สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ ที่อาจพังเพราะนกเขาไม่ขัน

คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย ซึ่งคอเลสเตอรอลสูง เนื่องจากคอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงองคชาติได้ และอาจทำให้ช่องคลอดแห้งได้อีกด้วย จนทำให้เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ และเกิดภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ คอเลสเตอรอลสูง คืออะไร คอเลสเตอรอลสูง (High Cholesterol) หรือภาวะไขมันในเลือดสูง (Hypercholesterolemia) เป็นภาวะที่ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดแดงแข็ง หัวใจวาย หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งโรคที่มีสาเหตุมาจากคอเลสเตอรอลสูงแทบจะไม่แสดงอาการใด ๆ ดังนั้น ทางเดียวที่จะรู้ว่าคอเลสเตอรอลของตัวเองสูงหรือไม่ คือ การตรวจเลือด และตรวจสุขภาพเป็นประจำ นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลสูงมักจะถ่ายทอดกันผ่านพันธุกรรม รวมถึงขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย น้ำหนักตัว คอเลสเตอรอลสูงกับชีวิตคู่ เกี่วข้องกันอย่างไร คอเลสเตอรอลสูงอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง และอาจทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาติบกพร่อง ส่งผลกระทบต่อการแข็งตัวขององคชาตจนนำไปสู่ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นอกจากนี้ คอเลสเตอรอลสูงยังอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางเพศของผู้หญิงได้ด้วย เนื่องจากไขมันสะสมของคอเลสเตอรอลสูงที่อาจส่งผลกระทบต่อการหล่อลื่นในช่องคลอด ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์จนทำให้ความต้องการทางเพศลดลง วิธีป้องกันคอเลสเตอรอลในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูงอาจป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง ซึ่งอาจช่วยป้องกันความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ด้วย โดยอาจทำได้ดังนี้ รับประทานผัก ผลไม้ และธัญพืชให้มากขึ้น เพราะมีใยอาหารในปริมาณมากอาจช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันอิ่มตัวสูงในปริมาณมาก อาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันทรานซ์ เช่น เนื้อสัตว์ติดมันและหนัง เนื้อสัตว์แปรรูป ของทอด ผลิตภัณฑ์จากนม อาหารขยะ ครีมเทียม […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

สัญญาณหัวใจล้มเหลว อาการบอกเหตุที่คุณควรต้องรู้

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหลายคนอาจจะรู้สึกหวาดกลัว กับภาวะหัวใจล้มเหลวเพราะไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเองตอนไหน แต่จริงๆ แล้ว คุณสามารถสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว ได้ คุณควรจะระมัดระวังตัวเองและสังเกต สัญญาณหัวใจล้มเหลว และอาการต่างๆเหล่านี้ เพื่อที่จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป หัวใจล้มเหลวคืออะไร หัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือหนึ่งในอาการของโรคหัวใจที่พบได้บ่อยที่สุด อาการของหัวใจล้มเหลวนั้นอาจมีสาเหตุมาจาก อายุ ความเสียหายต่อหัวใจ หรือพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพหัวใจ ภาวะหัวใจล้มเหลวนั้นสามารถทำให้หัวใจอ่อนแอลง และลดความสามารถในการสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือก็คือ “ล้มเหลว” ในการทำงานนั่นเอง หัวใจล้มเหลวอาจเกิดได้ทั้งช่วงที่หัวใจบีบเลือดเข้า (systolic) หรือช่วงที่หัวใจคลายตัว (diastolic) ทั้งสองอย่างเชื่อมโยงกับอาการเสียหายบางประการของหัวใจห้องด้านซ้ายล่าง สัญญาณหัวใจล้มเหลว ที่ควรระวัง หายใจลำบาก ภาวะหายใจหอบถี่หรือหายใจลำบาก ปกติแล้วมักเกิดขึ้นเมื่อคุณทำกิจกรรมบางอย่าง อาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงที่คุณนอนหลับ และทำให้คุณผวาตื่นขึ้น ปกติแล้วคุณมักจะหายใจลำบากเวลาที่นอนหงาย คุณอาจจะต้องเอาหมอนมาหนุนเพิ่มเพื่อยกลำตัวให้สูงขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น คุณอาจรู้สึกเหนื่อยอย่างมากตอนตื่นนอน รู้สึกเกร็งและวิตกกังวล อาการนี้มักเกิดขึ้น เนื่องจากเกิดการอุดกั้นหรือกีดขวางในหลอดเลือดดำในปอด เนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้ทันกับความต้องการ จนอาจทำให้ของเหลวเข้าไปในปอด ความอ่อนล้ารุนแรง หากร่างกายของคุณมักรู้สึกเหนื่อยอยู่เสมอ และการทำกิจกรรมประจำวันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การเดิน การช้อปปิ้ง ต่างก็กลายเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ตลอดรอดฝั่ง อาการนี้ส่วนใหญ่แล้วก็เนื่องมาจากความจริงที่ว่า หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกายได้อย่างเพียงพอ ร่างกายก็จะลดปริมาณเลือดที่ส่งไปยังอวัยวะที่มีความสำคัญน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้ามเนื้อแขนขา เพื่อที่จะส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจและสมองมากกว่า การคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อของร่างกาย อาการนี้เรียกอีกอย่างว่า อาการบวมน้ำ (edema) คุณอาจพบว่าตัวเองน้ำหนักเพิ่มขึ้น […]


คอเลสเตอรอล

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ประเภทเนื้อสัตว์ที่รับประทานได้

อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง โดยส่วนใหญ่แล้วหมายถึง อาหารที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดมีปริมาณขึ้นสูง จนส่งผลให้เกิดอันตรายต่อระบบหัวใจแหละหลอดเลือด ซึ่งผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูงส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ชอบรับประทานของทอด อาหารที่มีไขมันสูง จนทำให้ระบบคอเลสเตอรอลขึ้นสูง โดยเฉพาะ เนื้อสัตว์ จัดว่าเป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่แท้จริงแล้วนั้นเนื้อสัตว์เป็นอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงจริงไม่ ควรเลือกบริโภคเนื้อชนิดใดเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง หมายถึงเนื้อสัตว์ จริงหรือ คอเลสเตอรอลเป็นสารสำคัญในร่างกาย แต่หากระดับของคอเลสเตอรอลที่มากเกินไป อาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากอาจนำไปสู่การอุดตันของเส้นเลือด และความเสี่ยงที่จะเกิดสโตรค และหัวใจวายได้ นอกจากคอเลสเตอรอลที่สร้างโดยร่างกายแล้ว คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ยังอาจมาจากไขมันอิ่มตัว และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งที่พบไขมันประเภทนี้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอลสูงไม่จำเป็นต้องงดการรับประทานเนื้อสัตว์ เพราะมีเนื้อสัตว์บางชนิดที่สามารถรับประทานได้ แม้จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูง เนื้อสัตว์สำหรับผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริ่ง ปลาซาร์ดีนเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งอาจช่วยรักษาระดับไขมันชนิดเลว (LDL) ให้ต่ำลงได้ พร้อมกับเพิ่มระดับของไขมันดี (HDL) สำหรับคนไทยอาจเลือกรับประทานปลาทู เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่นกันโดยควรรับประทานอาหารปลาที่มีไขมันสูงย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สัตว์ปีก สัตว์ปีกแบบที่ไม่มีหนัง เป็นอาจเหมาะสำหรับผู้ที่อยากลดระดับคอเลสเตอรอล โดยเนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาจมีประมาณคอเลสเตอรอลใกล้เคียงกัน คือ ประมาณ 70-80 มก.ต่อเนื้อ […]


คอเลสเตอรอล

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล กับข้อเท็จจริงที่ควรรู้

น้ำส้มลดคอเลสเตอรอล ได้จริงหรือ อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย น้ำส้มอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินดี วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 เหล็ก โพแทสเซียม ซึ่งอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ดังนั้น การดื่มน้ำส้มเป็นประจำอาจช่วยในการแก้ปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล หรือไขมันในเส้นเลือดได้ น้ำส้มกับไขมันชนิดเลว (LDL) การดื่มน้ำส้มสดแบบไม่เจือจางอาจช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) ในร่างกายของบางคน โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrition Research เมื่อปี พ.ศ. 2553 ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันเลว พบว่า การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน เป็นระยะเวลา 2 เดือน สามารถช่วยลดระดับไขมันเลวในผู้ที่มีไขมันในเลือดสูงได้ อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำส้มไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ ต่อผู้ที่มีไขมันในเลือดปกติ นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ศึกษาเกี่ยวกับการดื่มน้ำส้มส่งผลต่อไขมันดี (HDL) พบว่า ในผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลปานกลาง การดื่มน้ำส้ม 750 มิลลิลิตร/วัน สามารถช่วยให้ไขมันดีเพิ่มขึ้น เนื่องจากในน้ำส้มมีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) […]


คอเลสเตอรอล

อาหารลดคอเลสเตอรอล อะไรที่ควรต้องกิน

อาหารลดคอเลสเตอรอล เป็นอาหารที่ไม่ส่งผลทำให้ระดับคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น รวมถึงอาจช่วยให้หัวใจมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น โดยอาหารลดคอเลสเตอรอลมีด้วยกันหลายชนิด เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่ว ปลาไขมันสูง อะโวคาโด ถั่วเปลือกแข็ง นอกจากนี้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็อาจมีส่วนในการช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายของ และอาจทำให้สุขภาพแข็งแรงได้ด้วย อาหารลดคอเลสเตอรอล สำหรับอาหารลดคอเลสเตอรอล อาจมีดังนี้ ข้าวโอ๊ต โดยเฉลี่ยแล้ว ควรได้รับเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ 5-10 กรัม/วัน ซึ่งการรับประทานข้าวโอ๊ตหรือซีเรียลที่ทำจากข้าวโอ๊ตอาจได้รับไฟเบอร์แบบละลายน้ำประมาณ 2 กรัม/วัน หากต้องการเส้นใยอาหารเพิ่ม อาจใส่สตรอว์เบอร์รี่ หรือกล้วยหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ลงไปด้วย ดังนั้น การได้รับเส้นใยอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน อาจช่วยให้ระดับคอเลสเตอรอลลดลงได้ ถั่ว ถั่วและพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วแขก ถั่วฝักยาว ถั่วเลนทิล ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเหลือง เป็นแหล่งสำคัญของเส้นใยอาหารแบบละลายน้ำได้ การรับประทานถั่วและพืชตระกูลถั่วอาจทำให้รู้สึกอิ่มได้นานขึ้น เนื่องจากร่างกายจะใช้เวลานานในการย่อยถั่วเมื่อเทียบกับอาหารประเภทอื่น รวมถึงยังอาจช่วยลดไขมันไม่ดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ การบริโภคโปรตีนถั่วเหลืองวันละ 25 กรัม อาจช่วยลดระดับไขมันไม่ดี (LDL) ได้ด้วย ปลาไขมันสูง ปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล เป็นปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น โดยการทำให้ระดับไขมันดี (HDL) เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน […]


คอเลสเตอรอล

น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ขึ้นได้หรือไม่

น้ำตาล อาจทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้ เนื่องจากการรับประทานน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน และอาการทางหัวใจอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ควรระมัดระวังการบริโภคน้ำตาล และการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้รับประทานน้ำตาลมากเกินไปจนทำให้คอเลสเตอรอลสูง ปริมาณ น้ำตาล ที่ควรได้รับต่อวัน น้ำตาลที่อยู่ในอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารบรรจุกระป๋อง ขนม และเครื่องดื่มต่าง ๆ อาจเป็นน้ำตาล หรือสารให้ความหวานที่มีแคลอรี่ปะปนอยู่ ซึ่งทางสมาคมโรคหัวใจอเมริกันได้เผยแพร่คู่มือเกี่ยวกับการรับประทานน้ำตาล โดยผู้ชายควรรับแคลอรี่จากน้ำตาล 150 แคลอรี่ หรือประมาณ 9 ช้อนชา ส่วนผู้หญิงควรได้รับแคลอรี่จากน้ำตาล 100 แคลอรี่ หรือประมาณ 6 ช้อนชา ดังนั้น ก่อนการเลือกซื้ออาหาร หรือนำน้ำตาลมาปรุงอาหาร ควรเช็กปริมาณน้ำตาลให้พอดีกับความต้องการของร่างกายที่ควรได้รับต่อวัน เพื่อป้องกันการทำลายสุขภาพตนเองโดยไม่รู้ตัว น้ำตาล ทำให้ คอเลสเตอรอลสูง ได้อย่างไร การรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายกับระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) และไตรกลีเซอไรด์ อาจมีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากการรับน้ำตาลเข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก อาจทำให้ระดับของไขมันชนิดดีในร่างกายลดต่ำลง และระดับไตรกลีไซอไรด์สูงขึ้น ซึ่งการมีระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูง และมีคอเลสเตอรอลชนิดดีต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการทำให้คอเลสเตอรอลสูง และนำไปสู่ภาวะการเกิดโรคอย่างโรคหัวใจ และอาการผิดปกติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ เคล็ดลับป้องกันได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไป การเรียนรู้วิธีในการแยกแยะน้ำตาลถือเป็นสิ่งที่สำคัญ […]


โรคความดันโลหิตสูง

5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ที่ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง

ลดเกลือ กันเถอะ! ถึงแม้ว่าเกลือจะมีทั้งประโยชน์ในบางด้านก็ตาม เช่น ช่วยป้องกันโรคคอพอก แต่ขณะเดียวกันก็อาจให้โทษแต่สุขภาพของเราได้ หากเราบริโภคเกลือแต่ละมื้อในปริมาณที่มากเกินไป จนเกิดการสะสมก็จะนำไปสู่ความเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูงได้ ฉะนั้น Hello คุณหมอ จึงขอนำ 5 เคล็ดลับในการลดเกลือ เพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูงมาแนะนำทุกคนกัน 5 เคล็ดลับ ลดเกลือ ป้องกันความดันโลหิตสูง 1. เลือกส่วนประกอบสดใหม่ นักโภชนาการแนะนำให้ใช้ วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงอาหาร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ดีกว่าวัตถุดิบที่ปรุงสำเร็จ หรืออาหารแปรรูปที่อยู่ในกระป๋อง เนื่องจากอาหารสด ๆ มักมีจะโซเดียมตามธรรมชาติน้อย ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ เนื้อวัว หรือเนื้อหมูสด ที่มีโซเดียมน้อยกว่าในแฮม และเบคอน เป็นต้น อีกทั้งการรับประทานผัก และผลไม้สดก็มีปริมาณโซเดียมน้อยเช่นกัน แต่สิ่งที่เราควรต้องระวังมาก ๆ อีกอย่างนั่นก็คือ อาหารที่เก็บในตู้เย็นเป็นเวลานาน เพราะยิ่งเก็บนานเท่าไรก็ยิ่งมีโซเดียมอยู่ในปริมาณมากขึ้นได้ 2. อ่านฉลากโภชนาการให้ดี เวลาที่คุณทำการเลือกซื้ออาหารอะไรก็ควรอ่านฉลากก่อนเสมอ เพื่อตรวจดูว่า ผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อมีส่วนประกอบของอะไร มีปริมาณโซเดียมมากน้อยแค่ไหน ทำให้เราสามารถเปรียบเทียบแต่ละยี่ห้อ เพื่อหาผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมผสมอยู่น้อยที่สุดได้ ในกรณีการเลือกซื้อผัก ผลไม้แช่แข็งควรเลือกแบบที่ระบุบนฉลากว่า “Fresh Frozen” เพราะจะทำให้มั่นใจได้ว่า จะมีปริมาณของโซเดียมต่ำ ส่วนถ้าใครต้องการใช้เครื่องเทศ ก็ให้มองหาเครื่องเทศแบบที่ไม่มีเกลือผสมอยู่ โดยตรวจสอบได้จากฉลากข้างผลิตภัณฑ์เช่นเดียวกัน 3. เปลี่ยนวิธีปรุงอาหาร นอกจากจะเลือกส่วนประกอบที่สดใหม่สำหรับการทำอาหารแล้ว ควรหลีกเลี่ยงการเติมเกลือลงไปในอาหารเพิ่มเติมด้วย โดยอาจเป็นการใช้เครื่องเทศอย่างอื่นแทน เช่น กระเทียม ขิง มะนาว ไวน์ อบเชย พริก และอื่น ๆ ที่จะสามารถช่วยให้อาการมีรสชาติรู้อร่อยขึ้นแทนได้ นอกจากนี้คุณยังควรลดซอสมะเขือเทศ หรือซอสต่าง ๆ […]


โรคความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง สามารถ ออกกำลังกาย ในรูปแบบใดได้บ้าง

การออกกำลังกายเป็นประจำ เป็นอีกทางเลือนึ่งที่อาจช่วยลดระดับความดันโลหิตสูง ลดความเครียด และยังทำให้รู้สึกดีขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ คุณควรปรึกษาแพทย์ถึงวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาวะอาการของตนเอง หรือศึกษาข้อมูลในบทความของ Hello คุณหมอ ว่าคนที่มี ความดันโลหิตสูง ควรมีการ ออกกำลังกาย ด้วยวิธีใดบ้าง เพื่อการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง [embed-health-tool-heart-rate] การออกกำลังกาย ช่วยทำให้ระดับความดันโลหิตลดลงได้อย่างไร ปกติแล้วการออกกำลังกายจะช่วยทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ซึ่งเมื่อหัวใจแข็งแรงก็จะสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ไม่ต้องทำงานหนักมาก และมักจะส่งผลให้ค่าความดันโลหิตลดลง เกณฐ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตปกติจะอยู่ที่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือมีตัวเลขค่ารัดับความดันที่สูงขึ้น การออกกำลังกายอาจช่วยทำให้ค่าความดันโลหิตลดลงได้ โดยจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้เห็นผล และควรออกกำลังกายต่อไป อย่างสม่ำเสมอด้วยวิธีที่ถูกตองที่สามารถทำการเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ ความดันโลหิตสูง ควร ออกกำลังกาย แบบไหนดี การออกกำลังกายแบบแอโรบิค หรือแบบคาร์ดิโอ สามาช่วยลดความดันโลหิต และทำให้หัวใจแข็งแรง เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การเต้นแอโรบิค และการว่ายน้ำ การออกกำลังกายแบบเวทเทรนนิ่ง เพื่อทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง จะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ในระหว่างวัน และช่วยทำให้ข้อต่อและกระดูกแข็งแรงด้วย การยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ จะช่วยให้ร่างกายยืดหยุ่นมากขึ้น ทำให้คุณเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บด้วย ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงอาจออกกำลังกายแบบแอโรบิค […]


โรคความดันโลหิตสูง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์

บทความนี้ Hello คุณหมอ นำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กันค่ะ จะมีลักษณะอาการอย่างไร รวมถึงจะส่งผลกระทบบต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง ติดตามอ่านได้ในบทความนี้เลย อาการของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ อาการของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์  มีลักษณะแสดงออก ดังต่อไปนี้ ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์: สตรีมีครรภ์อาจจะมีอาการของโรค เกิดขึ้นในช่วงหลังการตั้งครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ ซึ่งยังไม่มีอาการผิดปกติของอวัยวะภายใน หรือยังตรวจไม่พบว่ามีโปรตีนส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะ แต่สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นก็อาจมีอาการลุกลามจนกลายเป็นครรภ์เป็นพิษได้ ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง : นี่คืออาการของโรคความดันโลหิตสูงที่เกิดขึ้นก่อนการตั้งครรภ์ หรือพัฒนาขึ้นในช่วง 20 สัปดาห์แรก แต่ยังไม่มีอาการอะไรที่เห็นได้ชัดเจน ความดันโลหิตสูงเรื้องรังที่มีโปรตีนในปัสสาวะ: อาการเช่นนี้เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก่อนการตั้งครรภ์ และต่อมาก็มีอาการหนักขึ้น หรือมีอาการแทรกซ้อนมากขึ้นในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ ครรภ์เป็นพิษ : นี่คือภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการตั้งครรภ์ ที่อาจมีสาเหตุมาจากโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูงในช่วงหลังตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจมีอันตรายร้ายแรงต่อแม่และลูกได้ 4 ภาวะแทรกซ้อนของโรค ความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ ที่พบได้บ่อย มีดังต่อไปนี้ ไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงที่รก: ซึ่งก็หมายความว่า ทารกจะได้รับสารอาหารและออกซิเจนน้อย ซึ่งท้ายที่สุดก็จะส่งผลให้เจริญเติบโตช้า น้ำหนักตอนคลอดน้อย หรืออาจคลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่ออาการนี้ การลอกตัวที่รุนแรงอาจทำให้เกิดการเสียเลือดมากเกินไป จนทำให้ชีวิตของแม่และเด็กมีความเสี่ยง คลอดก่อนกำหนด: เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แพทย์ก็อาจจำเป็นต้องทำคลอดก่อนกำหนด มีแนวโน้มเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด: สภาวะครรภ์เป็นพิษของแม่ อาจทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด […]


สุขภาพหัวใจ

เคล็ดลับการ ออกกำลังกาย สำหรับคนเป็น โรคความดันโลหิตสูง

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง อาจมีคำถามว่า เป็นความดันโลหิตสูงออกกำลังกาย อย่างไรดี เพราะนอกเหนือจากการคุมอาหารแล้ว การเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสมก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ความดันโลหิตอยู่ในระดับดี บทความนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับการ ออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่เป็น โรคความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ [embed-health-tool-heart-rate] การ ออกกำลังกาย สำหรับผู้เป็น โรคความดันโลหิตสูง การ ออกกำลังกายเป็นประจำช่วยให้มีรูปร่างดี มีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงได้ แถมการออกกำลังกายยังเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจิต เพราะช่วยทำให้ฮอร์โมนแห่งความสุขเพิ่มขึ้น ช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่างไรก็ตาม หากต้องการให้ความดันโลหิตลดลง คุณจำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ  1 – 3 เดือนจึงจะเห็นผล และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ค่าความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เป็นความดันโลหิตสูงออกกำลังกาย อย่างไรดี? คุณควรขอคำแนะนำจากแพทย์เพื่อหาวิธีออกกำลังที่เหมาะสมกับตัวคุณเอง และไม่จำเป็นที่จะต้องไปออกกำลังในยิมก็ได้ แค่เลือกทำกิจกรรมที่ชอบ และกิจกรรมนั้นทำให้ใช้พลังงานมากขึ้นก็เพียงพอแล้ว อย่างเช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ ๆ การเดินไปมาเพื่อทำงานบ้าน จนถึงการว่ายน้ำ เล่นโยคะ และเต้นแอโรบิค เป็นต้น โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ การออกกำลังกายที่ทำให้หัวใจแข็งแรง หรือการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ : […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน