สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อย และการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม

ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ ลดน้อยลง ทำให้เสี่ยงประสบปัญหาสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้บ่อยกว่าคนในวัยอื่น ๆ และที่มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาสุขภาพหลายอย่างในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างปัญหาสุขภาพที่พบในผู้สูงอายุ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์ การปรับพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ผู้สูงอายุป้องกันการเกิดโรคใหม่และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นอยู่เดิมได้ [embed-health-tool-bmi] อายุเท่าไหร่ถึงเรียกว่า ผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ (Olderly) หมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ควรเอาใจใส่เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากอาจเกิดปัญหาสุขภาพได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่น โดยปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยมักมาจากกลุ่มโรคที่เกิดจากความชราภาพ ทำให้ร่างกายถดถอยและอวัยวะต่าง ๆ เสื่อมลง เช่น สายตาแย่ลง หูตึง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ และกลุ่มโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่สะสมมาเป็นเวลานานหลายปี โดยอาจเกิดร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรม นำไปสู่โรคเรื้อรังต่าง ๆ ในวัยสูงอายุ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งการใส่ใจดูแลตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกลุ่มหลังหรือลดความรุนแรงของโรคได้ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุยังอาจมีกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของสุขภาพในวัยชรา เช่น การหกล้ม อาการหลงลืม นอนไม่ค่อยหลับ เคลื่อนไหวได้ช้าลง ภาวะซึมเศร้า อารมณ์ไม่คงที่ ปัญหาสุขภาพ ผู้สูงอายุ […]

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

สุขภาพกายผู้สูงวัย

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเชื่อใหม่ได้แล้ว!!

จากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-74 ปี เพียง 1 ใน 4 ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อคนทุกเพศทุกวัย แต่หลายคนมักมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เหล่านี้ จนทำให้ไม่ได้ลุกขึ้นมาออกกำลังกายเสียที ทาง Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ ที่ทุกคนควรเลิกเชื่อได้แล้ว มาฝากกัน ความเชื่อผิดๆ ที่ 1 การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สายเกินไป ผู้สูงอายุบางคนไม่เคยออกกำลังกายเลยในชีวิต จึงคิดว่าสายเกินไปแล้วที่จะเริ่มออกกำลังกายตอนที่อายุมาก ซึ่งความจริงแล้ว การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพราะมีผลการศึกษาพบว่า แม้แต่ผู้ที่มีอายุ 90 ปีที่เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การเริ่มออกกำลังกายตอนที่อายุมาก สามารถลดความเสี่ยงสุขภาพบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวาน ดังนั้นหากต้องการเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้ ก็ไม่มีคำว่าสายเกินไป ความเชื่อผิดๆ ที่ 2 การออกกำลังกายไม่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ถ้าล้มมากระดูกหักจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ความจริงแล้วมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายสามารถลดโอกาสในการหกล้มได้ เช่น การออกกำลังแบบไทชิ (Tai chi) หรือมวยไทเก๊ก มีประโยชน์ต่อความสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังทำให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย ความเชื่อผิดๆ ที่ 3 ผู้สูงอายุจำเป็นต้องไปให้หมอเช็คก่อนแล้วค่อยออกกำลังกาย ถ้าคุณมีโรคประจำตัว หรือมีอาการบางอย่าง รวมถึงไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้ ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ ส่วนผู้ชาย…ความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘ผู้ชายวัยทอง‘ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่ ความหนาของผิวหนัง ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เบื้องต้น เพราะแค่คำว่ารักอย่างเดียวอาจไม่พอ...

ความแก่ชราเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเราแก่ตัวลง สุขภาพก็ย่อมเสื่อมไปตามวัย และสุขภาพที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ นี้ ก็ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งหากผู้สูงอายุคนไหนไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ หรือไม่มีลูกหลานช่วยดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะยิ่งทำให้สุขภาพแย่ลงรวดเร็วขึ้นไปอีก ฉะนั้น หากผู้สูงอายุ อยากมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ก็ต้องดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยเคล็ดลับใน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ง่ายๆ ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝาก เมื่อสูงวัย สุขภาพจะเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง ปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องประสบนั้นมีมากมาย เช่น การสูญเสียการได้ยิน ภาวะสายตาผิดปกติ ต้อกระจก ปวดเมื่อยทั่วร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลัง โรคข้อเสื่อม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างก็มักเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยังมีภาวะสุขภาพซ้ำซ้อน ที่มักเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เรียกว่า กลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (geriatric syndrome) เช่น ภาวะหกล้มซ้ำซ้อน ภาวะแผลกดทับ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะสูญเสียความสามารถในการเดิน ภาวะเพ้อคลั่ง ภาวะทุพโภชนาการ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม