สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

โรคกรดไหลย้อน

ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน แบบกระชับ เข้าใจง่าย

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD) ถือเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง คนจำนวนมากต้องเผชิญกับโรคกรดไหลย้อน รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์ ความจริงแล้ว โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะผิดปกติในทางเดินอาหารที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบหน้าอกและจุกเสียด รู้จักกับ โรคกรดไหลย้อน กรดไหลย้อน เกิดจากน้ำย่อยจากในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาเข้าสู่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และอาจทำให้เยื่อเมือกของหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บ รวมทั้งกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างได้รับความเสียหาย เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดไม่ได้ปิดอย่างที่ควรจะเป็น น้ำย่อยจึงไหลซึมย้อนกลับออกจากกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร หากท่านใดมีอาการก็ควรไปพบคุณหมอ หรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาการจากกรดไหลย้อนส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ และรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้านบางชนิด แต่ในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้น รวมถึงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ การที่น้ำย่อยหรือน้ำดีรั่วซึมเข้าสู่หลอดอาหาร โดยทั่วไป อาหารและน้ำจะไหลลงเข้าสู่กระเพาะ เมื่อคนเรากลืนอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร จะคลายตัวเพื่อปล่อยอาหารลงสู่กระเพาะ หลังจากนั้นมันจะปิดตัว แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวลิ้นปิดเปิดมีความผิดปกติหรือมีความอ่อนแอ ก็จะทำให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ นี่คือภาวะที่มาของชื่อโรคกรดไหลย้อน เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นซ้ำๆ ก็อาจนำมาสู่อาการของโรคระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ปัจจัยความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน ประกอบด้วย โรคอ้วน โรคไส้เลื่อนกระบังลม ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ปากแห้ง โรคหอบหืด โรคเบาหวาน  กระเพาะใช้เวลาย่อยอาหารนานกว่าปกติ โรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disorders) อย่างเช่น โรคผิวหนังแข็ง (scleroderma) อาการของโรคกรดไหลย้อน คุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกแสบร้อนในหน้าอก บางครั้งก็ลามขึ้นมาที่คอ รวมทั้งรู้สึกถึงรสเปรี้ยวภายในปาก เจ็บหน้าอก กลืนอาหารลําบาก ไอแห้งๆ เจ็บคอหรือแสบคอ อาหารหรือน้ำย่อย ตีกลับขึ้นมาจากกระเพาะ รู้สึกว่ามีก้อนบางอย่างติดอยู่ในลำคอ การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน คุณหมอจะดูอาการขั้นพื้นฐานเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

5 อันดับอาหารต้องห้าม สำหรับ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ

หากคุณเป็นโรคตับอักเสบ คุณจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวังมากกว่าเดิม การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม อาจเป็นอันตรายต่อตับของคุณ คุณควรจดบันทึกหรือสังเกตอาหารบางอย่างต่อไปนี้ที่คุณควรจำกัดการรับประทานและหลีกเลี่ยงในมื้ออาหารประจำวันของคุณ อาหารที่ดีต่อสุขภาพมีความสำคัญ ถ้าคุณอยากต่อสู้กับโรคตับอักเสบที่เป็นอยู่และอยากมีสุขภาพที่ดีขึ้น  ต่อไปนี้คือประเภท อาหารและเครื่องดื่มที่ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ควรหลีกให้ไกลเท่าไหร่ได้ยิ่งดี [embed-health-tool-bmr] ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดบ้าง แอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์มักจะอยู่ในบัญชีดำเสมอ เนื่องจากเป็นพิษและขัดขวางการดูดซึมสารอาหารบางอย่างที่ร่างกายควรได้รับ โดยควรหลีกเลี่ยงการดื่มเบียร์ ไวน์หรือแชมเปญ รวมทั้งสุราของมึนเมาทุกรูปแบบ และควรสังเกตด้วยว่า ยาที่ใช้รักษาอาการปวดที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปนั้นอาจมีส่วนผสมของแอลกอฮล์ด้วย เช่น ยาน้ำเชื่อมแก้ไอ อาหารที่มีโซเดียมสูง หากตับได้รับความเสียหาย จะไม่สามารถจัดการกับ โซเดียม ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การได้รับโซเดียมปริมาณสูงอาจเพิ่มระดับความดันโลหิตของคุณ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรค ไขมันพอกตับ ดังนั้น คุณควรหลีกเลี่ยง อาหารกระป๋อง รวมทั้งซุป เนื้อสัตว์หรือผักที่มีปริมาณเกลือและน้ำตาลสูง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการบวมในช่องท้องและการคั่งน้ำ การอ่านฉลากโภชนาการจะช่วยคุณในการควบคุมปริมาณโซเดียมได้ นอกจากนี้ คุณควรลดการรับประทานอาหารแปรรูปที่ใส่เกลือเยอะๆ เช่น เนื้อสัตว์ เบคอน และไส้กรอก รวมทั้งปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับยาที่สามารถช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตเพื่อควบคุมอาการ ไขมันอิ่มตัว การรับประทานไขมันมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไขมันอิ่มตัว หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนย นมสด และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ทั้งหมดนั้น จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน และไขมันพอกตับ คุณควรต้องทราบว่า เมื่อคุณเป็นโรคตับ น้ำหนักของคุณจะลดลงอย่างรวดเร็ว และตับของคุณผลิตน้ำดีที่ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมไขมันได้น้อยลง อย่างไรก็ตาม อาหารจำพวกไขมันยังจำเป็นต่อการทำงานของร่างกายอยู่ดี […]


แผลในกระเพาะอาหาร

แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer)

คำจำกัดความแผลในกระเพาะอาหารคืออะไร แผลในกระเพาะอาหาร (stomach ulcer) หรือแผลเปปติค (peptic ulcer) เป็นแผลซึ่งเกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่เรียกว่าดูโอดีนัม แผลในกระเพาะอาหารเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป แผลในกระเพาะอาหารพบได้บ่อยเพียงใด แผลในกระเพาะอาหาร เป็นอาการที่พบได้บ่อยมาก สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกวัย แต่สามารถควบคุมได้ด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ กรุณาปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของแผลในกระเพาะอาหาร อาการของแผลในกระเพาะอาหาร มีดังนี้ รู้สึกดีขึ้นเมื่อคุณรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ แล้วก็รู้สึกแย่ลงในอีก 1 หรือ 2 ชั่วโมงต่อมา (แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น) รู้สึกแย่ลงเมื่อคุณรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ (แผลในกระเพาะอาหาร) มีอาการปวดท้องตอนกลางคืนจนทำให้ตื่น รู้สึกอิ่มเร็ว รู้สึกหนักท้อง ท้องอืด แสบร้อน หรือปวดหน่วงในท้อง อาเจียน น้ำหนักก็ลดแบบทันทีทันใด คุณอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากที่แสดงไว้ข้างต้น ถ้าคุณมีความกังวลเกี่ยวกับอาการ กรุณาปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุสาเหตุของแผลในกระเพาะอาหาร แผลในกระเพาะอาหารอาจเกิดได้จากการอักเสบ หรือการติดเชื้อ แผลในกระเพาะอาหารบางชนิดอาจเกิดจากโรคมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของแผลในกระเพาะอาหาร มีปัจจัยเสี่ยงหลายประการที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย โรคมะเร็ง การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การรับประทานอาหารที่มีกรดมากเกินไป ความตึงเครียดทางกายหรือทางจิตใจ ยาต้านการอักเสบ รวมทั้งแอสไพริน ไอบูโพรเฟน (Motrin) นาพรอกเซน (Aleve) คีโตรโปรเฟน (Actron, Orudis KT) และยาบางชนิดที่จ่ายเพื่อรักษาโรคข้ออักเสบ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลที่นำเสนอในที่นี้ ไม่สามารถใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยแผลในกระเพาะอาหาร สามารถวินิจฉัยแผลในทางเดินอาหารได้โดย การตรวจร่างกายเพื่อตรวจหาความกังวลและอาการต่างๆ ที่คุณมี ประวัติทางการแพทย์ของคุณ สุขภาพของคนในครอบครัว และยาเพื่อรักษาโรคที่คุณกำลังใช้อยู่ อาการแพ้ที่คุณอาจจะมี และประเด็นอื่นๆ การตรวจหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น (Upper gastrointestinal series) การส่องกล้องภายในระบบทางเดินอาหาร การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อแบคทีเรีย […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

เคล็ดลับการใช้ชีวิตแบบมีสุขภาพดีของ ผู้ป่วยตับอักเสบ

แน่นอนว่า หากเราเจ็บป่วยเป็นโรคใดก็ตาม การเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญ แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันนอกจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของตัวผู้ป่วยเอง ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะเป็นตัวช่วยในเยียวยาฟื้นฟูสภาพร่างกายจากการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การมีไลฟ์สไตล์ที่เหมาะสม ยังเป็นการเสริมสร้างสุขภาพโดยรวมของตัวคุณเอง รวมทั้งยังเป็นเกราะป้องกันโรคภัยอื่นๆ ในระยะยาวอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณเป็น ผู้ป่วยตับอักเสบ คุณจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณอย่างไรเพื่อฟื้นฟูและ รักษาโรคตับอักเสบ ให้ดีขึ้น บทความนี้มีคำตอบ ผู้ป่วยตับอักเสบ ควรใช้ชีวิตอย่างมีสุขภาพดีอย่างไรบ้าง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าแอลกอฮอล์จะไม่ใช่สาเหตุทำให้เป็นโรคตับอักเสบก็ตาม แต่คุณก็ควรเลิกดื่มซะ เพราะความผิดปกติของตับอาจเลวร้ายขึ้นเมื่อคุณยังคงดื่มแอลกอฮอล์ต่อไป รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารของคุณถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุุด โดยคุณควรเป็นการลดปริมาณการรับประทานอาหารโซเดียมสูง โดยสามารถเลือกอาหารที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ และลดปริมาณเกลือในสูตรอาหารลง เพราะเกลือและโซเดียมในปริมาณมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายของคุณบวมน้ำ และทำให้อาการบวมที่ท้องน้อยและขาแย่ลง นอกจากนี้ ยังควรเพิ่มผักและผลไม้เยอะๆ ในอาหารแต่ละมื้อให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เนื่องจากผักและผลไม้นั้นเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญที่ช่วยเพิ่มความต้านทานโรคของร่างกายได้ โรคตับอักเสบมักนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการและสูญเสียกล้ามเนื้อ ดังนั้น คุณจึงต้องการปริมาณโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยคุณสามารถเลือกรับประทานโปรตีนแบบไร้ไขมัน เช่น ถั่วประเภทฝัก สัตว์ปีก หรือปลา และอย่าลืมว่าควรหลีกเลี่ยงอาหารทะเลดิบๆ อยู่ให้ห่างจากยาที่เป็นอันตราย ยาแบบสั่งจ่ายบางประเภทซึ่งใช้เพื่อรักษาอาการอื่นๆ อาจเป็นอันตรายได้ในกรณีที่คุณเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น คุณควรใช้ยาที่ซื้อเองอย่างระมัดระวัง การเป็นโรคตับอักเสบ ทำให้ตับของคุณจัดการกับยายากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาใดๆ ก็ตาม รวมทั้งยาแบบไม่ได้สั่งจ่ายโดยแพทย์ และแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรให้ทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังรับประทานอยู่ทุกครั้ง เปลี่ยนนิสัยของคุณ การเปลี่ยนแปลงนิสัยที่ทำร้ายสุขภาพโดยรวมของคุณ อาจช่วยให้คุณสามารถป้องกันและรับมือกับโรคตับอักเสบได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเลิกสูบบุหรี่ และออกกำลังกายทุกวัน รวมทั้งการรับประทานวิตามินรวม (ที่สั่งจ่ายโดยแพทย์) นอกจากนี้ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ความแตกต่างของ โรคตับชนิดต่างๆ มีอะไรบ้างที่ควรรู้

โรคตับ (Hepatic disease) เป็นโรคที่เกิดจากการที่ตับได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดแผลเป็นแบบถาวร จนทำให้เป็นพังผืดขึ้นในเนื้อตับ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของลดลง และส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม โรคตับมีหลายชนิดและเกิดจากสาเหตุที่แตกต่างกัน บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ โรคตับชนิดต่างๆ กันค่ะ โรคตับชนิดต่างๆ แบ่งตามสาเหตุการเกิดโรค โรคไวรัสตับอักเสบ  โรคตับที่มีสาเหตุจากแอลกอฮอล์ โรคตับที่มีสาเหตุจากพิษ หรืออาหารเป็นพิษ โรคตับที่มีสาเหตุจากโรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของตับ โรคตับที่มีสาเหตุจากมะเร็งตับ  โรคตับชนิดต่างๆ โรคไวรัสตับอักเสบเอ โรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A) จัดเป็นหนึ่งในประเภทของโรคตับ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ (HAV) ตัวโรคสามารถแพร่กระจายได้ผ่านอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนสิ่งปฏิกูลที่ติดเชื้อ โดยทั่วไปแล้ว สามารถได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจากปัจจัยดังต่อไปนี้ รับอาหารมาจากคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ซึ่งอาจมีการสัมผัสกับปัสสาวะหลังจากเข้าห้องน้ำ และไม่ได้ล้างมือ มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนักหรือทางปาก กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ ไม่ล้างมือหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อม ดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัสตับอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) จัดเป็นหนึ่งในประเภทของโรคตับ มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสตับ อักเสบบี (HBV) ไวรัสตับอักเสบบี สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสเลือด หรืออสุจิของผู้ติดเชื้อ หรือของเหลวจากร่างกายผู้อื่น นอกจากนี้ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้ทารกที่เกิดมาติดเชื้อไปด้วย ถ้าป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบี (HBV) ก็อาจเกิดอาการมีไข้ แต่ในบางรายก็ไม่เกิดอาการใด ๆ การตรวจเลือด คือวิธีที่แน่นอนในการพิสูจน์ว่าป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวจากโรคไวรัสตับอักเสบบีได้ภายในเวลาไม่กี่เดือน แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็อาจเป็นโรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรัง ซึ่งตัวโรคจะคงอยู่ไปตลอดชีวิต นอกจากนี้ โรคไวรัสตับอักเสบบีชนิดเรื้อรังยังสามารถนำมาสู่การเกิดแผลในตับ เกิดความเสียหายในตับ รวมถึงเกิดมะเร็งตับได้อีกด้วย ภาวะดีซ่าน ดีซ่าน […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

มีเซ็กส์แบบฉลาด ให้แคล้วคลาดจากเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี  มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด ซี (HCV) โรคนี้สามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยผ่านหลายช่องทาง เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน จากการศึกษาพบว่า คนจำนวน 1 จาก 190,000 จากกลุ่มตัวอย่าง ติดเชื้อนี้จากการมีเพศสัมพันธ์ โดยข้อมูลดังต่อไปนี้ จะไขขอข้องใจเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบจากเพศสัมพันธ์ [embed-health-tool-bmr] คุณสามารถติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบซี ได้อย่างไรบ้าง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบมักไม่แสดงอาการ จนกระทั่งเป็นการติดเชื้อเรื้อรัง โดยทั่วไป คนส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จนตับถูกทำลายไปมากแล้ว จนเพิ่งมาตรวจพบเมื่อหลายสิบปีผ่านไป คุณอาจติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีในกรณีดังต่อไปนี้ ใช้เข็มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อร่วมกัน โดยเฉพาะผู้ใช้สารเสพติด เช่น ผู้เสพเฮโรอีน ติดจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอด ถูกเข็มที่ผู้ติดเชื้อใช้ทิ่ม ใช้อุปกรณ์ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น มีดโกน และ แปรงสีฟัน เพศสัมพันธ์ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ แม้จะเกิดขึ้นไม่มาก และผู้ที่ติดเชื้อมีความเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีเพิ่มขึ้นด้วย ความเสี่ยงเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเกิดจากกิจกรรมทางเพศ ดังนี้ มีคู่นอนหลายคน ติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ติดเชื้อเอชไอวี มีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เช่น ไม่ใช้ถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย ไม่มีการป้องกันที่เหมาะสม ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นโดยการติดเชื้อทางเลือด แม้ว่าเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจะสามารถตรวจพบได้ในน้ำคัดหลั่ง การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นจากแผลเปิด หรือรอยแตกบริเวณผิวหนัง การสัมผัสทางผิวหนังระหว่างการร่วมเพศสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางเลือดได้ ในหลายกรณี พบว่ามีการติดเชื้อเอชไอวีร่วมกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี จากการสำรวจ ผู้ที่ใช้เข็มฉีดยาจำนวนร้อยละ […]


โรคกรดไหลย้อน

รักษากรดไหลย้อน ได้ง่ายๆ ด้วย 6 วิธีต่อไปนี้

คุณกำลังมีอาการกรดไหลย้อนอยู่หรือเปล่า แล้วคุณก็กังวลถึงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนอยู่ด้วยใช่ไหม ถูกแล้ว! อาหารบางประเภทกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่อาการกรดไหลย้อนได้ จริงๆ แล้ว การ รักษากรดไหลย้อน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น คุณควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก และหลีกเลี่ยงการเอนหลังหรือนอนราบ หลังจากการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ได้ จะมีวิธีใดบ้างไปดูกัน รักษากรดไหลย้อน  ได้ด้วยวิธีใดบ้าง จำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถทุเลาลงได้อย่างง่าย เพียงแค่ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง กรดในกระเพาะและคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป เป็นที่ทราบกันว่าเป็นสาเหตุของอาการกรดไหลย้อน คาร์โบไฮเดรตอาจสะสมอยู่ในกระเพาะอาหารและสร้างแก๊ส จึงเป็นการเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารและทำให้เกิดอาการท้องอืด ลมในกระเพาะ กลิ่นปาก และอาหารไม่ย่อยได้ รวมถึงยังทำให้ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในลำไส้ใหญ่รุนแรงขึ้น หากถามถึงเครื่องดื่ม คุณควรดื่มชา สมูทตี้ น้ำผลไม้ ที่ทำมาจากผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว หรือกรดผลไม้ตามธรรมชาติที่จะทำให้กรดไหลย้อนแย่ลง เพิ่มปริมาณไขมันและโปรตีน ไขมันและโปรตีนอุดมด้วยสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยลดความอยากน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสีได้ ไขมันมีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ในขณะที่โปรตีนช่วยในการย่อยอาหาร เนื่องจากมี กรดไฮโดรคลอริค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่ช่วยการย่อยโปรตีน เช่น เปปซิน การบริโภคโปรตีนเพิ่มขึ้น ทำให้กรดที่ใช้ย่อยโปรตีนถูกนำไปใช้แทนที่จะเพิ่มระดับในหลอดอาหาร อาหารประเภทโปรตีนที่ควรรับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการทำให้สะอาด ปลา ไข่ออร์แกนิก นมที่ไม่ผ่านกระบวนการ (หากไม่มีอาการแพ้หรือ ไม่มีปัญหาการย่อย) ถั่วและธัญพืชเต็มเมล็ด น้ำมันคุณภาพดี เช่น ไขมันหมู ไขมันวัว น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ จำกัดปริมาณกลูเตนในมื้ออาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี หากวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ผล […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

จะรู้ได้ไงว่าตับกำลังไม่สบาย รู้ทัน สัญญาณโรคตับ ก่อนสายเกิน

ตามสถิติแล้ว ประชากรมากกว่าหนึ่งในสามต้องทนทุกข์จากโรคตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจไม่พบในระยะแรกเริ่ม จึงนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ต่อไปนี้คือ สัญญาณโรคตับ ที่อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด สัญญาณโรคตับ มีอะไรบ้าง หากป่วยเป็นโรคตับ ปกติแล้วร่างกายจะแสดงอาการที่มีลักษณะของเฉพาะของโรค อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกว่า 2 ใน 3 กลับไม่แสดงอาการ หรือไม่เช่นนั้น ก็มักจะสับสนกับสภาวะอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว สัญญาณที่บอกถึงอาการของโรคตับ มีดังต่อไปนี้ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น เรื่องธรรมดาอย่างการมีลมหายใจมีกลิ่นเหม็น อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคตับได้ โดยปกติแล้วถ้าตับทำงานได้ไม่ดี ปากก็จะมีกลิ่นเหม็น สภาวะนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายผลิตแอมโมเนียมากเกินไปนั่นเอง อ่อนเพลีย ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย คือสัญญาณของโรคตับ ผู้ป่วยโรคตับมักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย มีการเคลื่อนไหวที่เฉื่อยชา บ่อยครั้งที่อาการนี้มักจะทำให้สับสนกับอาการของโรคอื่นๆ โรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับคืออวัยวะสำคัญในระบบการเผาผลาญอาหาร ถ้าตับเกิดความเสียหาย การย่อยอาหารก็จะยากขึ้น ผู้ป่วยโรคตับมักมีอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ้าอาการหนัก ก็อาจมีสัญญาณของอุจจาระเหลือง และปัสสาวะกลายเป็นสีเทาหรือสีคล้ำ ในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย อาจมีภาวะหลอดเลือดแตก ในหลอดอาหาร ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดการอาเจียนเหรือขับถ่ายเป็นเลือด มีไข้อ่อนๆ ในช่วงบ่าย การเป็นไข้ คือปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปของร่างกายต่อสิ่งรบกวนภายนอก เช่น สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกะทันหัน รวมถึงสิ่งรบกวนภายในร่างกาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีไข้อ่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงบ่ายบ่อยผิดปกติ ก็เป็นสิ่งที่ชะล่าใจไม่ได้ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ข้อควรรู้เกี่ยวกับประเภทของ การตรวจการทำงานของตับ (LFTs)

การตรวจการทำงานของตับ (LFTs) คือการตรวจที่ช่วยให้คุณหมอสามารถวิเคราะห์ว่าตับมีปัญหาหรือไม่ แต่การตรวจการทำงานของตับโดยทั่วไปมักจะใช้ตรวจสอบสภาวะการทำงานของตับโดยรวมเท่านั้น โดยบางครั้ง ค่าที่ได้อาจไม่ได้แม่นยำเท่าใดนักเนื่องจากไม่ได้ตรวจสอบการทำงานของตับอย่างครอบคลุม โดยทั่วไป การตรวจการทำงานของตับ LFTs สามารถแบ่งแยกย่อยเป็น 3 ประเภทหลักดังต่อไปนี้ การตรวจการทำงานของตับ แบ่งออกเป็นประเภทใดบ้าง 1. การตรวจค่าบิลิรูบิน (Bilirubin) บิลิรูบิน คือ สารชนิดหนึ่งที่เกิดจากการสลายของฮีโมโกลบิน โดยกลายเป็นเอนไซม์ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ โดยร้อยละ 95 ของบิลิรูบิน ถูกผลิตขึ้นเพราะเซลล์เม็ดเลือดแดงหมดอายุขัย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.บิลิรูบินชนิด Unconjugated 2.บิลิรูบินชนิด Conjugated บิลิรูบินชนิด Unconjugated เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบิลิรูบินแบบทางอ้อม จัดเป็นสารละลายในไขมัน ซึ่งจะจับตัวกับพลาสมาอัลบูมิน (Albumin) ก่อนที่จะลอยไปถึงตับ แต่เมื่อลอยมาถึงตับแล้ว บิลิรูบินชนิด Unconjugated ก็จะถูกเรียกชื่อใหม่เป็นชนิด Conjugated ซึ่งมีการผสมกับกรดกลูคูโรนิก (glucuronic acid) เรียบร้อยแล้ว บิลิรูบินชนิดนี้เรียกได้อีกแบบว่าเป็นบิลิรูบินแบบทางตรง ซึ่งเป็นสารที่ละลายน้ำได้ และสามารถขนส่งผ่านทางท่อน้ำดี การเพิ่มจำนวนของบิลิรูบินชนิด Unconjugated อาจไม่ได้เกิดจากโรคตับ แต่อาจเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี ทั้งจากการแตกตัวของเม็ดเลือดแดง (hemolysis) การที่เม็ดเลือดแดงตัวอ่อนตายตั้งแต่ในไขกระดูก (ineffective erythropoiesis) หรือการดูดซึมกลับจากภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ การมีบิลิรูบินในเซลล์ตับ (กลุ่มอาการ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ดื่มแอลกอฮอล์ มากเกินไป ทำร้ายตับอย่างไรบ้าง

การ ดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องในโอกาสพิเศษ หรือบางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวกับโอกาสใด ๆ กลายเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกในสังคมไทยไปเสียแล้ว แต่การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ สามารถก่อให้เกิดปัญหาได้ในหลายด้าน นอกจากจะนำไปสู่ปัญหาทางสังคมแล้ว ยังสร้างความเสียหายต่อสุขภาพได้ด้วย โดยเฉพาะโรคตับ เพราะเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถือเป็นปัญหาสำคัญของโรคตับเลยก็ว่าได้ ร่างกายดูดซึมแอลกอฮอล์อย่างไร เมื่อคุณดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางกระเพาะอาหารและเยื่อบุลำไส้อย่างรวดเร็ว เลือดทั้งหมดที่อยู่ในทางเดินอาหารจะถูกส่งผ่านไปยังตับก่อนกลับมาที่หัวใจ ด้วยเหตุนี้ ตับจึงต้องเจอกับแอลกอฮอล์ปริมาณมาก เซลล์ตับจะมีระบบเอนไซม์ช่วยแปรรูปและขนส่งแอลกอฮอล์ผ่านการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งสุดท้ายจะได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ที่ถูกปล่อยออกมาในปัสสาวะและเข้าสู่ปอด แต่ความสามารถของตับนั้นมีจำกัด ในทุก ๆ ชั่วโมง ตับสามารถรับมือกับแอลกอฮอล์ได้ในปริมาณน้อยนิดเท่านั้น มีงานวิจัยเปิดเผยว่า นักวิทยาศาสตร์ได้แนะนำจำนวนแอลกอฮอล์ที่เหมาะสมต่อบุคคลทั่วไป คือ ควรดื่ม 1-2 ยูนิตต่อวันเท่านั้น 1 ยูนิตในที่นี้เท่ากับแอลกอฮอล์ 40 ดีกรี ปริมาณ 25 มล. และแอลกอฮอล์ 20 ดีกรี ปริมาณ 50 มล. นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง และผู้ที่ดื่มสุรามากเกินไป ก็อาจก่อให้เกิดโรคตามมาได้ เช่น โรคไขมันพอกตับ โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง โรคทั้ง 3 ชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นได้พร้อมกัน หรือค่อย ๆ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน