สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ระบบย่อยอาหาร คือหนึ่งในระบบที่สำคัญที่สุดของร่างกาย เนื่องจากร่างกายของเราจะได้รับสารอาหารที่จำเป็นอาหาร เพื่อการทำงานที่เป็นปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นจะเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากอะไร

อาการไส้ติ่ง ที่บ่งบอกว่า ร่างกายอาจกำลังเกิดอาการไส้ติ่งอักเสบ หรืออาจร้ายแรงได้ถึงอาการไส้ติ่งแตก ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้ ถ้าไม่สังเกตร่างกายให้ดีและพบคุณหมอเสียแต่เนิ่น ๆ [embed-health-tool-bmi] สาเหตุของโรคไส้ติ่งอักเสบ  ไส้ติ่งสามารถเกิดภาวะการอักเสบได้จากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะไส้ติ่งเกิดภาวะการอักเสบจากการอุดตันภายใน เช่น  เศษอุจจาระขนาดเล็กที่ทำให้ไส้ติ่งเกิดการติดเชื้อและบวมขึ้น เมื่ออุจจาระ ของเสีย สิ่งแปลกปลอม หรือก้อนเนื้อมะเร็ง ได้อุดตันในไส้ติ่งจะทำให้เกิดแบคทีเรียสะสม อาจเกิดอาการเลือดคั่ง จนกระจายไปที่ผนังไส้ติด ทำให้เกิดภาวะการอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย รวมถึงต่อมน้ำเหลืองในไส้ติ่งเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง จนขยายตัวขึ้นไปปิดกั้นไส้ติ่ง ทำให้เกิดอาการไส้ติ่งอักเสบได้ บางกรณีเกิดได้จากการรับประทานเนื้อสัตว์ไม่สุก เช่น เนื้อวัวหรือเนื้อควายดิบ ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคพยาธิตัวตืดวัวควาย จากการกินตัวอ่อนพยาธิหรือเม็ดสาคู เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ลำตัวจะเป็นปล้อง ๆ แล้วปล้องสุกจะหลุดออกมากับอุจจาระ ปล้องสุกที่หลุดออกมาอาจเข้าไปในไส้ติ่ง ทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้ อาการไส้ติ่ง เริ่มต้นเป็นอย่างไร อาการไส้ติ่ง พบได้กับทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยจะรู้สึกถึงความผิดปกติก็ต่อเมื่อเกิดโรคไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis) แล้ว ทำให้ร่างกายค่อย ๆ แสดงอาการเมื่อไส้ติ่งเริ่มอุดตัน เช่น  เกิดอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลันที่บริเวณรอบสะดือ  ระยะต่อมา เมื่อไส้ติ่งเริ่มบวมจะลุกลามไปปวดท้องบริเวณชายโครงด้านขวา หรือปวดที่ท้องด้านล่างขวา เนื่องจากการอักเสบที่ลุกลามมากขึ้น จะรู้สึกเจ็บบริเวณที่ไส้ติ่งมากขึ้น ขณะลุกเดิน เคลื่อนไหวร่างกาย หรือแม้กระทั่งไอและจาม มีไข้ จุกแน่นท้อง  คลื่นไส้ […]

หมวดหมู่ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพระบบทางเดินอาหาร

ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

วิตามินบำรุงตับ 5 ชนิด ที่ช่วยไม่ให้ตับทำงานหนักเกินไป

ตับมีหน้าที่คัดกรองสารพิษหลายร้อยชนิดที่พบอยู่ในอาหารและสภาพแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้น ตับยังมีส่วนในการช่วยย่อยอาหาร และสร้างพลังงานไปเลี้ยงอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เมื่อตับต้องทำงานหนักเพื่อร่างกายเราหนักขนาดนี้ เราก็ควรแบ่งเบาภาะตับด้วยการรับประทานอาหารที่มีวิตามินและแร่ธาตุ หากอาหารที่รับประทานมีวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอ ก็สามารถทานอาหารเสริมเป็นการช่วยเหลือได้เช่นกัน ต่อไปนี้คือรายชื่อ วิตามินบำรุงตับ 5 ชนิดที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตับมากขึ้น [embed-health-tool-bmr] วิตามินเอและธาตุเหล็ก การขาด วิตามินเอ และ ธาตุเหล็ก เป็นหนึ่งในข้อบกพร่องทางโภชนาการที่พบได้ทั่วโลก ตามข้อมูลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการฉบับปี 2000 วิตามินเออาจลดระดับธาตุเหล็กและทำให้เป็นโรคโลหิตจาง ส่วนภาวะธาตุเหล็กต่ำ ก็อาจนำไปสู่การขาดวิตามินเอในตับ และจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารโภชนาการระดับนานาชาติระบุว่า การได้รับวิตามินเอคู่กับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นนั้นช่วยแก้ปัญหาโรคโลหิตจางและภาวะขาดธาตุเหล็กได้ดีกว่าการรับประทานธาตุเหล็กหรือวิตามินเอเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้วิตามินเอ จะมีประโยชน์หลายอย่างต่อผู้ที่ป่วยโรคตับ ก็อาจส่งผลเสียต่อตับได้หากได้รับในปริมาณสูงเกินไป ยกตัวอย่างเช่น ธาตุเหล็กอาจเป็นเหตุให้เกิดรอยแผลเป็นในเนื้อตับ เพราะฉะนั้น ผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคตับแข็ง จึงควรรับประทานวิตามินรวมที่ไม่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบ เว้นแต่แพทย์จะพิจารณาว่าผู้ป่วยมีอาการขาดธาตุเหล็กเท่านั้น วิตามินดี จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ในเมืองเมมฟิส สหรัฐอเมริกา กว่าร้อยละ 90 ของผู้ที่เป็นโรคตับเรื้อรัง มักมีอาการขาดวิตามินดี นอกจากนี้ นักวิจัยยังเห็นพ้องว่าการขาดวิตามินดีอย่างรุนแรง คือปัญหาที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ซึ่งเป็นโรคตับขั้นรุนแรงที่อาจนำไปสู่การเป็นมะเร็งตับ อย่างไรก็ตาม การทานอาหารเสริมที่มีวิตามินดีมากเกินไป ก็อาจทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียน รวมถึงมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง รวมทั้งมีการเจริญเติบโตที่ผิดปกติได้ วิตามินอี วิตามินอี ถือเป็นวิตามินอีกหนึ่งชนิดที่มีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคตับอย่างมาก แต่หากได้รับมากเกินไปก็อาจเกิดอันตรายได้ หากได้รับวิตามินอีเกินกว่า 1,200 IU […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

อาหารล้างพิษตับ 14 ชนิด ที่จะช่วยให้ตับสะอาด ปราศจากสารพิษ

การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันทำให้ตับทำงานมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะการทานอาหารแปรรูปหรือของทอดมากเกินไป หรือการสัมผัสกับสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลพิษ หรือต้องพบเจอกับภาวะความเครียด ในภาวะเช่นนี้ ตับจะถูกบังคับให้ทำงานหนักเกินกว่าที่รับไหว และการที่ตับทำงานหนักเกินไปทำให้ความสามารถในการคัดกรองพิษและไขมันลดลง และนี่คือ อาหารล้างพิษตับ 14 ชนิดที่จะช่วยทำความสะอาดตับในแบบธรรมชาติ และช่วยฟื้นฟูประสิทธิภาพของตับในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย อาหารล้างพิษตับ มีอะไรบ้าง กระเทียม เอนไซม์ในตับที่ช่วยกำจัดพิษจะถูกกระตุ้นการทำงานเพียงแค่รับประทานกระเทียมจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น กระเทียมยังมีสารอัลลิซิน (allicin) และซีลีเนียม (selenium) อยู่จำนวนมาก ซึ่งจะช่วยเพิ่มกระบวนการทำความสะอาดตับให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เกรปฟรุต ในผลไม้ตระกูลซิตรัส ซึ่งประกอบไปด้วยเกรปฟรุต เลม่อน ส้ม และมะนาว ล้วนเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินซีสูง ด้วยเหตุนี้ ผลไม้เหล่านี้จึงช่วยส่งเสริมกระบวนการทำความสะอาดตับตามธรรมชาติ แค่ดื่มน้ำเกรปฟรุตคั้นสดเพียงวันละแก้ว ก็สามารถช่วยเพิ่มการผลิตเอนไซม์กำจัดพิษออกจากร่างกาย ซึ่งจะช่วยกำจัดสารก่อมะเร็ง รวมถึงสารพิษชนิดอื่นได้อย่างดีเยี่ยม บีทรูทและแครอท สารพฤกษเคมีที่ชื่อฟลาโวนอยด์และสารเบต้าแคโรทีน พบในในพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ในปริมาณที่สูงมาก การทำงานของตับจะดีมากยิ่งขึ้นเมื่อร่างกายได้ดูดซึมสารอาหารเหล่านี้จากบีทรูทและแคร์รอท ชาเขียว ชาเขียวถือเป็นหนึ่งในเครื่องดื่มที่เกิดมาเพื่อตับโดยแท้จริง เนื่องจากในชาเขียวเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า คาเทชิน (Catechin) ว่ากันว่าสารตัวนี้สามารถช่วยการทำงานของตับให้ดียิ่งขึ้น เคียงคู่กับความอร่อยและดีต่อสุขภาพ แต่โปรดจำให้ขึ้นใจว่า ควรดื่มชาเขียวที่ชงจากใบชา ไม่ใช่ชาเขียวสกัด ถึงจะได้ประโยชน์สูงสุด เพราะมีหลายงานวิจัยรองรับว่า การดื่มชาเขียวสกัดอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของตับได้ ผักใบเขียว ผักใบเขียวถูกยกให้เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่แข็งแกร่งที่สุดในการทำความสะอาดตับ เนื่องจากผักใบเขียวอุดมไปด้วยสารคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีความสามารถในการดูดซับพิษจากกระแสเลือด ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีความสามารถในการต้านทานสารโลหะหนักและสารเคมีอีกด้วย ซึ่งถือเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่ไม่ควรมองข้ามเลยทีเดียว อะโวคาโด จัดเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ อีกทั้งยังมีกลูตาไธโอน (glutathione) ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่มีบทบาทสำคัญในการกำจัดพิษจากตับอย่างมีประสิทธิภาพ แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลอุดมไปด้วยสารเพคติน และสารเคมีที่ร่างกายต้องใช้งานในการทำความสะอาดและกำจัดพิษส่วนหนึ่งออกจากระบบย่อยอาหาร […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

คุณมีโอกาสเสี่ยง ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ได้อย่างไรบ้าง

ไวรัสตับอักเสบ คือ เชื้อโรคชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานของตับโดยเฉพาะ และเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงหลักของการเป็นมะเร็งตับ ตัวโรคอาจเกิดขึ้นได้จากการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป รวมถึงเกิดจากภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานต่ำ รวมทั้งมีพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ พฤติกรรมเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ต่อไปนี้คือพฤติกรรมที่เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการ ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ใช้ยาโดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ รวมถึงการใช้เข็มร่วมกับผู้อื่น ก็จะทำให้สัมผัสกับเลือดที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ การติดเชื้อ HIV คนเราสามารถติดเชื้อ HIV ได้ผ่านการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น หรือเป็นการรับเลือดที่มีการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกาย รวมถึงการมีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย ก็ทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นตับอักเสบเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การรับของเหลวใดๆก็ตามเข้าสู่ร่างกายคือความเสี่ยงสูงสุด ไม่ใช่เพียงเพราะมีเชื้อ HIV การสัก การเจาะร่างกาย และการใช้เข็มกับร่างกายชนิดอื่นๆ หากคุณกำลังคิดจะไปสัก เจาะร่างกาย หรือแม้แต่ไปฝังเข็ม หากพบเจอร้านที่ไม่ได้ใช้เข็มใหม่หรือสะอาดสำหรับลูกค้าทุกคน ดังนั้น ก็มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่คุณจะติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ รวมถึงโรคติดต่อร้ายแรงที่มากับเลือด เช่น HIV มีกิจกรรมทางเพศที่ไม่ปลอดภัย (ทั้งทางทวารหนักและปาก) ถึงแม้ว่าไวรัสตับอักเสบเอและอี จะเป็นชนิดที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการทานอาหารและน้ำดื่มที่ปนเปื้อน แต่กิจกรรมทางเพศทั้งทางทวารหนักและปาก ก็อาจแพร่เชื้อไวรัสตับอักเสบได้เช่นกัน อยู่ร่วมอาศัยกับคนที่ป่วยเป็นติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ มีอาชีพเป็นผู้ดูแลด้านสุขภาพ โดยอาชีพนี้มีปัจจัยเสี่ยงจากการสัมผัสเลือดคนไข้ รวมถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เข็มฉีดยา เป็นต้น การเดินทางไปต่างประเทศ ก็มีความเสี่ยงต่อการดื่มน้ำที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ โรคตับอักเสบที่ไม่ได้เกิดจากไวรัส โรคตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ ตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อดื่มแอลกอฮอล์มากเกินพอดี อย่างไรก็ตาม กลไกที่แท้จริงของการทำลายตับชนิดนี้ยังคงไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่ชัด แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุทำให้ตับบวมโตและเจ็บปวด แต่การรับประทานยาบางชนิดมากเกินไปหรือการรับพิษเข้าสู่ร่างกายก็อาจเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบได้เช่นกัน ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่ทำให้เกิดโรคตับอักเสบ มีดังนี้ ร่างกายจะดูดซับแอลกอฮอล์ จากนั้นจึงเปลี่ยนแอลกอฮอล์ให้กลายเป็นสารอนุพันธุ์ที่มีความเป็นพิษสูง สารเคมีที่มาจากแอลกอฮอล์จะก่อให้เกิดการอักเสบ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่านะ

มีหลายคนยังสงสัยว่า ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ได้หรือเปล่า ความจริงคือ ไวรัสตับอักเสบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไวรัสตับอักเสบชนิดซี (HCV) เป็นสาเหตุให้เซลล์ตับเกิดการอักเสบและถูกทำลาย เมื่อเกิดการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปประกอบร่วมกับการติดเชื้อจากไวรัสตับอักเสบซี ตับจึงสามารถเกิดความเสียหายได้อย่างน่ากลัว ผลกระทบที่เกิดขึ้น เมื่อ ผู้ป่วยโรคตับอักเสบดื่มแอลกอฮอล์ ตับมีบทบาทสำคัญหลายอย่างในกระบวนการทำงานของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นช่วยย่อยอาหาร คัดกรองสารพิษในเลือด และช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อและเชื้อโรค เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าไป ตับจะแบ่งโมเลกุลของแอลกอฮอล์ เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปจึงไปทำลายและฆ่าเซลล์ตับได้ ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์อย่างหนักจะเป็นโรคไขมันพอกตับ โรคตับอักเสบที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ และโรคตับแข็งจากการดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก แม้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน ก็สามารถก่อให้เกิดไขมันในตับได้เช่นกัน ภาวะนี้เรียกกันว่า โรคไขมันพอกตับจากแอลกอฮอล์ โรคไขมันพอกตับนั้นแทบไม่แสดงอาการใดๆ แต่จะมีสัญญาณเตือน หากดื่มคุณแอลกอฮอล์ในปริมาณที่อันตราย โรคไขมันพอกตับและโรคตับอักเสบจากการดื่มแอลกอฮอล์ในระยะแรกเริ่ม สามารถรักษาหายได้ถ้าหยุดดื่มแอลกอฮอล์ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ที่ได้รับความเสียหายการดื่มแอลกอฮอล์และโรคตับแข็งที่รุนแรงนั้น จะคงอยู่ถาวร และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน รวมถึงทำให้เสียชีวิตได้ ผลกระทบที่เกิดจากแอลกอฮอล์ใน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ ผลกระทบสะสมที่เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ใน ผู้ป่วยโรคตับอักเสบ นั้น ถือว่าเสี่ยงต่อสุขภาพของตับอย่างยิ่ง คุณหมอหลายท่านเคยกล่าวไว้ว่า ปริมาณแอลกอฮอล์ในการดื่มแต่ละวันหากเกิน 50 กรัม (หรือเท่ากับสามแก้วครึ่งแก้วต่อวัน) ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดพังผืดและโรคตับแข็งชนิดเรื้อรัง รวมถึงโรคตับร้ายแรงชนิดอื่นๆ อีกด้วย การดื่มแอลกอฮอล์ขัดขวางการรักษา HCV วิธีการรักษาด้วยอินเตอร์เฟอรอน (interferon) คือทางเลือกในการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี การรักษาชนิดนี้ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับอย่างไรก็ตาม […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

หยุด! 6 พฤติกรรมต่อไปนี้ที่ทำให้โรค ตับอักเสบ แย่ลง

การใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เมื่อป่วยเป็นโรค ตับอักเสบ เป็นสิ่งที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรังได้แบบไม่รู้ตัว ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพไม่เพียงช่วยเราป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อตับได้เท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคต่อบุคคลอื่นอีกด้วย ถึงเวลาแล้วที่เราจะเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง หากคุณยังมีพฤติกรรมเหล่านี้ต่อไปล่ะก็ ควรพิจารณา ลด ละ เลิก เพื่อผลดีต่อตัวคุณเองในระยะยาว 1.สูบบุหรี่ หากคุณป่วยเป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี ยาเส้นในมวนบุหรี่คือสารก่อมะเร็งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ นอกจากนี้ มันยังทำลายปอดของคุณด้วย ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ โอกาสที่จะได้รับการปลูกถ่ายตับก็ลดน้อยลงมากขึ้นหากอาการของโรคไวรัสตับอักเสบซีแย่ลง และอาจก่อให้เกิดโรคตับแข็ง รวมถึงตับวายตามมา ถ้าไม่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้โดยทันที ก็ควรลองปรึกษาแพทย์ หรือขอความช่วยเหลือจากครอบครัวและคนที่คุณรัก 2.ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่มีครั้งไหนที่แอลกอฮอล์จะถูกบรรจุในรายชื่อของผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สุขภาพดี และยังเป็นสาเหตุของโรคตับอักเสบอีกด้วย หากคุณดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมาก จะทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากตับต้องทำหน้าที่กำจัดพิษของแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นแล้ว จึงถือได้ว่าแอลกอฮอล์คือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตับ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งหรือแม้แต่มะเร็งตับ หากคุณผู้อ่านยังดื่มอยู่ การลด ละ เลิกจะเป็นการดีที่สุด 3.ใช้ยาและสารกระตุ้น การใช้ยาผ่านการฉีด การสูด หรือการสูบ รวมถึงการใช้สารกระตุ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ ตามมา รวมถึงติดเชื้อร้ายแรงอย่างเช่น HIV หรือโรคเอดส์ หากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกัน เช่น ติดทั้งเชื้อไวรัส ตับอักเสบ ซี และไวรัสตับอักเสบบี พร้อมกัน ก็จะรักษาได้ยากมากกว่าผู้ที่ติดเชื้อเพียงชนิดเดียว 4.มีเซ็กส์ที่ไม่ปลอดภัย ไม่ควรมีเซ็กส์แบบไร้การป้องกัน ควรใช้ถุงยางอยู่เสมอเมื่อมีกิจกรรมทางเพศกับคู่ของคุณ เพราะมันเป็นสิ่งที่ช่วยป้องกันคู่ของคุณจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เป็นการป้องกันตัวคุณเองจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดอื่นๆ […]


โรคตับ

ไวรัสตับอักเสบบี กับความเชื่อผิด ๆ ที่ควรเข้าใจใหม่ให้ถูกต้อง

กรมอนามัยโลกประมาณจำนวนผู้ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี ไว้ที่ 240 ล้านคน โรคไวรัสตับอักเสบเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส ที่ส่งผลโดยตรงต่อตับ การติดเชื้ออาจเรื้อรังหรือเฉียบพลันได้ เนื่องจากประชากรผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีอยู่ทั่วโลก จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งบางข้อก็จริง แต่บางข้อนั้นเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และควรได้รับการอธิบายให้ถูกต้อง [embed-health-tool-bmi] ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับ การติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบบี การรู้สึกแข็งแรงไม่ได้หมายความว่าไม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในช่วงของการติดเชื้อเฉียบพลัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจไม่พบอาการ แต่บางคนอาจเกิดอาการเฉียบพลัน ซึ่งเกิดขึ้นนานนับสัปดาห์ เช่น ตัวเหลือง ตาเหลือง อุจจาระสีเข้ม อ่อนเพลียมาก ปวดท้อง คลื่นไส้ ในผู้ป่วยบางราย ไวรัสตับอักเสบบีสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อที่ตับเรื้อรัง ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือแม้แต่มะเร็งตับได้ กว่าร้อยละ 90 ของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถรักษาได้ และหายจากการติดเชื้อได้ ภายในเวลาครึ่งปี การตรวจคัดกรองไม่จำเป็นหากไม่ได้ใช้สารเสพติด หรือไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ไม่ใช่คู่ครอง ปัญหาก็คือ ทุกคนสามารถติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้ อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่ตั้งครรภ์ การได้รับการตรวจคัดกรองเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากแพทย์สามารถสั่งยารักษาให้ก่อนการคลอด ดังนั้น ทารกจะมีความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีได้น้อยลง แม้ว่าผู้เป็นแม่จะไม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แต่ควรให้วัคซีนป้องกันไวรัสชนิดนี้แก่ทารก เนื่องจากเด็กอาจได้รับเชื้อจากผู้ที่เข้ามาใกล้ๆ เช่น สมาชิกในครอบครัวหรือพี่เลี้ยงเด็ก มีแนวโน้มว่าเด็กส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ตั้งแต่แรกเกิด หรือระหว่างวัยเด็ก (ต่ำกว่า 6 ปี) […]


โรคตับ

ฟอกตับ ขับสารพิษจากตับด้วยวิธีธรรมชาติทำได้อย่างไร?

คุณทราบหรือไม่ว่า ตับของคุณอาจเป็นอวัยวะที่ทำงานหนักที่สุดในร่างกาย นอกเหนือไปจากหัวใจ และตับถือเป็นอวัยวะรับหน้าที่ที่อันตรายที่สุดหน้าที่หนึ่ง นั่นคือการฟอกเลือดจากบิลลิรูบิน (bilirubin) แอมโมเนีย (ammonia) และสารพิษอื่นๆ การ ฟอกตับ เพื่อให้ตับปราศจากสารพิษตกค้าง จะช่วยให้คุณมีสุขภาพที่ดี พร้อมกับสุขภาพตับที่แข็งแรง และการฟอกตับด้วยการรับประทานอาหาร ที่ช่วยขับสารพิษจากตับได้อย่างเป็นธรรมชาติ เป็นวิธีที่คุณสามรถทำได้เอง ควรล้างพิษในตับเมื่อไร ตับทำงานตลอดเวลาเพื่อฟอกเลือด ผลิตน้ำดีเพื่อย่อยไขมัน และทำให้ฮอร์โมนแตกตัว และจัดเก็บวิตามิน แร่ธาตุ และธาตุเหล็กที่สำคัญ หน้าที่หลักของตับคือ การแยกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ออกจากสารที่ไม่จำเป็น แต่เมื่อตับมีสารพิษสะสมอยู่มาก ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพน้อยลง ในการจัดการกับสารอาหารและไขมันต่างๆ คุณจะเกิดอาการดังต่อไปนี้ ท้องบวมนูน อาการไม่สบายบริเวณตับ (บริเวณท้องด้านขวาบนใต้ซี่โครง) ไขมันหน้าท้องมากเกินไป หรือลงพุงหรือชั้นไขมันบริเวณช่องท้องส่วนบน ปัญหาการย่อยอาหารที่มีไขมันสูง ถุงน้ำดีถูกตัดออกไป กรดไหลย้อน มีจุดคล้ำที่ผิวหนัง อุณหภูมิในร่างกายร้อนเกินไปและเหงื่อออกมากเกินไป เกิดสิว โรคโรซาเชีย หรือคันที่ผิวหนังหรือเป็นด่าง น้ำหนักเพิ่มไม่ทราบสาเหตุ และไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แม้จะมีการควบคุมปริมาณแคลอรี่ หากคุณสังเกตสัญญาณที่กล่าวมา คุณอาจต้องทำการล้างพิษในตับ ไม่ว่าคุณจะเป็นโรคตับหรือไม่ก็ตาม วิธีการเริ่มรับประทานอาหารสำหรับล้างพิษในตับ การล้างพิษตับด้วยอาหาร ไม่จำเป็นต้องกินอาหารพิเศษอย่างที่มีการโฆษณา แต่อาหารที่รับประทานในการล้างพิษจากตับ เป็นอาหารธรรมดาที่มีส่วนผสมตามธรรมชาติ ที่ไม่ใส่น้ำตาล หรืออาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ วิธีการล้างพิษด้วยอาหาร มีดังนี้ หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา แอลกอฮอล์ที่อยู่ในสุราเป็นสารที่เป็นอันตราย และตับต้องใช้พลังงานใมากนการกำจัดสารพิษประเภทนี้ออกจากเลือด ในระหว่างกระบวนการ ตับจะใช้พลังงานการเผาผลาญส่วนหนึ่งซึ่งทำให้น้ำหนักลดลง ง่วงซึม อ่อนเพลียและง่วงนอน คุณจึงควรหลีกเลี่ยงสารต่างๆเหล่านั้น ดื่มน้ำมากๆ ไม่มีอะไรดีกว่าการขจัดสารพิษจากตับด้วยน้ำสะอาด น้ำมีส่วนผสมของแร่ธาตุทางธรรมชาติ หากมาจากแหล่งน้ำที่สะอาดซึ่งไม่มีสารปนเปื้อน เช่น คาร์บอนและคลอรีน นอกจากนี้ […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

บรรเทาอาการปวดท้อง แบบไม่ต้องพึ่งยา ด้วยวัตถุดิบหาง่ายใกล้ตัว

อาการปวดท้องเป็นอาการทั่วไปที่ทุกคนเคยเป็น อาการปวดท้องเกิดจากสาเหตุมากมาย ส่วนใหญ่ อาการมักไม่รุนแรงและทุเลาลงอย่างรวดเร็วหากรู้จักวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ วิธีการรักษาอาการปวดท้องเหล่านี้สามารถหาได้ในครัว ลองใช้วิธีการที่ Hello คุณหมอ ที่เรานำมาฝากต่อไปนี้ เพื่อช่วย บรรเทาอาการปวดท้อง โดยไม่ต้องใช้ยา บรรเทาอาการปวดท้อง ด้วยวัตถุดิบหาง่ายในครัวเรือน ขิง ตั้งแต่อดีต ขิงถูกใช้ในการรักษาอาการต่างๆ ตั้งแต่คลื่นไส้ไปจนถึงอาการปวดข้อ ในปัจจุบัน งานวิจัยบางชิ้นระบุว่า ขิงสามารถรักษาอาการปวดท้องได้ดี สารเคมีทางธรรมชาติที่พบในชิง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อเรียบที่อยู่ในผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ผ่อนคลาย ดังนั้น ขิงจึงช่วยบรรเทาอาการปวดเกร็งที่ท้อง และอาการปวดท้องบีบเป็นระยะๆ รวมถึงอาการอักเสบได้อีกด้วย ลองใส่ขิงในชาร้อน หากคุณสามารถทนรสชาติของขิงได้ ลองรับประทานขิงสด เปปเปอร์มินท์ เปปเปอร์มินท์ หรือ สะระแหน่ (Peppermint) มีส่วนผสมของเมนทอล (Menthol) ซึ่งเป็นสารเคมีไม่เพียงช่วยให้ลมหายใจสดชื่น แต่ยังเป็นยาระงับปวดตามธรรมชาติ ทำให้เปปเปอร์มินท์เป็นการรักษาที่เป็นที่นิยมสำหรับอาการคลื่นไส้และปวดท้อง เปปเปอร์มินท์เหมือนขิง ที่ใช้ได้ในหลายรูปแบบ อาจใส่ในชาร้อน หรือเป็นส่วนผสมของอาหาร หรือเพียงเคี้ยวใบสะระแหน่ ก็จะช่วยเรื่องการย่อยอาหารและกระตุ้นความอยากอาหาร เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาอาหารปวดเกร็งจากประจำเดือนอีกด้วย น้ำมะนาวอุ่น นอกจากช่วยให้สดชื่นในวันที่อากาศร้อน เมื่อดื่มแบบเย็นแล้ว น้ำมะนาวอุ่นยังช่วยรักษาอาการปวดท้องได้อีกด้วย คุณอาจสงสัยว่าจะช่วยได้อย่างไร ในเมื่อมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรด จริงๆ แล้วน้ำมะนาวช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย แต่ควรหลีกเลี่ยง หากมีอาการกรดไหลย้อน เมื่อเกิดอาการอาหารไม่ย่อย คุณอาจรู้สึกไม่สบายท้อง น้ำมะนาวจะช่วยกระตุ้นการผลิตกรดออกมาเพื่อช่วยย่อย เพียงแค่บีบมะนาวครึ่งลูกผสมกับน้ำและเติมน้ำตาลเล็กน้อย คุณก็จะได้เครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่ออาการปวดท้อง ไม่ควรใส่มะนาวมากเกินไปหรือน้ำตาลมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ […]


โรคลำไส้แปรปรวน

ลำไส้แปรปรวน อะไรคือสิ่งที่คุณควรรู้เพื่อรับมือกับโรคเรื้อรังนี้

หลายคนเคยประสบปัญหาอาการปวดท้อง ที่ไม่ใช่แค่อาการปวดท้องเท่านั้น แต่มีอาการอื่นที่เกิดขึ้นพร้อมอาการปวดด้วย สำหรับบางคน อาการ ลำไส้แปรปรวน เป็นอาการที่ต้องเจอเป็นประจำในชีวิต และต้องจัดการกับอาการในแต่ละวันไป โรคลำไส้แปรปรวนคืออะไร โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome/ IBS) เป็นอาการเรื้อรังของระบบย่อยอาหารที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดอาการปวดเกร็งหน้าท้อง ท้องอืด ท้องร่วง และท้องผูก โรคลำไส้แปรปรวนเกิดขึ้นกับคนราวหนึ่งในห้า ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต และมักเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงอายุ 20 ถึง 30 ปี โดยเกิดขึ้นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึงสองเท่า แม้ว่าโรคลำไส้แปรปรวน ไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นอาการเรื้อรังที่ต้องรับการรักษาในระยะยาว อาการโรคลำไส้แปรปรวนเกิดขึ้นแตกต่างกัน และส่งผลต่อแต่ละคนแตกต่างกัน อาการเกิดขึ้นได้นานหลายวันหรือนับเดือน และอาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อเกิดความเครียด หรือหลังจากรับประทานอาหารที่กระตุ้นอาการ อาการของโรคลำไส้แปรปรวนอาจลดลงหลังจากขับถ่าย แม้ว่าอาการนี้จะเกิดขึ้นเรื้อรัง แต่สามารถดีขึ้นได้หลังจากการดูแลรักษาที่ดีเป็นเวลาหลายปี อาการของโรคลำไส้แปรปรวน อาการของโรคลำไส้แปรปรวนส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับอาการปวดท้อง และการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย เช่น บางคนที่อาจเกิดอาการท้องผูก (หรือท้องร่วง) อาจเกิดอาการท้องผูกสลับท้องร่วงได้ อาการปวดท้องจะรุนแรงขึ้นหลังจากรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย อาการของโรคลำไส้แปรปรวนอาจเปลี่ยนแปลงตามเวลา ในบางครั้ง อาจมีอาการที่แตกต่างกันไป บางครั้งอาการอาจกลับมาหลังจากที่หายไประยะหนึ่ง อาการทั่วไปของโรค ได้แก่ ปวดท้อง และปวดเกร็ง พฤติกรรมการขับถ่ายเปลี่ยนไป เช่น ท้องร่วง ท้องผูก หรืออาจเกิดอาการทั้งสองร่วมกัน ท้องอืดหรือท้องบวม ลมในท้องมาก ต้องเข้าห้องน้ำโดยด่วน รู้สึกขับถ่ายออกไม่หมดหลังจากการขับถ่ายไปแล้ว มีเมือกในอุจจาระ สำหรับคนส่วนใหญ่ โรคลำไส้แปรปรวนเป็นโรคเรื้อรัง โดยบางครั้งอาการอาจรุนแรงขึ้น หรืออาจดีขึ้น หรือแม้แต่หายไปเลยก็เป็นได้ สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุที่แท้จริงของโรคลำไส้แปรปรวนยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า อาจเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของทางเดินอาหารที่ไวขึ้น และปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อย […]


ปัญหาสุขภาพช่องท้องแบบอื่น

โรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย อาจป้องกันได้ด้วยวิธีเหล่านี้

ตั้งแต่อาการท้องอืด ไปจนถึงอาการของโรคกรดไหลย้อน หลายคนคงอาจเคยมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารมาแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนิสัยการกิน และการออกกำลังกาย ถือเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันโรคทางระบบอาหาร แต่หากการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่างไม่ทำให้อาการของ โรคระบบทางเดินอาหาร ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ โรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่ช่วยให้ร่างกายย่อยอาหาร และดูดซึมสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุ รวมถึงช่วยกำจัดของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งระบบทางเดินอาหารจะประกอบด้วยอวัยวะดังต่อไปนี้ ปาก หลอดอาหาร ตับ กระเพาะ ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก ตับอ่อน ทวารหนักและไส้ตรง นอกจากนี้ โรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย แบ่งเป็นอาการเรื้อรังของทางเดินอาหารส่วนบน และทางเดินอาหารส่วนล่าง ดังนี้ ทางเดินอาหารส่วนบน อาการของทางเดินอาหารส่วนบนอาจหมายถึง การเรอบ่อยเกินไป แสบคอหรือแสบร้อนทรวงอก คลื่นไส้ อาเจียน หรือเจ็บปวดบริเวณท้องส่วนบน ซึ่งมีสาเหตุมาจากโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ได้แก่ โรคกรดไหลย้อน แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ อัมพาตกระเพาะ (Gastroparesis) โรคนิ่ว ทางเดินอาหารส่วนล่าง ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นบริเวณทางเดินอาหารส่วนล่าง อาจไม่ได้หมายความว่าจะเกิดจากลำไส้เสมอไป เนื่องจากความเจ็บปวดจากอวัยวะภายในอื่นๆ อาจแผ่ขยายจนทำให้เกิดความเจ็บปวดที่บริเวณอื่น อย่างไรก็ตาม มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารมากมาย ที่สามารถทำให้เกิดอาการที่เกี่ยวกับลำไส้ ได้แก่ เจ็บปวดบริเวณท้องส่วนล่าง ตะคริวในลำไส้ และปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่าย ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อย ดังนี้ โรคซิลิแอค (Celiac disease) โรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (Diverticular disease) กลุ่มโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory Bowel Disease, IBD) โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome, IBS) วิธีป้องกันโรคระบบทางเดินอาหาร ลดการกินอาหารมื้อใหญ่ เมื่อคุณกินอาหารมื้อใหญ่ อาจทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนัก ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนเนื่องจากกรดเกินในกระเพาะ และอาจมีอาการคลื่นไส้ หรืออาเจียนร่วมด้วย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน