โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อันตรายไม่แพ้โรคเอดส์ หรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ เลย ด้วยเพราะในระยะแรก การจะสังเกตอาการของโรคนั้นเป็นไปได้ยาก กว่าจะรู้ตัว โรคก็รุนแรงขึ้นจนทำให้ร่างกายเสียหายมากเสียแล้ว การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส อาจช่วยให้คุณสามารถรับมือและป้องกันกับโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับ โรคซิฟิลิส ที่ Hello คุณหมอ ได้รวบรวมมาไว้ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคซิฟิลิส

ตุ่มซิฟิลิส เป็นแบบไหน รักษาได้อย่างไร

ตุ่มซิฟิลิส เป็นตุ่มที่เกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคซิฟิลิส (Syphilis) ในระยะที่ 2 โรคนี้เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease หรือ STD) ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง พบได้บ่อยในผู้ที่มีพฤติกรรมทางเพศเสี่ยงสูงหรือเปลี่ยนคู่นอนบ่อย การรักษาทำได้ด้วยการรับยาปฏิชีวนะเพื่อกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย ทั้งนี้ การไปพบคุณหมอตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยให้โรคไม่พัฒนาเข้าสู่ระยะที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคลอื่นได้อีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ซิฟิลิส คืออะไร ซิฟิลิส คือ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) จัดเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่งที่แพร่กระจายได้เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปากกับผู้ติดเชื้อ เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อจะแฝงอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลาหลายปี และอาจทราบได้ว่าเป็นโรคนี้จากการมีตุ่มซิฟิลิสขึ้นตามร่างกาย โรคนี้ไม่สามารถหายได้เองและจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมเพื่อกำจัดเชื้อออกจากร่างกายและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังบุคคลอื่น หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ เช่น สมอง หัวใจ ดวงตา ระบบประสาท เสียหายได้ ซิฟิลิส อาการ เป็นอย่างไร อาการของการติดเชื้อซิฟิลิส อาจมีดังนี้ มีตุ่มขึ้นตามร่างกาย อ่อนเพลีย มีไข้ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผมร่วง ต่อมน้ำเหลืองโต หากการติดเชื้อรุนแรงและลามไปยังระบบประสาท อาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้ คอแข็ง ปวดศีรษะ สูญเสียการได้ยิน มีปัญหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกาย […]

สำรวจ โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส

Congenital Syphilis คือ โรคอะไร เป็นโรคอันตรายหรือไม่

Congenital Syphilis คือ โรคซิฟิลิสแต่กำเนิด เกิดจากหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคซิฟิลิสแล้วถ่ายทอดสู่ทารกในครรภ์ อาจเป็นสาเหตุให้คลอดก่อนกำหนด ทารกพิการแต่กำเนิด ทารกมีร่างกายผิดปกติ เช่น ตัวเหลือง ม้ามโต สมองอักเสบ แท้งหรือทารกเสียชีวิตหลังคลอดได้ ยังอย่างไรก็ตาม โรคซิฟิลิสแต่กำเนิดอาจป้องกันหรือรักษาได้ทันท่วงที โดยหญิงตั้งครรภ์ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคตั้งแต่ครั้งแรกที่ฝากครรภ์และรับการรักษา [embed-health-tool-due-date] Congenital Syphilis คือ อะไร ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่งสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็ก ๆ อย่างแผลปริหรือฉีกขาดบริเวณช่องคลอดและทวารหนักระหว่างมีเพศสัมพันธ์ รวมทั้งติดต่อกันผ่านการจูบ การรับเลือดจากผู้ที่ติดเชื้อ และใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยงซิฟิลิส ได้แก่ ผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยและผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัย อาการของ Congenital Syphilis ขึ้นอยู่กับระยะของโรค หากเป็นการติดเชื้อซิฟิลิสปฐมภูมิจะสามารถพบแผลริมแข็งบริเวณที่ติดเชื้อซึ่งอาจเป็นรอยแตก ปริ หรือฉีกขาด ขอบแผลนูน แต่ไม่รู้สึกเจ็บ มักพบที่บริเวณอวัยวะเพศ ผู้ป่วยอาจจะไม่ทราบว่ามีรอยโรคเนื่องจากเป็นแผลที่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ ทำให้เชื้อสามารถพัฒนาเข้าสู่ระยะที่สองหรือการติดเชื้อซิฟิลิสทุติยภูมิ ทำให้มีผื่นขึ้นตามบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ลิ้น ริมฝีปาก ฝ่ามือฝ่าเท้า และลำตัว หากปล่อยไว้นานโดยไม่รักษา ซิฟิลิสจะเข้าสู่ระยะตติยภูมิซึ่งอาจแพร่กระจายไปยังหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หัวใจทำงานเสื่อมประสิทธิภาพหรือหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด นอกจากนี้ […]


โรคซิฟิลิส

TPHA คือ อะไร และวิธีตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสแบบอื่น ๆ

TPHA คือ หนึ่งในวิธีตรวจโรคซิฟิลิสด้วยการหาสารภูมิต้านทานในเลือดซึ่งจะหลั่งออกมาเพื่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรค โดยเป็นภูมิคุ้มกันที่จำเพาะกับตัวโรค อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ TPHA จะไม่สามารถระบุได้ว่าติดเชื้อซิฟิลิสหรือไม่หากผู้ป่วยเป็นซิฟิลิสในระยะเริ่มต้น จึงมักนิยมใช้วิธีการตรวจแบบ TPHA เพื่อยืนยันผลเฉพาะในผู้ที่ผ่านการคัดกรองว่าเป็นโรคซิฟิลิสแล้ว [embed-health-tool-ovulation] TPHA คือ อะไร TPHA ย่อมาจาก Treponema Pallidum Hemagglutination Assay เป็นหนึ่งในวิธีการตรวจโรคซิฟิลิส ด้วยการเจาะเลือดเพื่อหาจำนวนของแอนติบอดีหรือสารภูมิต้านทาน ซึ่งร่างกายจะหลั่งออกมาเพื่อตรวจจับและทำลายเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิส ทั้งนี้ ซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับหนองใน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัมผ่านทางรอยขีดข่วน หรือบาดแผลเล็ก ๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ทั้งแบบสอดใส่และแบบไม่สอดใส่ อาการในระยะแรก ๆ ของซิฟิลิส คือ มีแผลริมแข็งและผื่นขึ้นตามลำตัว หากปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อจะแพร่กระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และอาจทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมหรือล้มเหลว รวมทั้งเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังระบบประสาท และทำให้ระบบประสาทเสียหาย อย่างไรก็ตาม การตรวจแบบ TPHA มักไม่พบเชื้อซิฟิลิสในผู้ติดเชื้อระยะเริ่มต้น จึงมักใช้วิธีนี้ในผู้ที่มีผลตรวจคัดกรองการติดเชื้อซิฟิลิสในเบื้องต้นเป็นบวกเพื่อยืนยันผลว่าเป็นโรคซิฟิลิส วิธีเตรียมตัวก่อนเข้ารับ การตรวจ TPHA   การตรวจ TPHA คล้ายการตรวจเลือดทั่วไปที่ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษแต่อย่างใด ยกเว้นในกรณีที่คุณหมออาจระบุรายละเอียดเพิ่มเติมเป็นกรณีไป การตรวจ TPHA แสดงผลอย่างไร ในห้องปฏิบัติการ […]


โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส คือ อะไร รู้จักและทำความเข้าใจโรคนี้ให้มากขึ้น

โรคซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยจะมีแผลที่มีขอบแข็งปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นในปาก ในช่องคลอด และใต้หนังหุ้มปลายองคชาต ทั้งนี้ แม้ซิฟิลิสจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่รู้จักกันทั่วไปแต่ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้อยู่ไม่น้อย เช่น ซิฟิลิสไม่สามารถติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือผู้ที่เคยเป็นซิฟิลิสและรักษาโรคจนหายแล้วจะไม่เป็นซ้ำ [embed-health-tool-ovulation] โรคซิฟิลิส คือ อะไร ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อสไปโรคีทแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ซึ่งติดต่อกันผ่านการมีเพศสัมพันธ์ รวมถึงผ่านทางรอยขีดข่วน หรือบาดแผลต่าง ๆ เช่น แผลฉีกขาดบริเวณลิ้นหรือทวารหนัก รวมทั้งจากหญิงตั้งครรภ์สู่ทารก ทั้งนี้ อาการของโรคซิฟิลิสแบ่งได้เป็นหลายระยะ โดยในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะมีแผลที่มีขอบนูนแข็งปรากฏตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย  มีต่อมน้ำเหลืองที่รับน้าเหลืองจากบริเวณแผลโตได้ รวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้ ผื่นขึ้น ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือกระดูก หากปล่อยโรคซิฟิลิสไว้โดยไม่รักษา เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและอาจเข้าไปทำลายหัวใจและหลอดเลือด ทำให้การทำงานของหัวใจเสื่อมหรือหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด นอกจากนั้น เชื้อซิฟิลิสยังสามารถแพร่กระจายสู่ระบบประสาท และก่อให้เกิดโรคซิฟิลิสของระบบประสาท (Neurosyphilis) ซึ่งส่งผลให้แขนขาอ่อนแรง ม่านตาอักเสบ […]


โรคซิฟิลิส

ซิฟิลิส อาการ การรักษาและวิธีป้องกัน

ซิฟิลิส (Syphilis) คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ซิฟิลิส มักไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก จึงอาจทำให้ผู้ป่วยแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น มีไข้ ผื่นขึ้น อ่อนเพลีย และแผลบริเวณอวัยวะเพศ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ และควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถตรวจพบโรคตั้งแต่ในระยะแรก ๆ และทำการรักษาได้ทันท่วงที [embed-health-tool-ovulation] ซิฟิลิส เกิดจากอะไร ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่าทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) ที่อาจได้รับจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก หรือผ่านทางผิวหนังที่มีแผลเปิด อีกทั้งสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นซิฟิลิสก็อาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้ในขณะคลอดบุตร ซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็อาจกลับมาติดเชื้อซ้ำได้อีกเช่นกัน หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ไม่สวมถุงยางขณะมีเพศสัมพันธ์ ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคขณะตั้งครรภ์ ใช้เซ็กส์ทอยร่วมกับผู้อื่น ซิฟิลิส อาการเป็นอย่างไร อาการของซิฟิลิส แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ซิฟิลิสระยะที่ 1 (Primary syphilis) มีระยะฟักตัว 10-90 วัน โดยเชื้ออาจเข้าทางเยื่อบุปกติหรือเยื่อบุผิวหนังที่มีรอยถลอกหรือฉีกขาดบริเวณอวัยวะเพศ ริมฝีปาก ลิ้น ทวารหนัก ในระยะแรกรอยโรคอาจมีลักษณะสีแดงเข้ม ต่อมาจะเป็นตุ่มเล็ก ๆ […]


โรคซิฟิลิส

ซิฟิลิส อาการ สาเหตุ การรักษา

ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังอาจแพร่กระจายจากการติดเชื้อผ่านทางผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผลเปิด หากปล่อยไว้เป็นเวลานาน  เชื้ออาจมีการติดต่อไปยังน้ำเลี้ยงสมองและไขสันหลัง ส่งผลต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท หัวใจ และอวัยวะอื่นได้ คำจำกัดความซิฟิลิส คืออะไร ซิฟิลิส คือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากเชื้อแบคทีเรียที่ส่วนมากจะมีรอยโรคหรือแผลที่ไม่มีความเจ็บปวดเกิดขึ้นบริเวณทวารหนัก อวัยวะเพศ และปาก รวมถึงอาจสามารถแพร่กระจายไปยังทารกได้หากมารดามีการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ ผู้ที่ติดเชื้อซิฟิลิสหากไม่ได้เข้ารับการรักษา อาจเสี่ยงเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนที่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่ระบบประสาท หัวใจ หลอดเลือด และเพิ่มโอกาสการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้น   อาการอาการซิฟิลิส อาการซิฟิลิสแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้   ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะปฐมภูมิ เป็นระยะที่อาจทำให้ผู้ติดเชื้อมีแผลริมแข็ง หรือแผลพุพองเล็ก ๆ บริเวณทวารหนัก อวัยวะเพศ หรือรอบปาก แต่อาจไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ อาจมีอาการคันที่บริเวณแผลได้  ซิฟิลิสทุติยภูมิ หลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อประมาณ 6 สัปดาห์ ถึง 6 เดือน อาจทำให้ผื่นแดงขึ้นบนผิวหนังทั่วทั้งร่างกาย บริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางคนอาจมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการผมร่วง ซิฟิลิสตติยภูมิ หากไม่รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกที่สังเกตเห็นความผิดปกติ อาจทำให้อาการซิฟิลิสพัฒนาเข้าสู่ระยะตติยภูมิที่กระทบต่อสุขภาพหัวใจ สมอง และเส้นประสาทอย่างรุนแรง เสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต ตาบอด หูหนวก สมองเสื่อม หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุสาเหตุของซิฟิลิส ซิฟิลิสมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า […]


โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส การรักษา และการป้องกัน

โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การรักษาโรคซิฟิลิสอาจทำให้โรคนี้หายขาดได้ ซึ่งประเภทของการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของโรค แต่หากไม่เข้ารับการรักษาโรคชนิดนี้อาจสร้างปัญหาร้ายแรงในอนาคต รวมถึงอาจทำให้มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ อาการสมองเสื่อม [embed-health-tool-ovulation] การรักษาโรคซิฟิลิส โรคซิฟิลิสต้องได้รับการรักษาจึงจะหายขาดได้ และมักใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคซิฟิลิส โดยประเภทของการรักษาอาจขึ้นอยู่กับระยะของโรค ดังนี้ หากเป็นโรคซิฟิลิสน้อยกว่า 2 ปี มักได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ที่ก้น หรือรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 10-14 วัน หากเป็นโรคซิฟิลิสที่กินเวลานานเกิน 2 ปี มักรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) 3 ครั้งที่ก้นทุกสัปดาห์ หรือรับประทานยาปฏิชีวนะแบบเม็ด 28 วัน กรณีร้ายแรงที่ส่งผลต่อสมองอาจได้รับการรักษาด้วยการฉีดเพนิซิลลิน (Penicillin) ทุกวันโดยฉีดเข้าทางก้นหรือหลอดเลือดดำ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ หรือให้ยาปฏิชีวนะ 28 วัน ผลข้างเคียงของการรักษา ในบางคนอาจมีผลข้างเคียงหลังการรักษา โดยอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ แต่อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นไม่นานและอาจรักษาได้ด้วยยาพาราเซตามอล สำหรับบางคนอาจเกิดอาการแพ้หลังจากฉีดเพนิซิลลิน คุณหมออาจเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างรักษา หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการรักษา ไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปาก อย่างน้อย […]


โรคซิฟิลิส

สัญญาณโรคซิฟิลิส ที่ไม่ควรมองข้าม

สัญญาณโรคซิฟิลิส เป็นสัญญาณเตือนที่อาจบ่งบอกว่าร่างกายกำลังได้รับเชื้อซิฟิลิสที่อาจสร้างปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท สมองถูกทำลาย รวมทั้งยังอาจลุกลามจนทำให้ตาบอดได้อีกด้วย โดยโรคซิฟิลิสเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ แต่ถ้าปลอยทิ้งไว้เป็นเวลานานอาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพได้ [embed-health-tool-bmi] โรคซิฟิลิส คืออะไร โรคซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โดยอาจเชื้อได้ทางการสัมผัสแผลซิฟิลิสโดยตรงระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งทางทวารหนัก ช่องคลอด หรือทางปาก นอกจากนี้ โรคซิฟิลิสยังแพร่กระจายจากมารดาไปยังทารกได้อีกด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อสุขภาพร้ายแรง เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท สมองถูกทำลาย หากไม่ได้รับการรักษา สัญญาณโรคซิฟิลิส สัญญาณโรคซิฟิลิส เป็นอาการที่บ่งบอกว่าร่างกายได้รับเชื้อซิฟิลิส ซึ่งผู้หญิงและผู้ชายอาจมีอาการของโรคที่คล้ายคลึงกัน มักไม่แสดงอาการที่รุนแรงหรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ ทำให้ในบางคนอาจติดเชื้อซิฟิลิสโดยไม่รู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ตามมาได้ โดยโรคซิฟิลิสสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ คือ ระยะปฐมภูมิ ระยะทุติยภูมิ ระยะแฝง และระยะตติยภูมิ ซึ่งในแต่ละระยะอาจมีสัญญาณอาการที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้ ระยะปฐมภูมิ หลังจากการติดเชื้อซิฟิลิสประมาณ 2-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยมักมีอากการเริ่มแรก คือ มีแผลเล็ก ๆ ไม่มีอาการเจ็บ หรือเรียกว่า แผลริมอ่อน อาจมีอาการเจ็บบริเวณองคชาต ช่องคลอด […]


โรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ป้องกันได้

โรคซิฟิลิส คือ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียผ่านการมีเพศสัมพันธ์หรือผิวหนังที่มีบาดแผล ซึ่งมักแสดงอาการหลังติดเชื้อไปแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยจะมีไข้ เกิดตุ่มน้ำเหลือง ผื่นตามมือเท้า รู้สึกอ่อนเพลีย มีแผลที่อวัยวะเพศ รักษาได้ด้วยการรับประทานยาปฏิชีวนะ และจำเป็นต้องตรวจเลือดหลังการรักษาเพื่อตรวจสอบว่าเชื้อหายแล้ว อย่างไรก็ตาม สามารถลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคซิฟิลิสได้ด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-ovulation] โรคซิฟิลิส คืออะไร  โรคซิฟิลิส (Syphilis) คือ การติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งเรียกว่า ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) โดยแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสเชื้อทางปาก เชื้อซึมเข้าสู่บาดแผลสดตามบริเวณผิวหนัง หากไม่ได้รับการรักษาทันที อาจส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ  เช่น โรคข้ออักเสบ ระบบประสาท และสมองถูกทำลาย รวมทั้งยังลุกลามจนทำให้ตาบอดได้อีกด้วย จากข้อมูลสถติของศูนย์กรมควบคุมโรคระบุไว้ว่า ในปีพ.ศ. 2559 มีผู้ป่วยที่ประสบกับโรคซิฟิลิสมากกว่า 88,000 ราย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเพศชายที่มีเพศสัมพันธ์กับเพศชายด้วยกันเป็นโรคนี้มากกว่ากลุ่มอื่น อาการของโรคซิฟิลิส   โรคซิฟิลิส มักแสดงอาการตามระยะการฟักตัวของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะ ดังนี้ ซิฟิลิสปฐมภูมิ ถือเป็นสัญญาณเตือนระยะแรกของโรคซิฟิลิส หลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรียหลังการมีเพศสัมพันธ์ประมาณไปแล้ว 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อีกทั้งเกิดแผลคล้ายหูดบริเวณที่ติดเชื้อ เช่น […]


โรคซิฟิลิส

คุณติดเชื้อ "ซิฟิลิส" ได้อย่างไร และจะป้องกันได้อย่างไรบ้าง?

ซิฟิลิส เป็นหนึ่งในโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบกันบ่อย และการ ติดเชื้อ ซิฟิลิส สามารถเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ แต่หากได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ ก็สามารถรักษาได้อย่างรวดเร็ว และนี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับการ ติดเชื้อซิฟิลิส เพื่อที่คุณจะได้ระมัดระวังตัวเองได้ ซิฟิลิส คืออะไร ซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งมีสาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย ทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema pallidum) หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ซิฟิลิสอาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงรุนแรง อย่างเช่น โรคข้ออักเสบ สมองเสียหาย และตาบอด การติดต่อ คนส่วนใหญ่ติดเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากมีการสัมผัสกับแผลบนร่างกายของผู้ติดเชื้อโดยตรง แผลเหล่านั้นพบได้ตรงส่วนนอกของอวัยวะเพศของผู้ติดเชื้อ ช่องคลอด ทวารหนักหรือในไส้ตรง ในบางกรณี แผลอาจเกิดขึ้นบนริมฝีปากและในปากด้วยเช่นกัน การติดต่อของโรคนี้มักเกิดขึ้นในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนักและทางปาก และกิจกรรมทางเพศอื่นๆ ซิฟิลิสติดต่อได้จากการสัมผัสสิ่งของร่วมกันหรือไม่ เนื่องจากแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของ ซิฟิลิส จะอ่อนแอเมื่ออยู่ข้างนอกร่างกาย ซิฟิลิสจึงจะไม่มีการลุกลามจากการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน อย่างเช่น โถส้วม อ่างอาบน้ำ ลูกบิดประตู สระว่ายน้ำ และคุณจะไม่ได้รับเชื้อซิฟิลิสจากการใช้เสื้อผ้าหรือใช้ภาชนะร่วมกันกับผู้ป่วยด้วยเช่นกัน ซิฟิลิสสามารถส่งผ่านไปยังลูกในช่วงตั้งครรภ์ได้หรือไม่ ผู้หญิงตั้งครรภ์สามารถแพร่โรคนี้ไปยังทารกในครรภ์ได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่าทำไมการตรวจหาซิฟิลิส จึงเป็นสิ่งจำเป็นในช่วงแรกก่อนการคลอด การตรวจควรทำซ้ำอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 และช่วงคลอด เด็กทารกของผู้หญิงที่เป็น ซิฟิลิส มีความเสี่ยงต่อการที่จะทำให้ทารกตายในครรภ์ (stillbirth) และเด็กที่คลอดออกมาเสียชีวิต ถึงแม้ว่าเด็กที่ติดเชื้อจะรอดมาได้ แต่เด็กทารกยังจำเป็นที่จะต้องเข้ารับการรักษา […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน