็อาจทำให้ลูกร้อไห้ งอแง ซึ่งอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่กังวลใจและเกิดความเครียด อย่างไรก็ตาม เลิกจุกนมหลอก อาจต้องทำตั้งแต่อายุยังน้อย ด้วยการค่อย ๆ ลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลง หรืออาจต้องหาวิธีอื่น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา วิธี เลิกจุกนมหลอก สำหรับวิธีการเลิกจุกนมหลอกที่คุณพ่อคุณแม่อาจทำได้ด้วยตัวเองมีดังนี้ อาจให้เลิกจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย หากอยากให้ลูกเลิกดูดจุกหลอกได้อย่างถาวร อย่าปล่อยเอาไว้นานจนลูกติดจุกนมหลอก การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมหลอกตั้งแต่อายุยังน้อย มักจะทำได้ง่ายกว่าตอนลูกโตแล้ว ยิ่งลูกโตเท่าไหร่ก็ยิ่งเลิกจุกนมหลอกได้ยากเท่านั้น อาจใช้วิธีหักดิบ เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะให้ลูกเลิกดูดจุกนมหลอก ก็ควรนำจุกนมหลอกออกไปให้พ้นจากสายตาเขาทันที แต่วิธีหักดิบแบบนี้อาจจะไม่ราบรื่นนัก เนื่องจากลูกอาจมีอาการงอแง ร้องไห้ที่จะดูดจุกนมหลอกตลอดเวลา ไม่ยอมกิน ไม่ยอมนอน จนคุณพ่อคุณแม่อาจใจอ่อนยอมให้ลูกดูดจุกนมหลอกเหมือนเดิม หากตัดสินใจแล้วก็ควรทำให้ได้ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ครั้งต่อไปยากขึ้นกว่าเดิม อาจค่อย ๆ ลดจำนวน การให้ลูกน้อยเลิกดูดจุกนมแบบค่อยเป็นค่อยไปอาจเป็นวิธีที่นุ่มนวลกว่าการหักดิบ แต่อาจต้องใช้เวลากว่าลูกจะเลิกดูดจุกนมได้ การลดจำนวนการใช้จุกนมหลอกลงเรื่อย ๆ อาจทำให้ลูกน้อยไม่สามารถใช้จุกนมหลอกได้ตลอดเวลา และในที่สุดก็จะเลิกสนใจไปเอง โดยวิธีการก็คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องจำกัดการใช้จุกนมหลอกให้เหลือแค่ชิ้นเดียว ทุกครั้งที่ลูกร้องหาจุกนมหลอก ก็ค่อย ๆ ตัดปลายจุกนมหลอกออกทีละนิด หลังจากทำแบบนี้ไปสัก 2-3 วัน ลูกอาจจะเริ่มรู้สึกว่าดูดจุกนมหลอกแล้วไม่รู้สึกดีเหมือนเดิม แล้วในที่สุดก็จะตัดขาดจากจุกนมหลอกได้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ อาจโน้มน้าวด้วยของเล่น หากคุณพ่อคุณแม่มีความสามารถในการแต่งนิทานหรือเล่าเรื่อง อาจจะแต่งนิทานเกี่ยวกับจุกนมหลอกมาเล่าให้ลูกฟัง เพื่อช่วยโน้มน้าวให้เขาเลิกดูดจุกนมหลอกได้ นอกจากนั้นอาจหาของขวัญที่มีประโยชน์ เช่น ของเล่นเสริมทักษะ มาให้ลูกแทน […]


การเติบโตและพัฒนาการ

วิธีฝึกวินัยให้ลูก ตั้งแต่วัยเตาะแตะ ทำได้อย่างไร

การฝึกวินัยให้ลูก เป็นสิ่งสำคัญที่ คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้และฝึกฝนความเป็นระเบียบ เข้าใจและปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ และสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข โดยควรเริ่มฝึกตั้งแต่ช่วงวัยเตาะแตะ เพราะเป็นช่วงวัยที่สามารถเรียนรู้และจดจำได้อย่างรวดเร็ว [embed-health-tool-vaccination-tool] วิธีฝึกวินัยให้ลูก หลีกเลี่ยงสถานการณ์ตึงเครียด เมื่อลูกอยู่ในวัยเริ่มหัดเดิน อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้ลูกรู้สึกหงุดหงิด งอแง ขึ้นมาได้ โดยเฉพาะเวลาที่ลูกหิว ง่วงนอน หรือมีอาการไม่คุ้นเคยกับสถานที่ ก่อนจะฝึกวินัยให้ลูก จึงควรตรวจสอบด้วยว่าลูกพร้อมไหม อย่าฝืนให้ลูกทำอะไรโดยที่เขาไม่ชอบ หรือไม่เต็มใจที่จะทำ อีกทั้งการฝึกวินัยให้ลูกควรเริ่มฝึกตั้งแต่ที่บ้าน โดยเฉพาะวินัยในการกินอาหาร และการนอน ทั้งการงีบหลับ และนอนกลางคืน เพราะการอยู่ในสถานที่ที่คุ้นเคยจะช่วยให้เด็กผ่อนคลายได้มากกว่า นอกจากนี้คุณพ่อคุณแม่ยังสามารถฝึกให้ลูกมีวินัยโดยให้เขายังรู้สึกสนุกสนานไปได้ด้วย เช่น เวลาจะไปข้างนอกก็ให้ลูกเลือกชุดใส่เอง ให้ลูกช่วยเลือกวัตถุดิบในการประกอบอาหาร และควรบอกให้เขารู้เป็นระยะว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้ตัวว่าตนเองต้องทำอะไร ปรับตัวยังไง ซึ่งจะช่วยให้เขาเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ โดยไม่อาละวาด หรืองอแง คิดให้เหมือนลูกน้อย พูดง่าย ๆ ก็คือ “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” นั่นเอง เด็กในวัยหัดเดินแตกต่างกับผู้ใหญ่โดยสิ้นเชิง พวกเขาจะยังไม่ค่อยเข้าใจอะไรมากนักในหลาย ๆ เรื่อง ฉะนั้น ถ้าเราใช้ความคิดแบบลูกน้อยเสียเอง ก็จะช่วยให้เราเข้าใจในตัวเขาได้มากขึ้น ซึ่งนั่นจะช่วยป้องกันไม่ให้ลูกน้อยเกิดอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาได้ นอกจากนี้การให้ลูกน้อยเลือกที่จะทำโน่นทำนี่ได้เอง ก็เป็นการเคารพสิทธิ์ และแสดงให้ลูกรู้ว่าเราสนใจความรู้สึกของเขาด้วย ก่อนให้ลูกเข้านอนอาจมีการถามลูกด้วยว่าอยากฟังนิทานเรื่องไหน ลูกจะได้รู้สึกสนุกกับสิ่งที่ชอบก่อนนอน ไม่รู้สึกว่าถูกบังคับให้นอนทั้ง […]


เลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ฝึกลูก หย่านมแม่ อย่างไรให้ถูกวิธีและได้ผล

หย่านมแม่ หมายถึง การที่เด็กเปลี่ยนจากดูดนมแม่จากเต้าไปดูดนมขวดหรือรับประทานอาหารอย่างอื่นทดแทน คุณแม่ส่วนใหญ่มักให้ลูกหย่านมหลังจากลูกอายุครบ 1 ขวบ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารหยาบได้มากขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรให้ลูกน้อยดูดนมแม่ไปให้นานที่สุด ตราบเท่าที่คุณแม่และลูกน้อยสบายใจ เมื่อลูกน้อยพร้อมและจะช่วยให้การหย่านมแม่เป็นเรื่องง่ายขึ้น สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกพร้อมหย่านมแม่แล้ว เด็กบางคนอาจไม่ยอมเลิกดูดนมแม่ง่าย ๆ ในขณะที่เด็กบางคนอาจส่งสัญญาณบอกคุณแม่ว่าพร้อมจะหย่านมแล้ว ซึ่งสัญญาณเหล่านั้นได้แก่ ทำท่าทางเหมือนไม่สนใจ หรือไม่อยากดูดนมแม่ ใช้เวลาในการดูดนมแม่น้อยลง ในช่วงที่กำลังดูดนมแม่ ลูกมักมีอาการวอกแวกง่ายขึ้น ไม่จดจ่อกับการดูดนมแม่ ไม่ได้ดูดนมจริงจัง แต่แสดงท่าทางเหมือนกำลังเล่นอยู่มากกว่า เช่น ดึงหรือกัดหัวนมแม่ ซึ่งควรให้ลูกเลิกดูดนมแม่ อมหัวนมไม่ได้ตั้งใจดูดนมให้มีน้ำนมไหลออกมา วิธีฝึกลูก หย่านมแม่ แบบปลอดภัยและเหมาะสม การหย่านมแม่นั้นมีอยู่หลายวิธี ควรเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวคุณแม่และลูกน้อยมากที่สุด ซึ่งมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้ เปลี่ยนให้สมาชิกคนอื่นป้อนนม คุณแม่ควรปล่อยให้สมาชิกคนอื่นในครอบครัว เช่น คุณพ่อ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็กป้อนนมจากขวดเมื่อลูกน้อยหิว โดยคุณแม่อาจต้องหลบไปอยู่อีกห้องหนึ่งเพื่อไม่ให้ลูกเห็น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าเด็ก ๆ มักจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นเวลาที่ไม่เห็นคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ หรือถ้าคุณแม่ป้อนนมขวดเอง ควรเปลี่ยนบรรยากาศจากเคยป้อนนมในห้องนอน อาจเปลี่ยนไปป้อนนมในห้องนั่งเล่นแทน หรือลองเปลี่ยนท่าป้อนนมใหม่ ถ้าใช้วิธีนี้แล้วยังไม่ได้ผล อาจให้ลูกดูดนมแม่เหมือนเดิม ไว้รอหลังจากนั้นสองสามสัปดาห์แล้วค่อยทดลองอีกครั้ง สลับมื้อระหว่างป้อนนมขวดกับดูดนมแม่ วิธีการหย่านมแบบนี้จะค่อยเป็นค่อยไป โดยเปลี่ยนจากให้ลูกดูดนมแม่มาเป็นให้นมขวดในบางมื้อ ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวดเอาไว้ นมผงชงใส่ขวด หรือจะเป็นอาหารหยาบก็ได้ ทั้งนี้ […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรระวัง

โรคติดต่อหน้าฝน เป็นโรคที่เกิดจากความเปียกแฉะและความอับชื้นของสภาพอากาศและสภาพแวดล้อม โดยมักทำให้เด็ก ๆ เจ็บป่วยเนื่องจากร่างกายและระบบภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ ยังไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู้กับเชื้อโรค คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายของลูก และระมัดระวังให้ร่างกายของลูกแห้งอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้นได้ [embed-health-tool-vaccination-tool] โรคติดต่อหน้าฝน ที่พ่อแม่ควรระวัง โรคติดต่อหน้าฝน ในเด็ก ที่พบได้บ่อยและควรระวัง ได้แก่ โรคต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มโรคติดต่อของระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน โรคบิด ไข้ไทฟอยด์ ภาวะอาหารเป็นพิษ โรคเหล่านี้เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหารและลำไส้ ทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ อาจมีไข้ ปวดบิดในท้อง และหากติดเชื้อบิดอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ ต้องใส่ใจและระมัดระวังกับเรื่องอาหารการกินของลูกมากเป็นพิเศษ คอยตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ต้องสะอาดสดใหม่ และผ่านการปรุงสุกอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค กลุ่มโรคติดเชื้อผ่านทางบาดแผลหรือเยื่อบุผิวหนัง โรคฉี่หนู หรือโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) เป็นโรคติดต่อหน้าฝนที่พบบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการ ไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ มักปวดกล้ามเนื้อบริเวณน่องและโคนขา และตาแดง ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรง เช่น ดีซ่าน ไตวาย หรือช็อคได้ โรคนี้มักเกิดกับเด็ก ๆ ในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม หากเด็ก ๆ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนู หรืออยู่ในพื้นที่ทางการเกษตร […]


โภชนาการเด็กวัยเรียน

น้ำมันปลา เด็กกินได้ไหม มีประโยชน์และข้อควรระวังอย่างไรบ้าง

น้ำมันปลา อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจมีประโยชน์ทางสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยเสริมสุขภาพดวงตา ช่วยเพิ่มไขมันดีในร่างกาย และอาจช่วยด้านความจำ อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ควรศึกษาข้อควรระวังในการให้ลูกบริโภคน้ำมันปลาให้เข้าใจก่อนให้ลูกกินน้ำมันปลา เพื่อให้ลูกได้รับประโยชน์จากน้ำมันปลาสูงสุด และเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพน้อยที่สุด เด็กแต่ละวันควรบริโภคน้ำมันปลาวันละเท่าไหร่ จากข้อมูลปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำปริมาณในการบริโภคกรดไขมันโอเมก้า 3 (ชนิด DHA และ EPA) ต่อวัน โดยแบ่งตามช่วงอายุได้ดังนี้ ช่วงอายุ 6 เดือน-2 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 10-12 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ช่วงอายุ 2-3 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 100-150 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 4-5 ปี ควรได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ประมาณ 150-200 มิลลิกรัม/วัน ช่วงอายุ 6-8 ปี […]


โรคเด็กและอาการทั่วไป

ลูกปวดหัว อาการแบบไหนที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

ลูกปวดหัว เป็นภาวะสุขภาพในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม แม้จะปวดหัวเพียงเล็กน้อย เพราะอาการปวดหัวบางครั้งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคบางอย่างที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ควรหมั่นสังเกตอาการปวดหัวของลูกน้อย และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับอาการปวดหัวว่าแบบไหนที่ต้องระวัง และควรปรึกษาคุณหมอหากลูกปวดหัวเรื้อรัง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้เด็ดขาด [embed-health-tool-vaccination-tool] ลูกปวดหัว แบบไหนที่ควรระวัง 1. ปวดหัวบ่อย จนกระทบการใช้ชีวิตประจำวัน ถ้าลูกมีอาการปวดหัวบ่อย ๆ มากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ จนกระทบกับชีวิตประจำวัน เช่น ทำการบ้านไม่ได้ เล่นไม่สนุก หรือไม่อยากแม้กระทั่งดูการ์ตูนเรื่องโปรด คุณพ่อคุณแม่ควรพาไปหาคุณหมอ แม้ว่าอาการปวดหัวอาจจะไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง แต่หากลูกปวดหัวจนไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ นอกจากนี้ หากลูกปวดหัวนานหลายชั่วโมง ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ควรให้ยารับประทานเอง 2. ลูกปวดหัว จนรบกวนการนอนหลับ เด็ก ๆ อาจจะตื่นนอนกลางดึกได้เป็นปกติ หากแต่ตื่นนอนเพราะปวดหัวควรพาไปพบคุณหมอเพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ต้องนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต แต่หากต้องตื่นกลางดึกเพราะปวดหัว อาจหมายถึงความผิดปกติหรือความกังวลใจ นอกจากจะทำให้ลูกสุขภาพแย่ลง เพราะนอนไม่เต็มอิ่มแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคไมเกรนในเด็ก โรคเครียด โรคเกี่ยวกับสมอง 3. ปวดหัวและวิงเวียนศีรษะ อยากอาเจียน หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย หากลูกปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องด้วย อาจเป็นอาการของโรคไมเกรนในเด็ก ซึ่งสามารถเป็นได้ตั้งแต่ทารก หากเด็ก ๆ ร้องไห้ เอามือกุมหัวด้วยความเจ็บปวด […]


โรคทางเดินหายใจในเด็ก

เด็กนอนกรน แบบไหนที่ไม่ปกติ

อาการนอนกรนในเด็ก หรือ เด็กนอนกรน เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้ามพ่อแม่ เด็กนอนกรน อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก วามสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เด็กนอนกรน เกิดจากอะไร อาการนอนกรนในเด็ก เป็นปัญหาสุขภาพเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจาก อาจเกิดจากปัจจัยทางด้านร่างกาย เช่น กรามเล็ก หรือมีทางเดินหายใจที่แคบตั้งแต่เกิด อีกอย่างหนึ่งคือ ความสามารถของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ทำงานประสานกันได้ไม่ดีตอนนอนหลับ ทำให้ปิดกั้นทางเดินหายใจ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เด็กนอนกรน คือ ต่อมทอนซิล (Tonsils) มีหน้าที่หลักในการดักจับและกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร และต่อมอดีนอยด์ขยาย (Adenoids) ซึ่งเป็นต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ในส่วนหลังของโพรงจมูก มีโครงสร้างภายในใกล้เคียงกับต่อมทอนซิล มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค และผลิตเซลล์สร้างภูมิคุ้มกันในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจจนเกิดเสียงกรนที่เป็นภาวะอันตราย จากการศึกษาพบว่า ปกติแล้ว 11%-12% ของเด็ก ๆ วัย 1-9 ปี มักจะมีอาการกรน โดยจะกรนอย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งเสียงดังพอที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ยิน หากกรนมากกว่านี้คือเริ่มไม่ปกติแล้ว หากไม่เข้ารับการรักษาอาจทำให้เด็กถึงขั้นเสียชีวิตได้ นอนกรน แบบนี้ ไม่ดีแน่ กรนเสียงดัง นอนอ้าปากกรน หรือมีอาการสำลัก ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ เนื่องจากมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

กำลังมองหาเรื่องราวในการเลี้ยงดูบุตรใช่หรือไม่?

เข้าร่วมชุมชนการเลี้ยงดูบุตรและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคุณแม่และคุณพ่อคนอื่น ๆ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน