โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก เกิดขึ้นเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ สมองเลยไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารตามปกติ เซลล์สมองจึงตายภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น โรคนี้ถือเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ได้รับการดูแลอย่างทันท่วงที ไม่เช่นนั้น อาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ เป็นอย่างไร ป้องกันได้อย่างไร

อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจเกิดจากร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปยังสมองได้ตามปกติ ทำให้เนื้อสมองบางส่วนไม่ได้รับออกซิเจนและสารอาหารเพียงพอ ส่งผลให้เซลล์สมองเสียหายและถูกทำลายอย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะ ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ล้มลงกระทันหัน พูดลำบาก สับสนมึนงง สายตาพร่ามัว ผู้ที่มีมีอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ควรถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสียหายถาวรและการเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ มักเกิดจากหลอดเลือดตีบตันหรือหลอดเลือดสมองมีลิ่มเลือดอุดกั้นจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปยังเนื้อสมองส่วนต่าง ๆ ได้ตามปกติ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะเลือดออกในเนื้อสมองและภาวะเลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง ที่ทำให้มีเลือดคั่งสะสมและกดอัดเนื้อเยื่อสมอง แต่อาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอเนื่องจากมีภาวะเลือดออกในสมองเป็นกรณีที่พบได้น้อยกว่ากรณีแรก โดยปกติแล้วเลือดจะลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังเซลล์สมอง หากสมองได้รับเลือดไม่เพียงพอนำไปใช้เป็นพลังงาน จะทำให้เซลล์สมองตายและเสียหายถาวร หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นอัมพาต หรือเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ อาจมีดังนี้ พันธุกรรม ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อาจเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอได้มากกว่าคนทั่วไป อายุ ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยงเกิดอาการเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่หรือสัมผัสกับควันบุหรี่มือสองจะได้รับสารพิษในบุหรี่อย่างนิโคติน (Nicotin) ที่ส่งผลให้หลอดเลือดตีบตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายรวมไปถึงบริเวณเนื้อสมองได้น้อยลง ภาวะความดันโลหิตสูง หากมีระดับความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง เช่น […]

สำรวจ โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ของร่างกาย

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) จัดเป็นโรคร้ายแรงที่ควรได้รับการรักษาทันที เพราะโรคนี้สามารถทำให้เซลล์สมองถูกทำลายจนเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหลังจากที่คุณรอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง ร่างกายจะฟื้นตัวได้เร็ว หรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณสมองที่กระทบกระเทือน รวมถึง ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ของแต่ละบุคคล ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความนี้ของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนกันค่ะ ผลกระทบของโรคหลอดเลือดสมอง ต่ออวัยวะต่างๆ ในร่างกาย 1. ระบบทางเดินหายใจ กล้ามเนื้อบริเวณคอ ลิ้น และปาก ถ้ากล้ามเนื้อบริเวณคอ ลิ้น หรือปากไม่สามารถนำอาหารเข้าสู่หลอดอาหารได้ อาจทำให้อาหารและของเหลวหลุดเข้าไปทางเดินหายใจและปอดได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น การติดเชื้อ และปอดบวม (Pneumonia) ปัญหาการกลืน ความเสียหายของสมองในบริเวณที่ควบคุมการกินและการกลืน สามารถทำให้คุณเกิดภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้กลืนอาหารได้ยาก โดยถือเป็นอาการที่พบบ่อยที่จะเกิดขึ้นหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาการหายใจ ถ้าโรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นบริเวณก้านสมอง ซึ่งควบคุมการหายใจ การเต้นของหัวใจ และอุณหภูมิร่างกาย สามารถทำให้มีปัญหาในการหายใจ ซึ่งการเกิดโรคหลอดเลือดสมองลักษณะนี้อาจนำไปสู่อาการโคม่าหรือเสียชีวิตได้ 2. ระบบประสาท ระบบประสาททำงานไม่แม่นยำ ระบบประสาทสร้างขึ้นมาจากสมอง เส้นประสาทไขสันหลัง และเครือข่ายเส้นประสาททั่วร่างกาย โดยระบบประสาทจะส่งสัญญาณไปมาระหว่างร่างกายกับสมอง แต่เมื่อสมองถูกทำลายจะทำให้รับสัญญาณได้ไม่แม่นยำ การรับรู้เปลี่ยนแปลงไป การรับรู้ที่เปลี่ยนแปลงไป อาจทำให้สมองไม่เข้าใจความรู้สึกบางอย่าง เช่น ความรู้สึกอบอุ่น ความรู้สึกหนาว […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร

จากสถิติชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 34 อายุน้อยกว่า 65 ปี โรคหลอดเลือดสมองจึงอาจเกิดขึ้นได้ในทุกวัย นอกจากนี้สำหรับผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมอง มีงานวิจัยที่พบความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง ลองมาดูกันว่า ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร สามารถป้องกันได้หรือไม่ Hello คุณหมอ มีบทความดีๆ มาให้อ่านกันค่ะ โรคหลอดเลือดสมอง กับ ภาวะสมองเสื่อม เกี่ยวข้องกันอย่างไร งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ ได้วิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับภาวะสมองเสื่อม (Dementia) จากคนทั่วโลกประมาณ 3.2 ล้านคน ผลการวิจัยพบว่า ยังคงมีความเชื่อมโยงระหว่างโรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม แม้ว่าจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆแล้ว เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงอาจใช้ผลการวิจัยเป็นหลักฐานสำคัญที่สนับสนุนข้อมูลว่า การเกิดโรคหลอดเลือดสมอง สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตว่า ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองส่วนใหญ่ ไม่ได้มีการพัฒนาภาวะสมองเสื่อม ดังนั้นการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อตรวจสอบว่าการดูแลสุขภาพหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และการปรับเปลี่ยนใช้ชีวิตประจำวันอย่างระมัดระวัง ทั้งการรับประทานอาหาร การใส่ใจดูแลตนเองโดยออกกำลังกาย และรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ สามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้หรือไม่ คุณสามารถป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองเสื่อม ได้หรือไม่ การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลสุขภาพหลังจากเป็นโรคหลอดเลือดสมอง […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง

คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับโบท็อกซ์ (Botox) สิ่งแรกที่คุณคิดเมื่อเห็นคำนี้คืออะไร? อาจเป็นศัลยกรรมเพื่อความงาม ดูแลผิวพรรณ หรือรอยเหี่ยวย่น อย่างไรก็ดี บทความนี้จะไม่พูดถึงโบท็อกซ์ในด้านที่เราทราบกันดีอยู่แล้ว แต่จะพูดถึงประโยชน์ในด้านอื่นๆ ของโบท็อกซ์ ที่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบ นั่นก็คือ ประโยชน์ของโบท็อกซ์ กับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง นั่นเอง โบท็อกซ์คืออะไร โบทูลินัมทอกซิน ชนิดเอ (Botulinum toxin type A) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโบท็อกซ์  ที่รู้จักกันว่า เป็นสารชีวภาพที่มีพิษชนิดหนึ่ง สร้างขึ้นโดยแบคทีเรีย Clostridium botulinum โบท็อกซ์เป็นสารพิษชนิดเดียวกันกับสารพิษที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ ที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ในการใช้โบท็อกซ์จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด โบท็อกซ์ มีคุณสมบัติที่สามารถนำมาใช้ ในการทำหัตถการเพื่อความงาม ลบเลือนริ้วรอยและรอยย่นที่ใบหน้า คาง คอ และหน้าอก ในทางการแพทย์ โบท็อกซ์จัดเป็นการรักษาชนิดหนึ่ง สำหรับอาการทางสุขภาพอื่นๆบางประการได้ ถึงแม้จะให้ผลการรักษาเพียงชั่วคราว แต่โบท็อกซ์ก็ได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากใช้งานง่ายและได้ผลการรักษาที่รวดเร็ว การทำหัตถการหนึ่งครั้งใช้เวลาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ก่อนจะใช้ โบท็อกซ์ ทุกครั้ง ควรอยู่ในการควบคุมดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม โบท็อกซ์ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร หรือผู้ที่มีประวัติเคยแพ้โบท็อกซ์ ซึ่งเป็นข้อควรระมัดระวังก่อนการฉีด   ประโยชน์ของโบท็อกซ์ ในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง โบท็อกซ์ จะถูกใช้ภายในกล้ามเนื้อ หมายความว่า แพทย์จะฉีดโบท็อกซ์เข้าไปในกล้ามเนื้อของคุณ เมื่อฉีดโบท็อกซ์แล้ว โบท็อกซ์จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อเฉพาะจุดเป็นอัมพาตหรือปิดกั้นเส้นประสาทบางชนิด ดังนั้น โบท็อกซ์จึงสามารถช่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด สาเหตุและอาการบอกเหตุที่คุณควรรู้

จากข้อมูลของสมาคม American Heart Association ของสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจำนวนเกือบ 800,000 รายในสหรัฐอเมริกา ที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองในแต่ละปี และผู้ป่วยจำนวนสามในสี่ราย เป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกในชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด (Ischemic Stroke) คิดเป็นประมาณร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อาการจะเกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือด ซึ่งทำหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง ส่งผลให้ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกกำลังทุกข์ทรมาน และต่อสู้กับโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ซึ่งมีวิธีรักษาอยู่หลายประการ วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาไปทำความรู้จักกันค่ะ ประเภทของ โรคหลอดเลือดสมองชนิดสมองขาดเลือด 1.โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากการอุดตัน (Embolic stroke) ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายนอกสมอง โดยปกติแล้วมักก่อตัวขึ้นในหัวใจ แล้วหลุดเข้าไปในเลือดที่ไปยังสมอง สมองใช้พลังงานร้อยละ 20 ในแต่ละวัน ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้สมองของเรามีหลอดเลือดขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อลิ่มเลือดถูกลำเลียงมาถึงสมอง เนื่องจากขนาดของลิ่มเลือด ส่งผลให้ลิ่มเลือดอาจอุดกั้นเส้นเลือดเล็กๆ และบอบบางในสมองได้ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยโรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ มักเกิดขึ้นหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic Stroke) เรามักมีเวลาน้อยในการรักษาโรคหลอดเลือดขาดเลือดจากการอุดตัน เนื่องจากโดยแท้จริงแล้ว เราไม่ทราบว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เนื่องมาจากมันมักเกิดแบบเฉียบพลัน 2. โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดจากเหตุหลอดเลือดสมองตีบ (Thrombotic stroke) โรคหลอดเลือดสมองประเภทนี้ ลิ่มเลือดจะก่อตัวขึ้นภายในหลอดเลือดแดงซึ่งมีหน้าที่ลำเลียงเลือดไปยังสมอง โรคนี้มักเกิดขึ้นพร้อมกับภาวะคอเลสเตอรอลสูง ภาวะไตรกลีเซอไรด์สูง หรืออาการอื่นๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ต้องทำอย่างไร ใช้เวลานานแค่ไหน

แม้ว่าคุณจะรอดตายจากโรคหลอดเลือดสมองมาได้ แต่ช่วงเวลาของการพักฟื้นจาก โรคหลอดเลือดสมองนั้นใช้เวลานาน และแต่ละคนก็ใช้เวลาไม่เท่ากัน แล้ว การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง และต้องใช้เวลานานเท่าใด เรามีคำตอบมาให้คุณแล้ว วิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดสมองส่งผลต่อสมองบางส่วน ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ การฟื้นฟูสุขภาพจึงช่วยให้ระบบในร่างกายกลับมาทำงานได้ และได้เรียนรู้ทักษะที่สูญเสียไปอีกครั้ง คุณสามารถกลับมาช่วยเหลือตัวเอง มีความมั่นใจในตนเอง และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้อีกครั้ง กิจกรรมที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากอาการหลอดเลือดสมอง มีดังนี้ การสร้างความแข็งแรงในการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูประเภทนี้ประกอบด้วยการออกกำลังกาย ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานประสานกันได้ดีขึ้น เช่น การฝึกกลืน การบำบัดเกี่ยวกับช่วงของการเคลื่อนไหว ได้แก่ การออกกำลังกายเพื่อช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเพิ่มช่วงของการเคลื่อนไหวให้มากขึ้น การฝึกการเคลื่อนไหว การฟื้นฟูโดยให้ผู้ป่วยเดินด้วยอุปกรณ์ช่วยพยุงในการเดิน เช่น ไม้เท้า หรือการใส่อุปกรณ์พยุงข้อเท้า การบำบัดนี้ช่วยให้ผู้ป่วยเดินเองได้ดีขึ้น การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อกลับมาทำงานได้ การกระตุ้นสมอง การกระตุ้นโดยไม่มีการผ่าตัด ซึ่งช่วยฟื้นฟูทักษะการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย การบำบัดปัญหาทางการสื่อสาร วิธีนี้ช่วยฟื้นฟูทักษะการฟัง พูดและเขียนของผู้ป่วย การรักษาทางจิตวิทยา เพื่อฟื้นฟูสภาพอารมณ์ และช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น การใช้ยา เป็นวิธีที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการซึมเศร้า หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดจากหลอดเลือดในสมองแตก การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มตอนไหน การฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ควรเริ่มให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ตั้งแต่ในช่วงระหว่างการพักฟื้นที่โรงพยาบาล ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีสมรรถภาพ และทักษะต่างๆ ที่เสียไปได้อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม  แพทย์ต้องทำการควบคุมอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต และป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำเสียก่อน ระยะเวลาในการฟื้นฟู หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต้องใช้เวลานานเท่าใด คำตอบคือ ระยะเวลาในการฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดขึ้น และร่างกายส่วนที่ได้รับผลกระทบ รวมไปถึงประเภทของการรักษา และการตอบสนองต่อการรักษาต่างๆ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เวียนศีรษะ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมองได้หรือเปล่า?

บางครั้งคุณอาจมีอาการ เวียนศีรษะ และคุณอาจคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกเวียนศีรษะอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคหลอดเลือดสมองได้ คุณทราบข้อมูลดังกล่าวนี้หรือไม่ มาดูกันว่าเมื่อใดที่อาการเวียนศีรษะแสดงให้เห็นว่า คุณมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง อาการเวียนศีรษะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง อาการเวียนศีรษะเป็นความรู้สึกประเภทหนึ่ง มักเป็นอาการที่แตกต่างกันในแต่ละคน และสาเหตุที่พบได้มากที่สุดมักไม่รุนแรง และอาจเป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวต่างๆ อาการเวียนศีรษะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ เวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo): คุณรู้สึกว่าตนเองเคลื่อนไหวทั้งที่ไม่มีการเคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น คุณคิดว่าตัวคุณกำลังหมุนหรือสิ่งรอบตัวกำลังหมุน เวลาที่คุณหมุนตัวเองไปรอบๆ หลังจากนั้นคุณอาจมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนได้ชั่วคราว แต่หากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อคุณไม่ได้หมุนตัวเอง อาจเป็นอาการบ่งชี้ของภาวะเกี่ยวกับระบบสมดุลภายในหูชั้นใน วิงเวียน (Lightheadedness): เมื่อมีอาการวิงเวียน คุณอาจรู้สึกว่าคุณกำลังจะเป็นลม คุณอาจมีอาการวิงเวียนได้เมื่อคุณยืนขึ้นเร็วเกินไป เสียการทรงตัว (Disequilibrium): อาการนี้เป็นความรู้สึกที่ว่าคุณกำลังจะหกล้ม วิตกกังวล (Anxiety): ในกรณีนี้คุณอาจรู้สึกกลัว กังวล หรือซึมเศร้า อาการเวียนศีรษะอาจเป็นสัญญาณว่า สมองของคุณได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ในบางครั้งเส้นเลือดมีการขยายหรือพองตัว คุณก็อาจมีอาการมึนศีรษะเกิดขึ้นได้ สำหรับอาการสมองขาดเลือดชั่วคราว (mini-stroke) นั้น เลือดที่ไหลไปยังสมองจะเกิดการอุดกั้นเป็นเวลาสั้นๆ เป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองในอนาคต สำหรับหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) หลอดเลือดแดงที่ลำเลียงเลือดจะเกิดการอุดกั้นจากการศึกษาเผยว่า ผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้น การทดสอบเพื่อยืนยัน ถึงแม้ว่าอาการเวียนศีรษะ อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะวินิจฉัยว่า ผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะและอาการร่วมอื่นๆ เช่น อาเจียน ชา อ่อนเพลีย และเดินหรือพูดลำบาก เป็นโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด เมื่อคุณไปหาแพทย์ แพทย์จะซักประวัติครอบครัว และประวัติสุขภาพของคุณ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

อาการสะอึก ไม่เลิกราอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองก็เป็นได้!

คุณคิดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่าง อาการสะอึก และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) หรือไม่ อาจฟังดูแปลก เนื่องจากคุณมีอาการสะอึกหลายครั้งต่อวันในขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี อาการดังกล่าวอาจมีความสัมพันธ์กัน ให้ติดตามอ่านบทความนี้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม อาการสะอึก ที่ไม่หาย อาการสะอึกเป็นอาการเคลื่อนไหวของกระบังลม ที่เกิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจ และเกิดขึ้นกะทันหัน กระบังลมเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่อยู่ในบริเวณส่วนล่างของปอด กระบังลมทำงานร่วมกันกับกล้ามเนื้อที่ยึดระหว่างซี่โครง เพื่อให้มีการหายใจได้ เมื่อปลายปิดของเส้นเสียงเคลื่อนตามการเคลื่อนไหวของกระบังลม ทำให้เกิดเสียง ‘สะอึก’ ขึ้นมา อาการสะอึกสามารถหายได้เองหลังจากเวลาผ่านไปเล็กน้อยโดยไม่ต้องเข้ารับการรักษาใดๆ และอาการสะอึกเป็นภาวะปกติ คนส่วนใหญ่ต่างก็มีอาการสะอึกทั้งนั้น แต่อาการสะอึกที่คงอยู่เป็นเวลาเกินกว่า 48 ชั่วโมง เป็นอาการผิดปกติ และอาจจำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการสะอึกเรื้อรังและโรคหลอดเลือดสมอง อย่างไรก็ดี การสะอึกเป็นเวลานานที่ไม่หายไปได้เอง หลังจากเวลาผ่านไปหลายวัน หรือหลายสัปดาห์อาจ เป็นอาการบ่งชี้ของโรคประจำตัวบางชนิด ซึ่งรวมถึงโรคหลอดเลือดสมองด้วย ในภาวะเช่นนี้ ให้สังเกตอาการอื่นๆ ของโรคหลอดเลือดสมองด้วย เช่น ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็นที่ดวงตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยไม่สามารถเดินได้ตามปกติ มีอาการวิงเวียน หรือเสียสมดุลของร่างกายอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะอย่างกะทันหัน ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการพูดอย่างกะทันหัน การพูดอาจไม่ชัด ผู้ป่วยอาจไม่สามารถพูดได้เลยถึงแม้ว่ารู้สึกตัว ผู้ป่วยไม่สามารถยกแขนทั้งสองข้างได้อย่างกะทันหัน เนื่องจากมีอาการอ่อนล้าและอาการชา ใบหน้าของผู้ป่วยอาจหดลงที่ข้างหนึ่ง ผู้ป่วยไม่สามารถยิ้มได้ตามปกติ เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาการสะอึกและโรคหลอดเลือดสมอง คุณควรไปปรึกษาหมอ สาเหตุอื่นๆ ของอาการสะอึก อาการสะอึกโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้น และหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่เฉพาะ ทุกคนอาจมีอาการสะอึกหนึ่งครั้งหรือมากกว่าได้เป็นครั้งคราว อย่างไรก็ดี อาการสะอึกในระยะสั้นบางครั้งอาจมีสิ่งกระตุ้นเฉพาะ เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจกระตุ้นให้เกิดอาการสะอึก การสูบบุหรี่อาจก่อให้เกิดอาการสะอึก อากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในห้อง หรือภายในร่างกายของคุณ ตัวอย่างเช่น […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงในจากในอดีต ส่งผลให้โรคหลอดเลือดสมองกลายเป็นโรคที่ส่งผลกระทบกับประชากรยุคใหม่ ไม่ว่าเพศชายหรือหญิงก็เสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ทั้งสิ้น แต่หากคุณเป็นผู้หญิง ปัจจัยสุขภาพทางเพศอาจเพิ่มความเสี่ยงให้คุณได้ เช่น ฮอร์โมนต่างๆ การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีแนวทางใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง โดยเฉพาะ ที่ช่วยให้ผู้หญิงสามารถป้องกันโรคร้ายนี้ได้ และวิธีการในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง แนวทางใหม่ใน การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง แนวทางในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง ที่ได้รับการรับรองทางวิทยาศาสตร์ มีดังต่อไปนี้ ระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้หญิง อย่างแรกคือ ต้องระวังไม่ให้ความดันโลหิตสูง เพราะภาวะความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ หากคุณมีภาวะความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์ ควรพบคุณหมอ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมกับคุณที่สุด คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อฟื้นฟูสุขภาพของคุณอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่างก็ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่บริโภคโซเดียมเกินวันละ 1,500 มิลลิกรัม (ประมาณครึ่งช้อนชา) รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น งดอาหารฟาสต์ฟู้ด และอาหารไขมันสูง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี ภาวะน้ำหนักเกิน และโรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ คุณจึงควรควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี สามารถตรวจสอบเกณฑ์น้ำหนักที่เหมาะสมกับตัวเองได้ ด้วยการตรวจวัดดัชนีมวลกาย โดยปกติแล้ว ดัชนีมวลกายที่เหมาะสมคือ ไม่เกิน 25 หากคุณน้ำหนักเกินอาจลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง เดินขึ้นลงบันได ร่วมกับการควบคุมปริมาณแคลอรีจากอาหารให้อยู่ที่ 1,500-2,500 กิโลแคลอรีต่อวัน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากกิจวัตรประจำวันและดัชนีมวลกายของคุณด้วย หากคุณลดน้ำหนักได้อย่างน้อย 1 ปอนด์ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร

ผู้คนมักมีข้อสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วว่า เพศสัมพันธ์ สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ ปัจจุบัน มีผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างโรคหลอดเลือดสมองและเพศสัมพันธ์มากมาย ที่สามารถตอบคำถามได้ว่า เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันได้อย่างไร และใครบ้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ขณะมีเพศสัมพันธ์ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลข้อมูลเรื่องนี้มาให้อ่านกันค่ะ เพศสัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดสมอง เกี่ยวข้องกันอย่างไร โดยส่วนใหญ่แล้ว โรคหลอดเลือดสมองเป็นผลมาจากการสะสมของพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ และปัญหาสุขภาพในระยะยาวต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะระดับไขมันและคอเลสเตอรอลสูง โรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้น้อย ความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด และโรคหัวใจ สำหรับวัยรุ่นทั้งหญิงและชาย มักไม่พบโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากเพศสัมพันธ์และการถึงจุดสุดยอด การเกิดโรคหลอดเลือดสมองที่มาจากปัญหาเพศสัมพันธ์ในคนวัยนี้ มักเกิดจากปัจจัยและเหตุการณ์ร่วมกันที่ไม่ใช่เรื่องปกติซึ่งพบได้บ่อย ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ร่างกายของผู้หญิงและผู้ชายจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน นอกจากนี้สมองผู้ชายยังหลั่งฮอร์โมนที่เรียกว่าฮอร์โมนโดพามีน (Dopamin) ส่วนผู้หญิงร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอ็อกซีโทซิน  ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้อาจทำให้ความดันเลือด (Blood Pressure) หรือความดันโลหิตสูงขึ้นได้ เมื่อความดันโลหิตสูงขึ้น ก็อาจทำให้ลิ่มเลือดถูกผลักเข้าไปยังสมอง จนทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ ใครบ้างที่มีความเสี่ยง เกิดโรคหลอดเลือดสมองจากเพศสัมพันธ์ ผู้ที่เคย เกิดโรคหลอดเลือดสมองในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ หรือภายใน 2-3 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ มักมีสัญญาณเตือนล่วงหน้าเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือแม้กระทั่งหลายเดือน สัญญาณเตือนล่วงหน้าประการหนึ่งที่พบได้ทั่วไปก็คือ อาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาด (Thunderclap Headache) ซึ่งเป็นอาการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน รุนแรง และมีความทรมาน หากคุณเคยมีอาการปวดศีรษะลักษณะนี้ในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที เพื่อให้คุณหมอตรวจวินิจฉัยอาการอย่างละเอียด เมื่อเกิดอาการปวดศีรษะแบบสายฟ้าฟาดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ […]


โรคหลอดเลือดสมองหรือสโตรก

หลอดเลือดในสมองตีบ มีสาเหตุอย่างหนึ่งมาจากการสูบบุหรี่

หลอดเลือดในสมองตีบ อาจมีที่มาจากการสูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีความเสี่ยงสูงมากกว่าการสะสมไขมันในร่างกายซะอีก ความอ้วน ความดันโลหิตสูง หรือต่อให้ออกกำลังกาย และควบคุมอาหารเป็นอย่างดี ก็ไม่สามารถลดความเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดในสมองตีบได้ ถ้ายังสูบบุหรี่อยู่ ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นถ้าสูบบุหรี่ ถึงแม้ว่าจะสูบบุหรี่วันละไม่กี่ตัว ก็ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรค หลอดเลือดในสมองตีบ ได้ ยิ่งถ้าบุคคลนั้น เป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบอยู่แล้ว และยังสูบบุหรี่อยู่ ก็มีสิทธิ์จะเสียชีวิตจากโรคนี้ ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่เลย ความเสี่ยงจะลดลงหลังเลิกสูบบุหรี่ ความเสี่ยงที่คุณจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบ จะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว หลังจากที่คุณเลิกสูบบุหรี่มา 2 ปี และหลังจากเลิกสูบบุหรี่มา 15 ปี ความเสี่ยงก็จะลดลงจน เกือบจะเท่ากับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนเลย ถึงแม้ว่าคุณจะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบแล้ว การเลิกสูบบุหรี่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะมีโรคแทรกซ้อนตามมาได้ ถึงแม้ว่าการเลิกสูบบุหรี่จะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น แต่ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดในสมองตีบจะลดลง ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่ การเลิกบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดหลอดเลือด และการอุดตันในเลือด ยิ่งถ้าคุณสูบบุหรี่ และมีโรคหัวใจ การเลิกสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิต ด้วยโรคหัวใจกะทันหัน โรคหัวใจวายครั้งที่ 2 และการเสียชีวิตจากโรคเรื้อรังอื่นๆ นอกจากนั้น ควันบุหรี่มือสอง ก็ยังเป็นอันตราย ต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้วด้วย ยิ่งถ้าคุณมีโรคหัวใจอยู่แล้ว คุณมีความเสี่ยงจากการสัมผัสควันบุหรี่มือสองมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคหัวใจ ดังนั้น หากสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ ก็จะเป็นการช่วยลดควันบุหรี่มือสองลง ซึ่งนั่นก็จะทำให้การเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ลดลงอีกด้วย คนที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปี จะสามารถลดความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในอีก 15 ปี […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม