สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

"หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกไปจากอาหารแล้ว ก็จะทิ้งของเสียไว้ในลำไส้และกระแสเลือด หน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะ คือการกรองของเสียที่มีอยู่ในเลือด และขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการรักษาสุขภาพและการป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็น ไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ได้ที่นี่"

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร สัญญาณของโรคอะไร

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร อาการปัสสาวะแล้วแสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเพศหญิง แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายที่มีอายุมากขึ้นเช่นกัน ลักษณะอาการจะแสบหรือเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ อาจรู้สึกฉี่แล้วแสบตอนก่อนหรือหลังปัสสาวะ บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกคันร่วมด้วย อาการฉี่แล้วแสบอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากสังเกตพบอาการฉี่แล้วแสบควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที  [embed-health-tool-bmi] ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร 1. สาเหตุจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงานจากการกลั้นปัสสาวะ พบมากในเพศหญิงวัย 30-40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้ว อาจเกิดการอักเสบในช่องคลอดได้บ่อย เกิดตกขาวมากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียจะเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ซึ่งแพทย์จะตรวจปัสสาวะ พบการติดเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล เลือด หรือเม็ดเลือดขาว  อาการสำคัญของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้ ปวดฉี่บ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ลุกมาฉี่บ่อยมากในเวลากลางคืน ฉี่บ่อย แต่ฉี่ออกมาครั้งละน้อย ๆ  ฉี่ได้ไม่สุด หรือเมื่อฉี่สุดแล้ว อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ฉี่แล้วแสบขัด  เจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะหรือบริเวณท้องน้อย  บางรายมีเลือดปนกับปัสสาวะ วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวัน ขับถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในไต กับอาหารเพิ่มความเสี่ยงที่คุณควรหลีกเลี่ยง!

นิ่วในไต คือ ผลึกแข็งที่เกิดขึ้นในปัสสาวะ อาการปวดจากนิ่วในไตนั้น อาจจะปวดจนแทบไม่สามารถทนได้ และเกิดขึ้นเป็นระลอก ที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาหารที่คุณรับประทานในแต่ละวัน ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมาได้ Hello คุณหมอ มีสาระเกี่ยวกับอาหารที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตที่คุณควรรับรู้เอาไว้ [embed-health-tool-bmr] นิ่วในไต กับอาหารที่มีโซเดียมสูง โซเดียมเป็นส่วนหนึ่งของเกลือ โซเดียมในอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อาจกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของนิ่วในไตได้ เนื่องจากไปเพิ่มปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะของคุณ โซเดียมสามารถพบได้ในอาหารกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หรือพบได้ในเนื้อ และเครื่องปรุงรส ดังนั้น จึงควรปรึกษากับคุณหมอ หรือผู้ดูแลสุขภาพ เกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมที่ควรใส่ในอาหารของคุณ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ คือ การลดการบริโภคโซเดียมลง สามารถช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจของคุณได้ เคล็ดลับบางอย่างที่จะช่วยให้คุณได้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ควรรู้ปริมาณของโซเดียมอยู่เสมอ และระมัดระวังทุกครั้งโดยเฉพาะหากคุณรับประทานอาหารนอกบ้าน เมื่อคุณรับประทานอาหารนอกบ้าน พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมที่มากจนเกินไป โดยคุณสามารถสอบถามกับร้านอาหารได้ หยุดรับประทานประเภทซุปกระป๋อง เนื้อกระป๋อง ผักกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หันมาเลือกทานอาหารที่สดใหม่ เมื่อคุณซื้ออาหารที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้ตรวจดูฉลากบรรจุภัณฑ์เสมอว่ามีส่วนผสมใดที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ ซึ่งคุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไบคาร์บอเนต, เบคกิ้งโซดา, เบคกิ้งพาวเดอร์, ไดโซเดียม ฟอสเฟต, โมโนโซเดียมกลูตาเมต, โซเดียมอัลจิเนต (Sodium Alginate), โซเดียมไนเตรต (sodium nitrate) หรือไนไตรท์ […]


การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ไม่อยากติดเชื้อ ระบบทางเดินปัสสาวะ สาวๆ ต้องระวังเรื่องพวกนี้

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infections หรือ UTIs) เป็นอาการติดเชื้อที่ ระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งได้แก่ ไต กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ บทบาทของกระเพาะปัสสาวะ และไตนั้นคือ การกักเก็บของเสีย จนถึงกำจัดของเสียออกจากร่างกายตามลำดับ ที่สำคัญของเสียเหล่านี้อาจถูกกำจัดออกจากร่างกายในรูปแบบปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะนั่นเอง โดยโรคนี้มาสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่จะมาจากสิ่งใดบ้างนั้น ลองอ่านได้ในบทความของ Hello คุณหมอ นี้กันค่ะ อาการโรคติดเชื้อใน ระบบทางเดินปัสสาวะ ของผู้หญิง โอกาสที่ผู้หญิงจะเป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะนั้นมีมากกว่าผู้ชาย นักวิทยาศาสตร์บางคนได้คาดเดาว่า ความเสี่ยงของผู้หญิงนั้นมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า ยิ่งไปกว่านั้น การติดเชื้อในผู้หญิง มีแนวโน้มที่กำเริบขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป การติดเชื้อมักจะเกิดขึ้น จากการที่เชื้อโรคเข้าไปสู่ระบบทางเดินปัสสาวะ บางกรณี การติดเชื้อนั้นอาจจะหายไปโดยที่ไม่ต้องรักษา สัญญาณที่เป็นไปได้ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีดังนี้ มีอาการปวดหรือแสบร้อน ขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยมากขึ้น ไม่สามารถปัสสาวะได้ แม้จะรู้สึกปวดมาก ปัสสาวะเล็ด ปัสสาวะขุ่น เป็นสีเข้ม มีกลิ่นเหม็น หรือมีเลือด สาเหตุของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในผู้หญิง คุณอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่า ผู้หญิงควรมีการทำความสะอาด หรือเช็ดอวัยวะเพศจากด้านหน้าไปทางด้านหลัง เมื่อทำธุระส่วนตัวเสร็จ ซึ่งความเชื่อนี้มีไว้เพื่อป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างดูสมเหตุสมผลมาก เนื่องจากกายวิภาคของท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ทวารหนักอย่างละเอียดแล้ว คุณจะพบว่า ท่อปัสสาวะ คือ ท่อที่นำปัสสาวะออกสู่นอกร่างกาย จะอยู่ใกล้กับช่องคลอดและทวารหนัก ดังนั้นการเช็ดจากด้านหน้าไปทางด้านหลัง อาจสามารถป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรีย […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

ปัสสาวะมีสี (Urine Color)

คำจำกัดความปัสสาวะมีสี คืออะไร สีของปัสสาวะ (urine color) โดยปกติมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองอำพัน ซึ่งเป็นผลของเซลล์สร้างสีที่เรียกว่ายูโรโครม (urochrome) และความเจือจางหรือความเข้มข้นของปัสสาวะ เซลล์สร้างสี และสารประกอบอื่นในอาหาร หรือยาบางชนิด อาจเปลี่ยนสีของปัสสาวะได้ หัวบีท (Beet) เบอร์รี และถั่วปากอ้า เป็นอาหารที่มีแนวโน้มจะส่งผลต่อสีของปัสสาวะที่สุด ยาที่จำหน่ายโดยมีใบสั่งยา และไม่มีใบสั่งยาหลายชนิด ทำให้ปัสสาวะมีสีเข้มได้ เช่น สีแดง เหลืองหรือฟ้าแกมเขียว ปัสสาวะที่ผิดปกติอาจเป็นสัญญาณของโรค เช่น ปัสสาวะสีแดงเข้มถึงน้ำตาล เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคโพรพีเรีย (porphyria) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่พบได้ยาก พบได้บ่อยเพียงใด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของ ปัสสาวะมีสี สีของปัสสาวะโดยปกติจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณดื่มน้ำมากแค่ไหน ของเหลวจะเจือจางเซลล์สร้างสีเหลืองในปัสสาวะ ดังนั้น ยิ่งคุณดื่มน้ำมาก ปัสสาวะคุณก็จะยิ่งใสมาก เมื่อคุณดื่มน้ำน้อย สีของปัสสาวะจะเข้มข้นขึ้น การขาดน้ำอย่างรุนแรงจะทำให้ปัสสาวะเป็นสีอำพัน แต่สีของปัสสาวะอาจเปลี่ยนแปลงไปได้มากกว่าปกติ เช่น เป็นสีแดง ฟ้า เขียว น้ำตาลเข้มหรือขาวขุ่น อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด คุณควรไปพบหมอหากคุณมีอาการใดๆ ดังต่อไปนี้ ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดเป็นสิ่งที่มักจะเกิดขึ้น เมื่อมีอาการทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ และนิ่วในไต ปัญหาเหล่านี้ก่อให้เกิดความเจ็บปวด การที่เลือดออกโดยไม่รู้สึกเจ็บ อาจเป็นอาการของโรคที่รุนแรงกว่า เช่น มะเร็ง ปัสสาวะมีสีเข้มหรือออกส้ม หากปัสสาวะของคุณมีสีเข้มหรือออกส้ม โดยเฉพาะหากอุจจาระของคุณมีสีซีด […]


โรคไต

ทำความรู้จัก ยาที่อันตรายต่อไต กินผิดอาจไตพัง ไตมีปัญหา

เมื่อคุณรับประทานยา ไม่ว่าจะเป็นยาประเภทไหน ตัวยาจะผ่านเข้าสู่ไตของคุณ ดังนั้น หากคุณไม่รับประทานยาอย่างเหมาะสม หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด หรือหากตัวยาเป็นยาผิดกฏหมาย ไตของคุณอาจได้รับผลกระทบได้ในระดับเบาจนถึงรุนแรง และนี่คือสารพัด ยาที่อันตรายต่อไต ที่อาจทำให้ไตของคุณเสียหายหรือไตพังได้ ยาที่อันตรายต่อไต ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน ยาอะเซตามิโนเฟน รวมถึงชนิดที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ถือเป็นยาที่ไม่ควรใช้เป็นประจำทุกวัน ใช้บ่อยเกินไป หรือใช้ยาเกินขนาด เพราะสามารถทำให้ไตมีปัญหาได้ จากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังมากกว่า 5% เกิดจากการกินยาแก้ปวดเกินขนาด ยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะสามารถสร้างความเสียหายกับไตได้มากมายขึ้นอยู่กับชนิดของยา เช่น ทำให้ปัสสาวะติดขัด ทำลายเซลล์ไต หรือบางคนอาจมีปฏิกริยาแพ้ยาปฏิชีวนะที่ส่งผลกระทบต่อไตได้ และหากคุณกินยาปฏิชีวนะผิดวิธีหรือกินพร่ำเพรื่อก็จะยิ่งทำให้ไตของคุณเสียหายมากขึ้นไปอีก ทั้งผู้ที่เป็นโรคไตและผู้ที่สุขภาพไตแข็งแรงดีไม่ควรรับประทานยาปฏิชีวนะเอง การใช้ยาปฏิชีวนะควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์เท่านั้น ยาขับปัสสาวะ ยาขับปัสสาวะเป็นยาในกลุ่มยาขับน้ำ (Water Pills) แพทย์มักสั่งจ่ายยานี้ให้ผู้ป่วยเพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง อาการบวมน้ำ เป็นต้น ยาขับปัสสาวะจะช่วยกำจัดของเหลวส่วนเกินออกจากร่างกาย แต่บางครั้งก็อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ซึ่งส่งผลเสียต่อไตของคุณได้ ยาระบายที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ ว่ากันตามหลักการทั่วไป ยาระบายที่ซื้อตามร้านขายยามีความปลอดภัยสำหรับหลายๆ คน อย่างไรก็ตาม ยาระบายบางชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ เช่น ยาระบายเพื่อล้างลำไส้ ในกรณีที่ต้องทำการส่องกล้องคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็อาจเป็นอันตรายต่อไตได้ ยาในกลุ่ม PPIs ยาในกลุ่ม Proton Pump Inhibitors หรือ PPIs เป็นยายับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร […]


โรคไต

ซีสต์ในไต อาการ สาเหตุ และวิธีการรักษา

ซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไตคือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี [embed-health-tool-bmr] คำจำกัดความ ซีสต์ในไต คืออะไร โรคซีสต์ในไต (Acquired Cystic Kidney Disease) เป็นโรคที่มีก้อนซีสต์โตขึ้นในไตจนเกิดเป็นถุงซีสต์ ซีสต์ในไต คือ ถุงก้อนกลม ๆ ซึ่งบรรจุของเหลว ที่เกิดขึ้นที่ไต หรือภายในไต ซีสต์ในไตอาจนำพาไปสู่โรคร้ายแรงที่จะทำให้ระบบการทำงานของไตไม่ปกติได้ในหลายๆ กรณี โดยประเภทของซีสต์ในไตที่เรียกว่า ซีสต์ในไตธรรมดา เป็นซีสต์ในไตที่ไม่มีเชื้อมะเร็ง และมักไม่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคซีสต์ในไตเป็นโรคที่เกิดขึ้นในไตทั้งสองข้าง และเมื่อเกิดขึ้นก็ถือว่าเป็นการคาดเดาได้ว่ามาถึงระยะสุดท้ายของโรคไตวายแล้ว ในระยะเริ่มแรก จะไม่มีอาการหรือสัญญาณใดที่แสดงว่าเป็นโรคซีสต์ในไต โดยมากจะพบโดยไม่ตั้งใจเมื่อทำการตรวจด้วยการฉายรังสีภายในช่องท้อง โรคซีสต์ในไตพบได้บ่อยหรือไม่ โรคซีสต์ในไตสามารถพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังเป็นเวลานานๆ ประมาณ 7-22% ของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้องรังเป็นโรคซีสต์ในไตก่อนเริ่มการรักษาโดยการฟอกไต เกือบ 60% ของผู้ที่รับการฟอกไตนาน 2-4 ปีมีซีสต์ในไต และประมาณ 90% ของผู้ที่รับการฟอกไตมานาน 8 ปีมีซีสต์ในไต โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของโรคซีสต์ในไตมีอะไรบ้าง ซีสต์ในไตธรรมดามักไม่มีสัญญาณเตือนหรืออาการใด ๆ แต่ถ้าหากก้อนซีสต์ในไตธรรมดานั้นโตมากพอ อาการที่อาจเกิดขึ้นตามมา […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม