การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การรับประทานอาหารที่เหมาะสมถือเป็นส่วนสำคัญในการลดน้ำหนักที่มีประสิทธิภาพและดีต่อสุขภาพ ดังนั้นทาง Hello คุณหมอจึงได้รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เรื่องเด่นประจำหมวด

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ขนมกินแล้วไม่อ้วน เลือกอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดี

ปัจจุบันมี ขนมกินแล้วไม่อ้วน หลายรูปแบบที่ให้ทั้งความอร่อยและคลายหิว รวมถึงมีประโยชน์ต่อสุขภาพและสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย ซึ่งควรเลือกขนมที่มีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งไปกว่านั้นการกินขนมที่อร่อยและมีประโยชน์ยังช่วยให้สามารถควบคุมน้ำหนักได้อย่างมีความสุขในระยะยาวอีกด้วย [embed-health-tool-bmi] ขนมกินแล้วไม่อ้วน เป็นอย่างไร ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรเป็นขนมที่อร่อย ช่วยคลายหิว และอุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันดี วิตามิน แร่ธาตุ เนื่องจากจุดประสงค์ในการกินขนมเป็นการกินระหว่างมื้ออาหารหลัก เพื่อไม่ให้ท้องว่างจนกินอาหารมื้อต่อไปมากเกินไปและอาจทำให้อ้วนได้ ตัวอย่างขนมกินแล้วไม่อ้วน ขนมกินแล้วไม่อ้วน ควรมีแคลอรี่ น้ำตาล ไขมันและโซเดียมต่ำ ซึ่งขนมบางอย่างอาจทำได้เองที่บ้าน ดังนี้ ถั่วต้ม เช่น ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วแอลมอนด์ แมคคาเดเมียน นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ เช่น นมวัว โยเกิร์ตไขมันต่ำ กรีกโยเกิร์ต นมถั่วเหลือง ผลไม้สด ผลไม้อบแห้ง ผลไม้แช่แข็ง เช่น แอปเปิ้ล กล้วย […]

สำรวจ การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

Intermittent Fasting หรือ IF แบบ 16/8 ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ

การอดอาหารเป็นช่วงเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Intermittent Fasting (IF) เป็นที่นิยมสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย หรือกำลังลดน้ำหนัก ทั้งนี้ การอดอาหารเป็นช่วงเวลานั้นสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่ และวิธีการที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] Intermittent Fasting คืออะไร Intermittent Fasting คือ การอดอาหารเป็นพัก ๆ แบบไม่ต่อเนื่อง ซึ่งปกติแล้วมีหลากหลายแบบ โดยวิธีที่เป็นที่นิยม ได้แก่ 16/8 – การอดอาหาร 16 ชั่วโมง และกินภายในช่วงเวลา 8 ชั่วโมง 20/4 – การอดอาหาร 20 ชั่วโมง และกินภายในช่วงเวลา 4 ชั่วโมง Eat Stop Eat – การอดอาหาร 24 ชั่วโมง 1-2 วันต่อสัปดาห์ Warrior Diet – การอดอาหารแบบนักรบ คือกินเพียง 1 มื้อใหญ่ต่อวัน Alternate-Day Fasting […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ควบคุมอาหาร อย่างไร ให้ลดน้ำหนักได้ผลและดีต่อสุขภาพ

ควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการลดน้ำหนัก เพราะหากต้องการลดน้ำหนักนั้นจำเป็นต้องใช้พลังงานให้มากกว่าอาหารที่กินเข้าไป ซึ่งหมายถึงการที่ได้รับพลังงานจากการกินอาหาร น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญต่อวัน เช่น หากร่างกายเผาผลาญพลังงาน 2,000 แคลอรี่/วัน การได้รับพลังงานจากอาหารมากกว่า 1,500 แคลอรี่ และน้อยกว่า 2,000 แคลอรี่ในทุก ๆ วัน จะทำให้น้ำหนักลดลงได้ในที่สุด [embed-health-tool-bmr] วิธี ควบคุมอาหาร ให้ลดน้ำหนักได้แบบดีต่อสุขภาพ 1. กินผัก 50 เปอร์เซ็นต์/มื้อ ผักประกอบไปด้วยไฟเบอร์และน้ำปริมาณมาก แต่มีแคลอรี่ต่ำ การกินผักในมื้ออาหารในปริมาณครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์  จะช่วยทำให้รู้สึกอิ่ม และยังได้รับวิตามินและแร่ธาตุอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ให้กลุ่มตัวอย่างกินพาสต้าในปริมาณที่เท่ากัน แต่ปริมาณผักไม่เท่ากัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างกินอาหารในปริมาณใกล้เคียงกันโดยไม่ได้คำนึงว่ามีผักมากแค่ไหน ซึ่งหมายความว่ากลุ่มตัวอย่างที่กินอาหารซึ่งมีสัดส่วนของผักมากที่สุด จะได้รับแคลอรี่น้อยที่สุดโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น หากใครที่กำลังควบคุมอาหารอยู่ ควรกินผักเพิ่มเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ และการลดน้ำหนัก 2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ ดื่มน้ำเปล่าถือว่าดีที่สุด เพราะการดื่มเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง อาจทำให้รู้สึกหิวอยู่ และทำให้ได้รับแคลอรี่มากขึ้นด้วย ถ้ากังวลว่าจะกินมากเกินไป การดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร อาจช่วยได้ เนื่องจากมีงานวิจัยที่ศึกษาในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่ดื่มน้ำประมาณ 2 แก้ว (500 มิลลิลิตร) […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

เอเนอร์จี้ บาลานซ์ คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับการลดน้ำหนักของคุณ

เอเนอร์จี้ บาลานซ์ (Energy Balance) หรือสมดุลของพลังงานที่ร่างกายได้รับ เป็นหลักการการรับประทานอาหารด้วยการนับแคลอรี่เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณที่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไป เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพตนเองที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก และอาจเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย [embed-health-tool-bmr] เอเนอร์จี้ บาลานซ์  คืออะไร เอเนอร์จี้ หรือ แคลอรี่ หมายถึง พลังงาน โดยคำว่าเอเนอร์จี้ บาลานซ์ จะหมายถึง ความสมดุลระหว่างแคลอรี่ที่ได้รับกับแคลอรี่ที่ร่างกายเผาผลาญในแต่ละวัน โดยสามารถจำแนกออกเป็น พลังงานที่ได้รับ (Calories In) หมายถึง พลังงานที่ร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารแต่ละชนิด พลังงานที่เผาผลาญ (Calories Out) หมายถึง พลังงานที่ร่างกายดึงไปใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละวัน ประกอบด้วยอัตราการเผาผลาญพลังงาน (BMR) และการออกกำลังกาย หากรักษาเอเนอร์จี้ บาลานซ์ไว้ได้ นั่นคือ พลังงานที่ได้รับ เท่ากับ พลังงานที่เผาผลาญ ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักคงที่ ไม่อ้วนขึ้นหรือผอมลง แต่หากร่างกายไม่สมดุลจะส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้ พลังงานที่ได้รับ มากกว่า พลังงานที่เผาผลาญ น้ำหนักจะเพิ่มขึ้น พลังงานที่ได้รับ น้อยกว่า พลังงานที่เผาผลาญ น้ำหนักจะลดลง อย่างไรก็ตาม พลังงานที่ได้รับและพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญในแต่ละวันนั้น อาจจะไม่เท่ากัน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ควรหลีกเลี่ยงสิ่งใดบ้าง

หากต้องการ ลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ทำได้ด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การกินยาลดความอ้วน การมุ่งมั่นลดน้ำหนักจนทำให้เครียดจัด เพื่อไม่ให้เสียสุขภาพ และสามารถลดน้ำหนักได้อย่างเห็นผล [embed-health-tool-bmr] ลดน้ำหนักแบบสุขภาพดี ควรหลีกเลี่ยงสิ่งใดบ้าง 1. อดอาหาร หรือกินอาหารแคลอรี่ต่ำมาก การกินอาหารแคลอรี่ต่ำสามารถทำให้น้ำหนักลดลง แต่นอกจากน้ำหนักแล้ว มวลกล้ามเนื้อและการเผาผลาญอาหารยังลดลงด้วย นอกจากนี้การจำกัดแคลอรี่อย่างเข้มงวดยังทำให้ร่างกายสะสมไขมันมากขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นกลุ่มอาการอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากไปกว่านั้น ไม่ควรกินอาหารต่ำกว่า 1,200 แคลอรี่ เนื่องจากอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และการกินอาหารแคลอรี่ต่ำที่น้อยกว่า 1,000 แคลอรี่ต่อวัน อาจนำไปสู่การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ รวมถึงการเผาผลาญพลังงานช้าลงอย่างมีนัยสำคัญ 2. สนใจแต่ตัวเลขน้ำหนัก เป็นเรื่องธรรมดาที่มักจะรู้สึกว่า ลดน้ำหนักได้ไม่เร็วเท่าที่ต้องการ ทั้ง ๆ ที่ควบคุมอาหารอย่างเคร่งครัด แต่อย่างไรก็ตาม ตัวเลขน้ำหนักบนตราชั่งเป็นเพียงหนึ่งในวิธีการรู้น้ำหนักตัวเท่านั้น เนื่องจากน้ำหนักของคนเราประกอบด้วยหลายอย่าง ได้แก่ ความผันผวนของของเหลวในร่างกาย อาหารที่เหลืออยู่ในร่างกาย และอื่น ๆ ในความจริงแล้ว น้ำหนักสามารถขึ้น-ลงได้ถึง 1.8 กิโลกรัมตลอดทั้งวัน ขึ้นอยู่กับอาหารและของเหลวที่บริโภค ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลกับตัวเลขน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดความเครียด และลดน้ำหนักไม่สำเร็จในที่สุด […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อดอาหาร น้ำหนักลด จริงหรือไม่

อดอาหาร น้ำหนักลด เป็นวิธีที่หลายคนเลือกใช้เพื่อให้ตนเองมีน้ำหนักน้อยลง ทั้งที่จริงแล้ว การที่ร่างกายขาดอาหารมักทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานน้อย น้ำหนักจึงไม่ได้ลดลงตามไปด้วย นอกจากนั้น บางคนอาจเลือกอดอาหารเช้าทั้งที่เป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวัน แทนที่น้ำหนักจะลดสมใจ แต่อาจทำให้อ้วนกว่าเดิม [embed-health-tool-bmr] อดอาหาร น้ำหนักลด จริงหรือไม่ หากต้องการลดน้ำหนัก ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่พอดี ลดปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงาน การอดอาหารไม่ได้ช่วยให้ผอมลง เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้ อัตราการเผาผลาญพลังงานลดต่ำลง ร่างกายไม่สามารถเผาผลาญพลังงานได้ตามปกติ ร่างกายปรับเข้าสู่ภาวะอดอาหาร หรือภาวะจำศีล จึงเริ่มกักตุนพลังงานเอาไว้ในรูปแบบของไขมัน ร่างกายต้องเผชิญความเครียด จนหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อความเครียดออกมา ฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้หิวง่าย และรับประทานอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลอรี่ น้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรตสูง ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอ ซึ่งนอกจากจะส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกัน และการเผาผลาญพลังงานของร่างกายแล้ว ยังทำให้อ่อนเพลีย ไม่มีพลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ไม่รู้สึกอยากออกกำลังกาย จึงยิ่งทำให้น้ำหนักตัวไม่ลดลง   หากต้องการลดน้ำหนัก ไม่ควรอดอาหารมื้อเช้าเพราะอะไร การนอนหลับทำให้ร่างกายไม่ได้รับอาหารเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาหารเช้าจึงเป็นอาหารมื้อที่สำคัญมาก เพราะถือเป็นการเติมพลังงานให้ร่างกาย ผู้ที่รับประทานอาหารมื้อเช้าเป็นประจำมีแนวโน้มลดน้ำหนักได้ดีกว่าผู้ที่ชอบอดอาหารมื้อเช้า อีกทั้งมื้อเช้าที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบยังอาจช่วยลดความอยากอาหาร นอกจากนั้น หากเว้นระยะระหว่างมื้ออาหารนานเท่าไหร่ อาจทำให้ยิ่งหิวมากขึ้นเท่านั้น เนื่องจาก 3 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือดจะเริ่มลดลง ร่างกายจะย่อยอาหารที่รับประทานเข้าไปหมดภายใน 4 ชั่วโมง และหากไม่รับประทานอาหารเข้าไปใหม่ภายใน 5 […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดน้ำตาล ลดโรค วิธีทำให้สุขภาพดีแสนง่าย

น้ำตาล เป็นคาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหารหลากหลายชนิด และถึงแม้จะเป็นแหล่งพลังงานอย่างหนึ่งของร่างกาย แต่น้ำตาลก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โรคหัวใจ ฟันผุ ดังนั้น การ ลดน้ำตาล หรือบริโภคน้ำตาลให้น้อยลงอาจช่วยให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงขึ้นได้ [embed-health-tool-bmi] บริโภคน้ำตาลมากไป เสี่ยงมีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง สำหรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป อาจมีดังนี้ เสี่ยงน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การบริโภคน้ำตาลมากไป โดยเฉพาะน้ำตาลที่ใส่เพิ่มเข้าไปในอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้ำตาลฟรุกโตส อาจเป็นสาเหตุให้ร่างกายดื้อต่อฮอร์โมนเลปติน (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมความหิวและส่งสัญญาณบอกให้ร่างกายหยุดกิน ส่งผลให้ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น ทั้งยังสามารถนำไปสู่ภาวะไขมันสะสมในช่องท้อง (Visceral Fat Accumulation) ได้อีกด้วย อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ การบริโภคน้ำตาลมากไปอาจทำให้เป็นโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ไตรกลีเซอร์ไรด์สูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาสุขภาพเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งทั่วโลก ทำให้ฟันผุ น้ำตาลเป็นอาหารของแบคทีเรียในคราบพลัค (Plaque) ซึ่งแบคทีเรียจะสร้างกรด และเมื่อกรดนั้นสัมผัสกับฟันจะทำให้เคลือบฟันสึกกร่อน และหากเคลือบฟันถูกกรดกัดกร่อนไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้ฟันผุได้ในที่สุด อาจเพิ่มโอกาสในการเกิดสิว อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอาจทำให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้มีการหลั่งฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) การผลิตน้ำมัน และการอักเสบเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวทั้งสิ้น ปริมาณน้ำตาลที่ควรบริโภค องค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) แนะนำว่าทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคน้ำตาลเกิน 5% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน หรือประมาณ 25 กรัม (6 ช้อนชา) เพื่อสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค ลดน้ำตาล […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

โยเกิร์ตช่วยลดความอ้วน ได้จริงไหม โยเกิร์ตดีต่อสุขภาพยังไง

โยเกิร์ตช่วยลดความอ้วน เป็นประโยคที่พูดถึงกันอย่างแพร่หลาย นั่นเพราะโยเกิร์ตมีสารอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม และแบคทีเรียที่ช่วยทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงถือว่าโยเกิร์ตเป็นอาหารเสริมที่มีประโยชน์มากมาย และรู้หรือไม่ว่า สาว ๆ บางท่านยังรับประทานโยเกิร์ตเพื่อบำรุงผิวพรรณ หรือนำมาเป็นส่วนประกอบในการมาส์กหน้าอีกด้วย วันนี้ Hello คุณหมอจะมาแนะนำให้รู้จัก โยเกิร์ต และ ความจริงว่า โยเกิร์ตช่วยลดความอ้วน ได้อย่างไร ให้ทุกคนรู้จักโยเกิร์ตกันมากกว่าที่เคย โยเกิร์ต คืออะไร โยเกิร์ต (Yogurt) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากนมและมีหลากหลายชนิด เช่น โยเกิร์ตจากนมที่มีไขมันเต็มส่วน และโยเกิร์ตจากนมไขมันต่ำ หากได้นมจากแพะหรือวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้า ก็จะช่วยเพิ่มประโยชน์ทางโภชนาการให้โยเกิร์ตมีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 (Omega 3) แมกนีเซียม แคลเซียม (Calcium) โปรไบโอติก (Probiotic) เอนไซม์ (Enzyme) โพแทสเซียม วิตามินดี วิตามินเค 2 นอกจากนี้ ในโยเกิร์ตยังอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ ที่เรียกอีกอย่างว่า แบคทีเรียที่ดี หรือโปรไบโอติก การหมักนมจะได้แลคโตสธรรมชาติหรือน้ำตาล ทำให้เกิดกรดแลคติคและทำให้ได้โปรตีนจากนมที่ข้นขึ้น ส่งผลให้โยเกิร์ตมีรสชาติที่โดดเด่น และเข้มข้นขึ้น โยเกิร์ตช่วยลดความอ้วน  โยเกิร์ต เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ไม่ว่าจะเป็น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดน้ำหนัก โปรตีน สำคัญอย่างไร ควรกินโปรตีนเท่าไหร่

สำหรับผู้ที่กำลัง ลดน้ำหนัก โปรตีน ถือเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการลดน้ำหนักและการมีรูปร่างที่ดี และโดยปกติแล้วผู้หญิงควรได้รับโปรตีน 46 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ย ส่วนผู้ชายควรได้รับโปรตีนต่อวัน 56 กรัมโดยเฉลี่ย โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ ใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เป็นต้น [embed-health-tool-bmr] ลดน้ำหนัก โปรตีน สำคัญอย่างไร โปรตีนอาจช่วยลดไขมัน และป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารวิชาการ the Journal of Nutrition พบว่า การกินอาหารโปรตีนสูง อาจเพิ่มผลลัพธ์ของการออกกำลังกายในการช่วยลดไขมันโดยไม่สูญเสียกล้ามเนื้อ โดยงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงอ้วน ที่ออกกำลังกายเป็นประจำและกินอาหารโปรตีนสูง นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดไขมันมากกว่า และลดมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่า เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินอาหารแบบเดียวกันแต่มีคาร์โบไฮเดรตสูง โดยอาหารมี 1,700 แคลอรี่ ไขมัน 30% และไฟเบอร์ประมาณ 17 กรัม ดังนั้นการกินอาหารโปรตีนสูงจึงอาจช่วยลดไขมัน และรักษามวลกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากอาหารที่มีโปรตีนสูงมีกรดอะมิโนจำเป็นอย่าง ลิวซีน (Leucine) ที่จะทำงานร่วมกับอินซูลินในการกระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ โปรตีนเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนควบคุมน้ำหนัก การเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหาร สามารถช่วยลดระดับฮอร์โมนหิว หรือฮอร์โมนเกรลิน และเพิ่มฮอร์โมนอิ่ม ได้แก่ ฮอร์โมนเปปไทด์ YY (peptide YY) โคเลซีสโตไคนิน (Cholecystokinin;CCK)  และ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

ลดน้ำหนัก ด้วยเมนูเดิมทุกวัน ช่วยได้จริงหรือ

หนึ่งในวิธีการ ลดน้ำหนัก ที่หลายคนเคยได้ยิน คือ การรับประทานอาหารเมนูเดิมทุกวัน แต่รู้หรือไม่ว่าวิธีนี้ส่งผลดีต่อสุขภาพหรือทำให้การลดน้ำหนักได้ผลจริงมากน้อยแค่ไหน ควรศึกษาข้อดีและข้อเสียให้แน่ชัดเพื่อที่จะได้ปฏิบัติตัวให้ถูกต้องและลดน้ำหนักให้ถูกวิธีโดยไม่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย [embed-health-tool-bmi] ข้อดีของการลดน้ำหนักด้วยเมนูเดิม การลดน้ำหนักด้วยการรับประทานเมนูเดิม อาจมีข้อดีดังนี้ แคลอรี่คงที่ช่วยลดน้ำหนัก การนับแคลอรี่ค่อนข้างเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับคนที่พยายามลดน้ำหนัก หากรับประทานอาหารเหมือนเดิมทุกวัน อาจช่วยให้ควบคุมแคลอรี่ได้ง่ายขึ้น เพราะการคำนวนแคลอรี่ครั้งเดียวสามารถใช้ไปได้หลายวัน เพราะเป็นอาหารเมนูเดียวกันนั่นเอง สร้างนิสัยการรับประทานอาหาร หากอยากรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี การรับประทานอาหารเหมือนเดิมทุกวันอาจช่วยได้ เพราะไม่เกิดความเครียดว่าควรจะเลือกเมนูอะไรดี นอกจากนี้ หากรับประทานอาหารอะไรบ่อย ๆ ก็ยิ่งทำให้ติดเป็นนิสัยได้ง่ายขึ้นด้วย เช่น การรับประทานแอปเปิ้ลวันละหนึ่งถึงสองลูก อาจกลายเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายขึ้น หลังจากรับประทานต่อเนื่องกันทุกวันประมาณสองสามสัปดาห์ จัดเตรียมอาหารง่ายจึงเครียดน้อยลง การรับประทานอาหารเหมือนเดิมทุกวันจะช่วยให้ประหยัดเวลา ทั้งในเรื่องการคิดเมนูอาหาร การซื้อวัตถุดิบ และการเตรียมอาหาร ซึ่งถ้าต้องเตรียมอาหารกลางวันเหมือนเดิมทุกวัน ก็ทำให้ใช้เวลาในการจัดเตรียมอาหารแค่วันอาทิตย์วันเดียวเท่านั้นเอง นอกจากนี้ มีแนวโน้มว่าคนที่รับประทานอาหารเมนูเดิม ๆ จะเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าด้วย  งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับ ผลกระทบของระยะเวลาในการเตรียมอาหารต่อความเครียด ความกดดัน และสุขภาพ เผยแพร่ในวารสาร SSM - Population Health พ.ศ. 2564 พบว่า การใช้เวลาน้อยลงในการจัดเตรียมอาหารช่วยลดความกดดัน ความเครียด และส่งผลให้สุขภาพจิตดีขึ้น ตัดสินใจง่าย สุขภาพดีขึ้น ความเหนื่อยอ่อนในการตัดสินใจไม่ใช่มีแต่เฉพาะในเรื่องงานเท่านั้น แต่รวมไปถึงเรื่องของการเลือกเมนูอาหารด้วย ยิ่งมีตัวเลือกเยอะเท่าไหร่ก็ยิ่งทำให้การตัดสินใจยากขึ้นเท่านั้น การรับประทานเมนูอาหารเหมือนเดิมทุกวัน จึงช่วยลดความเครียดได้ จึงอาจช่วยให้เลือกแต่อาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ดีกว่า ข้อเสียของการลดน้ำหนัก ด้วยเมนูเดิมทุกวัน เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย การรับประทานอาหารเหมือนเดิมทุกวันอาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เพราะโดยปกติแล้ว คนเราควรมีความรู้สึกตั้งตารอที่จะได้รับประทานอาหารใหม่ ๆ […]


การควบคุมอาหารและการลดน้ำหนัก

อาหารลดน้ำหนัก ที่ควรเลือกรับประทาน

อาหารลดน้ำหนัก ที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน อาจมีอยู่มากมาย เช่น ไข่ โยเกิร์ต เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผลไม้บางชนิด ผักใบเขียว ซึ่งล้วนแต่เป็นอาหารที่อาจสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญพลังงาน ลดไขมันไม่ดีในเลือด มีไฟเบอร์สูง ช่วยให้อิ่มนาน และมีแคลอรี่ต่ำ จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดหรือควบคุมน้ำหนัก โดยที่ยังคงได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย และไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ [embed-health-tool-bmi] อาหารลดน้ำหนัก ที่ควรเลือกรับประทาน ไข่ ไข่เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เนื่องจากไข่มีโปรตีนและไขมันดีสูง และมีแคลอรีน้อย ช่วยทำให้อิ่มได้นาน ในขณะเดียวกันก็ยังอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย จึงทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน ดีต่อสุขภาพ ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ให้ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน จำนวน 30 คน กินไข่เป็นอาหารเช้า แทนการกินขนมปังเบเกิล ผลการวิจัยพบว่า การกินไข่มื้อเช้าช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่ม และทำให้กินน้อยลงในช่วงเวลา 36 ชั่วโมงต่อมา อีกทั้งงานวิจัยอีกหนึ่งชิ้นซึ่งให้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นหญิงสาวที่เป็นโรคอ้วน กินอาหารเช้าประเภทเป็นโปรตีน 35 กรัม ซึ่งเป็นไข่และไส้กรอกเนื้อ ทำให้รู้สึกอิ่มมากกว่า และส่งผลต่อเนื่องมาถึงตอนเย็น ทำให้สามารถเลือกกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่กินขนมปังหรือซีเรียลเป็นอาหารเช้า บางคนอาจกังวลว่า ไข่ อาจมีคอเลสเตอรอลสูง และส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การรับประทานไข่ไม่มีผลต่อระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย หรือทำให้หัวใจวายแต่อย่างใด แอปเปิ้ล แอปเปิ้ลเป็นอีกหนึ่งอาหารลดน้ำหนักที่ดี การรับประทานแอปเปิ้ลสด โดยเฉพาะแอปเปิ้ลที่ไม่ปอกเปลือกจะทำให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้องได้นาน ลดการกินจุบกินจิบระหว่างวัน นอกจากนี้ เส้นใยอาหารยังดีต่อสุขภาพ โดยมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่าการกินอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์จะช่วยลดระดับแอลดีแอล […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม