โรคผิวหนังติดเชื้อ

ทุกครั้งที่เราเกิดบาดแผลบนผิวหนัง เราก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อเนื่องจากเชื้อโรคต่าง ๆ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา หรือเชื้อไวรัส จนทำให้เกิดความผิดปกติกับผิวหนัง และกลายเป็น โรคผิวหนังติดเชื้อ ไป เรียนรู้ข้อมูลสุขภาพเกี่ยวกับ โรคผิวหนังติดเชื้อ ทั้งโรคผิวหนังที่พบบ่อย และการดูแลรักษา ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกิดจากอะไร วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ

กลากเป็นโรคทางผิวหนังที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย สาเหตุเกิดจากเชื้อราที่มีอยู่ทั่วไปตามพื้นดิน เชื้อราจะทำให้เกิดโรคได้ทั้งคนและสัตว์ เกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย แต่พบบ่อยบริเวณอับชื้น สาเหตุสำคัญของกลาก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร พบบ่อยบริเวณอับชื้น [embed-health-tool-bmi] กลากเกิดจากอะไร กลาก กลุ่มโรคทิเนีย (Tinea) เป็นโรคติดเชื้อราที่เกิดกับผิวหนังชั้นตื้น (Superficial Fungal Infection) ที่พบได้บ่อย ๆ กลาก (Ringworm) จะมีลักษณะที่สำคัญ ได้แก่ รอยโรคมีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงแหวน ผื่นเป็นผื่นสีแดง  ขอบสีแดงชัดเจน  ขอบภายนอกมักมีสีเข้มกว่าผิวหนังด้านใน  อาจมีขุยหรือสะเก็ดที่ขอบ  ตรงกลางมักเกลี้ยง มีอาการคัน  กลากบางแห่งอาจไม่เห็นเป็นวงหรือมีขอบสีแดง  สาเหตุสำคัญของกลาก เชื้อราที่ทำให้เกิดกลาก เป็นเชื้อราในกลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ (Dermatophytes) เชื้อของกลากเป็นโรคติดต่อจากคนไปสู่คน จากสัตว์สู่คน หรือจากสิ่งแวดล้อมสู่คน ติดต่อได้ด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือผ่านสปอร์ราที่อยู่บนข้าวของเครื่องใช้ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน และเสื้อผ้า รวมถึงการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ชื้นก็อาจได้รับสปอร์ราเช่นกัน เชื้อราชนิดนี้จะเติบโตโดยเคราติน (Keratin) ในหนังกำพร้าเป็นอาหาร กลากจะเกิดที่ผิวหนังชั้นนอกสุด เส้นผมและเล็บ ได้แก่ กลากที่ลำตัว แขนและขา กลากที่หนังศีรษะและเส้นผม กลากที่ขาหนีบ รอบอวัยวะเพศและทวารหนัก กลากที่เล็บ กลากที่เท้าหรือโรคน้ำกัดเท้า ส่วนปัจจัยและความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกลาก เช่น ภูมิคุ้มกันต่ำ […]

สำรวจ โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราบนผิวหนัง เป็นสาเหตุของโรคอะไรบ้าง ป้องกันได้อย่างไร

เชื้อราบนผิวหนัง เป็นสาเหตุของปัญหาที่อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง แดง เป็นผื่นคันได้ โดยเฉพาะหากเชื้อรามีจำนวนมาก หรือเข้าไปในบาดแผล อาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อ หรือลุกลามเป็นโรค เช่น โรคกลาก สังคัง เกลื้อน อย่างไรก็ตาม เชื้อราบนผิวหนังรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา ทั้งในรูปแบบของยาเม็ดสำหรับรับประทาน หรือผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ทาภายนอก นอกจากนี้ เชื้อราบนผิวหนังยังป้องกันได้ด้วยการรักษาความสะอาดของผิวหนัง การเช็ดตัวให้แห้งหลังอาบน้ำ ลดการเกิดเหงื่อแล้วทิ้งไว้นาน ๆ รวมถึงการเลือกสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดหรือแน่นเกินไป เชื้อราบนผิวหนัง เกิดขึ้นได้อย่างไร เชื้อราเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งบนพื้นดิน ตามต้นไม้ หรือกระทั่งบนผิวหนังของมนุษย์และสัตว์ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่หากเชื้อราบนผิวหนังเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว หรือเข้าไปในร่างกายผ่านบาดแผลอาจทำให้เกิดการติดเชื้อหรือเป็นโรคต่าง ๆ ได้ โดยทั่วไป เชื้อราเติบโตได้ดีในบริเวณที่อบอุ่นหรือชื้น หากเป็นร่างกายมนุษย์ ก็หมายถึงผิวหนังบริเวณที่ชุ่มเหงื่ออยู่เสมอ หรืออับชื้น เช่น ข้อพับ ขาหนีบ ซอกเท้า (ในกรณีของผู้ที่สวมรองเท้าตลอดทั้งวัน หรือมีความอับชื้น) ทั้งนี้ เชื้อราแพร่กระจายได้หลายช่องทาง ทั้งจากคนสู่คน สัตว์สู่คน และการใช้สิ่งของรวมกันซึ่งอาจเป็นพาหะของเชื้อราได้อย่างหมอน ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เป็นต้น เชื้อราบนผิวหนัง เป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอะไรบ้าง เชื้อราบนผิวหนังก่อให้เกิดโรคผิวหนังหลายชนิด ตามแต่ชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ กลาก โรคกลาก เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจะมีผื่นวงแหวนขึ้นตามลำตัว สะโพก แขน หรือขา […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

หูดที่นิ้ว อาการ สาเหตุ การรักษา

หูดที่นิ้ว คืออาการหนึ่งของโรคหูด ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papillomavirus หรือ HPV) ทำให้มีตุ่มเนื้อที่นิ้วมือ อาจเป็นตุ่มก้อนเดี่ยวหรือกลุ่มก้อน ซึ่งสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การบำบัดเย็น การจี้ออกด้วยความร้อน [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ หูดที่นิ้ว คืออะไร หูดที่นิ้ว คือ ตุ่มเนื้อที่ขึ้นบริเวณนิ้วมือ เป็นอาการหนึ่งของโรคหูดซึ่งเป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งแพร่กระจายผ่านการสัมผัสระหว่างบุคคล รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ผ้าเช็ดตัว กรรไกรตัดเล็บ เสื้อผ้า เชื้อโรคจะทำให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวรวดเร็วผิดปกติ จนผิวหนังกลายเป็นตุ่มหรือติ่งเนื้อ ซึ่งมักจะแสดงอาการหลังจากติดเชื้อประมาณ 2-6 เดือน โรคหูดไม่สามารถรักษาให้หายได้ในทันที แต่ร่างกายจะต่อสู้กับเชื้อโรคจนหูดหายไปเองซึ่งอาจต้องใช้เวลานาน 2-3 ปี และอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หูดที่นิ้ว อันตรายไหม หูดที่นิ้วส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคเรื้อรังที่เป็นอันตราย และไม่ใช่ก้อนเนื้อที่กลายเป็นมะเร็งผิวหนังได้ แต่หากแกะ เกา หรือพยายามรักษาด้วยตัวเองโดยไม่ถูกวิธี ก็อาจทำให้ติดเชื้อหรือมีอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้ อาการ อาการของหูดที่นิ้ว หูดที่นิ้วโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้ เป็นตุ่มหรือก้อนเนื้อบริเวณนิ้วมือ ตุ่มมักมีสีเดียวกับผิวหนัง แต่บางครั้งอาจเป็นสีอื่น ๆ เช่น เทา ชมพู น้ำตาล ผิวตรงที่เป็นหูดหยาบและขรุขระ มีอาการคัน และอาจมีเลือดออกบริเวณก้อนหูด หูดที่นิ้วอาจทำให้ผิวหนังโดยรอบระคายเคืองและหนาขึ้น ทั้งนี้ หูดแบบอื่นที่อาจพบได้บริเวณนิ้วมือ ได้แก่ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

เชื้อราที่ขาหนีบ สาเหตุของโรคสังคัง อาการ การรักษา

เชื้อราที่ขาหนีบ หรือโรคสังคัง คือโรคเชื้อราบนผิวหนังชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นแล้วมักมีอาการคันร่วมกับมีผื่นแดงขึ้นบริเวณขาหนีบ ซึ่งรักษาได้ด้วยการใช้ผลิตภัณฑ์ต้านเชื้อราต่าง ๆ ในรูปของโลชั่น ขี้ผึ้ง หรือครีมทาบริเวณที่ติดเชื้อ อาการเชื้อราที่ขาหนีบ สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาความสะอาดขาหนีบให้แห้งอยู่เสมอ พยายามสวมใส่กางเกงและชั้นในที่สะอาด ไม่รัดหรือแนบเนื้อจนเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดความอับชื้น [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ เชื้อราที่ขาหนีบ คืออะไร เชื้อราที่ขาหนีบ  เกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) เป็นสาเหตุของโรคสังคัง ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อราบนผิวหนังชนิดหนึ่ง พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์เติบโตได้ดีในที่อบอุ่นและอับชื้น จึงมักพบเชื้อราที่ขาหนีบ หรือ โรคสังคังในนักกีฬา เพราะคนกลุ่มนี้สวมใส่เสื้อผ้าที่ชุ่มเหงื่ออยู่เสมอ เอื้อให้เชื้อราเติบโตได้ดี โดยเฉพาะบริเวณขาหนีบ ต้นขาด้านใน หรือทวารหนัก นอกจากนั้น เชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ ยังเป็นสาเหตุของโรคน้ำกัดเท้า เนื่องจากสภาพภายในรองเท้าที่อาจมีความอับชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อราเช่นกัน และ โรคน้ำกัดเท้าเองนับเป็นปัจจัยหนึ่งของการเกิดเชื้อราที่ขาหนีบ เพราะเชื้อราที่เท้า อาจแพร่กระจายไปยังขาหนีบหรือบริเวณอื่น ๆ ได้ ผ่านการสัมผัสบริเวณที่มีเชื้อโรคแล้วไปจับร่างกายส่วนอื่น ๆ หรือการใช้ผ้าเช็ดตัวทำความสะอาดบริเวณที่มีเชื้อราแล้วนำมาเช็ดบริเวณอื่น ๆ ของร่างกาย ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดเชื้อราที่ขาหนีบ ได้แก่ ใส่กางเกงหรือกางเกงชั้นในที่รัดแน่นเกินไป ระบายอากาศไม่ดี มีการสะสมของปริมาณเหงื่อจำนวนมากในบริเวณขาหนีบ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน อาจทำให้ข้อพับหรือขาหนีบอับชื้น หรือเสียดสีจนเกิดเป็นแผล มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ โดยอาจเกิดจากการที่มีโรคเรื้อรัง หรือเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

โรคผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อรา มีอะไรบ้าง และรักษาอย่างไร

โรคผิวหนัง ที่เกิดจากเชื้อรา อาจเกิดขึ้นเมื่อ เชื้อรา มีการเจริญเติบโตบนผิวหนังมากเกินไป ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เป็นตัวกระตุ้น เช่น สภาพอากาศร้อนชื้น ผิวมัน การสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อรา การใช้สิ่งของร่วมกัน นำไปสู่โรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคกลาก โรคเกลื้อน ซึ่งอาจสามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาต้านเชื้อรา และการดูแลผิวอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพผิวที่ดี [embed-health-tool-bmr] โรคผิวหนัง ที่เกิดจาก เชื้อรา มีอะไรบ้าง โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา มีดังต่อไปนี้ 1. โรคกลาก กลาก คือโรคผิวหนังเกิดจากเชื้อรากลุ่มเดอมาโทไฟท์ (Dermatophytes) ที่อาศัยอยู่บริเวณผิวหนังชั้นนอก สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน สัตว์สู่คน และจากสิ่งของสู่คน ผ่านการสัมผัสกับเชื้อ สามารถเกิดได้ทั่วทั้งร่างกายไม่ว่าจะเป็นลำตัว แขน ขา หนังศีรษะ โดยสังเกตจากอาการผื่นรูปวงแหวนมีสะเก็ดโดยรอบ อาการคัน ตุ่มขึ้น สำหรับกลากบนหนังศีรษะอาจทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม หนังศีรษะเป็นสะเก็ด หากอาการเหล่านี้แย่ลง หรือเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ ควรเข้ารับการรักษาในทันที วิธีรักษาโรคกลาก คุณหมออาจแนะนำให้ใช้ยาต้านเชื้อราในรูปแบบเจล ครีม โลชั่น แชมพู หรือยารับประทาน เช่น โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) ไมโคนาโซล […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ทำได้อย่างไร

กลาก เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเกิดจากการติดเชื้อรา ส่งผลทำให้ผิวหนังมีผื่นเป็นวงกลมจุดสีน้ำตาล สีแดง หรือสีชมพูบนผิวหนัง มีขุยบริเวณขอบผื่น และมีอาการคัน วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ อาจต้องเริ่มจากการดูแล รักษา และป้องกันปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคหรือทำให้กลากที่เป็นอยู่แย่ลง ด้วยการป้องกันไม่ให้ผิวติดเชื้อ ไม่สัมผัสกับดิน ต้นไม้ สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ การรักษาให้ตรงจุดด้วยตัวเองและการรักษาด้วยยาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงอาจช่วยให้กลากหายได้เร็วขึ้น [embed-health-tool-bmi] วิธีรักษากลาก ให้หายเร็วๆ ด้วยตัวเอง     การปรับเปลี่ยนวิธีดูแลผิวเมื่อเป็นโรคกลาก ดังต่อไปนี้ อาจช่วยลดอาการคันและบรรเทาอาการอักเสบของผิวหนังได้ รับประทานยาแก้แพ้เพื่อช่วยบรรเทาอาการคัน ได้แก่ ยารักษาโรคภูมิแพ้ เซทิริซีน (Cetirizine) เฟกโซเฟนาดีน (Fexofenadine) ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine) ทาครีม โลชั่น หรือขี้ผึ้ง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อกักเก็บความชุ่มชื้นให้ผิว ป้องกันผิวแห้ง หลีกเลี่ยงการเกา เพื่อป้องกันผิวระคายเคือง ถลอก หรือมีรอยขีดข่วน หากคันหรือระคายผิว อาจใช้มือลูบบริเวณที่คันแทน และตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อลดโอกาสที่ผิวหนังจะเป็นแผลหากเผลอเกา สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล เลือกที่เนื้อผ้านุ่ม ระบายอากาศได้ดี ไม่คับแน่นจนเสียดสีกับผิว หากเหงื่อออกเยอะ ไม่ควรปล่อยให้หมักหมมไว้นาน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

กลากเกลื้อนเกิดจากอะไร

กลากและเกลื้อน คือ โรคผิวหนัง 2 ชนิดที่อาจพบได้บ่อย อาจสังเกตได้จากผิวหนังมีตุ่ม หรือรอยผื่นแดงเป็นดวงที่มีขอบเป็นสะเก็ด มีอาการคัน สามารถเกิดขึ้นบนผิวหนังได้ทั่วทั้งร่างกาย เช่น แขน หลัง ลำคอ อย่างไรก็ตาม การทราบว่า กลากเกลื้อนเกิดจากอะไร หรือมีปัจจัยกระตุ้นอะไรบ้าง อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลากหรือโรคเกลื้อน และช่วยให้รักษาได้อย่างถูกวิธี [embed-health-tool-bmr] กลากเกลื้อนเกิดจากอะไร กลากและเกลื้อน คือ โรคผิวหนังติดเชื้อ 2 โรค ที่เกิดจากการติดเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวเซลล์ผิวที่ตายแล้ว โดยโรคกลากเกิดจากการติดเชื้อเดอร์มาโทไฟท์ (Dermatophytes) ซึ่งเป็นเชื้อราอยู่บนผิวหนังส่วนที่มีเคราติน ส่วนโรคเกลื้อนเกิดจากการติดเชื้อมาลาสซีเซีย (Malassezia) ซึ่งเป็นเชื้อราที่อาศัยอยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว แต่อาจถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างทำให้เจริญเติบโตมากผิดปกติจนนำไปสู่การติดเชื้อ ปัจจัยดังต่อไปนี้ อาจกระตุ้นให้เกิดโรคกลากหรือโรคเกลื้อนได้ สภาพอากาศที่ร้อนชื้น ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ การสวมเสื้อผ้าที่รัดแน่น ระบายความร้อนและเหงื่อยาก การใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ติดเชื้อรา และเชื้อเจริญเติบโตแพร่กระจายจนส่งผลให้เกิดจุดเล็ก ๆ หรือผิวหนังเปลี่ยนสี พร้อมมีอาการคันระคายเคือง กลากกับเกลื้อน แตกต่างกันอย่างไร ถึงแม้ว่ากลากกับเกลื้อน จะมีสาเหตุ ปัจจัย และอาการแรกเริ่มที่คล้ายกัน แต่หากสังเกตอย่างละเอียดจะพบว่าอาจมีอาการบางอย่างที่แตกต่างกัน กลากมักเป็นผื่นกลมที่มีขอบนูนเป็นสะเก็ดสีแดง ชมพู น้ำตาล หรือเทา ซึ่งอาจกระจายตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณแขน […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ผื่นกุหลาบ อาการ สาเหตุ และการรักษา

ผื่นกุหลาบ เป็นโรคทางผิวหนังที่ไม่รุนแรงนัก ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผื่นที่เกิดขึ้นมักปรากฏให้เห็นหลังจากติดเชื้อประมาณ 6-12 สัปดาห์ โดยจะเริ่มจากมีจุดวงกลมหรือวงรีขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณหน้าอก หน้าท้อง หลัง ต้นแขน ต้นขา และคอ ก่อนจะมีผื่นกลมเล็ก ๆ ขึ้นกระจายที่ลำตัว โดยทั่วไปอาจเกิดขึ้นระหว่างช่วงอายุ 10-35 ปี โดยปกติอาจหายไปเองภายใน 1-3 เดือน  [embed-health-tool-bmr] ผื่นกุหลาบ คืออะไร ผื่นกุหลาบ เป็นโรคผิวหนังที่ไม่ค่อยรุนแรง ซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่งผลให้เกิดผื่นขึ้นบริเวณหน้าอก หลัง ต้นแขน ต้นขา และคอ โดยผื่นจะปรากฏขึ้นเมื่อระยะเวลาผ่านไป 6-12 สัปดาห์ และอาจหายไปเองภายใน 1-3 เดือน โดยไม่ต้องเข้ารับการรักษา ทั้งยังไม่สามารถแพร่กระจายไปยังผู้อื่นโดยการสัมผัส ผื่นกุหลาบมักส่งผลกระทบต่อเด็ก ผู้ใหญ่ และวัยรุ่นในช่วงอายุ 10-35 ปี แต่สำหรับผู้ที่เคยเป็นโรคนี้แล้วมักจะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก  สำหรับสตรีที่กำลังอยู่ในช่วงตั้งครรภ์แล้วเป็นผื่นกุหลาบ อาจประสบปัญหาตามบริเวณหน้าอก และขาหนีบเป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งอาจลุกลามไปยังภายในบริเวณช่องปาก จนเกิดอาการคันอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ยังอาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดก่อนกำหนด หรือเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตรได้มากขึ้น คุณแม่ควรตรวจสุขภาพร่างกายของตนเองอย่างสม่ำเสมอ และรีบเข้าขอคำปรึกษาจากคุณหมอทันที อาการของผื่นกุหลาบ บางคนอาจรู้สึกไม่สบาย เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

งูสวัดกี่วันหาย อาการ สาเหตุ และการรักษา

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าวาริเซลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หลังหายจากอีสุกอีใส เชื้อจะซ่อนอยู่ในปมประสาท และหากภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เชื้อจะแบ่งตัวและเพิ่มจำนวน ส่งผลให้เป็นโรคงูสวัด อาการคือ ปวดและมีผื่นหรือตุ่มใสขึ้นตามแนวเส้นประสาท อาจเกิดขึ้นที่ใบหน้า แขน ขา หรือชายโครง การรักษาโรคงูสวัดอาจรักษาตามอาการ ให้ยาต้านไวรัส เป็นต้น แต่เป็นโรค งูสวัดกี่วันหาย อาจขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของโรค สุขภาพร่างกาย และการดูแลตัวเองของผู้ป่วยด้วย [embed-health-tool-bmi] โรคงูสวัด คืออะไร โรคงูสวัด คือ โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลาซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus หรือ VZV) ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส แม้จะรักษาโรคอีสุกอีใสหายแล้ว แต่เชื้อไวรัสจะยังซ่อนอยู่ในปมประสาท เมื่ออายุมากขึ้นหรือระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจทำให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวและเพิ่มจำนวน จนส่งผลให้เป็นโรคงูสวัดได้  อาการของงูสวัด อาการของโรคงูสวัดอาจมีดังนี้  ปวดแสบปวดร้อนบริเวณผิวหนังตามแนวเส้นประสาท มีตุ่มน้ำใส หรือผื่นแดงคันตามแนวเส้นประสาท ซึ่งมักปรากฏหลังมีอาการปวดประมาณ 2-3 วัน ปวดเมื่อยร่างกาย  ผิวบริเวณตุ่มหรือผื่นไวต่อการสัมผัส เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ  เป็นไข้  ท้องเสีย  นอกจากนี้ โรคงูสวัดยังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น  ปัญหาการมองเห็นหรือสูญเสียการมองเห็น หากมีผื่นขึ้นที่ดวงตาหรือรอบดวงตา […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ไฟลามทุ่ง อาการ สาเหตุและการรักษา

ไฟลามทุ่ง (Erysipelas) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังชั้นหนังแท้ มักเกิดขึ้นบริเวณขาและเท้า ซึ่งอาจสามารถลุกลามได้อย่างรวดเร็ว อาจทำให้มีไข้ หนาวสั่น แสบร้อน ปวด บวมและแดงที่ผิวหนัง ในบางกรณีอาจลุกลามกลายเป็นโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ทำให้เนื้อตาย การรักษาที่เหมาะสมอาจทำได้ด้วยการช่วยประคับประคองอาการไม่ให้ลุกลาม [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ไฟลามทุ่ง คืออะไร ไฟลามทุ่ง คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (group A streptococcus) บริเวณชั้นผิวหนังแท้และชั้นใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยมักมีอาการปวด บวม แดง และแสบร้อนที่ผิวหนังบริเวณเท้าและขา อาจมีอาการรุนแรงกลายเป็นการติดเชื้อลุกลามไปที่กล้ามเนื้อ หรือเรียกว่า โรคแบคทีเรียกินเนื้อ ทำให้เนื้อเริ่มตาย มีลักษณะเป็นผื่นสีดำคล้ำ ตุ่มน้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้หากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่กระแสเลือด อาการ อาการไฟลามทุ่ง เมื่อเป็นโรคไฟลามทุ่ง ผู้ป่วยมักมีไข้ หนาวสั่น ซึ่งเป็นสัญญาณเบื้องต้นก่อนเกิดอาการอื่น ๆ ตามมา ดังนี้ ผิวหนังอักเสบ บวม แดง  และผิวลื่น ผิวเป็นริ้วสีแดง อาจเปลี่ยนเป็นสีม่วง เขียว หรือดำในกรณีรุนแรง แสบร้อนและเจ็บปวด ผิวบริเวณที่เป็นโรคไฟลามทุ่งแข็งขึ้น อาจเกิดแผลพุพองในกรณีที่รุนแรง อาการของไฟลามทุ่งอาจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและอาจลุกลามภายในไม่กี่ชั่วโมง จึงควรพบคุณหมอโดยด่วนเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุไฟลามทุ่ง ไฟลามทุ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบนชั้นผิวหนังแท้และชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อเสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ นอกจากนี้ อาจเกิดขึ้นได้จากสาเหตุอื่น ๆ  […]


โรคผิวหนังติดเชื้อ

ขี้กลาก อาการ สาเหตุ การรักษา

ขี้กลาก เป็นโรคผิวหนังทั่วไปที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยอาการที่เกิดขึ้น ได้แก่ เป็นผื่นวงกลมสีแดง รู้สึกคัน ผิวหนังลอกเป็นหย่อม ๆ บริเวณขอบผื่นมีลักษณะเป็นขุย ๆ พบได้ทั้งบริเวณผิวหนัง ผม เล็บ ขาหนีบ อาจติดต่อได้จากการสัมผัส ขี้กลากสามารถเป็นได้ทั้งในคนและสัตว์ ขี้กลากที่ไม่รุนแรงอาจรักษาได้ด้วยยาทา แต่หากเกิดการติดเชื้อรุนแรงอาจต้องรับประทานยาต้านเชื้อรา [embed-health-tool-bmi] ขี้กลาก คืออะไร  ขี้กลาก คือ โรคผิวหนังทั่วไปที่เกิดจากการติดเชื้อรา โดยจะมีผื่นขึ้นเป็นวงกลมสีแดงและมีตุ่มใสอยู่ตรงกลาง รวมถึงอาจมีอาการคัน ขี้กลากสามารถเกิดขึ้นได้ตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย เช่น ใบหน้า หนังศีรษะ แขน ขาหนีบ เท้า โดยโรคขี้กลากนั้นแตกต่างจากโรคเกลื้อนที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าเหมือนกัน เนื่องจากขี้กลากเป็นโรคติดต่อ แต่โรคเกลื้อนไม่ได้เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการสัมผัสผิวหนังของผู้ที่ติดเชื้อ   ขี้กลากแสดงอาการอย่างไรบ้าง ขี้กลากอาจขึ้นตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย โดยแสดงอาการระหว่าง 4-14 วันหลังจากสัมผัสกับเชื้อราที่ก่อให้เกิดขี้กลาก ซึ่งขี้กลากที่เกิดขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอาจมีอาการแตกต่างกันไป เช่น ขี้กลากบริเวณใบหน้า เป็นผื่น รอยแดง บวมและเป็นสะเก็ด มีขอบไม่ชัด ขี้กลากบริเวณหนังศีรษะ มักมีลักษณะเป็นสะเก็ด คัน แดง เจ็บเมื่อสัมผัส เส้นผมร่วงเป็นหย่อม ๆ หนังศีรษะมักแห้งเป็นขุยขาว ๆ คล้ายรังแค […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม