สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ความชรา เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกหนีได้ ทั้งร่างกายและจิตใจของเราจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น และการเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองให้แข็งแรง อาจสามารถช่วยเพิ่มความมั่นใจ และ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

เรื่องเด่นประจำหมวด

สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

การวางแผน โภชนาการผู้สูงอายุ สำคัญแค่ไหน มาดูกัน!

โภชนาการผู้สูงอายุ สำคัญขนาดไหนกันนะ แน่นอนว่าโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงวัยยิ่งในผู้สูงอายุที่สุขภาพร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลงยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ โภชนาการผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอันดับต้น ๆ เพราะสุขภาพภายในสามารถเสริมสร้างและป้องกันได้ด้วยอาหารที่ดี วันนี้เราลองมาดูกันว่าการจัด โภชนาการผู้สูงอายุที่ดีควรเป็นอย่างไร ทำไมต้องจัด โภชนาการผู้สูงอายุ โภชนาการคือการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุลกับร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนการจัดโภชนาการอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่จะต้องมี คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน วิตามิน เกลือแร่และน้ำ โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในทุกช่วงอายุ ทั้งให้พลังงาน ควบคุมน้ำหนักและสารอาหารที่ดียังช่วยป้องกันโรคได้อีกด้วย เช่น โรคกระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งบางชนิด เมื่อคุณอายุมากขึ้นร่างกายและการใช้ชีวิตประจำวันย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน เพราะในผู้สูงอายุอาจต้องการแคลอรี่น้อย แต่ยังต้องการสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกายอย่างโปรตีนมากขึ้นเพื่อช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอในร่างกาย วางแผน โภชนาการผู้สูงอายุ อย่างไรให้เหมาะสม ปริมาณสารอาหารจำเป็นที่ร่างกายต้องใช้ต่อวันขึ้นอยู่กับอายุ ส่วนสูง และความต้องการพลังงานของแต่ลคน เมื่อคุณอายุมากขึ้นร่างกายย่อมสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็อาจลดลงตามไปด้วย แต่ร่างกายยังคงต้องการสารอาหารในปริมาณเท่าเดิมอยู่ โภชนาการผู้สูงอายุควรกิน ดังนี้ ผักละผลไม้ ควรรับประทานผลไม้ 5 ส่วนต่อวัน สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจ มะเร็งบางชนิดได้ ในผักและผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ไฟเบอร์ และไขมันต่ำ ควรรับประทานในปริมาณ 80 กรัม เช่น ผลไม้ขนาดกลาง 1 ชิ้น (แอปเปิ้ล ส้ม กล้วย ลูกแพร์) […]

หมวดหมู่ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ เพิ่มเติม

สำรวจ สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

โรคเพมฟิกอยด์ รู้ไว้ก่อนสายเกินแก้

โรคเพมฟิกอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่หาได้ยาก ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย รวมทั้งในเด็ก แต่ส่วนใหญ่มักส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ แม้โรค เพมฟิกอยด์ จะยังไม่มีวิธีรักษา แต่ก็มีวิธีรักษามากมายให้ได้เลือกใช้บรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ดังนั้น หากคุณทำความรู้จักกับโรค เพมฟิกอยด์ เอาไว้ ก็จะทำให้สามารถสังเกตวามผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง และเข้ารับการรักษาจากแพทย์ได้อย่างทันท่วงที เพมฟิกอยด์ คือ โรค เพมฟิกอยด์ (Bullous Pemphigoid) ส่วนใหญ่พบในวัยผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย จากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งมีการสร้างแอนติบอดี้มาทำลายการยึดของเซลล์ผิวหนังหลุดลอกของชั้นหนังกำพร้า ออกจากผิวหนังชั้นหนังแท้ แอนตี้บอดี้เหล่านี้ก่อให้เกิดการอักเสบ อาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง พองที่ขา แขน หน้าท้อง และเยื่อบุต่าง ๆ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของ โรคเพมฟิกอยด์  สาเหตุของการเกิดโรค เพมฟิกอยด์ เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา ร่วมกับมีปัจจัยทางพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น เช่น เชื้อโรคหรือสารเคมีเป็นปัจจัยกระตุ้น เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่า เพมฟิกอยด์ มีความเสี่ยงสูงในวัยผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ หรือบางกรณีอาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้ เช่น ยา ยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่อาจทำให้เกิดการเสี่ยงเป็นโรค เพมฟิกอยด์ ได้แก่ ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน ยาในกลุ่มยาซัลฟาที่มีกลไกการออกฤทธิ์ช่วยรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น แสงและรังสี การรักษาด้วยแสงและรังสี เพื่อรักษาสภาพผิวบางอย่างอาจกระตุ้นอาการทำให้เกิดเป็นโรค […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

อายุที่มากขึ้น ทำไมถึงทำให้คันตามผิวหนัง

อาการคัน นั้นเป็นความรู้สึกไม่พึงประสงค์ที่ทำให้คุณรู้สึกอยากที่จะเกา อาการคันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับผิวที่มีโรคและไม่มีโรค อาการคันสามารถเกิดขึ้นได้จากปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง โรคที่เกิดกับร่างกายทุกส่วน โรคทางระบบประสาท และโรคอื่นๆ อาการนี้เป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่รับคำปรึกษาด้านผิวหนัง อาการคันในผู้สูงอายุนั้นสามารถนิยามได้ว่าเป็น อาการคันเรื้อรัง ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป อายุและอาการคัน จะมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ลองมาดูกันค่ะ เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ ผิวหนัง นั้นจะเสื่อมสภาพตามเวลาที่ผ่านไป ชีวะวิทยาของผิวหนังเกือบทุกแง่มุมนั้นจะได้รับผลกระทบจากช่วงอายุ ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของหนังกำพร้าที่เป็นเกราะป้องกันของร่างกายนั้นจะลดลงตามอายุ คอลลาเจนภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์จะอยู่ระดับของผิว กลุ่มของผิวหนังที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นนั้นจะค่อยๆ หลุดลอกออก ซึ่งจะส่งผลกระทบอย่างอันตรายต่อคุณสมบัติทางกลุ่มของผิวหนังและการทำงานของเซลล์ผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของอายุและอาการคัน อายุและอาการคัน การมีอายุเพิ่มมากขึ้นนั้นจะส่งผลกระทบต่อองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดอาการคันผิว ซึ่งมีทั้งการทำงานเป็นเกราะป้องกันของผิวหนังชั้นนอก ระบบภูมิคุ้มกัน และระบบประสาท เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ทำให้การผลิตไขมันบนชั้นผิวหนังที่ช่วยรักษาระดับของเกราะที่หนังกำพร้านั้นลดลง เริ่มตั้งแต่ช่วงประมาณอายุ 55 ปี ค่า pH ของผิวชั้นหนังกำพร้าจะมีความเป็นกรดลดลง ที่จำเป็นสำหรับการสร้างไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเกราะป้องกันการสูญเสียน้ำที่ผิวชั้นนอกนั้นต้องการค่า pH ที่เป็นกรด เมื่อมีอายุ 70 ปี อัตราในการผลิตสารตั้งต้นของชั้นไขมันนั้นจะลดลง ส่งผลให้ไขมันที่จะรักษาระดับของเกราะผิวนั้นไม่เพียงพอ การที่เกราะป้องกันของผิวชั้นนอกไม่เพียงพอนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเกิดโรคผื่นแพ้สัมผัส ซึ่งจะอธิบายว่าทำไมผู้สูงอายุจึงมักจะบ่นถึงอาการระคายเคืองและอาการคันจากการใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผ้าที่เคยใช้ได้ในสมัยก่อน การสูญเสียต่อมเหงื่อและต่อมน้ำมันบนผิวก็สามารถนำไปสู่อาการคันเนื่องจากผิวแห้ง ซึ่งเป็นโรคผิวหนังที่พบได้มากที่สุดในผู้สูงอายุ   ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับระบบภูมิคุ้มกันเมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้นจะเรียกว่า “เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมถอยลง” (immunosenescence) ระบบภูมิคุ้มกันที่มีอายุเพิ่มขึ้นนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเซลล์ภูมิคุ้นกันที่ผิดปกติ ในผู้ป่วยบางรายนั้น อาการนี้อาจส่งผลให้เกิดอาการแพ้และทำให้ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งที่ทำให้เกิดโรคติดต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ สภาวะทางประสาท เช่น โรคกระดูกสันหลังเสื่อมนั้นอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ในบางกรณี เซลล์ประสาทรับความรู้สึกอาจจะได้รับผลกระทบและทำให้เกิดอาการคัน โรคเส้นประสาทจากโรคเบาหวาน (Diabetes […]


โภชนาการผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องกินวิตามิน หรืออาหารเสริม หรือไม่

จากสถิติพบว่า มากกว่าครึ่งของผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป กินวิตามินและอาหารเสริม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่าอาหารเสริมอาจไม่ได้มีประโยชน์ต่อ ผู้สูงอายุ วิตามิน จำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่ ในบทความนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลมาให้แล้วค่ะ [embed-health-tool-bmi] ผู้สูงอายุ จำเป็นต้องกินวิตามิน หรืออาหารเสริม หรือไม่ โดยปกติแล้ว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่สามารถได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ จากการกินอาหารที่มีประโยชน์ ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้สูงอายุถือเป็นกลุ่มผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่บริโภควิตามินและอาหารเสริม โดยจากการสำรวจในกลุ่ม ผู้สูงอายุ ว่าวิตามิน จำเป็นต่อผู้สูงอายุหรือไม่ ในปี 2013 พบว่า  68 เปอร์เซ็นต์ของชาวอเมริกันวัย 65 ปีและมากกว่า 65 ปี กินอาหารเสริมวิตามิน นอกจากนี้ในปี 2017 จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้พบว่า  29 เปอร์เซ็นต์ของผู้สูงอายุบริโภคอาหารเสริม 4 ชนิดหรือมากกว่านั้น ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลว่า วิตามินและอาหารเสริมโดยทั่วไปแล้วไม่เป็นอันตราย และในกรณีที่ร่างกายขาดสารอาหาร การกินอาหารเสริมก็ช่วยทำให้ได้รับสารอาหารที่ร่างกายต้องการได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ผู้สูงอายุต้องตระหนักว่าอาหารเสริมไม่ใช่ยามหัศจรรย์ และไม่สามารถรักษาอาการป่วยได้ ดังนั้นหากต้องการบริโภคอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ และควรกินอาหารเสริมควบคู่กับการมีไลฟ์สไตล์ที่มีสุขภาพดี เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายเป็นประจำ วิตามินที่ผู้สูงอายุควรได้รับ สถาบัน […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพเพียบ

ผู้สูงอายุมักจะคิดว่า ถ้าเริ่มออกกำลังกายตอนแก่ คงจะสายไปเสียแล้ว แต่ความจริงมีงานวิจัยที่พบว่า ผู้สูงอายุวัย 90 ปี ที่เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นได้ ดังนั้นจึงยังไม่ถือว่าสายเกินไป ที่จะเริ่มเดิน ออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้ ซึ่งการเดิน ถือเป็นการออกกำลังกายที่ง่ายและทำได้ทุกวัน Hello คุณหมอ จึงแนะนำให้ ผู้สูงอายุ  เดิน ออกกำลังกายเพราะจะได้รับประโยชน์สุขภาพมากมาย ดังต่อไปนี้ ผู้สูงอายุ เดินออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า การเดินสามารถจัดเป็น การออกกำลังกายที่ดีที่สุดของผู้สูงวัย เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ และทำให้สุขภาพดีขึ้น สำหรับประโยชน์ของการเดินออกกำลังกายต่อผู้สูงอายุ มีดังนี้ ทำให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น สำหรับผู้สูงอายุ การเดินมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ เนื่องจากมีส่วนช่วยกระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่างๆ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง รวมถึงลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง ผู้สูงอายุ  เดิน ออกกำลังกายหลังจากกินอาหาร อาจเดินเบาๆ เป็นเวลา 15 นาที เพราะมีผลการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุที่เดินเป็นเวลา 15 นาทีหลังกินอาหาร ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งถ้าร่างกายใช้น้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และการทำงานของอินซูลินดีขึ้นด้วย บรรเทาความเจ็บปวด งานวิจัยให้ข้อมูลว่าการเดินอาจช่วยบรรเทาความเจ็บปวด ที่เกิดจากโรคเรื้อรังบางโรค เช่น โรคข้ออักเสบ โดยงานวิจัยได้ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้สูงอายุ ที่มีอาการปวดหลังด้านล่าง และได้ให้กลุ่มตัวอย่างเดินเป็นเวลา […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

ดัชนีมวลกาย ผู้สูงอายุ มากกว่า...อาจจะดีกว่า

หากอยากมีสุขภาพแข็งแรง น้ำหนักตัว เป็นสิ่งที่เราควรรักษาให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ การจะหาว่าน้ำหนักตัวของเราอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่นั้น ไม่ได้ดูจากตัวเลขบนตาชั่งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูจากค่าที่เรียกว่า ดัชนีมวลกาย ซึ่งเป็นค่าที่คำนวณจากน้ำหนักตัวและส่วนสูง คนทุกเพศทุกวัย แต่สำหรับ ดัชนีมวลกาย ผู้สูงอายุ แล้ว เราอาจต้องพิจารณาในมุมที่แตกต่างออกไป ดัชนีมวลกาย กับผู้สูงอายุ ดัชนีมวลกาย (Body-mass index / BMI) คือ ค่าชี้วัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูงของแต่ละบุคคลว่าอยู่ในเกณฑ์เหมาะสมหรือไม่ ถือเป็นค่ามาตรฐานในการประเมินภาวะอ้วนหรือผอมในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สำหรับคนไทย (คนเอเชีย) หากดัชนีมวลกายเท่ากับ 18.5-24.99 กิโลกรัม/ตารางเมตร ถือว่าปกติ มากกว่านี้ถือว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์ ไปจนถึงเป็นโรคอ้วน แต่จากการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ค่าดัชนีมวลกายที่ใช้กันอยู่ อาจไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป หรือที่เรียกว่าผู้สูงอายุเท่าใดนัก มีผลการศึกษาในผู้สูงอายุวัย 70 ปีเป็นระยะเวลานาน 10 ปีชิ้นหนึ่งจากประเทศออสเตรเลียชี้ว่า ผู้เข้าร่วมการศึกษาวิจัยที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ เสียชีวิตช้ากว่าผู้เข้าร่วมที่มีค่าดัชนีปกติถึง 10 ปี ค่าดัชนีมวลกายในระดับที่เรียกว่าน้ำหนักเกินเกณฑ์สำหรับคนทั่วไป อาจเหมาะสมกับผู้สูงอายุ มากกว่าดัชนีมวลกายในระดับปกติ เมื่อสูงอายุ…ผอมเกินไปไม่ใช่เรื่องดี เมื่ออายุมากขึ้น ปัจจัยต่างๆ เช่น ความเบื่ออาหาร ความเศร้า ปัญหาสุขภาพฟัน โรคภัยไข้เจ็บ การใช้ยา […]


สุขภาพจิตผู้สูงวัย

วิกฤตวัยกลางคน ภาวะที่อาจทำให้ชีวิต ผู้ชาย ต้องเสียศูนย์และสูญเสีย!!

การเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนุ่มสู่วัยที่เริ่มสูงอายุมากขึ้น เป็นช่วงวัยที่อาจทำให้ผู้ชายจำนวนไม่น้อยเกิดภาวะที่เรียกกันว่า วิกฤตวัยกลางคน ซึ่งแม้สิ่งนี้จะไม่ใช่ “โรค” แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อทั้งการใช้ชีวิตและสุขภาพได้ โดยเฉพาะใน ผู้ชาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเพิกเฉยเป็นอย่างยิ่ง วิกฤตวัยกลางคนคืออะไร คำว่า “วิกฤตวัยกลางคน (Midlife Crisis)” เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1965 โดย อีเลียต ฌาคส์ นักจิตวิเคราะห์ชาวแคนาดา โดยมักนำมาใช้เพื่อระบุถึงช่วงเวลาในชีวิตของคนเรา ขณะเปลี่ยนผ่านจากวัยหนุ่มสาวเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีเหตุการณ์สำคัญหลายอย่างเกิดขึ้นในชีวิต ซึ่งบอกเราว่าเวลากำลังจะผ่านเราไปแล้ว และกระตุ้นให้เราต้องประเมินสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราใหม่ และอาจเกิดผลกระทบทางอารมณ์หลายอย่าง ที่หากไม่สามารถรับมือได้ก็จะเกิดเป็น “วิกฤต” ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในแบบปัจจุบันทันด่วน อย่างไรก็ตาม ดร.แดน โจนส์ ผู้อำนวยการศูนย์ให้คำปรึกษาและบริการด้านสุขภาพจิต ของมหาวิทยาลัย Appalachian Stateในเมืองบูน รัฐนอร์ธแคโรไลน่า ในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า วิกฤตวัยกลางคนไม่ใช่ภาวะโรคอย่างเป็นทางการ และวัยที่สามารถเกิดวิกฤตวัยกลางคนก็กว้างมาก โดยทั่วไปอยู่ในช่วงวัยตั้งแต่ 35-55 ปี แต่ก็อาจเกิดกับผู้ชายในวัยหกสิบก็เป็นได้ โดยทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ต่างก็สามารถเจอกับช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต หรือช่วงวัยวิกฤตได้เช่นเดียวกัน แต่การแสดงออกจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่ในผู้ชายด้วยกันเอง ก็อาจมีการแสดงออกที่ต่างกันไปได้ ทำไม “วัยกลางคน” จึงเกิด “วิกฤต”? ในช่วงวัย 35-55 ปี ผู้ชายมักพบกับแรงกดดันหลายอย่างในชีวิต การเลี้ยงดูครอบครัว […]


สุขภาพกายผู้สูงวัย

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ความเชื่อผิดๆ ที่ควรเชื่อใหม่ได้แล้ว!!

จากสถิติพบว่าผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-74 ปี เพียง 1 ใน 4 ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งที่ความจริงแล้วการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อคนทุกเพศทุกวัย แต่หลายคนมักมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับ การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เหล่านี้ จนทำให้ไม่ได้ลุกขึ้นมาออกกำลังกายเสียที ทาง Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับความเชื่อผิดๆ ที่ทุกคนควรเลิกเชื่อได้แล้ว มาฝากกัน ความเชื่อผิดๆ ที่ 1 การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่สายเกินไป ผู้สูงอายุบางคนไม่เคยออกกำลังกายเลยในชีวิต จึงคิดว่าสายเกินไปแล้วที่จะเริ่มออกกำลังกายตอนที่อายุมาก ซึ่งความจริงแล้ว การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ไม่มีคำว่าสายเกินไป เพราะมีผลการศึกษาพบว่า แม้แต่ผู้ที่มีอายุ 90 ปีที่เริ่มออกกำลังกายเป็นประจำ ก็สามารถทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การเริ่มออกกำลังกายตอนที่อายุมาก สามารถลดความเสี่ยงสุขภาพบางอย่างได้ เช่น โรคเบาหวาน ดังนั้นหากต้องการเริ่มออกกำลังกายตั้งแต่วันนี้ ก็ไม่มีคำว่าสายเกินไป ความเชื่อผิดๆ ที่ 2 การออกกำลังกายไม่ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ ถ้าล้มมากระดูกหักจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ความจริงแล้วมีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายสามารถลดโอกาสในการหกล้มได้ เช่น การออกกำลังแบบไทชิ (Tai chi) หรือมวยไทเก๊ก มีประโยชน์ต่อความสมดุลของร่างกาย นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นประจำยังทำให้กระดูกแข็งแรง และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย ความเชื่อผิดๆ ที่ 3 ผู้สูงอายุจำเป็นต้องไปให้หมอเช็คก่อนแล้วค่อยออกกำลังกาย ถ้าคุณมีโรคประจำตัว หรือมีอาการบางอย่าง รวมถึงไม่ได้ออกกำลังกายเป็นเวลานาน […]


ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ

ผู้ชายกับผู้หญิง...รู้มั้ย ใครแก่เร็วกว่า กัน?

ผู้ชายกับผู้หญิง นอกจากจะมีความแตกต่างกันทางด้านสรีระและอะไรอีกหลายๆ อย่างแล้ว ความแก่ก็ยังเกิดขึ้นแตกต่างกันด้วย ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วผู้ชายกับผู้หญิง ใครแก่เร็วกว่า กัน ลองอ่านรายละเอียดนี้ดูแล้วจะรู้ ใครแก่เร็วกว่า ระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ฮอร์โมน ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเมื่อมีอายุมากขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเพศ โดยผู้หญิงมักจะเกิดอาการของวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะเกิดในช่วงที่มีอายุประมาณ 50 ปี ซึ่งผู้หญิงจะหยุดมีรอบเดือน และรังไข่ก็หยุดผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนด้วย ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยๆ ก็คือร้อนวูบวาบ อ่อนเพลีย ภาวะช่องคลอดแห้ง และมีความต้องการทางเพศต่ำ ส่วนผู้ชาย…ความแก่ชราไม่ได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับเหมือนผู้หญิง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า ซึ่งระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนจะลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า ‘ผู้ชายวัยทอง‘ โดยระดับเทสโทสเตอโรนจะลดลงโดยเฉลี่ยปีละ 1 เปอร์เซ็นต์ หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว โดยระดับฮอร์โมนที่ลดลงนี้จะทำให้เกิดอาการต่างๆ อย่างเช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความต้องการทางเพศลดลง และรูปแบบการนอนเปลี่ยนไป ซึ่งไม่เหมือนอาการวัยทองของผู้หญิง ที่สิ้นสุดการเจริญพันธุ์ไปเลย แต่ผู้ชายยังสามารถมีลูก และผลิตเชื้ออสุจิได้อยู่ ความหนาของผิวหนัง ความที่ผู้ชายมีผิวที่หนากว่า ก็เลยทำให้เกิดริ้วรอยได้ยากกว่าผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องจากระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนของผู้ชาย จะทำให้ผู้ชายมีผิวหนากว่าของผู้หญิงประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้ชายยังมีคอลลาเจนหนาแน่นกว่าด้วย รวมทั้งมีผิวที่หยาบกว่าและมีความชุ่มชื้นตามธรรมชาติมากกว่า เนื่องจากผู้ชายจะมีเหงื่อออกมากกว่า และมีกรดแลคติคในเหงื่อมากกว่า ปัจจัยทางด้านน้ำหนัก ถึงแม้คนเราจะค่อยๆ สูญเสียมวลกล้ามเนื้อหลังวัย 30 ปี แต่ผู้หญิงกับผู้ชายจะมีน้ำหนักขึ้นต่างกัน ซึ่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริการายงานว่า […]


สูงวัยอย่างมีพลัง

การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เบื้องต้น เพราะแค่คำว่ารักอย่างเดียวอาจไม่พอ...

ความแก่ชราเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อเราแก่ตัวลง สุขภาพก็ย่อมเสื่อมไปตามวัย และสุขภาพที่เสื่อมถอยลงเรื่อยๆ นี้ ก็ส่งผลต่อการดำรงชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุไม่น้อยเลยทีเดียว ยิ่งหากผู้สูงอายุคนไหนไม่ค่อยใส่ใจสุขภาพ หรือไม่มีลูกหลานช่วยดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะยิ่งทำให้สุขภาพแย่ลงรวดเร็วขึ้นไปอีก ฉะนั้น หากผู้สูงอายุ อยากมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานขึ้น และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ก็ต้องดูแลสุขภาพให้ดี ด้วยเคล็ดลับใน การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ง่ายๆ ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝาก เมื่อสูงวัย สุขภาพจะเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง ปัญหาสุขภาพที่ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องประสบนั้นมีมากมาย เช่น การสูญเสียการได้ยิน ภาวะสายตาผิดปกติ ต้อกระจก ปวดเมื่อยทั่วร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหลัง โรคข้อเสื่อม โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) โรคเบาหวาน โรคซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างก็มักเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย นอกจากนี้ เมื่ออายุมากขึ้น ก็ยังมีภาวะสุขภาพซ้ำซ้อน ที่มักเกิดกับกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เรียกว่า กลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือกลุ่มอาการผู้สูงอายุ (geriatric syndrome) เช่น ภาวะหกล้มซ้ำซ้อน ภาวะแผลกดทับ ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ภาวะสูญเสียความสามารถในการเดิน ภาวะเพ้อคลั่ง ภาวะทุพโภชนาการ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน