สุขภาพหัวใจ

หัวใจ คืออวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หากหัวใจเกิดปัญหา ก็จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงได้ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพหัวใจ ทั้งการดูแลรักษา และปกป้องระบบหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพหัวใจ

ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ ที่อาจช่วยป้องกันคุณให้ห่างไกลจากโรค

เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมคนเราจึงต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะกับสุขภาพหัวใจที่แพทย์นั้น มักเน้นการฟัง และจับจังหวะอัตราการเต้นหัวใจเป็นหลัก เพื่อให้ทุกคนได้รู้ถึง ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ นี้ Hello คุณหมอ จึงขออาสานำข้อมูลที่ควรทราบ รวมถึงวิธีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจหัวใจ มาฝากกันค่ะ ความสำคัญของการตรวจสุขภาพหัวใจ มีอะไรบ้าง เนื่องจาก การตรวจสุขภาพหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจว่าคุณจัดอยู่ในเกณฑ์ภาวะปกติหรือไม่ อีกทั้งยังสามารถบ่งบอกได้อีกด้วยว่าคุณกำลังมีโรคใดที่รุนแรง ๆ ต่อไปนี้ แทรกซ้อนอยู่หรือเปล่า โรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในโรคที่ถูกพบบ่อยมากที่สุด ที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง และอุดตันจากคอเลสเตอรอล ส่งผลให้หัวใจล้มเหลว หรือมีอัตราการการเต้นของหัวใจผิดจังหวะได้ กล้ามเนื้อหัวใจหนา หากผนังกล้ามเนื้อหัวใจมีการพองโต และขยายใหญ่ขึ้น อาจทำให้ยากต่อการสูบฉีดเลือดเพื่อไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ อีกทั้งยังมีเสี่ยงต่อการมีลิ่มเลือดในหัวใจ และภาวะหัวใจล้มเหลว โดยมักเผชิญกับได้ทุกช่วงอายุตั้งแต่ 20-60 ปี โรคลิ้นหัวใจรั่ว เมื่อลิ้นหัวใจเกิดมีรูรั่ว หรือปิดไม่สนิท อาจทำให้เลือดไหลย้อนกลับไม่สามารถเคลื่อนผ่านหัวใจเข้าสู่ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณควรเข้ารับการตรวจเช็กเป็นประจำตามกำหนด รวมถึงหากคุณสังเกตว่าตนเองมีอาการบางอย่างที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก  เหนื่อยล้าง่าย ข้อเท้าบวม เป็นต้น ก็ควรจะเข้ารับการวินิจฉัยหาสาเหตุโดยไม่ควรรีรอเช่นเดียวกัน เตรียมความพร้อมก่อน ตรวจสุขภาพหัวใจ คุณควรมีการจดบันทึกถึงโรคที่เป็นอยู่ พร้อมกันชนิดยาที่เคยใช้รักษา เพื่อนำไปแจ้งให้แพทย์ทราบ ก่อนเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจ อีกทั้งก่อนถึงวันเข้ารับการตรวจคุณควรเตรียมร่างกายตนเองด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ […]

หมวดหมู่ สุขภาพหัวใจ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพหัวใจ

โรคความดันโลหิตสูง

ค่าความดันโลหิตสูง ลดลงได้ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ หากคุณปฏิบัติถูกวิธี

ความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก สาเหตุหลักๆ ก็มาจากวิธีการดำเนินชีวิตของคนในยุคนี้ และไลฟ์สไตล์ในวิถีชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนไป วันนี้ Hello คุณหมอ นำเคล็ดลับดีๆ  เพื่อลดความเสี่ยงของ ค่าความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ ค่าความดันโลหิตสูง สามารถลดลงได้ด้วยวิธีเหล่านี้ โดยปกติภาวะ ความดันโลหิตสูง จะไม่แสดงอาการ บางคนจึงไม่รู้ตัวว่าตัวเอง ความดันโลหิตสูง ดังนั้นจึงควรตรวจวัดค่าความดันอยู่เสมอ หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะนี้ เช่น คุณอายุมากกว่า 40 ปี คุณมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน คุณเครียด หรือครอบครัวมีประวัติเป็นโรค ความดันโลหิตสูง ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะ ความดันโลหิตสูง คุณอาจปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อให้ค่าความดันลดลง ดังนี้ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คุณควรเลือกรับประทานธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ผลไม้ ผัก และอาหารไขมันต่ำ อย่าแตะต้องอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง เมื่อพูดถึงเนื้อสัตว์ก็ควรเลือกรับประทานแบบไม่มีไขมัน และจำกัดอาหารที่มีโซเดียม ไขมัน และน้ำมัน โดยกินอาหารแบบสดๆ แทนอาหารกระป๋อง หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป เลือกดื่มอย่างชาญฉลาด แอลกอฮอล์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งอาจจะช่วยลดความดันลงได้ถ้าดื่มในปริมาณเล็กน้อย แต่การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปอาจส่งผลร้ายต่อร่างกายได้ เนื่องจากจะทำให้ความดันพุ่งสูงขึ้นได้ รวมทั้งลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้รักษาโรค ความดันโลหิตสูง ด้วย ฉะนั้นก็ควรดื่มแต่พอดี คาเฟอีน คือ เครื่องดื่มอีกชนิดหนึ่งที่ต้องระวังเอาไว้ให้ดี ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อสรุปถึงผลเสียก็ตาม แต่ที่แน่ๆ คาเฟอีนส่งผลกระทบต่อความดันโลหิตแตกต่างกัน ระหว่างผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำกับผู้ที่ไม่ดื่มกาแฟ ลองปรึกษาแพทย์เพื่อศึกษาถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายจากการดื่มกาแฟ ออกกำลังกายป้องกัน […]


ภาวะหัวใจล้มเหลว

หัวใจวายในผู้หญิง กับอาการและสัญญาญเตือนที่สาว ๆ ควรรู้ จะได้รับมือทัน

ภาวะ หัวใจวายในผู้หญิง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิง ภาวะหัวใจวายนั้นสามารถเกิดได้ทั้งกับเพศชายและเพศหญิง แต่จะส่งผลกระทบกับเพศชายและหญิงต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตระหนักถึงอาการและสัญญาณเตือนของโรค ที่เรามักจะไม่ใส่ใจและมองข้าม เพื่อให้สามารถเฝ้าระวังและป้องกันได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ หัวใจวายในผู้หญิง มีอาการอย่างไร ผู้หญิงมักจะมีอาการที่เห็นได้ชัดน้อยกว่าผู้ชาย สัญญาณและอาการที่พบได้มากที่สุดมีดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกอึดอัดไม่สบายในอก เป็นอาการของโรคหัวใจที่รับรู้ได้ง่ายที่สุด แต่อาจจะไม่เกิดขึ้นเสมอไป อาการปวดที่ลามลงมายังแขน คอ กราม ท้อง และหลัง คุณอาจรู้สึกถึงอาการปวดเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมด สำหรับบางคน อาการปวดอาจรุนแรงมาก แต่สำหรับบางคนอาจแค่รู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย รู้สึกไม่สบาย เหงื่อออก หายใจไม่ออก วิงเวียนศีรษะ โดยมีอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอกร่วมด้วย รู้สึกเหมือนอาหารไม่ย่อย หรือปวดท้องแบบมีกรดเกินในกระเพาะอาหาร ความรู้สึกไม่ค่อยสบายเหมือนทั่ว ๆ ไป แต่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และตามมาด้วยอาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก อาการวิตกกังวล อ่อนแรง หรือเหนื่อยล้าอย่างหาสาเหตุไม่ได้ ใจสั่น ตื่นตกใจกลัว หรือตัวซีด หากคุณมีสัญญาณและอาการที่กล่าวมาเบื้องต้นโปรดรับการรักษาทันที และควรรับการทดสอบเพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจวายด้วย เพราะภาวะนี้ ยิ่งตรวจเจอเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นเท่านั้น ความเสี่ยงต่อการเกิด หัวใจวายในผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคหลอดเลือดหัวใจซึ่งพบได้บ่อยนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง โรคอ้วน โดยปัจจัยเหล่านี้ส่งผลต่อผู้ชายและผู้หญิงเหมือน ๆ กัน อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยอื่น ที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดโรคหัวใจในผู้หญิง […]


โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้อย่างไร และจะรับได้มืออย่างไร

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เกิดจากปัญหาในช่วงแรกของการพัฒนาของโครงสร้างและหน้าที่ของหัวใจ โดยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมักจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจ และอาจส่งผลต่อการหายใจ แต่ด้วยการรักษาที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน รวมถึงการดูแลที่เหมาะสม ทารกจำนวนมากที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด สามารถมีชีวิตรอดได้อย่างเป็นปกติจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เกิดขึ้นได้อย่างไร โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดจากความบกพร่องของหัวใจแต่กำเนิด แม้ว่าในบางครั้งจะไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัด แต่สาเหตุที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ก็คือ พันธุกรรม การบกพร่องนี้อาจถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นในครอบครัว การใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ การใช้ยาบางประเภทระหว่างการตั้งครรภ์สามารถเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเช่น ยารักษาอาการชัก การเสพติด แอลกอฮอล์ หรือยาระหว่างตั้งครรภ์ การติดเชื้อ หากแม่มีการติดเชื้อไวรัสระหว่าง 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการให้กำเนิดบุตรที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคเบาหวาน อาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการในวัยเด็ก อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมีกี่ประเภท ถึงแม้ว่าโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดจะมีด้วยกันหลายประเภท แต่ก็สามารถแยกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่ ลิ้นหัวใจบกพร่อง ลิ้นหัวใจภายในหัวใจซึ่งควบคุมการไหลเวียนของเลือดอาจปิดลงหรือรั่วทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เป็นปกติ ผนังหัวใจบกพร่อง ผนังหัวใจโดยธรรมชาติที่กั้นระหว่างหัวใจด้านซ้ายและขวาและห้องล่างและบนมีการพัฒนาที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เลือดไหลย้อนกลับไปยังที่ๆ ไม่ควรอยู่ ความบกพร่องนี้ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นและทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น เส้นเลือดบกพร่อง เส้นเลือดดำและเส้นเลือดแดงที่นำเลือดจากหัวใจไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างไม่ถูกต้อง โดยขัดขวางหรือทำให้การไหลเวียนของเลือดช้าลง นอกจากนี้ แพทย์ยังแบ่งโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทแรก ซึ่งส่งผลให้ระดับออกซิเจนต่ำ และประเภทที่สอง ซึ่งไม่ได้ส่งผลให้ระดับออกซิเจนต่ำ ทารกที่ทรมานจากการหายใจไม่ออก หรือมีอาการตัวเขียว คือ ทารกที่ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจาก หัวใจบีบตัวอย่างที่ควรเป็น โดยสามารถเรียกโรคหัวใจแบบนี้ว่า “แบบ […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

กระบวนการและขั้นตอน การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass surgery: CABG) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นหนึ่งในวิธีการที่ใช้กันบ่อยที่สุดในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน เนื่องจากการสะสมของคราบไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดลดลง การผ่าตัดนี้จะเป็นการทำเส้นทางใหม่เพื่อให้เลือดไหลไปยังหัวใจได้ดีขึ้น โดยมักจะเป็นการสร้างเส้นทางใหม่สำหรับการไหลของเลือด 3, 4 หรือ 5 เส้น ทำไมถึงต้องมี การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ ใช้เพื่อรักษาอาการปวดเค้นในหน้าอก (Angina) ที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ด้วยยา สาเหตุที่พบบ่อยๆ ของอาการปวดเค้นในหน้าอกก็คือ กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด (myocardial infarction) การทำงานผิดปกติของลิ้นหัวใจไมตรัล (mitral valve) และการบาดเจ็บของหัวใจแบบอื่นๆ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของผู้ที่ป่วยจากแขนงหลอดเลือดหัวใจตีบตัน อย่างเช่นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน การผ่าตัดบายพาสทำอย่างไร การผ่าตัดบายพาสเป็นการผ่าตัดทำทางเบี่ยงของทางเดินเลือดใหม่ เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจในเส้นทางใหม่ โดยแพทย์จะต้องใช้หลอดเลือดเสริม (Graft) ด้านหนึ่ง ไปต่อที่ใต้จุดของหลอดเลือดหัวใจแดงเดิมที่มีการตีบหรือตัน และอีกด้านหนึ่งไปต่อกับหลอดเลือดแดงใหญ่ (Aorta) ส่งผลให้เลือดจากหลอดเลือดแดงใหญ่เดินทางไปตามหลอดเลือดแดงเสริม เพื่ออ้อมการอุดตันและไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้ในที่สุด ในปัจจุบันมีการผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจหลักๆ ที่นิยมใช้กัน 2 วิธีคือ การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจโดยใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม (On-Pump Coronary Artery Bypass Grafting: CABG) วิธีการนี้ ผู้ป่วยจะถูกทำทำให้หัวใจหยุดเต้นและใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียม เพื่อส่งเลือดและออกซิเจนไหลเวียนไปทั่วร่างกาย การผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจแบบนี้จะกินเวลาราว 4 ชั่วโมง […]


ปัญหาอื่นของโรคหัวใจและหลอดเลือด

แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ สัมพันธ์กันอย่างไร

ความสัมพันธ์ระหว่าง แอลกอฮอล์และสุขภาพหัวใจ นั้นยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน หากคุณต้องการป้องกันโรคหัวใจ คุณอาจจะได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เป็นของที่ไม่มีประโยชน์ การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่แอลกอฮอล์นั้นมีคุณสมบัติทั้งปกป้องหัวใจและสามารถทำลายหัวใจได้เช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับว่าคุณใช้แอลกอฮอล์อย่างไร ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มาพร้อมข้อเท็จจริงว่า แอลกอฮอล์ มีความเชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไรบ้าง การดื่ม แอลกอฮอล์ หนักเกินไปสามารถส่งผลต่อ สุขภาพหัวใจ ได้อย่างไรบ้าง สำหรับผู้เริ่มต้น การดื่มแอลกอฮอล์จำนวนมาก (มากกว่า 2 แก้วต่อวัน) อาจทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นในระดับที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณดื่มเบียร์ 6 กระป๋อง วิสกี้ 1 ขวด ไวน์ ½-1 ขวด ทุกวันเป็นเวลา 10 ปี จะส่งผลให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับความเสียหายอย่างแน่นอน โรคส่วนใหญ่ที่มักพบ คือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจเนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดแดง ฉะนั้น แอลกอฮอล์คือสาเหตุอันดับสองของโรคกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหัวใจได้รับความเสียหาย จะไม่สามารถฟื้นฟูหัวใจได้อย่างสมบูรณ์ หากหัวใจมีภาวะลิ่มเลือดและอัตราการเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอ (ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย (แพทย์บางท่านเรียกอาการนี้ว่า “โรคหัวใจช่วงสุดสัปดาห์” (เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักดื่มอย่างหนักในช่วงวันหยุด) หากคุณยังคงดื่มต่อไปอาจมีผลเสียตามมาอย่างร้ายแรง ผู้ที่เสพติดแอลกอฮอล์กว่าครึ่ง อาการจะพัฒนาเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ […]


โรคหัวใจ

สัญญาณบอกเหตุ โรคหัวใจในผู้หญิง ที่ไม่ควรละเลย

โรคหัวใจในผู้หญิง สามารถพบได้บ่อยเช่นเดียวกับโรคหัวใจในผู้ชาย แต่อาการของโรคหัวใจในแต่ละคนนั้นอาจมีความแตกต่างกันได้ และ อาการของ โรคหัวใจในผู้หญิง นั้นอาจแตกต่างกับอาการที่เกิดกับผู้ชายได้ โรคหัวใจในผู้หญิง กับอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ สัญญาณของหลอดเลือดหัวใจตีบอาจจะไม่ใช่การเจ็บหน้าอกในผู้หญิง โดยทั่วไปอาการของหลอดเลือดหัวใจตีบในผู้ชาย จะเป็นการเจ็บหน้าอกที่ร้าวไปถึงขากรรไกรหรือไหล่ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีอาการปวดเมื่อสัมผัส ซึ่งอาจจะเกิดที่หลัง ไหล่ แขน หรือขากรรไกร ยิ่งไปกว่านั้นบ่อยครั้ง อาจจะไม่ได้มีอาการเจ็บหน้าอกเลยก็ได้ แพทย์จำนวนไม่น้อยอาจเชื่อตามความเชื่อดั้งเดิมว่า โรคหลอดเลือดหัวใจนั้นไม่ค่อยจะเกิดในผู้หญิง แพทย์อาจจะสรุปว่าอาการดังกล่าวนั้นเป็นการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและกระดูก หรือความผันแปรทางอารมณ์ ที่ทำให้มีผลต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ (หรืออาการที่น้อยกว่านี้) ยิ่งไปกว่านี้ผู้หญิงอาจจะมีแนวโน้มที่จะเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่าผู้ชาย เมื่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจเป็นปกติ ระหว่างการสวนหัวใจและหลอดเลือด แต่พวกเธออาจจะแจ้งว่า เกิดความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือแย่ไปกว่านั้นจะบอกว่า เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับศีรษะ ทั้งที่ความจริงเป็นโรคหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน อาจจะมีอาการที่แตกต่างกันในผู้หญิง เปรียบเทียบกับผู้ชาย บ่อยครั้งผู้หญิงที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อาหารไม่ย่อย หายใจตื้น หรือเหนื่อยล้ารุนแรงและทันที แต่ไม่มีอาการเจ็บหน้าอก อย่างไรก็ตาม แพทย์มักจะระบุว่า อาการเหล่านี้เป็นอาการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับโรคหัวใจ ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายอย่างเงียบๆ มากกว่าผู้ชาย นั่นหมายความว่า อาจจะเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยไม่มีอาการอะไรเลยอย่างกะทันหัน ซึ่งจะสามารถวินิจฉัยได้เพียงแต่เมื่อเกิดอาการโรคหัวใจแล้วเท่านั้น เมื่อไรที่จะต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ในเมื่ออาการโรคหัวใจในผู้หญิงไม่เป็นไปตามตำรา คุณจะทราบได้อย่างไรว่า เมื่อไรคุณควรที่จะขอความช่วยเหลือ เกี่ยวกับอาการที่อาจจะเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ กฎที่คุณควรจะทำตามง่ายๆ ก็คือ […]


โรคหัวใจ

การวินิจฉัยโรคหัวใจและการตรวจหัวใจด้วย Computed Tomography (CT)

โรคหัวใจเป็นโรคที่มีความเกี่ยวข้องกับ หัวใจ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจขึ้น ก็จะส่งผลต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายบางส่วนทำงานได้ลำบากมากขึ้น ในปัจจุบันที่วงการแพทย์ได้มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีอุปกรณ์ที่ช่วยในการตรวจหัวใจ อย่าง การตรวจหัวใจด้วย CT ทาง Hello คุณหมอจะพาไปทำความรู้จักว่า CT คืออะไร มีหลักการทำงานอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ การตรวจหัวใจด้วย CT หรือเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์คืออะไร Computed Tomography (CT) คือ การทดสอบที่ ไม่ล้วงล้ำเข้าสู่ร่างกาย โดยใช้เอกซเรย์ในการสร้างภาพของหัวใจ CT สแกนเนอร์ที่ทันสมัย (Multidetector CT หรือ MDCT) ทำงานได้อย่างรวดเร็วและละเอียด โดยสามารถถ่ายภาพการเต้นของหัวใจ แสดงแคลเซียมและสิ่งที่ขัดขวางในเส้นเลือดแดงได้ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ CT MDCT คือหนึ่งในประเภทของ CT scan ที่สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว MDCT ทำให้เกิดภาพของส่วนของหัวใจที่ปกติและส่วนที่เป็นโรค โดยภาพนี้สามารถดูได้จากมุมมองใดก็ได้ รูปภาพที่แสดงออกมาเหล่านี้สามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยถึงปัญหาที่เกิดในโครงสร้างของหัวใจและการสูบฉีดเลือดของหัวใจได้ EBCT สามารถแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ขัดขวางการทำงานของหลอดเลือด ที่เกิดจากการสะสมของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดหัวใจ ทำไมจึงต้องทำ MDCT แพทย์อาจให้คุณทำ MDCT เมื่อการตรวจด้วยวิธีอื่น เช่น การเอกซเรย์หน้าอก การทำ electrocardiograms (ECG), Echocardiograms (echocardiography) […]


โรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ และทางเลือกอื่นในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจ

การผ่าตัดบายพาสหัวใจ (Coronary artery bypass surgery) หรือการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการผ่าตัดเปิดหัวใจที่พบได้มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา วิธีการคือการนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกายมา เพื่อเลี่ยงหรืออ้อมหลอดเลือดจุดที่อุดตัน ทำให้เลือดและออกซิเจนสามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้อีกครั้ง แต่การผ่ตัดนี้จะมีข้อดี และข้อเสียอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้ในบทความของ Hello คุณหมอ ที่นำมาฝากทุกคนวันนี้กันได้เลยค่ะ เราจำเป็นต้องทำ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ หรือไม่ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ นั้นสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวาย และปัญหาอื่นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจจะต้องรับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ มีผู้ป่วยหลายคนที่สามารถควบคุมโรคได้ จากการเลือกรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย ใช้ยา รับการผ่าตัดขยายเส้นเลือด หรือวิธีการรักษาอื่น ๆ นอกจากนี้ คุณและแพทย์สามารถตัดสินใจร่วมกันได้ว่าจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมอย่างไรหลังจากวิเคราะห์ข้อดี และข้อเสีย รวมถึงภาวะสุขภาพร่างกายของคุณ ข้อดีของ การผ่าตัดบายพาสหัวใจ การผ่าตัดบายพาสหัวใจสามารถรักษาอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (เจ็บหน้าอก) โดยที่การบรรเทาอาการนั้นมักจะมีระยะเวลานานถึง 10 ถึง 15 ปี หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยอาจจะต้องเพิ่มทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นหากมีอาการอุดตันอีกครั้ง ในกรณีที่คุณเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจระดับรุนแรง เช่น มีหลอดเลือดอุดตันหลายจุด การผ่าตัดบายพาสหัวใจจะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ยาวนานขึ้นอีกด้วยค่ะ ข้อเสียของการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ในช่วงการผ่าตัดบายพาสหัวใจยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อีกมากมาย จากรายงานของวารสารมหาวิทยาลัยโรคหัวใจและหลอดเลือดแห่งสหรัฐอเมริกัน ประมาณร้อยละ 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดอาจจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองระหว่างการผ่าตัด และอีก 3 เปอร์เซ็นต์อาจจะเสียสติได้ นอกจากนี้ยังพบความเสียหายของไตหลังจากการผ่าตัดบายพาสหัวใจล้มเหลวอีกด้วย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน