สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

รับมือกับอาการซันดาวน์ ภาวะที่เกิดในผู้ป่วยสมองเสื่อม ช่วงพระอาทิตย์ใกล้ตกดิน

อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ซึ่งมักจะเกิดในช่วงพระอาทิตย์ตกไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ของวัน ในช่วงนี้จะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสับสน กระวนกระวาย ปัญหาเหล่านี้อาจสร้างความลำบากใจให้กับผู้ที่ต้องดูแล วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจ ในการช่วยดูแล รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อมมาให้อ่านกันค่ะ อาการซันดาวน์ คืออะไร อาการซันดาวน์ (Sundown Syndrome) เป็นพฤติกรรมที่มักจะเกิดในผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ในช่วงพลบค่ำ หรือช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินไปจนถึงช่วงค่ำ ๆ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่สับสน ก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่อยู่นิ่ง ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่น ๆ เช่น ปีนเตียง เห็นภาพหลอน หูแว่วร่วมด้วย สาเหตุของอาการนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนสถานที่ สิ่งแวดล้อม หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น เปลี่ยนที่นอน เปลี่ยนเวลาในการทำกิจกรรมที่เคยทำทุกวัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเหล่านี้ส่งผลกับกับอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าของวันและแสงที่ลดลงอาจเป็นอีกหนึ่งตัวการที่ทำให้อาการซันดาวน์กำเริบ เคล็ดลับการ รับมือกับอาการซันดาวน์ ในผู้ป่วยสมองเสื่อม อาการซันดาวน์ ที่มักจะเกิดกับผู้ป่วยสมองเสื่อมในช่วงพลบค่ำนั้นมักจะสร้างความกังวล สับสนให้กับผู้ป่วย และอาจสร้างความเหนื่อยล้าให้กับผู้ดูแลได้เช่นกัน เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยบรรเทาอาการซันดาวน์ในผู้ป่วยสมองเสื่อมให้ดีขึ้นได้ ปฏิบัติตามตารางเวลา ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมมักจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวัน เมื่อกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันเปลี่ยนไป ทำให้พวกเขาไม่รู้สึกคุ้นชิน บางครั้งอาจทำให้เกิดความเครียด สับสน และอาการจะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงพระอาทิตย์ตกดิน ดังนั้นการมีตารางเวลาในการทำกิจกรรม […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

เคล็ดลับชะลอวัย อ่อนเยาว์และสุขภาพดีอย่างยั่งยืนด้วยเคล็ดลับเหล่านี้

เดี๋ยวนี้เรื่องของความอ่อนเยาว์นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องที่มีแต่สาว ๆ ให้ความสนใจเพียงอย่างเดียว แต่หนุ่ม ๆ หลายคนก็อาจอยากดูอ่อนเยาว์กว่าอายุจริงด้วยเช่นกัน ดังนั้น เคล็ดลับชะลอวัย ถือเป็นสิ่งที่หลายคนคงอยากจะรู้ แล้วจะชะลอวัยอย่างไรให้ดูอ่อนเยาว์และสุขภาพดีไปพร้อม ๆ กัน ทาง Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับเหล่านี้มาฝากกัน เคล็ดลับชะลอวัย อ่อนเยาว์และสุขภาพดี สำหรับ เคล็ดลับชะลอวัย หรือเคล็ดลับชะลอความแก่ ที่จะทำให้หนุ่มสาวทั้งหลาย แลดูอ่อนเยาว์แถมยังสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก สามารถทำได้ดังนี้ เลิกสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่ในทันทีมีแนวโน้มที่จะทำให้อายุยืนยาวและสุขภาพโดยรวมของคุณมีการเปลี่ยนแปลง การศึกษาจำนวนมากจากแหล่งที่เชื่อถือได้ระบุว่า การสูบบุหรี่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพโดยรวมของทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป แสดงให้เห็นว่า การสูบบุหรี่ทำให้อายุสั้นลง ทั้งยังทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับอายุมากขึ้น เช่น โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน นอกจากนั้น การสูบบุหรี่ยังทำให้ผิวแก่ก่อนวัยและยังทำให้ผู้ที่สูบดูแก่ก่อนวัยอีกด้วย รักษาน้ำหนักให้คงที่ หากไขมันในร่างกายของคุณมีมากเกินไปจะทำให้มีแนวโน้มในการเกิดโรคต่าง ๆ ไปจนถึงภาวะทางสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง โดยโรคอ้วนอาจส่งผลร้ายแรงต่อตับของคุณ จนสามารถนำไปสู่โรคไขมันพอกตับได้ ยิ่งไปกว่านั้นไขมันหน้าท้องที่มากเกินไปยังเชื่อมโยงกับภาวะเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ซึ่งรวมถึงอาการต่าง ๆ เช่น น้ำตาลในเลือดสูง และความดันโลหิตสูง การคำนวณจำนวนแคลอรี่ที่เหมาะสมที่คุณควรบริโภคในแต่ละวัน และการจัดการกับแผนลดน้ำหนัก จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย เคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

วิธีลับสมองของผู้สูงอายุ เพื่อรักษาสมองให้เฉียบคม

เมื่อคนเราอายุเพิ่มขึ้น ไม่เพียงแต่รูปร่าง หน้าตา หรือการทำงานของอวัยวะในร่างกายจะเปลี่ยนไป แต่การเรียนรู้ ความจำ และสุขภาพก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ดังนั้น ในบางครั้งผู้สูงอายุบางรายอาจจะมีอาการหลง ๆ ลืม ๆ เกิดขึ้น การหากิจกรรมที่สามารถบริหารสมองจึงเป็นเรื่องที่จะช่วยรักษาเรื่องของความจำได้ ซึ่ง วิธีลับสมองของผู้สูงอายุ จะมีอะไรบ้าง วันนี้ Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน วิธีลับสมองของผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง แม้ว่าเรื่องของอายุจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็ไม่จำเป็นจะต้องสูญเสียความสามารถในการรับรู้เสมอไป ดังนั้น เพื่อให้สมองยังมีความเฉียบคมอยู่เสมอ คุณจึงควรเสริมสร้างการเชื่อมต่อของสมองและฝึกความคิดของคุณอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดย วิธีการลับสมองของผู้สูงอายุ มีดังนี้ ขยับร่างกายอยู่เสมอ การออกกำลังกายถือเป็นกุญแจสำคัญของสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามวัย การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังสมอง เช่นเดียวกับที่ไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้เซลล์สมองแข็งแรงขึ้น เมื่อคุณมีอายุมากขึ้นพื้นที่ของสมองที่เรียกว่า “ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus)” มักจะหดตัวลง แต่การออกกำลังกายแบบแอโรบิคมีความสันพันธ์กับขนาดของฮิปโปแคมปัสที่ใหญ่ขึ้น รวมทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคะแนนในการทดสอบความทรงจำด้วย จากการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-analysis) เดือนกุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2018 จากการศึกษา 14 ชิ้นในการสร้างภาพสมอง (Neuroimaging) พบว่า การเชื่อมโยงที่แข็งแกร่งที่สุดระหว่างการออกกำลังกาย กับการรักษาขนาดสมองส่วนฮิปโปแคมปัสด้านซ้ายของบุคคล […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

ผู้หญิงวัย 50 ปี กับเทคนิคดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และอายุยืน

การดูแลสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ ที่ควรใส่ใจสุขภาพมากกว่าคนวัยอื่น ๆ เพราะวัยสูงอายุเป็นช่วงวัยที่สุขภาพร่างกายเริ่มทรุดโทรมตามกาลเวลา วันนี้ Hello คุณหมอ มีเทคนิคการดูแลสุขภาพ สำหรับ ผู้หญิงวัย 50 ปี ให้ร่างกายแข็งแรง และมีอายุยืนยาว มาฝากกันค่ะ ผู้หญิงวัย 50 ปี ควรรับประทานอาหารอย่างไร การรับประทานอาหารสำคัญมาก สำหรับผู้หญิงในวัย 50 ปี เพราะอาหารเหล่านี้จะแปรเปลี่ยนเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงร่างกาย ให้ร่างกายแข็งแรง และห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยสารอาหารที่ผู้หญิงวัย 50 ปีควรให้ความสำคัญ มีดังต่อไปนี้ แคลเซียมและวิตามินดี ยิ่งเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น ร่างกายของเราก็จะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง แคลเซียมนั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของกระดูกและฟันที่แข็งแรง ส่วนวิตามินดีก็จะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ได้มากขึ้น หากผู้สูงอายุได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและฟัน รวมถึงสภาวะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขาดแคลเซียมได้ มีงานวิจัยพบว่า 1 ใน 3 ของผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มักจะเสี่ยงเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก อย่าง โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ซึ่งหมายสภาวะของการที่กระดูกอ่อนแอลงและเปราะบางลง เนื่องจากมีแคลเซียมไม่พอสร้างกระดูกใหม่ เมื่อกระดูกเก่าเสื่อมลง ร่างกายจึงมีกระดูกใหม่มาทดแทนไม่เพียงพอ ส่งผลให้กระดูกเปราะบางมาก และเสี่ยงแตกหักได้ง่าย […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

สุขภาพผู้ชายวัย 50 ดูแลอย่างไรให้แข็งแรง สุขภาพดี

ยิ่งอายุมากขึ้น ก็จำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ระมัดระวังมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่วัย 50 เป็นวัยที่ต้องระมัดระวังในทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับประทานอาหาร การใช้ชีวิต กิจกรรมที่ทำ วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับที่น่าสนใจเกี่ยวกับ สุขภาพผู้ชายวัย 50 ว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไร ให้แข็งแรงและสุขภาพดี แนวทางการดำเนินชีวิตเพื่อ สุขภาพผู้ชายวัย 50 เมื่อชีวิตเข้าสู่ช่วงอายุ 50 ปีแล้วจำเป็นที่จะต้องดูแลตัวเองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม ซึ่งแนวทางในการดำเนินชีวิตในช่วงวัย 50 นั้นก็ไม่ต่างจากวัยอื่นๆ เลย แต่จำเป็นที่จะต้องเคร่งครัดและดูแลให้ดีกว่า รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูบบุหรี่ ลดปริมาณแอลกอฮอล์ลง ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ หากคุณปฏิบัติตามแนวทางด้านบนอย่างเคร่งครัดแล้วละก็ ชีวิตในวัย 50 ก็จะแข็งแรง สุขภาพดี แถมยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะหันมารักสุขภาพ เริ่มดูแลตัวเองเร็วเท่าไร ก็ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเร็วเท่านั้น แถมยังช่วยให้มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ความสำคัญของอาหารสำหรับผู้ชายวัย 50 การรับประทานอาหารนั้นส่งผลต่อสุขภาพมากมาย หากเราเลือกรับประทานอาหารที่มีผัก ผลไม้ โปรตีนที่ดี ก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน มีพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ หากเลือกรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก ไขมันสูง ก็อาจไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ดังนั้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดีต่อสุขภาพในช่วงอายุ 50 ปีนั้นถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

แม้อายุมากขึ้นก็มี ความคล่องตัว กระฉับกระเฉงได้ ด้วยเคล็ดลับเหล่านี้

ความคล่องตัว ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเคลื่อนไหว ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่ง สูญเสียความคล่องตัวและความกระฉับกระเฉงลงไปทุกที ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกาย พวกเขาจะรู้สึกท้อใจที่ไปไหนมาไหนเองไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงที่ข้อต่อยังมีความแข็งแรง ต้องมีการดูแลอย่างเหมาะสม วันนี้ Hello คุณหมอ มีเคล็ดลับน่าสนใจ ที่จะช่วยให้คุณมีความคล่องตัวและกระฉับกระเฉงแม้จะมีอายุที่มากขึ้น ความคล่องตัว กระฉับกระเฉงคืออะไร ความคล่องตัวเป็นความสามารถในการเคลื่อนไหว โดยคุณสามารถเคลื่อนไหวได้มากเท่าที่คุณต้องการ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การขับรถ เมื่ออายุมากขึ้นความคล่องตัวก็เริ่มลดน้อยลงไปทุกที่ ดังนั้น การที่จะทำให้ร่างกายมีความคล่องตัวแม้อายุมากขึ้น ต้องวางแผน ดูแลตั้งแต่ยังหนุ่มสาว หากอายุมากขึ้นแล้วยังกระฉับกระเฉงก็จะทำให้คุณไปไหนมาไหนเองได้สะดวก โดยไม่ต้องรอใคร อายุมากขึ้น ส่งผลต่อความคล่องตัวอย่างไร เมื่ออายุมากขึ้น อะไร ๆ ก็เริ่มเสื่อมลง ตามสภาพการใช้งาน สมัยหนุ่มสาวใช้งานมาหนักมากเท่าไร ร่างกายก็จะยิ่งเสื่อมเร็วและมากขึ้นเท่านั้น เช่นเดียวกันกับกระดูกและกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย หากไม่เคยมีการดูแลรักษาในช่วงที่ควรดูแล เมื่อแก่ตัวลงระบบการทำงานก็จะเสื่อมสภาพลง ทำให้ร่างกายเกิดโรค บางครั้งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก กล้ามเนื้อ ยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งเสี่ยงมีโรคร้าย เมื่ออายุมากทำให้สูญเสียความคล่องตัว และความกระฉับกระเฉง เคล็ดลับทำตัวเองให้มี ความคล่องตัว เมื่ออายุมากขึ้น การที่จะมีความคล่องตัวในช่วงที่อายุมากขึ้นนั้น จะต้องวางแผนในการดูแลตัวเองมาตั้งแต่สมัยหนุ่มสาว เพื่อให้กระดูกและกล้ามเนื้อมีความแข็งแรง ใช้งานได้ดีแม้อายุมากขึ้น แม้บางครั้งกระดูกและกล้ามเนื้ออาจจะมีความเสื่อมลงบ้างตามการใช้งาน แต่การดูแลที่ดีก็ช่วยให้ใช้งานได้นานขึ้น ช่วยเพิ่มความคล่องตัวได้ดีกว่าการที่ไม่ดูแล โดยการดูแลนั้นควรแบ่งออกเป็น 3 อย่าง การดูแลตนเอง การดูแลตนเองนั้นถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

อายุ 50 ก็แซ่บได้ กับ วิธีลดน้ำหนัก สำหรับคนอายุ 50 ที่ต้องกลับมาหุ่นเป๊ะดังใจ

เมื่อายุมากขึ้นระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็เริ่มทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าตอนหนุ่มสาว โดยเฉพาะเมื่อก้าวเข้าสู่วัย 50 ปี ร่างกายก็ไม่ได้ทำงานดีเหมือนช่วงอายุ 20-30 ปีแล้ว แถมร่างกายในวัยนี้ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างที่อ้วนขึ้น ซึ่งอาจทำให้คุณหมดความมั่นใจ รู้สึกไม่คล่องตัวเหมือนเก่า แต่ใครว่าวัย 50 นั้นจะแก่แล้วแก่เลย ยังทันที่จะหันมาออกกำลังกายเพื่อรูปร่างของเรา วันนี้ Hello คุณหมอ มีบทความสำหรับสาววัย 50 ที่อยากกลับมาหุ่นเป๊ะดังใจกับ วิธีลดน้ำหนัก สำหรับคนอายุ 50 ทำไมการลดน้ำหนักหลังอายุ 50 จึงเป็นเรื่องยาก เมื่อเข้าสู่วัย 50 คุณมักจะมีอาการปวดตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเดินขึ้นลงบันได วิ่งตามหลาน หรือออกกำลังกายคุณมักจะรู้สึกตึงที่ข้อต่อ ปวดล้ามากกว่าเมื่อก่อน ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้มันเกิดขึ้นจากปัญหาในการเผาผลาญพลังงาน ข้อมูลจาก American Council on Exercise ให้ข้อมูลว่า อัตราการเผาผลาญพลังงานนั้นจะลดลงร้อยละ 1-2 ทุก ๆ 10 ปี ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการเพิ่มขึ้นของมวลไขมัน ทำให้การเผาผลาญพลังงานนั้นทำได้ช้าลง จึงทำให้ลดน้ำหนักยากขึ้น แต่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกกำลังกายใหม่ […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ต้องตรวจอะไรบ้างถึงจะดี

เมื่อเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น โรคร้ายต่าง ๆ ก็มักจะถาโถมเข้ามาแบบไม่ทันได้ตั้งตัว ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือแม้แต่โรคมะเร็ง การตรวจสุขภาพประจำปีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรทำ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ เพื่อหาโรคแฝงที่อาจจะยังไม่แสดงอาการ และทำให้เราสามารถรับมือกับโรคต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที ก่อนที่จะลุกลามและสายเกินแก้ แต่การ ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ ควรตรวจอะไรบ้าง หาคำตอบได้จากบทความนี้ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกัน ตรวจสุขภาพผู้สูงอายุ มีอะไรบ้างที่ควรตรวจ ตรวจความดันโลหิต การตรวจวัดระดับความดันโลหิตนั้นเป็นหนึ่งในการตรวจสุขภาพขั้นพื้นฐาน ที่ทางโรงพยาบาลมักจะตรวจให้กับผู้ป่วยทุกคน เพราะนอกจากจะช่วยให้เราได้รู้ระดับการเต้นของหัวใจ และการสูบฉีดของเลือดแล้ว ยังสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) พบว่า ผู้สูงอายุเพศชายประมาณ 64% และเพศหญิงประมาณ 69% จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูงนี้ยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้สูงอายุ เพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการ กว่าจะรู้ตัวก็อาการหนักแล้ว อีกทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะนำไปสู่การเกิดโรคอื่น ๆ เช่น โรคหัวใจ […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

การหกล้มในผู้สูงอายุ ภาวะอันตรายที่ลูกหลานช่วยป้องกันได้

เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของเราก็จะค่อย ๆ เสื่อมสมรรถภาพ นั่นทำให้ผู้สูงอายุเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าคนวัยอื่น เช่น ภาวะกระดูกพรุน อาการนอนไม่หลับ อาการสับสน การสูญเสียความทรงจำ ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น ความผิดปกติในการรับประทานอาหาร และอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุก็คือ การหกล้มนั่นเอง การหกล้มในผู้สูงอายุ ถือเป็นภาวะอันตรายมาก เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพและอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ แต่คุณก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะคุณเองก็สามารถดูแลสมาชิกสูงวัยในครอบครัวให้ปลอดภัยจากการหกล้มได้ไม่ยาก สาเหตุที่ผู้สูงอายุเสี่ยงหกล้มง่ายกว่าคนวัยอื่น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหกล้มในผู้สูงอายุบ่อยกว่าคนวัยอื่น ก็คือ การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพที่เกิดขึ้นตามวัยนั่นเอง ปัญหาสุขภาพตามวัยทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการมองเห็น ปัญหาการได้ยิน ปัญหากระดูก กล้ามเนื้อและข้อ เช่น กระดูกพรุน ข้อเข่าเสื่อม รวมถึงการขาดสารอาหาร เช่น การขาดวิตามินดี ล้วนส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงและความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุ และทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่ายขึ้นทั้งสิ้น อีกทั้งยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาต้านซึมเศร้า ยาที่ช่วยในการนอนหลับ ยาลดความดันโลหิต ยาเบาหวาน ยารักษาโรคหัวใจ ก็อาจทำให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุลดลง จนหกล้มได้ง่ายเช่นกัน ยิ่งหากผู้สูงอายุคนไหนรับประทานยามากกว่า 4 ชนิดขึ้นไป หรือเพิ่งเปลี่ยนยาได้ไม่เกิน 2 อาทิตย์ […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ปัญหาสุขภาพเท้า ที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้น และคุณไม่ควรละเลย

เมื่ออายุมากขึ้น อวัยวะและระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะเริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง เสื่อมสภาพ หรือทำงานได้ช้าลง ที่เห็นเด่นชัด เช่น ผิวหนังเหี่ยวย่น มองอะไรไม่ชัดเพราะจอประสาทตาเสื่อม และอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพตามวัยที่พบได้บ่อย ก็คือ ปัญหาสุขภาพเท้า นั่นเอง ว่าแต่ปัญหาสุขภาพเท้าที่มาพร้อมอายุที่มากขึ้นจะมีอะไรบ้าง เราไปดูกันเลย ปัญหาสุขภาพเท้า จากวัยที่มากขึ้น เท้าแห้งแตก เมื่ออายุมากขึ้น ระดับคอลลาเจนในชั้นผิวจะค่อย ๆ ลดลง ยิ่งหากคุณละเลย ไม่ดูแลสุขภาพเท้าให้ดี ก็จะทำให้เท้าแห้งแตก โดยเฉพาะบริเวณฝ่าเท้าและส้นเท้า แนะนำให้คุณทาครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเท้าเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเท้าแห้งแตกรุนแรงขึ้น จนแบคทีเรียเข้าสู่เนื้อเยื่อและทำให้เกิดการติดเชื้อที่เท้า และสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน หากเท้าติดเชื้อก็อาจส่งผลให้เป็นโรคเซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้ กระเนื้อ กระเนื้อ (Seborrheic Keratosis) เป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อยมากเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ สาเหตุเกิดจากผิวหนังโดนรังสียูวีต่อเนื่องยาวนาน จนเกิดเป็นจุดราบสีน้ำตาลอ่อน ที่อาจนูนขึ้น หรือมีขุยสะเก็ด และบางครั้งอาจรวมกันเป็นปื้น ส่วนใหญ่มักพบบริเวณหลังเท้า นิ้วเท้า ข้อเท้า ไม่พบที่ฝ่าเท้า โดยปกติแล้ว ปัญหาสุขภาพเท้าอย่างกระเนื้อจะไม่สร้างความเจ็บปวดใด ๆ แต่บางครั้งก็อาจทำให้คุณมีอาการคันเพราะระคายเคืองเวลาสวมรองเท้าหรือถุงเท้าได้ หากคุณพบว่า กระเนื้อที่เท้ามีสี รูปร่าง หรือผิวสัมผัสเปลี่ยนแปลงไป ควรรีบไปพบคุณหมอ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็งผิวหนังได้ อย่างมะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์ (Basal […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม