สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

"หลังจากที่ร่างกายดูดซึมสารอาหาร วิตามิน และแร่ธาตุต่าง ๆ ออกไปจากอาหารแล้ว ก็จะทิ้งของเสียไว้ในลำไส้และกระแสเลือด หน้าที่ของระบบทางเดินปัสสาวะ คือการกรองของเสียที่มีอยู่ในเลือด และขับออกมาในรูปแบบของปัสสาวะ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ รวมไปถึงการรักษาสุขภาพและการป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะเป็น ไต ท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะ ได้ที่นี่"

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร สัญญาณของโรคอะไร

ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร อาการปัสสาวะแล้วแสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยในเพศหญิง แต่ก็สามารถพบได้ในเพศชายที่มีอายุมากขึ้นเช่นกัน ลักษณะอาการจะแสบหรือเจ็บปวดบริเวณอวัยวะเพศ อาจรู้สึกฉี่แล้วแสบตอนก่อนหรือหลังปัสสาวะ บางกรณีอาจเกิดความรู้สึกคันร่วมด้วย อาการฉี่แล้วแสบอาจเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้น หากสังเกตพบอาการฉี่แล้วแสบควรเข้าพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาในทันที  [embed-health-tool-bmi] ฉี่แล้วแสบ เกิดจากอะไร 1. สาเหตุจากโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นโรคที่พบบ่อยในวัยทำงานจากการกลั้นปัสสาวะ พบมากในเพศหญิงวัย 30-40 ปี โดยเฉพาะผู้ที่แต่งงานแล้ว อาจเกิดการอักเสบในช่องคลอดได้บ่อย เกิดตกขาวมากกว่าปกติ เชื้อแบคทีเรียจะเข้ากระเพาะปัสสาวะง่ายเพราะหลอดปัสสาวะผู้หญิงสั้นกว่าผู้ชาย ซึ่งแพทย์จะตรวจปัสสาวะ พบการติดเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจปนอยู่ในน้ำปัสสาวะ เช่น เชื้อแบคทีเรียโดยเฉพาะเชื้ออีโคไล เลือด หรือเม็ดเลือดขาว  อาการสำคัญของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีดังนี้ ปวดฉี่บ่อย อาจมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน ลุกมาฉี่บ่อยมากในเวลากลางคืน ฉี่บ่อย แต่ฉี่ออกมาครั้งละน้อย ๆ  ฉี่ได้ไม่สุด หรือเมื่อฉี่สุดแล้ว อาจเจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะ ฉี่แล้วแสบขัด  เจ็บเสียวบริเวณปลายหลอดปัสสาวะหรือบริเวณท้องน้อย  บางรายมีเลือดปนกับปัสสาวะ วิธีป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำสะอาดเป็นประจำอย่างน้อย 6 - 8 แก้วต่อวัน ขับถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะนานเกิน 6 […]

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินปัสสาวะ

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ฉี่ราด ฉี่รดที่นอน ทุกครั้งฝันว่าปวดปัสสาวะ เป็นเพราะอะไรกันนะ?

ฉี่ราด ฉี่รดที่นอน เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ในสิ่งที่ต้องเคยเกิดขึ้นกับใครหลายคนในช่วงวัยเด็กอย่างแน่นอน โดยจุดเริ่มต้นของ การฉี่รดที่นอน คนส่วนใหญ่มักจะฝันว่าตัวเองปวดปัสสาวะกำลังเข้าห้องน้ำ แต่ดันปัสสาวะจริงๆ ออกมาเสียอย่างนั้น อาการฉี่ราด เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่หากมีอาการบ่อยครั้ง ติดต่อกันในระยะยาว อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ แต่การ ฉี่รดที่นอน จะส่งผลกระทบและมีวิธีการรักษาอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบมาให้คุณค่ะ [embed-health-tool-bmi] ปัสสาวะรดที่นอน (Bedwetting) หลายคนมักมีอาการปัสสาวะรดที่นอนเนื่องจากไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ หรือที่เรียกว่า ฉี่ราด (Bedwetting) นั่นเอง ส่วนมากมักเกิดขึ้นในขณะหลับช่วงเวลากลางคืน พบได้บ่อยในวัยเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-7 ปี  อย่างไรก็ตามหากพบว่ามี อาการฉี่ราด มากกว่า 2 ครั้งต่อคืน ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม ปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุ ให้คุณมี อาการฉี่ราด อาการฉี่ราด ไม่สามารถระบุแน่ชัดได้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่มีปัจจัยต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการฉี่ราดได้ ดังนี้ ท้องผูกเรื้อรัง ปัญหาท้องผูกเรื้อรังทำให้กล้ามเนื้อที่ทำการควบคุมปัสสาวะและอุจจาระทำงานผิดปกติ ระบบประสาทควบคุมกระเพาะปัสสาวะผิดปกติ ส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่ายปัสสาวะอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ โรคเบาหวาน เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจึงผลิตปัสสาวะมากขึ้นเพื่อกำจัดน้ำตาลออกจากร่างกาย จึงส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยและอาจเกิดอาการฉี่ราดขณะหลับได้ ปัญหาทางอารมณ์  ความเครียดสะสม เป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่อาจทำให้เกิดอาการฉี่ราดได้ […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

คำแนะนำสำหรับการทำหัตถการ ที่ ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรรู้

โรคนิ่วในถุงน้ำดี เป็นหนึ่งในโรคที่หลายคนมักจะมองข้าม เพราะหลายคนที่เป็นโรคนี้ มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ จนกว่าอาการของโรคจะอยู่ในระดับรุนแรงแล้ว แต่คุณรู้ไหมว่า โรคนิ่วในถุงน้ำดีสามารถเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที แต่โชคยังดีที่การรักษาด้วยการผ่าตัด สามารถช่วยให้ ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี สามารถหายจากโรคนี้ได้เกือบ 100% ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มีคำแนะนำเรื่องการทำหัตถการสำหรับผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี เพื่อการเตรียมตัวที่เหมาะสมก่อนเริ่มทำการรักษาโรคมาฝากคุณแล้ว เราสามารถทำการวินิจฉัย ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ได้อย่างไร ถุงน้ำดี เป็นอวัยวะที่ช่วยเก็บกักน้ำดี เพื่อใช้ประโยชน์ในการช่วยย่อยไขมัน ซึ่งมีโอกาสพบโรคนิ่วถุงน้ำดีได้ โดยนิ่วที่พบนั้นจะมีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ ไขมัน ส่วนประกอบของสีน้ำดี (Bile pigment) และ หินปูน (Calcium) ที่มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล หรือดำ โรคนิ่วในถุงน้ำดีพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในคนอายุระหว่าง 40-60 ปี ผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า 50 % อาจไม่มีแสดงอาการอะไรเลยก็ได้ แต่เราสามารถตรวจพบโรคได้ด้วยการเอกซเรย์ช่องท้อง หรือการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง (Ultrasound) อาการของ ผู้ป่วยโรคนิ่วในถุงน้ำดี ผู้ป่วยมักมีอาการแน่นท้อง อืดท้อง มีลมมาก หรือมีอาการปวดท้องเป็นพักๆ (Colicky pain) ที่บริเวณลิ้นปี่ และอาการที่บ่งชี้ได้ชัดเจน คือ อาการปวดท้องจะมากขึ้น […]


ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการและสาเหตุที่ควรรู้

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในในผู้สูงอายุ ซึ่งมักมีปัญหาหูรูดกระเพราะปัสสาวะทำงานได้น้อยลงตามวัย จนอาจทำให้ปัสสาวะเล็ดได้ง่าย แต่จริง ๆ แล้ว อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม การทราบสาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้ได้ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ คืออะไร การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary incontinence) เป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป ความรุนแรงของอาการอาจมีตั้งแต่ปัสสาวะไหลเมื่อมีอาการไอหรือจาม ไปจนถึงรู้สึกต้องการปัสสาวะทันที บางครั้งอาการอาจรุนแรงมากถึงขั้นที่ไม่สามารถเข้าห้องน้ำได้ทันเวลา โดยปกติแล้ว อาการนี้มักพบในผู้สูงอายุ แต่คนทั่วไปก็สามารถมีอาการนี้ได้เช่นกัน หากอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุและวิธีรักษาที่เหมาะสม สาเหตุของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ไม่ถือว่าเป็นโรคเป็นแค่เพียงอาการเท่านั้น โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิดที่ส่งผลให้มีปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะมากขึ้น และเร่งให้ปวดปัสสาวะได้ อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม ช็อกโกแลต อาหารรสจัด อาหารวิตามินซีสูง เป็นต้น นอกจากนี้ ภาวะสุขภาพบางประการก็อาจส่งผลให้กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ เช่น กระเพาะปัสสาวะติดเชื้อ ทำให้ปวดปัสสาวะมาก จนไม่สามารถกลั้นไว้ได้ อาการท้องผูก เนื่องจากลำไส้ใหญ่อยู่ใกล้กับกระเพาะปัสสาวะ และมีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกัน ทำให้เมื่อมีอุจจาระแข็งสะสมอยู่ในลำไส้ใหญ่มากเกินไป ก็อาจส่งผลกระทบต่อเส้นประสาทบริเวณนั้น ทำให้เกิดปวดปัสสาวะบ่อยได้ การตั้งครรภ์ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นของทารกในครรภ์ อาจส่งผลให้คุณแม่ตั้งครรภ์กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้ การคลอด ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณช่องคลอดหย่อนคล้อย ซึ่งส่งผลต่อการควบคุมกระเพาะปัสสาวะ และอาจทำลายเส้นประสาทบริเวณกระเพาะปัสสาวะและเนื้อเยื่อบริเวณอุ้งเชิงกราน จนส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกลั้นปัสสาวะได้ อายุที่มากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น […]


โรคไต

ไขข้อข้องใจ คนเป็นโรคไต ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ ปลอดภัยจริงเหรอ

โรคไตกับยาคลายกล้ามเนื้อ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมาก เนื่องจากยาคลายกล้ามเนื้อเป็นหนึ่งในยาที่คนเป็นโรคไตมักจะต้องใช้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโรคไตที่ต้องทำการฟอกไต (hemodialysis) ยาคลายกล้ามเนื้อสามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่ทำการฟอกไตไม่ต้องทรมานกับอาการปวดกล้ามเนื้อที่มาพร้อมกับการฟอกไตได้ แต่ในขณะเดียวกัน ยานี้ก็อาจนำมาซึ่งอันตรายอื่นๆ ได้เช่นกัน โรคไตกับยาคลายกล้ามเนื้อ มีอะไรบ้างที่ควรระวัง สาเหตุส่วนใหญ่ที่แพทย์สั่งยาคลายกล้ามเนื้อให้ผู้ป่วยที่รับการฟอกไตใช้ เนื่องมาจากอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก นอกจากนี้ยังอาจจะมีสาเหตุมาจากการปวดคอ ปวดหลัง และเป็นตะคริว แต่ก็มีผู้ป่วยบางรายที่เลือกใช้ยาคลายกล้ามเนื้อทั้งๆที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้ใช้ยานั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่ายาคลายกล้ามเนื้อนั้นอาจจะสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดที่มาพร้อมกับการฟอกไตเหล่านี้ได้ แต่ยาคลายกล้ามเนื้อนั้นก็ไม่มีได้ปลอดภัยไปเสียทีเดียว มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคไตที่ที่ทำการฟอกไตและใช้ยาคลายกล้ามเนื้อนั้น จะมีความเสี่ยงในการเกิดการเปลี่ยนแปลงของสติสัมปชัญญะเพิ่มขึ้นกว่า 68% ความเสี่ยงในการหกล้มเพิ่มขึ้นกว่า 29% และความเสี่ยงในการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นอีกกว่า 30% จากข้อมูลในปี 2011 พบว่า ผู้ป่วยโรคไตที่ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ แสดงให้เห็นถึงอาการความผิดปกติทางสติสัมปชัญญะ หกล้ม กระดูกหัก และเสียชีวิตเพิ่มขึ้นกว่าผู้ป่วยโรคไตที่ไม่ได้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบว่า 1 ใน 25 คนของผู้ป่วยโรคไตถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจาก มีอาการสับสนอย่างรุนแรง และมีอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน หลังจากใช้ยาคลายกล้ามเนื้อที่เรียกว่า ยาแบคโคลเฟน (baclofen) เพียงไม่กี่วัน จากรายงานของ ICES Western, Western University และ and Lawson Health Research Institute ได้ทำการเก็บข้อมูล โดยการศึกษาผู้ป่วยโรคไตกว่า […]


ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะแบบอื่น

สีปัสสาวะ บอกโรค มาดูกันสิว่าปัสสาวะสีไหน บ่งบอกโรคอะไรบ้าง

ปัสสาวะของคนเรามีเม็ดสีที่เรียกว่า “ยูโรโครม (urochrome)” ซึ่งมีสารสีเหลืองเป็นส่วนประกอบ ทำให้ปัสสาวะปกติมีสีเหลืองอ่อนไปจนถึงสีเหลือง ตามความเข้มข้นของยูโรโครมนั่นเอง แต่บางครั้ง สีปัสสาวะ ของเราก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ เช่น  อาหาร ยา ปริมาณน้ำที่ดื่มเข้าไป หลายคนอาจชะล่าใจและมองว่าปัสสาวะเป็นแค่ของเสียที่ร่างกายขับถ่ายออกมา แต่แท้จริงแล้ว ปัสสาวะก็เป็นสิ่งสำคัญที่เราไม่ควรละเลย เพราะสีของปัสสาวะก็สามารถบอกถึงปัญหาสุขภาพ หรือโรคภัยไข้เจ็บได้เช่นกัน สีปัสสาวะ… บอกโรคได้ ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือสีส้ม อาจเกิดจากคุณดื่มน้ำน้อยเกินไป ร่างกายจึงได้รับน้ำไม่เพียงพอกับที่ต้องการ หรือร่างกายสูญเสียน้ำมากกว่าปกติ จนเกิดเป็นภาวะขาดน้ำ หรือเป็นเพราะคุณกินอาหารเสริมวิตามินบี2 มากเกินขนาด แต่หากมีอุจจาระสีอ่อนหรือสีซีดร่วมด้วย อาจบ่งบอกว่าท่อน้ำดีหรือตับของคุณกำลังมีปัญหา ทำให้น้ำดีรั่วเข้าสู่กระแสเลือด หรือคุณอาจกำลังมีภาวะดีซ่านก็เป็นได้ ปัสสาวะสีแดงหรือชมพู ปัสสาวะที่มีเฉดสีแดง ตั้งแต่สีชมพูไปจนถึงสีแดงเข้ม อาจเกิดจากผักผลไม้ที่คุณกินเข้าไป เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แก้วมังกร บีทรูท แต่หากปัสสาวะของคุณมีสีแดงหรือชมพู ทั้งที่ไม่ได้กินผลไม้จำพวกนี้ นั่นอาจหมายถึงคุณมีปัญหาสุขภาพที่ทำให้มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ หรือที่เรียกว่า ภาวะปัสสาวะปนเลือด (hematuria) อาจเกิดจากต่อมลูกหมากโต นิ่วในไต เนื้องอก ในกระเพาะปัสสาวะ เนื้องอกในไต ถือเป็นภาวะอันตรายที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ปัสสาวะสีฟ้าหรือเขียว โดยปกติแล้ว ปัสสาวะสีฟ้า หรือสีเขียว เป็นกรณีที่พบได้ยาก หากคุณมีปัสสาวะสีน้ำเงินหรือฟ้า อาจเป็นผลมาจากสีผสมอาหารในยาที่กินเข้าไป เช่น ยาแก้แพ้ อย่าง โปรเมทาซีน […]


ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย (Male Stress Urinary Incontinence)

การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย (Male Stress Urinary Incontinence: SUI) กล่าวคือ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายเกิดขึ้นเมื่อหูรูดรอบ ๆ รูท่อปัสสาวะเปิดในเวลาที่ไม่สมควร เช่น เวลาหัวเราะ จาม ไอ ยกของ เปลี่ยนอิริยาบถ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายคืออะไร หน้าที่หลักของไต คือ การกรองของเสียออกจากเลือด เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ของเสียจะไปรวมกับน้ำและส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะจะทำหน้าที่เก็บของเสียเหล่านี้ จนกระทั่งมีการปัสสาวะ ขณะที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัว กล้ามเนื้อหูรูดจะคลายตัว ทำให้ปัสสาวะถูกปล่อยออกมา แต่เมื่อระบบขับถ่ายถูกร่างกายส่วนอื่นกดทับทำให้เกิดการขับปัสสาวะอย่างไม่ตั้งใจ ภาวะนี้เรียกว่า การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย (Male Stress Urinary Incontinence: SUI) กล่าวคือ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายเกิดขึ้นเมื่อหูรูดรอบ ๆ รูท่อปัสสาวะเปิดในเวลาที่ไม่สมควร เช่น เวลาหัวเราะ จาม ไอ ยกของ เปลี่ยนอิริยาบถ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายพบบ่อยแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชาย อาการของภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในผู้ชายเกิดขึ้นเมื่อหัวเราะ จาม ไอ ยกของ เปลี่ยนอิริยาบถ หรือทำบางสิ่งบางอย่าง ทำให้เกิดแรงกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ ปริมาณการหลั่งปัสสาวะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของภาวะที่เป็น  อาจขับปัสสาวะเพียงเล็กน้อย หรือในปริมาณมากจนเปียก อาจมีอาการอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการของโรค ควรปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีอาการใดๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

ฉี่ไม่ออก (Urinary Retention)

ฉี่ไม่ออก (Urinary retention) หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นภาวะที่ปัสสาวะไม่ถูกขับออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีปัสสาวะเต็มแล้ว รวมถึงยังมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ ฉี่ไม่ออก คืออะไร ฉี่ไม่ออก (Urinary retention) หรือปัสสาวะไม่ออก เป็นภาวะที่ปัสสาวะไม่ถูกขับออกจากกระเพาะปัสสาวะได้ทั้งหมด ถึงแม้ว่าจะมีปัสสาวะเต็มแล้ว รวมถึงยังมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งภาวะปัสสาวะไม่ออก หรือฉี่ไม่ออก มีสองประเภท ได้แก่ ภาวะเฉียบพลันและภาวะเรื้อรัง ฉี่ไม่ออกพบบ่อยแค่ไหน อาการฉี่ไม่ออกเกิดขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่เกิดในผู้ชายมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออายุมากขึ้น ผลการวิจัยระบุว่า อัตราของภาวะปัสสาวะไม่ออก เกิดขึ้นในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า และเกิดกับผู้ชายอายุระหว่าง 40 ถึง 83 ปี คิดเป็น 4.5 ถึง 6.8 คนต่อผู้ชาย 1,000 คนในทุกๆ ปี เมื่อถึงอายุ 80 ปี โอกาสการเกิดภาวะปัสสาวะไม่ออกเฉียบพลันในผู้ชาย มีสูงมากถึงร้อยละ 30 จึงควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการฉี่ไม่ออกเป็นอย่างไร อาการฉี่ไม่ออก หรือปัสสาวะไม่ออก สามารถเกิดขึ้นได้เฉียบพลัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ คุณจะรู้สึกปวดปัสสาวะมาก แต่ไม่สามารถปัสสาวะออกมาได้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดหรือไม่สบายบริเวณท้องส่วนล่าง หากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบเข้ารับการรักษาทันที เพื่อระบายปัสสาวะออก อาการภาวะปัสสาวะไม่ออกชนิดเรื้อรัง […]


ปัญหาระบบทางเดินปัสสาวะแบบอื่น

อาการปวดในถุงน้ำดี (Gallbladder Pain)

อาการปวดในถุงน้ำดี เป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้อธิบายถึงความเจ็บปวดต่างๆ ที่เกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ได้แก่ โรคบิลลิอารีโคลิก (biliary colic) ถุงน้ำดีอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี  โรคตับอ่อนอักเสบ  และท่อน้ำดีอักเสบ คำจำกัดความอาการปวดในถุงน้ำดี คืออะไร อาการปวดในถุงน้ำดีเป็นคำกว้าง ๆ ที่ใช้อธิบายถึงความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่เกิดจากโรคที่เกี่ยวข้องกับถุงน้ำดี ปัญหาหลักของถุงน้ำดี ได้แก่ โรคบิลลิอารีโคลิก (biliary colic) โรคถุงน้ำดีอักเสบ (cholecystitis) โรคนิ่วในถุงน้ำดี (gallstones) โรคตับอ่อนอักเสบ (pancreatitis) และ โรคท่อน้ำดีอักเสบ (ascending cholangitis) อาการปวดในถุงน้ำดีพบบ่อยแค่ไหน ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม   อาการอาการปวดในถุงน้ำดีเป็นอย่างไร อาการอาจแตกต่างกัน และได้รับการกระตุ้นโดยการรับประทานอาหารบางชนิด ความเจ็บปวดอาจอยู่ในรูปแบบของการเจ็บท้อง และลามไปที่หลัง อาการอาจเป็นๆ หายๆ หรือเป็นต่อเนื่อง และความรุนแรงขึ้นอยู่กับสาเหตุ อาการปวดในถุงน้ำดีอาจแตกต่างกัน หรือรู้สึกแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ผู้ป่วยหลายคนอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด อย่างไรก็ตาม อาการเจ็บปวดหลายอาการสามารถช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยได้ โรคบิลลิอารีโคลิก (Biliary colic) อาการปวดเกิดขึ้นเฉียบพลันและรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว (ปวดหรือจุกเสียด) บริเวณท้องส่วนบนขวาหรือบริเวณลิ้นปี่ ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดที่ลามไปถึงบริเวณไหล่ด้านขวา (หรือปวดหลังในส่วนปลายของกระดูกสะบัก) และ/หรือ มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย อาการปวดมักเกิดขึ้นและทุเลาลงใน 1 […]


ปัญหากระเพาะปัสสาวะ

กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive Bladder)

คำจำกัดความกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน คืออะไร กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน (Overactive bladder) เป็นปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการกักเก็บปัสสาวะของกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิดอาการปวดปัสสาวะกะทันหัน และกลั้นปัสสาวะได้ยากเพราะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป ปัสสาวะจึงเล็ดโดยไม่ตั้งใจ สุขภาพของกระเพาะปัสสาวะและไต การกลั้นปัสสาวะ และปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินได้ทั้งสิ้น กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินพบได้บ่อยแค่ไหน ประชากรหลายล้านคนทั่วโลกมีภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน จากข้อมูลของ The National Association for Continence (NAFC) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า 1 ใน 5 ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ได้รับผลกระทบจากภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินหรืออาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเกิดขึ้นกะทันหันและเกิดซ้ำบ่อยครั้ง โดยร้อยละ 85 ของคนกลุ่มนี้เป็นผู้หญิง นอกจากนี้ ผู้หญิง 1 ใน 4 คน มีอาการปัสสาวะเล็ดได้ในบางครั้ง อย่างไรก็ดี โรคนี้สามารถจัดการได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินอาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้ รู้สึกปวดปัสสาวะกะทันหันและควบคุมได้ยาก กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ และปัสสาวะเล็ดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งเกิดขึ้นทันทีหลังปวดปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย โดยปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ปัสสาวะประมาณ 8 ครั้งหรือมากกว่าในเวลา 24 ชั่วโมง ตื่นมาปัสสาวะในเวลากลางคืนมากกว่า 2 ครั้ง เมื่อรู้สึกปวดปัสสาวะ แม้จะเข้าห้องน้ำได้ทัน แต่ก็ปวดปัสสาวะบ่อย จู่ๆ ก็ปวดปัสสาวะ […]


โรคไต

โรคไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Failure)

ไตวายเฉียบพลัน เกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถกำจัดเกลือส่วนเกิน ของเหลว และของเสียจากเลือดอย่างกะทันหัน เมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสีย ของเหลวในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นอันตราย คำจำกัดความ โรคไตวายเฉียบพลัน คืออะไร ไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Failure) สามารถเรียกได้อีกว่า ไตเสียหายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury) หรือภาวะไตล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Renal Failure) เกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถกำจัดเกลือส่วนเกิน ของเหลว และของเสียจากเลือด อย่างกะทันหัน ซึ่งการกำจัดสารพิษจากร่างกายเป็นหน้าที่กาารทำงานหลักของไต เมื่อไตสูญเสียความสามารถในการกรองของเสีย ของเหลวในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้นจนถึงระดับที่เป็นอันตราย ภาวะดังกล่าวยังทำให้อิเล็กโตรไลต์และของเสียสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิตอีกด้วย ภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นอันตรายต่อชีวิต และจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อย่างไรก็ดี สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้ หากผู้ป่วยมีสุขภาพดี ซึ่งจะทำให้การฟื้นตัวเป็นไปได้ด้วยดี โรคไตวายเฉียบพลัน พบบ่อยเพียงใด พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่พักฟื้นในโรงพยาบาล อาการอาจรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลา 2-3 วัน จนถึงหลายสัปดาห์ ผู้ที่มีอาการป่วยหนัก และจำเป็นต้องได้รับการรักษาเป็นพิเศษ ถือว่ามีความเสี่ยงสูงสุดในการเกิดไตวายเฉียบพลัน โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการไตวายเฉียบพลัน อาการทั่วไปของภาวะไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ อุจจาระมีเลือดปน ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เคลื่อนไหวช้าและเฉื่อยชา มีอาการบวมทั่วไปหรือมีภาวะคั่งน้ำ อ่อนเพลีย มีอาการปวดระหว่างซี่โครงและสะโพก เป็นแผลฟกช้ำได้ง่าย สภาวะทางจิตหรืออารมณแปรปรวน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ความอยากอาหารลดลง ความรู้สึกลดลง โดยเฉพาะที่มือหรือเท้า เลือดหยุดช้า มีอาการชัก คลื่นไส้ อาเจียน ความดันโลหิตสูง รู้สึกถึงรสชาติของโลหะในปาก อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ สาเหตุของไตวายเฉียบพลัน ภาวะไตวายเฉียบพลันสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่พบได้มากที่สุด ได้แก่ ภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากพยาธิสภาพที่เซลล์ของ หลอดไต (Acute […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม