backup og meta

ภาวะมือชา สัญญาณเตือนของ โรคเรเนาด์ ที่กำลังคุกคามร่างกายคุณ

ภาวะมือชา สัญญาณเตือนของ โรคเรเนาด์ ที่กำลังคุกคามร่างกายคุณ

นอกจากจะมือชา เท้าชาแล้วนั้น อาจมีอาการมือเท้าเย็นแข็งประปรายร่วม จนทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดรุนแรง เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกเช่นเดิม จะทำกิจกรรมอะไรก็ยากลำบาก ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า โรคเรเนาด์ ที่วันนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาทำความรู้จัก พร้อมวิธีดูแลสุขภาพของคุณ ก่อนจะมีผลเสียตามมา

โรคเรเนาด์ (Raynaud’s disease) คืออะไร

โรคเรเนาด์ (Raynaud’s disease) ป็นอาการอย่างหนึ่งที่ทำให้บางส่วนของร่างกายคุณเย็นแข็ง เช่น นิ้วมือ นิ้วเท้า จนรู้สึกถึงความด้านชา โรคเรเนาด์นี้สามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ

  1. โรคเรเนาด์แบบปฐมภูมิ คืออาการที่เกิดขึ้นได้เอง โดยไม่มีปัจจัยของโรคประจำตัวมาเกี่ยวข้อง และยังพบได้บ่อย ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากนัก ซึ่งอาการจะบรรเทาลงได้เองตามลำดับ
  2. โรคเรเนาด์แบบทุติยภูมิ อาจมีสาเหตุมาจากโรคประจำตัวของคุณที่มีผลกระทบ หรือผลข้างเคียงจากโรคที่ทำให้เนื้อเยื่อในร่างกายของคุณเกิดปัญหาบางอย่าง นับว่าเป็นอาการรุนแรง จนอาจทำให้ผู้ป่วยถึงขั้นเสียชีวิตได้

ถึงแม้โรคเรเนาด์ยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดมากนัด แต่ยังคงมีโรค และอาการบางอย่างที่เกี่ยวข้อง ซึ่งก่อให้เกิดอุณหภูมิในร่างกายที่ลดลง จนมือ และเท้าเย็นชา ดังนี้

  • โรคของหลอดเลือด เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์ ทำให้หลอดเลือดบริเวณมือ และเท้าอักเสบ และยังสามารถทำให้คุณมีความดันโลหิตสูงขึ้นอีกด้วย
  • โรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เป็นโรคที่ค่อนข้างเกิดขึ้นได้ยาก และสามารถทำให้ผิวหนังของเราเกิดแข็งตัวคล้ายแผลเป็น และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคลูปัส และไขข้ออักเสบเพิ่มเติมได้
  • โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ เกี่ยวกับการถูกกดทับกลุ่มเส้นประสาท เช่น นอนทับมือเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดอาการชา นำไปสู่ความเจ็บปวดบริเวณข้อมือ
  • พฤติกรรมจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ผู้ที่มีงานอดิเรก และใช้การเคลื่อนไหวของข้อมือเป็นเวลานาน เช่น การนั่งพิมพ์ เล่นกีตาร์ เปียโน หรือแม้พนักงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรที่มีความสั่นสะเทือนสูง อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้คุณเป็นโรคเรเนาด์ได้เช่นกัน
  • การใช้ยาบางชนิด การที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องบริโภคยาเคมีบำบัดอาการต่างๆ เช่น ยาในกลุ่มเบต้า ยาบรรเทาอาการไมเกรน อาจทำให้คุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเรเนาด์ ดังนั้นก่อนการใช้ยาใดๆ หรือเริ่มมีอาการที่ปิดปกติบริเวณมือ และเท้า ควรเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในทันที

ปัจจัยที่อาจทำให้คุณเป็นโรคเรเนาด์ 

จากข้อมูลของสถาบันแห่งชาติของโรคข้ออักเสบ กล้ามเนื้อกระตุก กระดูก และผิวหนัง ผู้ที่มีปัจจัยเสียงในการเป็นโรคเรเนาด์มักพบได้มากที่สุดในผู้หญิง และเริ่มมีอาการได้ตั้งแต่อายุ 15 – 30 ปีขึ้นไป

นอกจากนี้เรื่องของภูมิอากาศก็ยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้ผู้อาศัยในเขตหนาว หรือสภาพอากาศที่ติดลบก็สามารถทำให้เกิดอาการมือเท้าเย็นได้ รวมถึงการสูบบุหรี่ และผู้ที่มีอาชีพเกี่ยวข้องกับการสั่นสะเทือนอย่าง การขุดเจาะ ก็มีแนวโน้มที่โรคเราเนาด์จะถามหาได้เช่นเดียวกัน

สังเกตอาการของโรคเรเนาด์ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

  • รู้สึกถึงความเย็นแข็งของนิ้วมือ และนิ้วเท้า
  • การเปลี่ยนของสีผิวบริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และนิ้วเท้า
  • มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วย เนื่องจากอุณหภูมิที่ติดลบมากจนเกินไป

หากเป็นอาการในประเภทปฐมภูมิ คุณควรทำให้ร่างกายอุ่นขึ้น และใช้เวลาเพียง 15 นาที หรืออาจมากกว่านั้น อาการมือเท้าเย็นนี้จะสามารถหายไปได้เอง

ป้องกันตนเองจาก โรคเรเนาด์ ก่อนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ

บางกรณีที่คุณไม่สามารถควบคุมอาการของโรคนี้ได้ คุณจำเป็นที่ต้องใช้วิธีการรักษาโดยแพทย์ ซึ่งอาจมีการสั่งยาบางชนิด เพื่อไปปรับปรุงหลอดเลือดภายในร่างกาย เช่น ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What you need to know about Raynaud’s disease https://www.medicalnewstoday.com/articles/176713#treatment Accessed March 02, 2020

Raynaud’s Disease and Raynaud’s Syndrome https://www.webmd.com/arthritis/raynauds-phenomenon#1 Accessed March 02, 2020

Raynaud’s Disease https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/raynauds-disease/symptoms-causes/syc-20363571 Accessed March 02, 2020

Everything You Need to Know About Raynaud’s Phenomenon https://www.healthline.com/health/raynauds-phenomenon#additional-symptoms Accessed March 02, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคปลายประสาทอักเสบในผู้สูงอายุที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ

โรคกดทับเส้นประสาทในโพรงข้อมือ ภัยเงียบที่คนนอนดิ้นควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา