โรคผิวหนังติดเชื้อ

ทุกครั้งที่เราเกิดบาดแผลบนผิวหนัง เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง และกลายเป็น โรคผิวหนังติดเชื้อ ไป เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ โรคผิวหนังติดเชื้อ ทั้งโรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน เชื้อราจะทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณอับชื้น สาเหตุสำคัญของกลาก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร พบบ่อยบริเวณอับชื้น [embed-health-tool-bmi] กลากเกิดจากอะไร กลาก กลุ่มโรคทิเนีย (Tinea) เป็นโรคติดเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังชั้นตื้น (Superficial Fungal Infection) ที่พบได้บ่อย ๆ กลาก (Ringworm) จะมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ รอยโรคมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน ผื่นเป็นผื่นสีแดง  ขอบสีแดงชัดเจน  ขอบภายนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน  อาจมีขุยหรือสะเก็ดที่ขอบ  ตรงกลางมักเกลี้ยง มีอาการคัน  กลากบางแห่งอาจไม่เห็นเป็นวงหรือมีขอบสีแดง  สาเหตุสำคัญของกลาก เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก เป็นเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อของกลากเป็นโรคติดต่อจากคนไปสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมสู่คน ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านสปอร์ราที่อยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นก็อาจได้รับสปอร์ราเช่นกัน เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตโดยเคราติน (Keratin) ในหนังกำพร้าเป็นอาหาร กลากจะเกิดที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ ได้แก่ กลากที่ลำตัว แขนและขา กลากที่หนังศีรษะและเส้นผม กลากที่ขาหนีบ รอบอวัยวะเพศและทวารหนัก กลากที่เล็บ กลากที่เท้าหรือโรคน้ำกัดเท้า ส่วนปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลาก เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ […]

สำรวจ โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนังติดเชื้อ

สังคังเป็นยังไง ควรดูแลตัวเอง และรักษาอย่างไร

สังคังเป็นยังไง อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยเฉพาะผู้ที่เสี่ยงในการเป็นโรค เช่น ผู้ที่มีเหงื่อออกมาก และหมักหมมในบริเวณอับชื้น เช่น ขาหนีบ บั้นท้าย ต้นขาด้านใน และผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น น้ำหนักเกิน โรคอ้วน โรคเบาหวาน ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง สังคังเป็นการติดเชื้อทางผิวหนัง ส่งผลทำให้เกิดผื่นแดง เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคัน ซึ่งอาจพบได้บ่อยในผู้ชายที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ [embed-health-tool-bmi] สังคังเป็นยังไง สังคัง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นแดงเป็นรูปวงแหวน เป็นตุ่ม ตกสะเก็ด และมีอาการคันในบริเวณที่มีความอับชื้น โดยเฉพาะขาหนีบลามไปจนถึงต้นขาด้านใน บั้นท้าย อวัยวะเพศ มักพบในผู้ที่มีเหงื่อออกมากหรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เนื่องจากเหงื่อและบริเวณรอยพับของผิวหนังจะมีความอับชื้นมากจนอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อราที่สามารถทำให้เกิดสังคัง สังคังแพร่กระจายได้อย่างไร สังคังเป็นโรคติดต่อที่อาจแพร่กระจายได้หลายรูปแบบ ดังนี้ การแพร่กระจายจากคนสู่คน เป็นการติดต่อของโรคที่พบมากที่สุด เช่น การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสทางผิวหนัง การสัมผัสกับอวัยวะเพศที่มีการติดเชื้อโดยตรง การแพร่กระจายจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังส่วนอื่น ๆ การเป็นสังคังบริเวณขาหนีบหรือต้นขาสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ เนื่องจากการถอดกางเกงชั้นในอาจทำให้เท้า มือ หรือผิวหนังบริเวณใกล้เคียงสัมผัสกับเชื้อราที่อยู่บริเวณกางเกงชั้นใน ทำให้เชื้อสามารถแพร่กระจาย การแพร่กระจายจากการสัมผัสกับวัตถุ เชื้อราสามารถแพร่กระจายในทุก ๆ ที่ เช่น ห้องน้ำ พื้น […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เกลื้อนเกิดจากอะไร รักษาให้หายได้หรือไม่

เกลื้อนเกิดจากอะไร? เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อราในกลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia) โดยทั่วไป เกลื้อนพบบ่อยในผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตร้อน โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาการของผู้ที่เป็นเกลื้อน คือ ผิวหนังเป็นจุดหรือปื้นที่มีสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เกลื้อนไม่ใช่โรคอันตรายแต่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง เมื่อเป็นเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอหรือเภสัชกรเพื่อรับยาต้านเชื้อรา ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน ยาน้ำ ครีม และแชมพูสำหรับใช้ภายนอก [embed-health-tool-bmi] เกลื้อนเกิดจากอะไร เกลื้อน เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซียที่อาศัยอยู่บนผิวหนังของมนุษย์โดยบริโภคไขมันในรูขุมขนเป็นอาหาร โดยปกติ เชื้อราชนิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ ยกเว้นหากเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ เนื่องจากมีปัจจัยไปกระตุ้น เช่น ผิวหนังผลิตน้ำมันในปริมาณมาก สภาพอากาศร้อนชื้น การมีเหงื่อออกมาก การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง นอกจากนี้ เกลื้อนแตกต่างจากกลาก เพราะกลากเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับเชื้อรามาลาสซีเซียที่เป็นสาเหตุของเกลื้อน ทั้งนี้ เกลื้อนเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยในพื้นที่เขตร้อน หรือในช่วงฤดูร้อน และพบมากในวัยรุ่นเพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันผลิตน้ำมันออกทางผิวหนังมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ นอกจากนี้ เกลื้อนยังอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายขณะตั้งครรภ์ รวมทั้งอาจพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่ใช้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันมักอ่อนแอกว่าคนทั่วไป เกลื้อน มีอาการอย่างไร เมื่อป่วยเป็นโรคเกลื้อน ผิวหนังจะมีจุดหรือปื้นสีอ่อนหรือเข้มกว่าผิวหนังส่วนอื่น ๆ รวมถึงเกิดอาการคันและผิวลอก แห้งเป็นขุย ทั้งนี้ โรคที่มีอาการคล้ายกับเกลื้อนคือโรคด่างขาว ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติจนทำให้เม็ดสีผิวมีจำนวนน้อยกว่าปกติ และโรคผื่นกุหลาบ ซึ่งยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด หากสังเกตว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับโรคเกลื้อน ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและวินิจฉัย โดยคุณหมออาจสำรวจผิวหนังบริเวณที่เป็นด้วยตาเปล่าหรือขูดผิวหนังบางส่วนไปตรวจการติดเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ เกลื้อน รักษาได้หรือไม่ เกลื้อนสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทาครีมหรือยาสำหรับใช้ภายนอก ทั้งนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคไฟลามทุ่ง สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

โรคไฟลามทุ่ง คือ ภาวะที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้ติดเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นอย่างรุนแรง เกิดเป็นผื่นแดงที่มีขอบเขตชัดเจน และมีอาการปวด บวม แสบร้อนร่วมด้วย อาการอาจลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณใกล้เคียงอย่างรวดเร็วคล้ายไฟลามทุ่ง มักเกิดในเด็กแรกเกิดที่ติดเชื้อหลังตัดสายสะดือ ผู้ที่มีแผลหรือรอยถลอก ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากทิ้งไว้ไม่รักษาให้หายตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจทำให้การติดเชื้อลุกลามและแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมโดยเร็วที่สุด [embed-health-tool-bmr] โรคไฟลามทุ่ง คืออะไร โรคไฟลามทุ่ง (Erysipelas) คือ ภาวะติดเชื้อที่ผิวหนังชั้นผิวหนังแท้อย่างรุนแรง มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Streptococcus group A) โดยเฉพาะเชื้อสเตรปโตคอคคัส ไพโอเจน (Streptococcus pyogenes) ซึ่งเป็นเชื้อประจำถิ่นที่พบได้ทั่วไปบนร่างกาย แบคทีเรียชนิดนี้จะก่อให้เกิดโรคเมื่อเข้าไปในเนื้อเยื่อผิวหนังและปล่อยสารพิษที่ทำให้ผิวหนังอักเสบ และเกิดผื่นแดงที่มีขอบชัดเจน รวมกับมีอาการปวด บวม แสบร้อน บริเวณแขน ขา รวมถึงที่บริเวณใบหน้า หากไม่รักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอย่างโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ที่ทำให้เนื้อเยื่อผิวหนังบริเวณที่ติดเชื้อตายหรือเปลี่ยนเป็นผื่นสีดำ หรืออาจติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายจากชั้นผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ไต ลิ้นหัวใจ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ สำหรับทารกแรกเกิด อาการติดเชื้อที่ผิวหนังของโรคไฟลามทุ่งอาจเกิดที่บริเวณท้อง เนื่องจากมักเกิดการติดเชื้อที่สะดือหลังการตัดสายสะดือ ส่วนเด็กและผู้ใหญ่มักมีอาการที่ใบหน้า แขน และขาเป็นหลัก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไฟลามทุ่ง ปัจจัยเสี่ยงของโรคไฟลามทุ่ง มีดังนี้ ผู้ที่เคยเป็นโรคไฟลามทุ่งมาก่อน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ผื่นเชื้อรา สาเหตุ อาการ และการรักษา

ผื่นเชื้อรา คือ ผื่นที่เกิดจากเชื้อราชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อราแคนดิดา (Candida) เดอร์มาโตฟัยท์ (Dermatophytes) และมาลาสซีเซีย (Malassezia) ที่ส่งผลให้เกิดโรคผิวหนัง โดยสังเกตได้จากผื่นขึ้นบนผิวหนัง สีผิวเปลี่ยนแปลง มีอาการคัน และอาจมีแผลพุพองที่ทำให้รู้สึกเจ็บแสบ หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรพบคุณหมอทันที เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะเชื้อราบางชนิดสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นผ่านการสัมผัสรวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกันได้ [embed-health-tool-bmr] สาเหตุของผื่นเชื้อรา ผื่นเชื้อราเกิดจากการติดเชื้อราชนิดต่าง ๆ เช่น เชื้อราแคนดิดา เดอร์มาโตฟัยท์และมาลาสซีเซีย จนนำไปสู่การเกิดโรคผิวหนัง ได้แก่ โรคกลาก เกิดจากการติดเชื้อราเดอร์มาโตฟัยท์ ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่ในเซลล์ผิวหนังชั้นนอกและสามารถแพร่กระจายได้จากสัตว์สู่คน และคนสู่คน โดยอาจติดเชื้อได้ต่อเมื่อภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรืออยู่ในสภาพอากาศร้อนชื้น เนื่องจากเชื้อราสามารถเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ การสัมผัสกับสัตว์ที่ติดเชื้อราและการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น ผ้าขนหนู ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ก็อาจส่งผลให้ติดเชื้อราจนมีผื่นเชื้อราขึ้นได้เช่นกัน โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากการติดเชื้อราเดอร์มาโตฟัยท์ที่เจริญเติบโตมากเกินไป โดยเฉพาะเมื่อมีเหงื่อออกที่เท้ามาก หรือหากใช้ถุงเท้าหรือรองเท้าร่วมกับผู้อื่น รวมถึงเดินเท้าเปล่าในพื้นที่เปียกชื้น เช่น ห้องอาบน้ำสาธารณะ โรงยิม ห้องซาวน่าและสระว่ายน้ำ โรคเกลื้อน เกิดจากการติดเชื้อรามาลาสซีเซีย โดยอาจมีปัจจัยเสี่ยงคือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ สภาพอากาศร้อนชื้น ผิวมัน และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ที่ทำให้เชื้อรามีการเจริญเติบโตมากเกินไป […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคฝีดาษลิง คืออะไร เป็นอันตรายหรือไม่

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพอกซ์วิริเด (Poxviridae) ที่ทำให้เกิดโรคฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ (Variolar) และโรคฝีดาษวัว (Cowpox) ผู้ติดเชื้อจะมีตุ่มขึ้นทั่วร่างกาย ลักษณะของตุ่มที่เกิดจากฝีดาษลิงจะเปลี่ยนไปตามระยะ เริ่มจากเป็นรอยแดงเป็นจุด ๆ เป็นตุ่มแดงนูน ไปจนถึงเป็นตุ่มน้ำใส จากนั้นจะเปลี่ยนเป็นตุ่มหนองที่จะตกสะเก็ดและหลุดออกไปเอง ตุ่มจากฝีดาษลิงมักขึ้นที่ใบหน้า เยื่อบุภายในตาและปาก ลำตัว แขน ขา ฝ่ามือ และฝ่าเท้า คนส่วนใหญ่มักฟื้นตัวจากโรคนี้ได้ภายใน 2-4 สัปดาห์ โรคฝีดาษลิงพบได้บ่อยในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก แต่ในเดือนพฤษภาคม 2565 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเริ่มรายงานว่าโรคฝีดาษลิงแพร่ระบาดในหลายภูมิภาคนอกทวีปแอฟริกาและอาจกระจายไปหลายประเทศทั่วโลก อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฝีดาษลิงในเบื้องต้นอาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้ โรคฝีดาษลิง เกิดจากอะไร โรคฝีดาษลิงเกิดจากติดเชื้อไวรัสฝีดาษลิงซึ่งเป็นเชื้อไวรัสในสกุลออร์โธพอกซ์ (Orthopoxvirus) วงศ์พอกซ์วิริเด ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับเชื้อไวรัสฝีดาษคนหรือไข้ทรพิษ และไวรัสฝีดาษวัว เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น ลิง สัตว์ตระกูลฟันแทะอย่างหนูป่า กระรอก เมื่อสัมผัสเชื้อโดยตรงหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ เชื้อจะเข้าผ่านรอยแตกหรือแผลที่ผิวหนัง ระบบทางเดินหายใจ ทางเยื่อบุปาก หรือทางเยื่อบุตา ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อ จนเกิดผื่นหรือตุ่มซึ่งมักเริ่มปรากฏที่ใบหน้าและลามไปยังบริเวณอื่นของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และอาจขึ้นที่อวัยวะเพศด้วย รูปแบบการแพร่เชื้อฝีดาษลิง โรคฝีดาษลิงสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ตั้งแต่ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

แบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร อาการ การรักษาและการป้องกัน

แบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า เป็นปัญหาสุขภาพผิวที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในผิวหนังชั้นลึกไปถึงระดับเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เนื้อเยื่อใต้ผิวหนังตายและอาจลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย โดยอาจสังเกตได้จากอาการผิวหนังบวมแดง ตุ่มน้ำ เป็นไข้ ผิวเปลี่ยนสี หากพบอาการดังกล่าว ควรเข้าพบคุณหมอเพื่อรับการตรวจและทำการรักษาทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ [embed-health-tool-bmr] แบคทีเรียกินเนื้อ คืออะไร แบคทีเรียกินเนื้อ คือ การติดเชื้อแบคทีเรียแอโรโมแนส (Aeromonas) และเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกลุ่มเอ (Group A streptococcus) มักพบหลังจากการผ่าตัดหรือหลังประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ เช่น น้ำขัง น้ำกร่อย อีกทั้งยังอาจแพร่กระจายผ่านทางบาดแผลเล็ก ๆ รอยถลอก และแมลงกัดต่อย ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ มีดังนี้ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคตับแข็ง โรคไต โรคปอด โรคหลอดเลือดตีบ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจที่ส่งผลกระทบต่อลิ้นหัวใจ ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์ ผู้ที่ใช้สารเสพติด อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียกินเนื้อ อาการของการติดเชื้อแบคทีเรียเนื้อ มักปรากฏภายใน 24 ชั่วโมง แรกของการติดเชื้อ โดยระยะแรกจะแสดงอาการเหมือนกับไข้หวัด เช่น มีไข้ คลื่นไส้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ฝีที่ขาหนีบ เกิดจากอะไร ป้องกันได้หรือไม่

ฝีที่ขาหนีบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus Aureus และ Group A Streptococcus ทำให้เกิดตุ่มบวมบริเวณขาหนีบ มีหนองอยู่ข้างใน และมักจะรู้สึกเจ็บเมื่อถูกสัมผัสหรือเสียดสี ฝีที่ขาหนีบสามารถหายเองได้หากอยู่ในระดับไม่รุนแรง โดยใช้เวลาประมาณ 1-3 สัปดาห์ หากฝีอยู่ในระดับรุนแรง หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบคุณหมอ เพื่อให้คุณหมอผ่าฝีแล้วดูดหนองออกซึ่งจะทำให้เม็ดฝีค่อย ๆ ยุบลง นอกจากนี้ สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดฝีที่ขาหนีบ เช่น รักษาสุขอนามัยด้วยการล้างมือเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ทำความสะอาดเสื้อผ้าและสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวเสมอ [embed-health-tool-bmi] ฝีที่ขาหนีบ เกิดจากอะไร ฝี หมายถึง ตุ่มบวมบนผิวหนัง หรือบริเวณของผิวหนังที่นูนขึ้นมา ลักษณะเป็นสีแดงอมชมพู มีหนองอยู่ข้างใน และมีหัวสีออกเหลือง ทั้งนี้ เมื่อเป็นฝี จะรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองเมื่อสัมผัสหรือเสียดสี โดยทั่วไป ฝีที่ขาหนีบ รวมถึงฝีตามส่วนอื่น ๆ ของร่างกายมักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus Aureus และ Group A Streptococcus ซึ่งสามารถพบได้บนผิวหนังหรือในรูจมูก แบคทีเรียชนิดนี้ ปกติจะไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ยกเว้นในกรณีที่แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผล รอยขีดข่วน หรือรูขุมขน ซึ่งส่งผลให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นฝีได้ ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เป็นฝีที่ขาหนีบ ประกอบด้วย […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

หูดที่เท้า สาเหตุ อาการ และการรักษา

หูดที่เท้า เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) บนผิวหนังชั้นนอก สังเกตได้จากอาการตุ่มนูน ผิวหนังแข็ง เป็นแผล อาจหายได้เองในบางคนโดยไม่ต้องทำการรักษา แต่หากมีอาการเจ็บปวดขณะเดิน หรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรเข้ารับการรักษาทันที [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ หูดที่เท้า คืออะไร หูดที่เท้า คือ ตุ่มนูนแข็งที่ปรากฏในบริเวณฝ่าเท้า นิ้วเท้า และซอกนิ้วเท้า ซึ่งอาจก่อให้เกิดแผลหรือรู้สึกเจ็บปวดขณะเดิน หูดที่เท้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีบนผิวหนังชั้นนอก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย อาการ อาการของหูดที่เท้า อาการของหูดที่เท้า มีดังนี้ ตุ่มนูนแข็ง มีลักษณะแบนราบ เป็นวง ผิวรอบนอกแข็ง และมีจุดสีดำเล็ก ๆ ตรงกลาง ผิวหนังบริเวณที่เป็นหูดหยาบกร้าน บางคนอาจมีอาการเจ็บปวดขณะเดิน หรือเมื่อบริเวณที่เป็นหูดถูกเสียดสี หูดที่เท้าสามารถเกิดขึ้นได้ในจุดต่าง ๆ ทั่วเท้า โดยเฉพาะในฝ่าเท้า นิ้วเท้า และซอกนิ้วเท้า หากมีเลือดออกที่หูด เจ็บปวดขณะเดิน เป็นหูดซ้ำ ๆ บ่อยครั้ง หรือหากอาการหูดรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุของการเกิดหูดที่เท้า หูดที่เท้ามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีบนผิวหนังชั้นนอก ที่อาจได้รับผ่านทางบาดแผล ผิวหนังแตก หรือผิวหนังที่บอบบางด้านฝ่าเท้า โดยเฉพาะเมื่อเดินเท้าเปล่าในบริเวณที่เสี่ยง เช่น สระว่ายน้ำ ห้องอาบน้ำรวม โรงยิม เพราะไวรัสเอชพีวีจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยงของหูดที่เท้า ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นหูดที่เท้า มีดังนี้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ลักษณะ สังคังในผู้หญิง พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

สังคังเป็นโรคผิวหนังติดเชื้อราที่ก่อให้เกิดอาการคันรุนแรง เกิดจากการติดเชื้อราที่คล้ายกับเชื้อกลาก พบบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ก็สามารถพบในผู้หญิงได้เช่นกัน ลักษณะ สังคังในผู้หญิง อาจเป็นผื่นแดงกระจายทั่วผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา หรือทวารหนัก สังคังเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาและไม่สามารถหายได้เอง โดยทั่วไปอาจใช้ยาต้านเชื้อราเพื่อกำจัดเชื้อราซึ่งอาจทำให้อาการหายไปภายใน 3 สัปดาห์ ทั้งนี้ หากผื่นแดงและอาการคันไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์และไม่หายหลังจากรักษามาแล้ว 3 สัปดาห์ หรือกลับมาเป็นซ้ำในเวลาไม่กี่สัปดาห์ ควรไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม และควรรักษาสุขอนามัยอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นซ้ำ [embed-health-tool-ovulation] สังคัง คืออะไร สังคัง (Jock itch หรือ Tinea cruris) เป็นภาวะติดเชื้อราที่คล้ายกับเชื้อกลาก ทำให้เกิดผดผื่นแดง ตุ่มพอง แผลตุ่มหนอง แผลเป็นสะเก็ด หรือลอกเป็นขุย กระจายบนผิวหนังบริเวณขาหนีบ ต้นขา หรือร่องก้น ก่อให้เกิดอาการคัน แสบ ร้อน และระคายเคืองอย่างรุนแรง โดยเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่ไปยังบุคคลอื่นได้ ผ่านการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโดยตรง การสัมผัสกับสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อ รวมไปถึงการมีเพศสัมพันธ์ สังคังในผู้หญิง เกิดจากอะไร สังคังเป็นภาวะติดเชื้อราในกลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่ชื่อว่าไตรโคไฟตัน (Trichophyton) เป็นเชื้อที่มักอาศัยอยู่บริเวณที่ชื้นและอบอุ่น พบบ่อยในผู้ชายเนื่องจากอาจเกิดความอับชื้นบริเวณถุงอัณฑะและต้นขาได้ง่าย อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน โดยเฉพาะในวัยรุ่นและในวัยหนุ่มสาว ผู้หญิงก็สามารถเกิดสังคังได้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

อีสุกอีใส สาเหตุ อาการ และการรักษา

อีสุกอีใส เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด ส่งผลให้เกิดผื่นคัน และตุ่มน้ำใสขนาดเล็ก บนผิวหนังทั่วทั้งร่างกายซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้ที่ตั้งครรภ์ และผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการสัมผัสสารคัดหลั่งและละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัส ดังนั้น หากสังเกตว่า มีไข้ รู้สึกอยากอาหารน้อยลง และเริ่มมีผื่นขึ้น ควรเข้าพบคุณหมอ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาทันที ก่อนแพร่กระจายติดต่อไปยังบุคคลอื่น คำจำกัดความ อีสุกอีใส คืออะไร อีสุกอีใส คือ โรคจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด เชื้อนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 10-20 วัน หลังจากได้รับเชื้อ ก่อนจะค่อย ๆ ปรากฏอาการผื่นคันและตุ่มน้ำใสขนาดเล็กทั่วทั้งร่างกาย เช่น ใบหน้า หลัง หน้าอก แขน ขา และอาจมีอาการรุนแรงมาก โดยเฉพาะในทารก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ สตรีตั้งครรภ์ รวมถึงผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เชื้อไวรัสวาริเซลลาสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ผ่านทางการหายใจหรือสัมผัสกับสารคัดหลั่งและละอองฝอยที่มีเชื้อไวรัสอยู่ ซึ่งอาจมาจากการไอ จาม หรือจากการพูดคุยใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ อาการ อาการของอีสุกอีใส อาการของอีสุกอีใส มีดังนี้ มีตุ่มสีแดงหรือชมพูขึ้นตามลำตัว ซึ่งอาจพัฒนากลายเป็นแผลพุพอง ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง และกลายเป็นสะเก็ด มีหลายระยะของผื่นบนผิวหนัง มีไข้ ปวดศีรษะ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม