สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

"หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกไปจากอาหารแล้ว ก็จะทิ้งของเสียไว้ในลำไส้และกระแสเลือด หน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะ คือการกรองของเสียที่มีอยู่ในเลือด และขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการรักษาสุขภาพและการป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็น ไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ได้ที่นี่"

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร สัญญาณของโรคอะไร

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร อาการปัสสาวะแล้วแสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเพศหญิง แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายที่มีอายุมากขึ้นเช่นกัน ลักษณะอาการจะแสบหรือเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ อาจรู้สึกฉี่แล้วแสบตอนก่อนหรือหลังปัสสาวะ บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกคันร่วมด้วย อาการฉี่แล้วแสบอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากสังเกตพบอาการฉี่แล้วแสบควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที  [embed-health-tool-bmi] ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร 1. สาเหตุจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงานจากการกลั้นปัสสาวะ พบมากในเพศหญิงวัย 30-40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้ว อาจเกิดการอักเสบในช่องคลอดได้บ่อย เกิดตกขาวมากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียจะเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ซึ่งแพทย์จะตรวจปัสสาวะ พบการติดเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล เลือด หรือเม็ดเลือดขาว  อาการสำคัญของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้ ปวดฉี่บ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ลุกมาฉี่บ่อยมากในเวลากลางคืน ฉี่บ่อย แต่ฉี่ออกมาครั้งละน้อย ๆ  ฉี่ได้ไม่สุด หรือเมื่อฉี่สุดแล้ว อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ฉี่แล้วแสบขัด  เจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะหรือบริเวณท้องน้อย  บางรายมีเลือดปนกับปัสสาวะ วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวัน ขับถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

โรคไต

ไตวาย (Kidney Injury)

ไตวาย หรือ ไตเสียหาย (Kidney Injury) เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ภาวะไตวายสามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง คำจำกัดความ ไตวาย คืออะไร ไตวาย (Kidney Injury)  ภาวะไตวาย หรือ ไตเสียหาย เกิดขึ้นเมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสียจากเลือด ไตเป็นคู่อวัยวะอยู่บริเวณด้านหลังส่วนล่าง โดยจะอยู่ด้านข้างของกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่กรองเลือดและกำจัดสารพิษจากร่างกาย โดยส่งสารพิษไปยังกระเพาะปัสสาวะ แล้วร่างกายจึงกำจัดสารพิษออกทางปัสสาวะ ไตวาย พบบ่อยเพียงใด ภาวะไตวาย สามารถส่งผลต่อคนทุกวัย แต่สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ไตวาย อาการทั่วไปของ ภาวะไตวาย ได้แก่ ปัสสาวะน้อยเกินไป อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า จากภาวะของเหลวคั่ง เนื่องจากไตไม่สามารถกำจัดน้ำที่เป็นของเสียได้ หายใจลำบากโดยไม่ทราบสาเหตุ เพลียหรือเหนื่อย คลื่นไส้เรื้อรัง มึนงง ปวดหรือแน่นหน้าอก มีอาการชักหรือหมดสติในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของไตวาย ผู้ที่มีความเสี่ยงเกิด ภาวะไตวาย มากที่สุดมักมีสาเหตหนึ่งประการหรือมากกว่า ดังต่อไปนี้ – ขาดเลือดหล่อเลี้ยงไต การขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไตอย่างกะทันหันทำให้เกิดไตวายได้ โดยโรคและภาวะบางประการที่ทำให้ขาดกระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงไต ได้แก่ หัวใจวาย โรคหัวใจ ตับแข็งหรือตับวาย ภาวะขาดน้ำ แผลไฟไหม้ขั้นรุนแรง อาการแพ้ การติดเชื้อรุนแรง เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ ความดันโลหิตหรือยาต้านการอักเสบยังสามารถขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือดได้อีกด้วย – ปัญหาเกี่ยวกับการขับปัสสาวะ เมื่อร่างกายไม่สามารถขับปัสสาวะออกได้ สารพิษจะเกิดการสะสมและทำให้ไตทำงานหนัก ภาวะบางประการสามารถส่งผลต่อระบบปัสสาวะและอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ซึ่งได้แก่ มะเร็ง นิ่วในไต ต่อมลูกหมากโต ลิ่มเลือดในทางเดินปัสสาวะ เส้นประสาทที่ควบคุมกระเพาะปัสสาวะเสียหาย   – สาเหตุอื่น ๆ โรคและภาวะบางประการทำให้เกิด ภาวะไตวาย ได้แก่ ลิ่มเลือดในไตหรือบริเวณโดยรอบ การติดเชื้อ การได้รับสารพิษจากโลหะหนักในปริมาณมาก ยาเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลอดเลือดอักเสบ โรคลูปุส ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านตนเองชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะร่างกายจำนวนมาก ไตอักเสบ […]


โรคไต

ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic kidney disease)

ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม คืออาการที่ถุงเกิดขึ้นอย่างผิดปกติและมีของเหลวอยู่ภายใน ทำให้การทำงานของไตลดลงเมื่อเวลาผ่านไป เป็นถุงน้ำที่เกิดขึ้นเนื่องจากพันธุกรรม ต่างจากถุงน้ำในไตที่เกิดจากโรคไตหรือการฟอกไต  (Acquired Polycystic kidney disease) [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม คืออะไร ถุงน้ำในไตสาเหตุพันธุกรรม (Polycystic kidney disease) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมชนิดหนึ่งที่ทำให้ถุงน้ำจำนวนมากก่อตัวขึ้นในไต ถุงน้ำในไตคือถุงที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติและมีของเหลวอยู่ภายใน ซึ่งสามารถทำให้ไตมีขนาดโตขึ้นได้อย่างมาก และอาจไปแทนที่โครงสร้างปกติของไต ก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรัง และทำให้การทำงานของไตลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ถุงน้ำในไตสองมีประเภทหลักๆ ได้แก่ โรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมเด่น (autosomal dominant polycystic kidney disease) และโรคถุงน้ำในไตชนิดพันธุกรรมด้อย (autosomal recessive polycystic kidney disease) ถุงน้ำในไตนั้นแตกต่างจากถุงน้ำ “ธรรมดา” ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งมักก่อตัวขึ้นในไตเมื่ออายุมากขึ้น ถุงน้ำในไตมีจำนวนมากกว่าและก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ถุงน้ำในตับ และปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม พบบ่อยเพียงใด ค่าประมาณของความชุกของโรคถุงน้ำในไตมีค่าระหว่างหนึ่งใน 400 ถึงหนึ่งใน 1,000 คน ถุงน้ำในไตพบได้ในคนทุกเชื้อชาติทั่วโลก และพบในผู้หญิงในอัตราเท่าๆ กันกับที่พบในผู้ชาย อย่างไรก็ตาม พบว่าผู้ชายมีโอกาสมากกว่าที่จะเกิดภาวะไตวายจากถุงน้ำในไต ส่วนผู้หญิงนั้นพบว่า มีโอกาสเกิดภาวะไตวายสูงขึ้น หากมีความดันโลหิตสูงและเคยตั้งครรภ์มาแล้วมากกว่าสามครั้ง อย่างไรก็ดี การเกิดถุงน้ำในไตสามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของ ถุงน้ำในไตจากสาเหตุพันธุกรรม ผู้คนจำนวนมากสามารถมีชีวิตยาวนานแม้จะเป็นโรคถุงน้ำในไต โดยไม่มีอาการที่สัมพันธ์กับโรค […]


โรคไต

ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ)

ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) หรือกรวยไตอักเสบ เป็นภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อประเภทหนึ่ง โดยเริ่มเกิดขึ้นบริเวณท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แล้วเคลื่อนที่ไปยังท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง ไตติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร ทั้งยังอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ คำจำกัดความไตติดเชื้อ คืออะไร ไตติดเชื้อ (การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ) หรืออีกอย่างหนึ่งว่า กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) เป็นภาวะทางเดินปัสสาวะติดเชื้อประเภทหนึ่ง โดยเริ่มเกิดขึ้นบริเวณท่อปัสสาวะหรือกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แล้วเคลื่อนที่ไปยังท่อไตและไตข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง ไตติดเชื้อจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลทำให้ไตเสียหายอย่างถาวร ทั้งยังอาจเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ ไตติดเชื้อพบบ่อยเพียงใด ไตติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่อาจเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้นกว่าของผู้ชาย โดยท่อปัสสาวะของผู้หญิงนั้นอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนักจึงอาจทำให้แบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายและเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะได้ง่ายขึ้น อาการอาการไตติดเชื้อ ภาวะไตติดเชื้ออาจเริ่มต้นด้วยการติดเชื้อทั่วไป แต่อาการรุนแรงขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก เมื่อแบคทีเรียไปถึงทางเดินปัสสาวะส่วนบน โดยสัญญาณบ่งชี้และอาการของภาวะไตติดเชื้อ ได้แก่ มีไข้ คลื่นไส้และอาเจียน มีอาการปวดบริเวณหลัง สีข้าง ขาหนีบ หรือช่องท้อง ปัสสาวะบ่อย และต้องเบ่งปัสสาวะอย่างแรงและนาน รู้สึกแสบหรือปวดเวลาปัสสาวะ มีหนองหรือเลือดในปัสสาวะ ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากเกิดอาการต่าง ๆ เหล่านี้ ควรไปพบคุณหมอ กำลังได้รับการรักษาอาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะใด ๆ แต่อาการไม่ดีขึ้น มีอาการของไตติดเชื้อหนึ่งประการหรือมากกว่า สาเหตุสาเหตุของไตติดเชื้อ ภาวะไตติดเชื้อมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะผ่านทางท่อไตที่ทำหน้าที่ลำเลียงปัสสาวะจากร่างกาย แล้วเริ่มเพิ่มจำนวนขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่พบได้มากที่สุดมักพบในอุจจาระ ได้แก่ เชื้ออีโคไล (E. […]


โรคไต

ถุงน้ำในไต (Kidney cyst)

ถุงน้ำในไต หรือ ซีสต์ที่ไต เป็นก้อนในไตที่พบบ่อยที่สุด มีรูปร่างวงรีหรือวงกลม สามารถพบได้แบบเป็นถุงน้ำเดี่ยว หรือถุงน้ำหลายใบ มีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตร ไปจนถึงมากกว่า 10 เซนติเมตร [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ถุงน้ำในไตคืออะไร ถุงน้ำในไต (Kidney cyst) หรือ ซีสต์ที่ไต สามารถเป็นรูปวงรีหรือวงกลม โดยมีขนาดน้อยกว่า 1 เซนติเมตรไปจนถึงมากกว่า 10 เซนติเมตร ถุงน้ำในไตพบได้ทั่วไปและสามารถเป็นถุงเดี่ยว หรือหลายถุงและทั้งสองด้าน ถุงน้ำในไตพบได้บ่อยเพียงใด ถุงน้ำในไตแบบธรรมดาเป็นก้อนในไตที่พบได้มากที่สุด โดยพบได้ประมาณร้อยละ 65-70 ของผู้ป่วย อย่างไรก็ดี ถุงน้ำในไตทั้งสองด้าน (Bilateral cysts) พบได้น้อยกว่ามาก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 50 ปี แต่พบได้มากกว่าในผู้ป่วยที่อายุมากกว่านี้ โรคนี้สามารถส่งผลต่อผู้ป่วยได้ในทุกช่วงอายุ สามารถป้องกันได้ โดยลดปัจจัยความเสี่ยงต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของถุงน้ำในไต ถุงน้ำในไตมักไม่มีอาการหรือสิ่งบ่งชี้ อาการถุงน้ำในไตอาจไม่สามารถเห็นได้ชัดเจน หากถุงน้ำในไตไม่อุดกั้น และไม่ส่งผลต่อการทำงานของไต อย่างไรก็ดี ในผู้ป่วยอายุน้อย ถุงน้ำในไตสามารถลดการทำงานของไตให้ต่ำกว่าปกติได้ อาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยถุงน้ำในไตคืออาการที่สัมพันธ์กับอาการถุงน้ำแตก (ภาวะเลือดออก) ปัสสาวะเป็นเลือด (hematuria) อาการปวด มีก้อนในท้องหรือติดเชื้อ และความดันโลหิตสูง ถุงน้ำถุงเดียวแตกทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดและ/หรือมีอาการปวดเรื้อรัง ถุงน้ำในไตติดเชื้อ ทำให้เกิดอาการติดเชื้อ การประคบโดยรอบถุงน้ำในไตอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ […]


การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย โรคที่หนุ่มๆ ก็ควรต้องระวังไม่แพ้สาวๆ

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infections: UTI) เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาต่างๆ ในกิจกรรมประจำวัน ถึงแม้เราจะคุ้นเคยกับอาการโรคนี้ในผู้หญิง แต่ความจริงแล้ว ผู้ชายก็สามารถเป็นโรคนี้ได้บ่อยไม่แพ้กัน มาทำความรู้จักกับ โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้ชาย ว่ามีอาการอย่างไร มีความเสี่ยงอะไรบ้าง รวมทั้งมีการป้องกัน และการรักษาอย่างไรบ้าง โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะคืออะไร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเป็นภาวะที่แบคทีเรียแพร่กระจายในทางเดินปัสสาวะ ถึงแม้แบคทีเรียส่วนใหญ่ ที่แพร่กระจายในทางเดินปัสสาวะของคุณ มักจะถูกขับออกในระหว่างที่คุณปัสสาวะ แต่ความจริงแล้ว แบคทีเรียบางส่วนก็จะยังคงหลงเหลืออยู่ และทำให้คุณเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ ความเสี่ยงของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ หากคุณใช้ยาปฏิชีวนะมาเป็นเวลานาน ก็มีโอกาสมากที่แบคทีเรียในร่างกายของคุณ จะเกิดการดื้อยา ผลก็คือ แบคทีเรียจะพัฒนาขึ้นมาจนยากที่จะกำจัดไปให้ได้หมอ พูดอีกอย่างก็คือ เป็นไปได้ที่โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะของคุณ จะสามารถเกิดซ้ำได้อีก หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม การติดเชื้อสามารถกลายเป็นเรื่องร้ายแรงได้เป็นอย่างมาก แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายไปยังไต แล้วก่อให้เกิดกรวยไตอักเสบ (pyelonephritis) ในผู้ป่วยที่มีอาการร้ายแรงที่สุด แบคทีเรียจะแพร่กระจายเข้าไปในกระแสเลือด และเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ การป้องกันและการรักษา การรักษาสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย จะมีความแตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ อย่างไรก็ดี วิธีทั่วไปในการรักษาทางเดินปัสสาวะติดเชื้อก็คือ การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีเป้าหมายในการกำจัดแบคทีเรียทั้งหมด หรือป้องกันการติดเชื้อจากแบคทีเรีย เพื่อเป็นการลดระดับความรุนแรงของอาการ หรือบรรเทาอาการเจ็บ หรืออาการไม่สบายในขณะปัสสาวะ (หากคุณมีอาการใดๆ ก็ตาม) มีหลายขั้นตอนที่คุณควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ อย่าให้ร่างกายขาดน้ำ ให้มั่นใจว่า คุณดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน (พึงระลึกไว้ว่าน้ำเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของคุณ) นอกจากนี้ ให้งดดื่มสุรา แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลม ให้ใช้ตัวช่วยที่หาได้ทั่วไป ปฏิบัติตามแนวทางการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาอื่นๆ […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

ปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างและเมื่อใดที่น่าเป็นห่วง

ปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างและเมื่อใดที่น่าเป็นห่วง ปัสสาวะบ่อย แค่ดื่มน้ำเข้าไป ไม่ถึง 30 นาทีก็ต้องเข้าห้องน้ำอีกแล้ว ถ้าคุณปัสสาวะบ่อยจนรู้สึกกังวล หรือรบกวนคุณภาพชีวิต ควรปรึกษาแพทย์ เนื่องจากอาการปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์บางอย่าง ไปจนถึงการมีปัญหาสุขภาพที่ต้องได้รับการรักษา ปัสสาวะบ่อยอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ 1.ดื่มน้ำมากเกินไป นอกจากการดื่มน้ำเปล่าแล้ว ร่างกายยังได้รับน้ำจากการกินอาหาร 20-30% และจากเครื่องดื่มประเภทอื่น ซึ่งการได้รับน้ำมากเกินไป (poly dipsia) เช่น ดื่มน้ำ 4-5 ลิตรต่อวัน สามารถทำให้คุณปัสสาวะบ่อยขึ้น จากการที่ร่างกายต้องขับน้ำออกทางไตในปริมาณที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้ปริมาณเกลือในร่างกายลดลง จนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงควรดื่มน้ำปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป โดยให้สังเกตสีปัสสาวะเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีใส และไม่ควรดื่มน้ำมากจนเกินไปจนต้องเข้าห้องน้ำทั้งวัน 2.ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการปัสสาวะบ่อย เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำให้กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดการกระตุ้นให้มีการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น  ส่งผลให้ไม่สามารถเก็บปัสสาวะไว้ได้นาน ซึ่งปัสสาวะอาจมีสีขุ่น มีเลือดปน หรือมีกลิ่นผิดปกติ นอกจากนี้คุณอาจมีอาการไข้ คลื่นไส้ และปวดท้องด้านล่างหรือด้านข้าง โดยถ้าไปพบคุณหมออาจได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาการติดเชื้อ 3.โรคเบาหวาน ทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 สามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งไตจะทำหน้าที่กรองออก แต่ไตอาจไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา ส่งผลให้มีน้ำตาลปนในปัสสาวะ ซึ่งการปัสสาวะบ่อยเป็นสัญญาณที่พบบ่อยของโรคเบาหวาน คุณควรปรึกษาคุณหมอถ้าเริ่มปัสสาวะบ่อยผิดปกติ 4.โรคเบาจืด โรคเบาจืด เป็นภาวะที่แตกต่างจากโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ […]


ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะแบบอื่น

อาการที่บอกได้ว่าคุณกำลังมี โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอันได้แก่ กระเพาะปัสสาวะลงมาจนถึงท่อปัสสาวะนั้น การเกิด โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยมาก อย่างเช่น โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคต่อมลูกหมากโต โรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น โรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง มีอาการอย่างไร  โรคของอวัยวะของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างนั้น มักจะเกิดอาการที่เรียกว่า ลุทส์ (LUTS: Lower Urinary Tract Symptoms) ซึ่งประกอบด้วยอาการดังต่อไปนี้ คือ ปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่า 5 ครั้ง ทั้งที่ดื่มน้ำในปริมาณปกติ ปัสสาวะกลางคืน หมายถึงหลับสนิทไปแล้ว ลุกขึ้นมาปัสสาวะบ่อยกว่า 2 ครั้ง หากเกิน 5 ครั้ง ถือว่าผิดปกติมาก รู้สึกกลั้นปัสสาวะได้ยาก หรือกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หากปัสสาวะขึ้นมา อาจมีบางครั้งที่ปัสสาวะราด โดยไม่สามารถกลั้นได้ มีความรู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยกว่า 5 ครั้ง หรือปวดปัสสาวะตลอดเวลา หากรู้สึกปวดปัสสาวะต้องไปทันที แต่ก็ไม่มีปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยมาก ปัสสาวะต้องรอ ไม่สามารถปัสสาวะได้เลย ทั้งที่อยู่ที่โถแล้ว ปัสสาวะแต่ละครั้งต้องเบ่งอย่างมาก หรือบางคนต้องกดหน้าท้องแทบทุกครั้ง เพื่อให้ปัสสาวะออกมา ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือพุ่งไม่แรงตามปกติ ปัสสาวะไม่ไหลต่อเนื่อง ปัสสาวะเป็นขยัก มีปัสสาวะหยดลงมากกว่าปกติ เมื่อปัสสาวะสุดแล้ว รู้สึกปัสสาวะคงค้าง ทั้งที่ปัสสาวะสุดแล้ว การรักษาโรคของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง อาการทั้งหมดนี้ อาจเกิดจากพฤติกรรมการดื่มน้ำ พฤติกรรมการกลั้นปัสสาวะ ซึ่งอาการเหล่านี้ก็สามารถแก้ไขได้ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่หากอาการดังกล่าว ไม่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดื่มน้ำ […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

ท่อไตอุดตัน (Ureteral Obstruction)

ท่อไตอุดตัน เกิดขึ้นเมื่อท่อไตนั้นอุดตัน การอุดตันนั้นอาจจะเป็นตั้งแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดจากรอยแผลเป็นเพราะนิ่วในไต หรือการผ่าตัดครั้งก่อน คำจำกัดความ ท่อไตอุดตันคืออะไร ระบบการปัสสาวะนั้นประกอบด้วยไต ท่อสองท่อที่นำพาปัสสาวะจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ที่เรียกว่าท่อไต และกระเพาะปัสสาวะ ท่อไตอุดตัน (Ureteral Obstruction) เกิดขึ้นเมื่อท่อไตนั้นอุดตัน การอุดตันนั้นอาจจะเป็นตั้งแต่กำเนิด หรืออาจจะเกิดจากรอยแผลเป็นเพราะนิ่วในไตหรือการผ่าตัดครั้งก่อน ในกรณีที่ไม่บ่อยนักรอยแผลเป็นนั้นอาจเกิดจากโรคมะเร็งหรือการรักษาโรคมะเร็ง เช่น การทำเคมีบำบัด (radiation) นิ่วในไต การผ่าตัดครั้งก่อน การผ่าตัดครั้งก่อน หรือสภาวะบางอย่างที่เป็นตั้งแต่กำเนิด เมื่อท่อไตอุดตัน ปัสสาวะก็จะไม่สามารถระบายออกจากไตไปสู่กระเพาะปัสสาวะได้อย่างถูกต้อง หรืออาจจะไหลย้อนกลับเข้าสู่ไตทำให้เกิดการติดเชื้อและความเสียหายในระยะยาว ท่อไตอุดตันพบได้บ่อยได้แค่ไหน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์ อาการ อาการของท่อไตอุดตันเป็นอย่างไร ท่อไตอุดตันนั้นไม่มีทั้งสัญญาณและอาการ สัญญาณกับอาการจะขึ้นอยู่กับว่าการอุดตันนั้นเกิดขึ้นที่ใด อุดตันเป็นบางส่วนหรืออุดตันทั้งหมด เกิดขึ้นเร็วแค่ไหน และส่งผลกระทบกับไตหนึ่งหรือสองข้าง สัญญาณและอาการทั่วไปมีดังนี้ อาการปวด ปริมาณของการผลิตปัสสาวะลดลง ปัสสาวะติดขัด มีเลือดในปัสสาวะ มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะซ้ำๆ ความดันโลหิตสูง อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อไร ถ้าคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษากับคุณหมอ เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับหมอเพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เข้ารับการรักษาในทันทีหากคุณมีอาการดังนี้ มีอาการปวดหนักมากจนไม่สามารถนั่งนิ่งๆ หรือหาท่าที่สบายได้ มีอาการปวดร่วมกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน มีอาการปวดร่วมกับเป็นไข้และหนาวสั่น มีเลือดในปัสสาวะ ปัสสาวะติดขัด สาเหตุ สาเหตุของท่อไตอุดตัน ท่อไตอุดตันแต่ละประเภท มีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน สาเหตุบางประการอาจเป็นตั้งแต่กำเนิด ท่อไตอุดตันมีสาเหตุมาจาก ท่อไตเกิน (Duplication of the ureter) อาการนี้เป็นอาการปกติที่มีตั้งแต่กำเนิด ทำให้มีท่อไตสองท่อเกิดขึ้นที่ไตเดียวกัน ท่อไตที่สองอาจจะเป็นปกติ หรือพัฒนาแค่บางส่วน หากหลอดไตใดทำงานได้ไม่ดี ปัสสาวะอาจจะไหลกลับเข้าสู่ไต และทำให้เกิดความเสียหายได้ ความผิดปกติบริเวณที่ท่อไตเชื่อมต่อกับกระเพาะปัสสาวะ หรือกระเพาะอาหาร ทำให้อุดกั้นการไหลเวียนของปัสสาวะ การเชื่อมต่อที่ผิดปกติระหว่างท่อไตและไต หรือการอุดตันที่รอยต่อของที่อุดท่อไตกับกรวยไต (ureteropelvic junction) อาจทำให้ไตบวม […]


การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)

คำจำกัดความการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ คืออะไร การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection หรือ UTI) เกิดขึ้นเมื่อมีเชื้อแบคทีเรียในอวัยวะใดๆ ของทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะหมายรวมถึงอวัยวะในการสร้าง เก็บรักษา และขับถ่ายปัสสาวะ ซึ่งได้แก่ ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะมักมีการติดเชื้อมากที่สุด การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะพบได้บ่อยแค่ไหน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่ผู้หญิงมีอัตราการเกิดโรคนี้สูงกว่าผู้ชายเนื่องจากมีท่อปัสสาวะที่สั้นกว่า จึงติดเชื้อได้ง่ายกว่า อาการอาการของการ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาการทั่วไป ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย มีอาการเจ็บเวลาปัสสาวะ ไม่สามารถควบคุมปัสสาวะได้ ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นเหม็น และมีหนองหรือเลือดในปัสสาวะ ผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้หญิงจะรู้สึกเจ็บที่หัวหน่าว นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นๆ อีก ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ติดเชื้อ เช่น หากไตติดเชื้อ ผู้ป่วยอาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ตัวสั่น หรือปวดหลัง หากกระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงแรงกดบริเวณด้านหน้าเชิงกราน (ช่องท้องส่วนล่าง) ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะมีเลือดปน หากท่อปัสสาวะติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บเมื่อปัสสาวะ หรือมีสารคัดหลั่งออกจากท่อปัสสาวะ สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการนอกเหนือจากที่ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ โปรดปรึกษาคุณหมอ ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด หากคุณสังเกตได้ถึงอาการใดๆ ที่ระบุไว้ข้างต้น โดยเฉพาะเวลาปัสสาวะ คุณควรไปพบคุณหมอ หากคุณยังคงมีไข้ในเวลา 48 […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

กรวยไตอักเสบ เป็นอาการติดเชื้อที่ไต ซึ่งอาจเริ่มต้นขึ้นที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ แล้วเชื้อแบคทีเรียทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไต นำไปสู่อาการกรวยไตอักเสบ คำจำกัดความ กรวยไตอักเสบ คืออะไร กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) หรือที่รู้จักกันว่า อาการติดเชื้อที่ไต คือการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะแบบเฉพาะ ที่อาจเริ่มต้นขึ้นที่กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ โดยกรวยไตอักเสบมักจะเกิดขึ้นจากการที่เชื้อแบคทีเรียเข้าไปในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยปกติแล้วปัสสาวะของคุณจะเก็บสะสมไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ก่อนปล่อยออกจากร่างกาย เชื้อแบคทีเรียสามารถเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะได้ผ่านทางท่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นท่อที่เชื่อมต่อระหว่างกระเพาะปัสสาวะและภายนอกร่างกาย และทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ และระบบทางเดินปัสสาวะ รวมถึงอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่ไต และนำไปสู่กรวยไตอักเสบ การติดเชื้อที่ไตพบได้น้อยกว่าการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะอื่นๆ แต่ก็มีความรุนแรงมากกว่า หากการติดเชื้อกำเริบอาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นที่ไต และทำให้ไตเสียหายได้ เรียกว่ากรวยไตอักเสบเรื้อรังซึ่งอาจนำไปสู่อาการไตวาย กรวยไตอักเสบ พบได้บ่อยแค่ไหน การติดเชื้อที่ไตนั้นมักจะเกิดในผู้หญิงและผู้สูงอายุ ผู้ที่ใช้ท่อสายสวน (catheter) ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่ระบบทางเดินปัสสาวะอุดตัน เนื่องจากนิ่วหรือต่อมลูกหมากบวม ก็สามารถติดเชื้อที่ไตได้เช่นกัน อาการ อาการกรวยไตอักเสบเป็นอย่างไร กรวยไตอักเสบในระยะแรกอาจไม่แสดงอาการใดๆ อาการทั่วไปคือเป็นไข้และปวดหลัง อาการอื่นๆ มีดังนี้คือ หนาวสั่น ปัสสาวะบ่อย คลื่นไส้ ปัสสาวะแล้วปวด ปวดที่ซี่โครงหรือสีข้าง รู้สึกอยากปัสสาวะและอาเจียนฉับพลัน สำหรับผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีอาการผิดปกติที่บริเวณหน้าท้องส่วนล่าง ปวดท้องอย่างรุนแรง และปัสสาวะเป็นเลือด หรือแสบร้อนขณะปัสสาวะ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดจึงควรพูดคุยกับคุณหมอ เพื่อหาแนวทางในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ สาเหตุ สาเหตุของ กรวยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบมักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินปัสสาวะ และขึ้นไปถึงไตผ่านทางท่อไต หรือกระแสเลือด ซึ่งเป็นส่วนที่เชื้อแบคทีเรียจะแบ่งตัว […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน