สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

ออกกำลังกายลดความดัน แบบไหนได้ผลดีที่สุด?

หากคุณมีความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายลดความดัน อาจเป็นวิธีที่สามารถช่วย และเห็นผลได้ชัดเจน อีกทั้งเพราะการออกกำลังกายนั้นก็มีหลายประเภทด้วยกัน จนอาจทำให้คุณรู้สึกสับสนได้ว่าควรเลือกออกกำลังแบบใดจึงจะเหมาะสมมากที่สุด วันนี้ Hello คุณหมอ ขออาสาพามารู้จักกับการ ออกกำลังกายลดความดัน ที่น่าจะเป็นประโยชน์กับสุขภาพทุกคน มาฝากกัน วิธีการ ออกกำลังกายลดความดัน ที่เหมาะสำหรับโรคความดันโลหิตสูง การออกกำลังกายแบบแอโรบิก หรือ การออกกำลังกายเพื่อฝึกความอดทน (Endurance exercises) เช่น เดินเร็ว ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน ปีนบันได วิ่งเหยาะ หรือ เต้นรำ เป็นต้น เป็นวิธีการออกกำลังกายที่ดีต่อหัวใจของคุณ โดยการออกกำลังกายประเภทนี้ จะมีการใช้มัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ มีการหายใจเพิ่ม หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้ร่างกายสามารถใช้ออกซิเจนได้มากขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการออกกำลังกายที่จะช่วยให้หัวใจ และปอดของคุณแข็งแรงขึ้นได้นั่นเอง นอกจากนี้การออกกำลังกายแบบแอโรบิก ยังช่วยให้หลอดเลือดแดงคลายตัว ลดความดันเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด และช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี หากคุณมีความดันเลือดสูง การออกกำลังกายแบบแอโรบิกจึงมีส่วนช่วยให้คุณพ้นจากความเสี่ยงการเกิดหัวใจวายได้ ที่สำคัญคุณควรลองออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น ว่ายน้ำ 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ แต่ถึงอย่างไรคุณไม่จำเป็นต้องมีการฝืนตนเองมากเกินไป โดยอาจเริ่มจากการออกกำลังกายในระยะเวลาที่เหมาะสมกับแรงกายสักประมาณ 10 นาทีค่อวัน แล้วจึงค่อย […]


โรคความดันโลหิตสูง

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta Blockers) อีกหนึ่ง ยาลดความดัน ที่คุณควรรู้จัก

เบต้าบล็อกเกอร์ (Beta Blockers) คือ ยาลดความดัน ที่ใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งถ้าคุณเป็นโรคนี้อยู่ก็อาจจะคุ้นกับชื่อยานี้ก็ได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าทำไมคุณถึงต้องรับประทาน แล้วยานี้จะช่วยลดความดันลงได้อย่างไร หาคำตอบได้ในบทความเรื่องนี้ จาก Hello คุณหมอ ค่ะ ตัวอย่างของ ยาลดความดัน เบต้าบล็อกเกอร์ มี ยาเบต้าบล็อกเกอร์ หลายประเภท ที่สามารถรับประทานได้ บางชนิดก็จะมีผลทั้งกับหัวใจของคุณ และหลอดเลือดของคุณ ขณะที่บางชนิดจะมีผลแค่เฉพาะหัวใจ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วคุณจะไม่ใช้ยาเบต้าบล็อกเกอร์ทั้งหมด แพทย์ของคุณจะเป็นคนจ่ายยาที่เหมาะสมที่สุดให้กับคุณ ตัวอย่างของ ยาเบต้าบล็อกเกอร์ ยาอะซีบูโทลอล (Acebutolol) อย่างเช่น เซคทราล (Sectral) ยาอะทีโนลอล (Atenolol) อย่างเช่น เทนอร์มิน (Tenormin) ยาเบตาโซลอล (Betaxolol) อย่างเช่น เคอร์โลน (Kerlone) ยาบิโซโพรลอล(Bisoprolol) อย่างเช่น ซีเบต้า (Zebeta) หรือ ซีแอค (Ziac) ยาคาร์ทีโอลอล ไฮโดรคลอไรด์ (Carteolol hydrochloride) อย่างเช่น คาร์ทรอล (Cartrol) ยาคาร์วีดิลอล (Carvedilol) […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ ชนิดใดที่ช่วยจัดการได้

การกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสม สามารถช่วยลดและจัดการปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมไปถึงภาวะความดันโลหิตสูงด้วย หากคุณมีปัญหา ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ ที่ส่งผลดีต่อความดันโลหิตตามธรรมชาตินั้นมีอะไรบ้าง เรามีคำตอบมาให้แล้ว [embed-health-tool-heart-rate] ความดันโลหิตสูง วิตามินและแร่ธาตุ เหล่านี้ช่วยได้ โพแทสเซียม หากร่างกายได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยลดผลกระทบจากโซเดียม และช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเป็นปกติ จึงส่งผลให้ความดันโลหิตลดลง และป้องกันการเกิดตะคริวได้ ทั้งยังช่วยให้การนำไฟฟ้าของคลื่นไฟฟ้าหัวใจและระบบประสาทส่วนกลางทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติได้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ทั้งผู้หญิงและผู้ชายควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4,700 มิลลิกรัมต่อวัน โพแทสเซียมสามารถพบได้ในมันฝรั่ง ลูกพรุน แอปริคอต เห็ด ถั่ว ส้ม ปลาทูน่า ปวยเล้ง มะเขือเทศ ลูกเกด เกรปฟรุต นมพร่องมันเนย โยเกิร์ต แมกนีเซียม แมกนีเซียมสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดของคุณได้ แมกนีเซียมช่วยให้หลอดเลือดคลายตัว ความดันโลหิตจึงลดลง แมกนีเซียมในระดับสูงสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองได้ด้วย อาหารจำพวกผักใบเขียวเข้ม ธัญพืช และพืชตระกูลถั่ว อุดมไปด้วยแมกนีเซียม ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำ คือ 420 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้ชายอายุ 50 ปีหรือมากกว่า และ 320 มิลลิกรัมต่อวันสำหรับผู้หญิงอายุ 50 ปีหรือมากกว่า […]


คอเลสเตอรอล

ไขมันดี คอเลสเตอรอล HDL สำคัญขนาดไหน และเราจะเพิ่มมันได้ยังไง

ระดับคอเลสเตอรอลของคุณ เป็นมาตรวัดสำคัญสำหรับสุขภาพหัวใจ โดยคอเลสเตอรอล เอชแอลดี (HDL)หรือ “ไขมันดี” ถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลในรูปอื่นออกจากกระแสโลหิต ซึ่งถ้าร่างกายมี ไขมันดี คอเลสเตอรอล HDL สูง ก็อาจหมายความว่า คุณมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจน้อยลง ไขมันทำไมถึง “ดี” ทำไมถึง “เลว” คอเลสเตอรอลเป็นไขมันที่พบในเซลล์ทั้งหมดของเรา และมีประโยชน์หลายอย่าง ร่วมทั้งการช่วยสร้างเซลล์ของเราด้วย มันถูกลำเลียงผ่านกระแสเลือดของเรา ไปจับตัวกับโปรตีนที่เรียกว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein)  โดยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) เมื่อสะสมมากขึ้นในผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดตีบลง และบางทีก็เกิดเป็นลิ่มเลือด ในพื้นที่ของหลอดเลือดที่แคบลงนั้น ทำให้เกิดอาการหัวใจวายหรือโรคหลอดเลือดสมอง (สโตรก) นี่จึงทำให้เราเรียกคอเลสเตอรอลชนิดนี้ว่า ไขมัน “เลว” ไลโปโปรตีนความหนาแน่นสูง (HDL) เป็นไลโปโปรตีนที่เรียกกันว่า “ไขมันดี” เนื่องจาก HDL จะจับตัวกับคอเลสเตอรอลส่วนเกินแล้วพาไปสู่ตับเพื่อย่อยสลาย แล้วก็กำจัดมันออกไปจากร่างกายของเรา ไขมันดี แค่ไหนถึงจะถือว่าดี ระดับคอเลสเตอรอลวัดด้วยหน่วยมิลลิแกรม (มก.) ต่อเดซิลิตร (dL) ของเลือด ซึ่งในเรื่องของไขมันดี ตัวเลขยิ่งสูงจะถือว่ายิ่งดี ผู้ชาย ไขมันดีที่น้อยกว่า40 มก/เดซิลิตร จะถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพ […]


คอเลสเตอรอล

ไขมันดี (HDL) มีมากเกินไปเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือไม่

ไขมันดี (HDL) หรือ ลิโพโปรตีนที่มีความหนาแน่นสูง หรือ คอเลสเตอรอลชนิดดี ซึ่งการที่มีระดับไขมันดียิ่งสูงนั้นยิ่งดี เพราะไขมันดีช่วยกำจัดคอเลสเตอรอลชนิดอื่นที่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะหากมีระดับไขมันเลวสูง และไขมันดีอยู่ในระดับต่ำนั้น ทำให้แนวโน้มของการเกิดอาการหัวใจวายสูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักฐานทางการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ระดับไขมันดีสูงนั้นอาจเกิดผลเสียต่อบุคคลบางกลุ่มได้เช่นกัน ระดับไขมันดีที่แนะนำ ระดับไขมันดี ที่อยู่ในเลือดที่แนะนำ ควรอยู่ที่ 60 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หรือสูงกว่า หากปริมาณไขมันดีต่ำกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น ปัญหาที่อาจเกิดหากระดับของ ไขมันดี สูงเกินไป งานวิจัยบางชิ้นพบว่า คนที่มีระดับของ ซี-รีแอคทีพโปรตีน (C-reactive proteins) สูง หลังจากประสบภาวะหัวใจวาย ร่างกายอาจจัดการกับไขมันดีได้ดีนัก เนื่องจากตับซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตซี-รีแอคทีพโปรตีน เมื่ออาการอักเสบในร่างกายอยู่ในระดับสูง แทนที่ระดับของไขมันดีที่สูงจะช่วยป้องกันการเกิดผลเสียต่อหัวใจ แต่กลับทำให้ความเสี่ยงในการพัฒนาเป็นโรคหัวใจสูงขึ้น งานวิจัยยังพบว่า ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจยิ่งสูงขึ้น ในกลุ่มผู้ที่มีระดับไขมันดีและซี-รีแอคทีพโปรตีนสูง อย่างไรก็ตาม การจะระบุถึงผลเสียที่ไขมันดีเป็นสาเหตุและยังต้องการการศึกษาวิจัยมากกว่านี้ อาการและการใช้ยา ไขมันดีและอาการบางอย่าง เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ การดื่มแอลกอฮอล์ และโรคติดเชื้อต่างๆ มีความเกี่ยวข้องกัน ยิ่งไปกว่านั้น ในบางครั้ง ปริมาณไขมันดีสามารถเพิ่มขึ้นได้เนื่องจากยาที่ควบคุมปริมาณของคอเลสเตอรอลในร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เพื่อลดปริมาณคลอเลสเตอรอล ไขมันเลว และไตรกลีเซอไรด์ มีความสัมพันธ์บางอย่าง ระหว่างการเพิ่มขึ้นของระดับไขมันดีและประเภทของยาเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มยาลดไขมัน จำพวกไบล์แอซิดซีเควสแตรนต์ (bile acid […]


คอเลสเตอรอล

รู้หรือไม่ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ในร่างกายได้

ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่ผิดปกติ มักมีความกังวลเรื่องอาหารการกิน ทำให้ต้องกินแต่อาหารเดิม ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วมักมีส่วนผสมของข้าวโอ๊ต ถั่ว ถั่วเหลือง และสเตอรอลจากพืช (Plant Sterols) ซึ่งอาจทำให้เกิดความเบื่อ แต่ยังมีอาหารอีกหลายประเภทที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ เหมาะกับคนที่ระดับคอเรสเตอรอลอยู่ในระดับที่ไม่ปกติ วันนี้ Hello คุณหมอ จะชวนไปรู้จักกับ กีวี่ ผลไม้รสชาติเปรี้ยวอมหวาน เนื้อสีเขียว ที่มีดีมากกว่าความอร่อย เพราะ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้ กีวี่ช่วยลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือ งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Food Sciences and Nutrition เมื่อปี 2009 ระบุว่าการกินกีวี่ 2 ผลต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10 สัปดาห์ สามารถลดระดับไขมัน LDL (ไขมันไม่ดี) และเพิ่มระดับระดับไขมัน HDL (ไขมันดี) ในกลุ่มผู้ใหญ่ชาวไต้หวันที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ นักวิจัยสรุปว่า การรับประทาน กีวี่ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจได้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมม์ในวารสาร British Journal of Nutrition […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension)

ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะ ความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ ก็มักพัฒนาเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง คำจำกัดความความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) คืออะไร ภาวะที่ความดันโลหิตสูงขึ้นเล็กน้อย เรียกว่า ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น (Prehypertension) ซึ่งหากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น ออกกำลังกายให้มากขึ้น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็มักจะกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง (hypertension) ในภายหลัง ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้น และโรคความดันโลหิตสูงนั้น อาจสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือที่มักเรียกกันว่า ภาวะหัวใจวาย (heart attack) โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) และภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) ได้ ค่าระดับความดันโลหิตนั้นมีสองตัวเลข คือ ตัวเลขด้านบนและตัวเลขด้านล่าง โดยเลขตัวบนหมายถึง ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงขณะที่หัวใจบีบตัว (systolic pressure) ส่วนเลขตัวล่างคือ ระดับความดันที่หลอดเลือดแดงในช่วงระหว่างการเต้นของหัวใจ (diastolic pressure) ภาวะความดันโลหิตสูงขั้นต้นจะมีค่าความดันโลหิตตัวบนอยู่ระหว่าง 120-139 มม.ปรอท หรือมีค่าความดันโลหิตตัวล่างอยู่ที่ 80-89 มม.ปรอท ความดันโลหิตสูงขั้นต้น พบบ่อยแค่ไหน จากค่าเฉลี่ยของการวัดความดันโลหิตตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป เมื่อเข้ารับการตรวจร่างกายเบื้องต้นก่อนพบหมอตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุ […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the Great Arteries)

เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน  คำจำกัดความเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว คืออะไร เส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว (Transposition of the great arteries) เป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิดที่หาได้ยาก อาการนี้เกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดหัวใจหลักสองเส้นที่นำเลือดออกจากหัวใจเกิดการสลับขั้วกัน  การสลับขั้วของเส้นเลือดหัวใจหลัก เปลี่ยนทางไหลเวียนเลือดทั่วร่างกาย ทำให้ขาดออกซิเจนในเลือดที่ไหลจากหัวใจไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อร่างกายขาดเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนมากพอ ร่างกายจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจมีโรคแทรกซ้อนรุนแรง หรือเสียชีวิตโดยไม่ได้รับการรักษา เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบก่อนคลอด หรือภายในไม่กี่ชั่วโมงแรกจนถึงหลายสัปดาห์หลังจากทารกมีชีวิต เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วถือเป็นความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ที่เกิดขึ้นทั่วไปมากที่สุดเป็นลำดับที่ 2 และทำให้เกิดปัญหาในทารกแรกเกิด โรคนี้เกิดขึ้นประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของความผิดปกติของหัวใจที่เกิดขึ้นแต่กำเนิดทั้งหมด โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว อาการทั่วไปของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ได้แก่ ผิวเขียวคล้ำ หายใจถี่ เบื่ออาหาร อาจมีอาการที่ไม่ได้ระบุถึงข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ โปรดปรึกษาแพทย์ เมื่อไหร่ที่ควรพบหมอ เส้นเลือดหัวใจสลับขั้วมักจะตรวจพบทันทีที่ทารกเกิด หรือระหว่างสัปดาห์แรกของการมีชีวิต หากสัญญาณหรืออาการไม่ได้เกิดขึ้นในโรงพยาบาล โทรศัพท์หาแผนกฉุกเฉิน หากคุณสังเกตว่าทารกมีผิวเขียวคล้ำ โดยเฉพาะที่ใบหน้าและลำตัว สาเหตุสาเหตุของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว เซลล์จะพัฒนาเป็นหัวใจระหว่าง 8 สัปดาห์แรกในช่วงพัฒนาการของทารก ปัญหาจะเกิดขึ้นในช่วงกึ่งกลางของเวลานี้ ทำให้เส้นเลือดเอออร์ตา (Aorta artery) และเส้นเลือดพัลโมนารี (Pulmonary artery) ติดกับห้องหัวใจผิดห้อง ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด อาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ที่ทำให้บางครอบครัวมีปัญหาหัวใจมากกว่าครอบครัวอื่น ส่วนมากแล้วความผิดปกติของหัวใจชนิดนี้จะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ และไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดของการเกิดขึ้น ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว ปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจสลับขั้ว เช่น มารดามีประวัติป่วยเป็นหัดเยอรมัน […]


โรคหัวใจ

นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ของเราดีขึ้นได้อย่างไร

นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย และการควบคุมอาหาร คือวิธีที่ดีที่สุด สำหรับการดูแลรักษา สุขภาพหัวใจ ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดยืนยันว่าคนที่ฝึกทำสมาธิ มีความเสี่ยงที่จะเกิดหัวใจวายน้อย นอกจากนี้การทำสมาธิยังช่วยลดความเครียดและความหวาดวิตกลงได้ด้วย ยังไงน่ะเหรอ? Hello คุณหมอมีข้อมูลมาแบ่งปัน ดังนี้ การ นั่งสมาธิ ช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ดีขึ้นได้ การนั่งสมาธิเป็นวิธีเสริมสร้างศักยภาพทางจิตใจ ให้เกิดผลทางด้านบวกกับร่างกายนั้น เป็นวิธีที่ใช้ในการทำให้จิตใจสงบกันมานานแล้ว และการทำสมาธินั้นก็อาจส่งผลที่ดีต่อสุขภาพหัวใจของเราด้วย ถึงแม้ว่าการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจจะยังมีไม่ค่อยมาก แต่การศึกษาวิจัยบางชิ้นก็แสดงให้เห็นว่า การฝึกนั่งสมาธิจะช่วยป้องกันโรคหัวใจได้ การนั่งสมาธิช่วยหัวใจเราได้อย่างไร โดยปกติแล้ว การนั่งสมาธิมักจะเพ่งความสนใจไปที่เสียง ความคิด วัตถุ จังหวะเวลา การสร้างภาพ หรือคำสวด นอกจากนี้ยังต้องทำจิตใจให้นิ่ง รับรู้การหายใจ และมีการแผ่เมตตาด้วย ฉะนั้น จึงเชื่อกันว่าการนั่งสมาธิจะช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคหัวใจ รวมทั้งยังมีหลักฐานแสดงให้เห็นด้วยว่า การนั่งสมาธิอาจช่วยกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำให้ความดันโลหิตลดลง และการทำให้หัวใจเต้นช้าลง ในระหว่างที่ปฎิบัติตัวให้รู้สึกผ่อนคลายอยู่นั้น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิและสุขภาพหัวใจ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนั่งสมาธิ ที่รายงานโดยโดยสมาคมโรคหัวใจในอเมริกาเมื่อปี 2017 นั้น แสดงให้เห็นว่าการนั่งสมาธิช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจลงได้ และจากการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ นักวิจัยก็พบว่าการนั่งสมาธิมีส่วนช่วยในการลดความเครียด ความหวาดวิตก และอาการซึมเศร้า แถมยังช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพมากขึ้น และทำให้สุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้นด้วย สมาคมโรคหัวใจในอเมริกายังบอกอีกด้วยว่า การนั่งสมาธิยังช่วยลดความดันโลหิต ช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ได้ และช่วยลดความเสี่ยงของหัวใจวาย ซึ่งนักวิจัยระบุว่า ยังต้องทำการศึกษาวิจัยให้ละเอียดและครอบคลุมมากว่ากว่านี้ […]


โรคหัวใจ

โรคหัวใจ มีกี่ประเภท อาการและสาเหตุของโรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) คือ กลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือภาวะหัวใจวาย อาการและสาเหตุของโรคในกลุ่มโรคหัวใจแต่ละโรคจะแตกต่างกันไป แต่อาจมีอาการบางอย่างที่เหมือนกัน เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย และปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจส่วนใหญ่ก็คล้ายคลึงกัน เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน การรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทั้งนี้ การลดปัจจัยเสี่ยงและดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจได้ โรคหัวใจ คืออะไร โรคหัวใจ หมายถึง กลุ่มโรคและภาวะต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง อย่างเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ปัญหาเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ อย่างภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart defects) คำว่า “โรคหัวใจ” มักถูกนำมาใช้สลับกันบ่อยๆ กับคำว่า “โรคหัวใจและหลอดเลือด” โรคหัวใจและหลอดเลือดโดยทั่วไป หมายถึงอาการที่เกี่ยวข้องกับหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ที่สามารถนำไปสู่โรคหัวใจวาย เจ็บหน้าอก หรือหลอดเลือดในสมองแตก ปัญหาหัวใจอื่นๆ อย่างเช่น ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ลิ้นหัวใจ หรือชีพจรหัวใจ ถือว่าเป็นรูปแบบของโรคหัวใจรูปแบบหนึ่ง ทำไมต้องกังวล ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและโรคหัวใจล้มเหลวประมาณ 17.1 ล้านคนต่อปี ในประเทศไทย ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2557 […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน