backup og meta

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร

สุขภาพหัวใจ เป็นสิ่งที่เราต้องหมั่นต้องดูแลอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นต้น โดย โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) ที่บทความของ Hello คุณหมอ จะกล่าวถึงต่อไปนี้ อาจมีฤทธิ์บางอย่างที่ช่วยส่งเริมสุขภาพหัวใจให้คุณดีขึ้นได้เช่นกัน แต่จะมีความเชื่อมโยงอย่างไรบ้างนั้น ลองอ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยค่ะ

โคเอนไซม์คิวเทน ( CoQ10 ) คืออะไร

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เป็นสารประกอบที่สามารถพบได้ในร่างกาย และยังอาจพบได้ในอาหารอีกหลากหลายชนิด เช่น ถั่ว ปลา เนื้อสัตว์อื่น ๆ CoQ10 มีคุณสมบัติช่วยในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องเซลล์ที่ได้รับความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidation reaction) เชื้แแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัสต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดโรค

นอกจากนี้ในปัจจุบัน CoQ10 ยังถูกผลิตออกมาจำหน่ายเป็นอาหารเสริมชนิดเม็ด เพื่อช่วยเพิ่มสารอาหารสำคัญเข้าสู่ร่างกายในกรณีที่คุณมี CoQ10 ไม่เพียงพอ โดย CoQ10 จะช่วยเข้าไปช่วยบำรุง และป้องกันคุณให้ห่างไกลจากความเสี่ยงของอาการปวดหัวไมเกรน โรคเบาหวาน โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ ความดันโลหิตสูง และโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย

โคเอนไซม์คิวเทนบำรุงหัวใจได้อย่างไร

มีงานวิจัยหนึ่งที่ได้ทำการศึกษาผู้คนทั้งหมด 420 คน ที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจล้มเหลว โดยให้ผู้ทดลองได้รับประทาน CoQ10 เป็นเวลา 2 ปี การทดลองได้แสดงผลลัพธ์ให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ได้รับสาร CoQ10 เข้าไปมีอาการป่วยที่ดีขึ้น และมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับหัวใจลงลด เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะ CoQ10 เข้าไปช่วยลดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และช่วยควบคุมความดันโลหิต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพหัวใจ แต่ถึงอย่างไร CoQ10 ยังคงมีผลข้างเคียง หรืออาการแทรกซ้อนร่วมอยู่ด้วยเช่นกัน หากผู้ใดต้องการที่จะรับประทานในรูปแบบอาหารเสริม อาจจำเป็นต้องขอเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน เพื่อความปลอดภัย

ผลข้างเคียงจากโคเอนไซม์คิวเทน

แน่นอนว่าเมื่อ CoQ10 มาอยู่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้ผลิตบางรายย่อมต้องมีการใส่สารประกอบบางอย่างเข้าไปร่วมด้วย เพื่อเสริมสร้างคุณประโยชน์ให้มากขึ้น ทำให้คุณอาจจะต้องทำการศึกษา พร้อมอ่านฉลากคำแนะนำข้างผลิตภัณฑ์ก่อนรับประทานเสมอ ถึงแม้ CoQ10 จะมีความปลอดภัย และให้ผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงมากนัก แต่หากรับประทานเกินกว่าขนาดที่กำหนด หรือมีการแพ้ต่อสารบางอย่าง ก็อาจทำให้คุณมีอาการเหล่านี้ ขึ้นได้

  • ปวดท้องส่วนบน
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องร่วง
  • รู้สึกกระหาย หรือร่างกายขาดน้ำ
  • วิงเวียนศีรษะ
  • นอนไม่หลับ
  • รู้สึกเหนื่อยล้ากว่าปกติ
  • มีผื่นคันตามผิวหนัง
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

ในกรณีของสตรีตั้งครรภ์ หรือผู้อยู่ในช่วงกำลังให้นมบุตร ที่มีความประสงค์จะรับประทาน อาจจำเป็นต้องปรึกษา หรือได้รับการอนุญาตจากแพทย์เสียก่อน เพื่อลดความเสี่ยง เพิ่มความปลอดภัย ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรือมีสารปะปนในน้ำนมขณะให้ลูกรักกิน

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Coenzyme Q10 https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements-coenzyme-q10/art-20362602#:~:text=CoQ10%20has%20been%20shown%20to,bypass%20and%20heart%20valve%20surgeries. Accessed March 30, 2021.

The Health Benefits of CoQ10 https://www.verywellhealth.com/coenzyme-q10-88388. Accessed March 30, 2021.

Coenzyme Q10: CoQ10 https://www.webmd.com/diet/supplement-guide-coenzymeq10-coq10#1. Accessed March 30, 2021.

9 Benefits of Coenzyme Q10 (CoQ10) https://www.healthline.com/nutrition/coenzyme-q10#TOC_TITLE_HDR_1. Accessed March 30, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2021

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเผย ดื่มนมวันละ 2 แก้ว อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้

อาหารบำรุงหัวใจ ต้องกินอะไร สุขภาพหัวใจถึงจะแข็งแรง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 05/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา