สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

สุขภาพกายผู้สูงวัย

วิธีออกกำลังกายในน้ำ เสริมสร้างความฟิตให้ผู้สูงอายุ

คนทุกเพศทุกวัยควรทำกิจกรรมทางกาย หรือออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง สามารถเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและข้อต่อทุกส่วนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สำหรับผู้สูงอายุที่มักมีปัญหาข้ออักเสบ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ก็อาจมีตัวเลือกในการออกกำลังกายจำกัดกว่าคนกลุ่มอื่น วิธีออกกำลังกายในน้ำ จึงเป็นสิ่งที่เหมาะกับผู้สูงอายุ แต่จะมีท่าว่ายน้ำไหนบ้างที่เหมาะกับผู้สูงอายุ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝาก วิธีออกกำลังกายในน้ำ สำหรับผู้สูงอายุ จ๊อกกิ้งในน้ำ การจ๊อกกิ้งในน้ำ เป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุมาก เนื่องจากมีแรงกระแทกต่ำ แต่สามารถช่วยให้เลือดสูบฉีดและไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ดี โดย การออกกำลังกายในน้ำ ผู้สูงอายุสามารถจ๊อกกิ้งได้หลากหลายรูปแบบ จะเดินไปกลับให้สุดขอบสระ หรือจ๊อกกิ้งอยู่กับที่ก็ได้ การจ๊อกกิ้งในน้ำเป็น การออกกำลังกายในน้ำ ที่ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ฉะนั้น จึงต้องเลือกระดับความเข้มข้นและระยะเวลาให้เหมาะสม อย่าจ๊อกกิ้งเร็วหรือนานเกินไปจนร่างกายรับไม่ไหว แต่ก็ต้องไม่ช้าเกินจนรู้สึกเหมือนไม่ได้ออกกำลังกาย เตะสลับขา การเตะสลับขาเป็น การออกกำลังกายในน้ำ อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้นเช่นกัน โดยผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายวิธีนี้ได้ ด้วยการใช้อุปกรณ์เสริมอย่างบอร์ดโฟมหรือไม่ใช้ก็ได้ หากใช้บอร์ดโฟม ให้ผู้สูงอายุเหยียดแขนตรงวางบนบอร์ด แล้วเตะสลับขาเพื่อให้เคลื่อนตัวไปข้างหน้า หากไม่ใช้บอร์ดโฟมช่วย ให้ลอยตัวในท่านอนคว่ำ เงยหน้าให้เหนือน้ำ เหยียดแขนตรงแตะขอบสระ แล้วเตะสลับขาอยู่กับที่ และไม่ว่าผู้สูงอายุจะเลือกใช้วิธีไหน สิ่งสำคัญในการเตะสลับขาเพิ่มความฟิตก็คือ ต้องเตะสลับขาด้วยความเร็วและความแรงคงที่ อย่าพยายามเร่งสปีดจนเหนื่อยเกินไป ยกขาใต้น้ำ การยกขาใต้น้ำ เป็นการออกกำลังกายโดยอาศัยแรงต้านของน้ำเป็นตัวช่วย ทำแล้วเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาผู้สูงอายุได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขาส่วนบน ทั้งยังช่วยให้สะโพกยืดหยุ่นได้ดีขึ้นด้วย โดยผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายด้วยท่ายกขาใต้น้ำได้ ตามขั้นตอนต่อไปนี้ ยืนในน้ำบริเวณขอบสระ ให้ขอบสระอยู่บริเวณข้างลำตัว ข้างในข้างหนึ่ง ยืนหลังตรง […]


โภชนาการผู้สูงวัย

ฟลาโวนอยด์ สุดยอดสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ช่วยต้านแก่ ต้านโรค

อนุมูลอิสระ เป็นอีกหนึ่งตัวการทำลายเซลล์ ทำให้เราแก่ลงทุกวัน ยิ่งร่างกายเรามีอนุมูลอิสระมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งแก่เร็วขึ้น และเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ มากขึ้นเท่านั้น แต่วิธีหนึ่งที่จะช่วยให้เราสามารถป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายได้ ก็คือ การบริโภคสารอาหารที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “ฟลาโวนอยด์” ที่พบได้ในพืชผักผลไม้หลากหลายชนิด และได้ชื่อว่าเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ แอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidant) ชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ สารจากพืชชั้นเลิศ ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารพฤกษเคมีในกลุ่มสารประกอบโพลีฟีนอล (Polyphenols) ที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระ มีอยู่ด้วยกันมากกว่า 6,000 ชนิด และสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 6 กลุ่ม ได้แก่ ฟลาโวนอล (Flavonols) ฟลาวานอล (Flavanols) หรือ ฟลาวาน-3-ออล (Flavan-3-ols) ฟลาวาโนน (Flavanones) ฟลาโวน (Flavones) ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin) ฟลาโวนอยด์สามารถพบได้ในผักและผลไม้หลายชนิด ทั้งยังพบในไวน์ ชา ผงโกโก้ และช็อกโกแลตด้วย โดยอาหารแต่ละอย่างก็จะมีฟลาโวนอยด์แต่ละชนิดในความเข้มข้นแตกต่างกันออกไป แหล่งฟลาโวนอยด์ที่คุณหาได้ง่ายๆ คุณสามารถเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ให้กับร่างกายได้ ด้วยการกินอาหารต่อไปนี้ แอปเปิ้ล ในแอปเปิ้ลอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ที่ชื่อว่า เควอซิทิน (Quercetin) ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ภาวะหัวใจวาย โรคต้อกระจก ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ซ้ำ ช่วยควบคุมอาการหอบหืด ทั้งยังบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ด้วย ชาเขียว ชาเขียวมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญที่ชื่อว่า เอพิกัลโลคาเทชิน […]


โภชนาการผู้สูงวัย

สารต้านอนุมูลอิสระ สารอาหารจำเป็นที่ร่างกายขาดไม่ได้

บ่อยครั้งที่เรามักจะได้ยินคำว่า “สารต้านอนุมูลอิสระ” แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วสารต้านอนุมูลอิสระที่พูดถึงนั้น คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ถ้าอยากรู้ล่ะก็ ต้องไม่พลาดบทความนี้ของ Hello คุณหมอ  สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร ร่างกายของคนเรานั้นต้องพบเจอกับแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ควันพิษ ฝุ่นละออง หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าในชีวิตประจำวันมากมาย รวมถึงอนุมูลอิสระ (Free Radicle) ซึ่งเป็นโมเลกุลเล็ก ๆ ที่สามารถพบได้จากหลากหลายที่มา ไม่ว่าจะเป็นควันจากท่อไอเสียรถ ก๊าซต่าง ๆ แสงแดด หรือแม้แต่อาหารการกินที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวัน ก็มีส่วนเพิ่มอนุมูลอิสระด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อโมเลกุลนี้เข้าสู่ร่างกาย ก็จะไปคุกคามระบบภูมิคุ้มกัน หรือทำร้ายเซลล์ในร่างกาย และเมื่อเซลล์ในร่างกายถูกทำร้ายจากอนุมูลอิสระ ก็จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด หรือโรคมะเร็ง ดังนั้นแล้ว เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารเคมีที่จะไปต้านทานกับสารอนุมูลอิสระเพื่อไม่ให้สุขภาพย่ำแย่ สารเคมีดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ สารต้านอนุมูลอิสระ หรือ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) ที่จะเข้าไปปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายให้รอดพ้นจากการถูกทำร้ายโดยอนุมูลอิสระ เพื่อที่จะได้มีสุขภาพที่แข็งแรง ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสระ หน้าที่สำคัญของสารต้านอนุมูลอิสระ นั่นก็คือ การช่วยปกป้องเซลล์ของร่างกายไม่ให้ถูกทำลายโดย อนุมูลอิสระ ซึ่งจะมีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

ไทเก๊ก ประโยชน์ และข้อควรระวังที่ควรรู้

ไทเก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง (Taijiquan หรือ Tai’chi Chua) เป็นการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดลมหายใจ โดยกระบวนท่าของ การรำไทเก๊ก ได้มาจากการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่าง ๆ ปัจจุบัน การรำไทเก๊ก ได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะเป็นไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อและออกแรงเคลื่อนไหวมาก แต่ก็ยังมีข้อควรระวังบางประการ หากผู้สูงอายุอยากออกกำลังกายแบบไทเก๊ก ทำความรู้จักกับไทเก๊ก ไทเก๊ก หรือ ไท่เก๊กคุ้ง (Taijiquan หรือ Tai’chi Chua) เป็นศิลปะการต่อสู้รูปแบบหนึ่งของประเทศจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และได้รับการเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบัน มีต้นกำเนิดจากประเทศจีนสมัยใกล้สิ้นสุดราชวงศ์ซุง โดยผู้ให้กำเนิดชื่อ ชาง ซาน-เฟ็ง เป็นการออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดลมหายใจ โดยกระบวนท่าของไทเก๊ก ได้มาจากการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวของสัตว์ต่าง ๆ ปัจจุบัน ไทเก๊กได้รับความนิยมมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะไม่ต้องใช้กล้ามเนื้อและออกแรงเคลื่อนไหวมาก ช่วยปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือดให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการฝึกสมาธิ กำหนดลมหายใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย ไทเก๊ก เหมาะกับใครบ้าง กลุ่มผู้สูงอายุนิยมออกกำลังกายด้วยการรำไทเก๊กที่สวนสาธารณะ แม้ไทเก๊กอาจดูเป็นการร่ายรำอย่างเชื่องช้า แต่จริง ๆ แล้ว ถือเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัย ด้วยรูปแบบการเคลื่อนไหวที่ไม่ต้องใช้แรงเยอะ เน้นการฝึกลมหายใจ สามารถฝึกได้ทุกสถานที่ เช่น บ้าน สวนสาธารณะ ประโยชน์ขอไทเก๊ก ปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือด ไทเก๊กช่วยปรับสมดุลระบบหมุนเวียนเลือด และระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรงด้วย […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

พัฒนาสมอง เพิ่มพูนความจำ ป้องกันสมองเสื่อม ได้ง่ายๆ ด้วยการ บริหารสมอง

เราทุกคนอาจจะรับรู้กันดีอยู่แล้วถึงความสำคัญของการออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อเพื่อช่วยรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรง แต่หลายคนอาจจะมองข้ามถึงความสำคัญของการ บริหารสมอง เพื่อช่วยรักษาคงสภาพของสมอง ให้ยังคงแข็งแรง ปราดเปรื่อง และไม่เสื่อมถอยไปตามกาลเวลา ทำไมเราจึงควร บริหารสมอง สมองของเรานั้นก็เหมือนกับกล้ามเนื้อ ที่จะเสื่อมถอย และสูญสลายไปตามกาลเวลา หากเราไม่คอยใช้งานมันอยู่เสมอ เปรียบเหมือนกับผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียกล้ามเนื้อไปเพราะไม่ได้ใช้งาน ดังนั้น หากเราไม่ต้องการให้สมองฝ่อ สูญเสียความสามารถในการงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันความเสียหายต่อระบบประสาทเนื่องจากอายุ และชะลอการสูญเสียความทรงจำ คุณก็ควรที่จะออกกำลังกายสมอง ด้วยการบริหารสมองอย่างถูกวิธี การบริหารสมอง จะช่วยพัฒนาความจำ การโฟกัส หรือการทำงานของสมองตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเมื่อคุณมีอายุเพิ่มมากขึ้น สมองก็จะเริ่มเสื่อมสภาพลง อะไรที่เคยจำได้ก็เริ่มลืมเลือน จากที่เคยคิดอย่างว่องไวก็จะเชื่องช้าลง การบริหารสมองจะช่วยลับสมองให้กลับมามีความคมชัด สามารถคิดได้ฉับไว และชะลอการเสื่อมสภาพของสมองที่เกิดขึ้นตามอายุ ทำให้เราไม่หลงๆ ลืมๆ แม้ว่าจะมีอายุมากขึ้นแค่ไหนก็ตาม การบริหารสมองทำได้แค่เฉพาะวัยเด็กจริงเหรอ หลายคนมักจะมีความเชื่อที่ว่า การบริหารสมองนั้นทำได้แค่เฉพาะขณะที่คุณยังเป็นเด็ก และสมองกำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาเท่านั้น แต่ความเชื่อนี้เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นักวิทยาศาสต์ได้ทำศึกษาค้นพบว่า สมองของมนุษย์นั้น มีความสามารถอันน่าอัศจรรย์ ในการปรับตัว และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แม้แต่ในช่วงวัยสูงอายุ เราเรียกความสามารถของสมองนี้ว่า “ความยืดหยุ่นของสมอง” (Neuroplasticity) หมายถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของสมองได้อย่างต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต หากคุณทำการกระตุ้นสมองอย่างถูกวิธี สมองของคุณก็จะสามารถสร้างทางเดินประสาทใหม่ ปรับเปลี่ยนเส้นทางเชื่อมต่อที่มีอยู่เดิม ปรับเปลี่ยน และตอบสนองในรูปแบบใหม่ๆ ทำให้สมองยังคงมีความคมชัด ลดการเสื่อมของสมอง แม้ว่าจะมีอายุที่มากขึ้น เทคนิคในการบริหารสมอง เกมลับสมอง เกมลับสมองต่างๆ เช่น จิ๊กซอว์ เกมไขปริศนา […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพมฟิกอยด์ คือ โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์  สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้น ทำไมถึงทำให้คันตามผิวหนัง

อาการคัน นั้นเป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากที่จะเกา อาการคันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผิวที่มีโรคและไม่มีโรค อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน โรคทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รับคำปรึกษาด้านผิวหนัง อาการคันในผู้สูงอายุนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น อาการคันเรื้อรัง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อายุและอาการคัน จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองมาดูกันค่ะ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ ผิวหนัง นั้นจะเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป ชีวะวิทยาของผิวหนังเกือบทุกแง่มุมนั้นจะได้รับผลกระทบจากช่วงอายุ ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของหนังกำพร้าที่เป็นเกราะป้องกันของร่างกายนั้นจะลดลงตามอายุ คอลลาเจนภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ระดับของผิว กลุ่มของผิวหนังที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นนั้นจะค่อยๆ หลุดลอกออก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างอันตรายต่อคุณสมบัติทางกลุ่มของผิวหนังและการทำงานของเซลล์ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอายุและอาการคัน อายุและอาการคัน การมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดอาการคันผิว ซึ่งมีทั้งการทำงานเป็นเกราะป้องกันของผิวหนังชั้นนอก ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้การผลิตไขมันบนชั้นผิวหนังที่ช่วยรักษาระดับของเกราะที่หนังกำพร้านั้นลดลง เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 55 ปี ค่า pH ของผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีความเป็นกรดลดลง ที่จำเป็นสำหรับการสร้างไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเกราะป้องกันการสูญเสียน้ำที่ผิวชั้นนอกนั้นต้องการค่า pH ที่เป็นกรด เมื่อมีอายุ 70 ปี อัตราในการผลิตสารตั้งต้นของชั้นไขมันนั้นจะลดลง ส่งผลให้ไขมันที่จะรักษาระดับของเกราะผิวนั้นไม่เพียงพอ การที่เกราะป้องกันของผิวชั้นนอกไม่เพียงพอนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งจะอธิบายว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมักจะบ่นถึงอาการระคายเคืองและอาการคันจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าที่เคยใช้ได้ในสมัยก่อน การสูญเสียต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันบนผิวก็สามารถนำไปสู่อาการคันเนื่องจากผิวแห้ง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ   ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นจะเรียกว่า “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง” (immunosenescence) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีอายุเพิ่มขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้นกันที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายนั้น อาการนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาวะทางประสาท เช่น โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ในบางกรณี เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดอาการคัน โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetes […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพเพียบ

ผู้สูงอายุมักจะคิดว่า ถ้าเริ่มออกกำลังกายตอนแก่ คงจะสายไปเสียแล้ว แต่ความจริงมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้สูงอายุวัย 90 ปี ที่เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงยังไม่ถือว่าสายเกินไป ที่จะเริ่มเดิน ออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้ ซึ่งการเดิน ถือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและทำได้ทุกวัน Hello คุณหมอ จึงแนะนำให้ ผู้สูงอายุ  เดิน ออกกำลังกายเพราะจะได้รับประโยชน์สุขภาพมากมาย ดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเดินสามารถจัดเป็น การออกกำลังกายที่ดีที่สุดของผู้สูงวัย เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ และทำให้สุขภาพดีขึ้น สำหรับประโยชน์ของการเดินออกกำลังกายต่อผู้สูงอายุ มีดังนี้ ทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น สำหรับผู้สูงอายุ การเดินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากมีส่วนช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้สูงอายุ  เดิน ออกกำลังกายหลังจากกินอาหาร อาจเดินเบาๆ เป็นเวลา 15 นาที เพราะมีผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่เดินเป็นเวลา 15 นาทีหลังกินอาหาร ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถ้าร่างกายใช้น้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และการทำงานของอินซูลินดีขึ้นด้วย บรรเทาความเจ็บปวด งานวิจัยให้ข้อมูลว่าการเดินอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ที่เกิดจากโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคข้ออักเสบ โดยงานวิจัยได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดหลังด้านล่าง และได้ให้กลุ่มตัวอย่างเดินเป็นเวลา […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ดัชนีมวลกาย ผู้สูงอายุ มากกว่า...อาจจะดีกว่า

หากอยากมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่เราควรรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การจะหาว่าน้ำหนักตัวของเราอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่นั้น ไม่ได้ดูจากตัวเลขบนตาชั่งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูจากค่าที่เรียกว่า ดัชนีมวลกาย ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง คนทุกเพศทุกวัย แต่สำหรับ ดัชนีมวลกาย ผู้สูงอายุ แล้ว เราอาจต้องพิจารณาในมุมที่แตกต่างออกไป ดัชนีมวลกาย กับผู้สูงอายุ ดัชนีมวลกาย (Body-mass index / BMI) คือ ค่าชี้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูงของแต่ละบุคคลว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่ ถือเป็นค่ามาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สำหรับคนไทย (คนเอเชีย) หากดัชนีมวลกายเท่ากับ 18.5-24.99 กิโลกรัม/ตารางเมตร ถือว่าปกติ มากกว่านี้ถือว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์ ไปจนถึงเป็นโรคอ้วน แต่จากการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ค่าดัชนีมวลกายที่ใช้กันอยู่ อาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกว่าผู้สูงอายุเท่าใดนัก มีผลการศึกษาในผู้สูงอายุวัย 70 ปีเป็นระยะเวลานาน 10 ปีชิ้นหนึ่งจากประเทศออสเตรเลียชี้ว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ เสียชีวิตช้ากว่าผู้เข้าร่วมที่มีค่าดัชนีปกติถึง 10 ปี ค่าดัชนีมวลกายในระดับที่เรียกว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์สำหรับคนทั่วไป อาจเหมาะสมกับผู้สูงอายุ มากกว่าดัชนีมวลกายในระดับปกติ เมื่อสูงอายุ…ผอมเกินไปไม่ใช่เรื่องดี เมื่ออายุมากขึ้น ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเบื่ออาหาร ความเศร้า ปัญหาสุขภาพฟัน โรคภัยไข้เจ็บ การใช้ยา […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคน ภาวะที่อาจทำให้ชีวิต ผู้ชาย ต้องเสียศูนย์และสูญเสีย!!

การเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนุ่มสู่วัยที่เริ่มสูงอายุมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่อาจทำให้ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะที่เรียกกันว่า วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งแม้สิ่งนี้จะไม่ใช่ “โรค” แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อทั้งการใช้ชีวิตและสุขภาพได้ โดยเฉพาะใน ผู้ชาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเพิกเฉยเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร คำว่า “วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1965 โดย อีเลียต ฌาคส์ นักจิตวิเคราะห์ชาวแคนาดา โดยมักนำมาใช้เพื่อระบุถึงช่วงเวลาในชีวิตของคนเรา ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งบอกเราว่าเวลากำลังจะผ่านเราไปแล้ว และกระตุ้นให้เราต้องประเมินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราใหม่ และอาจเกิดผลกระทบทางอารมณ์หลายอย่าง ที่หากไม่สามารถรับมือได้ก็จะเกิดเป็น “วิกฤต” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแบบปัจจุบันทันด่วน อย่างไรก็ตาม ดร.แดน โจนส์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัย Appalachian Stateในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่ภาวะโรคอย่างเป็นทางการ และวัยที่สามารถเกิดวิกฤตวัยกลางคนก็กว้างมาก โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 35-55 ปี แต่ก็อาจเกิดกับผู้ชายในวัยหกสิบก็เป็นได้ โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็สามารถเจอกับช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต หรือช่วงวัยวิกฤตได้เช่นเดียวกัน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในผู้ชายด้วยกันเอง ก็อาจมีการแสดงออกที่ต่างกันไปได้ ทำไม “วัยกลางคน” จึงเกิด “วิกฤต”? ในช่วงวัย 35-55 ปี ผู้ชายมักพบกับแรงกดดันหลายอย่างในชีวิต การเลี้ยงดูครอบครัว […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม